Tag Archives: melasma

Tranexamic acid กับการรักษาฝ้า‼️

กรดทรานเอกซามิก (Tranexamic acid) ชนิดรับประทาน ถูกขึ้นทะเบียนในประเทศไทยให้ใช้เป็นยารักษาภาวะเลือดไหลหยุดยากและเลือดออกรุนแรงมากผิดปกติ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการทำให้เลือดหยุด

ต่อมามีข้อมูลพบว่า สามารถช่วยลดการสร้างเม็ดสีผิวได้ จึงมีการนำมาให้เสริมการรักษาฝ้าแบบ Off-label เนื่องจากส่งผลให้ฝ้าและรอยดำจางลงได้ด้วย

What is tranexamic acid
What is tranexamic acid

1. Tranexamic acid ทำให้ฝ้าจางลงได้อย่างไร

Tranexamic acid (TXA) เป็น potent plasmin inhibitor กลไกที่เชื่อว่าช่วยให้ฝ้าและรอยดำดีขึ้นได้ คือ

  1. ยับยั้งการหลั่งสารอักเสบที่จะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสี (Inhibit PGE2-stimulated human epidermal melanocytes)
  2. แย่งจับเอนไซม์ไทโรซิเนส ทำให้การสร้างเม็ดสีลดลง
  3. ช่วยลดการสร้างและการขยายตัวของหลอดเลือดใต้ผิวซึ่งทำให้เกิดฝ้าตามมา (Antiangiogenic effect on vascular component of melasma) ซึ่งกลไลข้อนี้ช่วยให้ฝ้าเลือดดีขึ้นได้
Mechanism of tranexamic acid in melasma treatment​
Mechanism of tranexamic acid in melasma treatment

2. TXA ชนิดรับประทาน กับ การรักษาฝ้า

มีข้อมูลของการใช้ TXA ชนิดรับประทานในระยะเวลาสั้นไม่เกิน 3-4 เดือน เพื่อช่วยในการรักษาฝ้าและลดการเกิดรอยดำตามหลังการทำหัตถการ เช่น เลเซอร์ เป็นต้น
ซึ่งพบว่าสามารถช่วยให้ฝ้าจางลงชั่วคราวได้ดี แต่ยังถือว่าเป็น Off-label use เพราะยามีผลข้างเคียงที่สำคัญและรุนแรง คือ ทำให้เกิดลิ่มเลือดซึ่งสามารถอุดตันเส้นเลือดในอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น สมอง ปอด หัวใจ เส้นเลือดที่ขา ที่ตา หรือที่ไต หากมีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ดังนั้น จึงแนะนำให้อยู่ในการดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น

3. Tranexamic acid ชนิดทา กับ การรักษาฝ้า

มีการศึกษาการลดลงของเม็ดสีผิว (MASI score) เมื่อเปรียบเทียบการทา TXA ในรูปแบบต่าง ๆ ที่พบว่าผลใกล้เคียงกับ 3-4% hydroquinone (ขึ้นกับงานวิจัย) เมื่อทาระยะเวลานาน 12 สัปดาห์ ดังนี้
✔️ 2% TXA formulation
✔️ 3% TXA solution และ cream
✔️ 5% TXA liposome, gel, solution
ดังนั้น การใช้ tranexamic acid ชนิดทาจึงอาจใช้เป็นอีกทางเลือกเพื่อเสริมการรักษาฝ้า แทนการใช้ hydroquinone ชนิดทา และรูปแบบทาอาจใช้ได้อย่างปลอดภัยกว่าในกรณีที่มีข้อห้ามของการใช้ยา tranexamic acid ชนิดกิน

Topical tranexamic acid​
Topical tranexamic acid

4. ใช้ Tranexamic acid ทาร่วมกับสกินแคร์อื่นที่ช่วยเรื่องฝ้าได้หรือไม่

ใช้ได้ค่ะ แนะนำว่าอาจลองมองหาส่วนประกอบเสริมการยับยั้งกลไกการเกิดฝ้า เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้ดีขึ้น
เช่น
✔️ กลุ่มยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase inhibitors) เช่น kojic acid, arbutin, licorice, ascorbic acid, resorcinol, acetyl glycyl beta-alanine
✔️ กลุ่มยับยั้งการขนส่งเมลานินไปที่ผิวหนังชั้นบน (Melanin transfer inhibition) เช่น niacinamide 4%, soybean, acetyl glycyl beta-alanine
✔️ กลุ่มเร่งการผลัดเซลล์เม็ดสีส่วนเกินที่ผิวชั้นบน (Increased epidermal turnover) เช่น glycolic acid, salicylic acid

Anti melasma skincare​
Anti melasma skincare

มีข้อมูลการใช้ 3% TXA + 1% kojic acid + 5% niacinamide พบว่า ช่วยให้สิ่งเหล่านี้ดีขึ้นเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ใน 2 สัปดาห์
• รอยดำหลังการอักเสบ (PIH)
• ฝ้า (Melasma)
• สภาพผิวและความสม่ำเสมอของสีผิว (Skin texture & tone homogeneity)
และค่อย ๆ ดีขึ้นไปอีกจนถึง 12 สัปดาห์ ร่วมกับ ตรวจด้วย Mexameter® พบว่า melanin index ลดลงชัดเจน

PRACTICAL POINT

ปัจจุบันเริ่มมีสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของ Tranexamic acid มากขึ้นเรื่อย ๆ และหากเพิ่มเติมส่วนผสมอื่นที่ยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวได้หลายกลไกก็จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการรักษาฝ้าที่ดีขึ้น
เช็คลิสต์ที่เสริมกัน ได้แก่
สกินแคร์กลุ่มยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส
สกินแคร์กลุ่มยับยั้งการขนถ่ายเม็ดสีผิว
สกินแคร์กลุ่มผลัดเซลล์ผิว
มอยซ์เจอไรเซอร์บำรุงกำแพงผิว
ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดด

ตัวอย่างเช่น Melan Trans3X concentrate หรือ Melan Trans3X gel cream
ซึ่งมีส่วนผสมหลายอย่างที่ออกฤทธิ์ยับยั้งได้หลายกลไกการเกิดฝ้าข้างต้น [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ]

BOTTOM LINE

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาฝ้าให้หายขาดได้อย่างถาวร การใช้ยารับประทานหรือสกินแคร์ Tranexamic acid เพียงเพื่อช่วยให้ฝ้าจางลงชั่วคราวเท่านั้น ยังต้องอาศัยการรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น ฮอร์โมน ยาบางชนิด และจำเป็นต้องกันแดดอย่างเคร่งครัดไปตลอด เพื่อช่วยลดโอกาสการกลับมาเข้มขึ้นของฝ้าซ้ำได้อีก

ถ้าหากยังไม่ได้ผล แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังพิจารณาเพิ่มเติมการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ยารับประทาน หัตถการต่าง ๆ และเลเซอร์ เป็นต้น

ด้วยความปรารถนาดี


References

Clin Cosmet Investig Dermatol. 2021;14:1165-1171.
J Clin Aesthet Dermatol. 2019 Aug;12(8):E73-E74.
Exp Dermatol. 2019;28(6):704-708.
J Drugs Dermatol. 2019;18(5):454-459.
Cutis. 2018 February;101(2):E7-E8
Acta Derm Venereol. 2017 Jul 6;97(7):776-781.


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย Mesoesthetic

Melan Trans3X concentrate
สูตรเข้มข้นเหมาะสำหรับผิวที่มีปัญหาฝ้า รอยดำจากการอักเสบ รอยดำจากการเสียดสีซอกพับรักแร้ขาหนีบ
ส่วนประกอบหลัก
▫️1.8% Tranexamic acid ออกฤทธิ์ยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว
▫️5% Enzymacid complex ได้แก่ lactic, mandelic, salicylic acid, biotechnological enzyme ช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพ สีผิวแลดูสม่ำเสมอขึ้น
▫️2% Tyr control complex ได้แก่ kojic acid, biotechnologic plankton extract, tyr control peptide และ Acetyl glycyl beta-alanine* ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและยับยั้งกระบวนการขนถ่ายเม็ดสีผิว
▫️5% Niacinamide ช่วยยับยั้งการขนถ่ายเม็ดสีผิว

Melan Trans3X gel cream
สูตรนี้อ่อนโยนและระคายเคืองน้อยกว่า
เหมาะสำหรับผิวแพ้ระคายเคืองง่าย
ส่วนประกอบหลัก
▫️1.5% Tranexamic acid
▫️1.5% Hydroxyacid complex ได้แก่ lactic, salicylic acid
▫️2% Tyr control complex ได้แก่ kojic acid, biotechnologic plankton extract, tyr control peptide และ Acetyl glycyl beta-alanine*
▫️3% Niacinamide

หมายเหตุ

*Acetyl glycyl beta-alanine คือ สารตัวหนึ่งที่ออกฤทธิ์ช่วยลดการสร้างเม็ดสีผิวได้หลายกลไก เช่น ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส, ยับยั้งการขนถ่ายเม็ดสีผิว มีข้อมูลการใช้ความเข้มข้น 2% นาน 56 วัน ช่วยแก้ปัญหาจุดด่างดำจากการอักเสบผิวได้

**ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

***ข้อมูลเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mesoestetic-th.com/promotion2-melantran3x/?ref=4433

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Licochalcone A คู่หูคู่ซี้ของ ไทอามิดอล ‼️

เชื่อว่ายุคนี้หากใครได้อ่านเรื่อง สกินแคร์ที่ช่วยเรื่องฝ้าและรอยดำ ก็ต้องเคยได้ยินชื่อเสียงของไทอามิดอล ซึ่งเป็นตัวเต็งของ ingredient ที่ช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว และในขณะเดียวกันอาจจะได้ยินชื่อของสารอีกตัวที่มักใช้ร่วมกับ Thiamidol เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น นั่นก็คือ ลิโคชาลโคนเอ (Licochalcone A) ลองมาทำความรู้จักกันในบทความนี้

Licochalcone A คู่หู Thiamidol คู่ซี้ของคนเป็นฝ้า

Licochalcone A เป็นสารสำคัญที่พบใน Glycyrrhiza inflata ซึ่งเป็น Chinese Licorice Root extract (รากชะเอมเทศ)

กลไกออกฤทธิ์ของ Licochalcone A ได้แก่

  • ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory effects)

ยับยั้งการสร้างและหลั่งสารก่อการอักเสบหลายชนิด เช่น PGE2, LTB4, IL-6, TNFa

  • ต้านเชื้อจุลชีพ (Anti-microbial effects)

โดยข้อมูลหลอดทดลองพบว่า สามารถยับยั้งกลุ่มแกรมบวกและแกรมลบได้ เช่น Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Bacillus subtilis รวมถึง C.acne, H.pylori

  • ยับยั้งเชื้ออื่น ๆ

เช่น เชื้อมาลาเรีย P. falciparum, เชื้อราชนิด dermatophyte, C.albicans และเชื้อไวรัสบางชนิด

  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ (Antitumorigenic effects)
  • ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant effects)
กลไกออกฤทธิ์ของ Licochalcone A​
กลไกออกฤทธิ์ของ Licochalcone A

ในสมัยก่อนคนจีนจึงนิยมใช้เป็น ยาแผนโบราณในการรักษาโรค (Traditional Medicine) เช่น แผลในกระเพาะหรือลำไส้, ผิวหนังอักเสบ หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในร่างกาย เพราะสืบเนื่องจากคุณสมบัติข้างต้น

ปัจจุบันมีการนำ Licochalcone A มาผสมสกินแคร์ในรูปแบบของการทา

หลากหลายมากขึ้น และมีข้อมูลพบว่าช่วยให้ภาวะเหล่านี้ดีขึ้นได้

• ผื่นที่เกี่ยวกับการอักเสบ ได้แก่ ผื่นสะเก็ดเงิน, ผื่นคัน, ผื่นเซบเดิร์ม
• ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง Atopic dermatitis เพราะลดการอักเสบและยัง repair skin barrier ได้
• ผื่นโรเซเชีย, ผิว sensitive skin เพราะมีฤทธิ์ anti irritation ร่วมด้วย
• สิว เพราะลดการอักเสบและยับยั้ง C.acne ร่วมด้วย
• ฝ้าและรอยดำจากการอักเสบ

ในแง่การเกิดฝ้า

นอกจากกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวที่ถูกกระตุ้นมากขึ้นแล้ว ยังพบว่า ผิวในชั้นลึกลงไปมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ได้แก่

กระบวนการเกิดฝ้า​ Melasma
กระบวนการเกิดฝ้า

• เส้นใยอิลาสตินยืดหยุ่นลดลง เกิด solar elastosis คล้ายกับที่พบในผิวที่เกิดความเสื่อมจากการถูกแสงแดด (photoaging disorder)
• Basement membrane zone (BMZ) ที่กั้นระหว่างชั้นหนังแท้กับหนังกำพร้ามีรอยรั่ว ไม่แข็งแรง จึงเกิดฝ้าลึกตามมา
• เส้นเลือดใต้ผิวหนังถูกกระตุ้นให้มีการเพิ่มจำนวน & ขนาด และหลั่งสาร Endothelin ซึ่งกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้นตามมา
• มีการเพิ่มปริมาณของ mast cells หลั่ง histamine เพิ่ม และกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีผิวเพิ่มขึ้นตามมา
• เซลล์ไขมัน Sebocyte มีการหลั่งสารที่ทำให้เซลล์เม็ดสีทำงานมากขึ้น

ดังนั้น หากมองหาสกินแคร์เพื่อดูแลผิวที่เป็นฝ้าหรือผิวหมองคล้ำก็ควรต้องมองหาสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการข้างต้น และถ้าหากยับยั้งได้หลายกลไกก็มีแนวโน้มที่จะเห็นผลการรักษาได้ดีกว่า

ยกตัวอย่างการจับคู่สกินแคร์

ชิ้นที่ 1: สกินแคร์ที่มีส่วนผสมหลักของ Licochalcone A + Thiamidol + Hyaluronic acid
ร่วมกับ
ชิ้นที่ 2: ครีมกันแดด
ก็ช่วยได้หลายกลไก ดังนี้

Sunscreen ช่วยลด photoaging และลดการสร้างเม็ดสี
Licochalcone A ช่วยทำให้ฝ้าและรอยดำจากการอักเสบดีขึ้น จากหลายกลไล
• ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดสี โดยมีข้อมูลสามารถทาในระยะยาวได้อย่างปลอดภัย
• ลดการหลั่ง Endothelin จึงทำให้การสร้างเม็ดสีในฝ้าน้อยลง
• ช่วยลดการอักเสบ จึงเกิดรอยดำตามมาน้อยลง
Thiamidol เป็น potent tyrosinase inhibitors อ่านเพิ่มเติมในบทความก่อนนี้
Hyaluronic acid ช่วยเสริม skin barrier แข็งแรง

กลไก Licochalcone A รักษาฝ้า​
กลไก Licochalcone A รักษาฝ้า

มีข้อมูลพบว่า เมื่อใช้สกินแคร์ซึ่งมีส่วนผสมหลักของ Licochalcone A + Thiamidol + Hyaluronic acid พบว่าฝ้าจางชัดเจน และเมื่อใช้อย่างต่อเนื่อง 6 เดือน พบว่าฝ้าสามารถจางลงไปเรื่อย ๆ และสามารถป้องกันการกลับเป็นซ้ำของฝ้าหลังหยุดใช้ได้อย่างน้อย 3 เดือน
ดังนั้น จึงแนะนำให้ทาเป็นประจำสม่ำเสมอร่วมกับการทาครีมกันแดดอย่างถูกวิธี เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาฝ้าค่ะ

Bottom line

สกินแคร์ นอกจากจะเป็นเป็นตัวเสริมการรักษาฝ้าด้วยยาแล้ว ยังสามารถใช้เพื่อ maintenance หลังการรักษาจบแล้ว เพื่อลดโอกาสการกลับมาเข้มขึ้นของฝ้าอีก แต่ต้องบอกก่อนว่าไม่ได้ 100% เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดรักษาฝ้าให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาเพื่อให้ฝ้าจางลงได้ การรักษาฝ้าให้ได้ผลดีควรต้องควบคู่ไปกับการปกป้องผิวจากแสงแดดอย่างถูกวิธี และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ฮอร์โมน ยาบางชนิด เป็นต้น

ปัจจัยกระตุ้นฝ้า​
ปัจจัยกระตุ้นฝ้า

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และทำให้ทุกท่านที่ได้จะรู้จัก ลิโคชาลโคนเอ (Licochalcone A) มากขึ้นในหลายแง่มุมนะคะ


References:

J Toxicol Environ Health A. 2020 Nov 16;83(21-22):673-686.
Curr Med Chem. 2020;27(12):1997-2011.
Clin Cosmet Investig Dermatol. 2019 Feb 19;12:151-161.
Pharm Biol. 2017 Dec;55(1):5-18.
J Eur Acad Dermatol Venereol. 2016 Feb;30 Suppl 1:21-7.
Acta Pharm Sin B. 2015 Jul;5(4):310-5.
Arch Dermatol Res. 2006 Jun;298(1):23-30.
Life Sci. 2002 Aug 9;71(12):1449-63.


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Eucerin Spotless Booster Serum

ส่วนประกอบหลัก :
Thiamidol เป็น The powerful Human Tyrosinase Inhibitor {อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.facebook.com/476743752739537/posts/1259180884495816/?d=n}
Hyarulonic acid small molecule ช่วยนำพาสาร Thiamidol ซึมลงสู่ผิวชั้นลึกได้ดีขึ้น
Licochalcone A ช่วยลดการอักเสบ ลดการหลั่ง endothelin จาก endothelial cell เสริมการทำงาน ช่วยลดเรื่องการเกิดฝ้าและรอยดำหลังการอักเสบได้ดียิ่งขึ้น

เทคโนโลยี Micro Targeted : เพื่อเพิ่มความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และจัดการฝ้า จุดด่างดำได้ดีกว่าเดิม ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น 2 สัปดาห์

Eucerin Spotless Booster Serum

อ่านบทความย้อนหลังที่
https://helloskinderm.com
รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Fernblock Technology แต่ละรุ่นของ Heliocare

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของผลิตภัณฑ์กันแดด Fernblock Technology แต่ละรุ่นของ Heliocare ค่ะ

Heliocare Fernblock Technology ครีมกันแดด
Heliocare Fernblock Technology

แนะนำให้ลองเลือกดูตามความเหมาะสมของผิวแต่ละคนนะคะ


อ่านบทความย้อนหลังที่
https://helloskinderm.com
รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Melasma : Topical Treatment

สรุป 5 ยาทารักษาฝ้า

ยาทาภายนอก ถือเป็นการรักษาหลักของการรักษาฝ้า
ถ้าหากยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร จึงพิจารณาเพิ่มเติมการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วยได้

ยกตัวอย่างยาทา ได้แก่

1. Hydroquinone

ช่วยยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน มีผลลดการสร้างและเพิ่มการสลายเมลาโนโซม
ความเข้มข้นที่ใช้รักษาฝ้า คือ 2-5%
หากทาครีมกันแดดร่วมด้วย จะเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาฝ้าได้ดีขึ้น
💢 ระวังการเกิด confetti-liked hypopigmented macule (รอยจุดขาว) หรือ exogenous ochronosis (รอยจุดน้ำตาลอมเทา อาจนูนวาวเป็นตุ่มคล้ายไข่คาเวียร์) มักพบบ่อยในคนสีผิวเข้ม ใช้ความเข้มข้นสูง และใช้แบบ HQ alcoholic solution
💢 ควรระมัดระวังการใช้ เป็นยาควบคุมการสั่งจ่ายโดยแพทย์

2. Retinoids

ช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน ช่วยผลัดเซลล์ผิวร่วมด้วย
ยาที่มีข้อมูลช่วยเรื่องฝ้า เช่น 0.1 Adapalene gel, 0.05-0.1% Tretinoin cream
💢 ระวังผลข้างเคียง ผิวแห้ง แดง แสบ คัน บริเวณที่ทา

3. Azelaic acid

ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสี ลดการอักเสบ
เป็นยาที่สามารถใช้รักษาได้ทั้งสิวและฝ้า
ความเข้มข้นที่ใช้ คือ 20% cream
💢 ระวังการระคายเคือง แสบ บริเวณที่ทา มักมีอาการช่วงแรกของการเริ่มใช้ และจะค่อยดีขึ้น

4. HQ + TCs + Retinoids (Triple combination)

เป็นยาสูตรผสม 3 อย่าง ต้นแบบคือ Kligman’s formula (5% HQ + 0.1% Tretinoin + 0.1% Dexamethasone)
กลุ่มนี้มีข้อมูลว่า การใช้ทา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังการรักษาฝ้าจางลงแล้ว จะช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้อย่างน้อย 6 เดือน

5. Topical Methimazole 5%

เชื่อว่ายับยั้งเอนไซม์สร้างเม็ดสีได้ อย่างไรก็ตามยังมีข้อมูลไม่มาก ต้องรอติดตามต่อไป

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References
J Cosmet Dermatol. 2020; 19: 167-172.
Indian J Dermatol Venereol Leprol. 2013; 79: 701-2.
J Eur Acad Dermatol Venereol. 2012; 26: 611-18.
J Cosmet Dermatol. 2005; 4: 55-59.
Cutis 2003; 72: 67-72.
J Dermatol 2002; 29: 539-40.
ฝ้าและการรักษา melasma อ.วาสนภ

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

“กลูตาไธโอน” ช่วยผิวขาวใสได้..จริงหรือไม่ ⁉️

รีวิวกลูตาไธโอนแบบกินฉีดทา ‼️

ปัจจุบันมีการนำกลูตาไธโอนมาใช้เพื่อหวังผลเพิ่มความขาวใสทั้งในรูปแบบกิน แบบทา และแบบฉีด ข้อเท็จจริงคืออะไร ‼️

จากความเดิมตอนที่แล้วทุกคนทราบว่า

✅ สีผิวถูกกำหนดมาแล้วด้วยพันธุกรรม
✅ หากมียาหรือครีมที่ทำให้กระบวนการสร้างเม็ดสีผิวเปลี่ยนไป ก็เป็นไปได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
✅ คนเราจะขาวขึ้นได้แค่ไหน ให้เปิดดูผิวหน้าท้องที่ไม่ถูกแดด จะไม่สามารถมากไปกว่านั้น 1 ระดับ

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับกลูตาไธโอน

1🧿 กลูตาไธโอน ประกอบด้วย อะมิโนเอซิด 3 อย่าง คือ L‐cysteine, glycine, glutamate
มีทั้ง Reduced form (GSH), Oxidized form (GSSG)

2🧿 กลูตาไธโอนทำให้ขาวใสได้จากกลไก คือ
💎 รบกวน Copper ทำให้เอนไซม์ไทโรซิเนสทำงานได้ไม่ดี
💎 ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ
💎 เปลี่ยนแปลงกลไกการสร้างเมลานิน จากชนิด Eumelanin (สีผิวเข้ม) เป็น Pheomelanin (สีผิวอ่อน)

3🧿 แสงแดด ทำให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น จึงส่งผลให้ผิวหมองคล้ำขึ้น ประกอบกับ พบว่าคนผิวคล้ำง่าย มักมีระดับกลูตาไธโอนน้อยลง ดังนั้น กลูตาไธโอนจึงมีส่วนช่วยปกป้องผิวจากการหมองคล้ำได้

4🧿 ผลเรื่อง Whitening effects

💎 ชนิดกิน ทั้งชนิด GSH, GSSG ขนาด 250 มก.ต่อวัน ไม่มีความแตกต่างของสีผิวก่อน-หลังกิน ทั้งบริเวณที่ถูกแดดและไม่ถูกแดด หลังติดตามไป 12 สัปดาห์
💎 ชนิดกิน แบบ GSH ขนาด 500-1000 มก.ต่อวัน มีบางงานวิจัยที่เห็นผลแตกต่างของผิว เฉพาะบริเวณที่ถูกแดด (ประมาณ 4 สัปดาห์)
แต่อีกหลายงานวิจัยที่บอกว่าไม่เห็นความแตกต่าง และพบว่าหลังรับประทานเข้าไปแล้วระดับยาคงอยู่ได้ไม่นานนัก
💎 ชนิดทา แบบ 2% GSSG lotion ทาเช้าเย็น พบว่าเห็นผลหลังทาประมาณ 10 สัปดาห์ ในบริเวณผิวที่ถูกแดด

5🧿 การกินกลูตาไธโอน

❌ ไม่ช่วยเรื่องรูขุมขนกว้าง
❌ ไม่ช่วยแก้ไขสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ
❌ ไม่ช่วยให้ผิวนุ่มหรือชุ่มชื้นขึ้น

6🧿 การทากลูตาไธโอน มีงานวิจัยที่บอกว่าหลังทา 2% GSSG lotion

✅ ช่วยให้ ผิวนุ่มชุ่มชื้นขึ้น ได้อย่างชัดเจนในทางสถิติ หลังทาเช้าเย็น 8 สัปดาห์ เพราะช่วยลดการสูญเสียน้ำจากผิวได้
✅ ช่วย ลดริ้วรอยเล็ก ๆ ได้หลังทาเช้าเย็น 10 สัปดาห์
✅ ช่วย ผิวเรียบขึ้น หลังทาเช้าเย็น 6 สัปดาห์
❓ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นผิวได้ แต่ไม่ชัดเจนในทางสถิติ

7🧿 ผลข้างเคียงที่มีรายงานจากการกินและฉีดกลูตาไธโอน

🆘 คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด
🆘 ผื่นแพ้ลมพิษ แพ้รุนแรงจนเสียชีวิต
🆘 เกิดเป็นด่างขาว
🆘 ปัญหาทางการมองเห็น
🆘 ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
🆘 ไตวาย
🆘 ติดเชื้อจากเทคนิคการฉีด เช่น ตับอักเสบ HIV ติดเชื้อแบคทีเรียเข้ากระแสเลือด

8🧿 ผลข้างเคียงจากการทา อาจมีผื่นแพ้ มักพบไม่ค่อยรุนแรง

🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰

สรุป การศึกษาข้อมูลของกลูตาไธโอน มีทั้งเห็นการเปลี่ยนแปลงและไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ก็ขอให้ใช้วิจารณญาณส่วนตัวประกอบการพิจารณาให้ดี

⭐️ ถ้าอยากลองทา ก็อาจจะเลือกแบบ Topical oxidized form ช่วยลดการสร้างเม็ดสี ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น เรียบขึ้น และลดริ้วรอยเล็ก ๆ ได้
⭐️ กรณีแบบกิน 500-1000 มก ต่อวัน ใครอยากลองก็อาจจะลองดูได้ แต่ก็อาจจะเห็นผลหรือไม่เห็นผลก็ได้ งานวิจัยไปในทางไม่เห็นความแตกต่างมากกว่า
⭐️ กรณีแบบฉีด ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเรื่อง whitening effect ‼️ แต่ ข้อมูลที่ชัดเจนจากแบบฉีด คือ ผลข้างเคียงที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็น
💢 การแพ้ยารุนแรงจนเสียชีวิต
💢 การยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนัง เกิดเป็นด่างขาวถาวรที่แก้ไขไม่ได้
💢 ไตวาย

และอย่าลืมว่าเห็นการเปลี่ยนแปลงสีผิวนั้น มัก เกิดเฉพาะบริเวณที่ถูกแดดเท่านั้น อาจจะไม่สามารถทำให้ขาวได้ทั้งตัว อย่างที่บอกคือ ขาวได้แค่ไหน .. ได้เท่าที่สีผิวที่หน้าท้องของตัวเองหรือมากกว่านั้นได้อีกไม่เกิน 1 ระดับ ถ้ามากกว่านั้นก็อาจจะเป็นไปได้ยาก คงต้องดูข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคตต่อไปค่ะ

หมอเข้าใจดีว่าทุกคนอยากมีผิวสวยและขาวใส แต่ก่อนจะทาครีมหรือกินอะไรควรตั้งอยู่บน พื้นฐานของความเป็นไปได้จริง และ มีความปลอดภัย ด้วยจะดีที่สุดค่ะ
ด้วยความปรารถนาดีจาก คุณหมอเจี๊ยบ👩🏻‍⚕️

ชอบบทความนี้ไหมคะ—> พิมพ์💕💕💕และอยากฟังเรื่องอะไรต่อ คอมเม้นบอกได้เลยค่ะ

[ แชร์ได้เลยค่ะ แต่ไม่ copy หรือดัดแปลงบทความเป็นของตัวเองนะคะ หมอใช้เวลาอ่านรีวิวนานมากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ 🙏🏻]
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References

Glutathione: overview of its protective roles, measurement, and biosynthesis. Mol Aspects Med. 2009; 30: 1‐12.

Glutathione as a skin whitening agent: Facts, myths, evidence and controversies. Indian J Dermatol Venereol Leprol. 2016; 82: 262‐272.

Glutathione and its antiaging and antimelanogenic effects. Clin Cosmet Investig Dermatol. 2017; 10: 147‐153.

The clinical effect of glutathione on skin color and other related skin conditions: A systematic review. J Cosmet Dermatol. 2019; 00: 1–10.

Systemic skin whitening/lightening agents: What is the evidence?. Indian J Dermatol Venereol Leprol 2013; 79: 842-6.

Safety on the Off-label Use of Glutathione Solution for Injection (IV). Food and Drug Administration, Department of Health, Republic of the Philippines; 2011.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

วิธีการยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิว เพื่อผิวขาวใส

ขออธิบายสั้น ๆ ถึงกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวก่อน เพราะหากเราเข้าใจจุดนี้ เราจะสามารถมองหาสิ่งที่เรียกว่า Lightening agents ได้เก่งขึ้น (ดูรูปประกอบ)

มนุษย์เรามีเมลาโนไซต์อยู่ที่บริเวณหนังแท้ชั้นล่างสุด โดยจะแทรกตัวอยู่ระหว่างเคอราติโนไซต์ การสร้างเม็ดสีจะเกิดขึ้นภายในโรงงานที่เรียกว่า เมลาโนโซม (ซึ่งอยู่ในเมลาโนไซต์) โดยมีเอนไซม์ tyrosinase เข้ามาเกี่ยวข้อง หลังจากนั้นเมลานินที่สร้างได้ จะถูกเคลื่อนที่ส่งออกจากเมลาโนโซม ไปให้เคอราติโนไซต์ตัวข้างเคียง และส่งต่อไปยังผิวหนังชั้นบน ซึ่งทำให้เกิดสีผิวตามมา โดยบางคนมีผิวออกแดงคล้ำ บางคนสีออกขาว ขึ้นกับชนิดของเม็ดสีที่ถูกสร้างขึ้น และเมลานินก็ยังมีข้อดีคือ ช่วยป้องกันอันตรายของผิวหนังจากรังสียูวีได้ ในขณะเดียวกัน การได้รับรังสียูวีก็เป็นอีกตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดกระบวนการสร้างเม็ดสีที่มากขึ้นได้ นอกจากนั้นความแข็งแรงของ skin barrier ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดการเกิดฝ้าลึกจากการมีเมลานินหล่นลงมาในผิวหนังชั้นล่างได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หากเราต้องการยับยั้งกระบวนการนี้ สามารถทำได้โดย

  1. ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase (Tyrosinase inhibition) ด้วยสารที่ออกฤทธิ์กลุ่ม Tyrosinase inhibitors

a. Hydroquinone เป็น gold standard ในการรักษาฝ้าและรอยดำที่เห็นผลซึ่งใช้ 2-4% HQ แต่เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่ตามมาค่อนข้างมาก ปัจจุบันจึงถือเป็นยาที่ต้องควบคุมการสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น อาจมีบางประเทศที่กฏหมายอนุญาตให้ผสมในเครื่องสำอางได้ไม่เกิน 2%

b. ยาทาอื่น ๆ เช่น ยาทากลุ่มวิตามินเอ, azelaic acid

c. กลุ่มที่ไม่ใช่ยา เช่น arbutin/deoxyarbutin, licorice, kojic acid, ascorbic acid, resorcinol

  1. ยับยั้งการขนส่งเมลานิน (Melanin transfer inhibition)
  2. เร่งการผลัดเซลล์เม็ดสีส่วนเกินที่ผิวชั้นบน (Increased epidermal turnover) โดยวิธีการ Physical หรือ Chemical exfoliation ตรงนี้สามารถกลับไปอ่านในโพสก่อนนี้ได้
  3. ป้องกันแดด (UV protection)
  4. เสริมสร้าง skin barrier ให้แข็งแรง ด้วยมอยซ์เจอไรเซอร์


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.