Category Archives: Oily Skin

ลองสำรวจดูว่ามีผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ มี BHA ซ้ำซ้อนกันในเวลาเดียวกันหรือไม่ ⁉️

BHA เช่น Salicylic acid, Lipohydroxy acid
ละลายได้ดีในไขมัน มีคุณสมบัติเด่นคือ

• ซึมผ่านบริเวณรูขุมขนลงไปผิวหนังชั้นที่ลึกกว่าได้ (Deep penetration through the lipid barrier of epidermis) ซึ่งเป็นสิ่งที่ AHA ทำไม่ได้
• ละลายสิวที่อุดตัน (Comedolytic effect)
ผลที่ตามมา คือ ทำให้สิวอุดตันลดลง
• ลดการสร้าง sebum (Minimized sebum production)
ผลที่ตามมา คือ ควบคุมความมันของผิว
• ออกฤทธิ์ลดการอักเสบได้ (Anti inflammatory effect)
ผลที่ตามมา คือ ช่วยลดการอักเสบของสิว ส่งผลให้เกิดรอยดำหลังการเกิดสิวลดลงตามมา

ดังนั้น BHA เหมาะสำหรับคนที่ปัญหาผิว ดังนี้
▫️สิวทุกชนิด ทั้งสิวอักเสบและสิวอุดตัน (Inflammatory and comedonal acne)
▫️หน้ามัน (Oily skin)

ส่วนคนที่ผิวแห้งหรือระคายเคืองง่าย ถ้าอยากใช้ BHA แนะนำว่าให้เลือกแบรนด์ที่มีส่วนผสมที่ช่วยลดการระคายเคืองและเพิ่มความความชุ่มชื้นร่วมด้วย หรือเลือก BHA รูปแบบที่ระคายเคืองน้อย โดยจะดูที่ปริมาณ % เท่านั้นไม่ได้ค่ะ เช่น Betaine Salicylate 4% เทียบผลแล้วอาจได้ประมาณ 1-2% Salicylic acid เป็นต้น ไว้จะมาเล่าให้ฟังทีหลัง

โพสนี้ไม่ได้เล่าละเอียดในส่วนผสมของแต่ละผลิตภัณฑ์ เพียงแต่มีหลายครั้งที่ชอบเจอคำถามว่าใช้ตัวหนึ่งทาทับกับอีกตัวได้ไหม อยากให้ลองสำรวจดูว่ามีผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ BHA ซ้ำซ้อนกันในเวลาเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีก็ควรจะแยกเวลาใช้ หรือ เลือกตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะช่วยลดผลข้างเคียงได้ค่ะ


ดูคลิป AHA & BHA เพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์นี้
https://youtu.be/svfWKAe8niQ


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

เช็คลิสต์สกินแคร์สำหรับคนผิวมันรูขุมขนกว้าง ‼️

จากบทความตอนที่แล้ว ทำให้ทราบว่ารูขุมขนกว้างนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่
• มีการผลิตน้ำมันผิวมากขึ้น
• ขนเส้นใหญ่และหนา
• โครงสร้างผิวเสื่อมและหย่อนคล้อย
• พันธุกรรมและฮอร์โมน
• แสงแดด
• การเป็นสิวอุดตันบ่อย ๆ

สามารถอ่านทบทวนได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ

คราวนี้มาคุยกันต่อเฉพาะในกรณีของคนที่รูขุมขนกว้างและหน้ามัน ว่าควรเลือกสกินแคร์และดูแลผิวอย่างไรบ้างเพื่อให้ผิวดูเนียนขึ้น ?

1. การเลือก Sunscreen
แสงแดดทำให้โครงสร้างของผิวเสื่อมลงและความยืดหยุ่นลดลง เป็นเหตุให้โครงสร้างผิวที่คอยพยุงรอบรูขุมขนเกิดการหย่อนคล้อย ทำให้รูขุมขนกว้างขึ้นตามมา ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนต้องเผชิญกับแสงแดดในทุกวัน
🌟 ดังนั้น ครีมกันแดดจึงเป็นไอเทมที่ควรมี และแนะนำให้ทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ โดย AAD แนะนำอย่างน้อย SPF 30, PA+++ ขึ้นไป

2. สกินแคร์กลุ่มผลัดเซลล์ผิว AHA
มีข้อมูลพบว่า ช่วยทำให้รูขุมขนดูเล็กลงได้ในคนที่ผิวมัน (Oily skin) โดยมีคุณสมบัติ คือ
✔️ เสริมการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ลดการอุดตันในของรูขุมขน ช่วยให้รูขุมขนแลดูกระชับขึ้น และลดการเกิดสิวอุดตันตามมา
✔️ ผิวเนียนเรียบ ดูโกลว์ขึ้น
✔️ เพิ่มการอุ้มน้ำที่ผิวหนังกำพร้า ช่วยเพิ่มความนุ่มชุ่มชื้น
✔️ ในระยะยาวช่วยเสริมการปรับโครงสร้างผิวในชั้นหนังแท้ ช่วยให้แข็งแรงและริ้วรอยเล็ก ๆ ลดลง อายุผิวดูลดลง
🌟 AHA ที่ได้จากกรดผลไม้ มีความอ่อนโยน เช่น
• Glycolic acid โมเลกุลเล็กสุด ได้ผลค่อนข้างดี จึงนิยมใช้ผสมในสกินแคร์มากที่สุด
• Lactic acid โครงสร้างและโมเลกุลใกล้เคียงกับ Glycolic acid จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ
• Mandelic, Tartaric, Malic ค่อนข้างอ่อน จึงนิยมใช้เพิ่มความชุ่มชื้นมากกว่าผลัดเซลล์ผิว
🌟 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมข้างต้นมากมายในท้องตลาด แนะนำให้เลือกดูผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานผ่านการรับรอง เพื่อความปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดี
🌟 ควรระวังการระคายเคืองในคนผิวแห้ง (Dry skin), ผิวที่ระคายเคืองง่าย (Sensitive skin) และคนใช้ยารักษาสิวอยู่ด้วย เช่น Retinoid cream, Benzyl peroxide โดยแนะนำให้เลือกสกินแคร์ที่อ่อนโยนกับผิว และไม่ทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขน เพื่อลดการเกิดปัญหาสิวตามมา
🌟 ยกตัวอย่างสกินแคร์กลุ่มนี้ เช่น Eucerin Poreless Solution Pore Minimizer Serum มีส่วนผสมของ Glycolic acid + Lactic acid ผ่านการทดสอบทางการแพทย์ และผสม Glycerin, Sodium hyaluronate ช่วยลดการระคายเคืองได้ จึงเหมาะกับผิวบอบบาง ผิวเป็นสิวง่าย ที่มีปัญหารูขุมขนกว้างร่วมด้วย

3. การเลือก Vitamin A derivatives
ในกรณีที่ผิวมันและมีสิวด้วย อาจเพิ่มสกินแคร์ในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอร่วมด้วยได้ เช่น retinol, retinyl palmitate โดยแนะนำทาช่วงก่อนนอน และระมัดระวังการใช้เพราะอาจระคายเคืองได้
🌟 ไม่แนะนำให้ใช้ในคนท้องหรือให้นมบุตร
🌟 หากเป็นกลุ่ม Prescribed medication แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางร่วมด้วย

4. การเลือก Moisturizer
ถ้าหากรูขุมขนมีสิ่งที่ก่อให้อุดตัน จะทำให้รูขุมขนยิ่งดูใหญ่และสังเกตเห็นได้ชัดขึ้น
🌟 ดังนั้น แนะนำเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเป็นกลุ่ม non-comedogenic, oil free skincare โดยอาจเลือกเป็นพวก Humectant ก็จะเหมาะกับคนผิวมันมากกว่าพวก Oil-based product

5. การเลือก Cleanser
ควรล้างหน้าให้สะอาด จะช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน และยังช่วยควบคุมความมันบนใบหน้าได้อีกด้วย
🌟 แนะนำ Gel-based cleanser จะเหมาะกว่า Oil-based หรือ Alcohol-based cleanser
🌟 ตอนเช้าอาจใช้เป็น Gentle, non-comedogenic cleanser
🌟 ตอนเย็นอาจใช้เป็น Salicylic cleanser
🌟 แนะนำใช้น้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติหรืออุ่นเล็กน้อย ไม่แนะนำให้ใช้น้ำร้อนล้างหน้า เพราะอาจจะระคายเคืองผิวและทำให้รูขุมขนใหญ่ขึ้นได้
🌟 แนะนำล้างหน้าเบา ๆ วนตามรูขุมขนด้วยความนุ่มนวลจะดีที่สุดค่ะ

❌❌ ไม่แนะนำให้สครับผิว
การสครับผิวหน้า การบีบหรือแกะสิว อาจก่อการระคายเคืองและเกิดการอักเสบตามมา หากผิวหนังเกิดการอักเสบก็จะยิ่งทำให้รูขุมขนยิ่งดูชัดขึ้น

หากใครที่มีผิวมัน มีสิว และรู้สึกว่าตัวเองรูขุมขนกว้าง อยากให้ลองปรับการดูแลผิว & ปรับสกินแคร์ดูแลผิวตามวิธีข้างต้น และถ้าคิดว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยังไม่ดีขึ้น ก็แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อพิจารณาการรักษาด้วยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมค่ะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

References
J Cosmet Dermatol. 2019;1–7.
Cutis. 2016 Jul;98(1):33-6.
J Clin Aesthet Dermatol. 2017;10(2):45-51.
Dermatol Surg 2016;42:277–285.
Skin Res Technol. 2013 Feb;19(1):e45-53.
American Academy of Dermatology

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

Product mentioned
🌟 Eucerin Poreless Solution Pore Minimizer Serum
✔️ นวัตกรรม 2X action มี Lactic acid + Glycolic acd ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วอย่างอ่อนโยน ช่วยลดการอุดตันในรูขุมขน รูขุมขนแลดูกระชับ พร้อมลดการเกิดสิวอุดตัน
✔️ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิว ปรับสมดุลให้ผิวเรียบเนียน
✔️ ผ่านการทดสอบในอาสาสมัครชาวไทย 93% ของผู้ใช้พบว่ารูขุมขนดูดีขึ้น ใน 4 สัปดาห์
✔️ เหมาะสำหรับคนผิวมัน เป็นสิวง่าย
✔️ Non-comedogenic tested ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน เนื้อบางเบา ซึมไว

Disclaimer: Sponsored content by Eucerin
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

รายการผู้หญิงไม่ยอมแพ้ – Never Surrender

ขอบคุณเพจ ผู้หญิงไม่ยอมแพ้ – Never Surrender

ที่ชวนให้หมอเจี๊ยบไปแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องยาคุม & การรักษาสิวค่ะ ♥️🙏🏻

🤍🤍🤍🤍🤍🤍🤍🤍🤍

กินยาคุมช่วยรักษาสิว ลดหน้ามัน ได้จริงหรือ ⁉️

🌸 ปัญหาสิวและผิวมัน ส่วนหนึ่งเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชาย ยาคุมกำเนิดมีส่วนประกอบของฮอร์โมนที่สามารถต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชายได้ ยกตัวอย่างเช่น Drospirenone ซึ่งไม่ทำให้ อ้วน หรือบวมน้ำ

อีกทั้งฮอร์โมน เอทธินิลเอสตราไดออล (Ethinylestradiol) ก็ยังช่วยลดระดับฮอร์โมนเพศชายโดยอ้อมได้อีกด้วย

📌📌 ดังนั้น ยาคุมจึงมีส่วนช่วยเสริมการรักษาสิว และลดความมันบนผิวได้

🌸 ยาคุมใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิวฮอร์โมน เพราะยาคุมจะยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเกิดสิว
อย่างไรก็ตาม หากมีสิวที่มีลักษณะที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของฮอร์โมนร่วมด้วย เช่น สิวรุนแรงเรื้อรัง ขนคุด ผมบาง ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อตรจเพิ่มเติม ว่าเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่, เนื้องอกบางชนิด เป็นต้น

🌸 วิธีดูแลผิวอย่างถูกวิธี เพื่อลดการเกิดสิว ลองทำกันได้เลย

  1. ล้างหน้าให้สะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีค่า pH ใกล้เคียงกับผิว
  2. แนะนำให้ใช้เครื่องสำอาง ครีมบำรุง ครีมกันแดด ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน (Oil-Free), น้ำหอม และสารก่อสิว
  3. หลีกเลี่ยงการบีบสิว และการสัมผัสผิวหน้าบ่อย ๆ
  4. ทำความสะอาดอุปกรณ์แต่งหน้าอยู่เสมอ
  5. ดื่มน้ำ 8-10 แก้วต่อวัน
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  7. ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด

สามารถชมไลฟ์เต็ม 45 นาที ย้อนหลังได้ในนี้เลยค่ะ
🔰
https://bit.ly/35DYWKX

ผิวมัน..มีวิธีดูแลอย่างไรดี ⁉️

✨✨✨✨✨✨✨

สำหรับคนที่มีผิวมัน จะพบปัญหาหลัก ๆ เลย คือ รูขุมขนอุดตัน มีสิวง่าย เครื่องสำอางไม่ติดทน แต่ลองมองในมุมกลับจะพบข้อดีของการมีผิวค่อนข้างมัน คือ ริ้วรอยจะน้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน เพราะบุคคลกลุ่มนี้จะมีน้ำมันที่คอยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวมากกว่าคนผิวแห้ง

⭐️ การดูแลผิวและเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับปัญหาผิวจึงมีส่วนสำคัญ ลองมาปรับวิธีการตามนี้

🔰✔️การล้างหน้า :

ล้างหน้า 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน #ถือว่าเพียงพอ อาจมากกว่านั้นกรณีเหงื่อออกมาก เช่น หลังออกกำลังกาย
การล้างหน้าบ่อยกว่านี้ในกรณีที่ไม่จำเป็น จะเป็นการชำระล้างไขมันที่เคลือบผิวอยู่ ผลคือเป็นการกระตุ้นให้ผิวสร้างน้ำมันออกมามากกว่าเดิม หน้าจะยิ่งมันกว่าเดิม

🔰✔️ CLEANSER :

เลือกที่อ่อนโยน หลีกเลี่ยงกลุ่มที่ใช้ oil-based หรือ alcohol-based

🔰✔️ MOISTERIZER :

ถึงแม้ผิวมันก็ยังคงต้องใช้ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นผิว โดยเลือกผลิตภัณฑ์กลุ่มที่เป็น oil-free, non-comedogenic จะช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน ลดการเกิดสิวได้

🔰✔️ SUNSCREEN :

ต้องทาทุกวันอยู่แล้ว แต่สำหรับกลุ่มคนผิวมัน แนะนำให้ใช้กลุ่ม zinc oxide, titanium dioxide และหลีกเลี่ยงครีมกันแดดที่มีน้ำหอม

🔰✔️ MAKEUP :

เลือกที่ oil-free, non-comedogenic และล้างเครื่องสำอางให้สะอาดก่อนเข้านอนทุกครั้ง เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน

🔰✔️ หากมีหน้ามันมากในระหว่างวัน

แนะนำให้ใช้กระดาษซับมัน ซับเบา ๆ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสด้วยมือ หรือเช็ดด้วยกระดาษหรือผ้าที่อาจก่อนความระคายเคืองผิวหน้าได้

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
บทความลิขสิทธิ์ ©👩🏻‍⚕️HELLO SKIN by หมอผิวหนัง

ผิวมัน..ดูแลอย่างไร

ผิวมัน..มีวิธีดูแลอย่างไรดี ⁉️

🥴🥴🥴🥴🥴🥴🥴🥴🥴🥴🥴🥴

สำหรับคนที่มีผิวมัน จะพบปัญหาหลัก ๆ เลย คือ รูขุมขนอุดตันมีสิวง่ายเครื่องสำอางไม่ติดทน แต่ลองมองในมุมกลับจะพบข้อดีของการมีผิวค่อนข้างมัน คือ ริ้วรอยจะน้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน เพราะบุคคลกลุ่มนี้จะมีน้ำมันที่คอยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวมากกว่าคนผิวแห้ง

⭐️ การดูแลผิวและเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับปัญหาผิวจึงมีส่วนสำคัญ ลองมาปรับวิธีการตามนี้

🔰✔️การล้างหน้า :
ล้างหน้า 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน ถือว่าเพียงพอ อาจมากกว่านั้นกรณีเหงื่อออกมาก เช่น หลังออกกำลังกาย
การล้างหน้าบ่อยกว่านี้ในกรณีที่ไม่จำเป็น จะเป็นการชำระล้างไขมันที่เคลือบผิวอยู่ ผลคือเป็นการกระตุ้นให้ผิวสร้างน้ำมันออกมามากกว่าเดิม หน้าจะยิ่งมันกว่าเดิม

🔰✔️ CLEANSER :
เลือกที่อ่อนโยน หลีกเลี่ยงกลุ่มที่ใช้ oil-based หรือ alcohol-based

🔰✔️ MOISTERIZER :

ถึงแม้ผิวมันก็ยังคงต้องใช้ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นผิว โดยเลือกผลิตภัณฑ์กลุ่มที่เป็น oil-free, non-comedogenic จะช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน ลดการเกิดสิวได้

🔰✔️ SUNSCREEN :
ต้องทาทุกวันอยู่แล้ว แต่สำหรับกลุ่มคนผิวมัน แนะนำให้ใช้กลุ่ม zinc oxide, titanium dioxide และหลีกเลี่ยงครีมกันแดดที่มีน้ำหอม

🔰✔️ MAKEUP :
เลือกที่ oil-free, non-comedogenic และล้างเครื่องสำอางให้สะอาดก่อนเข้านอนทุกครั้ง เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน

🔰✔️ หากมีหน้ามันมากในระหว่างวัน
แนะนำให้ใช้กระดาษซับมัน ซับเบา ๆ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสด้วยมือ หรือเช็ดด้วยกระดาษหรือผ้าที่อาจก่อนความระคายเคืองผิวหน้าได้

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
When in doubt,
Ask your Board-certified Dermatologist


Copyright ©👩🏻‍⚕️HELLO SKIN by หมอผิวหนัง

สรุปเกี่ยวยารักษาสิว Oral Isotretinoin ที่หลายคนอาจยังไม่รู้

Update in Oral Isotretinoin for acne treatment

💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊

💯 เป็นยาอันตรายที่มีการควบคุมการใช้โดยแพทย์เท่านั้น ห้ามซื้อกินเองโดยไม่มีข้อบ่งชี้ และระวังยาปลอมลอกเลียนแบบ

💯 แคปซูลของยา มีส่วนผสมที่ทำจากพาราเบน -> ห้ามใช้ในคนที่แพ้พาราเบน
กลุ่มคนเหล่านี้ ควรหลีกเลี่ยงสารพาราเบนที่มักผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว

💯 ข้อบ่งชี้ -> ไม่แนะนำให้ซื้อกินเองหากไม่มีข้อบ่งชี้
▫️สิวหนองรุนแรง (Severe nodulocystic / papulopustular acne)
▫️ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น (Minimal response to previous treatment)
▫️กรณีอื่น ๆ อาจพิจารณาโดยแพทย์เป็นรายไป ได้แก่ Significant psychological concern, prone to scarring, limited use of antibiotics

💯 ขนาดที่ใช้ -> #doseอื่นยังไม่มีรายงานว่าได้ผล_หยุดยาเร็วเกินไปจะทำให้สิวกลับเป็นซ้ำ #แนะนำให้ทานหลังอาหารทันทีเพื่อเพิ่มการดูดซึมยา
▫️Standard dose : International guideline แนะนำเริ่มที่ 0.1-0.2 mg/kg/day เพิ่มจนถึง standard dose 0.5 mg/kg/day หากไม่มีข้อห้าม
▫️Low dose : 0.2-0.3 mg/kg/day กินอย่างน้อย 6-12 months

💯 ภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตายจากยา -> ซักประวัติซึมเศร้าของผู้ป่วยและครอบครัว พิจารณาเป็นรายๆไปและติดตามใกล้ชิด
▫️มีรายงานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า เป็น idiosyncratic effect ในคนมีประวัติครอบครัวมีภาวะ depression, MDD
▫️แต่ในบางรายงานพบว่า ทำให้ภาวะซึมเศร้าลดลงหลังจากใช้ยารักษาให้สิวดีขึ้น

💯 ผลข้างเคียงแบ่ง 3 อย่างหลัก ๆ ได้แก่

  1. Teratogenic ไม่ขึ้นกับ dose -> ตรวจการตั้งครรภ์ยืนยัน 2 ครั้งและคุมกำเนิด 2 วิธี
    ▫️เด็กพิการ คลอดก่อนกำหนด แท้ง
    ▫️ตรวจการตั้งครรภ์ : ก่อนรักษา 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน, หลังสิ้นสุดการรักษาแล้ว 1 เดือน
    ▫️อย่าลืม consent form, Pregnancy Prevention Program หรือ iPLEDGE
    ▫️คุมกำเนิด 2 วิธี : เริ่มตั้งแต่ก่อนรักษา 1 เดือน จนถึงหลังสิ้นสุดการรักษา 1 เดือน
  2. Clinical
    2.1 Cutaneous
    ▫️ปากแห้ง ตาแห้ง ผิวลอกแตกเป็นแผล เลือดกำเดาไหล เป็น dose-dependent จากการที่ยาทำให้เกิด sebum suppressive effect, epidermal dyscohesion
    ▫️ ผื่นรุนแรง Steven-Johnson syndrome, Toxic Epidermal Necrolysis เสียชีวิตได้
    ▫️บางรายเกิดสิวเห่อรุนแรง acne fulminans หลังการเริ่มทานยา มักเกิดในเดือนแรก
    2.2 Extra-cutaneous
    ▫️เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ ทุกระบบตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ดังรูป -> คิดก่อนซื้อมากินเองเสมอว่าคุ้มแลกกับผลข้างเคียงหรือไม่
    ▫️อาการปวดหัวจากความดันในสมองสูงขึ้น หากทานคู่กับยาฆ่าเชื้อกลุ่ม tetracycline -> ห้ามให้ร่วมกัน
  3. Laboratory
    ▫️ไขมันสูง -> ตรวจ cholesterol, triglyceride ก่อนเริ่มยา, หลังเริ่มยา 6 สัปดาห์ และต่อไปทุก 6 เดือน
    ▫️ตับอักเสบ -> ตรวจ SGOT, SGPT ก่อนเริ่มยา, หลังเริ่มยา 6 สัปดาห์ และต่อไปทุก 6 เดือน
    ▫️เอนไซม์กล้ามเนื้อสูง -> ตรวจ CPK ก่อนเริ่มยาในกรณีเคส moderate physical excercise
    ▫️Bone change

💯 ยาสิวมีผลต่อโครงสร้างของ skin barrier function -> #ใช้ครีมกันแดดและครีมบำรุงผิวร่วมด้วยเสมอ
▫️เพิ่มการสูญเสียน้ำ
▫️เพิ่มการสะสมเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ที่ผิวหนัง
▫️ผิวไวต่อแสงแดด

💯 วิธีการดูแลและป้องกันอันตรายต่อดวงตา
▫️หากตาแห้งควรหยอดตา
▫️เลี่ยงการใช้ contact lens
▫️สวมแว่นกันแดด

💯 วิธีการดูแลริมฝีปาก
▫️อาการปากแห้งนิด ๆ เป็นสัญญาณดีที่อยากให้มี บอกถึงการตอบสนองของยา
▫️ควรทาลิปมันหรือวาสลีนบ่อย ๆ และควรผสม SPF อย่างน้อย 15-30

💯 งดบริจาคเลือดในระหว่างรับประทานยา จนกระทั่งหลังหยุดยา 1 เดือน

โพสนี้อยากแชร์ให้เห็นถึงข้อมูลของยารับประทานรักษาสิว ซึ่งเป็นยาอันตรายที่ต้องควบคุมการจ่ายในสถานพยาบาลโดยแพทย์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันพบมีการนำมาขายตามร้านยา การฝากเพื่อนซื้อ หรือวิธีการใดก็ตาม และด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจเพราะกินตามเพื่อน หรือ ได้ข้อมูลมาเพียงบางมุมของยา เช่น กินแล้วหน้าใส ลดความมัน สิวหายเร็วกว่าการทายา แต่อยากถามว่า รู้ความจริงในอีกด้านดีแล้วหรือไม่ และ พร้อมรับความเสี่ยงต่อการกินยานี้โดยไม่มีข้อบ่งชี้แล้วหรือยัง

👩🏻‍⚕️ การรักษาสิวให้หาย อาจต้องใจเย็นและให้เวลากับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
👩🏻‍⚕️ในมุมมองของหมอในฐานะอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง ผ่านการรักษาเคสสิวรุนแรงมาไม่น้อย และพบเจอเคสสิวที่มีผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ยากินตัวนี้มาก็ไม่น้อยเช่นกัน การมีโอกาสได้เห็นทั้งมุมมืดและมุมสว่าง ทำให้หมอตระหนักถึงความปลอดภัยก่อนจ่ายยาตัวนี้ให้คนไข้เสมอ และอยากให้ทุกคนที่ได้อ่านโพสนี้ตระหนักในความปลอดภัยของตัวเองเช่นกัน
👩🏻‍⚕️ อย่ามัวกังวลว่าจะสวยช้า เอาเป็นว่า สวยช้าแต่สวยนานและปลอดภัยดีกว่าสิ่งอื่นใด คนไข้สิวของหมอไม่ต้องกินยาทุกคนก็หน้าใสกันได้หมดนะ ☺️
👩🏻‍⚕️ ใครกินอยู่ควรอ่าน เพื่อนใครกินควรแทคหรือแชร์ให้เพื่อนมาอ่านเช่นกัน

Reference:
Clinical, Cosmetic and Investigational Dermatology. 2019; 12: 943-951.
Journal of American Academy of Dermatology 2016; 74: 945-73.

When in doubt, ask your Board-certified Dermatologist

เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.