Skincare Regimen for Glowing skin
ทุกคนก็อยากมีผิวสวยใส แลดูเด็กกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน วันนี้จะมาบอกเคล็ดลับเน้นๆ เพื่อความมีผิวใส เนียนเรียบ เงาวับราวเคลือบแก้ว หรือที่เรียกว่า Glowing skin หรือ Dewy skin นั่นเอง
ทำความเข้าใจกันก่อนว่า โดยปกติกระบวนการผลัดเซลล์ผิวหนังจนกระทั่งผิวที่ตายแล้วหลุดออกไป ใช้เวลาประมาณ 28 วัน เรียกว่า Skin turnover และจะใช้เวลานานขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุของเราที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเหตุให้เซลล์ที่ตายแล้วรวมทั้งสิ่งสกปรกต่าง ๆ ตกค้างและหมักหมมอยู่ที่ผิว เกิดความหมองคล้ำ จุดด่างดำ ผิวไม่เรียบใสเหมือนสมัยวัยเด็ก
ดังนั้น หากเราต้องการทำให้ผิวย้อนวัยกลับไปขาวเนียนใส เราจึงต้องอาศัยตัวช่วยที่สามารถเพิ่ม Skin turnover ให้เร็วขึ้น เพื่อให้กลไลการผลัดเซลล์ผิวมีระยะเวลาใกล้เคียงเดิม
วันนี้จะคุยกันเรื่อง การผลัดเซลล์ผิว ซึ่งหมอเคยเขียนไปบางส่วนในโพสแปรงล้างหน้าไฟฟ้า ซึ่งอันนั้นเป็น Physical exfoliants คราวนี้จะเป็นกลุ่ม Chemical exfoliants ก็คือการใช้สารที่มีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิวชั้นตื้นที่ตายแล้ว รวมทั้งสิ่งสกปรกที่ตกค้างบนผิวให้หลุดออก โดยไม่ได้ทำให้โครงสร้างผิวหนังปกตินั้นบางลงอย่างที่หลายคนกังวลใจ วิธีนี้เป็นวิธีที่หมอผิวหนังส่วนมากแนะนำ เนื่องจากสามารถหลีกเลี่ยงการ “Over-scrub” ที่มักจะพบได้บ่อยกว่าจากการใช้วิธี Physical exfoliants
สารที่ใช้ผลัดเซลล์ผิวที่มักผสมในเครื่องสำอางที่พบเจอบ่อย ๆ ได้แก่
AHA (Alpha Hydroxy Acid)
BHA (Beta Hydroxy Acid)
มาทำความรู้จักกันว่าต่างกันอย่างไร
AHA มีหลายชนิด มีทั้งที่ได้จากธรรมชาติ เช่น กรดผลไม้ต่าง ๆ และได้จากการสังเคราะห์
สามารถละลายได้ดีในน้ำ มีคุณสมบัติเด่นคือ
✅ เพิ่มการอุ้มน้ำที่ผิวหนังกำพร้า (Water holding capacity of epidermis)
ผลที่ตามมา คือ ทำให้ผิวชุ่มชื้น นุ่มขึ้น เต่งตึงและสดใสขึ้น
✅ ผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว (Induced desquamation)
ผลที่ตามมา คือ ทำให้ผิวเนียนเรียบ ใส ดูออร่าเหมือนสาวเกาหลีหน้าเซรามิค (Glass skin)
✅ ปรับโครงสร้างผิวชั้นหนังกำพร้าให้เรียงตัวดี และเร่งกระบวนการผลัดเซลล์ผิวให้สมบูรณ์ ใน 28 วัน (Normalizetion of epidermal differentiation, keratolytic effect)
หากดูรูปประกอบในสไลด์จะเห็นว่าเมื่ออายุมากขึ้น กระบวนการนี้จะใช้เวลานานขึ้น ดังนั้นจึงเสมือนเป็นการปรับกระบวนการผิวให้ย้อนวัยนั่นเอง
✅ ปรับโครงสร้างผิวชั้นหนังแท้ (Dermal changes) จากผลการใช้ระยะยาวหลายเดือน
ผลที่ตามมา มีงานวิจัยยืนยันว่า มีการสร้าง collagen, hyarulonic acid และ glycosaminoglycans มากขึ้น ทำให้ผิวแข็งแรง มีความหนาขึ้น ริ้วรอยลดลง และดูอ่อนกว่าวัย (Youthful looking and antiaging effect)
💯ดังนั้น AHA เหมาะสำหรับคนที่ปัญหาผิว
▫️ผิวแห้ง (Xerosis)
▫️ผิวที่เป็นสิวอุดตันง่าย (Acne-prone skin)
▫️ปัญหาผิวหมองคล้ำ ไม่ขาวใส อยาก Rejuvenation
▫️ปัญหาผิวหนังที่เกิดจากความเสื่อมตามวัย (Aging skin) เช่น ริ้วรอย ฝ้า สีผิวไม่สม่ำเสมอ
▫️โรคผิวหนัง seborrheic keratosis, actinic keratosis, icthyosis, solar lentigine
🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸
BHA เช่น Salicylic acid, Lipohydroxy acid
ละลายได้ดีในไขมัน มีคุณสมบัติเด่นคือ
✅ ซึมผ่านบริเวณรูขุมขนลงไปผิวหนังชั้นที่ลึกกว่าได้ (Deep penetration through the lipid barrier of epidermis) ซึ่งเป็นสิ่งที่ AHA ทำไม่ได้
✅ ละลายสิวที่อุดตัน (Comedolytic effect)
ผลที่ตามมา คือ ทำให้สิวอุดตันลดลง
✅ ลดการสร้าง sebum (Minimized sebum production)
ผลที่ตามมา คือ ควบคุมความมันของผิว
✅ ออกฤทธิ์ลดการอักเสบได้ (Anti inflammatory effect)
ผลที่ตามมา คือ ช่วยลดการอักเสบของสิว ส่งผลให้เกิดรอยดำหลังการเกิดสิวลดลงตามมา
💯ดังนั้น BHA เหมาะสำหรับคนที่ปัญหาผิว
▫️สิวทุกชนิด ทั้งสิวอักเสบและสิวอุดตัน (Inflammatory and comedonal acne)
▫️หน้ามัน (Oily skin)
ถึงตรงนี้น่าจะพอเข้าใจแล้วว่า AHA และ BHA แตกต่างกันอย่างไร และใครควรเลือกใช้อะไร
🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸
👩🏻⚕️ มาถึงช่วงตอบคำถามจากโพสค่ะ
💯 ความเข้มข้นที่เหมาะสมใน Skincare ควรเท่าไหร่ดี
: กรณีผสมในผลิตภัณฑ์เวชสำอางค์ ความเข้มข้นที่ปลอดภัยและได้ผลของ AHA คือ 3-15% และ BHA คือ 1-2% โดยพบว่า 3% AHA ออกฤทธิ์ได้ 1-3 ชั้นของ epidermis และหากเพิ่มเข้มข้นขึ้นจนถึง 10% จะสามารถออกฤทธิ์ได้ลงลึกครบทุกชั้นของ epidermis
หากสูงกว่านั้นถือเป็นหัตถการที่ควรทำด้วยความระมัดระวังโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ
โดยที่ความเข้มข้นที่สูงขั้น จะให้ผลที่เร็วกว่า แต่อะไรก็ตามผลข้างเคียงที่ตามมาก็มากขึ้นด้วย
💯 AHA ที่ได้จากผลไม้แต่ละชนิด แตกต่างกันหรือไม่ ในการใช้ผลัดเซลล์ผิว
หากดูแล้วแต่ละตัวจะมีความต่างกันอย่างไรในแง่ของค่า pKa และ โมเลกุล
: หลักการของค่า pKa คือ ยิ่งต่ำ ยิ่งมีความสามารถในการผลัดเซลล์ผิวได้มากกว่า (เมื่อเทียบความเข้มข้นเท่ากัน)
: หลักการของโมเลกุล ยิ่งเล็ก ยิ่งมี bioavailability ดี
🍍Citric acid มี pKa ต่ำที่สุด คือ 3.09 และนิยมนำมาใช้เป็น pH adjuster เพื่อปรับ pH ให้เหมาะสมกับการออกฤทธิ์ของสารต่าง ๆ
🍍Glycolic มีโมเลกุลเล็กสุดและไม่ซับซ้อนที่สุด ซึ่งมีผลให้ bioavailability ดีที่สุด จึงนิยมใช้เป็น gold standard ในการผลัดเซลล์ผิว รักษาริ้วรอยและความหมองคล้ำ superficial hyperpigmentation, fine line, mild to moderate photoaging skin
🍍Lactic โครงสร้างคล้าย Glycolic และโมเลกุลใกล้เคียงกัน pKa ใกล้เคียงกัน จึงเป็นคู่แข่งสำคัญในการนำมาใช้เทียบกับ Glycolic
🍍Mandelic, Tartaric, Malic ค่อนข้างอ่อน นิยมใช้เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น มากกว่าผลัดเซลล์ผิว
💯 AHA แต่ละตัวต่างกันหรือไม่ ในการใช้ในระยะยาว
: มีงานวิจัยรับรองว่า ทุกตัวออกฤทธิ์คล้ายกันดังที่กล่าวไปข้างต้น
แต่การใช้อย่างต่อเนื่องระยะยาว จะมีความโดดเด่นในการกระตุ้นโครงสร้างในชั้นผิวหนังแท้ต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อฤทธิ์ในการทำให้ผิวอ่อนเยาว์ (antiaging effect) ได้แก่
🍓Lactic acid เด่นเรื่อง Ceramide synthesis
🍋Glycolic acid เด่นเรื่อง Collagen synthesis, fibroblast proliferation
🍊Citric acid เด่นเรื่อง GAGs synthesis, antiaging effect, pH adjuster
ซึ่งหากผลิตภัณฑ์ใดมีส่วนประกอบครบถ้วน ในปริมาณที่เหมาะสม และในรูปแบบที่เสถียรและ slow release ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า
💯 ใช้ AHA และ BHA ร่วมกันได้หรือไม่ และหากไม่เคยใช้ควรเริ่มต้นอย่างไร
: ใช้ร่วมกันได้ค่ะ แนะนำว่าควรเลือกตามสภาพปัญหาผิวที่ต้องการแก้ไข บางท่านอาจจำเป็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ปัญหาผิวของบางท่านจำเป็นต้องใช้ทั้งสองอย่างค่ะ
: สิ่งที่แนะนำที่ดีที่สุดคือ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อวิเคราะห์ปัญหาผิวและช่วยดูว่าต้องแก้ไขอะไรบ้าง หากเริ่มใช้อาจลองในความเข้มข้นต่ำ ทดสอบอาการแพ้ระคายเคืองที่ผิวหนังบางจุดก่อน เช่น ไรผม หน้าหู เป็นต้น
💯 AHA และ BHA จะออกฤทธิ์เสริม (synergistic effect) กับการทาร่วมกับยาทาหรือครีมอื่นอะไรได้บ้าง
🦠 การใช้ lactic acid and its ammonium salt คู่กับ topical corticosteroids ช่วยป้องกัน dermal atrophy ได้
🦠 การเริ่มทา topical retinoids นำไปก่อน 2 สัปดาห์ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ AHA, BHA มากขึ้น
🦠 การทา AHA จะทำให้ pH ที่ผิวต่ำลง ทำให้ topical ascorbic acid ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น แต่ในทางกลับกัน อาจต้องเว้นระยะอย่างน้อย 10-15 นาทีก่อนการทาสกินแคร์ตัวอื่นต่อ ทั้งนี้เพื่อรอให้ pH ที่ผิวกลับมาเป็นปกติก่อน
💯 หากทา AHA แล้วเกิดการระคายเคือง แสบ แดง ลอก ทำอย่างไร
อันดับแรกควรหยุดใช้ และไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา
: หากเป็นจากการแพ้ ควรหยุดใช้
: หากเป็นจากการระคายเคือง ทำได้โดยลดความเข้มข้น, ลองทาเฉพาะบางบริเวณ, ใช้รูปแบบที่เป็น slow release เพื่อลดการระคายเคืองได้ ทาครีมบำรุงเพิ่มความชุ่มชื้นร่วมด้วย และควรทาครีมกันแดดในทุกเช้าเพื่อลดการระคายเคืองและผิวหมองคล้ำจากแสงแดด
💯 ยี่ห้อไหนดี
: การตัดสินใจซื้อครีมสักชิ้นคงต้องขึ้นกับหลายปัจจัยรวมทั้งความพึงพอใจส่วนบุคคล เช่น ต้องการประสิทธิภาพดีที่สุดตามหลักการทุกอย่าง ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน มีชื่อเสียงยอมรับ บรรจุภัณฑ์ดี ชนิดของเนื้อครีมที่เหมาะกับผิว เช่น เจล ซีรั่ม โลชั่น ครีม รวมทั้งราคา โดยผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิวใหม่ ๆ ก็มักจะมีการปรับในเรื่องของเทคโนโลยีการลดระคายเคืองให้น้อยที่สุด เนื้อครีมเสถียรคงตัวมากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพให้ได้ตามหลักการ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ถึงราคาที่ต้องมากขึ้นไปด้วยตามลำดับ
วันนี้ทุกคนก็ได้ทราบหลักการแล้ว สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความเหมาะสมของสภาพปัญหาผิวที่มี หากมีประเด็นที่สงสัยสามารถคอมเม้นต์ถามได้ แล้วหมอจะมาตอบในโพสหน้านะคะ
💯 อยากทราบผลิตภัณฑ์ AHA BHA ที่คุณหมอใช้
: ตอนนี้ใช้อยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งคิดว่าโอเคมาก ๆ ไว้จะมาเล่าให้ฟังในช่วง Skincare Battle ขอเวลาเขียนสองวันนะ
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References
Australasian Journal of Dermatology (2017) doi: 10.1111/ajd.12715
Molecules 2018; 23, 863 doi: 10.3390/molecules23040863
J Am Acad Dermatol 2019; 81: 313-24.
Am J Clin Dermatol 2010; 11: 95-102.
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.