Category Archives: Photodermatology

สรุปโรคและสีที่มองเห็นจาก Wood’s Lamp Examination

การใช้อุปกรณ์ส่องผื่นที่เรียกว่า Wood’s lamp เป็นการตรวจวิธีที่ใช้เวลาไม่นาน ค่าใช้จ่ายไม่สูง ใครก็สามารถทำได้ถ้ามีอุปกรณ์และห้องมืด ๆ สักห้องค่ะ

โพสต์นี้รวบรวมว่า โรคหรือภาวะทางผิวหนังอะไร จะมีสีที่มองเห็นจากการส่องเป็นแบบใด ลองดูนะคะ

Wood’s lamp findings Helloskinderm
Wood’s lamp findings
Wood’s lamp findings

ยกตัวอย่าง

เชื้อราที่เล็บจากเชื้อ Pseudomonas เห็นเป็นสีเขียวจากการส่องด้วย Wood’s lamp
เชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes เห็นเป็นสีส้มแดงจากการส่องด้วย Wood’s lamp
ปัสสาวะของผู้ป่วย Porphyria cutanea tarda เห็นเป็นสีชมพูอมแดงจากการส่องด้วย Wood’s lamp

Refernce : J Clin Aesthet Dermatol. 2022;15(6):25-30.

แสง กับ การรักษาสิว (ตอน 1)

ข้อควรรู้ที่อยากเล่าให้ฟังเบื้องต้น เรื่องแสงกับการรักษาสิว มีดังนี้

✔️ สามารถใช้เสริมกับการรักษามาตรฐานด้วยยากิน ยาทาสิว
✔️ ควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ และ เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน
✔️ ชนิดของแหล่งกำเนิดแสง ความเข้มแสง ระยะเวลาการรักษา ในคนไข้สิวแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นกับแพทย์พิจารณา
✔️ การตอบสนองต่อการรักษาของแต่ละคนก็แตกต่างกัน

🔵 สีฟ้า ตื้นสุด
🟡 สีเหลือง ปานกลาง
🔴 สีแดง ลึกสุดครอบคลุมทุกชั้นผิว

✔️ กรณีสิว
สีฟ้า และ สีแดง มีข้อมูลว่าเสริมการรักษาสิวระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลางได้
กลไก คือ
• ลด C.acnes
• ลด Pore size
• ลดการอักเสบ

✔️ กรณี Rejuvenation & Photodamage
• LEDs สีฟ้า สีแดง สีเหลือง มีข้อมูลการศึกษาทั้ง 3 สี
กลไก คือ
กระตุ้น Ca2+, nitric oxide, matrix metalloproteinase ซึ่งช่วยในกระบวนการ collagen-stimulating pathways
• PDT ก็อาจช่วยได้ในแง่ photodamaged facial skin texture, wrinkles, and mottled pigmentation

หมอทำภาพสรุปมาให้

จบแล้วตอนที่ 1
ไว้มาต่อตอนที่ 2 ถ้ามีคนอยากอ่านค่ะ 🤭♥️

References

J Am Acad Dermatol. 2021 May ; 84(5): 1219–1231.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.


วิธีเลือกหมวกกันแดด

หมวกชนิดกันแดดได้ แต่หมวกแต่ละชนิดกันรังสียูวีได้ไม่เท่ากัน ปกป้องส่วนต่าง ๆ ของผิวบนใบหน้าได้ไม่เท่ากัน

หากมองหาหมวกสักใบเพื่อเสริมการปกป้องผิวจากแสงแดด แนะนำแบบนี้ค่ะ

หมวก กันแดด

• ผิวที่เราต้องปกป้อง ควรต้องครอบคลุมทุกส่วนบนใบหน้า ทั้งหน้าผาก จมูก คาง แก้ม ท้ายทอย

ดังนั้น ควรเลือกหมวกที่มีปีกกว้าง โดยพบว่าหมวกที่มีส่วนปีกกว้างมากกว่า 7.5 เซนติเมตร และควรปีกกว้างรอบทุกด้าน จึงปกป้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

• มองหาหมวกที่ทำจากวัสดุที่มีระบุค่าที่บ่งบอกถึงการปกป้องยูวีทั้ง UVA & UVB ที่เรียกว่า UPF (ต่างกับ SPF จะหมายถึงเฉพาะ UVB protection) โดยถือว่า

UPF 30-49 จัดเป็น Very good protection

UPF 50+ ขึ้นไป จัดเป็น Excellent protection

ดังนั้น ถ้าแดดแรงมากควรเลือก UPF 50 ขึ้นไป

• สีของหมวกก็สำคัญ แต่ละสีปกป้องแสงแดดไม่เท่ากัน สีเข้มจะสามารถดูดซับแสงไว้ที่ตัวได้ดี ทำให้ทะลุผ่านมาถึงผิวหนังได้น้อยกว่าสีอ่อน

ดังนั้น ควรเลือกสีเข้มจะปกป้องยูวีได้ดีกว่า

• ลักษณะของเนื้อผ้าและการถักทอของผ้า ถ้าผ้าหนา ทอละเอียดจะยิ่งมีโอกาสให้รังสียูวีทะลุผ่านได้น้อย ดังนั้น ควรเลือกผ้าที่หนา ทอแน่น จะดีกว่า ผ้าบาง ทอโปร่ง

กลุ่มปกป้องยูวีได้มากกว่า เช่น ผ้ายีนส์ ผ้าแคนวาส ผ้าขนสัตว์ ผ้าใยสังเคราะห์

• ผ้าอื่น ๆ เช่น

ผ้าฝ้ายไม่ฟอกสี จะยังมีสารลิกนิน ซึ่งเป็น UV absorber ช่วยกันยูวีได้ดีกว่าที่ฟอกสีแล้ว

ผ้าโพลีเอสเตอร์แบบเงา หรือ ผ้าไหมซาติน พวกนี้มีความเงาจะช่วยสะท้อนแสง และกันยูวีได้มากกว่าผ้าไม่เงา

ผ้าบางชนิดใช้เทคโนโลยีการผสม Chemical UV absorber ก็ช่วยได้เช่นกัน

• การสวมใส่ก็ปกป้องได้แตกต่าง แนะนำว่าควรสวมหมวกให้หลวมเล็กน้อย ไม่แน่นมาก เพราะการสวมแน่นจะเป็นการยืดเส้นใยของผ้าให้ถ่างออกและมีรูให้รังสียูวีทะลุผ่านมาได้มากขึ้น

ดังนั้น คนสองคนใส่หมวกใบเดียวกัน อาจจะปกป้องรังสียูวีได้แตกต่าง บางคนหัวเล็กหัวใหญ่ ใส่แล้วหลวมหรือแน่น

การสวมหมวก เป็นหนึ่งในวิธีการเสริมการปกป้องผิวจากรังสียูวี เหนือสิ่งอื่นใดต้องควบคู่กับการทาครีมกันแดดอย่างถูกวิธี เพราะการสวมหมวกปีกกว้าง หรือ ใส่เสื้อแขนยาว ก็ไม่สามารถทดแทนการทาครีมกันแดดได้แน่นอนค่ะ

หากบทความมีประโยชน์ สามารถแชร์ให้เพื่อน ๆ อ่านได้เลย

——————————————

รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Rosacea โรคหน้าแดงเวลามีปัจจัยกระตุ้น 🌶🌶

บางคนสงสัยว่าจะเป็น Rosacea หรือไม่ ???

สำหรับคนที่มีอาการหน้าแดงเวลามีปัจจัยกระตุ้น เช่น ความร้อน แสงแดด ทานอาหารรสจัด แอลกอฮอล์หรือความเครียด โดยมักมีอาการแดงของใบหน้าบริเวณตอนกลางของใบหน้า จมูก แก้ม อาจมีตุ่มสิวอักเสบ เส้นเลือดขยายตัว แสบหน้า บางครั้งมีอาการแสบตา เคืองตา น้ำตาไหล ร่วมด้วย ภาวะนี้เราเรียกว่า โรคโรซาเชีย

ภาวะนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าบางส่วนเกิดจากพันธุกรรม และมีรายงานว่าเกิดจากตัวไรบนใบหน้า ที่ชื่อ Demodex ทำให้เกิดผิวอักเสบขึ้นมา

หากมีอาการดังกล่าว ร่วมกับมีผื่นดังรูป ควรเข้าพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

สิ่งที่พึงปฏิบัติคือ หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น แสงแดด อาการร้อนจัด เย็นจัด เลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารรสจัด, เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ใช้ครีมกันแดดสม่ำเสมอ และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวแพ้ง่าย

การรักษาอื่นๆร่วมด้วยที่ต้องได้รับการพิจารณาโดยแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง ในภาวะนี้รักษาได้หลายวิธี เช่น

• ยาทาในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ clindamycin, erythromycin, metronidazole, azelaic acid

• ยารับประทานในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ tetracycline

• ยากินกลุ่มเรตินอยด์

• เลเซอร์เพื่อลดรอยแดงและลดเส้นเลือด เช่น IPL, KTP, PDL

หากไม่รักษาอย่างถูกต้อง อาจเกิดผลที่ตามมาคือ จมูกผิดรูป, ผิวหน้าหนาขรุขระ มีภาวะแทรกซ้อนทางตารุนแรงได้ เช่น กระจกตาอักเสบ

โรคโรเซเชีย เป็นโรคเรื้อรัง รักษาหายแล้วก็กลับมาเป็นได้ใหม่อีก การกลับเป็นซ้ำขึ้นกับการดูแลเอาใจใส่และป้องกันปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคลค่ะ

หากสงสัยว่าเป็นโรคนี้ อย่าลืมไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังเพื่อรับการรักษาและคำแนะนำที่ถูกต้องนะคะ

ดูคลิปเรื่อง โรเซเชีย ได้ที่นี่ https://youtu.be/u7PpGBuqDh4

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
อ่านเพิ่มเติม https://www.jaad.org/article/S0190-9622(17)32297-1/fulltext

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.