Tag Archives: photoaging

แสง กับ การรักษาสิว (ตอน 1)

ข้อควรรู้ที่อยากเล่าให้ฟังเบื้องต้น เรื่องแสงกับการรักษาสิว มีดังนี้

✔️ สามารถใช้เสริมกับการรักษามาตรฐานด้วยยากิน ยาทาสิว
✔️ ควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ และ เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน
✔️ ชนิดของแหล่งกำเนิดแสง ความเข้มแสง ระยะเวลาการรักษา ในคนไข้สิวแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นกับแพทย์พิจารณา
✔️ การตอบสนองต่อการรักษาของแต่ละคนก็แตกต่างกัน

🔵 สีฟ้า ตื้นสุด
🟡 สีเหลือง ปานกลาง
🔴 สีแดง ลึกสุดครอบคลุมทุกชั้นผิว

✔️ กรณีสิว
สีฟ้า และ สีแดง มีข้อมูลว่าเสริมการรักษาสิวระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลางได้
กลไก คือ
• ลด C.acnes
• ลด Pore size
• ลดการอักเสบ

✔️ กรณี Rejuvenation & Photodamage
• LEDs สีฟ้า สีแดง สีเหลือง มีข้อมูลการศึกษาทั้ง 3 สี
กลไก คือ
กระตุ้น Ca2+, nitric oxide, matrix metalloproteinase ซึ่งช่วยในกระบวนการ collagen-stimulating pathways
• PDT ก็อาจช่วยได้ในแง่ photodamaged facial skin texture, wrinkles, and mottled pigmentation

หมอทำภาพสรุปมาให้

จบแล้วตอนที่ 1
ไว้มาต่อตอนที่ 2 ถ้ามีคนอยากอ่านค่ะ 🤭♥️

References

J Am Acad Dermatol. 2021 May ; 84(5): 1219–1231.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.


ไขข้อข้องใจ.. LIFE PLANKTON ทำไมไปอยู่ในสกินแคร์ มีประโยชน์ต่อผิวอย่างไร

โดยปกติที่เราได้ยินคำว่า Probiotics ที่ผสมในสกินแคร์ทาผิว เพื่อหวังผลในเรื่อง ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ตามธรรมชาติที่ผิวหนังนั้น มักเป็น non-viable bacteria หรือ cell lysates ตัวตายแล้ว เพราะถ้าหากเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่ ก็มักถูกทำลายไปในระหว่างกระบวนการผลิตตั้งแต่ตอนต้นแล้วค่ะ

แล้ว LIFE PLANKTON ในน้ำตบล่ะ …

LIFE PLANKTON ที่ผสมในสกินแคร์ เช่น น้ำตบ เอสเซนต์ เซรั่ม จัดเป็น Probiotic Fraction ค่ะ
กล่าวคือ เป็น สารสกัดจากจุลินทรีย์ชนิดดีที่ตายแล้วเช่นกัน โดย LIFE PLANKTON™ ได้มาจากการสกัด Vitreoscilla filiformis (Vf) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ซึ่งมีต้นกำเนิดในเฟรนช์พีเรนีส (FRENCH PYRENEES)

LIFE PLANKTON™ ได้มาจากการสกัด Vitreoscilla filiformis (Vf)

ปกติแพลงตอนจะมีช่วงจำศีลเพื่อเก็บสะสมพลังงานไว้ในรูปสารชนิดหนึ่ง และจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานที่มีประโยชน์ต่อผิวได้ ทำให้ LIFE PLANKTON ถูกนำมาเป็นส่วนผสมของสกินแคร์หลายแบรนด์ โดยแบรนด์แรกที่บุกเบิกส่วนผสมนี้ คือ ไบโอเธิร์ม ซึ่งได้มีการเพิ่มจำนวนผ่านกระบวนการหมักชีวภาพที่มีชื่อว่า FERMOGENESE™ จดสิทธิบัตรของไบโอเธิร์ม ทำให้ LIFE PLANKTON มีความเข้มข้นสูงกว่าเมื่อเทียบกับแหล่งธรรมชาติถึง 400,000 เท่าเลยทีเดียว

ประโยชน์ของสารสกัดจาก Vitreoscilla filiformis (Vf) ดังนี้

ประโยชน์ของสารสกัดจาก Vitreoscilla filiformis (Vf)

• ช่วยลดการเกิด sunburn cells จากการกระตุ้นด้วย UVB ได้
• เพิ่ม MnSOD สารต้านอนุมูลอิสระที่เซลล์ผิวได้ จึงช่วยลดการทำร้ายผิวจากสารอนุมูลอิสระและมลภาวะต่าง ๆ
• ฟื้นฟูผิวให้แข็งแรง ลดการระคายเคือง และกระตุ้นการสร้างผิวใหม่ จึงช่วยให้ผิวแลดูสุขภาพดีและริ้วรอยเล็กดูดีขึ้น
• ช่วยปรับสมดุลของ skin microbiome ที่ผิว

นอกจากนั้นยังมีการศึกษาในหลอดทดลอง (In vitro study) พบว่า หากใช้ LIFE PLANKTON ร่วมกับส่วนผสมอื่น ๆ เช่น vitamin C สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นได้ 2 เท่า โดยสามารถกระตุ้นการสร้าง Essential protein ที่เป็นส่วนผสมของกำแพงผิว และช่วยเพิ่ม Collagen-1 & Zo-1 enzyme expression ส่งผลให้กำแพงผิวแข็งแรงมากขึ้น

มี LIFE PLANKTON™ Probiotic Fraction

ยกตัวอย่างสกินแคร์ที่มี LIFE PLANKTON™ Probiotic Fraction ร่วมกับ Vitamin C เช่น Biotherm Life Plankton Essence [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย]

🏥🏥 BOTTOM LINE

ถึงแม้ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ชนิดทา topical probiotics ยังไม่มีสูตรใดที่ได้ FDA approved อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลที่รวบรวมถึงประโยชน์ต่อผิวหนังที่ได้รับหลังการทา และได้ผลไปในทางที่ค่อนข้างดี
โดยหลักการก็คือ ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ผิวให้ดีขึ้น ส่งผลให้ผิวแข็งแรงสุขภาพผิวดี จึงแก้ปัญหาผิวต่าง ๆ ได้ เช่น สิว ริ้วรอยตื้น ๆ ผิวหนังอักเสบบางชนิด เป็นต้น

แต่ต้องอย่าลืมว่า สภาพผิวแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความหลากหลายของจุลินทรีย์ผิวแต่ละคนก็ต่างกัน ดังนั้น ผลที่ได้อาจแตกต่างกันออกไป สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อผลลัพธ์ต่อผิวที่ดีขึ้นไปอีกค่ะ ไว้จะมาอัพเดทเรื่อย ๆ รอติดตามนะคะ

ด้วยความปรารถนาดี

หมอเจี๊ยบ

References:

Exp Dermatol. 2020 Jan;29(1):15-21.
Experimental Dermatology 2010; 19: e1–e8.
Genome announcements 2017; 5(34): e00913-17.
Int J Cosmet Sci. 2006 Aug; 28(4): 277-87.
Am J Clin Nutr 2000; 71: 861– 872.

J Appl Bacteriol 1989; 66: 365– 378.

[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย

Biotherm LIFE PLANKTON™ Essence
เอสเซนต์น้ำตบบำรุงเพื่อฟื้นฟูปรับสมดุลผิว เนื้อสัมผัสบางเบา ซึมไว

Biotherm LIFE PLANKTON™ Essence
Biotherm LIFE PLANKTON™ Essence

▫️ส่วนผสมหลัก

• Life Plankton Probiotic Fraction เข้มข้น 5% (สูงสุดที่ใช้ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของแบรนด์) ช่วยฟื้นฟูผิว ลดการอักเสบ กำแพงผิวแข็งแรง
Hyaluronic acid 2 โมเลกุล ได้แก่ Sodium hyaluronate (โมเลกุลเล็ก) และ Fragmented hyaluronic acid (โมเลกุลใหญ่) และ Glycerin เพิ่มความชุ่มชื้นผิว
Ascorbyl glucoside ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น
Vitamin E ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
Salicylic acid ช่วยลดการหลั่งน้ำมันผิว คุมมัน ลดการเกิดสิวอุดตัน

▫️Scientific Data จากไบโอเธิร์ม
พบว่าช่วยเรื่อง soothing ลดการระคายเคืองผิว ลดปัญหาผิวแห้งลอกอักเสบเพิ่มความชุ่มชื้น ปรับสมดุลผิว ลดความมันผิว ผิวแลดูกระจ่างขึ้น


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved

รังสี UVA1 กับปัญหาผิว Skin

ภาพนี้สรุปได้ค่อนข้างครบถ้วนเรื่องผลของรังสี UVA1 หรือ Long UVA ต่อผิวหนัง
เราทราบดีว่ารังสีจากแสงอาทิตย์ที่ตกลงมาถึงพื้นโลกได้หลัก ๆ มี 3 อย่าง คือ UV, Visible light, Infrared

รังสี UV ที่ยิ่งความยาวคลื่นมากจะยิ่งทะลุทะลวงสิ่งกีดขวาง เช่น ก้อนเมฆ ชั้นโอโซน กระจก ความสูง สภาพอากาศ ฯลฯ ลงมาได้มาก โดยเฉพาะ UVA1 หรือ อาจเรียกว่า Long UVA (ซึ่งมีความยาวคลื่นมากกว่า UVA2 และ UVB ตามลำดับ) โดยพบว่า UVA1 สามารถทะลุทะลวงสู่โลกได้ถึง 80% ของรังสียูวีทั้งหมดทีเดียว

นอกจากนั้น UVA ยังสามารถทะลุผิวหนังลงได้ลึกถึงชั้นหนังแท้ (Dermis) ได้มากกว่า UVB ถึง 100 เท่า

กลไก คือ UVA1 หลังจากถูกดูดซับโดย UVA1 photon ก็จะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาในผิว ส่งผลให้มีการสร้างสารอนุมูลอิสระ Reactive oxygen species (ROS) มากขึ้น สารตัวนี้จะไปทำลาย DNA ของเซลล์โดยการเกิด oxidative stress และส่งผลต่อผิวหนังตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (ดังรูป)

ผลของ UVA1 ต่อผิวหนัง​
ผลของ UVA1 ต่อผิวหนัง

ดังนั้นการปกป้องผิวจากแสงแดดโดยเฉพาะ UVA จึงสำคัญมากถ้าหากไม่อยากเกิด Premature aging of skin ก่อนวัย

หากชอบบทความนี้ >> กดไลค์กดแชร์ และ กดติดตามเพจไว้ติดตามเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับผิวหนังที่จะมาเล่าให้ฟังเรื่อย ๆ นะคะ
..หมอเจี๊ยบ..👩🏻‍⚕️


Reference
The Damaging Effects of Long UVA (UVA1) Rays: A Major Challenge to Preserve Skin Health and Integrity. Int. J. Mol. Sci. 2022; 23: 8243.

รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Tannic acid ซุปตาร์ชะลอริ้วรอยแห่งวัย

หนึ่งในซุปตาร์ส่วนผสมชะลอริ้วรอยแห่งวัยอีกตัว ที่วันนี้อยากให้รู้จักกัน คือ Tannic acid

Tannic acid เป็นสาร phenolic compound ที่ได้จากการไฮโดรไลซ์ Tannin มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น การใช้เป็นยารักษาโรคบางอย่าง ใช้ปรุงแต่งรสในอาหารและเครื่องดื่ม สามารถพบได้ในใบของพืชและเปลือกผลไม้หลายชนิด เช่น Japanese gall (Rhus javanica) หรือ gallnut (Quercus infectoria) หรือ เปลือกผลไม้พวกองุ่น ชาเขียว และสิ่งทีทำให้มหัศจรรย์กว่านั้น คือทำให้ ต้นสนยักษ์ ซีคัวญา มีอายุยืนยาวได้มากกว่า 3,000 ปี (ต้นสนยักษ์ในรูป)

Tannic acid ชะลอวัย
Tannic acid

ในแง่ผิวหนัง ปัจจุบันมีการกล่าวถึงประโยชน์ของการนำกรดแทนนิกมาผสมในสกินแคร์มากขึ้น
Tannic acid เป็นที่นิยมนำมาผสมในสกินแคร์กลุ่มต้านอนุมูลอิสระเพื่อหวังผลเรื่องการชะลอผิวเสื่อมจากวัย, แสงแดดและมลภาวะ เพราะมีคุณสมบัติ ดังนี้

✔️ Photoprotection
สามารถดูดซับแสงได้หลายความยาวคลื่น และ ช่วยปกป้องและลดความเสียหายของ DNA & fibroblast และลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวีและมลภาวะ
✔️ Anti oxidation
ยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ Hydroxy radical ได้ดี และมีฤทธิ์เสริมการทำงานกับ L-ascorbic acid ทำให้ต้านอนุมูลอิสระโดยยับยั้งปฏิกิริยา Fenton ได้ดีมากยิ่งขึ้น
✔️ Anti inflammation
ช่วยลดการอักเสบที่ผนังหลอดเลือด และลดการเกิดอนุมูลอิสระในผนังเส้นเลือดได้ ช่วยสร้างและกระตุ้น KLF2 (Kruppel-liked Factor 2) ซึ่งช่วยลดการอักเสบในผนังเส้นเลือด
✔️ Scavenger
กำจัดโลหะหนักและสารอนุมูลอิสระ เช่น DPPH, superoxide anion, peroxyl, nitric oxide and peroxynitrite
✔️ Anti collagenase, elastase & MMP-1
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่มาทำลายโครงสร้างผิว เช่น อิลาสติน คอลลาเจน ไฮยาลูรอน

ดังนั้น โดยรวมจึงส่งผลให้ผิวแลดูมีสุขภาพดี ริ้วรอยเล็ก ๆ ดูลดลง จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ tannic acid ถูกขนานนามว่าเป็น Anti photoaging agent ที่ดีมากตัวหนึ่ง

ในแง่ของการ เสริมกำแพงผิวและลดผื่นผิวหนังอักเสบ พบว่า Tannic acid ยังมีข้อมูลเรื่องการทาเพื่อลดการอักเสบผิวและสามารถเสริมกำแพงผิวให้แข็งแรงขึ้นได้ จากข้อมูลทดลองในหนู พบว่าสามารถยับยั้ง NFsignaling, เพิ่ม PPARγ protein expression
และลดการอักเสบของผื่นผิวหนังได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจและน่าติดตามว่าอนาคตจะมีการนำมาประยุกต์กับผิวมนุษย์ในแง่การทำสกินแคร์เสริมกำแพงผิวหรือไม่

นอกจากนั้น Tannic acid ยังมีข้อมูลช่วยลดการหายของแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย และลดการเกิดรอยแดงจากการอักเสบได้

PRACTICAL POINT

ปัจจุบันแนวโน้มของการใช้สกินแคร์กลุ่มฟื้นฟูผิว เพื่อการบำรุงผิวมีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Anti-aging เพราะมีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องของ Anti-oxidant และ Photoprotection ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยชะลอให้ความเสื่อมของผิวเราเกิดขึ้นได้ช้าลง เพราะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตปัจจุบันที่ต้องเผชิญแสงแดดและมลภาวะเป็นประจำ ทำให้ผิวถูกทำร้ายโดยไม่รู้ตัว

สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของ Tannic acid เป็นอีกตัวที่มีข้อมูลการทาเพื่อช่วย Anti-aging ได้ดี และหากใช้ร่วมกับ L-ascorbic acid จะช่วยเสริมฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระได้มากขึ้นอีก

ยกตัวอย่าง Tannic [CF] Serum ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของ Alphascience แบรนด์เวชสำอางผู้นำด้าน Cutting-edge antioxidant technology จากฝรั่งเศส ก็มีส่วนผสมหลักเป็น 2% Tannic acid และ 10% Stabilized L-Ascorbic acid ร่วมด้วย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย)

หวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผิวของทุกท่านนะคะ

ด้วยความปรารถนาดี


References
Int J Biol Macromol. 2021 Nov 30;191:918-924.
Adv Wound Care (New Rochelle). 2019 Jul 1;8(7):341-354.
Exp Dermatol. 2018 Aug;27(8):824-826.
Cytokine. 2015 Dec;76(2):206-213.
J Invest Dermatol. 2010 May;130(5):1459-63.


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Tannic [CF] Serum
จาก AlphascienceThailand แบรนด์เวชสำอางผู้นำด้าน Cutting-edge antioxidant technology จากฝรั่งเศส

Tannic [CF] Serum จาก Alphascience Thailand
Tannic [CF] Serum

เซรั่มช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอริ้วรอยแห่งวัย ผิวแลดูใสและจุดด่างดำจางลงเร็ว
เหมาะกับผิวธรรมดา ผิวแห้ง

ส่วนผสมหลัก
▫️2% Tannic acid ลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระ ยับยั้งในกระบวนการผลิตเม็ดสีผิวเมลานิน เสริมการสังเคราะห์คอลาเจนใต้ผิว
▫️10% Stabilized L-Ascorbic acid รูปแบบที่เสถียรสูงจากการทดสอบโดย SGS Multilab พบว่าการออกฤทธิ์คงตัวเกือบ 90% แม้อยู่ในอุณหภูมิสูงถึง 40°C เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลาเจนใต้ผิว ผิวแลดูกระจ่างใส
▫️0.5% Ferulic acid ลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระและซ่อมแซมผิวถึงระดับ DNA
▫️Ginkgo Biloba ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และ ช่วยผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น

*ข้อมูลจาก Alphascience ในหญิง 22 คน เฉลี่ยอายุ 59 ปี หลังการใช้ Tannic [CF] Serum ทุกเช้า นาน 1 เดือน พบความพึงพอใจ ผิวนุ่มยืดหยุ่นขึ้น 98%, ผิวหน้าเนียนขึ้น 75%, จุดด่างดำแลดูลดลง 58%, ผิวหน้าแลดูกระจ่างใสขึ้น 70%

ไม่แนะนำให้ใช้ในผิวที่เป็นแผล หรือ หลังทำหัตถการ 48 ชั่วโมง
ปราศจากพาราเบน น้ำหอม สารกันเสีย และไม่มีการทดลองในสัตว์
เหมาะสำหรับคน ผิวปกติ และผิวแห้ง

**ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

สกินแคร์ชะลอวัย 101 ด้วย Retinaldehyde & Bakuchiol

หลายคนที่หวังผล Anti-aging จากการทา Tretinoin แต่ประสบปัญหาหน้าแดง แสบ ลอก ไม่ว่าจะลองปรับลดความถี่ ลดความเข้มข้น เสริมสกินแคร์เพิ่มความชุ่มชื้นมากมาย แต่ก็ไปไม่รอด อยากให้ลองอ่านบทความนี้ เกี่ยวกับสกินแคร์ในรูปแบบทา ที่ออกฤทธิ์ anti-aging ได้คล้ายคลึงกับ tretinoin นั่นก็คือ อนุพันธ์วิตามินเอ (Vitamin A derivatives) และ Bakuchiol

เรามาทำความเข้าใจพื้นฐานเล็กน้อยกันก่อนค่ะ

ก่อนจะมาเป็น Retinoic acid จะต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารตั้งตั้น คือ Retinyl ester Retinol Retinaldehyde -> Retinoic acid ซึ่งเป็นสารตัวที่สามารถซึมลงสู่ผิวชั้นหนังแท้และออกฤทธิ์ได้ที่ผิวหนังในที่สุด

วิตามินเอ Tretinoin and Vitamin A Derivatives
กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิตามินเอที่ผิวหนัง

โดยปกติมีการแบ่งวิตามินเอชนิดทา เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มยา ได้แก่ Tretinoin ( retinoic acid) ต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์เพราะมีผลข้างเคียงระคายเคืองมากกว่า โดยปกติจึงไม่แนะนำให้ซื้อใช้เอง สามารถอ่านทบทวนบทความที่เคยเขียนไว้ก่อนนี้ได้ค่ะ
  2. กลุ่มสกินแคร์ ได้แก่ Natural vitamin A derivatives และ Bakuchiol ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ยา และมักถูกนำมาผสมในสกินแคร์เพื่อหวังผลด้าน antiaging ได้แก่
Tretinoin or Retinoic acid ​
Tretinoin or Retinoic acid

2.1 Retinaldehyde

เป็น retinoic acid precursor ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็น retinoid acid ได้ที่ keratinocyte ที่ผิวมนุษย์เพียง 1 ขั้นตอน พบว่าใช้ได้ผลในแง่ antiaging อยู่ที่ความเข้มข้น 0.05 – 0.5% โดยหลังการทาผิว 1-3 เดือน มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่

• ความหนาของผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermal thickness) เพิ่มขึ้น
• ความยืดหยุ่นผิว (cutaneous elasticity) เพิ่มขึ้น
• สภาพผิวเรียบขึ้น ริ้วรอยเล็ก ๆ ดีขึ้น (Texture improvement)
• ค่าการสูญเสียน้ำจากผิว (TEWL) ลดลง ผิวชุ่มชื้นขึ้น
• ค่าการสร้างเม็ดสีผิว (Melanin index) ลดลง ในกรณี Retinaldehyde 0.1% ขึ้นไป

มีข้อมูลเปรียบเทียบการทา retinaldehyde 0.05% กับ การทายา retinoic acid 0.05% พบว่าหลังการทานาน 18 – 44 สัปดาห์ ริ้วรอยเล็ก ๆ (Fine wrinkle) และผิวที่ไม่สม่ำเสมอ (Roughness) ดีขึ้นทั้งสองชนิด

ดังนั้น การทา retinaldehyde จึงเป็นอีกทางเลือกที่มีข้อมูลรองรับและน่าสนใจสำหรับคนที่ไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาทากรดวิตามินเอ (retinoic acid) ได้ และสามารถใช้ได้ในระยะยาวแม้บริเวณผิวที่มีการระคายเคืองง่าย

Retinaldehyde
Retinaldehyde

2.2 Retinol

เป็นตัวตั้งต้นของ retinaldehyde และต้องผ่าน 2 ขั้นตอนในการเปลี่ยนเป็น retinoic acid นิยมใช้สำหรับผสมในสกินแคร์ ที่ผ่านมามีการศึกษาพบว่าหลังการทา retinol มีการเพิ่มขึ้นของ epidermal retinyl ester แต่ไม่มีการเพิ่มของ retinoic acid level

มีการศึกษาที่ใช้ 0.4-1% retinol ชนิดทาผิว พบว่าปริมาณ collagen ที่ผิว เพิ่มขึ้นหลังการทา 4 สัปดาห์ แต่ประสิทธิภาพต้องขึ้นกับ vehicle ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์นั้นร่วมด้วย คงต้องรอข้อมูลในอนาคตเพิ่มเติม และ retinol จะสลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงและอากาศ ต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะ

ข้อดีของกลุ่มนี้คือ อ่อนโยน ระคายเคืองน้อย

Retinol
Retinol

2.3 Retinyl-palmitate, retinyl propionate และ retinyl-acetate

จัดเป็น vitamin A ester derivatives กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้ผลน้อยที่สุดในบรรดา topical retinoids ทั้งหมด เพราะต้องผ่านขั้นตอนการตัดพันธะ ester ให้กลายเป็น retinol และเกิดการ oxidation เพื่อให้เป็น tretinoin อีกที เรียกได้ว่ากว่าจะออกฤทธิ์ได้ต้องผ่านถึง 3 ขั้นตอน และการดูดซึมก็ไม่ดีเท่าที่ควร

ข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มนี้อาจช่วยเรื่อง UV protection ได้เล็กน้อย แต่ยังไม่มีข้อมูลช่วยเรื่อง antiaging

Vitamin A Ester Derivatives
Vitamin A Ester Derivatives

2.4 Bakuchiol

เป็น purified meroterpene phenol สารสกัดจากพืช Psoralea corylifolia (babchi) พบว่ามีคุณสมบัติกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ผลัดเซลล์ผิว ลดการอักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องสิวได้

โดยพบว่าการทา 0.5% Bakuchiol นาน 12 สัปดาห์ ช่วยให้ริ้วรอยเล็ก ๆ ดีขึ้นได้เทียบเคียงกับการทา 0.5% Retinol

นอกจากนั้นยังช่วยให้รอยดำดีขึ้นเพราะช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวร่วมด้วย และยังพบผลข้างเคียงเรื่องระคายเคืองน้อยที่สุดและน้อยกว่า Retinol

ดังนั้น Bakuchiol จึงเป็นน้องใหม่ที่น่าสนใจอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่ทนผลข้างเคียงเรื่องการระคายเคืองของ tretinoin ไม่ได้

Bakuchiol
Bakuchiol

เหนือสิ่งอื่นใดหากต้องการให้ผิวแลดูอ่อนเยาว์ไปนาน ๆ นอกจากการใช้สกินแคร์กลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอแล้ว ต้องไม่ลืมที่จะ ดูแลกำแพงผิวพื้นฐานให้แข็งแรงและเพิ่มความชุ่มชื้นควบคู่ไปด้วยเสมอ โดยมองหาสกินแคร์เหล่านี้ร่วมด้วย

สกินแคร์ที่มีส่วนผสมพื้นฐานของผิว ได้แก่ ceramide, hyaluronic acid หลายโมเลกุล และสกินแคร์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น niacinamide, vitamin C, E, ferulic, ectoin เป็นต้น

การใช้สกินแคร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลผิว เพื่อให้ผิวของเรามีสุขภาพดี ซึ่งคงต้องทำควบคู่ไปกับวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ งดสูบบุหรี่ การปกป้องผิวจากแสงแดดร่วมด้วยอย่างถูกวิธี ทั้งนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า

ยกตัวอย่างการจัดสกินแคร์พื้นฐานเพื่อชะลอผิวเสื่อมตามวัย
▫️ชิ้นที่ 1 ผลิตภัณฑ์กันแดด

▫️ชิ้นที่ 2 The Concentrate 25.8 Serum Booster ซึ่งมีอนุพันธ์วิตามินเอ (0.1% Retinaldehyde, 1% Bakuchiol) + สารต้านอนุมูลอิสระและส่วนผสมลดการสร้างเม็ดสี (10% Niacinamide, 4% Ascorbyl glucoside, Purified bromelain)

▫️ชิ้นที่ 3 Be-Barrier 24.7 Restoring Serum ซึ่งมีส่วนผสมบำรุงกำแพงผิวพื้นฐาน (10% Ceramide complex, 8 Hyaluronic acid, 2% Ectoin) + ส่วนผสมลดการสร้างเม็ดสี (3% Tranexamic acid)
[อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ]

BOTTOM LINE

โดยสรุป วิตามินเอรูปแบบทาเพื่อหวังผลเรื่อง Antiaging

ตัวที่มีข้อมูลรับรองมากที่สุดคือ กลุ่มยาทา Tretinoin เป็นยาที่ต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์ การระคายเคืองมาก

ถ้าในแง่สกินแคร์ของอนุพันธ์วิตามินเอที่ได้ผลด้าน Anti-aging อาจพิจารณา Retinaldehyde ซึ่งมีข้อมูลประสิทธิภาพมากที่สุด หรือทางเลือกอื่นที่ระคายเคืองน้อยกว่าและข้อมูลรองลงมา เช่น Bakuchiol (ระคายเคืองน้อยที่สุด) หรือ Retinol

ส่วนกลุ่มที่ปัจจุบันพบว่าไม่ค่อยช่วยเรื่อง anti-aging ได้แก่ กลุ่ม Vitamin A ester คงต้องรอข้อมูลในอนาคตต่อไป

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการดูแลผิวสำหรับทุกท่านที่กำลังหาข้อมูลเรื่องวิตามินเอทาผิวอยู่นะคะ ถ้าชอบสามารถแชร์ให้เพื่อน ๆ อ่านได้เลย


References
J Cutan Med Surg. 2022 Jan-Feb;26(1):71-78.
Br J Dermatol. 2019 Feb;180(2):289-296.
J Cosmet Dermatol. 2018 Jun;17(3):471-476.
J Dermatolog Treat. 2017 Dec;28(8):684-696.
Aesthet Surg J. 2010 Jan;30(1):74-7.
Br J Dermatol 2008;158: 472-477.
Clin Dermatol 2008;26:633-635.
Arch Dermatol 2007;143:606-612.
Clin Interv Aging. 2006;1(4):327-48.
Dermatol Therapy 2006;19:289-296


[Disclaimer] สนับสนุนบทความโดย HERBITAGE

ทำการพัฒนาสูตรร่วมกับสถาบัน KAPI ม.เกษตร โดยเป็นการต่อยอดเชิงพาณิชย์ให้แก่งานวิจัยด้าน Purified Extract จากพืชผลการเกษตรของไทย

สูตรแรก HERBITAGE The Concentrate 25.8 Serum Booster (สีเขียว)💚

ช่วยเสริมการรักษาสิว ริ้วรอยเล็ก ๆ ดูดีขึ้น รูขุมขนแลดูเล็กลง
ส่วนประกอบหลัก
0.1% Retinaldehyde เป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอที่มีข้อมูลประสิทธิภาพด้าน anti-aging มากสุดในกลุ่มเครื่องสำอาง
1% Bakuchiol สารสกัดวิตามินเอจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์คล้ายเรตินอล อ่อนโยน
10% Niacinamide, 4% Ascorbyl glucoside ลดการสร้างเม็ดสีผิว
Purified bromelain เอนไซม์เหง้าสับปะรดบริสุทธิ์ จาก ม.เกษตรศาสตร์ สารต้านอนุมูลอิสระ

เนื้อสัมผัสบางเบา ซึมง่าย ไม่ระคายเคือง
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร, คนแพ้วิตามินเอและอนุพันธ์, ผู้ที่มีผิวหนังอักเสบ เช่น เซบเดิร์ม

สูตรสอง HERBITAGE Be-Barrier 24.7 Restoring Serum (สีน้ำเงิน)💙

ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น เสริมกำแพงผิว ผิวแลดูกระจ่างใส ต่อต้านมลภาวะ
ส่วนประกอบหลัก
2% Ectoin ช่วยเสริมความแข็งแรงของผิว
10% Ceramide complex ช่วยฟื้นฟูกำแพงผิว
3% Tranexamic acid ช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว
8 Hyaluronic acids ช่วยเติมน้ำ เพิ่มความชุ่มชื้นผิว
Liquid Crystal Emulsion ช่วยนำพาสารออกฤทธิ์เข้าสู่ผิวได้ดีขึ้น

Herbitage Concentrate and Be barrier

ข้อมูลการทดลองจากทาง HERBITAGE โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าหลังการใช้ผลิตภัณฑ์คู่กัน 28 วัน ในอาสาสมัคร 30 คน ริ้วรอยตื้นขึ้น 21.2%, ผิวชุ่มชื้นขึ้น 64.5% และ ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น 6.45%

*ผลลัพธ์ต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละบุคคล

ข้อมูลเพิ่มเติม Link ร้านค้าอย่างเป็นทางการ (ป้องกันของปลอม)
Shopee : https://bit.ly/2PmOxy7

Lazada : https://bit.ly/3fzwrUy

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

วิธีเลือกหมวกกันแดด

หมวกชนิดกันแดดได้ แต่หมวกแต่ละชนิดกันรังสียูวีได้ไม่เท่ากัน ปกป้องส่วนต่าง ๆ ของผิวบนใบหน้าได้ไม่เท่ากัน

หากมองหาหมวกสักใบเพื่อเสริมการปกป้องผิวจากแสงแดด แนะนำแบบนี้ค่ะ

หมวก กันแดด

• ผิวที่เราต้องปกป้อง ควรต้องครอบคลุมทุกส่วนบนใบหน้า ทั้งหน้าผาก จมูก คาง แก้ม ท้ายทอย

ดังนั้น ควรเลือกหมวกที่มีปีกกว้าง โดยพบว่าหมวกที่มีส่วนปีกกว้างมากกว่า 7.5 เซนติเมตร และควรปีกกว้างรอบทุกด้าน จึงปกป้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

• มองหาหมวกที่ทำจากวัสดุที่มีระบุค่าที่บ่งบอกถึงการปกป้องยูวีทั้ง UVA & UVB ที่เรียกว่า UPF (ต่างกับ SPF จะหมายถึงเฉพาะ UVB protection) โดยถือว่า

UPF 30-49 จัดเป็น Very good protection

UPF 50+ ขึ้นไป จัดเป็น Excellent protection

ดังนั้น ถ้าแดดแรงมากควรเลือก UPF 50 ขึ้นไป

• สีของหมวกก็สำคัญ แต่ละสีปกป้องแสงแดดไม่เท่ากัน สีเข้มจะสามารถดูดซับแสงไว้ที่ตัวได้ดี ทำให้ทะลุผ่านมาถึงผิวหนังได้น้อยกว่าสีอ่อน

ดังนั้น ควรเลือกสีเข้มจะปกป้องยูวีได้ดีกว่า

• ลักษณะของเนื้อผ้าและการถักทอของผ้า ถ้าผ้าหนา ทอละเอียดจะยิ่งมีโอกาสให้รังสียูวีทะลุผ่านได้น้อย ดังนั้น ควรเลือกผ้าที่หนา ทอแน่น จะดีกว่า ผ้าบาง ทอโปร่ง

กลุ่มปกป้องยูวีได้มากกว่า เช่น ผ้ายีนส์ ผ้าแคนวาส ผ้าขนสัตว์ ผ้าใยสังเคราะห์

• ผ้าอื่น ๆ เช่น

ผ้าฝ้ายไม่ฟอกสี จะยังมีสารลิกนิน ซึ่งเป็น UV absorber ช่วยกันยูวีได้ดีกว่าที่ฟอกสีแล้ว

ผ้าโพลีเอสเตอร์แบบเงา หรือ ผ้าไหมซาติน พวกนี้มีความเงาจะช่วยสะท้อนแสง และกันยูวีได้มากกว่าผ้าไม่เงา

ผ้าบางชนิดใช้เทคโนโลยีการผสม Chemical UV absorber ก็ช่วยได้เช่นกัน

• การสวมใส่ก็ปกป้องได้แตกต่าง แนะนำว่าควรสวมหมวกให้หลวมเล็กน้อย ไม่แน่นมาก เพราะการสวมแน่นจะเป็นการยืดเส้นใยของผ้าให้ถ่างออกและมีรูให้รังสียูวีทะลุผ่านมาได้มากขึ้น

ดังนั้น คนสองคนใส่หมวกใบเดียวกัน อาจจะปกป้องรังสียูวีได้แตกต่าง บางคนหัวเล็กหัวใหญ่ ใส่แล้วหลวมหรือแน่น

การสวมหมวก เป็นหนึ่งในวิธีการเสริมการปกป้องผิวจากรังสียูวี เหนือสิ่งอื่นใดต้องควบคู่กับการทาครีมกันแดดอย่างถูกวิธี เพราะการสวมหมวกปีกกว้าง หรือ ใส่เสื้อแขนยาว ก็ไม่สามารถทดแทนการทาครีมกันแดดได้แน่นอนค่ะ

หากบทความมีประโยชน์ สามารถแชร์ให้เพื่อน ๆ อ่านได้เลย

——————————————

รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

10 คำถามเรื่อง การกินแอสตราแซนทิน & คอลลาเจนเปปไทด์ เพื่อชะลอผิวเสื่อมวัย 30+ ‼️

ถ้าอยากเริ่มต้นดูแลผิวตอนอายุ 30 ปี ควรเริ่มแบบไหนดี ?

แนะนำแบบนี้ค่ะ เบสิคที่ควรมี ได้แก่
1.ทานอาหารให้ครบหลักโภชนาการ
2.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3.ดื่มน้ำ 8-10 แก้ว/วัน
4.ทาสกินแคร์ที่เหมาะสม สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นดูแลผิวในวัยสามสิบ แนะนำว่าอย่างน้อยควรมี Sunscreen, antixidant, moisturizer และอาจมีกลุ่มผลัดเซลล์ผิวร่วมด้วย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์

1. อาหารเสริมหรือพวกวิตามินจำเป็นไหม ❓

ตามชื่อเลยค่ะ อาหารเสริมก็เพื่อทานเสริมกับอาหารหลัก ซึ่งในทางการแพทย์อาจพิจารณาในกรณีมีปัญหาเรื่องการดูดซึมหรือขาดสารอาหาร โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาขึ้นกับคนไข้แต่ละรายว่าต้องเสริมอะไร ในคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องระบบร่างกายและทานอาหารได้ปกติดีก็อาจจะยังไม่จำเป็น
ส่วนใครที่คิดว่าไม่สามารถทานอาหารหลักได้ครบ ไม่มีข้อห้ามและอยากจะทานวิตามินหรืออาหารเสริมก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ควรเลือกให้เหมาะทั้งชนิดและปริมาณ เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่อาจตามมาได้

2. ถ้าอยากทานอาหารเสริมหรือวิตามินเพื่อบำรุงผิวในวัย 30 ล่ะ ควรเลือกอย่างไรดี ❓

เมื่อเราอายุมากขึ้น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็ต้องมีการเสื่อมลงไปเรื่อยตามวัย ระบบผิวหนังก็เช่นกัน ความเสื่อมของผิวหนังตามวัยนั้นเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 25-30 ปี และอาจเร็วขึ้นถ้ามีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น รังสียูวี มลพิษ แอลกอฮอล์ บุหรี่

ซึ่งวัยนี้เป็นจุดที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของผิว เช่น
✔️ สร้าง collagen & elastic fiber ใต้ผิวลดลง
✔️ Hyaluronic acid ในผิวชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ ลดลง ส่งผลให้ผิวแห้งมากขึ้นและกักเก็บความชุ่มชื้นได้ลดลง

ดังนั้น ถ้าอยากทานอาหารเสริมหรือวิตามินช่วงวัยเข้าสู่อายุ 30 ก็ควรเน้นกลุ่มที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิวได้ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิว หรืออาจเป็นกลุ่มที่ช่วยต้านอนูมูลอิสระที่มาทำร้ายผิวได้ ยกตัวอย่างเช่น vitamin C, E, astaxanthin, alpha lipoic acid, coenzyme Q10 เป็นต้น

3. Astaxanthin คืออะไร ❓

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง ช่วยยับยั้งการเกิดปฎิกิริยาที่ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระในไมโทคอนเดรียของตับได้

✔️ มากกว่า Vitamin E ถึง 1,000 เท่า
นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของอนุมูลอิสระได้มากกว่าสารอื่นๆ ดังนี้
✔️ มากกว่า Grape seed extract 17 เท่า
✔️ มากกว่า Beta carotene 40 เท่า
✔️ มากกว่า Alpha lipoic acid 75 เท่า
✔️ มากกว่า Vitamin E & Alpha tocopherol 550 เท่า
✔️ มากกว่า Green tea extract 550 เท่า
✔️ มากกว่า Coenzyme Q10 800 เท่า
✔️ มากกว่า Vitamin C 6000 เท่า

4. ประโยชน์ของ Astaxanthin ในแง่ผิวหนังมีข้อมูลอะไรบ้าง ❓

ข้อมูลพบว่า เป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีเยี่ยม ช่วยให้ผิวแลดูอ่อนวัย ระยะยาวช่วยให้ริ้วรอยเล็ก ๆ ที่ผิวและจุดด่างดำ ดีขึ้นได้
หลักฐานทางการวิจัยที่มีทำในมนุษย์และค่อนข้างได้ผลชัดเจน คือ การรับประทานในแง่บำรุงผิวชุ่มชื้นและต้านอนุมูลอิสระ อาจได้ผลดีในกลุ่มคนเหล่านี้

✔️ ผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพทุกเพศทุกวัย
✔️ ผู้ที่ใส่ใจในความงามและสุขภาพผิว
✔️ ผู้ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะต่างๆเป็นประจำเช่นความเครียด ฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์ เป็นต้น
✔️ นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

5. ถ้าไม่อยากทานอาหารเสริม Astaxanthin จะหาทานได้จากอาหารประเภทไหนมีAstaxanthin เยอะบ้าง ❓

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารในกลุ่มแซนโทรฟิลล์ ตระกูลแคโรทีนอยด์ มีลักษณะเป็นสารสีแดงที่พบมากในอาหารเหล่านี้ค่ะ
🍣 ปลาแซลมอน
🐟 ไข่ปลาคาร์เวียร์
🦐 เปลือกปู กุ้ง
🥦 สาหร่าย ชนิด Microalgae Haematococus Pluvialis
🦅 ขนสีชมพูในนกฟลามิงโก

6. ปริมาณที่แนะนำให้ทาน Astaxanthin เท่าไหร่ที่ช่วยเรื่องผิวพรรณได้ ❓

ไม่มีปริมาณที่ระบุแน่นอน แต่การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ที่ไม่พบผลข้างเคียง มีดังนี้
🍬 ทานเดี่ยวๆ ปริมาณ 1-12 มิลลิกรัมต่อวัน ต่อเนื่อง 8-12 สัปดาห์ พบว่าริ้วรอยเล็ก ๆ ที่ผิวแลดูลดลง ผิวชุ่มชื้นขึ้น
🍬 ทานร่วมกับวิตามินอื่น ๆ ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ปริมาณ 4 มิลลิกรัมต่อวัน ต่อเนื่อง 12 เดือน
🍬 ทานพร้อมอาหารจะเพิ่มการดูดซึมได้ดีขึ้น

7. แอสตาแซนธินสะสมในร่างกายมั้ยคะ ❓

✔️ ไม่สะสมในร่างกายค่ะ ไม่เปลี่ยนโครงสร้างเหมือนกับวิตามินบางชนิด โครงสร้างของโมเลกุลเรียงตัวได้ดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ
✔️ บางรายพบผลข้างเคียง (ไม่ขึ้นกับขนาดที่ทาน) คือ มีอาการแพ้ได้บางราย, ความต้องการทางเพศลดลง, สีผิวเข้มขึ้น, ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลง, ความดันโลหิตต่ำลงได้

8. บุคคลใดที่ไม่แนะนำให้ทาน ❓

❌ ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
❌ มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับ Autoimmune disease
❌ ทานยากดภูมิคุ้มกัน
❌ แพ้สารในกลุ่ม Carotenoids, Astaxanthin
❌ กระดูกพรุน โรคพาราไทรอยด์ แคลเซียมต่ำ
❌ คนที่กินยากลุ่ม 5 alpha reductase inhibitors เนื่องจากเสริมฤทธิ์ให้ฮอร์โมนเพศชายลดน้อยลง

9. แล้วเรื่องการทานคอลลาเจนช่วยลดริ้วรอยได้ไหม ❓

มีข้อมูลทางคลินิกและในหลอดทดลอง พบว่าการทาน Hydrolyzed collagen peptides มีทั้งข้อมูลที่พบว่าได้ผลดีและไม่แตกต่าง แต่ข้อมูลส่วนใหญ่พบว่าช่วยเรื่อง ผิวพรรณให้ดีขึ้นได้ในเรื่องเหล่านี้ คือ

✔️ เพิ่มความชุ่มชื้นผิว (skin hydration)
✔️ เพิ่มเส้นใยคอลลาเจนที่ผิวชั้นหนังแท้
✔️ เพิ่มการสร้าง GAGs & อิลาสติน
ส่งผลโดยรวมให้ผิวหนังชุ่มชื้นและยืดหยุ่นมากขึ้น คุณภาพผิวดูดีขึ้น ริ้วรอยเล็ก ๆ ที่ผิวดูลดลง

กลไกหลักของการทานคอลลาเจนต่อผิวหนัง มี 2 อย่าง คือ
1.มีการดูดซึม collagen-derived peptides ผ่านลำไส้ ไปกระตุ้นไฟโบรบลาสต์ให้สร้าง ECM
2.กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนผ่านทางระบบอิมมูนร่างกาย

อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพต้องขึ้นกับปัจจัยอื่นด้วย เช่น ชนิดและขนาดโมเลกุลของคอลลาเจนที่ทาน, การดูดซึม, การกระจายตัวไปออกฤทธิ์ยังเซลล์ผิวหนัง รวมทั้งอายุของผู้ทาน ถ้าหากสูงวัยกว่าก็อาจจะเห็นผลช้ากว่าและน้อยกว่า

10. ปริมาณการทานคอลลาเจนเปปไทด์ ที่ช่วยเรื่องผิวพรรณ ❓

ต้องบอกก่อนว่าถ้าเราทานโปรตีนเพียงพอต่อวันแล้วก็อาจจะไม่จำเป็นต้องทานคอลลาเจนก็ได้ เพราะโปรตีนจากแหล่งอาหารหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ที่เราทานเข้าไปก็สามารถถูกนำไปสร้างคอลลาเจนที่ผิวหนังได้ แต่หากใครคิดว่าตัวเองทานอาหารหลักไม่เพียงพอ ก็อาจทาน คอลลาเจนเปปไทด์เป็นทางเลือกเสริมได้ โดยยังไม่มีขนาดรับประทานที่กำหนดไว้ชัดเจน แต่มีข้อมูลปริมาณการทานจากงานวิจัยที่เห็นการเปลี่ยนแปลง คือ

✔️ ด้านผิวพรรณ ประมาณ 2.5–5 กรัมต่อวัน
✔️ ด้านความแข็งแรงกระดูกและข้อต่อ ประมาณ 10-15 กรัมต่อวัน
โดยเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังทานนาน 60-90 วัน และผลจะคงอยู่ไปได้อีกประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ต้องอาศัยการต่อเนื่องร่วมด้วย

ปัจจุบันอาหารเสริมคอลลาเจนเปปไทด์และแอสตราแซนทินมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบเม็ด แบบผงชงดื่ม หรือ แม้แต่แบบใหม่ล่าสุด คือ เป็นแท่งเจลลี่สตริป ที่ถูกพัฒนาไอเดียนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ลิขสิทธิ์ของบริษัท ซันโทรี่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทานง่าย สะดวก และรสชาติดี

อย่างไรก็ตาม เราสามารถเลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารแอสตาเซนธิน เช่น ในเนื้อสีแดงสวยของปลาแซลมอน หรือแม้แต่การลองรับประทานกุ้งตัวเล็กทั้งเปลือก หรือ อาจเลือกทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ถั่วต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายนำไปเสริมสร้างคอลลาเจนต่อไป

ยังไม่มีคำแนะนำให้ต้องทานอาหารเสริมหรือวิตามินทุกคน อย่างที่บอกคือเป็นอาหารเสริม การจะรับประทานหรือไม่นั้น ขึ้นกับการตัดสินใจส่วนบุคคล หากใครที่อยากเสริมก็แนะนำให้ศึกษาข้อมูลหลักฐานทางงานวิจัย เลือกอาหารเสริมที่มีแหล่งที่มาชัดเจน ไม่มีโลหะหนักเจือปน ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย และ อย่าลืมเช็คว่ามีโรคประจำตัวหรือข้อห้ามอะไรในการทานอาหารเสริมหรือไม่ หากไม่แน่ใจแนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมค่ะ


[Disclaimer] สนับสนุนเนื้อหาความรู้โดย

BRAND’S Jelly Strip ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนำเข้า ผลิตโดยบริษัท ซันโช ฟาร์มาซูติคอล จำกัด ประเทศญี่ปุ่น

• กล่องแดง สูตร Astaxanthin & Collagen Peptide รสทับทิม
เหมาะสำหรับคนที่อยากเสริมการปกป้องผิวจากสารอนุมูลอิสระ เสริมการสร้างคอลลาเจน
ส่วนผสม
Collagen Peptide จากปลา 1,500 มก./ซอง
Astaxanthin สกัดจากสาหร่าย Haematococcus pluvialis 1 มก./ซอง
พลังงาน 25 Kcal/ซอง
ขนาดบริโภค 1-2 ซอง/วัน
ไม่แนะนำสำหรับคนแพ้ปลา, ถั่วเหลืองและถั่ว
เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

กล่องชมพู สูตร Niacinamide & Collagen Peptide รสองุ่น
เหมาะสำหรับคนที่อยากเสริมการปกป้องผิวจากสารอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องรอยดำจากการอักเสบ
ส่วนผสม
Collagen Peptide จากปลา 1,500 มก./ซอง
Niacinamide 6 มก./ซอง
พลังงาน 25 Kcal/ซอง
ขนาดบริโภค 1-2 ซอง/วัน
ไม่แนะนำสำหรับคนแพ้ปลา, ถั่วเหลืองและถั่ว
เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

หาซื้อได้ที่วัตสันทุกสาขา


References:
Int J Dermatol. 2021 Dec;60(12):1449-1461.
J Am Acad Dermatol. 2021 Apr;84(4):1042-1050.
J Cosmet Dermatol. 2020 Nov;19(11):2820-2829.
Oxid Med Cell Longev. 2020 May 11;2020:8031795.
Nutr Res. 2018 Sep;57:97-108.
Mol Nutr Food Res 2011; 150-165.
Am J Cardiol 2008; 58-68.
Ophthalmology 2008; 324-333.
Phytomedicine 2008; 391-399.

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

The impact of airborne pollution on skin

โพสนี้สำหรับใครที่อยากปกป้องผิวจากการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย ‼️

วันนี้หมอจะเน้น 9 ข้อสั้น ๆ ให้เห็นถึงความสำคัญของการปกป้องผิวจาก มลภาวะทางอากาศ เพิ่มเติมจากการป้องกันแดดค่ะ เพราะเชื่อว่าทุกคนที่ติดตามเพจอยู่ คงรู้หมดแล้วว่ากันแดดสำคัญขนาดไหน


Reference

The impact of airborne pollution on skin
JEADV vol 33 issue 8
First published: 21 March 2019

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

รวมส่วนผสมชะลอผิวแก่ในครีมกันแดด

ส่วนผสมชะลอผิวแก่ในครีมกันแดด

ส่วนผสมที่เติมในครีมกันแดดแล้วเสริมการปกป้องผิวในครีมกันแดดได้มีข้อมูลอะไรบ้าง

Additives in sunscreen

การเผชิญกับ UV และ VL เป็นเวลานาน สามารถกระตุ้นให้มีการเพิ่มขึ้นของ ROS, MMPs และมีการทำร้าย DNA ที่ผิวหนังได้ ดังนั้น การทาครีมกันแดดสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งค่ะ

อ่านเจอข้อมูลงานวิจัยที่พูดถึงสารต่าง ๆ ที่นำมาผสมในครีมกันแดดเลยนำมาแบ่งปัน
ส่วนใหญ่วัตถุประสงค์ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการทำร้ายผิวจากสารอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวี และเพื่อชะลอการเกิดผิวชราจากแสงแดด หรือ ที่เราเรียกว่า Photoaging นั่นเอง

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ถูกยกขึ้นมากล่าวถึงมากที่สุด เพราะเชื่อว่าช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นได้ เช่น

Vitamin C (L-ascorbic acid)

ตัวนี้สลายง่ายที่ค่า pH ปกติที่ผิวหนังเรา จึงเห็นมักผสมกับตัวอื่นเพื่อให้คงตัวมากขึ้น เช่น Vitamin E, Ferulic acid
โดย vitamin C จะเป็น cofactor ในกระบวนการ collagen synthesis และลดการสะสมของ elastin ได้

Vitamin E

มีข้อมูลว่าช่วยลด lipid peroxidation, photoaging, immunosuppression และ photocarcinogenesis

Retinoids

ช่วยยับยั้ง activation of protein-1 & MMP-1 expression ผลคือ กระตุ้นการสร้างคอลาเจน ผิวหนาขึ้นและแข็งแรงขึ้น แต่เนื่องจากความไม่คงตัวของกลุ่มนี้ ทำให้สลายได้ง่ายเมื่อถูกรังสี UV, VL จึงไม่ค่อยเห็นผสมในครีมกันแดดบ่อยนัก อาจเห็นพวกที่รูปแบบค่อนข้างเสถียรกว่า retinoids เช่น Retinyl
palmitate ที่มักผสมในสกินแคร์ต่าง ๆ โดยมักทำเป็น liposome เพื่อให้คงตัวมากขึ้น แต่ประสิทธิภาพก็อาจด้อยกว่า tretinoin or retinol
ส่วนประเด็น retinyl palmitate เมื่อถูกยูวีแล้วจะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังตามมาหรือไม่ ยังไม่ชัดเจน อันนี้ยังต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป

Polyphenols

พบใน botanicals เช่น tea leaves, grape seeds (Vitis vinifera), blueberries, almond seeds, and pomegranate extract พวกนี้จะมีสารที่เรียกว่า epigallocatechin-3-gallate ซึ่งช่วยลด MMP-1 ตัวทำร้ายคอลาเจน และตัวมันเองสามารถเพิ่ม SPF ได้ร่วมด้วยนิดหน่อย

Soy extracts

มีข้อมูลว่า soybean-derived serine protease inhibitors ช่วยลดรอยดำ และริ้วรอยเล็ก ๆ ตื้น ๆ ที่ผิวได้

Melatonin

ช่วยปกป้องเซลล์ผิว keratinocytes, melanocytes, and fibroblasts และป้องกัน UV-induced photoaging ได้

Algae extract

บางชนิดนอกจากพบว่าดูดซับรังสียูวีได้ ยังช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระที่ผิวได้ พบว่า Mycosporine-like amino
acids (MAAs) จาก algae ยังเป็น potent UV filters โดย maximum absorption 310 และ 362 nm ทีเดียว นอกจากนั้นยังอาจได้ยินชื่อ เช่น Porphyra umbilicalis, Corallina pilulifera methanol extract แต่กลุ่มนี้ยังอาจมีประเด็นถกเถียงเรื่อง eco-friendly photoprotection คงต้องติดตามต่อไปในอนาคต

Polypodium leucotomos extract (PLE)

ตัวนี้มีข้อมูลทั้งรูปแบบทา และ กิน ว่าช่วยได้ทั้ง antioxidative, chemoprotective, immunomodulatory,
and anti-inflammatory effects เรื่องสารตัวนี้เคยทำคลิป ลองไปดูเพิ่มเติมได้ค่ะ
https://youtu.be/DCOx4HMN_a4

ตัวอื่นที่มีข้อมูลว่าช่วยลด MMP-1 expression ได้ ก็เช่น
Caffeine
Echinacea pallida extract
Gorgonian extract
Chamomile essential oil

นอกจาก oxidants แล้วก็ยังมี Photolyases ที่ถูกนำมาผสมครีมกันแดด เพราะสามารถช่วย DNR repair ได้ ส่งผลให้มี photoprotective effects และ anti-oxidants ได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม การผสมสารเหล่านี้เข้าในครีมกันแดดแต่ละแบรนด์นั้นไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพออกมาดีเท่ากันเสมอไป จะดูแค่ว่า..มีหรือไม่มีชื่อเหล่านี้ในส่วนผสมอาจไม่พอ เพราะยังคงต้องดูในรายละเอียดเรื่อง ความเข้มข้นที่มากพอ, ความสามารถในการซึมผ่านผิวชั้น Stratum corneum และ ความคงตัวของครีมกันแดดตัวนั้นในที่สุดด้วยเช่นกัน

สุดท้ายแล้ว ก็อยากให้ทาครีมกันแดดกันสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายด้วยรังสียูวี ป้องกันมะเร็งผิวหนังแล้ว ยังช่วยเรื่องชะลอผิวเสื่อมชราด้วยนะคะ..สภาพ

หวังว่าจะชอบบทความนี้กันนะคะ ถ้าชอบก็สามารถไลค์ เลิฟ แชร์ เป็นกำลังใจให้ด้วยน๊าค๊า


Reference
Guan, L.L., Lim, H.W. & Mohammad, T.F. Sunscreens and Photoaging: A Review of Current Literature. Am J Clin Dermatol 22, 819–828 (2021). https://doi.org/10.1007/s40257-021-00632-5

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.