Tag Archives: antioxidant

Tannic acid ซุปตาร์ชะลอริ้วรอยแห่งวัย

หนึ่งในซุปตาร์ส่วนผสมชะลอริ้วรอยแห่งวัยอีกตัว ที่วันนี้อยากให้รู้จักกัน คือ Tannic acid

Tannic acid เป็นสาร phenolic compound ที่ได้จากการไฮโดรไลซ์ Tannin มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น การใช้เป็นยารักษาโรคบางอย่าง ใช้ปรุงแต่งรสในอาหารและเครื่องดื่ม สามารถพบได้ในใบของพืชและเปลือกผลไม้หลายชนิด เช่น Japanese gall (Rhus javanica) หรือ gallnut (Quercus infectoria) หรือ เปลือกผลไม้พวกองุ่น ชาเขียว และสิ่งทีทำให้มหัศจรรย์กว่านั้น คือทำให้ ต้นสนยักษ์ ซีคัวญา มีอายุยืนยาวได้มากกว่า 3,000 ปี (ต้นสนยักษ์ในรูป)

Tannic acid ชะลอวัย
Tannic acid

ในแง่ผิวหนัง ปัจจุบันมีการกล่าวถึงประโยชน์ของการนำกรดแทนนิกมาผสมในสกินแคร์มากขึ้น
Tannic acid เป็นที่นิยมนำมาผสมในสกินแคร์กลุ่มต้านอนุมูลอิสระเพื่อหวังผลเรื่องการชะลอผิวเสื่อมจากวัย, แสงแดดและมลภาวะ เพราะมีคุณสมบัติ ดังนี้

✔️ Photoprotection
สามารถดูดซับแสงได้หลายความยาวคลื่น และ ช่วยปกป้องและลดความเสียหายของ DNA & fibroblast และลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวีและมลภาวะ
✔️ Anti oxidation
ยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ Hydroxy radical ได้ดี และมีฤทธิ์เสริมการทำงานกับ L-ascorbic acid ทำให้ต้านอนุมูลอิสระโดยยับยั้งปฏิกิริยา Fenton ได้ดีมากยิ่งขึ้น
✔️ Anti inflammation
ช่วยลดการอักเสบที่ผนังหลอดเลือด และลดการเกิดอนุมูลอิสระในผนังเส้นเลือดได้ ช่วยสร้างและกระตุ้น KLF2 (Kruppel-liked Factor 2) ซึ่งช่วยลดการอักเสบในผนังเส้นเลือด
✔️ Scavenger
กำจัดโลหะหนักและสารอนุมูลอิสระ เช่น DPPH, superoxide anion, peroxyl, nitric oxide and peroxynitrite
✔️ Anti collagenase, elastase & MMP-1
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่มาทำลายโครงสร้างผิว เช่น อิลาสติน คอลลาเจน ไฮยาลูรอน

ดังนั้น โดยรวมจึงส่งผลให้ผิวแลดูมีสุขภาพดี ริ้วรอยเล็ก ๆ ดูลดลง จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ tannic acid ถูกขนานนามว่าเป็น Anti photoaging agent ที่ดีมากตัวหนึ่ง

ในแง่ของการ เสริมกำแพงผิวและลดผื่นผิวหนังอักเสบ พบว่า Tannic acid ยังมีข้อมูลเรื่องการทาเพื่อลดการอักเสบผิวและสามารถเสริมกำแพงผิวให้แข็งแรงขึ้นได้ จากข้อมูลทดลองในหนู พบว่าสามารถยับยั้ง NFsignaling, เพิ่ม PPARγ protein expression
และลดการอักเสบของผื่นผิวหนังได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจและน่าติดตามว่าอนาคตจะมีการนำมาประยุกต์กับผิวมนุษย์ในแง่การทำสกินแคร์เสริมกำแพงผิวหรือไม่

นอกจากนั้น Tannic acid ยังมีข้อมูลช่วยลดการหายของแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย และลดการเกิดรอยแดงจากการอักเสบได้

PRACTICAL POINT

ปัจจุบันแนวโน้มของการใช้สกินแคร์กลุ่มฟื้นฟูผิว เพื่อการบำรุงผิวมีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Anti-aging เพราะมีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องของ Anti-oxidant และ Photoprotection ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยชะลอให้ความเสื่อมของผิวเราเกิดขึ้นได้ช้าลง เพราะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตปัจจุบันที่ต้องเผชิญแสงแดดและมลภาวะเป็นประจำ ทำให้ผิวถูกทำร้ายโดยไม่รู้ตัว

สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของ Tannic acid เป็นอีกตัวที่มีข้อมูลการทาเพื่อช่วย Anti-aging ได้ดี และหากใช้ร่วมกับ L-ascorbic acid จะช่วยเสริมฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระได้มากขึ้นอีก

ยกตัวอย่าง Tannic [CF] Serum ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของ Alphascience แบรนด์เวชสำอางผู้นำด้าน Cutting-edge antioxidant technology จากฝรั่งเศส ก็มีส่วนผสมหลักเป็น 2% Tannic acid และ 10% Stabilized L-Ascorbic acid ร่วมด้วย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย)

หวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผิวของทุกท่านนะคะ

ด้วยความปรารถนาดี


References
Int J Biol Macromol. 2021 Nov 30;191:918-924.
Adv Wound Care (New Rochelle). 2019 Jul 1;8(7):341-354.
Exp Dermatol. 2018 Aug;27(8):824-826.
Cytokine. 2015 Dec;76(2):206-213.
J Invest Dermatol. 2010 May;130(5):1459-63.


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Tannic [CF] Serum
จาก AlphascienceThailand แบรนด์เวชสำอางผู้นำด้าน Cutting-edge antioxidant technology จากฝรั่งเศส

Tannic [CF] Serum จาก Alphascience Thailand
Tannic [CF] Serum

เซรั่มช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอริ้วรอยแห่งวัย ผิวแลดูใสและจุดด่างดำจางลงเร็ว
เหมาะกับผิวธรรมดา ผิวแห้ง

ส่วนผสมหลัก
▫️2% Tannic acid ลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระ ยับยั้งในกระบวนการผลิตเม็ดสีผิวเมลานิน เสริมการสังเคราะห์คอลาเจนใต้ผิว
▫️10% Stabilized L-Ascorbic acid รูปแบบที่เสถียรสูงจากการทดสอบโดย SGS Multilab พบว่าการออกฤทธิ์คงตัวเกือบ 90% แม้อยู่ในอุณหภูมิสูงถึง 40°C เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลาเจนใต้ผิว ผิวแลดูกระจ่างใส
▫️0.5% Ferulic acid ลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระและซ่อมแซมผิวถึงระดับ DNA
▫️Ginkgo Biloba ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และ ช่วยผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น

*ข้อมูลจาก Alphascience ในหญิง 22 คน เฉลี่ยอายุ 59 ปี หลังการใช้ Tannic [CF] Serum ทุกเช้า นาน 1 เดือน พบความพึงพอใจ ผิวนุ่มยืดหยุ่นขึ้น 98%, ผิวหน้าเนียนขึ้น 75%, จุดด่างดำแลดูลดลง 58%, ผิวหน้าแลดูกระจ่างใสขึ้น 70%

ไม่แนะนำให้ใช้ในผิวที่เป็นแผล หรือ หลังทำหัตถการ 48 ชั่วโมง
ปราศจากพาราเบน น้ำหอม สารกันเสีย และไม่มีการทดลองในสัตว์
เหมาะสำหรับคน ผิวปกติ และผิวแห้ง

**ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Cosmeceuticals for antiaging therapy ตอน สกินแคร์ชะลอริ้วรอยแห่งวัย

Cosmeceuticals for antiaging therapy
Cosmeceuticals for antiaging therapy

แน่นอนว่าทุกคนย่อมอยากมีผิวสุขภาพดี แลดูอ่อนกว่าวัย โดยปกติผิวคนที่มีอายุมากขึ้นจะมีการเสื่อมไปตามการเวลา ดังนี้
• การสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวลดลง
• การผลัดเซลล์ผิวช้าลง
• ผิวบางมากขึ้น ความยืดหยุ่นผิวลดลง
• ผิวแห้งมากขึ้น

ดังนั้น ผลที่ตามมาจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผิวข้างต้นคือ ริ้วรอย ความหมองคล้ำ ฝ้า กระ สีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ ผิวแห้ง มีความหย่อนคล้อย

คำถามคือ สกินแคร์ (ที่ไม่ใช่ยา) มีอะไรที่ช่วยเรื่อง antiaging และ ชะลอกลไกผิวเสื่อมชราข้างต้นได้บ้าง โดยจะเล่าเป็นกลุ่มเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดด

ซึ่งทุกคนทราบดีว่ารังสียูวีโดยเฉพาะ UVA เป็นตัวการสำคัญของ photoaging ดังนั้น การทาครีมกันแดดสม่ำเสมอจึงจำเป็นอย่างยิ่งถ้าอยากชะลอผิวชราจากต้นเหตุของรังสียูวี

2. กลุ่มผลัดเซลล์ผิว เช่น AHA

เมื่ออายุมากขึ้นการผลัดเซลล์ผิวหนังจะช้าลงเรื่อย ๆ การใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นบนที่ตายแล้วให้หลุดออกได้เร็วขึ้น และยังมีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้นผิวได้ จึงส่งผลให้ผิวเรียบ ดูโกลวใส นอกจากนั้นมีข้อมูลการใช้ glycolic หรือ lactic acid 5-25% ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องทาทุกวัน ก็จะสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในผิวชั้นหนังแท้ได้

Sunscreen and AHAs
Sunscreen and AHAs

3. กลุ่ม Retinoid derivatives

วิตามินเอชนิดทา ที่มีข้อมูลวิจัยทางการแพทย์สนับสนุนว่าช่วยเรื่อง anti aging ได้มากสุด คือ retinoic acid (ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นยา) และพบผลข้างเคียงก็พบได้บ่อย [ลองกลับไปอ่านทบทวนในบทความก่อนนี้ได้]

กรณีชนิดที่เป็นเวชสำอางค์ (ไม่ใช่ยา) ก็มีข้อมูลว่ากลุ่มอนุพันธ์ของวิตามินเอบางรูปแบบ สามารถช่วยเรื่อง anti aging ได้คล้ายคลึงกัน กลุ่มอนุพันธ์ต้องมีการเปลี่ยนเป็น retinoic acid ในร่างกายก่อนจะออกฤทธิ์ได้ แต่มีข้อได้เปรียบตรงที่ผลข้างเคียงเรื่องการระคายเคืองน้อยกว่า retinoic acid ทำให้สามารถใช้ได้ง่ายขึ้น ได้แก่
✔️ Retinaldehyde 0.05-0.5% ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ดี
✔️ Retinol ไม่ค่อยเสถียร สลายง่ายเมื่อถูกแสง และข้อมูลยังไม่มากเท่า Retinaldehyde
ส่วนในรูปแบบอื่น ยังไม่มีข้อมูลว่าช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนหรือลดริ้วรอยได้

Retinoids and derivatives ​
Retinoids and derivatives

4. กลุ่ม Peptides

เป็น amino acid สายสั้น โมเลกุลเล็ก สามารถซึมผ่านผิวชั้นบนได้ดี ไปกระตุ้นการผลิต collagen ในผิวชั้นหนังแท้ และยังเป็นส่วนประกอบของคอลลาเจนได้อีก ส่งผลให้ริ้วรอยเล็ก ๆ ลดลง ผิวเรียบขึ้น

ซึ่งปกติเปปไทด์จะมี 4 กลุ่ม ตัวที่ช่วยเรื่อง Antiaging ได้มีดังนี้
Signal peptides เช่น Palmitoyl-KTTKS, GEKG
กลุ่มนี้มักมีการใส่ palmitoyl เพื่อเพิ่มการดูดซึมและประสิทธิภาพการลดริ้วรอยเล็กได้ดีขึ้น
Carrier peptides เช่น Copper-GHK complex
กลุ่มนี้นอกจากช่วยเรื่อง antiaging แล้วยังช่วยเรื่อง wound healing ด้วย
Neurotransmitter inhibitor peptides เช่น Acetyl hexapeptide-3
เลียนแบบกรดอะมิโนใน SNAP-25 ช่วยลดการปลดปล่อย Ach (ฤทธิ์คล้าย botulinum toxin)
Enzyme inhibitor peptides เช่น Nonapeptide-7
กลุ่มนี้ช่วยเรื่องลดการสร้างเม็ดสีผิวได้ แต่อาจไม่มีผลในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนดีเท่าสามกลุ่มแรก

Peptides for antiaging​
Peptides for antiaging

5. กลุ่ม Antioxidants

กลุ่มนี้จะช่วยปกป้องผิวจากปฏิกิริยาสารอนุมูลอิสระรอบตัว ทำให้คอลลาเจนถูกทำลายน้อยลง และยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในผิวได้ เช่น

• Alpha-lipoic acid (ALA)
• L-ascorbic acid (vitamin C) 5-15%
• Niacinamide (vitamin B3) 5%
• N-acetyl-glucosamine (NAG)
• Alpha-tocopherol (vitamin E) 2-20%
• Ubiquinone (CoQ10) 1%
• Pygnogenol
• Phenols เช่น green tea extracts, resveratrol, ferulic acid
• Ectoine

Topical antioxidants​
Topical antioxidants

6. กลุ่ม Hyaluronic acid

ช่วยอุ้มน้ำ, เพิ่มความชุ่มชื้นผิว, ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และมีข้อมูลว่า HA ขนาดเล็ก (<50 kDa) ถึงกลาง (50-400 kDa) ยังสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในหลอดทดลองและในผิวมนุษย์ได้ นอกจากนั้น HA ขนาดเล็กยังมีข้อมูลว่าช่วยให้ริ้วรอยเล็ก ๆ ดีขึ้นได้

Hyaluronic acid​
Hyaluronic acid

PRACTICAL POINT

ดังนั้น หากใครที่กำลังจัดสกินแคร์ antiaging เพื่อช่วยในเรื่องการชะลอและฟื้นฟูการเสื่อมสภาพของผิวหนัง อาจลองพิจารณาดูตามข้างต้น

ยกตัวอย่าง

▫️ชิ้นที่ 1 ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดด ทุกเช้า
▫️ชิ้นที่ 2 ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิว AHA สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
▫️ชิ้นที่ 3 ผลิตภัณฑ์กลุ่ม retinoid derivatives หรือ antioxidant หรือ peptides หรือ hyaluronic acid ซึ่งหากมีครบทุกองค์ประกอบก็มีแนวโน้มจะออกฤทธิ์ antiaging ได้ดี

หากใครที่อยากลดขั้นตอนการทาสกินแคร์หลายชิ้น ก็อาจจะมองหา สกินแคร์ที่รวมส่วนผสมหลากหลายในหลอดเดียวกัน ก็ช่วยลดขั้นตอนการทาได้

ยกตัวอย่าง VITALIF Renew Youth RetinAL ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกที่มีครบทั้ง Retinaldehyde + Antioxidant + Peptides + Hyaluronic acid โดยมีการบรรจุใน Niosome ซึ่งเป็นถุงเก็บสารออกฤทธิ์เพื่อให้ retinal มีความคงตัวมากที่สุดซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้มีการซึมสู่ชั้นผิวออกฤทธิ์ได้เต็มที่มากขึ้น (รายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ)

BOTTOM LINE

อย่างไรก็ตาม การใช้สกินแคร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลผิว เพื่อให้ผิวของเรามีสุขภาพดีและน่ามอง ซึ่งคงต้องทำควบคู่ไปกับวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ งดสูบบุหรี่ การปกป้องผิวจากแสงแดดร่วมด้วยอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่าในการชะลอและซ่อมแซมผิวเสื่อมตามวัย หรือ ที่เรียกว่า Skin aging นั่นเองค่ะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ถ้าชอบกดไลค์ ถ้าใช่กดแชร์แบ่งปันเพื่อน ๆ ได้เลย

ด้วยความปรารถนาดี


References
Dermatology. 2021;237(2):217-229.
Int J Mol Sci. 2019;20:2126.
Facial Plast Surg Clin North Am. 2018 Nov;26(4):407-413.
ISRN Dermatol. 2013 Sep 12;2013:930164.
Skin Therapy Lett. 2008 Nov-Dec;13(8):5-9.
Dermatol Ther 2006;19:297-305.
J Invest Dermatol 2001;116:853-9.


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย Dr. Different VITALIF Renew Youth RetinAL

Dr.Different VITALIF Renew Youth RetinAL
Dr.Different VITALIF Renew Youth RetinAL

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลปัญหาผิวที่เริ่มมีริ้วรอย สีผิวไม่สม่ำเสมอ
เป็นสูตรพัฒนาจากรุ่น Vitalift-A Forte โดยมีส่วนผสมหลัก คือ Retinaldehyde 0.1% + Pro-Vitamin A + Adenosine
และที่เพิ่มเติมแบบ antiging ingredients จัดเต็ม ได้แก่

▫️กลุ่ม Antioxidant

ดังนี้ Sodium Ascorbyl Phosphate, Niacinamide 5%, Daucus Carota Sativa (carrot) root extract, Beta-Carotene

▫️ กลุ่ม Multipeptidesome ครบทั้ง 4 กลุ่มเปปไทด์

ดังนี้ Copper Tripeptide-1, Tripeptide-29, Tripeptide-1, Hexapeptide-12, Hexapeptide, Nicotinoyl Tripeptide-35, Palmitoyl Tripeptide-1, Palmitoyl Pentapeptide-4, Palmitoyl Tripeptide-29, Palmitoyl, Tetrapeptide-7, Acetyl Hexapeptide-8, Nonappetide-7

▫️ มี Hyaluronic acid small molecules

ช่วยเติมน้ำผิวชุ่มชื้นอิ่มฟู

▫️Glutamic acid derivatives

ที่เรียงตัวแบบ Liquid Crystal Emulsion (LCE) คล้ายกับ Ceramide ในกำแพงผิว ช่วยให้ความชุ่มชื้นผิวได้ยาวนาน

▫️5% Niacinamide

ยับยั้งขั้นตอนการสร้างเม็ดสี จึงช่วยให้จุดด่างดำแลดูดีขึ้น ลดการอักเสบและปรับสมดุลน้ำมันผิว

▫️สิทธิบัตร NIOSOMES

เป็นการพัฒนาระบบบรรจุเพื่อเพิ่มความเสถียรคงตัวของ retinaldehyde และช่วยนำพาซึมผ่านเข้าสู่ชั้นผิวที่ดีขึ้น พบว่าการทดสอบ หลังผลิต 3 และ 6 เดือน ยังคงมีปริมาณ retinal เหลือที่ 100% และ 97.7% ตามลำดับ

▫️ อ้างอิงประสิทธิภาพจากงานวิจัย Vitalift-A Forte เนื่องจากเป็นสูตรเดียวกัน เพียงแต่เพิ่มสาร Actives เพื่อประสิทธิภาพที่มากขึ้น หลังใช้ Vitalift-A Forte ต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ จากการวัดด้วเครื่องมือต่าง ๆ พบว่า: Wrinkles ลดลง 12.903%, Firmness เพิ่มขึ้น 8.632%, Moisturizer retention เพิ่มขึ้น 16.618%, Skin density เพิ่มขึ้น 11.952%
{Reference https://doi.org/10.1111/jocd.13993}

ข้อควรระวัง : ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรหรือ แพ้วิตามินเอ
ไม่แนะนำให้ใช้ร่วมกับยาทากรดวิตามินเอ เช่น tretinoin, adapalene
สามารถใช้ร่วมกับ AHA, BHA, PHA ได้ แต่ควรระวังการระคายเคืองในบางราย
*ประสิทธิภาพการตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวของแต่ละบุคคล


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Fernblock Technology แต่ละรุ่นของ Heliocare

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของผลิตภัณฑ์กันแดด Fernblock Technology แต่ละรุ่นของ Heliocare ค่ะ

Heliocare Fernblock Technology ครีมกันแดด
Heliocare Fernblock Technology

แนะนำให้ลองเลือกดูตามความเหมาะสมของผิวแต่ละคนนะคะ


อ่านบทความย้อนหลังที่
https://helloskinderm.com
รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

10 คำถามเรื่อง การกินแอสตราแซนทิน & คอลลาเจนเปปไทด์ เพื่อชะลอผิวเสื่อมวัย 30+ ‼️

ถ้าอยากเริ่มต้นดูแลผิวตอนอายุ 30 ปี ควรเริ่มแบบไหนดี ?

แนะนำแบบนี้ค่ะ เบสิคที่ควรมี ได้แก่
1.ทานอาหารให้ครบหลักโภชนาการ
2.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3.ดื่มน้ำ 8-10 แก้ว/วัน
4.ทาสกินแคร์ที่เหมาะสม สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นดูแลผิวในวัยสามสิบ แนะนำว่าอย่างน้อยควรมี Sunscreen, antixidant, moisturizer และอาจมีกลุ่มผลัดเซลล์ผิวร่วมด้วย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์

1. อาหารเสริมหรือพวกวิตามินจำเป็นไหม ❓

ตามชื่อเลยค่ะ อาหารเสริมก็เพื่อทานเสริมกับอาหารหลัก ซึ่งในทางการแพทย์อาจพิจารณาในกรณีมีปัญหาเรื่องการดูดซึมหรือขาดสารอาหาร โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาขึ้นกับคนไข้แต่ละรายว่าต้องเสริมอะไร ในคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องระบบร่างกายและทานอาหารได้ปกติดีก็อาจจะยังไม่จำเป็น
ส่วนใครที่คิดว่าไม่สามารถทานอาหารหลักได้ครบ ไม่มีข้อห้ามและอยากจะทานวิตามินหรืออาหารเสริมก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ควรเลือกให้เหมาะทั้งชนิดและปริมาณ เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่อาจตามมาได้

2. ถ้าอยากทานอาหารเสริมหรือวิตามินเพื่อบำรุงผิวในวัย 30 ล่ะ ควรเลือกอย่างไรดี ❓

เมื่อเราอายุมากขึ้น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็ต้องมีการเสื่อมลงไปเรื่อยตามวัย ระบบผิวหนังก็เช่นกัน ความเสื่อมของผิวหนังตามวัยนั้นเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 25-30 ปี และอาจเร็วขึ้นถ้ามีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น รังสียูวี มลพิษ แอลกอฮอล์ บุหรี่

ซึ่งวัยนี้เป็นจุดที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของผิว เช่น
✔️ สร้าง collagen & elastic fiber ใต้ผิวลดลง
✔️ Hyaluronic acid ในผิวชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ ลดลง ส่งผลให้ผิวแห้งมากขึ้นและกักเก็บความชุ่มชื้นได้ลดลง

ดังนั้น ถ้าอยากทานอาหารเสริมหรือวิตามินช่วงวัยเข้าสู่อายุ 30 ก็ควรเน้นกลุ่มที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิวได้ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิว หรืออาจเป็นกลุ่มที่ช่วยต้านอนูมูลอิสระที่มาทำร้ายผิวได้ ยกตัวอย่างเช่น vitamin C, E, astaxanthin, alpha lipoic acid, coenzyme Q10 เป็นต้น

3. Astaxanthin คืออะไร ❓

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง ช่วยยับยั้งการเกิดปฎิกิริยาที่ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระในไมโทคอนเดรียของตับได้

✔️ มากกว่า Vitamin E ถึง 1,000 เท่า
นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของอนุมูลอิสระได้มากกว่าสารอื่นๆ ดังนี้
✔️ มากกว่า Grape seed extract 17 เท่า
✔️ มากกว่า Beta carotene 40 เท่า
✔️ มากกว่า Alpha lipoic acid 75 เท่า
✔️ มากกว่า Vitamin E & Alpha tocopherol 550 เท่า
✔️ มากกว่า Green tea extract 550 เท่า
✔️ มากกว่า Coenzyme Q10 800 เท่า
✔️ มากกว่า Vitamin C 6000 เท่า

4. ประโยชน์ของ Astaxanthin ในแง่ผิวหนังมีข้อมูลอะไรบ้าง ❓

ข้อมูลพบว่า เป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีเยี่ยม ช่วยให้ผิวแลดูอ่อนวัย ระยะยาวช่วยให้ริ้วรอยเล็ก ๆ ที่ผิวและจุดด่างดำ ดีขึ้นได้
หลักฐานทางการวิจัยที่มีทำในมนุษย์และค่อนข้างได้ผลชัดเจน คือ การรับประทานในแง่บำรุงผิวชุ่มชื้นและต้านอนุมูลอิสระ อาจได้ผลดีในกลุ่มคนเหล่านี้

✔️ ผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพทุกเพศทุกวัย
✔️ ผู้ที่ใส่ใจในความงามและสุขภาพผิว
✔️ ผู้ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะต่างๆเป็นประจำเช่นความเครียด ฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์ เป็นต้น
✔️ นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

5. ถ้าไม่อยากทานอาหารเสริม Astaxanthin จะหาทานได้จากอาหารประเภทไหนมีAstaxanthin เยอะบ้าง ❓

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารในกลุ่มแซนโทรฟิลล์ ตระกูลแคโรทีนอยด์ มีลักษณะเป็นสารสีแดงที่พบมากในอาหารเหล่านี้ค่ะ
🍣 ปลาแซลมอน
🐟 ไข่ปลาคาร์เวียร์
🦐 เปลือกปู กุ้ง
🥦 สาหร่าย ชนิด Microalgae Haematococus Pluvialis
🦅 ขนสีชมพูในนกฟลามิงโก

6. ปริมาณที่แนะนำให้ทาน Astaxanthin เท่าไหร่ที่ช่วยเรื่องผิวพรรณได้ ❓

ไม่มีปริมาณที่ระบุแน่นอน แต่การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ที่ไม่พบผลข้างเคียง มีดังนี้
🍬 ทานเดี่ยวๆ ปริมาณ 1-12 มิลลิกรัมต่อวัน ต่อเนื่อง 8-12 สัปดาห์ พบว่าริ้วรอยเล็ก ๆ ที่ผิวแลดูลดลง ผิวชุ่มชื้นขึ้น
🍬 ทานร่วมกับวิตามินอื่น ๆ ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ปริมาณ 4 มิลลิกรัมต่อวัน ต่อเนื่อง 12 เดือน
🍬 ทานพร้อมอาหารจะเพิ่มการดูดซึมได้ดีขึ้น

7. แอสตาแซนธินสะสมในร่างกายมั้ยคะ ❓

✔️ ไม่สะสมในร่างกายค่ะ ไม่เปลี่ยนโครงสร้างเหมือนกับวิตามินบางชนิด โครงสร้างของโมเลกุลเรียงตัวได้ดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ
✔️ บางรายพบผลข้างเคียง (ไม่ขึ้นกับขนาดที่ทาน) คือ มีอาการแพ้ได้บางราย, ความต้องการทางเพศลดลง, สีผิวเข้มขึ้น, ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลง, ความดันโลหิตต่ำลงได้

8. บุคคลใดที่ไม่แนะนำให้ทาน ❓

❌ ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
❌ มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับ Autoimmune disease
❌ ทานยากดภูมิคุ้มกัน
❌ แพ้สารในกลุ่ม Carotenoids, Astaxanthin
❌ กระดูกพรุน โรคพาราไทรอยด์ แคลเซียมต่ำ
❌ คนที่กินยากลุ่ม 5 alpha reductase inhibitors เนื่องจากเสริมฤทธิ์ให้ฮอร์โมนเพศชายลดน้อยลง

9. แล้วเรื่องการทานคอลลาเจนช่วยลดริ้วรอยได้ไหม ❓

มีข้อมูลทางคลินิกและในหลอดทดลอง พบว่าการทาน Hydrolyzed collagen peptides มีทั้งข้อมูลที่พบว่าได้ผลดีและไม่แตกต่าง แต่ข้อมูลส่วนใหญ่พบว่าช่วยเรื่อง ผิวพรรณให้ดีขึ้นได้ในเรื่องเหล่านี้ คือ

✔️ เพิ่มความชุ่มชื้นผิว (skin hydration)
✔️ เพิ่มเส้นใยคอลลาเจนที่ผิวชั้นหนังแท้
✔️ เพิ่มการสร้าง GAGs & อิลาสติน
ส่งผลโดยรวมให้ผิวหนังชุ่มชื้นและยืดหยุ่นมากขึ้น คุณภาพผิวดูดีขึ้น ริ้วรอยเล็ก ๆ ที่ผิวดูลดลง

กลไกหลักของการทานคอลลาเจนต่อผิวหนัง มี 2 อย่าง คือ
1.มีการดูดซึม collagen-derived peptides ผ่านลำไส้ ไปกระตุ้นไฟโบรบลาสต์ให้สร้าง ECM
2.กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนผ่านทางระบบอิมมูนร่างกาย

อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพต้องขึ้นกับปัจจัยอื่นด้วย เช่น ชนิดและขนาดโมเลกุลของคอลลาเจนที่ทาน, การดูดซึม, การกระจายตัวไปออกฤทธิ์ยังเซลล์ผิวหนัง รวมทั้งอายุของผู้ทาน ถ้าหากสูงวัยกว่าก็อาจจะเห็นผลช้ากว่าและน้อยกว่า

10. ปริมาณการทานคอลลาเจนเปปไทด์ ที่ช่วยเรื่องผิวพรรณ ❓

ต้องบอกก่อนว่าถ้าเราทานโปรตีนเพียงพอต่อวันแล้วก็อาจจะไม่จำเป็นต้องทานคอลลาเจนก็ได้ เพราะโปรตีนจากแหล่งอาหารหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ที่เราทานเข้าไปก็สามารถถูกนำไปสร้างคอลลาเจนที่ผิวหนังได้ แต่หากใครคิดว่าตัวเองทานอาหารหลักไม่เพียงพอ ก็อาจทาน คอลลาเจนเปปไทด์เป็นทางเลือกเสริมได้ โดยยังไม่มีขนาดรับประทานที่กำหนดไว้ชัดเจน แต่มีข้อมูลปริมาณการทานจากงานวิจัยที่เห็นการเปลี่ยนแปลง คือ

✔️ ด้านผิวพรรณ ประมาณ 2.5–5 กรัมต่อวัน
✔️ ด้านความแข็งแรงกระดูกและข้อต่อ ประมาณ 10-15 กรัมต่อวัน
โดยเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังทานนาน 60-90 วัน และผลจะคงอยู่ไปได้อีกประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ต้องอาศัยการต่อเนื่องร่วมด้วย

ปัจจุบันอาหารเสริมคอลลาเจนเปปไทด์และแอสตราแซนทินมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบเม็ด แบบผงชงดื่ม หรือ แม้แต่แบบใหม่ล่าสุด คือ เป็นแท่งเจลลี่สตริป ที่ถูกพัฒนาไอเดียนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ลิขสิทธิ์ของบริษัท ซันโทรี่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทานง่าย สะดวก และรสชาติดี

อย่างไรก็ตาม เราสามารถเลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารแอสตาเซนธิน เช่น ในเนื้อสีแดงสวยของปลาแซลมอน หรือแม้แต่การลองรับประทานกุ้งตัวเล็กทั้งเปลือก หรือ อาจเลือกทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ถั่วต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายนำไปเสริมสร้างคอลลาเจนต่อไป

ยังไม่มีคำแนะนำให้ต้องทานอาหารเสริมหรือวิตามินทุกคน อย่างที่บอกคือเป็นอาหารเสริม การจะรับประทานหรือไม่นั้น ขึ้นกับการตัดสินใจส่วนบุคคล หากใครที่อยากเสริมก็แนะนำให้ศึกษาข้อมูลหลักฐานทางงานวิจัย เลือกอาหารเสริมที่มีแหล่งที่มาชัดเจน ไม่มีโลหะหนักเจือปน ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย และ อย่าลืมเช็คว่ามีโรคประจำตัวหรือข้อห้ามอะไรในการทานอาหารเสริมหรือไม่ หากไม่แน่ใจแนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมค่ะ


[Disclaimer] สนับสนุนเนื้อหาความรู้โดย

BRAND’S Jelly Strip ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนำเข้า ผลิตโดยบริษัท ซันโช ฟาร์มาซูติคอล จำกัด ประเทศญี่ปุ่น

• กล่องแดง สูตร Astaxanthin & Collagen Peptide รสทับทิม
เหมาะสำหรับคนที่อยากเสริมการปกป้องผิวจากสารอนุมูลอิสระ เสริมการสร้างคอลลาเจน
ส่วนผสม
Collagen Peptide จากปลา 1,500 มก./ซอง
Astaxanthin สกัดจากสาหร่าย Haematococcus pluvialis 1 มก./ซอง
พลังงาน 25 Kcal/ซอง
ขนาดบริโภค 1-2 ซอง/วัน
ไม่แนะนำสำหรับคนแพ้ปลา, ถั่วเหลืองและถั่ว
เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

กล่องชมพู สูตร Niacinamide & Collagen Peptide รสองุ่น
เหมาะสำหรับคนที่อยากเสริมการปกป้องผิวจากสารอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องรอยดำจากการอักเสบ
ส่วนผสม
Collagen Peptide จากปลา 1,500 มก./ซอง
Niacinamide 6 มก./ซอง
พลังงาน 25 Kcal/ซอง
ขนาดบริโภค 1-2 ซอง/วัน
ไม่แนะนำสำหรับคนแพ้ปลา, ถั่วเหลืองและถั่ว
เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

หาซื้อได้ที่วัตสันทุกสาขา


References:
Int J Dermatol. 2021 Dec;60(12):1449-1461.
J Am Acad Dermatol. 2021 Apr;84(4):1042-1050.
J Cosmet Dermatol. 2020 Nov;19(11):2820-2829.
Oxid Med Cell Longev. 2020 May 11;2020:8031795.
Nutr Res. 2018 Sep;57:97-108.
Mol Nutr Food Res 2011; 150-165.
Am J Cardiol 2008; 58-68.
Ophthalmology 2008; 324-333.
Phytomedicine 2008; 391-399.

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

The impact of airborne pollution on skin

โพสนี้สำหรับใครที่อยากปกป้องผิวจากการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย ‼️

วันนี้หมอจะเน้น 9 ข้อสั้น ๆ ให้เห็นถึงความสำคัญของการปกป้องผิวจาก มลภาวะทางอากาศ เพิ่มเติมจากการป้องกันแดดค่ะ เพราะเชื่อว่าทุกคนที่ติดตามเพจอยู่ คงรู้หมดแล้วว่ากันแดดสำคัญขนาดไหน


Reference

The impact of airborne pollution on skin
JEADV vol 33 issue 8
First published: 21 March 2019

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

รวมส่วนผสมชะลอผิวแก่ในครีมกันแดด

ส่วนผสมชะลอผิวแก่ในครีมกันแดด

ส่วนผสมที่เติมในครีมกันแดดแล้วเสริมการปกป้องผิวในครีมกันแดดได้มีข้อมูลอะไรบ้าง

Additives in sunscreen

การเผชิญกับ UV และ VL เป็นเวลานาน สามารถกระตุ้นให้มีการเพิ่มขึ้นของ ROS, MMPs และมีการทำร้าย DNA ที่ผิวหนังได้ ดังนั้น การทาครีมกันแดดสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งค่ะ

อ่านเจอข้อมูลงานวิจัยที่พูดถึงสารต่าง ๆ ที่นำมาผสมในครีมกันแดดเลยนำมาแบ่งปัน
ส่วนใหญ่วัตถุประสงค์ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการทำร้ายผิวจากสารอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวี และเพื่อชะลอการเกิดผิวชราจากแสงแดด หรือ ที่เราเรียกว่า Photoaging นั่นเอง

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ถูกยกขึ้นมากล่าวถึงมากที่สุด เพราะเชื่อว่าช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นได้ เช่น

Vitamin C (L-ascorbic acid)

ตัวนี้สลายง่ายที่ค่า pH ปกติที่ผิวหนังเรา จึงเห็นมักผสมกับตัวอื่นเพื่อให้คงตัวมากขึ้น เช่น Vitamin E, Ferulic acid
โดย vitamin C จะเป็น cofactor ในกระบวนการ collagen synthesis และลดการสะสมของ elastin ได้

Vitamin E

มีข้อมูลว่าช่วยลด lipid peroxidation, photoaging, immunosuppression และ photocarcinogenesis

Retinoids

ช่วยยับยั้ง activation of protein-1 & MMP-1 expression ผลคือ กระตุ้นการสร้างคอลาเจน ผิวหนาขึ้นและแข็งแรงขึ้น แต่เนื่องจากความไม่คงตัวของกลุ่มนี้ ทำให้สลายได้ง่ายเมื่อถูกรังสี UV, VL จึงไม่ค่อยเห็นผสมในครีมกันแดดบ่อยนัก อาจเห็นพวกที่รูปแบบค่อนข้างเสถียรกว่า retinoids เช่น Retinyl
palmitate ที่มักผสมในสกินแคร์ต่าง ๆ โดยมักทำเป็น liposome เพื่อให้คงตัวมากขึ้น แต่ประสิทธิภาพก็อาจด้อยกว่า tretinoin or retinol
ส่วนประเด็น retinyl palmitate เมื่อถูกยูวีแล้วจะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังตามมาหรือไม่ ยังไม่ชัดเจน อันนี้ยังต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป

Polyphenols

พบใน botanicals เช่น tea leaves, grape seeds (Vitis vinifera), blueberries, almond seeds, and pomegranate extract พวกนี้จะมีสารที่เรียกว่า epigallocatechin-3-gallate ซึ่งช่วยลด MMP-1 ตัวทำร้ายคอลาเจน และตัวมันเองสามารถเพิ่ม SPF ได้ร่วมด้วยนิดหน่อย

Soy extracts

มีข้อมูลว่า soybean-derived serine protease inhibitors ช่วยลดรอยดำ และริ้วรอยเล็ก ๆ ตื้น ๆ ที่ผิวได้

Melatonin

ช่วยปกป้องเซลล์ผิว keratinocytes, melanocytes, and fibroblasts และป้องกัน UV-induced photoaging ได้

Algae extract

บางชนิดนอกจากพบว่าดูดซับรังสียูวีได้ ยังช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระที่ผิวได้ พบว่า Mycosporine-like amino
acids (MAAs) จาก algae ยังเป็น potent UV filters โดย maximum absorption 310 และ 362 nm ทีเดียว นอกจากนั้นยังอาจได้ยินชื่อ เช่น Porphyra umbilicalis, Corallina pilulifera methanol extract แต่กลุ่มนี้ยังอาจมีประเด็นถกเถียงเรื่อง eco-friendly photoprotection คงต้องติดตามต่อไปในอนาคต

Polypodium leucotomos extract (PLE)

ตัวนี้มีข้อมูลทั้งรูปแบบทา และ กิน ว่าช่วยได้ทั้ง antioxidative, chemoprotective, immunomodulatory,
and anti-inflammatory effects เรื่องสารตัวนี้เคยทำคลิป ลองไปดูเพิ่มเติมได้ค่ะ
https://youtu.be/DCOx4HMN_a4

ตัวอื่นที่มีข้อมูลว่าช่วยลด MMP-1 expression ได้ ก็เช่น
Caffeine
Echinacea pallida extract
Gorgonian extract
Chamomile essential oil

นอกจาก oxidants แล้วก็ยังมี Photolyases ที่ถูกนำมาผสมครีมกันแดด เพราะสามารถช่วย DNR repair ได้ ส่งผลให้มี photoprotective effects และ anti-oxidants ได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม การผสมสารเหล่านี้เข้าในครีมกันแดดแต่ละแบรนด์นั้นไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพออกมาดีเท่ากันเสมอไป จะดูแค่ว่า..มีหรือไม่มีชื่อเหล่านี้ในส่วนผสมอาจไม่พอ เพราะยังคงต้องดูในรายละเอียดเรื่อง ความเข้มข้นที่มากพอ, ความสามารถในการซึมผ่านผิวชั้น Stratum corneum และ ความคงตัวของครีมกันแดดตัวนั้นในที่สุดด้วยเช่นกัน

สุดท้ายแล้ว ก็อยากให้ทาครีมกันแดดกันสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายด้วยรังสียูวี ป้องกันมะเร็งผิวหนังแล้ว ยังช่วยเรื่องชะลอผิวเสื่อมชราด้วยนะคะ..สภาพ

หวังว่าจะชอบบทความนี้กันนะคะ ถ้าชอบก็สามารถไลค์ เลิฟ แชร์ เป็นกำลังใจให้ด้วยน๊าค๊า


Reference
Guan, L.L., Lim, H.W. & Mohammad, T.F. Sunscreens and Photoaging: A Review of Current Literature. Am J Clin Dermatol 22, 819–828 (2021). https://doi.org/10.1007/s40257-021-00632-5

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

How to กินช๊อคโกแลตเพื่อผิวสวย & หน้าเด็ก

รู้ไหมว่า .. หมอชอบทานดาร์คช๊อคโกแลตมาก ๆ และวันนี้หมอมีวิธีการเลือกซื้อช๊อคโกแลตมาแบ่งปัน เพราะการทานช๊อคโกแลตอย่างถูกวิธี จะทำให้เราได้รับ “ฟลาโวนอยด์” และ “โพลีฟีนอลหลายชนิด” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้อย่างเต็มที่ ผลก็คือ..

1. ผิวสวย ชะลอการเกิดริ้วรอย หุ่นดีขึ้น ผมสวย
รู้ไหมว่า ดาร์คช๊อคโกแลตยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มแอนตี้ออกซิแด้นที่สูงกว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ถึง 8 เท่านะ..จะบอกให้‼️
2. อารมณ์ดี คลายเครียด
พบว่าหลังทานในปริมาณปกติไปประมาณ 2 สัปดาห์ ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ลดการซึมเศร้า เพราะในช๊อคโกแลตมีสาร MAO inhibitors ออกฤทธิ์คล้ายยาต้านเศร้านั่นเอง
3. ความจำดีขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำของสมองได้ 2-3 ชั่วโมง
4. ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิต ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ลดความดันโลหิต (SBP 2.8-4.7 mmHg, DBP 1.9-2.8 mmHg)
5. ช่วยลดคลอเรสเตอรอลได้
หลังกินดาร์คช๊อคโกแลตที่มีโกโก้ 70% ปริมาณ 100 กรัม/วัน นาน 1 สัปดาห์ พบว่า ลด LDL 6% เพิ่ม HDL 8%
6. บำรุงสายตา

แต่ระวัง..!! ถ้าหากเลือกผิด สิ่งที่ได้จะเป็นน้ำตาลและไขมัน ซึ่งส่งผลเสียมากกว่า

ถ้าเรียงลำดับปริมาณฟลาโวนอยด์จากมากไปน้อย จะได้เป็น

1. Cacao คาเคา —> ไม่ค่อยหวาน แต่มีสารต้านอนุมูลอิสระเยอะที่สุด !!!

2. Cocoa โกโก้ —> หวานนิดหน่อย มีสารต้านอนุมูลอิสระน้อยกว่าคาเคา โดยที่มากน้อยเท่าไหร่ขึ้นกับว่า..มีปริมาณโกโก้ผสมอยู่เท่าใด

🍫 Dark chocolate มีผงโกโก้ผสมอยู่มากกว่า 70% จึงเป็นช๊อคโกแลตที่มีมีสารฟลาโวนอยด์มากสุด

🍫 Milk chocolate มีผงโกโก้น้อยกว่า 70% จึงมีสารฟลาโวนอยด์น้อยลง และมีการเพิ่มนมและน้ำตาล

🍫 White chocolate ไม่มีผงโกโก้ ไม่มีฟลาโวนอยด์ มีเนยโกโก้ (ไขมัน) นม น้ำตาล เพิ่มเข้ามา

ช๊อคโกแลตข้างต้น หากมีการผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น อบ หมัก ทำให้เป็นด่างมากขึ้น จะทำให้ขมน้อยลง รสนุ่มขึ้น ทานง่ายขึ้น —> แต่..ฟลาโวนอยด์..จะลดลงไป 60-90% เลยนะจ๊ะ‼️ พวกนี้จะระบุไว้ว่า
🍫 Dutched
🍫 Process with Alkali
เล่าแบบนี้อาจจะนึกยังไม่ออก เหล่านี้ก็คือพวกเครื่องดื่มโกโก้ปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม เช่น โอวัลติน ไมโล เป็นต้น

European Food Safety Authority แนะนำปริมาณฟลาโวนอยด์ที่รับประทานในโกโก้หรือช๊อคโกแลต คือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับผลโกโก้ประมาณ 2.5 กรัม หรือ ดาร์คช๊อคโกแลต 2 ชิ้นเล็ก

สรุปว่า ถ้าอยากกินช๊อคโกแลตให้ดีต่อสุขภาพก็ควรเลือกแบบนี้ค่ะ

• ชนิดผง —> ผงคาเคา หรือ ผงโกโก้แบบปรุงแต่งน้อยที่สุด เลี่ยงพวกผสมพร้อมชงดื่มเพราะมักผสมน้ำตาล แล้วเราค่อยมาปรุงรสเองนิดหน่อยก็พอ
• ช๊อคโกแลตแท่ง —> ดาร์คช๊อคโกแลตแบบที่มี %โกโก้สูง ๆ น้ำตาลน้อย ๆ และกินวันละ 2-3 ชิ้นเล็ก ๆ พอ
• กินตอนเช้า ช่วยให้สดชื่นอารมณ์ดี กระปรี้กระเปร่าเพิ่มขึ้นได้ 2-3 ชั่วโมง
• ช๊อคโกแลตที่ผสมถั่วและผลไม้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเติมส่วนของรสชาติ อันนี้แล้วแต่คนชอบ

ข้อควรระวัง

❌ ช๊อคโกแลต อาจทำให้กระตุ้นไมเกรนได้ในบางคน
❌ ไม่แนะนำในคนเป็นโรคไต เพราะช๊อคโกแลตมีกรดออกซาลิคสูง เพิ่มความเสี่ยงเกิดนิ่วได้

ส่วนตัวจะกินตัวที่หาซื้อได้ไม่ยากเกินไป และดูแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อารมณ์ดี ผิวพรรณอ่อนเยาว์ ตัวนี้เลย Lindt เป็น Excellent Cacao 100% ไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย

ใครอยากลองกินตามก็ได้ไม่ว่ากันค่ะ กินแล้วจะหน้าเด็กไหมต้องไปลองเองนะจ๊ะ แต่ข้อมูลสนับสนุนเบอร์นี้ ส่วนตัวคิดว่าไม่กินไม่ได้แล้ว

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
No sponsored content

Product mentioned
Lindt Thailand

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Extremolytes (Ectoin) ช่วยเสริมความสตรองของผิวได้อย่างไร วันนี้มาทำความรู้จักกัน

Role of Extremolytes (Ectoin) in Dermatology

1️⃣🟫 Extremolytes ถูกคิดค้นปี 1980 เป็น amino acid ที่สกัดจากชีวโมเลกุล Extremophilic organisms ที่อาศัยอยู่ใน Natrun Valley ประเทศอียิปต์ และต่อมาก็พบว่า สารนี้มักเจอในชีวโมเลกุลที่อาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่โหดจัด extreme มาก ๆ ไม่ว่าจะร้อนจัด เย็นจัด มลภาวะเยอะจัด แห้งจัด ยูวีเยอะจัด

🌟 ดังนั้น จึงมีการศึกษาวิจัยนำ Extremolytes มาผสมในสกินแคร์ ก็พบว่าช่วยให้ผิวสตรองมากขึ้น เสมือนกับชีวโมเลกุลข้างต้น ที่สามารถอาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมอันโหดร้ายที่แทบจะไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นมีชีวิตรอดอยู่ได้เลย เรียกได้ว่าเป็น Stress protection molecule ที่ดีตัวหนึ่ง

2️⃣🟫 Ectoin คือ สารที่ผลิตได้จากแบคทีเรียชื่อ Halomonas elongata ถือเป็น naturally Osmolytes อย่างหนึ่งที่มีการศึกษามากมายทั้งในแง่ของการผสมในครีมบำรุงผิวหรือครีมกันแดด, ยาพ่นในระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งยาหยอดตา

🌟ทั้งนี้ เนื่องจาก Ectoin มีคุณสมบัติในการช่วยลดการอักเสบได้ ทั้งที่ผิวหนัง เยื่อบุทางเดินหายใจ และตา

3️⃣🟫 มีการศึกษาพบว่าผิวหลังทาสกินแคร์ที่มี Ectoin เมื่อทดสอบด้วย UVB แล้ว มีอิมมูนเซลล์ที่ผิว (Langerhan cells) ลดลงเพียงเล็กน้อย และยังพบ Sunburn cells ลดลงอย่างชัดเจน

🌟 ดังนั้น Ectoin จึงมีคุณสมบัติ ช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายด้วย UVB

4️⃣🟫 มีการศึกษาพบว่าผิวหลังทาสกินแคร์ที่มี Ectoin เมื่อทดสอบด้วย UVA แล้ว เซราไมค์ที่ผิวจะถูกสลายน้อยลงไปเรื่อย ๆ (dose-dependent) และยังพบ ICAM-1 น้อยลง บ่งบอกว่าการอักเสบของผิวน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ

🌟 ดังนั้น Ectoin จึงมีคุณสมบัติ ช่วยยับยั้งกระบวนการอักเสบของผิวที่เกิดจาก UVA ได้อีกด้วย

5️⃣🟫 มีการศึกษาวิจัยในคน Sensitive & Atopic skin โดยให้ทา 1% และ 4% Ectoin เช้าเย็น นาน 7 วัน พบว่า TEWL ลดน้อยลง (แบบ dose-dependent)

🌟 ดังนั้น คนผิวแห้งหรือแพ้ง่ายที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงของกำแพงผิว แนะนำ ectoin ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 0.5-1% ขึ้นไป โดยทาเช้าเย็น จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงประมาณ 1 สัปดาห์

6️⃣🟫 มีการศึกษาพบว่าเมื่อทา 1% Ectoin เช้าเย็น นาน 12 วันขึ้นไป ผิวมีความชุ่มชื้นมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการตรวจวัดด้วยเครื่องมือ corneometry และหลังหยุดทาแล้วยังสามารถคงความชุ่มชื้นผิวอยู่ได้อย่างน้อย 7 วัน

🌟 ดังนั้น Ectoin จึงมีคุณสมบัติเป็น prolonged moisturizer ช่วยให้ความชุ่มชื้นผิวได้ยาวนาน ในงานวิจัยระบุอย่างน้อย 7 วัน แต่อย่างไรก็ตามคงต้องขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล และ ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่มี Ectoin ในแต่ละยี่ห้อ

7️⃣🟫 Ectoin มีคุณสมบัติ anti-inflammatory effect จึงมีการนำมาใช้เพื่อ ช่วยบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบจากสาเหตุหลายอย่าง

🌟 ดังนั้น จึงเป็นอีกทางเลือกในคนที่มีผิวหนังอักเสบ (Eczema) หรือในกลุ่มโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Mild to moderate Atopic dermatitis) ที่อยากเลี่ยงการทาสเตอรอยด์บ่อย ๆ

8️⃣🟫 พบว่า การทาสกินแคร์ที่มีEctoin สามารถช่วยลดการเกิด Air pollution-induced hyperpigmentation ได้ และลด gene expression ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเสื่อมของผิวได้

🌟 ดังนั้น Ectoin-containing Skincare จึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากช่วย anti pollution และ anti aging ได้ดี

9️⃣🟫 ถึงแม้มีข้อมูลว่า Ectoin ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA, UVB ช่วยป้องกันผิวไหม้และลด aging skin ได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาในแง่ SPF, PA ที่ชัดเจน

🌟 ดังนั้น แนะนำให้ทาครีมกันแดดร่วมด้วยเสมอค่ะ

🔟🟫 บางคนเรียก Ectoin ว่าเป็น All-in-One และ เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการบำรุงผิว เพราะมีความสามารถ คือ

✔️ ปกป้องผิวจากการทำร้ายโดย UVA ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งผิวชรา ริ้วรอย ฝ้า กระ จุดด่างดำ

✔️ ปกป้องผิวจากการทำร้ายโดย UVB ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งผิวไหม้และหมองคล้ำ

✔️ ลดการระคายเคืองผิวจาก PM2.5 ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความแก่, ผิวอักเสบ, การกำเริบของผื่นผิวหนังบางชนิด

✔️ ช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนัง

✔️ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิวได้ยาวนานหลายวัน

🌟 ดังนั้น คุณสมบัติของEctoin ก็คือ “Antiaging + Antiinflammatory + Moisturizing + Barrier repairing effects”

โดยสรุป หากใครที่กำลังมองหาสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของ Extremolytes (Ectoin) ขอแนะนำ ดังนี้ค่ะ

✅ 0.5% ขึ้นไป ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและบำรุงกำแพงผิวได้ดี

✅ 1% ขึ้นไป มีคุณสมบัติเหมือน 0.5% และเพิ่มเติมคือ สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นให้ผิวได้ยาวนานยิ่งขึ้นเป็นสัปดาห์

✅ 5-7% ขึ้นไป มีคุณสมบัติ anti-inflammatory effect (dose-dependent) แนะนำสำหรับคนที่มีปัญหาภูมิแพ้ผิวหนัง Atopic dermatitis, มีผื่นแพ้อักเสบผิวหนังต่าง ๆ หรือ คนที่ต้องการบำรุงผิวมากขึ้นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มลภาวะฝุ่น PM2.5 ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีในประเทศไทยที่มีงานวิจัยทางการแพทย์รับรองก็เช่น Resiskin เป็นต้น

References

Skin Pharmacol Physiol 2014; 27: 57–65.

Appl Microbiol Biotechnol 2006; 72: 623–634.

Clin Dermatol 2008; 26: 326–333.

Curr Pediatr Rev. 2019; 15(3): 191-195.

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

Product mentioned

🌟 Resiskin by Qualisk

✔️ Germany Innovative Ingredient (Extremolyte) ที่สกัดจากธรรมชาติ ไม่มีสารกันเสีย

✔️ Skin barrier repair ช่วยเสริมความแข็งแรงของกำแพงผิว ช่วยปกป้อง บำรุงและฟื้นฟูผิวในหลอดเดียว

✔️ มีงานวิจัยรับรองประสิทธิภาพในผิวหนังมนุษย์

✔️ No Steroid, no fragrance

✔️ Safe for infant, children, adult

✔️ แนะนำในคนผิวธรรมดา, ผิวแห้ง, ผิวแพ้ง่าย, ผู้มีปัญหาผิวหนังอักเสบหรือภูมิแพ้ผิวหนัง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Website: https://resiskin.com
FB: https://www.facebook.com/resiskin
Line: @ResiSKIN
#ผิวสตรองพร้อมทุกสถานการณ์

Sponsored by Resiskin

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.