Category Archives: Acne

แสง กับ การรักษาสิว (ตอน 1)

ข้อควรรู้ที่อยากเล่าให้ฟังเบื้องต้น เรื่องแสงกับการรักษาสิว มีดังนี้

✔️ สามารถใช้เสริมกับการรักษามาตรฐานด้วยยากิน ยาทาสิว
✔️ ควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ และ เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน
✔️ ชนิดของแหล่งกำเนิดแสง ความเข้มแสง ระยะเวลาการรักษา ในคนไข้สิวแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นกับแพทย์พิจารณา
✔️ การตอบสนองต่อการรักษาของแต่ละคนก็แตกต่างกัน

🔵 สีฟ้า ตื้นสุด
🟡 สีเหลือง ปานกลาง
🔴 สีแดง ลึกสุดครอบคลุมทุกชั้นผิว

✔️ กรณีสิว
สีฟ้า และ สีแดง มีข้อมูลว่าเสริมการรักษาสิวระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลางได้
กลไก คือ
• ลด C.acnes
• ลด Pore size
• ลดการอักเสบ

✔️ กรณี Rejuvenation & Photodamage
• LEDs สีฟ้า สีแดง สีเหลือง มีข้อมูลการศึกษาทั้ง 3 สี
กลไก คือ
กระตุ้น Ca2+, nitric oxide, matrix metalloproteinase ซึ่งช่วยในกระบวนการ collagen-stimulating pathways
• PDT ก็อาจช่วยได้ในแง่ photodamaged facial skin texture, wrinkles, and mottled pigmentation

หมอทำภาพสรุปมาให้

จบแล้วตอนที่ 1
ไว้มาต่อตอนที่ 2 ถ้ามีคนอยากอ่านค่ะ 🤭♥️

References

J Am Acad Dermatol. 2021 May ; 84(5): 1219–1231.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.


Summary topical retinoids for acne (Updated)

ปัจจุบันมียาทาวิตามินเอที่มีข้อมูลรักษาสิวได้ แต่ละตัวจะจับกับตัวรับ retinoid receptors แตกต่างกันไป (ดังตาราง)

ส่วนใหญ่จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังการรักษาประมาณ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งช่วยได้ทั้งสิวที่หน้าและสิวที่ลำตัว

Tazarotene 0.1% ทั้งชนิด foam และ gel มีประสิทธิภาพเท่ากันในการรักษาสิวที่หน้า และ ลำตัว โดยแนะนำใช้เพียงวันละ 1 ครั้งก็เห็นผลการรักษาดี

Trifarotene จับกับตัวรับจำเพราะ RARgamma ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ anti-comedogenic, anti-inflammatory, anti-pigmentary activities และพบว่ามีประสิทธิภาพในการใช้รักษาสิวที่หน้าและสิวที่ลำตัวได้ดี มีการศึกษาว่าการใช้ในระยะยาว 52 สัปดาห์ พบว่าปลอดภัย ระคายเคืองค่อนข้างน้อย

เรียกได้ว่าเป็นความหวังของคนที่ใช้ topical retinoids ไม่รอดก็ว่าได้
รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมถ้ามีอัพเดทจะมาเล่าให้ฟังเรื่อย ๆ นะคะ ต้องรอติดตาม

Reference ตามแนบในรูป

รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Benzoyl peroxide ต้องทากี่นาทีจึงฆ่าเชื้อ C.acne ได้

ข้อมูลในงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ไม่นาน เป็นการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่า BPO จะออกฤทธิ์ bactericidal effect ต่อ C.acne ได้ ดังนี้

Reference: Clinical, Cosmetic and Investigational Dermatology 2022;15:403–409.

1.25% นานอย่างน้อย 60 นาที
2.5% นานอย่างน้อย 15 นาที
5% นานอย่างน้อย 30 วินาที
10% นานอย่างน้อย 30 วินาที

นั่นแปลว่า ถ้าหากความเข้มข้นต่ำอาจต้องทาทิ้งไว้นานกว่า จึงจะได้ประสิทธิภาพเทียบกับความเข้มข้นที่สูงขึ้นตามลำดับ

และบางคนที่ผิวระคายเคืองอาจไม่สามารถทาทิ้งไว้นาน อาจต้องปรับไปใช้ตัวอื่นในการควบคุมสิวแทน

แต่อย่างไรก็ตาม หากนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกับผิวมนุษย์ อาจมีข้อจำกัดหรือปัจจัยที่ต่างไปจากหลอดทดลอง
เช่น
❓เชื้อ C.acne อาจอยู่ลึกลงไปในรูขุมขนด้วย อาจต้องใช้เวลานานกว่าในหลอดทดลอง หรือไม่
❓BPO รูปแบบ cleanser อาจถูกเจือจางตอนผสมน้ำ (ต่างกับรูปแบบ Leave-on หรือ rinse-off) อาจต้องใช้เวลานานขึ้นหรือความเข้มข้นที่สูงกว่าเดิม หรือไม่

อาจต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป


Reference

Minimum Contact Time of 1.25%, 2.5%, 5%, and 10% Benzoyl Peroxide for a Bactericidal Effect Against Cutibacterium acnes

Clinical, Cosmetic and Investigational Dermatology 2022;15:403–409.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

NICE Acne Guideline 2021 อัพเดทล่าสุด..การรักษาสิวสำหรับแพทย์ทั่วไป

ACNE GUIDELINE ของ The National Institute for Health and Care Excellence (NICE) ล่าสุด‼️

มีประเด็นที่น่าสนใจพูดเกี่ยวกับคำแนะนำการรักษา และ เมื่อไหร่ควรส่งต่อเคสสิว

การรักษาเบื้องต้นสำหรับแพทย์ทั่วไป

การรักษาไม่ต่างจากเดิมนัก รายละเอียดดังรูป

NICE acne guideline
Photo credited: British Journal of Dermatology

การส่งต่อเคสพบ Dermatologist

แบ่งตามความเร่งรีบคร่าว ๆ ดังนี้

Urgent

หากเป็นไปได้ควรรีบส่งต่อ ถ้าเป็น Acne fulminans เพราะต้องให้การรักษาเร็วหน่อย ซึ่งผู้ป่วยจะมี nodulocystic acne เพิ่มขึ้นรวดเร็วร่วมกับมีอาการทางกายอื่น ๆ เช่น ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว

Consider

พิจารณาส่งต่อ แต่ไม่รีบมาก กรณีดังนี้
• ไม่แน่ใจการวินิจฉัยโรค
• Acne conglobata
• Nodulo-cystic acne

กรณีที่อยากลองรักษาเบื้องต้น สามารถทำได้ และพิจารณาส่งต่อ กรณีดังนี้
• สิวเล็กน้อยถึงปานกลาง ไม่ดีขึ้นหลังรักษา 2 completed course
• ไม่ตอบสนองหลังให้ยาปฏิชีวนะ
• Acne with scarring มีแผลเป็นหรือหลุมสิว
• Acne with pigmentary change มีการเปลี่ยนแปลงสีผิว
• Medical conditions มีภาวะร่วมอื่น ๆ เช่น ถุงน้ำรังไข่หลายใบ ทานยา anabolic steroid เป็นต้น
• Mental change มีความกังวลใจ เครียด มีแนวโน้มซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ซึ่งต้องปรึกษาทีมจิตแพทย์ร่วมดูแล

Photo credited: British Journal of Dermatology

ที่มา
https://www.guidelines.co.uk/skin-and-wound-care/nice-management-of-acne-guideline/456130.article
Photo credited: British Journal of Dermatology

แบบไหนเรียก “สิวจากแมสก์” Maskne

ช่วงเวลานี้เลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องใส่แมสก์เวลาจะไปไหนมาไหน แต่เราทราบกันว่าจะต้องปฏิบัติตัวดูแลผิวอย่างถูกวิธีอย่างไรเพื่อลดโอกาสการเกิด ผื่นแพ้ หรือ สิวจากการใส่แมสก์

โดยวัตถุประสงค์ของโพสนี้ คืออยากเล่าให้ฟังว่า กลไกทำไมสิวจึงเกิดเห่อขึ้นมา แต่ยังคงเน้นย้ำเสมอว่าการใส่แมสก์นั้นมีเหตุผลเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค และเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ที่ควรปฏิบัติ เมื่อเทียบกับเรื่องสิวค่ะ

รู้ไหมว่า..???

1. สิวจากการใส่แมสก์อาจเกิดในคนที่ไม่เคยเป็นสิวมาก่อนในชีวิตก็ได้ ฉะนั้นไม่ต้องสงสัยว่าทำไมอยู่ดี ๆ ถึงเพิ่งจะมีสิวในตอนนี้

2. สิวจากการใส่แมสก์ อาจเกิดในคนที่กำลังรักษาสิวอยู่ และสิวสงบดี เพราะสภาพแวดล้อมใต้แมสก์เปลี่ยนไปสิวจึงเห่อขึ้นได้ ฉะนั้น อย่าเพิ่งโทษว่าดื้อยาหรือยาไม่ได้ผล แนะนำให้ลองปรับที่การดูแลผิวก่อนเลยอันดับแรก

3. สิวจากการใส่แมสก์ อาจพบมีอาการคันร่วมด้วยได้ และหลาย ๆ คนจะมีหน้ามันมากขึ้น ฉะนั้น ถ้าคันก็อาจทานยาแก้คัน และอาจปรับผลิตภัณฑ์ล้างหน้าหรือสกินแคร์เป็นกลุ่มที่ช่วยควบคุมความมันร่วมด้วย

4. มีงานวิจัยพบว่า การใส่แมสก์ต่อเนื่องเกิน 4 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป ทำให้อุณหภูมิผิวเพิ่มขึ้น และทุก ๆ 1°C ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ squalene ที่ผิวเพิ่มขึ้น และมีการหลั่งน้ำมันผิวมากขึ้น 10% ส่งผลให้สิวเห่อตามมาได้มากขึ้นกว่าเดิม ฉะนั้น หากอยู่ในที่โปร่ง หรืออยู่บ้านคนเดียว อาจเปิดแมสก์เพื่อระบายอากาศบริเวณผิวใต้แมสก์เป็นช่วงๆ ก็ช่วยได้

5. นอกจากนั้น การใส่แมสก์ต่อเนื่องนาน ๆ จะทำให้ความชื้นที่ผิวเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เซลล์ keratinocyte ที่ผิวและรูขุมขนบวมขึ้น จึงมีโอกาสเกิดรูขุมขนอุดตันและทำให้สิวเห่อตามมาได้อีกด้วย

6. สิวที่เกิดจากการใส่แมสก์ มักเป็นสิวอุดตันหรือตุ่มแดง ไม่ค่อยพบว่าเป็นสิวที่อักเสบนูนแดงรุนแรง ยกเว้นในกรณีที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา

7. สิวจากการใส่แมสก์ มักเป็นที่บริเวณแก้มและจมูกเป็นส่วนใหญ่ หรือหากดูจากรูปก็คือบริเวณ O-zone เพราะเป็นบริเวณสัมผัสแมสก์ แต่มักจะไม่พบบริเวณหน้าผาก ใต้คาง หรือคอ

8. สิวจากการใส่แมสก์ อาจเกิดหลังจากใส่แมสก์ไปแล้วเป็นเดือน – หลายเดือน จนบางครั้งเราอาจไม่นึกว่าเป็นจากการใส่แมสก์ บางทีมีอาการคันร่วมด้วยนึกว่าแพ้จึงไปซื้อยาสเตอรอยด์มาทา ก็อาจทำให้สิวยิ่งเห่อหนักขึ้นไปอีก

9. Ideal Face Mask ที่ช่วยลดโอกาสการเกิดสิว มีการ propose ไว้ดังรูปค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม เราคงต้องคำนึงถึงปัจจัยเรื่องการป้องกันโรคติดต่อร่วมด้วย การเลือก mask เป็นเพียงส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเท่านั้น

การใส่แมสก์ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อยากให้ละเว้น แต่เรามีวิธีปฏิบัติตัวเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดสิวได้ และหากสิวเห่อแล้ว ก็มีวิธีรักษาดูแลได้เช่นกัน ดังนั้น อย่ากลัวการใส่แมสก์เลยนะคะ

หากไม่แน่ใจว่าคุณเป็นผื่นแพ้หรือสิวจากการใส่แมสก์ แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางช่วยตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมนะคะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

References:

Diagnostic and management considerations for “maskne” in the era of COVID-19
J Am Acad Dermatol. 2021 Feb; 84(2): 520–521.

Increased flare of acne caused by long-time mask wearing during COVID-19 pandemic among general population.
Dermatol Ther. 2020 Jul; 33(4): e13704.

Seasonal aggravation of acne in summers and the effect of temperature and humidity in a study in a tropical setting. J Cosmet Dermatol. 2019 Aug; 18(4): 1098-1104.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ลองสำรวจดูว่ามีผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ มี BHA ซ้ำซ้อนกันในเวลาเดียวกันหรือไม่ ⁉️

BHA เช่น Salicylic acid, Lipohydroxy acid
ละลายได้ดีในไขมัน มีคุณสมบัติเด่นคือ

• ซึมผ่านบริเวณรูขุมขนลงไปผิวหนังชั้นที่ลึกกว่าได้ (Deep penetration through the lipid barrier of epidermis) ซึ่งเป็นสิ่งที่ AHA ทำไม่ได้
• ละลายสิวที่อุดตัน (Comedolytic effect)
ผลที่ตามมา คือ ทำให้สิวอุดตันลดลง
• ลดการสร้าง sebum (Minimized sebum production)
ผลที่ตามมา คือ ควบคุมความมันของผิว
• ออกฤทธิ์ลดการอักเสบได้ (Anti inflammatory effect)
ผลที่ตามมา คือ ช่วยลดการอักเสบของสิว ส่งผลให้เกิดรอยดำหลังการเกิดสิวลดลงตามมา

ดังนั้น BHA เหมาะสำหรับคนที่ปัญหาผิว ดังนี้
▫️สิวทุกชนิด ทั้งสิวอักเสบและสิวอุดตัน (Inflammatory and comedonal acne)
▫️หน้ามัน (Oily skin)

ส่วนคนที่ผิวแห้งหรือระคายเคืองง่าย ถ้าอยากใช้ BHA แนะนำว่าให้เลือกแบรนด์ที่มีส่วนผสมที่ช่วยลดการระคายเคืองและเพิ่มความความชุ่มชื้นร่วมด้วย หรือเลือก BHA รูปแบบที่ระคายเคืองน้อย โดยจะดูที่ปริมาณ % เท่านั้นไม่ได้ค่ะ เช่น Betaine Salicylate 4% เทียบผลแล้วอาจได้ประมาณ 1-2% Salicylic acid เป็นต้น ไว้จะมาเล่าให้ฟังทีหลัง

โพสนี้ไม่ได้เล่าละเอียดในส่วนผสมของแต่ละผลิตภัณฑ์ เพียงแต่มีหลายครั้งที่ชอบเจอคำถามว่าใช้ตัวหนึ่งทาทับกับอีกตัวได้ไหม อยากให้ลองสำรวจดูว่ามีผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ BHA ซ้ำซ้อนกันในเวลาเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีก็ควรจะแยกเวลาใช้ หรือ เลือกตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะช่วยลดผลข้างเคียงได้ค่ะ


ดูคลิป AHA & BHA เพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์นี้
https://youtu.be/svfWKAe8niQ


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

สิว 13 vs สิว 30 [รายการ Single Being Podcast]

สิววัยรุ่นกับสิววัยผู้ใหญ่ต่างกันไหม ลองมาฟังได้ในลิ้งค์นี้ค่ะ

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ Single Being และ พี่ผิง พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล ที่ชวนไปพูดคุยในคลิปนี้ค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่กำลังประสบปัญหาสิวอยู่นะคะ

เช็คลิสต์เดอร์โมคอสเมติกส์ที่มี BPO ‼️

กลุ่มนี้จะช่วยทั้งเรื่องสิวอุดตันและสิวอักเสบค่ะ
• บางคนตั้งใจซื้อมาใช้ แต่ใช้ยังไม่ถูกวิธี
• บางคนซื้อมาเพราะมีคนบอก แต่ไม่รู้ว่าส่วนประกอบคืออะไร จึงเกิดผลข้างเคียง

เรามาดูกันว่ามีผลิตภัณฑ์อะไรบ้างที่มีส่วนผสมของสารตัวนี้

1. กลุ่มล้างหน้า

กลุ่มนี้ใช้ล้างหน้า แต่ต้องระวังเพราะอาจก่อนให้เกิดการระคายเคืองบริเวณผิวที่บอบบางได้ เช่น รอบตา รอบปาก ข้างจมูก
ถ้าใครผิวบอบบางแพ้ง่าย หมอแนะนำว่าควรข้ามกลุ่มนี้ไป แนะนำให้ไปใช้แบบทาบางบริเวณ หรือกลุ่มยาที่ทาแล้วล้างออกจะลดผลข้างเคียงได้ดีกว่าค่ะ

✔️ Neutrogena Rapid Clear Stubborn Acne Cleanser
เป็น 10% BPO และมี Laureth-4, BHT, Menthol ทั้งหมดนี้ค่อนข้างระคายเคือง ไม่แนะนำในคนผิวแพ้หรือระคายเคืองง่าย ระวังผิวรอบดวงตา
✔️ Proactive Skin Renewing cleanser
เป็น water-soluble solution 2.5% BPO
มี scrub particles เม็ดเล็ก ๆ , glycolic และ fragrance บางคนอาจระคายเคืองจากเม็ดบีด ควรใช้ด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะหากมีสิวอักเสบอยู่ อาจทำให้แย่ลงได้
✔️ Benzac Wash 5% Benzoyl Peroxide
✔️ PanOxyl Benzoyl Peroxide 10% Acne Foaming Face Wash
ไม่มี alcohols, silicones, fragrances
มี sulfates, parabens and polyethylene glycol (PEG)
มี cetearyl alcohol, mineral oil (Comedogenic rating 2) ล้างยาก ก่อสิวได้
✔️ Humane Benzoyl Peroxide 10% Acne Wash
ไม่มี alcohols, parabens, silicones, polyethylene glycol (PEG), synthetic fragrances
✔️ OXY Sensitive Face Wash With 5% Benzoyl Peroxide
ไม่มี silicones, synthetic fragrances
มี alcohol, parabens, polyethylene glycol (PEG)
มี butylene glycol (Comedogenic rating 1)
มี cetearyl alcohol (Comedogenic rating 2)
✔️ Clean & Clear Continuous Control Acne Cleanser
เป็น 10%BPO มี menthol อาจระคายเคืองบางคน

2. กลุ่มยาที่แนะนำให้ใช้ภายใต้การดูแลแพทย์ผิวหนัง

ปล. ยาบางตัวไม่ผลิตแล้ว

• แบบ Water-based
ระคายเคืองน้อยกว่า เหมาะทุกสภาพผิว
✔️ Benzac (Original)
✔️ AkneDerm
✔️ Enzolid
✔️ Brevoxyl

• แบบ Alcohol-based
ระคายเคืองมากกว่า แต่ซึมสู่ผิวออกฤทธิ์ดีกว่า ไม่เหมาะกับผิวแห้งหรือแพ้แอลกอฮอล์
✔️ Panoxyl

3. กลุ่มเดอโมคอสเมติกส์แก้ปัญหาสิว

กลุ่มนี้หาซื้อได้ตามร้านยาหรือคลินิก และควรใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากระคายเคืองได้ง่าย ลองเลือกใช้ความเข้มข้นต่ำ ๆ ก่อน ทาบางบริเวณ แล้วค่อยเพิ่มบริเวณและความเข้มข้น
และเลือกให้ดีว่ามีส่วนประกอบอื่นที่มีตัวเองมีการแพ้เป็นการส่วนตัวหรือไม่ค่ะ

✔️ Proactive Repairing treatment
เป็น 2.5% BPO lotion มี anti irritation ค่อนข้างจะระคายเคืองน้อย
มี fragrance, paraben, silicone
✔️ Paula’s Choice CLEAR Regular Strength Skin Clearing Treatment
✔️ Paula’s Choice Extra Strength Daily Skin Clearing Treatment With 5% Benzoyl Peroxide
ไม่มี alcohols, parabens, silicones, polyethylene glycol (PEG), synthetic fragrances
มี Hexylene glycol (Comedogenic rating 2)
มี Laureth-4 (Comedogenic rating 5)
✔️ PCA Skin Acne cream tea tree oil and lactic acid
✔️ Obagi CLENZIderm M.D. Therapeutic Lotion
มี 5%BPO
✔️ Clinique Acne Solutions All-Over Clearing Treatment
มี 2.5% BPO lotion เนื้อบางเบา

4. กลุ่มแต้มเฉพาะจุด

ถ้าใครไม่เคยใช้ BPO มาก่อน และกลัวมีปัญหาหรือระคายเคือง อาจลองเริ่มจากกลุ่มนี้ แต้มเฉพาะจุดดูก่อนก็ได้ค่ะ แล้วค่อยไปใช้กลุ่มทาทั่วหน้า และล้างหน้าเพิ่มเติมได้ถ้าหากไม่มีปัญหาอะไร

✔️ Proactiv and Proactiv+ Emergency Blemish Relief
เป็น 6%BPO มี penthanol ช่วยลดการระคายเคือง แต่มีน้ำหอม
✔️ Murad Acne Spot Fast Fix
เป็น 3.5%BPO เป็น gel-based
มี niacinamide, repairing fatty acids
แต่มีแอลกอฮอล์ น้ำหอม
✔️ Clinique Acne Solutions Emergency Gel Lotion
มี 5%BPO gel lotion ผสม green tree
ไม่มีน้ำหอม แต่มี silicone, alcohol

สุดท้ายนี้
ใครที่เป็นสิวเรื้อรัง รักษาไม่หาย ไม่รู้จะใช้อะไรดี ก็อย่ามัวลองผิดลองถูกอยู่นาน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังร่วมดูแลนะคะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

No Sponsored Content

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.