Category Archives: Immunology

อัพเดทยาทาผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

อัพเดทเพิ่มเติม ยาทาที่ approved ใช้ในผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)

1) Topical JAK1/2 inhibitor

Ruxolitinib cream : ใน mild to moderate AD ใน age 12+ yrs

2) Topical PDE inhibitor

Crisaborole : ใน mild to moderate AD ใน age 3+ yrs
Roflumilast cream & Difamilast ointment : ใน moderate to severe AD ใน age 2+ yrs

3) Tapinarof is a novel, aryl hydrocarbon receptor-modulating agent

อยู่ใน phase III trial กรณี moderate to severe AD

Topical in atopic dermatitis ยาทาผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

Reference: Am J Clin Dermatol 23, 595–603 (2022).

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

สรุปอัพเดท IgA Vasculitis in Adult

สิ่งที่น่ารู้

IgAV เป็น subset ของ vasculitis mediated by IgA immune complex deposition
อาการแสดง ได้แก่ palpable purpura, abdominal pain, arthritis และ renal involvement
พบบ่อยในเด็ก ส่วนในผู้ใหญ่ที่ผ่านมาไม่มากเท่าในเด็ก ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าส่วนหนึ่ง underdiagnosis หรือไม่ ?

ข้อแตกต่าง IgAV ใน adult กับ child

ข้อแตกต่าง IgAV ใน adult กับ child
Reference JAAD Int 2022;8:71-8.

สาเหตุ

  • Idiopathic บ่อยสุด
  • Infection มักมีนำมาก่อน IgAV ประมาณ 4 สัปดาห์ ที่พบบ่อย คือ pneumonia, pyelonephritis, epididymitis, cellulitis
  • Drug เช่น beta lactam ATBs, tumor necrosis factor alpha blockers, antihypertensives, anticoagulants, NSAIDs, other analgesics
  • Vaccine

กรณี drug induced IgAV

ไม่ค่อยพบ glomerulonephritis และอาการมักดีขึ้นเร็วหลังหยุดยาต้นเหตุ

การวินิจฉัย IgAV in Adult

ปัจจุบันใช้ตาม The EULAR/PRINTO/PRES criteria (Sensitivity 99%) *ในเกณฑ์ไม่มีรวม constitutional symptoms ที่พบบ่อยอื่น ๆ เช่น fever, weight loss, fatigue [ตามรูป]

The EULAR/PRINTO/PRES criteria for IgA Vasculitis
Reference JAAD Int 2022;8:71-8.

ผื่นใน adult

  • ต่างจาก child คือ นอกจาก palpable purpura ที่พบบ่อยแล้ว ยังพบ bullae, pustules, necrotic or hemorrhagic purpura ได้มากกว่าเด็ก
  • ผื่นอาจไม่มีอาการ อาจคัน หรือ เจ็บก็ได้
  • Skin biopsy พบ LCV + DIF positive IgA
  • ส่วนใหญ่มักหายเองใน 2-3 สัปดาห์ ยกเว้นบางเคสอาจ refractory
  • หากผื่นไม่รุนแรง :
  • แนะนำพัก งดเดินเยอะ ยกขาสูง ใส่ compression stockings และกินยาลดอาการปวดตามอาการ
  • ยาทา topical corticosteroids
  • ยากิน oral corticosteroids ยัง controversy ในเคสไม่รุนแรง

หากผื่นรุนแรง : แนะนำรักษาข้างต้นร่วมกับพิจารณายาอื่นเพิ่ม ดังนี้

  • Colchicine 1 mkd ปรับเพิ่มลดตามผลข้างเคียง
  • Oral corticosteroids แนะนำในเคส painful and ulcerative lesion พบว่าช่วย prevent new lesion painful or ulcerative disease
  • Azathioprine
  • Dapsone
  • กรณี refractory case : rituximab or mycophenolate mofetil

อาการทางไต

มักพบ few weeks – several months ตามหลังผื่น
แนะนำ monitoring: UA, UPCR, Cr และดู blood pressure
ถ้าเข้าเกณฑ์ให้รักษาตามแนวทาง [ตามรูป]

Renal involvement in IgAV
Renal involvement in IgAV (Reference JAAD Int 2022;8:71-8.)

อาการทางเดินอาหาร

พบ colicky pain บ่อยสุด
หากรุนแรงมี vasculitis-induced bowel ischemia and edema อาจพบ nausea, vomiting, severe bloody diarrhea, ileus, bowel perforation
แนะนำตรวจ: stool occult blood และ serum factor XIII activity เมื่อมีอาการ

อาการทางข้อ

พบบ่อย transient, migratory, nondestructive arthritis หรือ arthralgia โดยเฉพาะ knee, ankle joint
แนะนำเลี่ยง NSAIDs เพราะอาจเพิ่ม risk renal & GI complication
หากมีอาการรุนแรง ใช้ acetaminophen, oral corticosteroids

Malignancy association

มักเป็น solid tumor อาจมาก่อนหรือตามหลังอาการ IgAV ประมาณ 6 เดือน
กลุ่มนี้มักมี high serum IgA level และ elderly
แนะนำพิจารณา Cancer screening ร่วมด้วยในกรณีที่หาสาเหตุที่พบบ่อยไม่เจอ ในผู้ป่วยอายุเยอะที่มี high serum IgA level

โดยสรุป คำแนะนำการตรวจเพิ่มเติมสำหรับ IgA Vasculitis in Adults

ตามแผนภูมินี้

Suggested management guideline for IgA Vasculitis in Adult (Reference JAAD Int 2022;8:71-8.)

Prognosis

  • Life treatening complication มักเกิดช่วง acute phase จาก bowel ischemia
  • Rare complication อาจพบ Pulmonary hemorrhage อาจเช็ค CXR
  • Relapse จำกัดความ คือ reappearance of clinical signs of IgAV หลังจาก symptom-free period อย่างน้อย 1 เดือน

Reference JAAD Int 2022;8:71-8.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Skin microbiome ในโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

Skin microbiome in atopic dermatitis helloskinderm
Skin microbiome in Atopic dermatitis

สาเหตุของการเกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังยังไม่ทราบแน่ชัด มีข้อมูลเชื่อว่าการเสียสมดุลของไมโครไบโอมผิวอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นการกำเริบของผื่นได้ เพราะการศึกษาพบว่าไมโครไบโอมที่ผิวคนเป็นภูมิแพ้ผิวหนังมีความแตกต่างเมื่อเทียบกับคนปกติ (ดังรูป)

ความแตกต่างของ skin microbiome helloskinderm

การรักษา (เพิ่มเติมจากการรักษามาตรฐาน) ที่ช่วยให้ผื่นสงบได้ อาจต้องเน้นเพิ่มเติมเรื่องการรักษาสมดุลของไมโครไบโอม

  1. ทาครีมบำรุงเพิ่มความชุ่มชื้นผิวสม่ำเสมอ คุณสมบัติที่ควรมี ได้แก่
    ✔️ Petrolatum, physiologic หรือ ceramide-based lipid
    ✔️ pH-modified moisturizer
  2. การรับประทาน Probiotics, prebiotics หรือการทา probiotics lysate หรือ Postbiotics พบว่าช่วยลดกระบวนการอักเสบผิว และช่วย restore microbiome balance ได้ (ข้อมูลการศึกษาชนิดสายพันธุ์และรูปแบบการใช้ ดังตาราราง)
Bacterial strain in atopic dermatitis
Bacterial strain in atopic dermatitis

อย่างไรก็ตาม การศึกษาที่มีในปัจจุบันก็นับว่ายังไม่มากนัก ส่วนที่พบว่าเห็นผลช่วยได้จึงเป็นอะไรที่น่าจับตามองข้อมูลในอนาคตต่อไป


Reference
Skin Microbiota in Atopic Dermatitis.
Int. J. Mol. Sci. 2022, 23, 3503.
https://doi.org/10.3390/ijms23073503

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ยาฉีดชีวโมเลกุล..ความหวังของผู้ป่วยสะเก็ดเงิน

ทำความรู้จัก ยาฉีดชีวโมเลกุล สำหรับรักษาโรคสะเก็ดเงิน ‼️

มีคำถามเกี่ยวกับการรักษาโรคสะเก็ดเงินเข้ามามากมาย ว่ามีวิธีรักษาอย่างไรได้บ้าง บางคนไม่อยากกินยาหรือมีข้อห้ามในการใช้ยา บางคนไม่สะดวกไปฉายแสงทุกสัปดาห์ หรือบางคนรักษามานานไม่ดีขึ้นสักที โพสนี้เลยอยากเล่าเรื่องการรักษาโรคนี้คร่าว ๆ และพูดถึงยาฉีดชีวโมเลกุลที่ใช้รักษาโรคนี้ให้ได้รู้จักกันแบบเข้าใจง่าย ๆ ลองอ่านกันดูนะคะ

1️⃣ ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน จะพบมีการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังทำให้มีการหนาตัวขึ้น บางรายอาจมีลักษณะตุ่มน้ำ และอาจมีข้ออักเสบร่วมด้วย

2️⃣ สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าอาจมีการกระตุ้นจากปัจจัยบางอย่าง เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน ระบบอิมมูนร่างกาย แอลกอฮอล์หรือยาบางชนิด ดังนั้น นอกจากจะรักษาโรคแล้ว ยังต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นร่วมด้วย

3️⃣ ผู้ป่วยที่มีผื่นสะเก็ดเงินไม่มาก (<10% BSA ซึ่งเทียบได้คร่าว ๆ ประมาณ 10 ฝ่ามือ) อาจรักษาด้วย ยาทาภายนอก เช่น
✔️ ยาทาคอร์ติโคสเตอรอยด์
✔️ ยาทาน้ำมันดิน
✔️ ยาทาอนุพันธ์วิตามินดี
ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ เพราะยาแต่ละตัวมีผลข้างเคียงและข้อห้ามบางอย่างที่ต้องระวังการใช้

4️⃣ หากผู้ป่วยมีอาการสะเก็ดเงินรุนแรงปานกลางถึงมาก แพทย์อาจพิจารณาการรักษาอื่นเพิ่มเติม เช่น
✔️ ยากดภูมิคุ้มกัน
: Methotrexate ควรระวังผลข้างเคียง คลื่นไส้อาเจียน, ตับอักเสบจนถึงตับแข็งได้, กดการทำงานไขกระดูก
: Acitretin ควรระวังผลข้างเคียง ปากแห้ง ตาแห้ง ผิวแห้ง, ไขมันในเลือดสูง และต้องคุมกำเนิดนาน 2 ปีหลังหยุดยา
: Cyclosporin ควรระวังผลข้างเคียง ไตวาย, ความดันโลหิตสูง, ขนยาว, เหงือกบวม
✔️ ฉายแสงอาทิตย์เทียม
: NB-UVB, PUVA เป็นอีกวิธีที่ได้ผลดี ผลข้างเคียงไม่มากนัก บางรายอาจมีอาการแสบแดงบริเวณที่ฉายแสงได้ แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้คือ ผู้ป่วยต้องมาฉายแสง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3-6 เดือนขึ้นไปจึงจะเห็นผลการตลอดสนองดี

5️⃣ ยาฉีดชีวโมเลกุล หรือเรียกว่า Biologic agents ถือเป็นยากลุ่มใหม่ที่ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน โดยจะเข้าไปปรับที่ระบบอิมมูนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคโดยตรง

ยกตัวอย่างยาที่มีในปัจจุบัน
✔️ กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้ง Tumor Necrosis Factor α (Anti-TNF-α)
: Etanercept
: Infliximab
: Adalimumab
: Certolizumab
✔️ กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้ง IL-12/IL-23
: Ustekinumab
✔️ กลุ่มออกฤทธ์ิยับยั้ง IL-17/IL-17R
: Secukinumab
: Brodalumab
: Ixekizumab
✔️ กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้ง IL23
: Guselkumab
: Tildrakizumab

ยากลุ่มชีวโมเลกุลนี้มีความแตกต่างของการบริหารยา ดังนี้
▫️วิธีการฉีด : แบบฉีดเข้าเส้นเลือด หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
▫️ความถี่ของการฉีด : ทุก 2 สัปดาห์ – ทุก 3 เดือน
▫️ผลการรักษา : ค่อนข้างดีถึงดีมาก และเห็นผลการรักษาค่อนข้างเร็ว บางตัวผื่นดีขึ้นในไม่กี่สัปดาห์
▫️ความสะดวกในการใช้ : ค่อนข้างสะดวกสบาย ไม่ต้องนอน รพ. แต่แนะนำว่าหลังฉีดยา (โดยเฉพาะครั้งแรก) ควรรอสังเกตอาการว่าไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ก่อนกลับบ้าน
▫️ราคายา : ค่อนข้างสูง และยาบางตัวยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทุกสิทธิ์ มีเพียงบางตัวที่เบิกได้ตามข้อบ่งชี้เท่านั้น
▫️ผลข้างเคียง : ส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่รุนแรงอาจมีอาการปวดบวมเล็กน้อยที่บริเวณตำแหน่งฉีดในบางราย, อาการจามคัดจมูกเล็กน้อย ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงพบไม่บ่อย ขึ้นกับชนิดยา ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนรักษาด้วยวิธีนี้

6️⃣ ยาฉีดชีวโมเลกุล ถือเป็นอีกทางเลือกการรักษาใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีมากในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน แต่เนื่องจากปัจจัยบางอย่างของการเกิดโรคอาจไม่สามารถแก้ได้ เช่น พันธุกรรม ระบบอิมมูนร่างกาย เป็นต้น ดังนั้นการรักษาโรคสะเก็ดเงินอาจยังไม่มีวิธีใดที่ทำให้หายขาด แต่เราคาดหวังให้โรคสงบได้ยาวนาน ซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการอะไร และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป

7️⃣ ผู้ป่วยสะเก็ดเงินที่สนใจอยากรักษาด้วยยาฉีดชีวโมเลกุล แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์จะพิจารณาข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการรักษา รวมทั้งในการเลือกยาแต่ละชนิด ทั้งนี้อาจมีเรื่องของค่าใช้จ่ายและความถี่ในการฉีดยา เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของผู้ป่วยแต่ละคนเพื่อผลการรักษาอย่างดีที่สุดค่ะ

นอกจากความตั้งใจในการรักษาของตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยยังต้องมีความเข้าใจตัวโรคเป็นอย่างดี รวมทั้งครอบครัวและบุคคลรอบข้างก็สำคัญไม่น้อย ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยสะเก็ดเงินทุกคนค่ะ

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Subepidermal Blister Guideline 2019

Update เปรียบเทียบ International Guideline ที่รวบรวมมาจนถึงปี 2019
การรักษา Subepidermal Autoimmune Blistering disease

⭐️ Bullous Pemphigoid (แนบขั้นตอนการวินิจฉัย และแยกจาก Pemphigus vulgaris มาให้คร่าวๆ)
⭐️ Pemphigoid Gestationis
⭐️ Mucous Membrane Pemphigoid
⭐️ Epidermolysis Bullosa Acquisita

แต่ละ Guideline มีความแตกต่างกันในบางจุด สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบริบทโรงพยาบาลที่คุณหมอทำงานอยู่ได้ค่ะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References
Am J Clin Dermatol 18, 513–528 (2017). https://doi.org/10.1007/s40257-017-0264-2
American Journal of Clinical Dermatology 2019 https://doi.org/10.1007/s40257-020-00513-3

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.