อากาศเริ่มหนาวเย็นลง ทำให้หลายคนที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนังเกิดอาการผิวแห้งผื่นคันกำเริบมากขึ้น บางคนก็กำเริบ คันมาก เกาจนเป็นแผล เกาจนนอนไม่ได้เลยก็มี โพสนี้หมอสรุปข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมาให้อ่านกันแบบเข้าใจง่าย ๆ ค่ะ
1. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ Atopic dermatitis
มักเกิดผื่นคันและผิวแห้ง เรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ อาจพบร่วมกับภาวะภูมิแพ้โพรงจมูก หรือ หอบหืดได้ในบางคน รวมทั้งพบกลุ่มโรคนี้ในพ่อแม่พี่น้องร่วมด้วยก็เป็นได้
2. ภาวะนี้เกิดจากหลายกลไก เช่น
✔️ Skin barrier defect พูดง่าย ๆ คือ การสร้างเซลล์ผิวบกพร่อง โดยเฉพาะการขาดไขมันระหว่างเซลล์ที่ชื่อว่า “เซราไมด์” , การบกพร่องของตัวยึดเกาะเซลล์
✔️ พันธุกรรม บางรายมี filaggrin gene mutation ร่วมด้วยจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดหอบหืด แพ้อาหาร ได้บ่อยกว่าคนที่ยีนนี้ปกติ
✔️ Skin microbiome เสียสมดุลย์
✔️ ภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังผิดปกติ
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้คนเป็นโรคนี้มีผื่นคันกำเริบอยู่บ่อย ๆ และติดเชื้อที่ผิวได้ง่ายขึ้น
3. อาการผื่นคันผิวแห้ง
อาจพบได้ตั้งแต่วัยเด็กตั้งแต่ขวบปีแรกได้ถึง 60% แต่บางคนเริ่มเกิดผื่นตอนวัยผู้ใหญ่โดยไม่เคยมีผื่นในวัยเด็กก็เป็นได้
ในเด็กๆ มักมีผื่นที่หน้า ศอก เข่า แขนขา หรือแก้มอักเสบแดงได้บ่อย ส่วนผู้ใหญ่มักมีผื่นที่ข้อพับหรือที่มือได้มากกว่า
ส่วนมากผื่นมักไม่รุนแรง แต่บางรายเป็นผื่นเรื้อรัง คันรุนแรง เกาจนเป็นแผล อาจติดเชื้อตามมา ผิวหนาคล้ำขึ้น และบางคนอาการหนักจนอาจมีภาวะซึมเศร้าตามมาได้เลย
4. การวินิจฉัยโรคนี้จะมีหลายเกณฑ์การวินิจฉัย หากใครที่กำลังมีลักษณะเบื้องต้นดังต่อไปนี้
✔️ ผื่นคันเป็น ๆ หาย ๆ
✔️ ผื่นลักษณะเข้าได้กับโรคนี้ (แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย)
✔️ เป็นภูมิแพ้จมูกหรือหอบหืด หรือ มีคนในครอบครัวเป็น
และไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นโรคนี้หรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อช่วยประเมินค่ะ
5. การทำ Skin test
ในกรณีที่สงสัยว่าแพ้อะไร จะทำเพื่อเป็นการยืนยันเมื่อมีสิ่งกระตุ้นที่สงสัยแล้วเท่านั้น ยังไม่มีคำแนะนำให้ต้องทำเพื่อ screening ในทุกราย ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ คือ บางคนต้องการขอทำ skin test หาว่าตัวเองแพ้อะไรโดยไม่สามารถระบุสิ่งกระตุ้นให้ผื่นเห่อได้ แบบนั้นยังไม่มีข้อมูล จึงยังไม่แนะนำให้ทำ
6. คนเป็นโรคนี้มักถูกกระตุ้นได้จากสิ่งเหล่านี้ได้บ่อย
ได้แก่ ขนสัตว์ เหงื่อ ความเครียด สูบบุหรี่ มลภาวะทางอากาศ ไรฝุ่น ซึ่งแนะนำว่าหากเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงค่ะ
ส่วนเรื่องอาหาร บางคนอาจแพ้พวกนม ไข่ แป้งสาลี ถั่ว ก็ควรงดถ้าทานแล้วมีอาการกำเริบ แต่หากไม่ได้มีอาการแพ้หรือผื่นเห่อหลังทานอาหารเหล่านี้ ก็แนะนำว่าไม่จำเป็นต้องงดทาน โดยเฉพาะเด็กเล็กหากงดอาหารบางอย่างโดยไม่จำเป็น อาจทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นบางชนิดได้
7. การปฏิบัติตัวพื้นฐานเมื่อเป็นโรคนี้
✔️ ดูแลผิวหนังโดยการทาสารให้ความชุ่มชื้นผิวอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น และ อาจเติมระหว่างวันได้ในกรณีที่ผิวแห้งมาก
✔️ ทาครีมหลังอาบน้ำทันที 3-5 นาที
✔️ เลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยน
✔️ อาบน้ำ 1-2 ครั้ง/วัน และไม่ควรอาบน้ำร้อนเกินไป โดยอุณหภูมิที่แนะนำ คือ 27-30 องศาเซลเซียส
❌ ไม่ควรอาบน้ำนานเกิน 5-10 นาที
❌ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของธัญพืช ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง เพราะอาจเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้
❌ ไม่ใส่เสื้อผ้าที่แน่นคับจนเกินไป เลี่ยงผ้าขนสัตว์ เพราะระคายเคืองผิวได้ แนะนำเลือกผ้าที่ไม่ระคายเคืองผิว เช่น คอตตอน เป็นต้น
8. การเลือกสกินแคร์สำหรับคนเป็นโรคนี้
หากเป็นไปได้ ควรเลือกดังนี้
✔️ ช่วยเติมเซราไมค์ที่หายไป เช่น Ceramide 1, 3, 5, 6 และสารอื่น เช่น arginine, phytosphingosine, pyrrolidone carboxylic acid (PCA)
✔️ มีสารช่วยลดการอักเสบ ช่วยลดอาการคันได้
✔️ มีสารต้านอนุมูลอิสระ
✔️ มีสารที่ช่วยปรับสมดุลของ Skin microbiome ได้
หากมีคุณสมบัติข้างต้นก็จะเป็นทางเลือกที่ดีเพราะแก้ปัญหาได้ตรงจุด
และหากคนที่ผิวแห้งมากก็แนะนำเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งส่วนผสมของ occlusive, humectant และ emollient ร่วมด้วยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น
ยกตัวอย่าง FYNE Ectoin Reviving Intense Moisturising Cream ก็มีคุณสมบัติดังกล่าวครบ (แนบรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ท้ายบทความ)
9. การรักษาเมื่อมีผื่นผิวหนังอักเสบกำเริบ ได้แก่
✔️ ยาทาต้านการอักเสบ เช่น ยาทากลุ่มสเตอรอยด์ หรือ Topical calcineurin inhibitors
✔️ หากมีอาการคันสามารถทานยาแก้คันได้
หากรักษาแล้ว 7-10 วันยังไม่ดีขึ้น แนะนำพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
✔️ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจพิจารณาการรักษาอื่น เช่น ยาทา Crisaboral, การฉายแสง, การให้ยากดภูมิคุ้มกัน หรือ ยากลุ่มชีวภาพ เช่น dupilumab เป็นต้น
10. เมื่อผื่นสงบแล้ว
ก็ต้องทามอยซ์เจอไรเซอร์ที่เหมาะสมต่อไปอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยลดการกำเริบของผื่น และช่วยลดการใช้ยาทาสเตอรอยด์ตอนผื่นเห่อลงได้อีกด้วย
สุดท้ายนี้หมออยากบอกว่า..
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความรู้ความเข้าใจในตัวโรคว่าเป็นภาวะที่มีความบกพร่องของผิว จึงต้องให้ความใส่ใจกับการดูผิว ทาครีมเพิ่มความชุ่มชื้นเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อาบน้ำให้ถูกต้อง เพื่อแก้ปัญหาตรงจุด และเป็นการป้องกันการกำเริบของผื่นในอนาคตได้เป็นอย่างดี
หากใครที่กำลังมีผื่นแห้งแดงคันอยู่เรื้อรังและไม่แน่ใจว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังช่วยประเมินนะคะ
ถ้าชอบและเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถกดเลิฟกดแชร์ได้เลยค่ะ
ด้วยความปรารถนาดี .. หมอเจี๊ยบ
——————————————
References:
J Dermatol 2021;48:130-9.
Allergy. 2021 Apr;76(4):1053-1076.
J Allergy Immunol Pract 2020;8:91-101.
Nat Rev Microbiol 2018;16(3):143-55.
J Clin Dermatol 2010;1:33-46.
Allergy 2000;56:1034-41.
Lancet 2006;386:733-43.
——————————————
Disclaimer:
[สนับสนุนความรู้โดย FYNE]
🌟 FYNE Ectoin Reviving Intense Moisturising Cream (ครีมบาล์ม ปราบผิวแห้ง)
เหมาะสำหรับผิวแห้งถึงแห้งมาก หรือผู้ที่มีปัญหาผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบเป็นประจำ
ส่วนผสมหลัก
Ectoin 2% เพิ่มความชุ่มชื้น และ ปรับสมดุลของ skin microbiome มีข้อมูลการศึกษาว่าการทาอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยลดการใช้ยาทาสเตอรอยด์ได้ชัดเจน
Niacinamide 5%, vitamin E ช่วยลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ
Centella asiatica extracts ช่วยลดการระคายเคือง
Ceramide 5 ชนิด, amino acid, cholesterol, triglyceride, urea, glycerin ซึ่งเป็นส่วนผสมเลียนแบบสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติผิว (Natural Moisturizing Factors) ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและแข็งแรงขึ้น
Hyaluronic acid & Sodium hyaluronate รวม 4 ขนาดโมเลกุล ครบทั้ง oligo, low, middle, high MW ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้ทุกชั้นผิว
วิธีใช้
ทาทั่วใบหน้า หรือทาเฉพาะบริเวณที่แห้งหรือระคายเคือง
เลือกปรับทาได้ 2 วิธี ตามสภาพผิว
1. ทาเหมือนบำรุงปกติ
2. วอร์มเนื้อบนฝ่ามือจนใส แล้ว Tap บนผิว
——————————————
รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.