Tag Archives: ectoin

สกินแคร์ชะลอวัย 101 ด้วย Retinaldehyde & Bakuchiol

หลายคนที่หวังผล Anti-aging จากการทา Tretinoin แต่ประสบปัญหาหน้าแดง แสบ ลอก ไม่ว่าจะลองปรับลดความถี่ ลดความเข้มข้น เสริมสกินแคร์เพิ่มความชุ่มชื้นมากมาย แต่ก็ไปไม่รอด อยากให้ลองอ่านบทความนี้ เกี่ยวกับสกินแคร์ในรูปแบบทา ที่ออกฤทธิ์ anti-aging ได้คล้ายคลึงกับ tretinoin นั่นก็คือ อนุพันธ์วิตามินเอ (Vitamin A derivatives) และ Bakuchiol

เรามาทำความเข้าใจพื้นฐานเล็กน้อยกันก่อนค่ะ

ก่อนจะมาเป็น Retinoic acid จะต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารตั้งตั้น คือ Retinyl ester Retinol Retinaldehyde -> Retinoic acid ซึ่งเป็นสารตัวที่สามารถซึมลงสู่ผิวชั้นหนังแท้และออกฤทธิ์ได้ที่ผิวหนังในที่สุด

วิตามินเอ Tretinoin and Vitamin A Derivatives
กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิตามินเอที่ผิวหนัง

โดยปกติมีการแบ่งวิตามินเอชนิดทา เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มยา ได้แก่ Tretinoin ( retinoic acid) ต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์เพราะมีผลข้างเคียงระคายเคืองมากกว่า โดยปกติจึงไม่แนะนำให้ซื้อใช้เอง สามารถอ่านทบทวนบทความที่เคยเขียนไว้ก่อนนี้ได้ค่ะ
  2. กลุ่มสกินแคร์ ได้แก่ Natural vitamin A derivatives และ Bakuchiol ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ยา และมักถูกนำมาผสมในสกินแคร์เพื่อหวังผลด้าน antiaging ได้แก่
Tretinoin or Retinoic acid ​
Tretinoin or Retinoic acid

2.1 Retinaldehyde

เป็น retinoic acid precursor ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็น retinoid acid ได้ที่ keratinocyte ที่ผิวมนุษย์เพียง 1 ขั้นตอน พบว่าใช้ได้ผลในแง่ antiaging อยู่ที่ความเข้มข้น 0.05 – 0.5% โดยหลังการทาผิว 1-3 เดือน มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่

• ความหนาของผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermal thickness) เพิ่มขึ้น
• ความยืดหยุ่นผิว (cutaneous elasticity) เพิ่มขึ้น
• สภาพผิวเรียบขึ้น ริ้วรอยเล็ก ๆ ดีขึ้น (Texture improvement)
• ค่าการสูญเสียน้ำจากผิว (TEWL) ลดลง ผิวชุ่มชื้นขึ้น
• ค่าการสร้างเม็ดสีผิว (Melanin index) ลดลง ในกรณี Retinaldehyde 0.1% ขึ้นไป

มีข้อมูลเปรียบเทียบการทา retinaldehyde 0.05% กับ การทายา retinoic acid 0.05% พบว่าหลังการทานาน 18 – 44 สัปดาห์ ริ้วรอยเล็ก ๆ (Fine wrinkle) และผิวที่ไม่สม่ำเสมอ (Roughness) ดีขึ้นทั้งสองชนิด

ดังนั้น การทา retinaldehyde จึงเป็นอีกทางเลือกที่มีข้อมูลรองรับและน่าสนใจสำหรับคนที่ไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาทากรดวิตามินเอ (retinoic acid) ได้ และสามารถใช้ได้ในระยะยาวแม้บริเวณผิวที่มีการระคายเคืองง่าย

Retinaldehyde
Retinaldehyde

2.2 Retinol

เป็นตัวตั้งต้นของ retinaldehyde และต้องผ่าน 2 ขั้นตอนในการเปลี่ยนเป็น retinoic acid นิยมใช้สำหรับผสมในสกินแคร์ ที่ผ่านมามีการศึกษาพบว่าหลังการทา retinol มีการเพิ่มขึ้นของ epidermal retinyl ester แต่ไม่มีการเพิ่มของ retinoic acid level

มีการศึกษาที่ใช้ 0.4-1% retinol ชนิดทาผิว พบว่าปริมาณ collagen ที่ผิว เพิ่มขึ้นหลังการทา 4 สัปดาห์ แต่ประสิทธิภาพต้องขึ้นกับ vehicle ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์นั้นร่วมด้วย คงต้องรอข้อมูลในอนาคตเพิ่มเติม และ retinol จะสลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงและอากาศ ต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะ

ข้อดีของกลุ่มนี้คือ อ่อนโยน ระคายเคืองน้อย

Retinol
Retinol

2.3 Retinyl-palmitate, retinyl propionate และ retinyl-acetate

จัดเป็น vitamin A ester derivatives กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้ผลน้อยที่สุดในบรรดา topical retinoids ทั้งหมด เพราะต้องผ่านขั้นตอนการตัดพันธะ ester ให้กลายเป็น retinol และเกิดการ oxidation เพื่อให้เป็น tretinoin อีกที เรียกได้ว่ากว่าจะออกฤทธิ์ได้ต้องผ่านถึง 3 ขั้นตอน และการดูดซึมก็ไม่ดีเท่าที่ควร

ข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มนี้อาจช่วยเรื่อง UV protection ได้เล็กน้อย แต่ยังไม่มีข้อมูลช่วยเรื่อง antiaging

Vitamin A Ester Derivatives
Vitamin A Ester Derivatives

2.4 Bakuchiol

เป็น purified meroterpene phenol สารสกัดจากพืช Psoralea corylifolia (babchi) พบว่ามีคุณสมบัติกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ผลัดเซลล์ผิว ลดการอักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องสิวได้

โดยพบว่าการทา 0.5% Bakuchiol นาน 12 สัปดาห์ ช่วยให้ริ้วรอยเล็ก ๆ ดีขึ้นได้เทียบเคียงกับการทา 0.5% Retinol

นอกจากนั้นยังช่วยให้รอยดำดีขึ้นเพราะช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวร่วมด้วย และยังพบผลข้างเคียงเรื่องระคายเคืองน้อยที่สุดและน้อยกว่า Retinol

ดังนั้น Bakuchiol จึงเป็นน้องใหม่ที่น่าสนใจอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่ทนผลข้างเคียงเรื่องการระคายเคืองของ tretinoin ไม่ได้

Bakuchiol
Bakuchiol

เหนือสิ่งอื่นใดหากต้องการให้ผิวแลดูอ่อนเยาว์ไปนาน ๆ นอกจากการใช้สกินแคร์กลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอแล้ว ต้องไม่ลืมที่จะ ดูแลกำแพงผิวพื้นฐานให้แข็งแรงและเพิ่มความชุ่มชื้นควบคู่ไปด้วยเสมอ โดยมองหาสกินแคร์เหล่านี้ร่วมด้วย

สกินแคร์ที่มีส่วนผสมพื้นฐานของผิว ได้แก่ ceramide, hyaluronic acid หลายโมเลกุล และสกินแคร์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น niacinamide, vitamin C, E, ferulic, ectoin เป็นต้น

การใช้สกินแคร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลผิว เพื่อให้ผิวของเรามีสุขภาพดี ซึ่งคงต้องทำควบคู่ไปกับวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ งดสูบบุหรี่ การปกป้องผิวจากแสงแดดร่วมด้วยอย่างถูกวิธี ทั้งนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า

ยกตัวอย่างการจัดสกินแคร์พื้นฐานเพื่อชะลอผิวเสื่อมตามวัย
▫️ชิ้นที่ 1 ผลิตภัณฑ์กันแดด

▫️ชิ้นที่ 2 The Concentrate 25.8 Serum Booster ซึ่งมีอนุพันธ์วิตามินเอ (0.1% Retinaldehyde, 1% Bakuchiol) + สารต้านอนุมูลอิสระและส่วนผสมลดการสร้างเม็ดสี (10% Niacinamide, 4% Ascorbyl glucoside, Purified bromelain)

▫️ชิ้นที่ 3 Be-Barrier 24.7 Restoring Serum ซึ่งมีส่วนผสมบำรุงกำแพงผิวพื้นฐาน (10% Ceramide complex, 8 Hyaluronic acid, 2% Ectoin) + ส่วนผสมลดการสร้างเม็ดสี (3% Tranexamic acid)
[อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ]

BOTTOM LINE

โดยสรุป วิตามินเอรูปแบบทาเพื่อหวังผลเรื่อง Antiaging

ตัวที่มีข้อมูลรับรองมากที่สุดคือ กลุ่มยาทา Tretinoin เป็นยาที่ต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์ การระคายเคืองมาก

ถ้าในแง่สกินแคร์ของอนุพันธ์วิตามินเอที่ได้ผลด้าน Anti-aging อาจพิจารณา Retinaldehyde ซึ่งมีข้อมูลประสิทธิภาพมากที่สุด หรือทางเลือกอื่นที่ระคายเคืองน้อยกว่าและข้อมูลรองลงมา เช่น Bakuchiol (ระคายเคืองน้อยที่สุด) หรือ Retinol

ส่วนกลุ่มที่ปัจจุบันพบว่าไม่ค่อยช่วยเรื่อง anti-aging ได้แก่ กลุ่ม Vitamin A ester คงต้องรอข้อมูลในอนาคตต่อไป

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการดูแลผิวสำหรับทุกท่านที่กำลังหาข้อมูลเรื่องวิตามินเอทาผิวอยู่นะคะ ถ้าชอบสามารถแชร์ให้เพื่อน ๆ อ่านได้เลย


References
J Cutan Med Surg. 2022 Jan-Feb;26(1):71-78.
Br J Dermatol. 2019 Feb;180(2):289-296.
J Cosmet Dermatol. 2018 Jun;17(3):471-476.
J Dermatolog Treat. 2017 Dec;28(8):684-696.
Aesthet Surg J. 2010 Jan;30(1):74-7.
Br J Dermatol 2008;158: 472-477.
Clin Dermatol 2008;26:633-635.
Arch Dermatol 2007;143:606-612.
Clin Interv Aging. 2006;1(4):327-48.
Dermatol Therapy 2006;19:289-296


[Disclaimer] สนับสนุนบทความโดย HERBITAGE

ทำการพัฒนาสูตรร่วมกับสถาบัน KAPI ม.เกษตร โดยเป็นการต่อยอดเชิงพาณิชย์ให้แก่งานวิจัยด้าน Purified Extract จากพืชผลการเกษตรของไทย

สูตรแรก HERBITAGE The Concentrate 25.8 Serum Booster (สีเขียว)💚

ช่วยเสริมการรักษาสิว ริ้วรอยเล็ก ๆ ดูดีขึ้น รูขุมขนแลดูเล็กลง
ส่วนประกอบหลัก
0.1% Retinaldehyde เป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอที่มีข้อมูลประสิทธิภาพด้าน anti-aging มากสุดในกลุ่มเครื่องสำอาง
1% Bakuchiol สารสกัดวิตามินเอจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์คล้ายเรตินอล อ่อนโยน
10% Niacinamide, 4% Ascorbyl glucoside ลดการสร้างเม็ดสีผิว
Purified bromelain เอนไซม์เหง้าสับปะรดบริสุทธิ์ จาก ม.เกษตรศาสตร์ สารต้านอนุมูลอิสระ

เนื้อสัมผัสบางเบา ซึมง่าย ไม่ระคายเคือง
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร, คนแพ้วิตามินเอและอนุพันธ์, ผู้ที่มีผิวหนังอักเสบ เช่น เซบเดิร์ม

สูตรสอง HERBITAGE Be-Barrier 24.7 Restoring Serum (สีน้ำเงิน)💙

ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น เสริมกำแพงผิว ผิวแลดูกระจ่างใส ต่อต้านมลภาวะ
ส่วนประกอบหลัก
2% Ectoin ช่วยเสริมความแข็งแรงของผิว
10% Ceramide complex ช่วยฟื้นฟูกำแพงผิว
3% Tranexamic acid ช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว
8 Hyaluronic acids ช่วยเติมน้ำ เพิ่มความชุ่มชื้นผิว
Liquid Crystal Emulsion ช่วยนำพาสารออกฤทธิ์เข้าสู่ผิวได้ดีขึ้น

Herbitage Concentrate and Be barrier

ข้อมูลการทดลองจากทาง HERBITAGE โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าหลังการใช้ผลิตภัณฑ์คู่กัน 28 วัน ในอาสาสมัคร 30 คน ริ้วรอยตื้นขึ้น 21.2%, ผิวชุ่มชื้นขึ้น 64.5% และ ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น 6.45%

*ผลลัพธ์ต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละบุคคล

ข้อมูลเพิ่มเติม Link ร้านค้าอย่างเป็นทางการ (ป้องกันของปลอม)
Shopee : https://bit.ly/2PmOxy7

Lazada : https://bit.ly/3fzwrUy

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ฉบับเข้าใจง่าย

อากาศเริ่มหนาวเย็นลง ทำให้หลายคนที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนังเกิดอาการผิวแห้งผื่นคันกำเริบมากขึ้น บางคนก็กำเริบ คันมาก เกาจนเป็นแผล เกาจนนอนไม่ได้เลยก็มี โพสนี้หมอสรุปข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมาให้อ่านกันแบบเข้าใจง่าย ๆ ค่ะ

1. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ Atopic dermatitis

มักเกิดผื่นคันและผิวแห้ง เรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ อาจพบร่วมกับภาวะภูมิแพ้โพรงจมูก หรือ หอบหืดได้ในบางคน รวมทั้งพบกลุ่มโรคนี้ในพ่อแม่พี่น้องร่วมด้วยก็เป็นได้

2. ภาวะนี้เกิดจากหลายกลไก เช่น

✔️ Skin barrier defect พูดง่าย ๆ คือ การสร้างเซลล์ผิวบกพร่อง โดยเฉพาะการขาดไขมันระหว่างเซลล์ที่ชื่อว่า “เซราไมด์” , การบกพร่องของตัวยึดเกาะเซลล์

✔️ พันธุกรรม บางรายมี filaggrin gene mutation ร่วมด้วยจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดหอบหืด แพ้อาหาร ได้บ่อยกว่าคนที่ยีนนี้ปกติ

✔️ Skin microbiome เสียสมดุลย์

✔️ ภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังผิดปกติ

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้คนเป็นโรคนี้มีผื่นคันกำเริบอยู่บ่อย ๆ และติดเชื้อที่ผิวได้ง่ายขึ้น

3. อาการผื่นคันผิวแห้ง

อาจพบได้ตั้งแต่วัยเด็กตั้งแต่ขวบปีแรกได้ถึง 60% แต่บางคนเริ่มเกิดผื่นตอนวัยผู้ใหญ่โดยไม่เคยมีผื่นในวัยเด็กก็เป็นได้

ในเด็กๆ มักมีผื่นที่หน้า ศอก เข่า แขนขา หรือแก้มอักเสบแดงได้บ่อย ส่วนผู้ใหญ่มักมีผื่นที่ข้อพับหรือที่มือได้มากกว่า

ส่วนมากผื่นมักไม่รุนแรง แต่บางรายเป็นผื่นเรื้อรัง คันรุนแรง เกาจนเป็นแผล อาจติดเชื้อตามมา ผิวหนาคล้ำขึ้น และบางคนอาการหนักจนอาจมีภาวะซึมเศร้าตามมาได้เลย

4. การวินิจฉัยโรคนี้จะมีหลายเกณฑ์การวินิจฉัย หากใครที่กำลังมีลักษณะเบื้องต้นดังต่อไปนี้

✔️ ผื่นคันเป็น ๆ หาย ๆ

✔️ ผื่นลักษณะเข้าได้กับโรคนี้ (แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย)

✔️ เป็นภูมิแพ้จมูกหรือหอบหืด หรือ มีคนในครอบครัวเป็น

และไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นโรคนี้หรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อช่วยประเมินค่ะ

5. การทำ Skin test

ในกรณีที่สงสัยว่าแพ้อะไร จะทำเพื่อเป็นการยืนยันเมื่อมีสิ่งกระตุ้นที่สงสัยแล้วเท่านั้น ยังไม่มีคำแนะนำให้ต้องทำเพื่อ screening ในทุกราย ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ คือ บางคนต้องการขอทำ skin test หาว่าตัวเองแพ้อะไรโดยไม่สามารถระบุสิ่งกระตุ้นให้ผื่นเห่อได้ แบบนั้นยังไม่มีข้อมูล จึงยังไม่แนะนำให้ทำ

6. คนเป็นโรคนี้มักถูกกระตุ้นได้จากสิ่งเหล่านี้ได้บ่อย

ได้แก่ ขนสัตว์ เหงื่อ ความเครียด สูบบุหรี่ มลภาวะทางอากาศ ไรฝุ่น ซึ่งแนะนำว่าหากเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงค่ะ

ส่วนเรื่องอาหาร บางคนอาจแพ้พวกนม ไข่ แป้งสาลี ถั่ว ก็ควรงดถ้าทานแล้วมีอาการกำเริบ แต่หากไม่ได้มีอาการแพ้หรือผื่นเห่อหลังทานอาหารเหล่านี้ ก็แนะนำว่าไม่จำเป็นต้องงดทาน โดยเฉพาะเด็กเล็กหากงดอาหารบางอย่างโดยไม่จำเป็น อาจทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นบางชนิดได้

7. การปฏิบัติตัวพื้นฐานเมื่อเป็นโรคนี้

✔️ ดูแลผิวหนังโดยการทาสารให้ความชุ่มชื้นผิวอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น และ อาจเติมระหว่างวันได้ในกรณีที่ผิวแห้งมาก

✔️ ทาครีมหลังอาบน้ำทันที 3-5 นาที

✔️ เลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยน

✔️ อาบน้ำ 1-2 ครั้ง/วัน และไม่ควรอาบน้ำร้อนเกินไป โดยอุณหภูมิที่แนะนำ คือ 27-30 องศาเซลเซียส

❌ ไม่ควรอาบน้ำนานเกิน 5-10 นาที

❌ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของธัญพืช ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง เพราะอาจเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้

❌ ไม่ใส่เสื้อผ้าที่แน่นคับจนเกินไป เลี่ยงผ้าขนสัตว์ เพราะระคายเคืองผิวได้ แนะนำเลือกผ้าที่ไม่ระคายเคืองผิว เช่น คอตตอน เป็นต้น

8. การเลือกสกินแคร์สำหรับคนเป็นโรคนี้

หากเป็นไปได้ ควรเลือกดังนี้

✔️ ช่วยเติมเซราไมค์ที่หายไป เช่น Ceramide 1, 3, 5, 6 และสารอื่น เช่น arginine, phytosphingosine, pyrrolidone carboxylic acid (PCA)

✔️ มีสารช่วยลดการอักเสบ ช่วยลดอาการคันได้

✔️ มีสารต้านอนุมูลอิสระ

✔️ มีสารที่ช่วยปรับสมดุลของ Skin microbiome ได้

หากมีคุณสมบัติข้างต้นก็จะเป็นทางเลือกที่ดีเพราะแก้ปัญหาได้ตรงจุด

และหากคนที่ผิวแห้งมากก็แนะนำเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งส่วนผสมของ occlusive, humectant และ emollient ร่วมด้วยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น

ยกตัวอย่าง FYNE Ectoin Reviving Intense Moisturising Cream ก็มีคุณสมบัติดังกล่าวครบ (แนบรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ท้ายบทความ)

9. การรักษาเมื่อมีผื่นผิวหนังอักเสบกำเริบ ได้แก่

✔️ ยาทาต้านการอักเสบ เช่น ยาทากลุ่มสเตอรอยด์ หรือ Topical calcineurin inhibitors

✔️ หากมีอาการคันสามารถทานยาแก้คันได้

หากรักษาแล้ว 7-10 วันยังไม่ดีขึ้น แนะนำพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

✔️ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจพิจารณาการรักษาอื่น เช่น ยาทา Crisaboral, การฉายแสง, การให้ยากดภูมิคุ้มกัน หรือ ยากลุ่มชีวภาพ เช่น dupilumab เป็นต้น

10. เมื่อผื่นสงบแล้ว

ก็ต้องทามอยซ์เจอไรเซอร์ที่เหมาะสมต่อไปอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยลดการกำเริบของผื่น และช่วยลดการใช้ยาทาสเตอรอยด์ตอนผื่นเห่อลงได้อีกด้วย

สุดท้ายนี้หมออยากบอกว่า..

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความรู้ความเข้าใจในตัวโรคว่าเป็นภาวะที่มีความบกพร่องของผิว จึงต้องให้ความใส่ใจกับการดูผิว ทาครีมเพิ่มความชุ่มชื้นเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อาบน้ำให้ถูกต้อง เพื่อแก้ปัญหาตรงจุด และเป็นการป้องกันการกำเริบของผื่นในอนาคตได้เป็นอย่างดี

หากใครที่กำลังมีผื่นแห้งแดงคันอยู่เรื้อรังและไม่แน่ใจว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังช่วยประเมินนะคะ

ถ้าชอบและเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถกดเลิฟกดแชร์ได้เลยค่ะ

ด้วยความปรารถนาดี .. หมอเจี๊ยบ

——————————————

References:

J Dermatol 2021;48:130-9.

Allergy. 2021 Apr;76(4):1053-1076.

J Allergy Immunol Pract 2020;8:91-101.

Nat Rev Microbiol 2018;16(3):143-55.

J Clin Dermatol 2010;1:33-46.

Allergy 2000;56:1034-41.

Lancet 2006;386:733-43.

——————————————

Disclaimer:

[สนับสนุนความรู้โดย FYNE]

🌟 FYNE Ectoin Reviving Intense Moisturising Cream (ครีมบาล์ม ปราบผิวแห้ง)

เหมาะสำหรับผิวแห้งถึงแห้งมาก หรือผู้ที่มีปัญหาผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบเป็นประจำ

ส่วนผสมหลัก

Ectoin 2% เพิ่มความชุ่มชื้น และ ปรับสมดุลของ skin microbiome มีข้อมูลการศึกษาว่าการทาอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยลดการใช้ยาทาสเตอรอยด์ได้ชัดเจน

Niacinamide 5%, vitamin E ช่วยลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ

Centella asiatica extracts ช่วยลดการระคายเคือง

Ceramide 5 ชนิด, amino acid, cholesterol, triglyceride, urea, glycerin ซึ่งเป็นส่วนผสมเลียนแบบสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติผิว (Natural Moisturizing Factors) ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและแข็งแรงขึ้น

Hyaluronic acid & Sodium hyaluronate รวม 4 ขนาดโมเลกุล ครบทั้ง oligo, low, middle, high MW ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้ทุกชั้นผิว

วิธีใช้

ทาทั่วใบหน้า หรือทาเฉพาะบริเวณที่แห้งหรือระคายเคือง

เลือกปรับทาได้ 2 วิธี ตามสภาพผิว

1. ทาเหมือนบำรุงปกติ

2. วอร์มเนื้อบนฝ่ามือจนใส แล้ว Tap บนผิว

——————————————

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Extremolytes (Ectoin) ช่วยเสริมความสตรองของผิวได้อย่างไร วันนี้มาทำความรู้จักกัน

Role of Extremolytes (Ectoin) in Dermatology

1️⃣🟫 Extremolytes ถูกคิดค้นปี 1980 เป็น amino acid ที่สกัดจากชีวโมเลกุล Extremophilic organisms ที่อาศัยอยู่ใน Natrun Valley ประเทศอียิปต์ และต่อมาก็พบว่า สารนี้มักเจอในชีวโมเลกุลที่อาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่โหดจัด extreme มาก ๆ ไม่ว่าจะร้อนจัด เย็นจัด มลภาวะเยอะจัด แห้งจัด ยูวีเยอะจัด

🌟 ดังนั้น จึงมีการศึกษาวิจัยนำ Extremolytes มาผสมในสกินแคร์ ก็พบว่าช่วยให้ผิวสตรองมากขึ้น เสมือนกับชีวโมเลกุลข้างต้น ที่สามารถอาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมอันโหดร้ายที่แทบจะไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นมีชีวิตรอดอยู่ได้เลย เรียกได้ว่าเป็น Stress protection molecule ที่ดีตัวหนึ่ง

2️⃣🟫 Ectoin คือ สารที่ผลิตได้จากแบคทีเรียชื่อ Halomonas elongata ถือเป็น naturally Osmolytes อย่างหนึ่งที่มีการศึกษามากมายทั้งในแง่ของการผสมในครีมบำรุงผิวหรือครีมกันแดด, ยาพ่นในระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งยาหยอดตา

🌟ทั้งนี้ เนื่องจาก Ectoin มีคุณสมบัติในการช่วยลดการอักเสบได้ ทั้งที่ผิวหนัง เยื่อบุทางเดินหายใจ และตา

3️⃣🟫 มีการศึกษาพบว่าผิวหลังทาสกินแคร์ที่มี Ectoin เมื่อทดสอบด้วย UVB แล้ว มีอิมมูนเซลล์ที่ผิว (Langerhan cells) ลดลงเพียงเล็กน้อย และยังพบ Sunburn cells ลดลงอย่างชัดเจน

🌟 ดังนั้น Ectoin จึงมีคุณสมบัติ ช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายด้วย UVB

4️⃣🟫 มีการศึกษาพบว่าผิวหลังทาสกินแคร์ที่มี Ectoin เมื่อทดสอบด้วย UVA แล้ว เซราไมค์ที่ผิวจะถูกสลายน้อยลงไปเรื่อย ๆ (dose-dependent) และยังพบ ICAM-1 น้อยลง บ่งบอกว่าการอักเสบของผิวน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ

🌟 ดังนั้น Ectoin จึงมีคุณสมบัติ ช่วยยับยั้งกระบวนการอักเสบของผิวที่เกิดจาก UVA ได้อีกด้วย

5️⃣🟫 มีการศึกษาวิจัยในคน Sensitive & Atopic skin โดยให้ทา 1% และ 4% Ectoin เช้าเย็น นาน 7 วัน พบว่า TEWL ลดน้อยลง (แบบ dose-dependent)

🌟 ดังนั้น คนผิวแห้งหรือแพ้ง่ายที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงของกำแพงผิว แนะนำ ectoin ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 0.5-1% ขึ้นไป โดยทาเช้าเย็น จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงประมาณ 1 สัปดาห์

6️⃣🟫 มีการศึกษาพบว่าเมื่อทา 1% Ectoin เช้าเย็น นาน 12 วันขึ้นไป ผิวมีความชุ่มชื้นมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการตรวจวัดด้วยเครื่องมือ corneometry และหลังหยุดทาแล้วยังสามารถคงความชุ่มชื้นผิวอยู่ได้อย่างน้อย 7 วัน

🌟 ดังนั้น Ectoin จึงมีคุณสมบัติเป็น prolonged moisturizer ช่วยให้ความชุ่มชื้นผิวได้ยาวนาน ในงานวิจัยระบุอย่างน้อย 7 วัน แต่อย่างไรก็ตามคงต้องขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล และ ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่มี Ectoin ในแต่ละยี่ห้อ

7️⃣🟫 Ectoin มีคุณสมบัติ anti-inflammatory effect จึงมีการนำมาใช้เพื่อ ช่วยบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบจากสาเหตุหลายอย่าง

🌟 ดังนั้น จึงเป็นอีกทางเลือกในคนที่มีผิวหนังอักเสบ (Eczema) หรือในกลุ่มโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Mild to moderate Atopic dermatitis) ที่อยากเลี่ยงการทาสเตอรอยด์บ่อย ๆ

8️⃣🟫 พบว่า การทาสกินแคร์ที่มีEctoin สามารถช่วยลดการเกิด Air pollution-induced hyperpigmentation ได้ และลด gene expression ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเสื่อมของผิวได้

🌟 ดังนั้น Ectoin-containing Skincare จึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากช่วย anti pollution และ anti aging ได้ดี

9️⃣🟫 ถึงแม้มีข้อมูลว่า Ectoin ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA, UVB ช่วยป้องกันผิวไหม้และลด aging skin ได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาในแง่ SPF, PA ที่ชัดเจน

🌟 ดังนั้น แนะนำให้ทาครีมกันแดดร่วมด้วยเสมอค่ะ

🔟🟫 บางคนเรียก Ectoin ว่าเป็น All-in-One และ เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการบำรุงผิว เพราะมีความสามารถ คือ

✔️ ปกป้องผิวจากการทำร้ายโดย UVA ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งผิวชรา ริ้วรอย ฝ้า กระ จุดด่างดำ

✔️ ปกป้องผิวจากการทำร้ายโดย UVB ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งผิวไหม้และหมองคล้ำ

✔️ ลดการระคายเคืองผิวจาก PM2.5 ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความแก่, ผิวอักเสบ, การกำเริบของผื่นผิวหนังบางชนิด

✔️ ช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนัง

✔️ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิวได้ยาวนานหลายวัน

🌟 ดังนั้น คุณสมบัติของEctoin ก็คือ “Antiaging + Antiinflammatory + Moisturizing + Barrier repairing effects”

โดยสรุป หากใครที่กำลังมองหาสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของ Extremolytes (Ectoin) ขอแนะนำ ดังนี้ค่ะ

✅ 0.5% ขึ้นไป ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและบำรุงกำแพงผิวได้ดี

✅ 1% ขึ้นไป มีคุณสมบัติเหมือน 0.5% และเพิ่มเติมคือ สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นให้ผิวได้ยาวนานยิ่งขึ้นเป็นสัปดาห์

✅ 5-7% ขึ้นไป มีคุณสมบัติ anti-inflammatory effect (dose-dependent) แนะนำสำหรับคนที่มีปัญหาภูมิแพ้ผิวหนัง Atopic dermatitis, มีผื่นแพ้อักเสบผิวหนังต่าง ๆ หรือ คนที่ต้องการบำรุงผิวมากขึ้นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มลภาวะฝุ่น PM2.5 ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีในประเทศไทยที่มีงานวิจัยทางการแพทย์รับรองก็เช่น Resiskin เป็นต้น

References

Skin Pharmacol Physiol 2014; 27: 57–65.

Appl Microbiol Biotechnol 2006; 72: 623–634.

Clin Dermatol 2008; 26: 326–333.

Curr Pediatr Rev. 2019; 15(3): 191-195.

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

Product mentioned

🌟 Resiskin by Qualisk

✔️ Germany Innovative Ingredient (Extremolyte) ที่สกัดจากธรรมชาติ ไม่มีสารกันเสีย

✔️ Skin barrier repair ช่วยเสริมความแข็งแรงของกำแพงผิว ช่วยปกป้อง บำรุงและฟื้นฟูผิวในหลอดเดียว

✔️ มีงานวิจัยรับรองประสิทธิภาพในผิวหนังมนุษย์

✔️ No Steroid, no fragrance

✔️ Safe for infant, children, adult

✔️ แนะนำในคนผิวธรรมดา, ผิวแห้ง, ผิวแพ้ง่าย, ผู้มีปัญหาผิวหนังอักเสบหรือภูมิแพ้ผิวหนัง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Website: https://resiskin.com
FB: https://www.facebook.com/resiskin
Line: @ResiSKIN
#ผิวสตรองพร้อมทุกสถานการณ์

Sponsored by Resiskin

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.