Category Archives: Aesthetics

แสง กับ การรักษาสิว (ตอน 1)

ข้อควรรู้ที่อยากเล่าให้ฟังเบื้องต้น เรื่องแสงกับการรักษาสิว มีดังนี้

✔️ สามารถใช้เสริมกับการรักษามาตรฐานด้วยยากิน ยาทาสิว
✔️ ควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ และ เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน
✔️ ชนิดของแหล่งกำเนิดแสง ความเข้มแสง ระยะเวลาการรักษา ในคนไข้สิวแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นกับแพทย์พิจารณา
✔️ การตอบสนองต่อการรักษาของแต่ละคนก็แตกต่างกัน

🔵 สีฟ้า ตื้นสุด
🟡 สีเหลือง ปานกลาง
🔴 สีแดง ลึกสุดครอบคลุมทุกชั้นผิว

✔️ กรณีสิว
สีฟ้า และ สีแดง มีข้อมูลว่าเสริมการรักษาสิวระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลางได้
กลไก คือ
• ลด C.acnes
• ลด Pore size
• ลดการอักเสบ

✔️ กรณี Rejuvenation & Photodamage
• LEDs สีฟ้า สีแดง สีเหลือง มีข้อมูลการศึกษาทั้ง 3 สี
กลไก คือ
กระตุ้น Ca2+, nitric oxide, matrix metalloproteinase ซึ่งช่วยในกระบวนการ collagen-stimulating pathways
• PDT ก็อาจช่วยได้ในแง่ photodamaged facial skin texture, wrinkles, and mottled pigmentation

หมอทำภาพสรุปมาให้

จบแล้วตอนที่ 1
ไว้มาต่อตอนที่ 2 ถ้ามีคนอยากอ่านค่ะ 🤭♥️

References

J Am Acad Dermatol. 2021 May ; 84(5): 1219–1231.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.


รังสี UVA1 กับปัญหาผิว Skin

ภาพนี้สรุปได้ค่อนข้างครบถ้วนเรื่องผลของรังสี UVA1 หรือ Long UVA ต่อผิวหนัง
เราทราบดีว่ารังสีจากแสงอาทิตย์ที่ตกลงมาถึงพื้นโลกได้หลัก ๆ มี 3 อย่าง คือ UV, Visible light, Infrared

รังสี UV ที่ยิ่งความยาวคลื่นมากจะยิ่งทะลุทะลวงสิ่งกีดขวาง เช่น ก้อนเมฆ ชั้นโอโซน กระจก ความสูง สภาพอากาศ ฯลฯ ลงมาได้มาก โดยเฉพาะ UVA1 หรือ อาจเรียกว่า Long UVA (ซึ่งมีความยาวคลื่นมากกว่า UVA2 และ UVB ตามลำดับ) โดยพบว่า UVA1 สามารถทะลุทะลวงสู่โลกได้ถึง 80% ของรังสียูวีทั้งหมดทีเดียว

นอกจากนั้น UVA ยังสามารถทะลุผิวหนังลงได้ลึกถึงชั้นหนังแท้ (Dermis) ได้มากกว่า UVB ถึง 100 เท่า

กลไก คือ UVA1 หลังจากถูกดูดซับโดย UVA1 photon ก็จะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาในผิว ส่งผลให้มีการสร้างสารอนุมูลอิสระ Reactive oxygen species (ROS) มากขึ้น สารตัวนี้จะไปทำลาย DNA ของเซลล์โดยการเกิด oxidative stress และส่งผลต่อผิวหนังตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (ดังรูป)

ผลของ UVA1 ต่อผิวหนัง​
ผลของ UVA1 ต่อผิวหนัง

ดังนั้นการปกป้องผิวจากแสงแดดโดยเฉพาะ UVA จึงสำคัญมากถ้าหากไม่อยากเกิด Premature aging of skin ก่อนวัย

หากชอบบทความนี้ >> กดไลค์กดแชร์ และ กดติดตามเพจไว้ติดตามเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับผิวหนังที่จะมาเล่าให้ฟังเรื่อย ๆ นะคะ
..หมอเจี๊ยบ..👩🏻‍⚕️


Reference
The Damaging Effects of Long UVA (UVA1) Rays: A Major Challenge to Preserve Skin Health and Integrity. Int. J. Mol. Sci. 2022; 23: 8243.

รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Summary topical retinoids for acne (Updated)

ปัจจุบันมียาทาวิตามินเอที่มีข้อมูลรักษาสิวได้ แต่ละตัวจะจับกับตัวรับ retinoid receptors แตกต่างกันไป (ดังตาราง)

ส่วนใหญ่จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังการรักษาประมาณ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งช่วยได้ทั้งสิวที่หน้าและสิวที่ลำตัว

Tazarotene 0.1% ทั้งชนิด foam และ gel มีประสิทธิภาพเท่ากันในการรักษาสิวที่หน้า และ ลำตัว โดยแนะนำใช้เพียงวันละ 1 ครั้งก็เห็นผลการรักษาดี

Trifarotene จับกับตัวรับจำเพราะ RARgamma ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ anti-comedogenic, anti-inflammatory, anti-pigmentary activities และพบว่ามีประสิทธิภาพในการใช้รักษาสิวที่หน้าและสิวที่ลำตัวได้ดี มีการศึกษาว่าการใช้ในระยะยาว 52 สัปดาห์ พบว่าปลอดภัย ระคายเคืองค่อนข้างน้อย

เรียกได้ว่าเป็นความหวังของคนที่ใช้ topical retinoids ไม่รอดก็ว่าได้
รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมถ้ามีอัพเดทจะมาเล่าให้ฟังเรื่อย ๆ นะคะ ต้องรอติดตาม

Reference ตามแนบในรูป

รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Benzoyl peroxide ต้องทากี่นาทีจึงฆ่าเชื้อ C.acne ได้

ข้อมูลในงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ไม่นาน เป็นการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่า BPO จะออกฤทธิ์ bactericidal effect ต่อ C.acne ได้ ดังนี้

Reference: Clinical, Cosmetic and Investigational Dermatology 2022;15:403–409.

1.25% นานอย่างน้อย 60 นาที
2.5% นานอย่างน้อย 15 นาที
5% นานอย่างน้อย 30 วินาที
10% นานอย่างน้อย 30 วินาที

นั่นแปลว่า ถ้าหากความเข้มข้นต่ำอาจต้องทาทิ้งไว้นานกว่า จึงจะได้ประสิทธิภาพเทียบกับความเข้มข้นที่สูงขึ้นตามลำดับ

และบางคนที่ผิวระคายเคืองอาจไม่สามารถทาทิ้งไว้นาน อาจต้องปรับไปใช้ตัวอื่นในการควบคุมสิวแทน

แต่อย่างไรก็ตาม หากนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกับผิวมนุษย์ อาจมีข้อจำกัดหรือปัจจัยที่ต่างไปจากหลอดทดลอง
เช่น
❓เชื้อ C.acne อาจอยู่ลึกลงไปในรูขุมขนด้วย อาจต้องใช้เวลานานกว่าในหลอดทดลอง หรือไม่
❓BPO รูปแบบ cleanser อาจถูกเจือจางตอนผสมน้ำ (ต่างกับรูปแบบ Leave-on หรือ rinse-off) อาจต้องใช้เวลานานขึ้นหรือความเข้มข้นที่สูงกว่าเดิม หรือไม่

อาจต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป


Reference

Minimum Contact Time of 1.25%, 2.5%, 5%, and 10% Benzoyl Peroxide for a Bactericidal Effect Against Cutibacterium acnes

Clinical, Cosmetic and Investigational Dermatology 2022;15:403–409.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

พื้นฐานการล้างหน้าและการเลือกคลีนเซอร์

การล้างหน้า ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลผิวในทุกวัน การล้างหน้าให้สะอาดและถูกวิธีจะสามารถขจัดสิ่งสกปรก เซลล์ผิวที่ตายแล้ว น้ำมันส่วนเกินหรือแม้แต่เครื่องสำอางบางอย่างที่น้ำเปล่าไม่สามารถชำระล้างออกได้หมด
มีคำถามที่มักถูกถามมาบ่อย ๆ เกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ลองมาทำความเข้าใจกันค่ะ

เราควรเลือก Cleanser พื้นฐาน อย่างไรดี ❓

การเลือก Cleanser ที่ดี ควรเลือกตามสภาพผิวของแต่ละคน ไม่แนะนำเลือกตามเพื่อน โดยปกติจะแนะนำพื้นฐานผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ดังนี้

• เลือก Gentle cleanser ที่มีส่วนผสมพื้นฐานที่ช่วยบำรุงกำแพงผิว และไม่ทำลายชั้นไขมันที่ผิว เพิ่มความชุ่มชื้นผิว เช่น ceramide, hyaluronic acid, glycerin เป็นต้น

• pH balance 4.5-5.75 ซึ่งจะรู้สึกได้เลยว่าหลังล้างผิวไม่แห้งตึง และ pH ที่สมดุลจะส่งผลถึง skin barrier ที่แข็งแรง ลดการอักเสบผิว และไม่ทำให้เสียสมดุลของจุลินทรีย์

• แนะนำ Syndet (Synthetic detergents) liquid หรือ Non foaming cleanser โดยเฉพาะสำหรับคนผิวแห้ง กลุ่มนี้ pH เป็นอยู่ในช่วงกลางถึงกรดเล็กน้อย มักไม่ค่อยมีฟอง และหลังจากล้างออกด้วยน้ำ จะเหลือลักษณะคล้ายฟิล์มเคลือบผิวบาง ๆ เพื่อคอยช่วยเรื่องความชุ่มชื้นผิว ซึ่งไม่ควรถูหรือพยายามเช็ดออก

basic cleanser การเลือกคลีนเซอร์และการล้างหน้า
Basic cleanser

ควรล้างหน้าบ่อยแค่ไหน และ ควรล้างหน้านานกี่นาที ❓

แนะนำว่าควรให้เวลากับการล้างหน้าให้สะอาด เฉลี่ยประมาณ 20-30 วินาที ไม่นานเกินจน overwash หรือเร็วเกินไปจนล้างไม่สะอาด
และ การล้างหน้าวันละ 2 ครั้งถือว่าเพียงพอต่อการทำความสะอาดผิวหน้าค่ะ ยกเว้นมีสิ่งสกปรกหรือเลอะเหงื่อสามารถล้างเพิ่มได้

รู้ได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดล้างหน้านั้นไม่เหมาะกับผิวเรา และควรเลี่ยงประเภทไหน ❓

แนะนำวิธีสังเกต หากผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่มีอาการแห้งตึงหลังล้างหน้าเสร็จประมาณ 5-10 นาที หรือ มีอาการแสบ แดง คัน ลอก แสดงว่าไม่เหมาะกับผิวเรา แนะนำว่าควรเปลี่ยน

คนที่ผิวแห้ง ระคายเคืองง่าย ควรเลี่ยงส่วนผสมพวก acetone, alcohols, nonionic surfactants บางชนิด เพราะจะทำให้ยิ่งแห้งระคายเคืองมากขึ้น

คนที่แพ้น้ำหอม ผิวแพ้ง่าย ควรเลี่ยงส่วนผสม fragrance, สารกันบูด หรือ สีผสมต่าง ๆ ซึ่งมักพบในกลุ่ม Soap

BOTTOM LINE

การล้างหน้าให้สะอาดและถูกวิธี นอกจากเพื่อการทำความสะอาดผิวแล้ว ยังเสมือนเป็นการเตรียมผิวให้พร้อมรับสกินแคร์ ที่จะบำรุงในขั้นตอนต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เราจึงควรต้องให้ความสำคัญกับการเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวให้มากขึ้น มองหาสิ่งที่เหมาะกับสภาพผิวของแต่ละคน ผลิตภัณฑ์ควรทำความสะอาดผิวได้ดี โดยไม่ทำร้ายกำแพงผิวเรา
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่ได้อ่านนะคะ ถ้าชอบสามารถไลค์และแชร์ได้เลย


References

J Drugs Dermatol. 2019 Jan 1;18(1):80-85.
J Clin Aesthet Dermatol. 2019;12(7):18–21.
J Cosmet Dermatol. 2018 Feb;17(1):8-14.
Indian J Dermatol. 2011;56(1):2-6.


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

NICE Acne Guideline 2021 อัพเดทล่าสุด..การรักษาสิวสำหรับแพทย์ทั่วไป

ACNE GUIDELINE ของ The National Institute for Health and Care Excellence (NICE) ล่าสุด‼️

มีประเด็นที่น่าสนใจพูดเกี่ยวกับคำแนะนำการรักษา และ เมื่อไหร่ควรส่งต่อเคสสิว

การรักษาเบื้องต้นสำหรับแพทย์ทั่วไป

การรักษาไม่ต่างจากเดิมนัก รายละเอียดดังรูป

NICE acne guideline
Photo credited: British Journal of Dermatology

การส่งต่อเคสพบ Dermatologist

แบ่งตามความเร่งรีบคร่าว ๆ ดังนี้

Urgent

หากเป็นไปได้ควรรีบส่งต่อ ถ้าเป็น Acne fulminans เพราะต้องให้การรักษาเร็วหน่อย ซึ่งผู้ป่วยจะมี nodulocystic acne เพิ่มขึ้นรวดเร็วร่วมกับมีอาการทางกายอื่น ๆ เช่น ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว

Consider

พิจารณาส่งต่อ แต่ไม่รีบมาก กรณีดังนี้
• ไม่แน่ใจการวินิจฉัยโรค
• Acne conglobata
• Nodulo-cystic acne

กรณีที่อยากลองรักษาเบื้องต้น สามารถทำได้ และพิจารณาส่งต่อ กรณีดังนี้
• สิวเล็กน้อยถึงปานกลาง ไม่ดีขึ้นหลังรักษา 2 completed course
• ไม่ตอบสนองหลังให้ยาปฏิชีวนะ
• Acne with scarring มีแผลเป็นหรือหลุมสิว
• Acne with pigmentary change มีการเปลี่ยนแปลงสีผิว
• Medical conditions มีภาวะร่วมอื่น ๆ เช่น ถุงน้ำรังไข่หลายใบ ทานยา anabolic steroid เป็นต้น
• Mental change มีความกังวลใจ เครียด มีแนวโน้มซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ซึ่งต้องปรึกษาทีมจิตแพทย์ร่วมดูแล

Photo credited: British Journal of Dermatology

ที่มา
https://www.guidelines.co.uk/skin-and-wound-care/nice-management-of-acne-guideline/456130.article
Photo credited: British Journal of Dermatology

Fernblock Technology แต่ละรุ่นของ Heliocare

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของผลิตภัณฑ์กันแดด Fernblock Technology แต่ละรุ่นของ Heliocare ค่ะ

Heliocare Fernblock Technology ครีมกันแดด
Heliocare Fernblock Technology

แนะนำให้ลองเลือกดูตามความเหมาะสมของผิวแต่ละคนนะคะ


อ่านบทความย้อนหลังที่
https://helloskinderm.com
รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

6 ข้อควรรู้ สำหรับคนผิวแพ้ง่ายใช้อะไรก็แสบคัน ‼️

ผิวแพ้ง่าย

ก่อนจะเริ่มอ่านบทความนี้ อยากให้ทุกท่านลองสำรวจตัวเองดูก่อนว่า 

…คุณมีผิวแพ้ง่าย..หรือไม่ ?

เพราะถ้าหากผิวเราแพ้ง่าย การเลือกสกินแคร์และการดูแลผิวอาจต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิมค่ะ

1. อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่า “ผิวแพ้ง่าย ระคายเคืองง่าย”

• อาการแสดงของผิวหนังที่บ่งบอกว่าคุณเป็นผิวแพ้ง่าย ระคายเคืองง่าย ได้แก่

• แสบผิว ออกร้อน

• คันยุบยิบ

• ผื่นแดง ผด แห้ง ลอก

• รู้สึกไม่สบายผิว

โดยเฉพาะเมื่อถูกสิ่งกระตุ้นที่คนผิวปกติทั่วไปมักจะไม่มีอาการ

อาการแสดง ผิวแพ้ง่าย sensitive skin
อาการแสดงของ Sensitive Skin

2. ทำไมบางคนจึงเกิด Sensitive skin ขึ้นมาได้ ทั้งที่ไม่ค่อยใช้อะไรทาผิวมากมาย

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด พบว่าการเกิดภาวะนี้อาจไม่เกี่ยวกับอาการแพ้ใด ๆ ก็ได้ และเชื่อว่าเกิดจากสาเหตุเหล่านี้

• Skin barrier ไม่แข็งแรง ทำให้สารก่อการระคายเคืองซึมลงผิวได้ง่ายขึ้น

• เส้นประสาทที่ผิวหนัง มีความไวมากขึ้น จึงเกิดการระคายเคืองผิวได้ง่ายขึ้น

• มีการกระตุ้นกระบวนการอักเสบผิวมากขึ้น จึงมักมีผิวแดง แสบ คัน ได้บ่อย ๆ

• มีความผิดปกติของยีนบางอย่าง

สาเหตุทั้งหมดนี้จะส่งผลให้ผิวไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าคนปกติทั่วไป

สาเหตุผิวแพ้ง่าย
สาเหตุของผิวแพ้ง่าย

3. ทำไมผิวคนเราจึงมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากขึ้น

ผิวที่มีความไวมากขึ้นเกิดจากความผิดปกติ 2 อย่าง คือ

1) มีความผิดปกติของระบบเส้นประสาทรับความรู้สึกที่ผิวหนัง

2) มีสิ่งกระตุ้นให้มักทำให้อาการกำเริบ ได้แก่

• ความร้อน

• แสงยูวี

• ฝุ่น PM2.5

• อากาศเปลี่ยนแปลง

• ส่วนประกอบในสกินแคร์บางอย่าง

• ฮอร์โมน อารมณ์และความเครียด

สิ่งกระตุ้นเหล่านี้จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของ barrier function ร่วมกับ มีการอักเสบที่ผิวตามมาได้ค่ะ

สิ่งกระตุ้นให้ผื่นเห่อ ผิวแพ้ง่าย
สิ่งกระตุ้นให้ผื่นกำเริบ

4. มีการทดสอบอะไรช่วยวินิจฉัยโรคนี้หรือไม่

โดยปกติจะให้การวินิจฉัยภาวะ Sensitive Skin Syndrome จากอาการและอาการแสดง หากไม่แน่ใจอาจใช้วิธีการทดสอบช่วยวินิจฉัยได้

เช่น การใช้ 10% Lactic acid หรือ Capsaicin ทาบริเวณซอกจมูก และ โหนกแก้ม แล้วดูว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ หรือวิธีการทดสอบอื่น ๆ ซึ่งจะไม่ได้กล่าว ณ ที่นี้

5. หากเป็นภาวะนี้แล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

• หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้น เช่น แสงแดด, ฝุ่น PM2.5, ความเครียด, การแกะเกาที่ผิว

• หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ที่อาจก่อการระคายเคืองผิว เช่น

❌ ยาทาสิวกลุ่ม tretinoin, BPO

❌ สกินแคร์หรือยาที่มี alcohol, น้ำหอม, สารกันเสีย

❌ สารกลุ่มผลัดเซลล์ผิว เช่น glycolic acid

• ทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ แนะนำเป็น Physical sunscreen จะระคายเคืองน้อยกว่า Chemical sunscreen

• ล้างหน้าให้สะอาดเพื่อลดการระคายเคืองจากสารตกค้างที่ผิว

• ปรับมอยเจอไรเซอร์ให้เหมาะสม

• หากมีผื่นกำเริบ ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยอาจพิจารณาใช้ยาทากลุ่ม topical immunomodulators และการรักษาอื่นขึ้นกับแพทย์พิจารณา

การปฏิบัติตัวเมื่อผิวแพ้ง่าย ระคายเคือง sensitive skin
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็น Sensitive skin

6. มอยเจอไรเซอร์สำหรับ Sensitive Skin ควรเลือกแบบไหน

• มอยเจอไรเซอร์ควรเลือกที่มีคุณสมบัติที่แก้ปัญหาตรงจุดตามปัญหาผิว คือ

1) ช่วยบำรุงกำแพงผิว

2) ช่วยลดการอักเสบผิว

3) มีส่วนผสมที่ช่วยปลอบประโลมลดความไวของตัวรับเส้นประสาทที่ผิว

ยกตัวอย่าง Defensive Technology ลิขสิทธิ์เฉพาะของ Bioderma ก็มีคุณสมบัติครบทั้งสามอย่าง (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย)

• แนะนำ fragrance-free

• เลี่ยงสารที่อาจก่อการแพ้สัมผัสหรือระคายเคืองได้บ่อย เช่น lanolin, wool alcohols

• เลี่ยงการใช้ surfactant ที่อาจระคายเคืองมาก โดยเฉพาะกลุ่ม anionic or cationic เช่น sodium lauryl sulfate, sodium laurate เป็นต้น

Skincare สำหรับผิวแพ้ง่าย
คุณสมบัติ Skincare สำหรับผิวแพ้ง่าย

สุดท้ายสิ่งสำคัญ การมีปัญหาหน้าแดง คัน แสบ สามารถเป็นได้จากหลายโรค ซึ่งก่อนให้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะ Sensitive skin syndrome ตามที่เล่ามาทั้งหมดในโพสนี้ จำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกไปก่อน เช่น ผื่นแพ้สัมผัส, แพ้แดด, โรคภูมิแพ้ผิวหนัง, ภาวะโรเซเชีย เป็นต้น

หากไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นภาวะ Sensitive Skin Syndrome หรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังช่วยประเมินนะคะ

ถ้าหากเห็นว่าบทความมีประโยชน์ อย่าลืมแชร์ให้เพื่อน ๆ คนอื่น ได้อ่านบทความนี้ด้วยกันนะคะ

ด้วยความปรารถนาดี

——————————————

References:

Am J Clin Dermatol. 2020 Jun;21(3):401-409.

J Drugs Dermatol. 2019;18(1 Suppl.):s68-74.

Actas Dermosifiliogr (Engl Ed). 2019 Dec;110(10):800-808.

Arch Toxicol 2015;89(12):2339-444.

Int J Cosmet Sci. 2012;35(1):2-8.

Int J Cosmet Sci. 2011;33(5):421-5.

Dermatol Ther 2004;17(Suppl 1):16-25.

——————————————

[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย

Bioderma Sensibio Defensive

Bioderma Sensibio Defensive

ครีมบำรุงผิว เหมาะสำหรับผิวแพ้ระคายเคืองง่าย

คิดค้นขึ้นด้วยเทคโนโลยีใหม่ Defensive technology ซึ่งมีคุณสมบัติหลัก 3 ประการ จากสารประกอบหลัก ได้แก่

▫️ Carnosine + Vitamin E ช่วยต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ antipollution ซึ่งมีข้อมูลพบว่าช่วยลด oxidative stress ได้มากกว่ากลุ่ม control ถึง 75%

▫️ Tetrapeptide-10 ช่วยเสริมความแข็งแรงของกำแพงผิว โดยข้อมูลในหลอดทดลองพบว่า สามารถเพิ่ม filaggrin gene, involucrin, loricrin, เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ transglutaminase และเพิ่มโปรตีน corneodesmosin ที่ชั้นผิวได้ 46%

▫️ Red sage polyphenols ช่วยลดการอักเสบผิว จาก 2 กลไก คือ

1) ยับยั้งการกระตุ้น TRPV1 receptor ซึ่งเป็นตัวรับความรู้สึกปวดบริเวณปลายประสาท ส่งผลให้ลดอาการแสบ คัน ยุบยิบลดลง 

2) ลดการหลั่ง PGE2, COX-2 จากเซลล์ keratonocyte, ลดการหลั่ง IL-1a จึงส่งผลให้กระบวนการอักเสบผิวลดลง 36%

ข้อมูลการทดลองจาก Bioderma พบว่า ช่วยปลอบประโลมผิวลดอาการแดง แสบ คัน ได้อย่างชัดเจนในนาทีที่ 3 หลังการทา & ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิวได้นาน 12 ชั่วโมง เมื่อใช้ต่อเนื่อง 28 วัน

เนื้อครีมเกลี่ยง่าย ไม่เหนอะ

*การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์และการรักษาขึ้นกับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

——————————————

อ่านบทความย้อนหลัง www.helloskinderm.com (คลิก)

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.