Category Archives: Sun Protection and Sunscreen

รังสี UVA1 กับปัญหาผิว Skin

ภาพนี้สรุปได้ค่อนข้างครบถ้วนเรื่องผลของรังสี UVA1 หรือ Long UVA ต่อผิวหนัง
เราทราบดีว่ารังสีจากแสงอาทิตย์ที่ตกลงมาถึงพื้นโลกได้หลัก ๆ มี 3 อย่าง คือ UV, Visible light, Infrared

รังสี UV ที่ยิ่งความยาวคลื่นมากจะยิ่งทะลุทะลวงสิ่งกีดขวาง เช่น ก้อนเมฆ ชั้นโอโซน กระจก ความสูง สภาพอากาศ ฯลฯ ลงมาได้มาก โดยเฉพาะ UVA1 หรือ อาจเรียกว่า Long UVA (ซึ่งมีความยาวคลื่นมากกว่า UVA2 และ UVB ตามลำดับ) โดยพบว่า UVA1 สามารถทะลุทะลวงสู่โลกได้ถึง 80% ของรังสียูวีทั้งหมดทีเดียว

นอกจากนั้น UVA ยังสามารถทะลุผิวหนังลงได้ลึกถึงชั้นหนังแท้ (Dermis) ได้มากกว่า UVB ถึง 100 เท่า

กลไก คือ UVA1 หลังจากถูกดูดซับโดย UVA1 photon ก็จะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาในผิว ส่งผลให้มีการสร้างสารอนุมูลอิสระ Reactive oxygen species (ROS) มากขึ้น สารตัวนี้จะไปทำลาย DNA ของเซลล์โดยการเกิด oxidative stress และส่งผลต่อผิวหนังตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (ดังรูป)

ผลของ UVA1 ต่อผิวหนัง​
ผลของ UVA1 ต่อผิวหนัง

ดังนั้นการปกป้องผิวจากแสงแดดโดยเฉพาะ UVA จึงสำคัญมากถ้าหากไม่อยากเกิด Premature aging of skin ก่อนวัย

หากชอบบทความนี้ >> กดไลค์กดแชร์ และ กดติดตามเพจไว้ติดตามเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับผิวหนังที่จะมาเล่าให้ฟังเรื่อย ๆ นะคะ
..หมอเจี๊ยบ..👩🏻‍⚕️


Reference
The Damaging Effects of Long UVA (UVA1) Rays: A Major Challenge to Preserve Skin Health and Integrity. Int. J. Mol. Sci. 2022; 23: 8243.

รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Fernblock Technology แต่ละรุ่นของ Heliocare

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของผลิตภัณฑ์กันแดด Fernblock Technology แต่ละรุ่นของ Heliocare ค่ะ

Heliocare Fernblock Technology ครีมกันแดด
Heliocare Fernblock Technology

แนะนำให้ลองเลือกดูตามความเหมาะสมของผิวแต่ละคนนะคะ


อ่านบทความย้อนหลังที่
https://helloskinderm.com
รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

รวมส่วนผสมชะลอผิวแก่ในครีมกันแดด

ส่วนผสมชะลอผิวแก่ในครีมกันแดด

ส่วนผสมที่เติมในครีมกันแดดแล้วเสริมการปกป้องผิวในครีมกันแดดได้มีข้อมูลอะไรบ้าง

Additives in sunscreen

การเผชิญกับ UV และ VL เป็นเวลานาน สามารถกระตุ้นให้มีการเพิ่มขึ้นของ ROS, MMPs และมีการทำร้าย DNA ที่ผิวหนังได้ ดังนั้น การทาครีมกันแดดสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งค่ะ

อ่านเจอข้อมูลงานวิจัยที่พูดถึงสารต่าง ๆ ที่นำมาผสมในครีมกันแดดเลยนำมาแบ่งปัน
ส่วนใหญ่วัตถุประสงค์ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการทำร้ายผิวจากสารอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวี และเพื่อชะลอการเกิดผิวชราจากแสงแดด หรือ ที่เราเรียกว่า Photoaging นั่นเอง

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ถูกยกขึ้นมากล่าวถึงมากที่สุด เพราะเชื่อว่าช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นได้ เช่น

Vitamin C (L-ascorbic acid)

ตัวนี้สลายง่ายที่ค่า pH ปกติที่ผิวหนังเรา จึงเห็นมักผสมกับตัวอื่นเพื่อให้คงตัวมากขึ้น เช่น Vitamin E, Ferulic acid
โดย vitamin C จะเป็น cofactor ในกระบวนการ collagen synthesis และลดการสะสมของ elastin ได้

Vitamin E

มีข้อมูลว่าช่วยลด lipid peroxidation, photoaging, immunosuppression และ photocarcinogenesis

Retinoids

ช่วยยับยั้ง activation of protein-1 & MMP-1 expression ผลคือ กระตุ้นการสร้างคอลาเจน ผิวหนาขึ้นและแข็งแรงขึ้น แต่เนื่องจากความไม่คงตัวของกลุ่มนี้ ทำให้สลายได้ง่ายเมื่อถูกรังสี UV, VL จึงไม่ค่อยเห็นผสมในครีมกันแดดบ่อยนัก อาจเห็นพวกที่รูปแบบค่อนข้างเสถียรกว่า retinoids เช่น Retinyl
palmitate ที่มักผสมในสกินแคร์ต่าง ๆ โดยมักทำเป็น liposome เพื่อให้คงตัวมากขึ้น แต่ประสิทธิภาพก็อาจด้อยกว่า tretinoin or retinol
ส่วนประเด็น retinyl palmitate เมื่อถูกยูวีแล้วจะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังตามมาหรือไม่ ยังไม่ชัดเจน อันนี้ยังต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป

Polyphenols

พบใน botanicals เช่น tea leaves, grape seeds (Vitis vinifera), blueberries, almond seeds, and pomegranate extract พวกนี้จะมีสารที่เรียกว่า epigallocatechin-3-gallate ซึ่งช่วยลด MMP-1 ตัวทำร้ายคอลาเจน และตัวมันเองสามารถเพิ่ม SPF ได้ร่วมด้วยนิดหน่อย

Soy extracts

มีข้อมูลว่า soybean-derived serine protease inhibitors ช่วยลดรอยดำ และริ้วรอยเล็ก ๆ ตื้น ๆ ที่ผิวได้

Melatonin

ช่วยปกป้องเซลล์ผิว keratinocytes, melanocytes, and fibroblasts และป้องกัน UV-induced photoaging ได้

Algae extract

บางชนิดนอกจากพบว่าดูดซับรังสียูวีได้ ยังช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระที่ผิวได้ พบว่า Mycosporine-like amino
acids (MAAs) จาก algae ยังเป็น potent UV filters โดย maximum absorption 310 และ 362 nm ทีเดียว นอกจากนั้นยังอาจได้ยินชื่อ เช่น Porphyra umbilicalis, Corallina pilulifera methanol extract แต่กลุ่มนี้ยังอาจมีประเด็นถกเถียงเรื่อง eco-friendly photoprotection คงต้องติดตามต่อไปในอนาคต

Polypodium leucotomos extract (PLE)

ตัวนี้มีข้อมูลทั้งรูปแบบทา และ กิน ว่าช่วยได้ทั้ง antioxidative, chemoprotective, immunomodulatory,
and anti-inflammatory effects เรื่องสารตัวนี้เคยทำคลิป ลองไปดูเพิ่มเติมได้ค่ะ
https://youtu.be/DCOx4HMN_a4

ตัวอื่นที่มีข้อมูลว่าช่วยลด MMP-1 expression ได้ ก็เช่น
Caffeine
Echinacea pallida extract
Gorgonian extract
Chamomile essential oil

นอกจาก oxidants แล้วก็ยังมี Photolyases ที่ถูกนำมาผสมครีมกันแดด เพราะสามารถช่วย DNR repair ได้ ส่งผลให้มี photoprotective effects และ anti-oxidants ได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม การผสมสารเหล่านี้เข้าในครีมกันแดดแต่ละแบรนด์นั้นไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพออกมาดีเท่ากันเสมอไป จะดูแค่ว่า..มีหรือไม่มีชื่อเหล่านี้ในส่วนผสมอาจไม่พอ เพราะยังคงต้องดูในรายละเอียดเรื่อง ความเข้มข้นที่มากพอ, ความสามารถในการซึมผ่านผิวชั้น Stratum corneum และ ความคงตัวของครีมกันแดดตัวนั้นในที่สุดด้วยเช่นกัน

สุดท้ายแล้ว ก็อยากให้ทาครีมกันแดดกันสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายด้วยรังสียูวี ป้องกันมะเร็งผิวหนังแล้ว ยังช่วยเรื่องชะลอผิวเสื่อมชราด้วยนะคะ..สภาพ

หวังว่าจะชอบบทความนี้กันนะคะ ถ้าชอบก็สามารถไลค์ เลิฟ แชร์ เป็นกำลังใจให้ด้วยน๊าค๊า


Reference
Guan, L.L., Lim, H.W. & Mohammad, T.F. Sunscreens and Photoaging: A Review of Current Literature. Am J Clin Dermatol 22, 819–828 (2021). https://doi.org/10.1007/s40257-021-00632-5

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Reef-safe Sunscreen

Coral reefs vs Skin cancers: What balance?

🌏🐚🐬🐟🐡🦀🐳🐋🦑🦈🐙

กรณีการทาครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารบางตัวไปเที่ยวทะเล ก็อาจส่งผลต่อระบบนิเวศน์ในท้องทะเลได้เช่นกัน ผลที่อาจตามมาในอนาคตคือ Global warming ที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

ขณะที่เราว่ายน้ำหรือเล่นน้ำในทะเล ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าต้องมีการหลุดหรือการละลายของครีมกันแดดที่ผิวเราไปกับน้ำทะเล และด้วยส่วนผสมของครีมกันแดดที่เป็น lipophilic จึงสามารถสะสมในร่างกายสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลได้ด้วย

ปะการัง นอกจากที่เราเห็นว่าให้ความสวยงามใน้ท้องทะเลแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งให้อีกหลายชีวิตคงอยู่ใต้ท้องทะเลได้อย่างสมดุล เช่น fish, seabirds, sponges, jellyfish, worms, shrimp, lobsters, crabs, molluscs, starfish, sea urchins, sea cucumbers, turtles and snakes

สัญญาณอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ปะการังกำลังตกอยู่ในสภาวะแวะล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือถูกทำร้าย ก็คือ การเปลี่ยนเป็นสีขาวซีดลง และ หากไม่มีการช่วยเหลือน้องปะการังก็จะตายไปในที่สุด รวมทั้ง algae (zooxanthellae) ที่ใช้ชีวิตพึ่งพาเกาะติดเจ้าปะการังน้อยนี้ก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน

ปะการังสีซีดลงหรือปะการังฟอกขาว อาจเป็นได้จากหลายสาเหตุ

• อุณหภูมิท้องทะเลที่สูงขึ้น

• รังสี UV ที่สูงมากเกินไป

• มีการทำลายของเชื้อโรคและแบคทีเรีย

• มลภาวะแวดล้อมเป็นพิษ

• สารเคมีต่าง ๆ

ในวันที่ 1 มกราคม 2021 Hawaii เป็นที่แรกที่ประกาศเริ่มแบนการใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของ 2 ชนิด ที่อาจส่งผลต่อปะการังและระบบนิเวศน์ข้างต้นได้ คือ oxybenzone และ octinoxate

💢 Oxybenzone น้ำหนักโมเลกุล 290.4 สามารถดูดซับคลื่นรังสี UVB (UVmax = 288 nm) และ UVA‐II (UVmax = 326 nm) และปล่อยเป็นพลังงานความร้อนออกจาก จึงสามารถปกป้องผิวจากการทำร้ายได้ทั้งรังสี UVA และ UVB ถือเป็น broad‐spectrum UV filter

💢 Octinoxate มีน้ำหนักโมเลกุล 228.2 สามารถดูดซับคลื่นช่วงรังสี UVB (UVmax = 310 nm) จึงจัดเป็น UVB filter

สารทั้งสองชนิดข้างต้น เป็นสารใช้ผสมบ่อยในครีมกันแดด และยังมีในสกินแคร์อื่น ๆ บางยี่ห้อด้วย เช่น บอดี้โลชั่น, แชมพู, ครีมนวดและตกแต่งผม, สบู่, ครีมทากันแมลง เป็นต้น

กลไกที่พบว่าสารทั้งสองส่งผลต่อปะการังซีดลง

มี 2 แบบ คือ

1. ส่งผลต่อปะการังโดยตรง ทำลาย DNA ทำให้ส่งผลต่อตัวอ่อนในการขยายพันธุ์

2. ส่งผลทางอ้อม คือ ทำให้เกิดการเพิ่มกระบวนการ lysogenic infection in prokaryotes เชื้อไวรัสในทะเลมากขึ้น

อย่างไรก็ตามเรื่องของส่วนผสมของครีมกันแดดบางตัวที่อาจทำร้ายปะการังก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่บ้าง มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในแง่ที่ว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นการศึกษาในระบบนิเวศน์จำลองในห้องปฏิบัติการ ไม่ได้ทำการทดลองในท้องทะเลจริง หรือบางท่านให้ความเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเพียงปัจจัยส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจส่งผลให้ปะการังสีซีดลงได้ เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบมากกว่า ดังที่กล่าวข้างต้น

การทาครีมกันแดดนั้นสำคัญไม่น้อยเมื่อเราต้องออกแดดหรือไปเที่ยวที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะหากบริเวณที่มี UV index สูงยิ่งต้องให้ความสำคัญค่ะ เพราะนอกจากจะป้องกันผิวไหม้หมองคล้ำแล้ว ยังป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังได้อีก คงต้องบาลานซ์ให้ดี เพราะยังมีระบบนิเวศน์รอบตัวที่เราควรต้องให้ความใส่ใจกับพวกเขาเหล่านั้นด้วยค่ะ

นับว่ายังโชคดีที่มีส่วนผสมของครีมกันแดดอีกมากมายที่อาจส่งผลกระทบแต่ไม่มาก ต่อปะการังและระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเล ให้เป็นทางเลือกได้ เช่น

Non-nano zinc oxide

Non-nano titanium oxide

Avobenzone

Octisalate

Ecamsule (Mexoryl SX)

Drometrizole Trisiloxone (Mexoryl XL)

Ethylhexyl Triazone (Uvinul T150)

และปัจจุบันยังมีการศึกษาถึง natural products ที่อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยต่อระบบนิเวศน์ในท้องทะเลอีกหลายชนิด คงต้องรอติดตามข้อมูลในอนาคตต่อไป

สุดท้ายนี้

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ได้ออกประกาศ

ห้ามนำและใช้ครีมกันแดด ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่

Oxybenzone (Benzophenone-3)

Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate)

4-Methylbenzylid Camphor (4MBC)

Butylparaben

หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดมาตรา 20 ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

จากนี้ต่อไปเราคงต้องเลี่ยงส่วนผสมข้างต้นไปก่อน ถ้าหากจะไปเที่ยวในสถานที่ที่ใช้กฎนี้ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใดเพิ่มเติม

หากชอบและเห็นว่าบทความมีประโยชน์ สามารถกดแชร์ได้ค่ะ

——————————————

References:

J Clin Pharm Ther. 2019;44:134–139.

Plast Surg Nurs. 2019 Oct/Dec;39(4):157-160.

PeerJ. 2019 Aug 12;7:e7473.

Mar. Drugs 2021;19:379.

Environ Health Perspect. 2008 Apr;116(4):441-7.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ใช้ผลิตภัณฑ์อะไรล้างครีมกันแดดดี

ฤดูร้อนแบบนี้แน่นอนทุกคนต้องให้ความสำคัญกับการทาครีมกันแดดมากเป็นพิเศษ ☀️☀️☀️

คำถามที่มี inbox เข้ามามากในช่วงนี้ก็คงหนีไม่พ้นคำถามเหล่านี้

“จะใช้อะไรล้างครีมกันแดดดีคะ”❓
“ล้างน้ำเปล่าอย่างเดียวพอไหม”❓
“ต้องใช้ oil หรือ ครีมล้างหน้าธรรมดา ก็ได้” ❓

รูปนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยตาม reference ที่ห้อยท้ายเอาไว้

1. ในงานวิจัยนี้ใช้ผลิตภัณฑ์ในการทดลอง ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ล้าง ได้แก่
💦 Foaming cleanser
คือ Neutrogena deep clean foaming cleanser
ซึ่งมีส่วนผสมของ detergent หลัก ๆ คือ sodium methyl cocoyl taurate และ cocoamido propyl betaine
💦 Cleansing oil
คือ Maybelline new city rescue miracle oil
ซึ่งมีส่วนผสมของ oil หลัก คือ mineral oil, isopropyl myristate, alkyl (C12‐C15) benzoate และ dicaprylyl carbonate

ผลิตภัณฑ์กันแดด ได้แก่
☀️ Non‐waterproof sunscreen with SPF 50+ and PA+++
คือ Innisfree eco safety UV perfect sunblock
ซึ่งมีส่วนผสม UV filters คือ octinoxate, titanium oxide, bisethylhexyloxyphenol methoxyphenyl triazine และ diethylamino hydroxybenzoyl hexyl benzoate
☀️ Waterproof sunscreen with SPF 50+ and PA+++
คือ Innisfree eco safety UV perfect water‐proof sunblock
ซึ่งมีส่วนผสม UV filters คือ titanium dioxide, zinc oxide, ethylhexyl salicylate, isoamyl p‐methoxycinnamate และ diethylamino hydroxybenzoyl hexyl benzoate

2. โดยให้อาสาสมัครทาครีมกันแดดทั่วหน้าในปริมาณ 1 mg/cm2 หลังจากนั้นให้รอ 30 นาที ให้ห้องที่ถูกควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่ 20‐24°C และ 50%‐60% ตามลำดับ

หลังจากนั้นให้ไปล้างหน้า ดังนี้
💦 ล้างน้ำเปล่า 3.5 ลิตร นาน 2 นาที
💦 ใช้ Foaming cleanser 0.5 g
💦 ใช้ Cleansing oil 0.6 g

3. ถ่ายรูปด้วยกล้อง VISIA Complexion Analysis System

📸 Positive control คือ ภาพหลังทาครีมกันแดด
📸 Negative control คือ ภาพที่ไม่ทาครีมกันแดด
📸 ถ่ายภาพอีกทีหลังจากที่ล้างหน้าตามวิธีข้างต้น

4. ผลการทดลองเป็นดังรูป

🛑 กลุ่มที่ใช้ครีมกันแดดชนิด non-water proof
หลงเหลือครีมกันแดดหลังล้างด้วยวิธีต่าง ๆ คือ
Water เหลือ 54.0% ± 19.2%
Foaming cleanser เหลือ 15.6% ± 6.1%
Cleansing oil เหลือ 13.4% ± 4.6%
♻️เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติก็พบว่า การล้างด้วย Foaming cleanser หรือ Cleansing oil ไม่ต่างจาก negative control
♻️ แปลว่า ถ้าใช้ครีมกันแดดแบบ Non Water proof สามารถล้างด้วย Foaming cleanser หรือ Cleansing oil ก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้ล้างแค่น้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวเพราะอาจมีครีมกันแดดที่ยังตกค้างที่ผิวอยู่มาก

🛑 กลุ่มที่ใช้ครีมกันแดดชนิด Water proof
หลงเหลือครีมกันแดดหลังล้างด้วยวิธีต่าง ๆ คือ
Water เหลือเกือบ 60% และอาสาสมัครรู้สึกยังเหลือความมันตกค้างที่ผิว
Foaming cleanser อาสาสมัครรู้สึกล้างสะอาด แต่อันที่จริงเหลือตกค้างเกือบ 40%
Cleansing oil อาสาสมัครรู้สึกล้างสะอาด
♻️ และเมื่อดูจากทางสถิติแล้วพบกว่า Cleansing oil ล้างได้สะอาดกว่า Cleanser มาก เหลือกันแดดตกค้างไม่แตกต่างจากคนที่ไม่ทาครีมกันแดดเลย (negative control) ในทางสถิติ
♻️ แปลว่า ถ้าใช้ครีมกันแดดแบบ Water proof ก็แนะนำให้ใช้ Cleansing oil จะดีกว่าอย่างอื่น เพราะครีมกันแดดประเภทนี้จะฟอร์มเป็นเสมือนฟิล์มบาง ๆ เคลือบผิวไว้ ซึ่งยากต่อการล้างด้วยน้ำหรือแม้แต่เวลามีเหงื่อก็อาจจะยังไม่หลุดออก

5. เรื่องความรู้สึกหลังล้าง พบว่า มีโอกาสเกิดหน้าแห้งในกลุ่มที่ใช้ Foaming cleanser ได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้ Cleansing oil
♻️ ทั้งนี้ เนื่องจากใน Cleanser อาจมีสารบางอย่าง เช่น sodium methyl cocoyl taurate and cocoamido propyl betaine ซึ่งสามารถทะลุผิวชั้น stratum corneum และสามารถไปทำลายสารเพิ่มความชุ่มชื้นผิวตามธรรมชาติ [natural moisturizing factors (NMF), intercellular lipids] จึงส่งผลให้ อาจเกิดการระคายเคืองและแห้งตามมา
♻️ ในขณะที่หลังการล้างด้วย Cleansing oil จะยังเหลือออยที่เป็นฟิล์มบาง ๆ เคลือบผิวไว้ จะช่วยให้ผิวชุ่มชื้นได้มากกว่า

💢💢💢 ข้อมูลที่เกี่ยวกับการล้างผลิตภัณฑ์กันแดดเท่าที่ลองหาดู ยังมีไม่มากนัก คิดว่าต่อไปน่าจะมีข้อมูลที่ละเอียดเพิ่มเติม ทั้งในเรื่องของชนิดครีมกันแดดและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดครีมกันแดดที่หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งงานวิจัยที่ทำการทดลองกรณีใช้ครีมกันแดด 2 mg/cm2 (ตามคำแนะนำการใช้ครีมกันแดด) แต่งานวิจัยนี้ใช้ 1 mg/cm2 ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นปริมาณที่คนส่วนใหญ่ทาในชีวิตจริง ก็ถ้ามีอะไรใหม่ ๆ จะมาอัพเดทให้อ่านกันนะคะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์นะคะ ❤️❤️❤️

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
Reference
J Cosmet Dermatol. 2019;00:1–5.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

เลือกครีมกันแดดไปทะเลอย่างไรให้ปัง ‼️

อันดับแรก อยากให้ทุกคนกลับไปทบทวนความสำคัญของการทาครีมกันแดดในโพสนี้ค่ะ

ทำไมแพทย์ผิวหนังจึงเน้นแนะนำให้ทาครีมกันแดด..ทุกวัน..ในทุกที่..ที่คุณย่างก้าวไป

เราทราบดีว่า..ไปทะเลจะต้องเผชิญกับแสงแดดอันร้อนแรง, อาจมีกิจกรรมต้องลงเล่นน้ำ หรืออาจต้องใส่บิกินีอวดหุ่นสวย ดังนั้น ครีมกันแดดที่แนะนำสำหรับพกไปเที่ยวซัมเมอร์นี้จึงต้องเน้นพิเศษใน 3 เรื่องนี้


✅ ปกป้องผิวจากรังสี UVA & UVB ได้ดีเยี่ยม
✅ กันน้ำได้ อาจเลือกเป็น water resistant หรือ very water resistant ก็ได้
✅ แนะนำให้มีผสม antioxidant เพื่อช่วยลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากแสงแดด

โพสนี้จะมาสอน วิธีการเลือกครีมกันแดดโดยดูจากค่าการปกป้องผิวจากแสงแดด โดยการดูสัญลักษณ์หรือตัวเลขต่าง ๆ ที่ระบุไว้ข้างขวด ดังนี้ค่ะ

1. รังสี UVA สามารถลงลึกถึงชั้นหนังแท้ หรืออาจลึกกว่านั้นในกรณีของ UVA1
ส่งผลให้เกิด aging ผิวชรา หลอดเลือดขยายตัว กระตุ้นการสร้างเม็ดสีผิว ทำให้เกิดความหมองคล้ำ ฝ้ากระเข้มขึ้น ทำลาย DNA ทำให้เกิดรอยโรคที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

☀️☀️☀️หากเราต้องการดูว่า ครีมกันแดดมีระดับการปกป้องผิวจากรังสี UVA มากน้อยแค่ไหน อาจดูได้จาก UVAPF (UVA Protection Factor) ดังนี้

📍📍 ดูค่า PA (Protection Grade of UVA)

แบ่งเป็น PA +,++,+++,++++ หมายถึง ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA ที่มากขึ้นตามลำดับ ค่า PA ที่แนะนำ คือ +++ (สามบวก) ขึ้นไป

📍📍 ดูค่า PPD (Persistent Pigment Darkening)

เมื่อเทียบกับ PA แล้วจะได้ดังนี้
PPD 2-4 เท่ากับ PA+ แนะนำสำหรับกิจกรรมในบ้านที่ไม่ถูกแดด
PPD 4-8 เท่ากับ PA++ แนะนำสำหรับสาวออฟฟิศ ทำงานในร่ม
PPD 8-16 เท่ากับ PA+++ แนะนำสำหรับกิจกรรมที่ต้องออกแดด ไปซื้อของ หรือไปเที่ยว
PPD >16 เท่ากับ PA++++ แนะนำกิจกรรมกลางแจ้ง เล่นกีฬา ลงน้ำ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าครีมกันแดดที่มี PA++++ เมื่อเราอยากรู้ว่าตัวไหนปกป้องได้ดีกว่ากัน อาจลองมาดูที่ PPD ว่าเป็นเท่าไหร่ ก็จะพอบอกได้ค่ะ
ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มี PPD สูง ๆ ในท้องตลาด ก็อย่างเช่น LPS Anthelios Invisible Fluid ซึ่งมี PPD 46 เลยทีเดียว

📍📍 ดูสัญลักษณ์ UVA ที่มีวงกลมล้อมรอบ

แสดงว่า มีค่าป้องกัน UVA ห่างจาก SPF ไม่เกิน 3 เท่า กล่าวคือ UVAPF/SPF > 1/3

📍📍 ดูค่า Critical Wavelength

ถ้าหากครีมกันแดดระบุไว้ตั้งแต่ 370 nm ขึ้นไป ร่วมกับมีสัญลักษณ์ UVA ที่มีวงกลมล้อมรอบ แสดงว่า เป็น Broad Spectrum Protection

📍📍 ดูรูปดาว Boot Star Rating

ยิ่งหลายดาวก็ยิ่งปกป้องได้ดีกว่า

📍📍 ดูชื่อของ UV filters

จะพอบอกได้คร่าว ๆ ว่ามีตัวที่ปกป้องรังสีอะไรได้บ้าง (ตามตาราง)

2. รังสี UVB สามารถลงลึกถึงชั้นหนังกำพร้า
ส่งผลให้เกิดการไหม้ของผิว และในระยะยาวอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

☀️☀️☀️หากเราต้องการดูว่า ครีมกันแดดมีระดับการปกป้องผิวจากรังสี UVB มากน้อยแค่ไหน ดูได้ดังนี้

✔️ ดูค่า SPF (Sun Protection Factor)

ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กัน ค่านี้บอกถึงความยาวนานของการป้องกันผิวไหม้แดง ถ้าหากยิ่งค่าสูง จะยิ่งป้องกันผิวได้นานขึ้นก่อนจะเกิดผิวไหม้ ซึ่งมาตรฐานของครีมกันแดดที่ใช้
SPF 10-15 เหมาะกับกิจกรรมในร่ม ไม่ถูกแดดเลย
SPF >15 เหมาะกับกิจกรรมที่อาจต้องมีถูกแดดบ้าง
SPF >30 เหมาะกับกิจวัตรประจำวันตามปกติ
SPF >50 เหมาะกับคนไปทะเลหรือที่ต้องออกแดดจัด
ส่วน SPF ที่มากกว่า 50 ขึ้นไปเรื่อย ๆ อาจเพิ่มประสิทธิภาพได้ไม่มากนัก (ดูกราฟ) ก็ลองพิจารณาตามความเหมาะสมและกำลังทรัพย์แต่ละคน

3. การดูความสามารถในการกันน้ำ (Water Resistant Testing)
ให้เลือกที่ระบุว่า
✔️ Water Resistant หรือ
✔️ Very Water Resistant ก็ได้

4. มองหาส่วนผสมที่เป็น antioxidant เพิ่มเติม เช่น Vitamin E, Vitamin C, Phenolic compounds, Flavonoid compounds, Caroteinoids เป็นต้น

นอกจาก 4 ข้อหลัก ๆ ข้างต้นแล้ว ต้องอย่าลืมว่ายังมีปัจจัยที่สำคัญอื่น ๆ อีกก็คือ

• การทาครีมกันแดดใน ปริมาณที่เหมาะสม คือ 2 mg/cm2 เพื่อให้ได้ค่าการปกป้องแสงแดดตามที่ระบุไว้
✔️ ชนิดครีม : 2 ข้อนิ้วมือ หรือ 1 เหรียญสิบ (ทั่วหน้า)
✔️ ชนิดฟลูอิด : 2 เหรียญสิบ (ทั่วหน้า)
✔️ หากทาทั้งตัวใช้ประมาณ 30-45 g หรือ ml

• การทาซ้ำระหว่างวัน
✔️ Indoor activities : อาจไม่จำเป็นต้องทาซ้ำ
✔️ Outdoor activities : ทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง หรือ หากมีเหงื่อเยอะ มีการถูเสียดสี อาจทาซ้ำบ่อยขึ้น
✔️ เล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่ต้องลงน้ำ : ทาซ้ำทุก 30 นาที

• การทาในบริเวณที่มักลืม ได้แก่
✔️ ใบหู, หลัง, เท้า

• กรณีสวมหน้ากาก ในยุคโควิด
✔️ พบว่าหน้ากากช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น ผิวในบริเวณที่อยู่ใต้หน้ากาก ถ้าหากต้องการการปกป้องเต็มที่ก็อาจต้องทาครีมกันแดดร่วมด้วย แต่หากมีปัญหาผื่นผิวหนังอักเสบร่วมด้วยอาจจะไม่ทาครีมกันแดดก็ได้ แต่ควรปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วยค่ะ

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าในสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์กันแดด และสามารถเลือกครีมกันแดดได้เก่งขึ้นด้วยตัวเองนะคะ

References

J Cutan Med Surg. 2019 JulAug; 23(4): 357-369.
Cosmetics 2019, 6(4); 64.
J Am Acad Dermatol. 2017 Mar; 76(3S1): S100-S109.
J Am Acad Dermatol. 2013 Dec; 69(6): 867.e1-14
Photodermatol Photoimmunol Photomed. 2015 Mar; 31(2): 65-74.

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
Product mentioned
🌟 LPS Anthelios Invisible Fluid 🌟
PA++++, PPD46, SPF50+
มี antioxidant คือ Tocopherol (Vitamin E)
NETLOCK Technology ผ่านการทดสอบหลายด้าน ได้แก่ ไม่มีคราบขาว ติดทนแม้เข้าห้องซาวน่านาน 2 ชั่วโมง
เนื้อสัมผัสบางเบา ไม่เหนียว ซึมไว
Water resistant ทนน้ำ ทนเหงื่อ ทนทราย

Disclaimer: Sponsored by Laroche Posay

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

UV & Skin Photoaging🌤👴🏻

วันนี้เรามาทำความรู้จักกันว่า Photoaging คืออะไร ‼️

1️⃣👵🏻 ความชราของผิว หรือที่เรียกว่า Skin Aging เกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งในเรื่องของพันธุกรรม, ไลฟสไตล์การใช้ชีวิต, อาหารการกิน, มลภาวะทางอากาศ สูบบุหรี่ รวมทั้งการดูแลผิว และที่สำคัญคือ รังสียูวี ที่เราต้องเผชิญอยู่ทุกวัน
☀️ ดังนั้น ถ้าหากเราสามารถปรับที่ปัจจัยเหล่านี้ได้ แนวโน้มก็อาจทำให้ผิวเราดูเด็กกว่าเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน เช่น ทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกาย บำรุงผิวอย่างถูกวิธี และที่สำคัญคือ ทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ จะช่วยได้มากเลยค่ะ

2️⃣👵🏻 เมื่อดูจากกราฟในรูปแรกจะเห็นได้ชัดเจนว่า
☀️ ยิ่งอายุมากขึ้น ความหนาของชั้นผิว ยิ่งน้อยลงไปเรื่อย ๆ
☀️ ยิ่งอายุมากขึ้น คอลลาเจนและอิลาสตินในผิว ยิ่งน้อยลงเรื่อย ๆ
☀️ ยิ่งอายุมากขึ้น ความสามารถในการกักเก็บความชุ่มชื้นผิว ยิ่งน้อยลงไปเรื่อย ๆ
☀️ ยิ่งอายุมากขึ้น ระบบอิมมูน และ ระบบการซ่อมแซมผิว ก็ยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ
ดังนั้น เราควรดูแลผิวตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่ผิวจะค่อยเสื่อมไปตามกาลเวลามากขึ้น และที่สำคัญควรทาครีมกันแดดสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้กราฟในรูปลดลงเร็วกว่าเดิม

3️⃣👵🏻 ผิวที่เสื่อมจากการถูกแสงยูวีประจำเป็นระยะเวลานาน เราเรียกว่า Photoaging ผลคือ เกิดริ้วรอย ความหมองคล้ำ เม็ดสีผิวผิดปกติ เกิดฝ้า กระ รวมทั้งมะเร็งผิวหนังที่อาจเกิดตามมาได้
☀️ ดังนั้น การปกป้องผิวจากแสงแดด และ การทาครีมกันแดดเป็นประจำอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าหากใครที่อยากชะลอการเกิด photoaging ให้ช้าลง

4️⃣👵🏻 ROS ที่ผิวจะเพิ่มขึ้นมากเมื่อผิวถูกแสงยูวี และจะส่งผลให้เกิด oxidative stress ผลต่อผิวหนังตามมา มีดังนี้
☀️ ผิวหนังอักเสบแดง จากการกระตุ้น PGE2 Synthesis
☀️ กำแพงผิวเสีย (Skin barrier dysfunction) บางคนอาจมีการกำเริบของโรคผิวหนัง เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
☀️ มีการหลั่งน้ำมันผิวเพิ่มขึ้น กระตุ้นการอักเสบและอาจเกิดสิวตามมาได้
☀️ กระตุ้นเม็ดสีผิว เกิดรอยดำ ฝ้า กระ จุดด่างดำตามมาได้

5️⃣👵🏻 UVA (320-400nm) ส่งผลกระตุ้นให้มีการสร้าง ROS มากขึ้นที่ผิวชั้น dermis ส่วน UVB (290-320nm) ไม่สามารถลงสู่ผิวชั้นลึกได้ แต่สามารถกระตุ้น epidermal cytokine ในผิวชั้นตื้น ทั้งสองกลไกทำให้เกิดการทำลายDNA ของเซลล์ทั้งคู่
☀️ ดังนั้น การปกป้องผิวที่ดีจึงแนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารกันแดดได้ทั้ง UVA และ UVB จะดีกว่าสารที่กันได้อย่างใดอย่างหนึ่ง

7️⃣👵🏻 ในเรื่องของ Physical หรือ Chemical sunscreen อาจเลือกตามลักษณะกิจกรรมและสภาพผิว
☀️ Physical sunscreen สำหรับกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน
☀️ Chemical sunscreen สำหรับกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน หรือกิจกรรมที่ต้องลงน้ำ สัมผัสทราย เล่นกีฬามีการเสียดสีเหงื่อเยอะ หรือต้องการประสิทธิภาพกันน้ำก็อาจใช้เป็น water-resistant หรือ very water-resistant
ดังนั้น อาจต้องลองเลือกที่เหมาะสม ตามสภาพผิวของแต่ละบุคคล

8️⃣👵🏻 UV กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาในผิว ส่งผลให้มีการสร้างสารอนุมูลอิสระ Reactive oxygen species (ROS) มากขึ้น สารตัวนี้จะไปทำลาย DNA ของเซลล์โดยการเกิด oxidative stress
☀️ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์กันแดดตัวใหม่ ๆ จึงมักผสม สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ascorbic, tocopherol, polyphenol หรือ นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยป้องกันการทำลายผิวจาก ROS เช่น Cellular Bioprotection ซึ่งนวัตกรรมนี้มีข้อมูลพบว่า ช่วยป้องกันการเสื่อมของ glutathione ในผิวได้ดีหลังทำการฉายแสงยูวี จึงช่วยปกป้องผิวจาก ROS ได้มากขึ้นไปอีก (Keratinocyte’s Glutathione natural reserve)

ถึงแม้เราบำรุงผิวอย่างดีสม่ำเสมอมาตลอด แต่เมื่อวัยที่มากขึ้นแล้ว การบำรุงเท่าเดิมอาจไม่เพียงพอ จึงควรต้องใส่ใจให้มากกว่าเดิม

ทุกคนทราบดีว่า การจะเพิ่มความหนาของชั้นผิว และ การกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน เพื่อให้ผิวอ่อนเยาว์นั้น ต้องใช้เวลาและความสม่ำเสมอ หาใช่การดูแลเพียงชั่วข้ามคืนไม่

📍📍ความแก่ของผิวหนัง เป็นผลจากทั้งปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก
📍📍การปรับกิจวัตรประจำวัน ทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกาย ก็มีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรงจากภายในได้ดี
📍📍ในขณะเดียวกัน การบำรุงผิวอย่างถูกวิธี และ ทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ ก็เป็นอีกวิธีที่สำคัญ ที่จะช่วยชะลอความแก่ของผิวจากภายนอก อันเนื่องจากแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยค่ะ

อ่านมาถึงตรงนี้ รู้แล้วใช่ไหมคะ ว่าใครอยากชะลอผิวแก่ ต้องปกป้องผิวจากแสงแดดร่วมด้วยเสมอค่ะ
คุณทาครีมกันแดดหรือยัง ⁉️

References

Photodermatol Photoimmunol Photomed. 2015 Mar;31(2):65-74.
Ageing Researh Reviews 2015;21:16-29.
Journal of Dermatological Science 2010;58:85-90.
Biomolecules 2015;5:545-589.

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
Product mentioned
⭐️Bioderma Photoderm Max Aquafluide⭐️
✔️SPF50+ , PPD 24, PA++++
✔️ปกป้องทั้ง UVA1, UVA2, UVB
✔️The Cellular Bioprotection (PATENT) นวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มความต้านทานผิวต่อ ROS มีงานวิจัยพบว่า 100% Glutathione reserve หลังฉายแสงยูวี 200 J/cm2 จึงช่วยปกป้องการทำลายกลูต้าในผิวอย่างได้ผล และยังช่วยส่งเสริมกระบวนการปกป้องตัวเองของเซลล์ผิวจากแสงยูวี
✔️สูตร water-resistant กันน้ำได้นาน 40 นาที
✔️เนื้อฟลูอิดบางเบา ซึมเร็ว, non-comedogenic ไม่อุดตัน
✔️เหมาะกับ sensitive skin, ไม่มีพาราเบน

Disclaimer: Sponsored by Bioderma

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

How to ทาครีมกันแดดไม่ให้มีขุย

ทาครีมกันแดดอย่างไรไม่ให้มีขุย ‼️

☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️

อีกคำถามที่มีคนถามมาเยอะ คือ ทาครีมกันแดดแล้วมีขุย เกิดจากอะไร และจะแก้อย่างไรดี เท่าที่ลองไปรวบรวมข้อมูลและสอบถามไปทางหลายแบรนด์ร่วมด้วย ก็สรุปรวมออกมาได้ประมาณนี้ค่ะ

🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰
การทาครีมกันแดดแล้วมีขุย
อาจเกิดได้จาก 3 อย่าง คือ

1️⃣ สภาพผิว ไม่เหมาะกับครีมกันแดดตัวนั้น
ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขุยในคนที่สภาพผิวแห้งได้บ่อยกว่าค่ะ

🌟 วิธีแก้
✔️ ปรับผิว : ทามอยเจอไรเซอร์เพิ่มความชุ่มชื้นผิวก่อน รอให้ซึมลงผิวสักครู่ แล้วจึงตามด้วยทาผลิตภัณฑ์กันแดด
✔️ ปรับครีมกันแดด : เปลี่ยนชนิดของผลิตภัณฑ์กันแดดที่เหมาะกับสภาพผิว เช่น
คนผิวแห้ง —> แนะนำชนิดเนื้อครีม
คนผิวมัน —> แนะนำชนิดเนื้อโลชั่น หรือ ฟลูอิด

2️⃣ ครีมกันแดดมีปฏิกิริยาจับกับส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่ทาลงไปก่อน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นหลังการทาร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่มีซิลิโคน (Slilicone-based) หรือมีสารที่มีคุณสมบัติคล้ายฟิล์มเคลือบอยู่บนผิว รวมทั้งสารที่มีคุณสมบัติช่วยผลัดเซลล์ผิว

🌟 วิธีแก้ คือ ปรับสกินแคร์ที่ใช้ก่อนทาครีมกันแดด อาจทำได้โดย

✔️ ปรับเป็นกลุ่ม Non Silicone-based แทน เช่น กลุ่มพวก water-based ก็ใช้ได้
✔️ เลือกสกินแคร์ที่เนื้อบางเบา ซึมได้ดี เช่น เซรั่ม เอสเซนท์ เพราะหากเป็นกลุ่มเนื้อครีมหนักๆ อาจทำให้ครีมกันแดดซึมลงได้ไม่ดีเท่าที่ควร
✔️ เปลี่ยนเวลาการทาสกินแคร์ที่เป็น silicone-based ไปทาเวลาอื่นแทน หากซื้อมาแล้วอาจไม่จำเป็นต้องทิ้งนะคะ
✔️ หลีกเลี่ยงการทาผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิวในตอนเช้าก่อนทาครีมกันแดด

3️⃣ หากปรับ 2 ข้อข้างต้นแล้วยังมีขุย แสดงว่าครีมกันแดดยังซึมลงผิวได้ไม่ดี อาจเป็นเพราะ สภาพผิวที่ยังมีสิ่งสกปรกหรือเซลล์ผิวที่ตายแล้วปกคลุมอยู่ ซึ่งสาเหตุนี้มักเกิดในคนที่ล้างหน้าไม่สะอาด และไม่ค่อยได้ผลัดเซลล์ผิวค่ะ

🌟 วิธีแก้
✔️ ล้างหน้าให้สะอาดอย่างถูกวิธี
✔️ กรณีใช้ครีมกันแดดชนิดกันน้ำ หรือ กรณีแต่งหน้า ควรใช้ผลิตภัณฑ์ล้างครีมกันแดดและเครื่องสำอางร่วมด้วย ก่อนล้างหน้าตามปกติ
✔️ ผลัดเซลล์ผิว 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจใช้เป็น glycolic หรือ BHA ความเข้มข้นต่ำก็ได้ค่ะ

หากใครมีวิธีการอะไรที่ทำแล้วช่วยให้ทาครีมกันแดดไม่มีขุย ก็ลองคอมเม้นแชร์วิธีให้เพื่อนได้เลย เพราะปัญหาเรื่องการทาครีมกันแดดแล้วมีขุย เป็นอะไรที่บอกยากมากจริง ๆ ว่าในแต่ละคนเกิดจากอะไร

🛑 บางคนผิวแห้ง ไม่เคยผลัดเซลล์ —> ก็ต้องไปปรับการดูแลผิวของตัวเอง
🛑 บางคนใช้ครีมกันแดดไม่เหมาะกับสภาพผิว —> ก็ต้องไปมองหาครีมกันแดดที่เหมาะกับตัวเอง
🛑 บางคนใช้สกินแคร์ที่ส่วนผสมไม่เข้ากันกับครีมกันแดด —> ก็ต้องไปปรับเอาเอง

ครีมกันแดดไม่ได้ผิดอะไร ‼️
ผิวหน้าของแต่ละคนก็ไม่ผิดอะไร ‼️
เพียงแค่เราปรับใช้ทุกอย่างอย่างมีหลักการให้ได้สูตรที่ลงตัวกับตัวเองเท่านั้นเองค่ะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับหลายคนนะคะ ☀️☀️☀️

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

16 ข้อควรรู้ วิธีซื้อครีมกันแดดที่เหมาะสมกับตัวเอง‼️

คุณหมอคะ ซื้อครีมกันแดดยี่ห้อไหนดี ‼️
คุณหมอใช้ครีมกันแดดยี่ห้อไหนคะ ?

เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากค่ะ

ซึ่งหมอมักจะตอบกลับไปว่า ถ้าคุณมีสภาพผิวเหมือนหมอและลักษณะกิจกรรมที่ทำก็คล้าย ๆ กันกับหมอ ก็ใช้เหมือนหมอได้เลยค่ะ

แต่ แต่ แต่ .. สิ่งที่ดีที่สุดที่หมออยากบอกก็คือ…!!!
อยากให้ทุกคนลองอ่านโพสนี้ดูก่อนค่ะ แล้วลอกเลือกดูว่า อะไรคือที่เหมาะสมกับตัวเองมากกว่า เชื่อว่าทุกคนจะได้สิ่งที่ดีที่สุด

มาดูกันนะคะ

☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️

1🧡 ดูก่อนว่าวันนั้นเราจะไปทำอะไร และ เลือกชนิดสารกันแดดตามลักษณะกิจกรรม
✔️ Physical sunscreen ในวันที่ทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ไปทำงาน
✔️ Chemical sunscreen + water-resistant sunscreen ในวันที่ต้องทำกิจกรรมที่ต้องลงน้ำ สัมผัสทราย เล่นกีฬาที่ต้องมีการเสียดสีหรือมีเหงื่อเยอะ ต้องการประสิทธิภาพกันน้ำกันเหงื่อ

{ชนิดสารกันแดด —> https://www.facebook.com/476743752739537/posts/954800584933849/?d=n }

2🧡 จะเอา SPF, PA, PPD เท่าไหร่ดี การเลือกระดับการปกป้อง ส่วนตัวหมอแนะนำให้เป็น Board spectrum โดยที่
✔️ สำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง ควรกันรังสี UVA (PA+++ ขึ้นไป, PPD16), UVB (SPF 30 ขึ้นไป)
✔️ ถ้าหากแดดจัด ก็อาจต้องเพิ่มค่าขึ้นไปอีก ซึ่งส่วนใหญ่ อย จะให้ระบุไม่เกิน 50+

3🧡 UVB protection ดูจากค่า SPF ช่วยป้องกันการผิวไหม้

4🧡 UVA protection ดูจากค่า PPD (Persistent Pigmented Darkening) คือ ดูการทำให้เกิดรอยดำคล้ำหลังตากแดด 40 min ว่าเป็นกี่เท่าของผิวปกติ
หรืออาจดูจากค่า #PA (Protection Grade of UVA) ซึ่งเทียบกับค่า PPD (ตามรูปในคอมเม้นต์)

5🧡 มาตรฐานของครีมกันแดดที่ใช้ในชีวิตประจำวันควรมี SPF อย่างน้อย 30 และ PA+++ หรือ PPD 8-16
ในบางยี่ห้อที่ระบุเพียง PA++++ เราจะทราบว่ายี่ห้อไหนปกป้อง UVA ได้ดีกว่า ต้องดูจากค่า PPD เท่านั้น
และหากในวันที่ออกแดดจัดก็อาจต้องเพิ่มการปกป้องที่มากขึ้น เช่น PA++++, PPD >16, SPF 50

6🧡 อย่าลืมว่า SPF ที่สูงกว่า 50 ขึ้นไปอาจเพิ่มประสิทธิภาพได้ ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับราคาที่สูงขึ้น (ตามรูปในคอมเม้นต์)

7🧡 ผิวแพ้ง่าย ควรเลือกเป็นกลุ่ม Physical sunscreen จะก่อให้เกิดการแพ้และระคายเคืองน้อยกว่า และควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอม แอลกอฮอล์ หรือพาราเบน

8🧡 ผิวมัน ควรเลือกเป็นสูตร oil-free, non comedogenic และในครีมกันแดดบางตัวอาจผสม alcohol เพื่อช่วยให้ควบคุมความมันได้ดีขึ้น ซึ่งก็อาจมองว่าเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง ดังนั้น จะเห็นว่าครีมกันแดดที่ผสมแอลกอฮอล์จะไม่เหมาะสำหรับคนผิวแห้ง

9🧡 ผิวเป็นสิวง่าย ควรเลือกเป็นสูตร oil-free, non comedogenic และไม่มี silicone เพราะอาจก่อให้เกิดการอุดตันได้ง่าย

10🧡 การเลือกนวัตกรรมใหม่เพิ่มเติม (Novel properties) สามารถช่วยเสริมฤทธิ์ของครีมกันแดดให้ดีขึ้น เช่น ผสม antioxidants, กัน VL, HEV แต่บางกรณีอาจไม่จำเป็นก็ได้

11🧡 การผสม Antioxidants หรือ DNA repair enzymes จะช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของสารกันแดดที่ผิว หรือ สารอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวีที่ทะลุผ่านการป้องกันของสารกันแดดโดยตรง ซึ่งจะช่วยปกป้องผิวจากการถูกทำร้ายของ UV-induced ROS ดังนั้น ก็อยากแนะนำให้เลือกครีมกันแดดที่ #ผสมantioxidantsด้วยจะดีกว่า ที่ไม่ผสม

12🧡 ครีมกันแดดที่ผสมสารกันแดดที่ป้องกัน Visible light & HEV แนะนำในคนที่ทำงานในออฟฟิสที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์มือถือบ่อย ๆ ถ้ากิจกรรมไม่ได้มีในส่วนนี้ก็อาจไม่ต้องมีข้อนี้ก็ได้

13🧡 การเลือกรูปแบบ formulations ก็สำคัญ ชนิดครีมหรือโลชั่น เป็นชนิดที่แนะนำที่สุด เพราะสามารถคำนวณปริมาณในการทาได้ค่อนข้างดี ทาแล้วได้ค่า SPF ใกล้เคียงตัวเลขที่ระบุไว้มากที่สุด

14🧡 ชนิดสเปรย์ คาดเดาปริมาณได้ยาก และอาจมีบริเวณผิวหนังบางส่วนที่อาจสเปรย์ไม่ทั่วถึง และอาจมีอันตรายจากการสูดดมละอองของ Particulate Zinc oxide & Titanium dioxide ถ้าเป็นความเห็นส่วนตัวหมอแนะนำให้ใช้เสริมมากกว่า เช่น คนที่แต่งหน้าและไม่สะดวกล้างหนาเพื่อทาครีมกันแดดระหว่างวัน ก็อาจสเปรย์ทับเครื่องสำอางไปเลย ดีกว่าไม่ทาอะไรซ้ำ

15🧡 ชนิด Stick ใช้ยากหากต้องทาในบริเวณกว้าง แนะนำให้ใช้ในบริเวณเล็ก ๆ ที่มักมองข้าม เช่น เปลือกตา ริมฝีปาก หู

16🧡 ชนิด Makeup Powder ไม่แนะนำเพราะวัตถุประสงค์หลักคือ แป้งที่ใช้เพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อป้องกันแดดเป็นหลัก สารกันแดดที่ผสมมักจะมีปริมาณน้อยมาก และอาจมีอันตรายจากการสูดดมละอองสารกันแดดที่ผสมในแป้งได้ค่ะ แต่ถ้าคิดว่าใช้เพื่อเสริมการปกป้องนิด ๆ หน่อย ๆ ไม่คิดอะไรมากก็ไม่มีปัญหาค่ะ แต่ไม่แนะนำให้ใช้เป็นตัวหลัก

เป็นยังไงบ้างคะ อ่านจบแล้ว พอจะเข้าใจและเลือกครีมกันแดดด้วยตัวเองได้เก่งขึ้นมั้ยคะ
เหมือนเดิม ถ้าชอบบทความนี้และเห็นว่าเป็นประโยชน์ -> #พิมพ์ 💕💕💕 ตามระดับความชอบ เพื่อการปรับปรุงบทความถัดไปค่าาา

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

References:

• Sunscreen: FDA regulation, and environmental and health impact. Photochemical & Photobiological Sciences. doi: 10.1039/c9pp00366e
• Beyond UV radiation: a skin under challenge, Int. J. Cosmet. Sci. 2013; 35(3): 224–232.
• Am J Clin Dermatol. 2017 Oct;18(5):643-650. doi: 10.1007/s40257-017-0290-0.
• J Cutan Med Surg. 2019 Jul/Aug;23(4):357-369. doi: 10.1177/1203475419856611.
• J Am Acad Dermatol. 2017 Aug;77(2):377-379. doi: 10.1016/j.jaad.2017.04.011.

ถ้าชอบสามารถแชร์ได้เลย แต่ขออนุญาตไม่ copy หรือดัดแปลงบทความนะคะ

บทความลิขสิทธิ์ ©👩🏻‍⚕️HELLO SKIN by หมอผิวหนัง