Reef-safe Sunscreen

Coral reefs vs Skin cancers: What balance?

🌏🐚🐬🐟🐡🦀🐳🐋🦑🦈🐙

กรณีการทาครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารบางตัวไปเที่ยวทะเล ก็อาจส่งผลต่อระบบนิเวศน์ในท้องทะเลได้เช่นกัน ผลที่อาจตามมาในอนาคตคือ Global warming ที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

ขณะที่เราว่ายน้ำหรือเล่นน้ำในทะเล ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าต้องมีการหลุดหรือการละลายของครีมกันแดดที่ผิวเราไปกับน้ำทะเล และด้วยส่วนผสมของครีมกันแดดที่เป็น lipophilic จึงสามารถสะสมในร่างกายสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลได้ด้วย

ปะการัง นอกจากที่เราเห็นว่าให้ความสวยงามใน้ท้องทะเลแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งให้อีกหลายชีวิตคงอยู่ใต้ท้องทะเลได้อย่างสมดุล เช่น fish, seabirds, sponges, jellyfish, worms, shrimp, lobsters, crabs, molluscs, starfish, sea urchins, sea cucumbers, turtles and snakes

สัญญาณอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ปะการังกำลังตกอยู่ในสภาวะแวะล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือถูกทำร้าย ก็คือ การเปลี่ยนเป็นสีขาวซีดลง และ หากไม่มีการช่วยเหลือน้องปะการังก็จะตายไปในที่สุด รวมทั้ง algae (zooxanthellae) ที่ใช้ชีวิตพึ่งพาเกาะติดเจ้าปะการังน้อยนี้ก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน

ปะการังสีซีดลงหรือปะการังฟอกขาว อาจเป็นได้จากหลายสาเหตุ

• อุณหภูมิท้องทะเลที่สูงขึ้น

• รังสี UV ที่สูงมากเกินไป

• มีการทำลายของเชื้อโรคและแบคทีเรีย

• มลภาวะแวดล้อมเป็นพิษ

• สารเคมีต่าง ๆ

ในวันที่ 1 มกราคม 2021 Hawaii เป็นที่แรกที่ประกาศเริ่มแบนการใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของ 2 ชนิด ที่อาจส่งผลต่อปะการังและระบบนิเวศน์ข้างต้นได้ คือ oxybenzone และ octinoxate

💢 Oxybenzone น้ำหนักโมเลกุล 290.4 สามารถดูดซับคลื่นรังสี UVB (UVmax = 288 nm) และ UVA‐II (UVmax = 326 nm) และปล่อยเป็นพลังงานความร้อนออกจาก จึงสามารถปกป้องผิวจากการทำร้ายได้ทั้งรังสี UVA และ UVB ถือเป็น broad‐spectrum UV filter

💢 Octinoxate มีน้ำหนักโมเลกุล 228.2 สามารถดูดซับคลื่นช่วงรังสี UVB (UVmax = 310 nm) จึงจัดเป็น UVB filter

สารทั้งสองชนิดข้างต้น เป็นสารใช้ผสมบ่อยในครีมกันแดด และยังมีในสกินแคร์อื่น ๆ บางยี่ห้อด้วย เช่น บอดี้โลชั่น, แชมพู, ครีมนวดและตกแต่งผม, สบู่, ครีมทากันแมลง เป็นต้น

กลไกที่พบว่าสารทั้งสองส่งผลต่อปะการังซีดลง

มี 2 แบบ คือ

1. ส่งผลต่อปะการังโดยตรง ทำลาย DNA ทำให้ส่งผลต่อตัวอ่อนในการขยายพันธุ์

2. ส่งผลทางอ้อม คือ ทำให้เกิดการเพิ่มกระบวนการ lysogenic infection in prokaryotes เชื้อไวรัสในทะเลมากขึ้น

อย่างไรก็ตามเรื่องของส่วนผสมของครีมกันแดดบางตัวที่อาจทำร้ายปะการังก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่บ้าง มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในแง่ที่ว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นการศึกษาในระบบนิเวศน์จำลองในห้องปฏิบัติการ ไม่ได้ทำการทดลองในท้องทะเลจริง หรือบางท่านให้ความเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเพียงปัจจัยส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจส่งผลให้ปะการังสีซีดลงได้ เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบมากกว่า ดังที่กล่าวข้างต้น

การทาครีมกันแดดนั้นสำคัญไม่น้อยเมื่อเราต้องออกแดดหรือไปเที่ยวที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะหากบริเวณที่มี UV index สูงยิ่งต้องให้ความสำคัญค่ะ เพราะนอกจากจะป้องกันผิวไหม้หมองคล้ำแล้ว ยังป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังได้อีก คงต้องบาลานซ์ให้ดี เพราะยังมีระบบนิเวศน์รอบตัวที่เราควรต้องให้ความใส่ใจกับพวกเขาเหล่านั้นด้วยค่ะ

นับว่ายังโชคดีที่มีส่วนผสมของครีมกันแดดอีกมากมายที่อาจส่งผลกระทบแต่ไม่มาก ต่อปะการังและระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเล ให้เป็นทางเลือกได้ เช่น

Non-nano zinc oxide

Non-nano titanium oxide

Avobenzone

Octisalate

Ecamsule (Mexoryl SX)

Drometrizole Trisiloxone (Mexoryl XL)

Ethylhexyl Triazone (Uvinul T150)

และปัจจุบันยังมีการศึกษาถึง natural products ที่อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยต่อระบบนิเวศน์ในท้องทะเลอีกหลายชนิด คงต้องรอติดตามข้อมูลในอนาคตต่อไป

สุดท้ายนี้

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ได้ออกประกาศ

ห้ามนำและใช้ครีมกันแดด ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่

Oxybenzone (Benzophenone-3)

Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate)

4-Methylbenzylid Camphor (4MBC)

Butylparaben

หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดมาตรา 20 ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

จากนี้ต่อไปเราคงต้องเลี่ยงส่วนผสมข้างต้นไปก่อน ถ้าหากจะไปเที่ยวในสถานที่ที่ใช้กฎนี้ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใดเพิ่มเติม

หากชอบและเห็นว่าบทความมีประโยชน์ สามารถกดแชร์ได้ค่ะ

——————————————

References:

J Clin Pharm Ther. 2019;44:134–139.

Plast Surg Nurs. 2019 Oct/Dec;39(4):157-160.

PeerJ. 2019 Aug 12;7:e7473.

Mar. Drugs 2021;19:379.

Environ Health Perspect. 2008 Apr;116(4):441-7.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s