Category Archives: Infection

Disseminated strongyloidiasis

เคสตัวอย่างจาก NEJM

https://www.nejm.org/image-challenge?fbclid=IwAR0dYCJDFJ0teUA_m4Uup-zeHPdyz1KkhT_KjwV6xOPhRVbh-EI-fJCkDm4

ผป ชาย โรคประจำตัวเป็นมะเร็งปอดชนิด adenocarcinoma
ขณะนอนโรงพยาบาล ได้ high dose corticosteroid
มีผื่นคัน ดังรูป ร่วมกับถ่ายเหลว

Photo credited: http://www.nejm.org

วินิจฉัย Strongyloides hyperinfection syndrome with larva currens 🪱🐛

ตรวจอุจจาระพบ Rhabditiform and filariform larvae of the species Strongyloides stercoralis
อาการผื่นและถ่ายเหลวดีขึ้นหลังจากได้รับการรักษาด้วย oral ivermectin

PRACTICAL POINT

ภาวะ Hyperinfection syndrome หรือ Disseminated strongyloidiasis
มักมีอาการ 3 ระบบหลัก คือ

  1. ระบบผิวหนัง : มีผื่นลักษณะเป็น urticarial wheal and flare ที่เป็นเส้น ๆ เกิดจากเป็น tract ทางที่พยาธิไชใต้ผิวหนังชั้น subcutaneous fat หรือเป็น petechiae, thumb print sign โดยรอยโรคมักพบบนผิวหนังบริเวณที่อยู่ระหว่าง nipple & knee
  2. ระบบทางเดินอาหาร : มีท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืดได้
  3. ระบบทางเดินหายใจ : ไอ หอบ มีเสียงวี้ด ไอเป็นมีเลือดปน

เมื่อเห็นดังนี้แล้ว อย่าลืมนึกถึงภาวะนี้ไว้เพิ่มเติมนะคะ

Reference : http://www.cdc.gov

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

เกลื้อน..รักษาอย่างไร

Pityriasis versicolor
ทราบหรือไม่ว่า ผื่นของเกลื้อนอาจมีสีได้หลากหลาย ได้แก่ ขาว ชมพู แดง จนถึงน้ำตาล

รูปแสดงลักษณะผื่น

สีขาว
สีแดง
สีน้ำตาล

ผื่นมักเริ่มจากรอบรูขุมขนแล้วขยายออกกว้างขึ้น อาจมีอาการคันเล็กน้อย หรือไม่คันก็ได้

ความร้อนและความชื้น เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคนี้ขึ้นมาได้

การรักษา

การรักษาเกลื้อน
Reference: Up to date

การซื้อยาสเตอรอยด์มาทาจะทำให้โรคลุกลามมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องเพื่อการรักษาที่เหมาะสม

ขออนุญาตใช้ภาพจากกูเกิ้ลเพื่อประกอบความเข้าใจเนื้อหา

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ว่าด้วยเรื่องของ Tzanck smear

หัตถการพื้นฐานที่สามารถทำได้ไม่ยาก และช่วยแนะโรคทางผิวหนังได้หลายอย่างเลยค่ะ

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  1. ใบมีดเบอร์ 11 หรือ 15
  2. สไลด์แก้ว
  3. สำลีและก๊อซ
  4. 70% แอลกอฮอล์
  5. สีย้อม methylene blue หรือ wright
  6. กล้องจุลทรรศน์

เลือกตำแหน่ง

แนะนำตุ่มน้ำที่ยังไม่แตก

How to

✔️ เช็ดทำความสะอาดรอบ ๆ ด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
✔️ ใช้ใบมีดเปิดตุ่มน้ำออก แล้วซับด้วยก๊อซแห้ง
✔️ ใช้สันมีดขูดเซลล์ในชั้น dermis ที่ base of lesion แล้วป้ายเนื้อเยื่อที่สไลด์
✔️ ลนไฟเบา ๆ หรืออาจปล่อยให้แห้งเอง
✔️ ย้อมด้วยสี Methylene blue, wright หรือ Giemsa
✔️ นำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์

ดูคลิปการขูดเพิ่มเติม https://www.facebook.com/JAADjournals/videos/1635102429912651/?vh=e&extid=0&d=n

การแปลผล (ลองดูตามรูปประกอบ)

สิ่งที่ต้องมองหาอันดับแรกคือ Acantholytic cell

1. กรณีพบ Acantholytic cell
▫️หากมี Multinucleated gaint cell ร่วมด้วย จะนึกถึง Herpes infection
▫️หากไม่มี Multinucleated gaint cell ร่วมด้วย ให้ลองมองหาเซลล์อื่น ๆ เพราะอาจเป็นได้หลายอย่าง เช่น
Pemphigus
Heiley-Heiley disease
Darier’s disease อาจพบ Corps rond grain
SSSS
Bullous Impetigo อาจพบ cocci ร่วมด้วย

2. กรณีไม่พบ Acantholytic cell
ลองมองหาเซลล์อื่น ๆ เช่น
Tadpole cell ในกลุ่ม Spongiotic dermatitis
Syncytialcell ในกลุ่ม HFMD
Pseudohyphae ใน Candidiasis
Guarnieri body ใน Orf

Take home message

💯 ถ้าเห็นตุ่มน้ำหรือรอยโรคที่คล้ายแผลถลอก ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร ให้ลองทำ Tzanck smear เบื้องต้นลองดู
💯 Tzanck smear ควรดูเสมอว่าเห็นอะไรบ้าง ไม่ใช่เพียงแค่ดูว่า positive/negative เพราะอาจถูกถามต่อว่า positive/negative เซลล์อะไร
💯 Tzanck smear เป็นหัตถการพื้นฐานที่ได้ผลรวดเร็ว ไม่ต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมมากมาย ราคาไม่แพง ทุกคนสามารถฝึกได้
💯 การแปลผลขึ้นกับการเก็บตัวอย่างอย่างถูกวิธี ความชำนาญในการดูกล้อง และ Sensitivity & Specificity ของแต่ละโรคในแต่ละช่วงเวลา
💯 หากยังไม่ได้คำตอบจาก Tzanck smear ควรส่งผู้ป่วยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการพิจารณาตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ๆ ขึ้นกับว่าสงสัยความผิดปกติอะไร ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคอาจต้องอาศัยอาการแสดงทางคลินิกและลักษณะของผื่นร่วมด้วยเสมอ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยในเบื้องต้นได้นะคะ

Reference
J Am Acad Dermatol 2008;59:958-64.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Bedbugs ตัวแวมไพร์ไร้ปีก..เจอแบบนี้ในห้องพัก ควรขอเปลี่ยนห้องนอนทันที ‼️

Bed bugs ตัวเรือด​
Bed bugs ตัวเรือด

Bedbugs …รู้จักกันไหม ‼️
ฉายาคือ เรือด แวมไพร์ไร้ปีกในห้องนอน

ตัวแบน ๆ สีน้ำตาล กัดและกินเลือดมนุษย์เป็นอาหาร ไม่มีปีก กระโดดไม่ได้ บินไม่ได้ แต่เดินเร็ว 3-4 ฟุตต่อนาที

วงจรชีวิต (ตามรูป) มี 6 ระยะ อายุประมาณ 4-5 เดือน แต่ถ้าขาดอาหารอาจอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 70 วัน ซึ่งถือว่ายาวนานมาก
ดูดเลือดเต็มท้องครั้งละ 5-15 นาที อยู่ได้ 5-10 วัน

มักอาศัยอยู่ตามบ้านพักอาศัย คอนโด โรงแรม เบาะที่นั่ง ยานพาหนะต่าง ๆ โรงภาพยนตร์ ค่ายทหาร ลามไปอาศัยอยู่ในกระเป๋าเดินทางและเสื้อผ้าด้วย

Reference: N Engl J Med 2020; 382: 2230-7.
Reference: N Engl J Med 2020; 382: 2230-7.
Reference: N Engl J Med 2020; 382: 2230-7.

ผู้ป่วยมักมีผื่นบริเวณนอกร่มผ้า เช่น หน้า คอ แขนขา เท้า โดยมักสังเกตเห็นหลังตื่นนอน มีอาการตุ่มแดงคัน ขนาด 0.5-2 ซม. บางรายพบเป็นตุ่มน้ำหรือปื้นบวมนูนเหมือนลมพิษ หากโชคดีอาจเป็นรูกัดตรงกลาง (central punctum) ดูเผิน ๆ อาจคล้ายยุงกัด

ตุ่มมักอยู่เป็นกลุ่ม หรือเรียงกัน 3-5 อันขึ้นไป บางทีเรียกว่า “Breakfast, lunch and dinner” แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ลักษณะจำเพาะกับโรคนี้

อาการคันมักเป็นมาก จนอาจรบกวนวงจรการนอน ต้องตื่นกลางดึก พักผ่อนไม่พอ ฝันร้าย กังวล เครียดตามมาได้ เคยมีรายงานฆ่าตัวตายด้วย

หากมีผื่นตุ่มที่สงสัย ให้ลองมองหา 💩 อึของตัวเบดบัคเป็นจุดสีดำๆ มักอยู่ตามโซฟา เตียง ผ้าปูที่นอน ดังรูป (หากพบอึ อาจช่วยชี้แนะได้คร่าว ๆ ว่าไม่น่าใช่ตุ่มยุงกัด)

การรักษาผื่น

มักหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ อาจใช้ยาทาสเตอรอยด์ และยากินแก้แพ้เพื่อรักษาตามอาการ ให้ยาฆ่าเชื้อหากมีการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา

พบว่ามีการนำพา MRSA, VRE ทำให้ผู้ป่วยอาจติดเชื้อรุนแรงตามมาได้ ส่วนหลักฐานในเรื่องการนำพาเชื้อโรคอื่น ๆ ยังไม่ชัดเจน

อย่าลืมทำความสะอาดบริเวณบ้านด้วยเครื่องดูดฝุ่นชนิดกำจัดแมลง, ซักเสื้อผ้าและทำความสะอาด steaming เฟอร์นิเจอร์ด้วยความร้อน 60 องศาเซลเซียส หรือ ความเย็น -20 องศาเซลเซียส

วิธีการกำจัดตัว Bedbugs อื่น ๆ เพิ่มเติมอ่านตามตาราง

เรือด แวมไพร์ไร้ปีก bed bug
Reference: N Engl J Med 2020; 382: 2230-7.

ยาฆ่าแมลงทั่วไปตามท้องตลาดมักใช้ไม่ได้ผล หากลองวิธีการทั้งหมดแล้วไม่ได้ผล อาจต้องเรียกใช้บริการบริษัทกำจัดแมลงเพื่อใช้ยาฆ่าแมลงสูตรเฉพาะ

ตัวเรือดนี้อึดมาก ตายยากและอายุยืน การเอาผ้าปูที่นอน เบาะฟูก ปลอกหมอน ไปทิ้งแล้วเปลี่ยนใหม่ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา เพราะมันยังจะซุกซ่อนตามที่ต่าง ๆ วิธีการที่แนะนำคือ ต้องกำจัดตัวแวมไพร์นี้ให้หมดสิ้นไปอย่างถูกวิธี

หากไปเข้าพักที่โรงแรม แล้วสำรวจตามซอกมุม ใต้เบาะหรือเตียง พบมีตัวเรือดหรืออึดำๆ ดังรูป —> ควรขอเปลี่ยนห้องทันที ‼️

ใครเคยเจอบ้าง..ยกมือหน่อยค่ะ 🤚🏻

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References
N Engl J Med 2020; 382: 2230-7.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Mycoplasma pneumoniae-induced Rash and Mucositis

⛱ MIRM ⛱

✔️ Mycoplasma pneumoniae infection เป็นอีกภาวะที่อาจมีอาการแสดงนอกปอดร่วมด้วยได้ เช่น ทางผิวหนังพบได้ประมาณ 25% โดยอาจทำให้เกิดผื่นได้หลายรูปแบบมากมาย

Reference
Indian J Dermatol Venereol Leprol 2020;1-5.

✔️ บางครั้งอาจทำให้เกิดผื่นที่คล้ายกับ Erythema multiforme หรือ Steven-Johnson Syndrome ได้ดังรูป ซึ่งพบได้ไม่บ่อยมาก เรียกภาวะนี้ว่า MIRM (Mycoplasma pneumoniae-induced Rash and Mucositis)

✔️ MIRM มักพบในกลุ่มวัยรุ่น อายุไม่มาก มักมี prodromal respiratory symptoms เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ นำมาก่อนผื่น

✔️ ลักษณะผื่นที่พบบ่อย
เป็น atypical targets มากกว่า typical targets มักพบบริเวณ non‑acral distribution และมักพบ mucosal involvements ที่รุนแรงร่วมด้วย

Reference
Indian J Dermatol Venereol Leprol 2020;1-5.

✔️ Histopathologic features
ยัง unclear แต่จากข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าใน SJS, EM, MIRM ทั้งสามภาวะมีลักษณะที่เหมือนกัน คือ apoptotic keratinocytes and superficial dermal
infiltrate with a sparse perivascular lymphocytes ,
เมื่อเทียบกับ MIRM
พบว่า dermal infiltrations ใน SJS ค่อนข้างมากกว่า MIRM, และพบว่ามี lichenoid change ใน EM มากกว่า MIRM
อย่างไรก็ตามพบว่า Histologic changes ใน MIRM พบมีลักษณะของ SJS และ EM ร่วมด้วยทั้งคู่

Reference
Indian J Dermatol Venereol Leprol 2020;1-5.

✔️ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
หากตรวจพบ positive Mycoplasma pneumoniae
immunoglobulin M antibodies or positive PCR อาจช่วยในการวินิจฉัย

✔️ ภาวะนี้ตอบสนองต่อการรักษาด้วย systemic corticosteroids และ oral antibiotics

ภาวะนี้ถึงแม้เจอไม่บ่อย แต่อาจต้องนึกถึงกรณีที่เจอผู้ป่วยที่มีผื่นลักษณะ atypical target + mucosal involvement ร่วมกับมีอาการทางระบบหายใจนำมาก่อน

ที่สำคัญอย่าลืมวินิจฉัยแยกโรค
💡 ยา —> Drug-induced EM/SJS/TEN
💡 Recurrent Herpes infection
เพราะการรักษาไม่เหมือนกัน ลองดูการแยกโรคในตารางสุดท้าย

Reference
Indian J Dermatol Venereol Leprol 2020;1-5.

Reference
Indian J Dermatol Venereol Leprol 2020;1-5.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Cutaneous Larva Migrans

Picture from Google

👟 รอยนี้เห็นเป็นเส้นๆ เราสามารบรรยายได้ว่า “serpiginous, subcutaneous migratory track” เกิดจากการไชชอนของพยาธิ larva of dog or cat hookworm เข้าไปใต้ผิวหนังชั้นตื้นกว่า basement membrane อัตราการเดินจะอยู่ที่ 2-10 มิลลิเมตร/ชั่วโมง

👟 ผู้ป่วยจะมีอาการคันร่วมด้วย

👟 สามารถเกิดได้จากหลายอย่าง เช่น
Ancylostoma braziliense (บ่อยสุด)
Ancylostoma caninum
Ancylostoma ceylanicum

การรักษา

Primary Regimens

• Albendazole 400 mg po bid x 3-7 days
หรือ
• Ivermectin 200 μg/kg po qd x 1–2 days (ห้ามในเด็ก <15 kg)

For failures

Repeat albendazole or try ivermectin

การรักษาอื่นที่ใช้ได้ผล

• Topical thiabendazole tid application x 7 days
• Liquid nitrogen ใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากอาจเกิดแผลเป็นได้ ปัจจุบันจึงไม่แนะนำวิธีนี้

การรักษาร่วม

• ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
• สวมรองเท้าเสมอ งดเดินเท้าเปล่าบนพื้นดินหรือทราย

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

มาทำความรู้จัก Eschar lesion กัน

ที่มา BMJ 2018;363:k4766

🕸 พบในผู้ป่วย Scrub typhus บ่อยหรือไม่
🔹 รายงานเคสจากอินเดีย พบ 17-57%
🔹 รายงานเคสจากที่อื่นในเอเชีย พบ 56-86%

🕸 Common locations มักอยู่ส่วนไหนของร่างกาย
🔹 Neck, chest, axilla, abdomen, and groin for

🕸 บริเวณรอยโรคมีอาการปวด บวม คัน หรือไม่
🔹 กรณี Ricketsial in origin ผู้ป่วยมักไม่มีอาการข้างต้น แต่โรคอื่นๆอาจมีอาการได้เล็กน้อย

🕸 Eschar ดังรูป พบในโรคอะไรได้บ้าง
🔹 African tick-bite fever (travellers returning from game parks)
🔹 Rickettsial infections
🔹 Tularaemia
🔹 Anthrax
🔹 East African trypanosomiasis

Reference:
BMJ 2018;363:k4766
Published 29 Nov 2018

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ภาวะปวดเส้นประสาทตามหลังการติดเชื้องูสวัด

หรือเรียกว่า Postherpetic Neuralgia

🐍🐍🐍🐍🐍🐍🐍🐍🐍🐍🐍

อาจไม่ใช่ภาวะที่อันตรายถึงชีวิต แต่สร้างความทุกข์ทรมานจากการปวดมากมายในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่อายุมาก ซึ่งแนวโน้มคนกลุ่มนี้มักมีโรคประจำตัวที่ค่อนข้างเยอะ และต้องทานยาหลายตัว

วันนี้มาแชร์ประสบการณ์การใช้ Lignopad ซึ่งเป็นพลาสเตอร์ Lidocaine 5% แปะบนผิวหนังบริเวณที่มีอาการปวด ตัวนี้เริ่มมีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยเมื่อปีล่าสุดนี้เอง

กลไลของสิ่งนี้คือ เป็น local analgesic ออกฤทธิ์ที่บริเวณ peripheral nerve
✔️ ไม่พบว่ามีการดูดซึมเข้ากระแสเลือด และยังไม่มีรายงานว่าทำให้เกิด Cardiac arrythmia
✔️ เคยมีงานวิจัยที่ทำการเจาะระดับ lidocaine serum หลังการแปะ 4 patches ทุก 12 ชั่วโมง พบว่าระดับเลือด 225 ng/mL ซึ่งน้อยมาก และต่ำกว่าระดับที่ทำให้เกิด cardiac arrythmia (1500 ng/mL) และ toxicity (5000 ng/mL)
✔️ ไม่พบว่ามี drug interaction กับยาอื่น
✔️ ไม่ต้อง titrate dose
✔️ ออกฤทธิ์เร็ว rapid onset
✔️ FDA-approved indication for postherpetic neuralgia
✔️ Category B
✔️ ใช้ได้ในคนไข้ไตวายตับไม่ดี
✔️ มีการใช้ใน Painful diabetic neuropathy, Mixed neuopathies ในบาง guildline เป็น 2nd-3rd line, level of evidence B-D ตามแนบ

❌ ผลข้างเคียง : ผื่นแดง คัน แสบ บริเวณที่แปะ
❌ ห้ามแปะบริเวณผิวหนังที่มีแผล หรือการอักเสบ
❌ ห้ามกิน ห้ามสัมผัสตาหรือเยื่อบุ
❌ ห้ามใช้ในคนที่แพ้ยาชากลุ่ม amide
❌ ไม่แนะนำในคนที่มีภาวะตับวายอย่างรุนแรง
❌ ถึงแม้เป็น Category B ก็ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยในกลุ่มคนท้องและให้นมบุตร

เป็นการรักษาที่เป็นอีกทางเลือกที่ได้ผลดี สำหรับคนไข้ที่ไม่อยากกินยา หรืออาจใช้เสริมกับการกินยาแก้ปวดชนิดรับประทาน

Reference: Guideline การรักษา PHN จาก
NEJM 2014
AAN 2004
EFNS 2010
Canadin Pain Society 2014
http://www.pbm.va.gov


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.