หากตรวจเจอสิ่งเหล่านี้ อย่าลืมติด POEMS ไว้ใน differential diagnosis นะ



หากตรวจเจอสิ่งเหล่านี้ อย่าลืมติด POEMS ไว้ใน differential diagnosis นะ
ขอถือโอกาสพูดถึงความผิดปกติของผิวหนังที่พบได้ในโรคนี้สั้น ๆ เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงลักษณะที่อาจจะมีความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย ที่ควรต้องไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจเพิ่มเติมนะคะ
ในภาวะนี้เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายเป็นหลัก ทำให้เกิดสิว, ขนดก, ผมบาง และรอยคล้ำที่คอหรือซอกพับต่าง ๆ ตามมา นอกจากนั้นบางคนอาจมีความผิดปกติของประจำเดือนที่มาไม่สม่ำเสมอร่วมด้วย
• ดังนั้น หากมีอาการเหล่านี้ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม เพราะหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ภาวะนี้อาจส่งผลในเรื่องเมตาโบลิสม เช่น เบาหวาน อ้วน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ไขมันเกาะตับ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ในอนาคต
(ซึ่งในโพสนี้จะกล่าวถึงเฉพาะปัญหาทางผิวหนังเท่านั้น)
มักรุนแรงและเรื้อรัง พบได้ทั้งที่เป็นสิวอุดตันและสิวอักเสบ มักพบบริเวณใบหน้าครึ่งล่าง ตามแนวขากรรไกร คอ หน้าอก ท้อง หลังส่วนบน และพบว่าส่วนใหญ่มีหน้ามันร่วมด้วย หรือพบเป็นสิวในวัยผู้ใหญ่ และไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน
• ดังนั้น ใครมีสิวลักษณะดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อตรวจเรื่องฮอร์โมนหรือถุงน้ำรังไข่เพิ่มเติม และการรักษานอกจากยามาตรฐานแล้ว อาจต้องได้รับยาในกลุ่มฮอร์โมนเพิ่มเติม เช่น ยาคุมกำเนิด OCPs, ยาปรับฮอร์โมน เช่น Spironolactone, flutamide
ทั้ง OCPs และกลุ่มที่ไม่ใช่ยาคุม เป็นยาที่ต้องควบคุมการใช้โดยแพทย์เฉพาะทาง บางคนอาจมีข้อห้ามของการใช้ยา และอาจได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เช่น หลอดเลือดดำอุดตันในอวัยวะต่าง ๆ, สมองขาดเลือด, โรคหัวใจ, มะเร็งเต้านม, เกลือแร่ผิดปกติจนเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากรุนแรงอาจเสียชีวิตได้
• ดังนั้น ไม่แนะนำให้ซื้อรับประทานเอง และก่อนสั่งจ่ายยาเหล่านี้ควรพิจารณาให้ดีว่าจำเป็นหรือไม่ #เมื่อเทียบกับความเสี่ยงของยาที่ผู้ป่วยได้รับ โดยให้พิจารณาการรักษาเป็นราย ๆ
พบได้ 60% แต่บางคนอาจไม่มีขนดกก็ได้ การรักษามีหลายวิธีที่มีงานวิจัยว่าช่วยได้ ได้แก่
• ยาปรับฮอร์โมน ทั้ง OCPs และกลุ่มที่ไม่ใช่ยาคุม (คล้าย ๆ รักษาสิว) แต่ขนาดการรักษาอาจแตกต่างกัน ซึ่งแพทย์เป็นผู้พิจารณา
• ยา Metformin
• ยาทา Topical eflornithine hydrochloride ซึ่ง FDA-approved สำหรับการใช้รักษาภาวะขนดกที่หน้า
ยังมีข้อมูลวิจัยในกลุ่มคนที่เป็น PCOS ไม่มากนัก
• ดังนั้น หากใช้การรักษาด้วยวิธีนี้เพียงอย่างเดียว อาจทำให้ปัญหากลับมาได้เหมือนเดิม ในปัจจุบันยังแนะนำให้รักษาด้วยยาปรับฮอร์โมน #ควบคู่ไปด้วยกันเสมอ
• ในแง่รอยดำคล้ำ พบว่าช่วยได้ดี
• ในแง่ขนดก มีบางรายงานพบว่าการจำกัดแคลอรี่และการลดน้ำหนักลง 5% ใน 4 สัปดาห์ ช่วยให้ดีขึ้นได้ 30% แต่บางงานวิจัยพบว่าไม่ได้ผล อาจลองนำไปปฏิบัติและดูผลการตอบสนองเป็นรายไป
• ในแง่สิว พบว่าสิวดีขึ้นได้ถ้าหากควบคุมอาหารจำพวกที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้น เพราะการเกิดสิวส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยระยะเวลาเห็นผลสิวยุบลงคือ ประมาณ 4-6 สัปดาห์
หรือ เรียกว่า acanthosis nigricans พบว่าส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลินและน้ำหนักเกิน
• การรักษาหลัก คือ ลดน้ำหนัก ควบคุมระดับอินซูลินด้วยยาบางชนิด เช่น metformin, thiazolidinedione, octreotide
• กลุ่มยาทาอื่นเพื่อเสริมการรักษา เช่น
Oral isotretinoin 3 mkd
Fish oil 10-20 กรัมต่อวัน
Topical calcipotriene, retinoids, hydroquinone
Chemical peeling
Alpha lipoic acid
อย่างไรก็ตามพบว่า หากหยุดการรักษา ภาวะนี้มักกลับมาเป็นใหม่ได้อีก
อิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายจะทำให้ผมมีเส้นเล็กลง และปริมาณลดลงได้ ซึ่งปัญหานี้พบไม่บ่อยเท่าปัญหาอื่น แต่มีผลต่อสภาพจิตใจไม่น้อย การรักษาใช้ยาปรับฮอร์โมนเป็นหลัก เช่น ยาคุม OCPs, Spironolactone, Finasteride หรืออาจใช้ยาทาในกลุ่ม Minoxidil โดยแนะนำผู้ชาย 5% ผู้หญิง 2% ก็ได้ผลดี #แต่การตอบสนองต้องอาศัยระยะเวลาหลายเดือน
• ดังนั้น ต้องใจเย็นและหากหยุดยา ก็อาจกลับไปผมบางได้อีก
ภาวะ PCOS นอกจากจะมีปัญหาผิวหนังและเส้นผมตามข้างต้นแล้ว ยังอาจมีอาการอื่นได้อีก เช่น
• ประจำเดือนผิดปกติ
• ตรวจอัลตราซาวด์พบว่ามีถุงน้ำหลายใบในรังไข่
• เบาหวาน, ภาวะอ้วน
ซึ่งต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติมและร่วมดูแลของแพทย์สหสาขาวิชาชีพ เช่น หมอผิวหนัง หมอต่อมไร้ท่อ หมอสูตินรีเวช หมอมะเร็ง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต เช่น
• มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
• ความเครียดและซึมเศร้า
• ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ, โรคอัมพฤกษ์
หมอผิวหนังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลโรคนี้ และจะถือเป็นด่านแรก ๆ ก็ว่าได้ที่มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรค ทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากพบความผิดปกติที่ไม่แน่ใจ ก็แนะนำให้ไปตรวจเพิ่มเติมนะคะ
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References
Clin Cosmet Investig Dermatol 2018; 11: 407-413.
J Am Acad Dermatol 2014; 71: 859.e1-15.
Am J Clin Dermatol 2007; 8 (4): 201-219.
บทความลิขสิทธิ์ Copyright ©👩🏻⚕️HELLO SKIN by หมอผิวหนัง
หมอกำลังจะเล่าถึง การรักษาภาวะเหงื่อออกมากเกินไป หรือที่เรียกว่า Hyperhidrosis (HH) ไม่เหมือนกับภาวะที่ทำให้มีกลิ่นตัวเหม็นนะคะ —> คนละอย่างกัน ❌
สำหรับประชาชนทั่วไป —> อ่าน 🧿
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ —> อ่าน 🧿💠
1🧿 หากสงสัยว่ามีภาวะเหงื่อออกมากไป ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เช่น
• ภาวะอ้วน
• วัยทอง
• ต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ
• เบาหวาน
• โรคติดเชื้อบางชนิด
• โรคหัวใจ
• โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เพราะการรักษาส่วนหนึ่งต้องแก้ไขที่สาเหตุร่วมด้วย มิฉะนั้นแล้วการรักษาที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็อาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
2🧿 บางคนอาจไม่มีสาเหตุอะไรเลยก็ได้ กลุ่มนี้มักเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุน้อยกว่า 25 ปี อาจมีคนในครอบครัวเป็นเหมือนกัน ถึงแม้เป็นภาวะที่ไม่ได้อันตรายร้ายแรง แต่หมอเข้าใจดี ว่าเป็นเรื่องที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากพอสมควร และควรได้รับการรักษา
3🧿 ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นเหงื่อให้ออกมากกว่าเดิม เช่น
❌ อยู่ในที่แออัด
❌ เครียด หงุดหงิด อารมณ์เสีย
❌ ทานอาหารรสเผ็ด กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศ
❌ ดื่มแอลกอฮอล์
4🧿 แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ระบายอากาศ ไม่คับเกินไป รักษาเท้าให้แห้ง เปลี่ยนถุงเท้า ไม่ใช้ซ้ำ เปลี่ยนรองเท้าสลับคู่ อาจโรยผงแป้งลดเหงื่อที่เท้าจะช่วยได้
5🧿 การรักษาบางอย่าง อาจเหมาะกับการรักษาภาวะเหงื่อออกมากในบางบริเวณ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา
6🧿 ผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อ (Topical antiperpirants) ใช้ง่ายที่สุด ใช้ได้ที่ฝ่ามือฝ่าเท้า รักแร้ ศีรษะ ที่นำมาใช้บ่อยสุด คือ Aluminium chloride hexahydrate ลองอ่านเพิ่มได้ในรีวิวที่หมอเคยเขียนไปค่ะ
7🧿 ผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อที่มีส่วนผสมของ aluminium พบว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดอัลไซเมอร์และมะเร็งเต้านม
8🧿 ยารับประทานที่ทำให้เหงื่อลดลง ใช้ได้กับเหงื่อออกมากทุกบริเวณในร่างกาย แต่แนะนำให้ใช้กรณีเป็นรุนแรงและยาทาไม่ได้ผล แต่กลุ่มนี้อาจพบมีผลข้างเคียง เรื่อง ตาแห้ง ปากแห้ง วิงเวียน ตามัว ปัสสาวะไม่ออก
💠 Non FDA-approved for generalized & multifocal HH
💠 ยาที่ใช้ คือ Anticholinergic agents, Antiparkinson drugs, Phenothiazine, TCA
💠 Glycopyrrolate ใช้บ่อยสุดในการรักษาภาวะนี้ ไม่ผ่าน BBB ผลข้างเคียงน้อย เริ่มต้น 1-2 มก 2 ครั้ง/วัน
💠 Oxybutinin เริ่ม 2.5 มก ต่อวัน เพิ่มจนถึง 10-15 มก ต่อวัน
💠 Maximum efficacy ในการปรับยา คือ 1 สัปดาห์
💠 ยาอื่นที่มีรายงานได้ผล คือ Indomethacin, Clonidine, Ca-chanel blocker
9🧿 กรณีเป็นเหงื่อออกมากเวลามีความเครียด ตื่นเต้น วิตกกังวล สามารถใช้ยากลุ่ม beta blocker, benzodiazepine
10🧿 การรักษาด้วยไอออนโตฟอรีซิส ใช้ได้สำหรับเหงื่อออกมากที่ฝ่ามือฝ่าเท้า มีแบบพกพาไว้ทำที่บ้านได้ ไม่อันตราย ยี่ห้อที่รองรับ ได้แก่
✔️ RA Fischer
✔️ Hidrex USA
✔️ Drionic
ทำ 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาที
ใช้กระแส 15-20 mA
เห็นผลหลังทำ 6-15 ครั้ง และผลคงอยู่นาน 2-14 สัปดาห์ หลังจากนั้นทำต่อไปทุก 1-4 สัปดาห์แล้วแต่คน
หลังทำช่วงแรก อาจมีเหงื่อออกมากขึ้นไปเป็นเรื่องปกติ ก่อนที่เหงื่อจะเริ่มลดลง
ห้ามทำในคนท้อง, โรคหัวใจ, ลมชัก, ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
ผลข้างเคียง : มือแห้ง ชา ตุ่มน้ำ รักษาได้ด้วยยาทาสเตอรอยด์และครีมบำรุงผิว และลดความแรงกระแส
💠 FDA-approved for palmar and plantar HH
11🧿 การฉีดโบท็อกซ์ลดเหงื่อ
ฉีดในบริเวณที่เหงื่อออกมาก เป็นวิธีที่นิยมและได้ผลดี
เหงื่อเริ่มลดใน 2-4 วัน เห็นผลชัด 2 สัปดาห์หลังฉีด
ผลคงอยู่ได้นาน 4-6 เดือน
💠 FDA-approved onabotulinum toxin-A for severe axillary HH
💠 Dermal-subcutaneous injection (2.5 mm below the skin) 1-2 cm apart
12🧿 อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้รักษาเหงื่อออกรักแร้ ควรต้องไปปรึกษาแพทย์พิจารณา ได้แก่
✔️ ไมโครเวฟ : ยี่ห้อ Miradry (FDA-approved)
เห็นผล 90% ผลคงอยู่นาน >12 เดือน
✔️ อัลตร้าซาวน์
✔️ Fractional microneedle radiofrequency
✔️ เลเซอร์
13🧿 การผ่าตัดหรือจี้ปมเส้นประสาทอัติโนมัติ ใช้กรณีที่การรักษาข้างต้นไม่ได้ผล แนะนำให้ปรึกษาศัลยแพทย์ร่วมดูแลรักษาค่ะ
วิธีนี้ได้ผลค่อนข้างดี 70-90% พบว่าที่มือเห็นผลชัดเจนสุด
หลังรักษาอาจพบว่า
✔️ บางรายกลับมาเป็นซ้ำได้ 0-65%
✔️ บางรายอาจมี compensatory sweating กลไกร่างกายตอบสนองให้หลังเหงื่อออกมากขึ้นที่บริเวณอื่น เช่น ก้น หลัง หน้าท้อง ขา แต่พบไม่บ่อย และสามารถแก้ได้ด้วยยาทา หรือ โบท็อกซ์เฉพาะจุด
💠 Endoscopic thoracic sympathectomy
T2 and T3 ganglia –> Palmar
Above 3rd rib –> Craniofacal
T3 and T4 ganglia –> Axillary
💠 Endoscopic lumbar sympathectomy
L3/4 ganglia –> Plantar
สุดท้ายที่อยากฝากไว้
หากสงสัยว่าตัวเองมีเหงื่อออกมากผิดปกติ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มือเปียก รองเท้าเปียก รักแร้เปียกจนเสื้อชุ่ม เหงื่อที่ศีรษะออกมากจนไหลท่วมหน้า แต่งหน้าไม่ได้เลย หมอแนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อตรวจหาสาเหตุ แก้ไขให้ตรงจุด จะได้ไม่ทรมานอีกต่อไปค่ะ
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
Reference
The etiology, diagnosis, and management of hyperhidrosis: A comprehensive review
Therapeutic options
J Am Acad Dermatol 2019;81:669-80.
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.
ขอถือโอกาสในเดือนแห่ง PCOS นี้ พูดถึงความผิดปกติของผิวหนังที่พบได้ในโรคนี้สั้น ๆ เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักว่าอาจจะมีความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย ที่ควรต้องไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจเพิ่มเติมนะคะ
1️⃣⭐️ ความผิดปกติของผิวหนังและเส้นผมในภาวะนี้ เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายเป็นหลัก ทำให้เกิดสิว, ขนดก, ผมบาง และรอยคล้ำที่คอหรือซอกพับต่าง ๆ ตามมา นอกจากนั้นบางคนอาจมีความผิดปกติของประจำเดือนที่มาไม่สม่ำเสมอร่วมด้วย
✔️ ดังนั้น หากมีอาการเหล่านี้ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม เพราะหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ภาวะนี้อาจส่งผลในเรื่องเมตาโบลิสม เช่น เบาหวาน อ้วน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ไขมันเกาะตับ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ในอนาคต
(ซึ่งในโพสนี้จะกล่าวถึงเฉพาะปัญหาทางผิวหนังเท่านั้น)
2️⃣⭐️ สิวที่พบ มักรุนแรงและเรื้อรัง พบได้ทั้งที่เป็นสิวอุดตันและสิวอักเสบ มักพบบริเวณใบหน้าครึ่งล่าง ตามแนวขากรรไกร คอ หน้าอก ท้อง หลังส่วนบน และพบว่าส่วนใหญ่มีหน้ามันร่วมด้วย หรือพบเป็นสิวในวัยผู้ใหญ่ และไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน
✔️ ดังนั้น ใครมีสิวลักษณะดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเรื่องฮอร์โมนหรือถุงน้ำรังไข่เพิ่มเติม และการรักษานอกจากยามาตรฐานแล้ว อาจต้องได้รับยาในกลุ่มฮอร์โมนเพิ่มเติม เช่น ยาคุมกำเนิด OCPs, ยาปรับฮอร์โมน เช่น Spironolactone, flutamide
3️⃣⭐️ ยาปรับฮอร์โมน ทั้ง OCPs และกลุ่มที่ไม่ใช่ยาคุม เป็นยาที่ต้องควบคุมการใช้โดยแพทย์เฉพาะทาง บางคนอาจมีข้อห้ามของการใช้ยา และอาจได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เช่น หลอดเลือดดำอุดตันในอวัยวะต่าง ๆ, สมองขาดเลือด, โรคหัวใจ, มะเร็งเต้านม, เกลือแร่ผิดปกติจนเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากรุนแรงอาจเสียชีวิตได้
✔️ ดังนั้น ไม่แนะนำให้ซื้อรับประทานเอง และก่อนสั่งจ่ายยาเหล่านี้ควรพิจารณาให้ดีว่าจำเป็นหรือไม่ เมื่อเทียบกับความเสี่ยงของยาที่ผู้ป่วยได้รับ โดยให้พิจารณาการรักษาเป็นราย ๆ
4️⃣⭐️ เรื่องขนดก (Hirsutism) พบได้ 60% แต่บางคนอาจไม่มีขนดกก็ได้ การรักษามีหลายวิธีที่มีงานวิจัยว่าช่วยได้ ได้แก่
✔️ ยาปรับฮอร์โมน ทั้ง OCPs และกลุ่มที่ไม่ใช่ยาคุม (คล้าย ๆ รักษาสิว) แต่ขนาดการรักษาอาจแตกต่างกัน ซึ่งแพทย์เป็นผู้พิจารณา
✔️ ยา Metformin
✔️ ยาทา Topical eflornithine hydrochloride ซึ่ง FDA-approved สำหรับการใช้รักษาภาวะขนดกที่หน้า
5️⃣⭐️ เลเซอร์กำจัดขน หรือ IPL ยังมีข้อมูลวิจัยในกลุ่มคนที่เป็น PCOS ไม่มากนัก
ดังนั้น หากใช้การรักษาด้วยวิธีนี้เพียงอย่างเดียว อาจทำให้ปัญหากลับมาได้เหมือนเดิม ในปัจจุบันยังแนะนำให้รักษาด้วยยาปรับฮอร์โมน ควบคู่ไปด้วยกันเสมอ
6️⃣⭐️ เรื่องอาหารและการควบคุมน้ำหนัก
✔️ ในแง่รอยดำคล้ำ พบว่าช่วยได้ดี
✔️ ในแง่ขนดก มีบางรายงานพบว่าการจำกัดแคลอรี่และการลดน้ำหนักลง 5% ใน 4 สัปดาห์ ช่วยให้ดีขึ้นได้ 30% แต่บางงานวิจัยพบว่าไม่ได้ผล อาจลองนำไปปฏิบัติและดูผลการตอบสนองเป็นรายไป
✔️ ในแง่สิว พบว่าสิวดีขึ้นได้ถ้าหากควบคุมอาหารจำพวกที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้น เพราะการเกิดสิวส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยระยะเวลาเห็นผลสิวยุบลงคือ ประมาณ 4-6 สัปดาห์
7️⃣⭐️ เรื่องคอดำรักแร้และข้อพับดำคล้ำ หรือ เรียกว่า acanthosis nigricans พบว่าส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลินและน้ำหนักเกิน
✔️ การรักษาหลักคือ ลดน้ำหนัก ควบคุมระดับอินซูลินด้วยยาบางชนิด เช่น metformin, thiazolidinedione, octreotide
✔️ กลุ่มยาทาอื่นเพื่อเสริมการรักษา เช่น
Oral isotretinoin 3 mkd
Fish oil 10-20 กรัมต่อวัน
Topical calcipotriene, retinoids, hydroquinone
Chemical peeling
Alpha lipoic acid
อย่างไรก็ตามพบว่า หากหยุดการรักษา ภาวะนี้มักกลับมาเป็นใหม่ได้อีก
8️⃣⭐️ เรื่องผมบาง อิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายจะทำให้ผมมีเส้นเล็กลง และปริมาณลดลงได้ ซึ่งปัญหานี้พบไม่บ่อยเท่าปัญหาอื่น แต่มีผลต่อสภาพจิตใจไม่น้อย การรักษาใช้ยาปรับฮอร์โมนเป็นหลัก เช่น ยาคุม OCPs, Spironolactone, Finasteride หรืออาจใช้ยาทาในกลุ่ม Minoxidil โดยแนะนำผู้ชาย 5% ผู้หญิง 2% ก็ได้ผลดี แต่การตอบสนองต้องอาศัยระยะเวลาหลายเดือน
ดังนั้น ต้องใจเย็นและหากหยุดยา ก็อาจกลับไปผมบางได้อีก
ภาวะ PCOS นอกจากจะมีปัญหาผิวหนังและเส้นผมตามข้างต้นแล้ว ยังอาจมีอาการอื่นได้อีก เช่น
✅ ประจำเดือนผิดปกติ
✅ ตรวจอัลตราซาวด์พบว่ามีถุงน้ำหลายใบในรังไข่
✅ เบาหวาน, ภาวะอ้วน
ซึ่งต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติมและร่วมดูแลของแพทย์สหสาขาวิชาชีพ เช่น หมอผิวหนัง หมอต่อมไร้ท่อ หมอสูตินรีเวช หมอมะเร็ง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต เช่น
✅ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
✅ ความเครียดและซึมเศร้า
✅ ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ, โรคอัมพฤกษ์
หมอผิวหนังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลโรคนี้ และจะถือเป็นด่านแรก ๆ ก็ว่าได้ที่มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรค ทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากพบความผิดปกติที่ไม่แน่ใจ ก็แนะนำให้ไปตรวจเพิ่มเติมนะคะ
ด้วยความปรารถนาดี
หมอเจี๊ยบ💕💕💕
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References
Clin Cosmet Investig Dermatol 2018; 11: 407-413.
J Am Acad Dermatol 2014; 71: 859.e1-15.
Am J Clin Dermatol 2007; 8 (4): 201-219.
บทความลิขสิทธิ์ Copyright ©👩🏻⚕️HELLO SKIN by หมอผิวหนัง
วันไหนของเดือนที่ผิวจะสวยโกล์ว..พร้อมออกเดทกับคนใจมากที่สุด
🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈
ในแต่ละรอบของการมีประจำเดือน เราจะมีช่วงที่ผิว พีคสวยฉ่ำโกลวสุด ๆ ✨ -> มีช่วงที่หน้ามันเมือกสิวบุก ☄️ -> และมีช่วงที่หน้าแห้งเหี่ยวดูแก่กว่าเดิม … เพราะอะไรมาดูเฉลย ⁉️
♻️ อ่านหลักการ -> ข้อ 1-8
♻️ อ่านสรุป -> ข้ามไปข้อ 9 ได้เลย
🌐🌐🌐🌐🌐🌐🌐🌐🌐
1️⃣🔰 การเปลี่ยนแปลงของสภาพผิวในแต่ละช่วงของเดือน เกิดจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนหลัก ๆ 2 อย่าง คือ เอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรน
2️⃣🔰 พบมีตัวรับฮอร์โมนที่โครงสร้างผิวหนัง คือ
2.1 Estrogen receptor (ER)b, progesterone and androgen receptors พบที่ keratinocytes, fibroblasts and macrophages
2.2 ERa receptors พบที่ skin fibroblasts and macrophages แต่ไม่พบที่ keratinocytes
2.3 ERa and b receptors พบที่ melanocytes
3️⃣🔰 ฤทธิ์ของ Estrogen ที่เกี่ยวกับผิวหนัง คือ
3.1 ช่วยการสร้างคอลลาเจน, ไฮยาลูรอนิก ช่วยให้ผิวมีความหนานุ่มและกักเก็บน้ำในผิว
3.2 ช่วยเพิ่มการทำหน้าที่ของ skin barrier
3.3 ลดการอักเสบต่าง ๆ
ดังนั้น #วัยหลังหมดประจำเดือน จะพบมีเอสโตรเจนต่ำมาก ผลคือ ผิวบาง แห้งเหี่ยว ไม่ชุ่มชื้น
4️⃣🔰 เอสโตรเจนสามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดสีได้ (melanogenesis)
ดังนั้น บางช่วงอาจเห็นว่าผิวคล้ำขึ้นได้ หรือในคนตั้งครรภ์ที่มีเอสโตรเจนสูง อาจพบสีผิวคล้ำขึ้นบางบริเวณ เช่น ลานนม รอยแผลเป็น หรือพบมีฝ้าได้
5️⃣🔰 เอสโตรเจนทำให้เกิด salt water retention
ดังนั้น ช่วงใกล้มีประจำเดือนอาจดูอิ่มเอิบ มีน้ำมีนวล อาจมี บวมที่มือเท้าได้
6️⃣🔰 การมีสิวเห่อช่วงก่อนมีรอบเดือน เกิดจากหลายปัจจัย
📌 ฮอร์โมนเอสโตรเจนและ androgen ที่สูงมากพีคในช่วง periovulation ทำให้มี sebum production และเพิ่ม skin flora ซึ่งเป็นปัจจัยของการเกิดสิว
📌 การใช้ยาคุม Combined oral pill ซึ่งมี progesterone ช่วยลดการเกิดสิวได้เพราะไปลดการหลั่ง androgen จากรังไข่, ช่วย block androgen receptor และลด free form of active androgen
7️⃣🔰 ฤทธิ์ของโปรเจสเตอโรนต่อผิวหนัง ยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าทำให้ sebum production มากขึ้น
8️⃣🔰 หลังมีประจำเดือนสักพัก ก่อนประจำเดือนรอบใหม่จะมา จะมีการลดระดับของ estrogen ลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ impaired barrier function ดังนั้น อาจเห็นว่ามีการ เห่อของผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ Atopic dermatitis หรือ สะเก็ดเงินในช่วงนี้ได้
9️⃣🔰 ข้อมูลข้างต้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการ เลือกสกินแคร์เพื่อดูแลปัญหาผิวในช่วงต่าง ๆ
📌 Menstrual phase (ระหว่างมีประจำเดือน D1-7) -> ผิวแห้ง -> เน้นครีมบำรุงเพิ่มความชุ่มชื้น
📌 Follicular phase (หลังผ่านรอบเดือน D8-15) -> ผิวสวยโกลว์ -> เน้นบำรุงตามสภาพผิว ไม่ค่อยมีปัญหา
⭐️⭐️⭐️ ช่วงนี้ผิวเราจะสวยสุขภาพดีเป็นพิเศษเชียวล่ะ พร้อมสำหรับนัดเจอคนรู้ใจอย่างยิ่ง⭐️⭐️⭐️
📌 Luteal phase (ก่อนประจำเดือนรอบถัดไปจะมา D16-28) -> #ผิวมันสิวบุก -> เน้นบำรุงลดความมัน ไม่ก่อสิว
📌 Postmenopausal (วัยหมดประจำเดือน) -> #ผิวแห้งกร้าน -> เน้นบำรุงเพิ่มความชุ่มชื้นเป็นพิเศษ
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
Reference
The Menstrual cycle and the skin
Clinical and Experimental Dermatology (2015) 40, pp111–115
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.
[ Approach to adult with diffuse hyperpigmentation ]
วิธีการแยกโรคคร่าวๆเบื้องต้น อย่างไรก็ตามอาจต้องอ่านเพิ่มเติมในรายละเอียดของแต่ละโรคต่อไป
1️⃣🔰 อันดับแรกตรวจร่ายกายคลำดูว่าผิวตึง ๆ (induration) หรือไม่
ถ้าตึง ลองมองหาลักษณะอื่นว่าเข้ากับโรคเหล่านี้
✅ Systemic sclerosis -> https://www.facebook.com/476743752739537/posts/542741322806446/
✅ POEMS syndrome -> https://www.facebook.com/476743752739537/posts/871648729915702/
✅ Porphyria cutanea tarda
2️⃣🔰 จากนั้นลองพิจารณาเป็นกลุ่มดังนี้
เรียบเรียงโดยแพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ อายุรแพทย์โรคผิวหนัง
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.
วันนี้สอนเรสิเด้นว่า เมื่อไหร่เจอเคส Pheochromocytoma ควรต้องมองหา Genetic syndrome เสมอ ที่เจอบ่อย ๆ และต้องรู้ก็ประมาณนี้ ลองอ่านดูค่ะ
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ อายุรแพทย์โรคผิวหนัง
บทความลิขสิทธิ์ HELLO SKIN by หมอผิวหนัง