Category Archives: Autoimmune

Erythema nodosum (Update 2021) : Approach algorithm

Erythema nodosum ลักษณะเป็นตุ่มกดเจ็บใต้ผิวหนัง มักเป็นอาการของโรคทาง systemic disease บางอย่าง แต่บางรายอาจไม่มีสาเหตุ (idiopathic) ก็ได้เช่นกัน

หากมีอาการเหล่านี้ร่วม มักเป็น Secondary EN

Fever, malaise, headache, gastrointesti- nal complaints (such as abdominal pain, vomiting, and diarrhea), cough, lymphadenopathy

Clinical features

Erythematous tender nodules bilaterally on the shins หรืออาจเห็นเป็น Bruise-like appearance เรียกว่า “erythema contusiformis”

ผื่นมักอยู่บริเวณ lower leg อาจพบที่ ankle, thigh, forearm ได้ โดยทั่วไปผื่นสามารถยุบได้เองใน 1-6 สัปดาห์ กลายเป็นลักษณะคล้ายรอยช้ำ บางรายมีร่องรอย ulceration, scarring, or atrophy ได้

Clinical and histologic findings of Erythema nodosum (Reference American Journal of Clinical Dermatology 2021;22:367–378.)

Histologic findings

พบ predominantly septal panniculitis without vasculitis (Fig. 2a)

Early lesions

Hemorrhage and edematous septa with a prominent mixed inflammatory infiltrate consisting of lymphocytes, histiocytes, eosinophils, and numerous neutrophils, infiltrating from the septa to the periphery of the adjacent lobules

Late lesions

The effacement of lobules with fibrotic and thickened septa infiltrated by lymphocytes, histiocytes, multinucleated giant cells, and just a few neutrophils (Fig. 2b). The radial Miescher’s granulomas consist of small collections of histiocytes arranged around a central star-shaped cleft. This is a relatively specific but not pathognomonic feature. Small- and even medium-sized vasculitis has occasionally been reported

Etiology

แบ่งเป็น Primary EN ไม่ทราบสาเหตุ และ Secondary EN ดังตาราง

Etiology of erythema nodosum​
Etiology of erythema nodosum (Reference American Journal of Clinical Dermatology 2021;22:367–378.)

Approach to Erythema nodosum

เมื่อพบผื่นลักษณะข้างต้น ควรทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยแยกโรค และตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยให้ work up ตามอาการที่สงสัยโรค ไม่จำเป็นต้องส่งตรวจหาทุกโรค

Approach to Erythema nodosum
Approach to Erythema nodosum (Reference American Journal of Clinical Dermatology 2021;22:367–378.)

Differential diagnosis

ลักษณะก้อนใต้ผิว ไม่ใช่ลักษณะของ erythema nodosum เพียงโรคเดียวเท่านั้น จึงต้องทำการตัดชิ้นเนื้อผิวหนังเพื่อแยกโรคที่มีอาการคล้ายกัน ดังตาราง

Differential diagnosis of EN
Differential diagnosis of EN (Reference American Journal of Clinical Dermatology 2021;22:367–378.)

Treatment

Supportive treatment เพื่อลดอาการปวดบวม ได้แก่ Compression with limb elevation ร่วมกับการรักษาด้วยยาอื่น ๆ ตามตาราง

Treatment of Erythema nodosum
Treatment of EN (Reference American Journal of Clinical Dermatology 2021;22:367–378.)

Prognosis

ส่วนใหญ่พยากรณ์โรคดี หายได้เอง

กรณีที่มี secondary causes แนะนำรักษาโรคต้นเหตุ และหากมี drug induced ควรหยุดยาที่เป็นต้นเหตุ

Reference : American Journal of Clinical Dermatology 2021;22:367–378.

ANA positive แล้วยังไงต่อดี

ว่าด้วยเรื่องของมหากาพย์ ANA positive แล้วยังไง ไม่จบแค่นี้นะคะ ต้อง approach ไปต่ออย่างไร ???
สรุปในหน้าเดียวจาก Euroimmun เตรียมสอบแนะนำท่องทบทวนหน้านี้ค่ะ

Reference: Euroimmun

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Discoid LE ผื่นดิสคอยด์ลูปัส

Discoid Lupus Erythematosus หรือ DLE

🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈

เป็น Chronic Cutaneous LE
⚙️ เกิดจาก autoantibodies และ T cell abnormality ทำให้เกิดการทำลายผิวที่ชั้น basal cell layer โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากถูกแสงแดดกระตุ้น
พบว่า smoking เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของโรค

⚙️ แบ่งเป็น
Localized DLE : ผื่นบริเวณ head and neck
Generalized DLE : ผื่นทั่วตัว
Hypertrophic DLE : ผื่นค่อนข้างหนา มักพบบริเวณ upper half of body และมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังในอนาคตได้ กลุ่มนี้อาจต้องวินิจฉัยแยกโรค Hypertrophic actinic keratoses, Squamous cell carcinoma, Hypertrophic lichen planus (มักพบ lower half of body), Prurigo nodularis

⚙️ ลักษณะผื่น เริ่มแรกสีแดง มีสะเก็ด ขอบเขตชัด หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาจะเกิดการฝ่อยุบตัวของผิวหนัง มีการขยายตัวของเส้นเลือด ขยายขนาดใหญ่ขึ้น และกลายเป็นแผลเป็นในที่สุด

⚙️ โดยส่วนมากมักเกิดผื่นบริเวณผิวหนังนอกร่มผ้าที่สัมผัสแสงแดด
หากพบที่ศีรษะ อาจทำให้เกิดผมร่วงและมีแผลเป็นที่หนังศีรษะตามมาได้ เรียกว่า Cicatricial alopecia
อย่างไรก็ตาม สามารถพบในร่มผ้าได้ แต่น้อยกว่า
หากพบที่หูบริเวณ concha เรียกว่า Concha sign เป็นลักษณะจำเพาะของโรคนี้
พบผื่นบริเวณเยื่อบุได้ 25% โดยเฉพาะริมฝีปากล่าง

⚙️ การวินิจฉัย

  • ส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
  • ส่งตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะอื่น เพื่อดูว่ามีภาวะ SLE ร่วมด้วยหรือไม่ โดยพบว่าผู้ป่วยที่มี localized DLE มัก associated SLE 3-5% และผู้ป่วย Generalized DLE มัก associated SLE 5-20%

⚙️ การรักษา

  • ป้องกันแสงแดด ทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ SPF 30 เป็นอย่างน้อย สวมหมวกปีกกว้าง กางร่ม สวมเสื้อผ้ามิดชิด แขนยาว กางเกงขายาว
  • หยุดสูบบุหรี่ พบว่าช่วยให้โรคดีขึ้นได้
  • ยาทาสเตอรอยด์ขนาดความแรงปานกลางถึงมาก เช่น betamethasone, clobetasol cream หากไม่ตอบสนองอาจต้องใช้การฉีดยาสเตอรอยด์เข้าบริเวณรอยโรค หรือใช้แบบรับประทาน
  • ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor เช่น tacrolimus, pimecrolimue
  • ยารับประทานกลุ่ม antimalarial drug เช่น chloroquine, hydroxychloroquine และควรได้รับการตรวจตา macular screening สม่ำเสมอ
  • หากมีอาการรุนแรงไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้น อาจมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น methotrexate
  • ยากลุ่มอื่นที่มีรายงานว่าได้ผล ได้แก่ retinoids, thalidomide, MMF, dapsone

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Raynaud phenomenon

Raynaud_phenomenon มีอาการ 3 ระยะ

🤟🏻🤟🏻🤟🏻🤟🏻🤟🏻🤟🏻🤟🏻🤟🏻🤟🏻🤟🏻🤟🏻🤟🏻

⭐️⭐️ เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น

🌈 ระยะที่ 1 : Vasoconstriction
เกิดการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้นิ้วมีสีขาวซีด
🌈 ระยะที่ 2 : Tissue hypoxia
หลอดเลือดหมดตัวมากขึ้นจนเนื้อเยื้อขาดออกซิเจน ระยะนี้อาจพบมีอาการปวดหรือชา และนิ้วมีสีเขียวคล้ำ
🌈 ระยะที่ 3 : Repurfusion
หลอดเลือดกลับมาขยายตัวเข้าสู่ภาวะปกติ นิ้วจะกลับมาสีชมพูตามเดิม

อาการทั้ง 3 ระยะ อาจเกิดขึ้นเร็วมากเป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมงหลังได้รับสิ่งกระตุ้น และจะคงอยู่นานเท่าใดขึ้นกับภาวะที่เป็นต้นเหตุค่ะ

⭐️⭐️ อย่าลืมแยก Primary & Secondary โดยอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ มี clue ที่พอช่วยแยกได้ตามตาราง

Ref. Bolognia
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

เรียบเรียงโดยแพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญอายุรแพทย์โรคผิวหนัง


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Rowell Syndrome

เป็นภาวะที่เจอได้ไม่บ่อยนัก สรุปคร่าว ๆ คือ

✅ มีลักษณะของ LE (Lupus Erythematosus) ร่วมกับ EM-liked lesion (Erythema Multiforme-liked)

✅ Characteristic immunologic pattern ที่พบ
▫️Speckled pattern ANA
▫️anti-Ro/SSA, anti-La/SSB
▫️RF (Rheumatoid Factor)

✅ พบบ่อยใน young adult อายุเฉลี่ย 30 ปี ส่วนในช่วงอายุอื่นสามารถพบได้ แต่น้อย

✅ พบบ่อยในเพศหญิง อัตราส่วน female : male ประมาณ 8:1

✅ ปัจจุบันมีการ proposed Criteria หลายอัน ดังตาราง แต่ยังไม่ข้อสรุปว่าเกณฑ์ใดมีความสมบูรณ์ที่สุด

✅ การรักษาที่มีรายงานว่าได้ผล ได้แก่ prednisolone, antimalatial drug, azathioprine, cyclosporine

รายละเอียดอื่น ๆ ของภาวะนี้อาจต้องติดตามข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป


Reference
J Clin Aesthet Dermatol. 2020; 13(4): 40-42.

ความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.