Category Archives: Sport dermatology

“Tik Tok Tyloma” ตุ่มที่นิ้วจากการเล่นโซเชียลมีเดียประจำ

เคสตัวอย่าง Tik Tok Tyloma

ผช 19 ปี มีตุ่มหนานูนบริเวณด้าน radial aspect ของนิ้วก้อยข้างซ้าย ซึ่งตรงกับตำแหน่งเสียดสีกับโทรศัพท์มือถือในท่าจับเพื่อให้โทรศัพท์ตั้งอยู่บนมือ ดังรูป
เคสนี้ให้ประวัติว่าใช้โทรศัพท์เล่น social media เป็นประจำ เสียดสีในท่าเดิมซ้ำ ๆ จึงมาการตั้งชื่อ Tik Tok tyloma

Photo Reference: Dermatology Online Journal. 2021 Nov 15; 27 (11).

ที่จริงก็คือภาวะ Callus หรือ Tyloma นั่นเอง
ซึ่งเกิดจากการมีผิวหนังหนานูนขึ้นจากการเสียดสีซ้ำ ๆ ที่เดิม ไม่จำเป็นต้องเป็นจากมือถือเท่านั้น ก่อนนี้มีรายงานผื่นหนานูนที่นิ้วโป้งจากการเสียดสีเล่นเกมส์บ่อย ๆ เรียกว่า Play station thumb

ภาวะนี้ไม่อันตราย เพียงลดการเสียดสี ก็จะดีขึ้น

Reference
Dermatology Online Journal. 2021 Nov 15; 27 (11).
https://doi.org/10.5070/D3271156100

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

วิธีป้องกันเลือดออกหัวนม..นักวิ่งหรือนักปั่น

อาการนี้เกิดจากการ เสียดสีของหัวนมกับเสื้อวิ่ง ทำให้เกิดแผลจากการระคายเคือง มีอาการเจ็บหรือปวดแสบได้เพราะหัวนมเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงเยอะ

ความรุนแรงไม่เกี่ยวกับนมเล็กหรือใหญ่ ไม่เกี่ยวกับเพศหญิงหรือชาย มีรายงานว่าเจอได้บ่อยในคนที่ วิ่งระยะทางมากกว่า 50 กิโลเมตร/สัปดาห์

วันนี้ขอแนะนำวิธีป้องกันเลือดออกหัวนม

1. สวมเสื้อเส้นใยละเอียด ไม่หยาบกระด้าง ซึ่งปกติผ้าใยสังเคราะห์จะระคายเคืองน้อยกว่าผ้าใยธรรมชาติ

2. ทาวาสลีนที่หัวนมก่อนวิ่ง

3. ไม่สวมเสื้อหลวมเกินไป หรืออาจใส่สปอร์ตบราก็ช่วยได้

4. ใช้พลาสเตอร์แปะหัวนม อาจใช้พวกซิลิโคนหรือแบบผ้าที่ค่อนข้างเหนียว วิธีนี้อาจหลุดได้ถ้าหากมีเหงื่อออกในระหว่างวิ่ง

5. สุดท้าย ถอดเสื้อวิ่ง หรือ เจาะรูดังภาพ สามารถช่วยลดการเสียดสีได้ แต่ในเพศหญิงอาจไม่เหมาะกับวิธีนี้เท่าไหร่นัก

วิธีป้องกันเลือดออกหัวนมนักวิ่ง​
วิธีป้องกันเลือดออกหัวนมนักวิ่ง

หัวนมนักวิ่งบอบบางกว่าที่คิด หากเรารู้วิธีป้องกันให้ดี ก็จะสามารถวิ่งออกกำลังกายได้ยาววววๆๆๆไป
หากเกิดความผิดปกติดังภาพ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนังร่วมดูแล

ใครเคยเป็นบ้าง มีเสื้อผ้าดี ๆ มาแนะนำมาเล่าให้ฟังได้

หากคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถกดเลิฟกดแชร์ให้เพื่อนอ่านได้เลยค่าา ❤️

——————————————

อ่านบทความย้อนหลังที่ https://helloskinderm.com

รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

รวมวิธีแก้ 6 ปัญหาเท้านักวิ่ง

ปัญหาเท้านักวิ่ง runner

นักวิ่งทั้งหลายใครมีปัญหาเท้าแบบในรูปบ้าง ⁉️

1. ตาปลาและตุ่มน้ำพอง

เกิดจากการเสียดสีที่เดิมซ้ำ ๆ

วิธีแก้
• ควรเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับรูปเท้า หรืออาจใช้ตัวแผ่นรองกันเสียดสีช่วยได้ ถ้าเป็นแล้วอย่าใช้กรรไกรสกปรกตัดหรือฝานเองเนื่องจากอาจติดเชื้อได้
• หากเท้าเริ่มหนาตัว แข็งด้าน อาจทาวาสลีน หรือ ครีมยูเรียบ่อย ๆ

2. เชื้อราที่เล็บที่ง่ามนิ้วที่เท้า

เกิดจากเหงื่อ ความอับชื้น

วิธีแก้
• ใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า ไม่แน่นจนเกินไป สวมรองเท้าคัทชูและถุงเท้าเท่าที่จำเป็นเพื่อลดการอับชื้น
• ใช้ antifungal spray พ่น หรือโรยด้วย antifungal powder ที่รองเท้าและถุงเท้าก่อนสวมใส่เป็นประจำ เช่น clotrimazole powder หรือ spray ช่วยลดกลิ่นเท้า และป้องกันการเกิดเชื้อราได้
• งดเดินเท้าเปล่า
• สวมรองเท้าอาบน้ำในที่สาธารณะป้องกันการติดเชื้อจากพื้น
• หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าผู้อื่น
• หลีกเลี่ยงการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกัน

3. เลือดคั่งใต้เล็บ

เกิดจากกระแทกเสียดสีซ้ำ ๆ กับหน้ารองเท้า
ยิ่งวิ่ง Hard-core, long runner วิ่งที่ชัน เปลี่ยนทิศทางวิ่งจะเป็นได้บ่อย

วิธีแก้
• ตัดเล็บสั้นเสมอ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่อเล็บ เล็บ
• ปรับรองเท้าให้เหมาะสม ไม่บีบหน้าเท้า ไม่หลวมเกินไป

4. เท้าเหม็นเป็นรู

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย บางรายอาจมีการติดเชื้อราแทรกซ้อนตามมาได้ เท้าจะเหม็นมาก

วิธีแก้
• ทายาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น Erythromycin gel, Clindamycin gel หากรุนแรงอาจต้องกินยาร่วมด้วย
• ทายา Benzoyl peroxide
• หากมีการติดเชื้อราแทรกซ้อน ทายาฆ่าเชื้อรา

5. เหงื่อเท้าออกมาก

วิธีแก้

• การรักษามาตรฐาน คือ ทายากลุ่ม 20% Aluminum chloride
• ฉีด botulinum toxin ลดเหงื่อ
• ปัจจุบันมีแบบแผ่นเช็ดหรือครีมทาลดเหงื่อก็ได้ผลดี สามารถใช้กับรักแร้ เท้า หลังได้หมด

6. ตุ่มปูดที่เท้า Piezogenic Pedal Papules

วิธีแก้
• ไม่มียารักษา ต้องลดการเดินหรือวิ่ง หรือลดน้ำหนักจะช่วยได้
• หากปวดมาก ไปพบแพทย์เพื่อฉีดยา

——————————————

อ่านบทความย้อนหลังที่ https://helloskinderm.com

รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและรักษาเชื้อราที่เล็บที่นักวิ่งควรรู้

How to prevent and treat Nail fungus

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราที่เล็บและจะดูแลรักษาอย่างไรหากประสบกับภาวะนี้แล้ว

🚶‍♂️🚶‍♀️🚶‍♂️🚶‍♀️🏃‍♂️🏃‍♀️🏃‍♂️🏃‍♀️

✔️ ตัดเล็บสั้นเสมอ​ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ​ต่อเล็บ​ เล็บขบ​.. บลาๆ​ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา
✔️ ใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า​ ไม่แน่นจนเกินไป​ สวมรองเท้าคัทชูและถุงเท้าเท่าที่จำเป็นเพื่อลดการอับชื้น​
✔️ ใช้​ antifungal spray พ่น​ หรือโรยด้วย antifungal powder ที่รองเท้าและถุงเท้าก่อนสวมใส่เป็นประจำ​ (ดูวิธีจากคลิป)
✔️ งดเดินเท้าเปล่า
✔️ สวมรองเท้าอาบน้ำในที่สาธารณะ​ป้องกันการติดเชื้อจากพื้น
✔️ หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าผู้อื่น​
✔️ หลีกเลี่ยงการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกัน
✔️ เลือกร้านทำเล็บที่สะอาด

🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับเชื้อราที่เล็บ

🔸 การรักษาให้หายขาดอาจใช้เวลานานเป็นปี
🔸 การซื้อยาทาจากร้านขายยา​ อาจไม่เพียงต่อต่อการรักษาเชื้อราที่เล็บให้หายขาด​
🔸 การรักษาที่ถูกต้องควรไปพบแพทย์โรคผิวหนัง​ Board-certified​ Dermatologist เพื่อทำการตัดเล็บเพาะเชื้อ​ และให้การรักษาตามเชื้อที่เจอ
🔸 การป้องกันการเกิดเชื้อราที่เล็บ​ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง​ ในคนที่มีความเสี่ยง​ต่อการอับชื้นที่เล็บ​ อันเป็นบ่อเกิดของโรคนี้ตามมาได้

When in doubt,
Ask your Board-certified Dermatologist


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.