Tag Archives: mask

แบบไหนเรียก “สิวจากแมสก์” Maskne

ช่วงเวลานี้เลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องใส่แมสก์เวลาจะไปไหนมาไหน แต่เราทราบกันว่าจะต้องปฏิบัติตัวดูแลผิวอย่างถูกวิธีอย่างไรเพื่อลดโอกาสการเกิด ผื่นแพ้ หรือ สิวจากการใส่แมสก์

โดยวัตถุประสงค์ของโพสนี้ คืออยากเล่าให้ฟังว่า กลไกทำไมสิวจึงเกิดเห่อขึ้นมา แต่ยังคงเน้นย้ำเสมอว่าการใส่แมสก์นั้นมีเหตุผลเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค และเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ที่ควรปฏิบัติ เมื่อเทียบกับเรื่องสิวค่ะ

รู้ไหมว่า..???

1. สิวจากการใส่แมสก์อาจเกิดในคนที่ไม่เคยเป็นสิวมาก่อนในชีวิตก็ได้ ฉะนั้นไม่ต้องสงสัยว่าทำไมอยู่ดี ๆ ถึงเพิ่งจะมีสิวในตอนนี้

2. สิวจากการใส่แมสก์ อาจเกิดในคนที่กำลังรักษาสิวอยู่ และสิวสงบดี เพราะสภาพแวดล้อมใต้แมสก์เปลี่ยนไปสิวจึงเห่อขึ้นได้ ฉะนั้น อย่าเพิ่งโทษว่าดื้อยาหรือยาไม่ได้ผล แนะนำให้ลองปรับที่การดูแลผิวก่อนเลยอันดับแรก

3. สิวจากการใส่แมสก์ อาจพบมีอาการคันร่วมด้วยได้ และหลาย ๆ คนจะมีหน้ามันมากขึ้น ฉะนั้น ถ้าคันก็อาจทานยาแก้คัน และอาจปรับผลิตภัณฑ์ล้างหน้าหรือสกินแคร์เป็นกลุ่มที่ช่วยควบคุมความมันร่วมด้วย

4. มีงานวิจัยพบว่า การใส่แมสก์ต่อเนื่องเกิน 4 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป ทำให้อุณหภูมิผิวเพิ่มขึ้น และทุก ๆ 1°C ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ squalene ที่ผิวเพิ่มขึ้น และมีการหลั่งน้ำมันผิวมากขึ้น 10% ส่งผลให้สิวเห่อตามมาได้มากขึ้นกว่าเดิม ฉะนั้น หากอยู่ในที่โปร่ง หรืออยู่บ้านคนเดียว อาจเปิดแมสก์เพื่อระบายอากาศบริเวณผิวใต้แมสก์เป็นช่วงๆ ก็ช่วยได้

5. นอกจากนั้น การใส่แมสก์ต่อเนื่องนาน ๆ จะทำให้ความชื้นที่ผิวเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เซลล์ keratinocyte ที่ผิวและรูขุมขนบวมขึ้น จึงมีโอกาสเกิดรูขุมขนอุดตันและทำให้สิวเห่อตามมาได้อีกด้วย

6. สิวที่เกิดจากการใส่แมสก์ มักเป็นสิวอุดตันหรือตุ่มแดง ไม่ค่อยพบว่าเป็นสิวที่อักเสบนูนแดงรุนแรง ยกเว้นในกรณีที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา

7. สิวจากการใส่แมสก์ มักเป็นที่บริเวณแก้มและจมูกเป็นส่วนใหญ่ หรือหากดูจากรูปก็คือบริเวณ O-zone เพราะเป็นบริเวณสัมผัสแมสก์ แต่มักจะไม่พบบริเวณหน้าผาก ใต้คาง หรือคอ

8. สิวจากการใส่แมสก์ อาจเกิดหลังจากใส่แมสก์ไปแล้วเป็นเดือน – หลายเดือน จนบางครั้งเราอาจไม่นึกว่าเป็นจากการใส่แมสก์ บางทีมีอาการคันร่วมด้วยนึกว่าแพ้จึงไปซื้อยาสเตอรอยด์มาทา ก็อาจทำให้สิวยิ่งเห่อหนักขึ้นไปอีก

9. Ideal Face Mask ที่ช่วยลดโอกาสการเกิดสิว มีการ propose ไว้ดังรูปค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม เราคงต้องคำนึงถึงปัจจัยเรื่องการป้องกันโรคติดต่อร่วมด้วย การเลือก mask เป็นเพียงส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเท่านั้น

การใส่แมสก์ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อยากให้ละเว้น แต่เรามีวิธีปฏิบัติตัวเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดสิวได้ และหากสิวเห่อแล้ว ก็มีวิธีรักษาดูแลได้เช่นกัน ดังนั้น อย่ากลัวการใส่แมสก์เลยนะคะ

หากไม่แน่ใจว่าคุณเป็นผื่นแพ้หรือสิวจากการใส่แมสก์ แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางช่วยตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมนะคะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

References:

Diagnostic and management considerations for “maskne” in the era of COVID-19
J Am Acad Dermatol. 2021 Feb; 84(2): 520–521.

Increased flare of acne caused by long-time mask wearing during COVID-19 pandemic among general population.
Dermatol Ther. 2020 Jul; 33(4): e13704.

Seasonal aggravation of acne in summers and the effect of temperature and humidity in a study in a tropical setting. J Cosmet Dermatol. 2019 Aug; 18(4): 1098-1104.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ทำไมใส่แมสก์นาน ๆ แล้วสิวเห่อ

ช่วงเวลานี้เลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องใส่แมสก์เวลาจะไปไหนมาไหน แต่เราทราบกันว่าจะต้องปฏิบัติตัวดูแลผิวอย่างถูกวิธีอย่างไรเพื่อลดโอกาสการเกิดผื่นแพ้หรือสิวจากการใส่แมสก์ (มีบทความแล้ว)

โดยวัตถุประสงค์ของโพสนี้ คืออยากเล่าให้ฟังว่า กลไกทำไมสิวจึงเกิดเห่อขึ้นมา แต่ยังคงเน้นย้ำเสมอว่าการใส่แมสก์นั้นมีเหตุผลเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค และเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ที่ควรปฏิบัติ เมื่อเทียบกับเรื่องสิวค่ะ

รู้ไหมว่า..???

1️⃣ สิวจากการใส่แมสก์ อาจเกิดในคนที่ไม่เคยเป็นสิวมาก่อนในชีวิตก็ได้ ฉะนั้นไม่ต้องสงสัยว่าทำไมอยู่ดี ๆ ถึงเพิ่งจะมีสิวในตอนนี้

2️⃣ สิวจากการใส่แมสก์ อาจเกิดในคนที่กำลังรักษาสิวอยู่และสิวสงบดี เพราะสภาพแวดล้อมใต้แมสก์เปลี่ยนไป สิวจึงเห่อขึ้นได้ ฉะนั้น อย่าเพิ่งโทษว่าดื้อยาหรือยาไม่ได้ผล แนะนำให้ลองปรับที่การดูแลผิวก่อนเลยอันดับแรก

3️⃣ สิวจากการใส่แมสก์ อาจพบมีอาการคันร่วมด้วยได้ และหลาย ๆ คนจะมีหน้ามันมากขึ้น ฉะนั้น ถ้าคันก็อาจทานยาแก้คัน และอาจปรับผลิตภัณฑ์ล้างหน้าหรือสกินแคร์เป็นกลุ่มที่ช่วยควบคุมความมันร่วมด้วย

4️⃣ มีงานวิจัยพบว่า การใส่แมสก์ต่อเนื่องเกิน 4 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป ทำให้อุณหภูมิผิวเพิ่มขึ้น และทุก ๆ 1°C ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ squalene ที่ผิวเพิ่มขึ้น และมีการหลั่งน้ำมันผิวมากขึ้น 10% ส่งผลให้สิวเห่อตามมาได้มากขึ้นกว่าเดิม ฉะนั้น หากอยู่ในที่โปร่ง หรืออยู่บ้านคนเดียว #อาจเปิดแมสก์เพื่อระบายอากาศบริเวณผิวใต้แมสก์เป็นช่วง ๆ ก็ช่วยได้

5️⃣ นอกจากนั้น การใส่แมสก์ต่อเนื่องนาน ๆ จะทำให้ ความชื้นที่ผิวเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เซลล์ keratinocyte ที่ผิวและรูขุมขนบวมขึ้น จึงมีโอกาสเกิดรูขุมขนอุดตันและทำให้สิวเห่อตามมาได้อีกด้วย

6️⃣ สิวที่เกิดจากการใส่แมสก์ มักเป็นสิวอุดตันหรือตุ่มแดง ไม่ค่อยพบว่าเป็นสิวที่อักเสบนูนแดงรุนแรง ยกเว้นในกรณีที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา

7️⃣ สิวจากการใส่แมสก์ มักเป็นที่บริเวณแก้มและจมูกเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นบริเวณสัมผัสแมสก์ แต่มักจะไม่พบบริเวณหน้าผาก ใต้คาง หรือคอ

8️⃣ สิวจากการใส่แมสก์ อาจเกิดหลังจากใส่แมสก์ไปแล้วเป็นเดือน – หลายเดือน จนบางครั้งเราอาจไม่นึกว่าเป็นจากการใส่แมสก์ บางทีมีอาการคันร่วมด้วยนึกว่าแพ้จึงไปซื้อยาสเตอรอยด์มาทา ก็อาจทำให้สิวยิ่งเห่อหนักขึ้นไปอีก

การใส่แมสก์ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อยากให้ละเว้น แต่เรามีวิธีปฏิบัติตัวเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดสิวได้ และหากสิวเห่อแล้ว ก็มีวิธีรักษาดูแลได้เช่นกัน ดังนั้น อย่ากลัวการใส่แมสก์เลยนะคะ

หากไม่แน่ใจว่าคุณเป็นผื่นแพ้หรือสิวจากการใส่แมสก์ แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางช่วยตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมนะคะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References:

Increased flare of acne caused by long-time mask wearing during COVID-19 pandemic among general population.
Dermatol Ther. 2020 Jul;33(4):e13704.

Seasonal aggravation of acne in summers and the effect of temperature and humidity in a study in a tropical setting. J Cosmet Dermatol. 2019 Aug;18(4):1098-1104.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

วิธีป้องกันแผลกดทับที่สันจมูกจากการใส่หน้ากาก N95

[ การบาดเจ็บของผิวหนังของบุคลากรทางการแพทย์จากการดูแลผู้ป่วยCOVID19 ]

ล่าสุดเมื่อมีนาคม 2020 ที่ผ่านมา Journal of American Academy of Dermatology ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการรวบรวมปัญหาทางผิวหนังที่พบในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งบางท่านอาจมองข้ามไป แต่อย่าลืมว่า เมื่อไหร่ที่ผิวหนังเกิดการอักเสบ บาดเจ็บ มีแผล ไม่ว่าจะเกิดที่บริเวณใดของร่างกาย ล้วนเป็นช่องทางการนำพาเชื้อทุกชนิดเข้าสู่ร่างกายได้ในที่สุด

งานวิจัยนี้พบว่า ภาวะทางผิวหนังที่เจอได้บ่อยมีดังนี้ [ตาราง 1]
🚫 อาการที่พบ : ผิวแห้งตึง เจ็บ คัน ปวด แสบร้อน
🚫 ผื่นที่พบ : ผิวลอก แดง แตกเป็นแผล มีน้ำเหลือง เป็นตุ่มน้ำ มีอาการบวมนูน เป็นตุ่ม
🚫 บริเวณที่พบได้บ่อย คือ
✔️ สันจมูก จากการเสียดสีกดทับของหน้ากาก N95
✔️ แก้ม จากการเสียดสีกดทับของหน้ากาก N95
✔️ มือ จากภาวะมือแห้งจากการล้างมือบ่อย
✔️ หน้าผาก จากการเสียดสีกดทับของ Face shield

ตาราง 1

ซึ่งพบว่า ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนังจากเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ
📍ใส่หน้ากาก N95 และ แว่น goggles นานเกิน 6 ชั่วโมง (ส่วนระยะเวลาการใส่ face shield นานนั้นไม่ค่อยมีผล)
📍ล้างมือบ่อยเกิน 10 ครั้งต่อวัน

งานวิจัยนี้บอกอะไรกับเรา
นอกจากการที่บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านจะตั้งใจดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดีแล้ว อาจต้องเรียนรู้วิธีการป้องกันตัวเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาได้ จากข้อมูลนี้สิ่งที่จะสามารถไปปรับใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น

🔔 ดูแลผิวที่มือให้ถูกวิธี

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในโพสก่อนนี้ { https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=923957344684840&id=476743752739537 }
🔔 หากอยู่คนเดียวคิดว่าที่ไม่สัมผัสความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาจถอดหน้ากากหรือแว่น ให้ลดการกดทับผิวบริเวณเดิมซ้ำ ๆ หรือหากไม่สามารถถอดได้ อาจใช้วิธีแปะแผ่นทำแผลป้องการการเกิดแผลกดทับ

จากการรวบรวมข้อมูล มีงานวิจัยศึกษาในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิด noninvasive เช่น CPAP พบว่า กลุ่ม Hydrocolloid dressing ได้ผลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับบริเวณสันจมูก แก้ม ได้ดีที่สุด ซึ่งมีหลายยี่ห้อ ในรูปลองหามาแปะให้บางส่วนที่พอจะหาได้ [ตาราง2,3 ]

ตาราง 2
ตาราง 3

นอกจากนั้นยังมีการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า การใช้ HOFA (Hyperoxygenated Fatty acid) ทาบริเวณที่จะกดทับก่อนการใส่อุปกรณ์ CPAP จากงานวิจัยนี้ใช้ Linovera พบว่าช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับและลดความรุนแรงของการเกิดได้ดีกว่าวิธีอื่นในงานวิจัยนี้ คือ การใส่อุปกรณ์อย่างเดียว, การใช้ Allervyn thin และ Askina foam อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [ตาราง 4]

โดยกลไลของ HOFA คือ เพิ่ม oxygen ให้แก่เนื้อเยื่อ และกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวให้แข็งแรงมีความทนต่อการเสียดสีได้มากขึ้น

ตาราง 4

หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านนะคะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
Reference

Preventing facial pressure ulcers in patients under non-invasive mechanical ventilation: a randomised control trial.
J Wound Care. 2017 Mar 2;26(3):128-136.
Skin Damage Among Healthcare Workers Managing Coronavirus Disease-2019
J Am Acad Dermatol 2020 Mar 18;[EPub Ahead of Print]

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
When in doubt,
Ask your Board-certified Dermatologist


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.