Tag Archives: Aging

Tannic acid ซุปตาร์ชะลอริ้วรอยแห่งวัย

หนึ่งในซุปตาร์ส่วนผสมชะลอริ้วรอยแห่งวัยอีกตัว ที่วันนี้อยากให้รู้จักกัน คือ Tannic acid

Tannic acid เป็นสาร phenolic compound ที่ได้จากการไฮโดรไลซ์ Tannin มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น การใช้เป็นยารักษาโรคบางอย่าง ใช้ปรุงแต่งรสในอาหารและเครื่องดื่ม สามารถพบได้ในใบของพืชและเปลือกผลไม้หลายชนิด เช่น Japanese gall (Rhus javanica) หรือ gallnut (Quercus infectoria) หรือ เปลือกผลไม้พวกองุ่น ชาเขียว และสิ่งทีทำให้มหัศจรรย์กว่านั้น คือทำให้ ต้นสนยักษ์ ซีคัวญา มีอายุยืนยาวได้มากกว่า 3,000 ปี (ต้นสนยักษ์ในรูป)

Tannic acid ชะลอวัย
Tannic acid

ในแง่ผิวหนัง ปัจจุบันมีการกล่าวถึงประโยชน์ของการนำกรดแทนนิกมาผสมในสกินแคร์มากขึ้น
Tannic acid เป็นที่นิยมนำมาผสมในสกินแคร์กลุ่มต้านอนุมูลอิสระเพื่อหวังผลเรื่องการชะลอผิวเสื่อมจากวัย, แสงแดดและมลภาวะ เพราะมีคุณสมบัติ ดังนี้

✔️ Photoprotection
สามารถดูดซับแสงได้หลายความยาวคลื่น และ ช่วยปกป้องและลดความเสียหายของ DNA & fibroblast และลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวีและมลภาวะ
✔️ Anti oxidation
ยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ Hydroxy radical ได้ดี และมีฤทธิ์เสริมการทำงานกับ L-ascorbic acid ทำให้ต้านอนุมูลอิสระโดยยับยั้งปฏิกิริยา Fenton ได้ดีมากยิ่งขึ้น
✔️ Anti inflammation
ช่วยลดการอักเสบที่ผนังหลอดเลือด และลดการเกิดอนุมูลอิสระในผนังเส้นเลือดได้ ช่วยสร้างและกระตุ้น KLF2 (Kruppel-liked Factor 2) ซึ่งช่วยลดการอักเสบในผนังเส้นเลือด
✔️ Scavenger
กำจัดโลหะหนักและสารอนุมูลอิสระ เช่น DPPH, superoxide anion, peroxyl, nitric oxide and peroxynitrite
✔️ Anti collagenase, elastase & MMP-1
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่มาทำลายโครงสร้างผิว เช่น อิลาสติน คอลลาเจน ไฮยาลูรอน

ดังนั้น โดยรวมจึงส่งผลให้ผิวแลดูมีสุขภาพดี ริ้วรอยเล็ก ๆ ดูลดลง จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ tannic acid ถูกขนานนามว่าเป็น Anti photoaging agent ที่ดีมากตัวหนึ่ง

ในแง่ของการ เสริมกำแพงผิวและลดผื่นผิวหนังอักเสบ พบว่า Tannic acid ยังมีข้อมูลเรื่องการทาเพื่อลดการอักเสบผิวและสามารถเสริมกำแพงผิวให้แข็งแรงขึ้นได้ จากข้อมูลทดลองในหนู พบว่าสามารถยับยั้ง NFsignaling, เพิ่ม PPARγ protein expression
และลดการอักเสบของผื่นผิวหนังได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจและน่าติดตามว่าอนาคตจะมีการนำมาประยุกต์กับผิวมนุษย์ในแง่การทำสกินแคร์เสริมกำแพงผิวหรือไม่

นอกจากนั้น Tannic acid ยังมีข้อมูลช่วยลดการหายของแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย และลดการเกิดรอยแดงจากการอักเสบได้

PRACTICAL POINT

ปัจจุบันแนวโน้มของการใช้สกินแคร์กลุ่มฟื้นฟูผิว เพื่อการบำรุงผิวมีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Anti-aging เพราะมีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องของ Anti-oxidant และ Photoprotection ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยชะลอให้ความเสื่อมของผิวเราเกิดขึ้นได้ช้าลง เพราะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตปัจจุบันที่ต้องเผชิญแสงแดดและมลภาวะเป็นประจำ ทำให้ผิวถูกทำร้ายโดยไม่รู้ตัว

สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของ Tannic acid เป็นอีกตัวที่มีข้อมูลการทาเพื่อช่วย Anti-aging ได้ดี และหากใช้ร่วมกับ L-ascorbic acid จะช่วยเสริมฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระได้มากขึ้นอีก

ยกตัวอย่าง Tannic [CF] Serum ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของ Alphascience แบรนด์เวชสำอางผู้นำด้าน Cutting-edge antioxidant technology จากฝรั่งเศส ก็มีส่วนผสมหลักเป็น 2% Tannic acid และ 10% Stabilized L-Ascorbic acid ร่วมด้วย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย)

หวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผิวของทุกท่านนะคะ

ด้วยความปรารถนาดี


References
Int J Biol Macromol. 2021 Nov 30;191:918-924.
Adv Wound Care (New Rochelle). 2019 Jul 1;8(7):341-354.
Exp Dermatol. 2018 Aug;27(8):824-826.
Cytokine. 2015 Dec;76(2):206-213.
J Invest Dermatol. 2010 May;130(5):1459-63.


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Tannic [CF] Serum
จาก AlphascienceThailand แบรนด์เวชสำอางผู้นำด้าน Cutting-edge antioxidant technology จากฝรั่งเศส

Tannic [CF] Serum จาก Alphascience Thailand
Tannic [CF] Serum

เซรั่มช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอริ้วรอยแห่งวัย ผิวแลดูใสและจุดด่างดำจางลงเร็ว
เหมาะกับผิวธรรมดา ผิวแห้ง

ส่วนผสมหลัก
▫️2% Tannic acid ลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระ ยับยั้งในกระบวนการผลิตเม็ดสีผิวเมลานิน เสริมการสังเคราะห์คอลาเจนใต้ผิว
▫️10% Stabilized L-Ascorbic acid รูปแบบที่เสถียรสูงจากการทดสอบโดย SGS Multilab พบว่าการออกฤทธิ์คงตัวเกือบ 90% แม้อยู่ในอุณหภูมิสูงถึง 40°C เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลาเจนใต้ผิว ผิวแลดูกระจ่างใส
▫️0.5% Ferulic acid ลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระและซ่อมแซมผิวถึงระดับ DNA
▫️Ginkgo Biloba ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และ ช่วยผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น

*ข้อมูลจาก Alphascience ในหญิง 22 คน เฉลี่ยอายุ 59 ปี หลังการใช้ Tannic [CF] Serum ทุกเช้า นาน 1 เดือน พบความพึงพอใจ ผิวนุ่มยืดหยุ่นขึ้น 98%, ผิวหน้าเนียนขึ้น 75%, จุดด่างดำแลดูลดลง 58%, ผิวหน้าแลดูกระจ่างใสขึ้น 70%

ไม่แนะนำให้ใช้ในผิวที่เป็นแผล หรือ หลังทำหัตถการ 48 ชั่วโมง
ปราศจากพาราเบน น้ำหอม สารกันเสีย และไม่มีการทดลองในสัตว์
เหมาะสำหรับคน ผิวปกติ และผิวแห้ง

**ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

10 คำถามเรื่อง การกินแอสตราแซนทิน & คอลลาเจนเปปไทด์ เพื่อชะลอผิวเสื่อมวัย 30+ ‼️

ถ้าอยากเริ่มต้นดูแลผิวตอนอายุ 30 ปี ควรเริ่มแบบไหนดี ?

แนะนำแบบนี้ค่ะ เบสิคที่ควรมี ได้แก่
1.ทานอาหารให้ครบหลักโภชนาการ
2.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3.ดื่มน้ำ 8-10 แก้ว/วัน
4.ทาสกินแคร์ที่เหมาะสม สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นดูแลผิวในวัยสามสิบ แนะนำว่าอย่างน้อยควรมี Sunscreen, antixidant, moisturizer และอาจมีกลุ่มผลัดเซลล์ผิวร่วมด้วย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์

1. อาหารเสริมหรือพวกวิตามินจำเป็นไหม ❓

ตามชื่อเลยค่ะ อาหารเสริมก็เพื่อทานเสริมกับอาหารหลัก ซึ่งในทางการแพทย์อาจพิจารณาในกรณีมีปัญหาเรื่องการดูดซึมหรือขาดสารอาหาร โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาขึ้นกับคนไข้แต่ละรายว่าต้องเสริมอะไร ในคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องระบบร่างกายและทานอาหารได้ปกติดีก็อาจจะยังไม่จำเป็น
ส่วนใครที่คิดว่าไม่สามารถทานอาหารหลักได้ครบ ไม่มีข้อห้ามและอยากจะทานวิตามินหรืออาหารเสริมก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ควรเลือกให้เหมาะทั้งชนิดและปริมาณ เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่อาจตามมาได้

2. ถ้าอยากทานอาหารเสริมหรือวิตามินเพื่อบำรุงผิวในวัย 30 ล่ะ ควรเลือกอย่างไรดี ❓

เมื่อเราอายุมากขึ้น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็ต้องมีการเสื่อมลงไปเรื่อยตามวัย ระบบผิวหนังก็เช่นกัน ความเสื่อมของผิวหนังตามวัยนั้นเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 25-30 ปี และอาจเร็วขึ้นถ้ามีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น รังสียูวี มลพิษ แอลกอฮอล์ บุหรี่

ซึ่งวัยนี้เป็นจุดที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของผิว เช่น
✔️ สร้าง collagen & elastic fiber ใต้ผิวลดลง
✔️ Hyaluronic acid ในผิวชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ ลดลง ส่งผลให้ผิวแห้งมากขึ้นและกักเก็บความชุ่มชื้นได้ลดลง

ดังนั้น ถ้าอยากทานอาหารเสริมหรือวิตามินช่วงวัยเข้าสู่อายุ 30 ก็ควรเน้นกลุ่มที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิวได้ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิว หรืออาจเป็นกลุ่มที่ช่วยต้านอนูมูลอิสระที่มาทำร้ายผิวได้ ยกตัวอย่างเช่น vitamin C, E, astaxanthin, alpha lipoic acid, coenzyme Q10 เป็นต้น

3. Astaxanthin คืออะไร ❓

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง ช่วยยับยั้งการเกิดปฎิกิริยาที่ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระในไมโทคอนเดรียของตับได้

✔️ มากกว่า Vitamin E ถึง 1,000 เท่า
นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของอนุมูลอิสระได้มากกว่าสารอื่นๆ ดังนี้
✔️ มากกว่า Grape seed extract 17 เท่า
✔️ มากกว่า Beta carotene 40 เท่า
✔️ มากกว่า Alpha lipoic acid 75 เท่า
✔️ มากกว่า Vitamin E & Alpha tocopherol 550 เท่า
✔️ มากกว่า Green tea extract 550 เท่า
✔️ มากกว่า Coenzyme Q10 800 เท่า
✔️ มากกว่า Vitamin C 6000 เท่า

4. ประโยชน์ของ Astaxanthin ในแง่ผิวหนังมีข้อมูลอะไรบ้าง ❓

ข้อมูลพบว่า เป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีเยี่ยม ช่วยให้ผิวแลดูอ่อนวัย ระยะยาวช่วยให้ริ้วรอยเล็ก ๆ ที่ผิวและจุดด่างดำ ดีขึ้นได้
หลักฐานทางการวิจัยที่มีทำในมนุษย์และค่อนข้างได้ผลชัดเจน คือ การรับประทานในแง่บำรุงผิวชุ่มชื้นและต้านอนุมูลอิสระ อาจได้ผลดีในกลุ่มคนเหล่านี้

✔️ ผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพทุกเพศทุกวัย
✔️ ผู้ที่ใส่ใจในความงามและสุขภาพผิว
✔️ ผู้ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะต่างๆเป็นประจำเช่นความเครียด ฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์ เป็นต้น
✔️ นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

5. ถ้าไม่อยากทานอาหารเสริม Astaxanthin จะหาทานได้จากอาหารประเภทไหนมีAstaxanthin เยอะบ้าง ❓

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารในกลุ่มแซนโทรฟิลล์ ตระกูลแคโรทีนอยด์ มีลักษณะเป็นสารสีแดงที่พบมากในอาหารเหล่านี้ค่ะ
🍣 ปลาแซลมอน
🐟 ไข่ปลาคาร์เวียร์
🦐 เปลือกปู กุ้ง
🥦 สาหร่าย ชนิด Microalgae Haematococus Pluvialis
🦅 ขนสีชมพูในนกฟลามิงโก

6. ปริมาณที่แนะนำให้ทาน Astaxanthin เท่าไหร่ที่ช่วยเรื่องผิวพรรณได้ ❓

ไม่มีปริมาณที่ระบุแน่นอน แต่การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ที่ไม่พบผลข้างเคียง มีดังนี้
🍬 ทานเดี่ยวๆ ปริมาณ 1-12 มิลลิกรัมต่อวัน ต่อเนื่อง 8-12 สัปดาห์ พบว่าริ้วรอยเล็ก ๆ ที่ผิวแลดูลดลง ผิวชุ่มชื้นขึ้น
🍬 ทานร่วมกับวิตามินอื่น ๆ ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ปริมาณ 4 มิลลิกรัมต่อวัน ต่อเนื่อง 12 เดือน
🍬 ทานพร้อมอาหารจะเพิ่มการดูดซึมได้ดีขึ้น

7. แอสตาแซนธินสะสมในร่างกายมั้ยคะ ❓

✔️ ไม่สะสมในร่างกายค่ะ ไม่เปลี่ยนโครงสร้างเหมือนกับวิตามินบางชนิด โครงสร้างของโมเลกุลเรียงตัวได้ดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ
✔️ บางรายพบผลข้างเคียง (ไม่ขึ้นกับขนาดที่ทาน) คือ มีอาการแพ้ได้บางราย, ความต้องการทางเพศลดลง, สีผิวเข้มขึ้น, ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลง, ความดันโลหิตต่ำลงได้

8. บุคคลใดที่ไม่แนะนำให้ทาน ❓

❌ ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
❌ มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับ Autoimmune disease
❌ ทานยากดภูมิคุ้มกัน
❌ แพ้สารในกลุ่ม Carotenoids, Astaxanthin
❌ กระดูกพรุน โรคพาราไทรอยด์ แคลเซียมต่ำ
❌ คนที่กินยากลุ่ม 5 alpha reductase inhibitors เนื่องจากเสริมฤทธิ์ให้ฮอร์โมนเพศชายลดน้อยลง

9. แล้วเรื่องการทานคอลลาเจนช่วยลดริ้วรอยได้ไหม ❓

มีข้อมูลทางคลินิกและในหลอดทดลอง พบว่าการทาน Hydrolyzed collagen peptides มีทั้งข้อมูลที่พบว่าได้ผลดีและไม่แตกต่าง แต่ข้อมูลส่วนใหญ่พบว่าช่วยเรื่อง ผิวพรรณให้ดีขึ้นได้ในเรื่องเหล่านี้ คือ

✔️ เพิ่มความชุ่มชื้นผิว (skin hydration)
✔️ เพิ่มเส้นใยคอลลาเจนที่ผิวชั้นหนังแท้
✔️ เพิ่มการสร้าง GAGs & อิลาสติน
ส่งผลโดยรวมให้ผิวหนังชุ่มชื้นและยืดหยุ่นมากขึ้น คุณภาพผิวดูดีขึ้น ริ้วรอยเล็ก ๆ ที่ผิวดูลดลง

กลไกหลักของการทานคอลลาเจนต่อผิวหนัง มี 2 อย่าง คือ
1.มีการดูดซึม collagen-derived peptides ผ่านลำไส้ ไปกระตุ้นไฟโบรบลาสต์ให้สร้าง ECM
2.กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนผ่านทางระบบอิมมูนร่างกาย

อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพต้องขึ้นกับปัจจัยอื่นด้วย เช่น ชนิดและขนาดโมเลกุลของคอลลาเจนที่ทาน, การดูดซึม, การกระจายตัวไปออกฤทธิ์ยังเซลล์ผิวหนัง รวมทั้งอายุของผู้ทาน ถ้าหากสูงวัยกว่าก็อาจจะเห็นผลช้ากว่าและน้อยกว่า

10. ปริมาณการทานคอลลาเจนเปปไทด์ ที่ช่วยเรื่องผิวพรรณ ❓

ต้องบอกก่อนว่าถ้าเราทานโปรตีนเพียงพอต่อวันแล้วก็อาจจะไม่จำเป็นต้องทานคอลลาเจนก็ได้ เพราะโปรตีนจากแหล่งอาหารหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ที่เราทานเข้าไปก็สามารถถูกนำไปสร้างคอลลาเจนที่ผิวหนังได้ แต่หากใครคิดว่าตัวเองทานอาหารหลักไม่เพียงพอ ก็อาจทาน คอลลาเจนเปปไทด์เป็นทางเลือกเสริมได้ โดยยังไม่มีขนาดรับประทานที่กำหนดไว้ชัดเจน แต่มีข้อมูลปริมาณการทานจากงานวิจัยที่เห็นการเปลี่ยนแปลง คือ

✔️ ด้านผิวพรรณ ประมาณ 2.5–5 กรัมต่อวัน
✔️ ด้านความแข็งแรงกระดูกและข้อต่อ ประมาณ 10-15 กรัมต่อวัน
โดยเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังทานนาน 60-90 วัน และผลจะคงอยู่ไปได้อีกประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ต้องอาศัยการต่อเนื่องร่วมด้วย

ปัจจุบันอาหารเสริมคอลลาเจนเปปไทด์และแอสตราแซนทินมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบเม็ด แบบผงชงดื่ม หรือ แม้แต่แบบใหม่ล่าสุด คือ เป็นแท่งเจลลี่สตริป ที่ถูกพัฒนาไอเดียนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ลิขสิทธิ์ของบริษัท ซันโทรี่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทานง่าย สะดวก และรสชาติดี

อย่างไรก็ตาม เราสามารถเลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารแอสตาเซนธิน เช่น ในเนื้อสีแดงสวยของปลาแซลมอน หรือแม้แต่การลองรับประทานกุ้งตัวเล็กทั้งเปลือก หรือ อาจเลือกทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ถั่วต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายนำไปเสริมสร้างคอลลาเจนต่อไป

ยังไม่มีคำแนะนำให้ต้องทานอาหารเสริมหรือวิตามินทุกคน อย่างที่บอกคือเป็นอาหารเสริม การจะรับประทานหรือไม่นั้น ขึ้นกับการตัดสินใจส่วนบุคคล หากใครที่อยากเสริมก็แนะนำให้ศึกษาข้อมูลหลักฐานทางงานวิจัย เลือกอาหารเสริมที่มีแหล่งที่มาชัดเจน ไม่มีโลหะหนักเจือปน ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย และ อย่าลืมเช็คว่ามีโรคประจำตัวหรือข้อห้ามอะไรในการทานอาหารเสริมหรือไม่ หากไม่แน่ใจแนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมค่ะ


[Disclaimer] สนับสนุนเนื้อหาความรู้โดย

BRAND’S Jelly Strip ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนำเข้า ผลิตโดยบริษัท ซันโช ฟาร์มาซูติคอล จำกัด ประเทศญี่ปุ่น

• กล่องแดง สูตร Astaxanthin & Collagen Peptide รสทับทิม
เหมาะสำหรับคนที่อยากเสริมการปกป้องผิวจากสารอนุมูลอิสระ เสริมการสร้างคอลลาเจน
ส่วนผสม
Collagen Peptide จากปลา 1,500 มก./ซอง
Astaxanthin สกัดจากสาหร่าย Haematococcus pluvialis 1 มก./ซอง
พลังงาน 25 Kcal/ซอง
ขนาดบริโภค 1-2 ซอง/วัน
ไม่แนะนำสำหรับคนแพ้ปลา, ถั่วเหลืองและถั่ว
เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

กล่องชมพู สูตร Niacinamide & Collagen Peptide รสองุ่น
เหมาะสำหรับคนที่อยากเสริมการปกป้องผิวจากสารอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องรอยดำจากการอักเสบ
ส่วนผสม
Collagen Peptide จากปลา 1,500 มก./ซอง
Niacinamide 6 มก./ซอง
พลังงาน 25 Kcal/ซอง
ขนาดบริโภค 1-2 ซอง/วัน
ไม่แนะนำสำหรับคนแพ้ปลา, ถั่วเหลืองและถั่ว
เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

หาซื้อได้ที่วัตสันทุกสาขา


References:
Int J Dermatol. 2021 Dec;60(12):1449-1461.
J Am Acad Dermatol. 2021 Apr;84(4):1042-1050.
J Cosmet Dermatol. 2020 Nov;19(11):2820-2829.
Oxid Med Cell Longev. 2020 May 11;2020:8031795.
Nutr Res. 2018 Sep;57:97-108.
Mol Nutr Food Res 2011; 150-165.
Am J Cardiol 2008; 58-68.
Ophthalmology 2008; 324-333.
Phytomedicine 2008; 391-399.

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

The impact of airborne pollution on skin

โพสนี้สำหรับใครที่อยากปกป้องผิวจากการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย ‼️

วันนี้หมอจะเน้น 9 ข้อสั้น ๆ ให้เห็นถึงความสำคัญของการปกป้องผิวจาก มลภาวะทางอากาศ เพิ่มเติมจากการป้องกันแดดค่ะ เพราะเชื่อว่าทุกคนที่ติดตามเพจอยู่ คงรู้หมดแล้วว่ากันแดดสำคัญขนาดไหน


Reference

The impact of airborne pollution on skin
JEADV vol 33 issue 8
First published: 21 March 2019

รวมลิ้งค์ https://linktr.ee/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

15 ข้อควรรู้..ความแก่ก่อนวัยจากการสูบบุหรี่

รู้ไหมว่า..การสูบบุหรี่ส่งผลต่อความงามบนใบหน้าอย่างไรบ้าง

1. หากดูจากรูป ทุกคนเดาได้หรือไม่ว่าฝาแฝดทั้ง 4 คู่ คนไหนสูบบุหรี่ คนไหนสูบน้อยหรือไม่สูบบุหรี่เลย

2. ทุกคนรู้..ว่าการสูบบุหรี่ส่งผลอย่างไรต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายเราบ้าง เช่น ปอด หัวใจ แต่วันนี้เราจะคุยกันเฉพาะเรื่องของผิวหนัง

3. ฝาแฝดทั้ง 4 คู่ มีสภาพผิวหน้าและผมที่ไม่เหมือนกัน ที่แน่ ๆ คือ แฝดคนที่สูบบุหรี่ดูแก่กว่าอีกคนชัดเจน ‼️

คู่ 1 คนขวาสูบบุหรี่มายาวนาน —> ความร้อนจากควันบุหรี่ และ มลภาวะที่เกิด ทำให้มีริ้วรอยที่มากขึ้น ตีนกาก็เยอะกว่าอาจเป็นเพราะเขาต้องหยีตาบ่อย ๆ จากการป้องกันควันบุหรี่ที่เป่าออกมา

คู่ 2 คนขวาสูบบุหรี่มา 16 ปี —> สภาพผิวหน้าแตกต่างชัดเจน มีริ้วรอย รอยฝ้ากระจุดด่างดำ ริมฝีปากคล้ำ และมีอีกอย่างที่เห็นชัดคือ ผมที่หงอก หยาบกระด้าง ฟูชี้ไปมา ดูมีอายุมากกว่าคู่แฝดคนซ้ายชัดเจน

คู่ที่ 3 คนซ้ายสูบบุหรี่ —> สภาพผิวไม่ต่างมาก แต่ที่ชัดคือ รอยย่นที่ปากซึ่งคาดว่าเกิดจากการดูดบุหรี่ และยังมีริมฝีปากที่คล้ำขึ้นกว่าอีกคน

คู่ที่ 4 คนซ้ายสูบบุหรี่หนัก —> ริ้วรอยต่าง ๆ เห็นชัดเจน ทั้งลึกและมากกว่าคนขวา รวมทั้งถุงใต้ตาที่หย่อนคล้อยมากกว่า

4. สูบบุหรี่ ส่งผลให้เกิดความแก่ก่อนวัย หรือที่เราเรียกศัพท์ทางการแพทย์ว่า Premature aging ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดผลการเปลี่ยนแปลงในใบหน้า 2/3 ล่างมากกว่าบริเวณอื่น ซึ่งพบว่าความแก่ของผิวที่ถูกทำร้ายจากการสูบบุหรี่ รุนแรงกว่าผิวที่ถูกทำร้ายจากแสงแดด

5. เคยมีงานวิจัยพบว่า ผิวของคนสูบบุหรี่ที่อายุ 40 ปี มีลักษณะโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ที่อายุ 70 ปีเลยทีเดียว

6. ควันบุหรี่ มีสารที่ทำให้ เกิดอนุมูลอิสระ (Reactive Oxygen Species) มากมายกว่า 4000 ชนิด มาทำร้ายผิวหน้าและเส้นผมที่สัมผัสควัน ทำให้ผิวแห้ง หมองคล้ำ เกิดฝ้า กระ ผมหงอกเพิ่มขึ้นได้

7. มีการ ทำลายคอลลาเจนและอิลาสตินและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ของผิวหนัง ส่งผลให้ความยืดหยุ่นของผิวหนังน้อยลง สิ่งที่ตามมาคือ ริ้วรอย ความเหี่ยวย่น ผิวหน้าและถุงใต้ตาเกิดความหย่อนคล้อยมากขึ้น

8. การดูดและพ่นควันบุหรี่เป็นประจำ ด้วยท่าปากจู๋ ทำให้เกิดริ้วรอยรอบ ๆ ปากเพิ่มขึ้นชัดเจน และยังทำให้ริมฝีปากสีคล้ำขึ้นอีกด้วย

9. มีงานวิจัยพบว่า การหยุดสูบบุหรี ถึงแม้ไม่อาจทำให้ความแก่ของผิวบางอย่างกลับคืนปกติได้ แต่มันจะไม่มากไปกว่านี้ และหากดูแลผิวให้ถูกวิธี สามารถทำให้ดู อ่อนเยาว์ขึ้นใน 5 ปีอย่างชัดเจน

10. สารนิโคตินในควันบุหรี่ สามารถกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว ผิวขาดออกซิเจน ทำให้แผลหายช้าลง พบว่าการสูบบุหรี่ 1 มวน ทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังเกิดการหดตัวได้ยาวนานถึง 90 นาที บางรายที่มีแผลผ่าตัดอาจเกิดเป็นเนื้อตายได้ มีคำแนะนำว่าควรงดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด 1 วัน-3 สัปดาห์ จนถึง หลังผ่าตัด 5 วัน-4 สัปดาห์ (ตัวเลขมีหลายงานวิจัย)

11. นอกจากนั้น ยังทำให้ เลือดไปเลี้ยงปลายนิ้วก็ลดลงถึง 24% (1 มวน) – 29% (2 มวน) จะเห็นว่าบางรายที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว อาจเกิดภาวะนิ้วขาดเลือดก็ได้ เช่น Thromboangiitis obliterans (Buerger’s disease)

12. การสูบบุหรี่นอกจากทำให้ ผิวเหี่ยว จากการมีออกซิเจนมาเลี้ยงผิวน้อยลงแล้ว ยังเกิดจากการมีระดับวิตามินเอในผิวน้อยลง และระดับเอสโตรเจนในผิวก็ลดลงด้วย (เพิ่ม hydroxylaton of estradiol)

13. มีรายงาน โรคผิวหนังที่พบเพิ่มขึ้นหรืออาจมีการกำเริบสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคมะเร็งผิวหนังบางชนิด เป็นต้น

14. นิ้วมือและเล็บข้างที่ใช้คีบบุหรี่ อาจพบมีสีเหลืองอมน้ำตาล จากการสัมผัสสารนิโคติน เรียกว่า Harlequin nail, Quitter’s nail

15. ข้อสุดท้ายคือ ไม่ใช่เพียงแต่คนสูบบุหรี่ที่จะทำให้เกิดการแก่ก่อนวัยเท่านั้น คนที่อยู่ใกล้ชิด ที่เรียกว่า Passive Smoking นั้น ก็ได้รับผลกระทบนี้เช่นกันนะจ๊ะ

ด้วยความปรารถนาดี ถ้าไม่อยากแก่ก่อนวัย อย่าคิดเริ่มที่จะลองสูบบุหรี่เลยค่ะ และหากสูบไปแล้ว ยังไม่สายเกินไปที่จะหยุดความแก่นี้ไว้ แล้วหันกลับมาดูแลตัวเอง ให้กลับมาสดใสอีกครั้งได้เสมอ หมอยินดีให้คำแนะนำเสมอนะคะ

เคล็ดลับความงาม: อยู่ห่างจากควันบุหรี่‼️

หากชอบบทความหรือเห็นว่ามีประโยชน์ สามารถกดเลิฟกดแชร์ได้เลยนะคะ ☺️

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References

Cigarette smoking and its influence on skin aging.
Przegl Lek. 2012; 69(10): 1111-1114.

Analysis of knowledge about tobacco smoking influence on skin condition. Przegl Lek. 2012;69(10):1055-1059.

Cutaneous Manifestations and Consequences of Smoking.
J Am Acad Dermatol. May 1996; 34(5 Pt 1): 717-32; quiz 733-4.

Image via Wolters Kluwer Health
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

15 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการแก่ก่อนวัยจากบุหรี่‼️

รู้ไหมว่า..การสูบบุหรี่ส่งผลต่อความงามบนใบหน้าอย่างไรบ้าง⁉️

1🚭 หากดูจากรูป ทุกคนเดาได้หรือไม่ว่าฝาแฝดทั้ง 4 คู่ คนไหนสูบบุหรี่ คนไหนสูบน้อยหรือไม่สูบบุหรี่เลย

2🚭 ทุกคนรู้..ว่าการสูบบุหรี่ส่งผลอย่างไรต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายเราบ้าง เช่น ปอด หัวใจ แต่วันนี้เราจะคุยกันเฉพาะเรื่องของผิวหนัง

3🚭 ฝาแฝดทั้ง 4 คู่ มีสภาพผิวหน้าและผมที่ไม่เหมือนกัน ที่แน่ ๆ คือ แฝดคนที่สูบบุหรี่ดูแก่กว่าอีกคนชัดเจน ‼️

คู่ 1 คนขวาสูบบุหรี่มายาวนาน —> ความร้อนจากควันบุหรี่ และ มลภาวะที่เกิด ทำให้มีริ้วรอยที่มากขึ้น ตีนกาก็เยอะกว่าอาจเป็นเพราะเขาต้องหยีตาบ่อย ๆ จากการป้องกันควันบุหรี่ที่เป่าออกมา

คู่ 2 คนขวาสูบบุหรี่มา 16 ปี —> สภาพผิวหน้าแตกต่างชัดเจน มีริ้วรอย รอยฝ้ากระจุดด่างดำ ริมฝีปากคล้ำ และมีอีกอย่างที่เห็นชัดคือ ผมที่หงอก หยาบกระด้าง ฟูชี้ไปมา ดูมีอายุมากกว่าคู่แฝดคนซ้ายชัดเจน

คู่ที่ 3 คนซ้ายสูบบุหรี่ —> สภาพผิวไม่ต่างมาก แต่ที่ชัดคือ รอยย่นที่ปากซึ่งคาดว่าเกิดจากการดูดบุหรี่ และยังมีริมฝีปากที่คล้ำขึ้นกว่าอีกคน

คู่ที่ 4 คนซ้ายสูบบุหรี่หนัก —> ริ้วรอยต่าง ๆ เห็นชัดเจน ทั้งลึกและมากกว่าคนขวา รวมทั้งถุงใต้ตาที่หย่อนคล้อยมากกว่า

4🚭 สูบบุหรี่ ส่งผลให้เกิดความแก่ก่อนวัย หรือที่เราเรียกศัพท์ทางการแพทย์ว่า Premature aging ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดผลการเปลี่ยนแปลงในใบหน้า 2/3 ล่างมากกว่าบริเวณอื่น ซึ่งพบว่าความแก่ของผิวที่ถูกทำร้ายจากการสูบบุหรี่ รุนแรงกว่าผิวที่ถูกทำร้ายจากแสงแดด

5🚭 เคยมีงานวิจัยพบว่า ผิวของคนสูบบุหรี่ที่อายุ 40 ปี มีลักษณะโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ที่อายุ 70 ปีเลยทีเดียว

6🚭 ควันบุหรี่ มีสารที่ทำให้ เกิดอนุมูลอิสระ (Reactive Oxygen Species) มากมายกว่า 4000 ชนิด มาทำร้ายผิวหน้าและเส้นผมที่สัมผัสควัน ทำให้ผิวแห้ง หมองคล้ำ เกิดฝ้า กระ ผมหงอกเพิ่มขึ้นได้

7🚭 มีการทำลายคอลลาเจนและอิลาสติน และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ของผิวหนัง ส่งผลให้ความยืดหยุ่นของผิวหนังน้อยลง สิ่งที่ตามมาคือ ริ้วรอย ความเหี่ยวย่น ผิวหน้าและถุงใต้ตาเกิดความหย่อนคล้อยมากขึ้น

8🚭 การดูดและพ่นควันบุหรี่เป็นประจำ ด้วยท่าปากจู๋ ทำให้เกิดริ้วรอยรอบ ๆ ปากเพิ่มขึ้นชัดเจน และยังทำให้ริมฝีปากสีคล้ำขึ้นอีกด้วย

9🚭 มีงานวิจัยพบว่า การหยุดสูบบุหรี ถึงแม้ไม่อาจทำให้ความแก่ของผิวบางอย่างกลับคืนปกติได้ แต่มันจะไม่มากไปกว่านี้ และหากดูแลผิวให้ถูกวิธี สามารถทำให้ดู อ่อนเยาว์ขึ้นใน 5 ปีอย่างชัดเจน

10🚭 สารนิโคตินในควันบุหรี่ สามารถกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว ผิวขาดออกซิเจน ทำให้แผลหายช้าลง พบว่าการสูบบุหรี่ 1 มวน ทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังเกิดการหดตัวได้ยาวนานถึง 90 นาที บางรายที่มีแผลผ่าตัดอาจเกิดเป็นเนื้อตายได้ มีคำแนะนำว่าควรงดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด 1 วัน-3 สัปดาห์ จนถึง หลังผ่าตัด 5 วัน-4 สัปดาห์ (ตัวเลขมีหลายงานวิจัย)

11🚭 นอกจากนั้น ยังทำให้ เลือดไปเลี้ยงปลายนิ้วก็ลดลงถึง 24% (1 มวน) – 29% (2 มวน) จะเห็นว่าบางรายที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว อาจเกิดภาวะนิ้วขาดเลือดก็ได้ เช่น Thromboangiitis obliterans (Buerger’s disease)

12🚭 การสูบบุหรี่นอกจากทำให้ ผิวเหี่ยว จากการมีออกซิเจนมาเลี้ยงผิวน้อยลงแล้ว ยังเกิดจากการมีระดับวิตามินเอในผิวน้อยลง และระดับเอสโตรเจนในผิวก็ลดลงด้วย (เพิ่ม hydroxylaton of estradiol)

13🚭 มีรายงาน โรคผิวหนังที่พบเพิ่มขึ้นหรืออาจมีการกำเริบสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคมะเร็งผิวหนังบางชนิด เป็นต้น

14🚭 นิ้วมือและเล็บข้างที่ใช้คีบบุหรี่ อาจพบมีสีเหลืองอมน้ำตาล จากการสัมผัสสารนิโคติน เรียกว่า Harlequin nail, Quitter’s nail

15🚭 ข้อสุดท้ายคือ ไม่ใช่เพียงแต่คนสูบบุหรี่ที่จะทำให้เกิดการแก่ก่อนวัยเท่านั้น คนที่อยู่ใกล้ชิด ที่เรียกว่า Passive Smoker นั้น ก็ได้รับผลกระทบนี้เช่นกันนะจ๊ะ

ด้วยความปรารถนาดี ถ้าไม่อยากแก่ก่อนวัย อย่าคิดเริ่มที่จะลองสูบบุหรี่เลยค่ะ และหากสูบไปแล้ว ยังไม่สายเกินไปที่จะหยุดความแก่นี้ไว้ แล้วหันกลับมาดูแลตัวเอง ให้กลับมาสดใสอีกครั้งได้เสมอ หมอยินดีให้คำแนะนำเสมอนะคะ

เคล็ดลับความงาม: อยู่ห่างจากควันบุหรี่‼️

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References

Cigarette smoking and its influence on skin aging.
Przegl Lek. 2012; 69(10): 1111-1114.

Analysis of knowledge about tobacco smoking influence on skin condition. Przegl Lek. 2012;69(10):1055-1059.

Cutaneous Manifestations and Consequences of Smoking.
J Am Acad Dermatol. May 1996; 34(5 Pt 1): 717-32; quiz 733-4.

Image via Wolters Kluwer Health
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.