Tag Archives: oily

เป็นสิว ผิวมัน แต่ขาดน้ำ..แก้อย่างไร

โพสต์นี้อยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับ ซีบุ่ม (Sebum) กับ การเกิดสิว เพราะหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสิวนั้นเกี่ยวกับ Sebum ที่เปลี่ยนไป

ซีบุ่ม หลั่งออกมาจากต่อมไขมันซึ่งพบได้หลายส่วนของร่างกายรวมทั้งที่ผิวหนัง มีหน้าที่ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น ไม่ให้ผิวแห้ง สร้างสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ เช่น วิตามินอี ซึ่งช่วยคงสมดุลของไขมันผิว และนอกจากนั้น ซีบุ่มยังมีสารป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังได้อีก

หน้าที่ของ sebum

ผิวคนเป็นสิวง่าย พบว่าส่วนประกอบไขมันที่กำแพงผิว เช่น sphingolipids (ceramides, free sphingosine) ลดลง จึงทำให้ผิวสูญเสียน้ำได้ง่ายขึ้น และมีการก่อตัวของ comedone ขึ้นมา

Sebum กับ ผิวที่เป็นสิว ผิวมัน ขาดน้ำ

นอกจากนั้น ผิวคนเป็นสิวง่ายอาจมีโครงสร้างและการทำงานต่อมไขมันผิวที่ผิดปกติ ร่วมกับเกิดการเปลี่ยนแปลงไขมันผิวร่วมด้วย ได้แก่

1. การผลิตไขมันผิวมากขึ้น (Hyperseborrhea)

โดยเฉพาะบริเวณ T-zone (ในคนอายุน้อยกว่า 25 ปี) และ U-zone (ในคนอายุมากกว่า 25 ปี)

ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น testosterone, progesterone, sex hormone binding globulin

2. การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบไขมันผิว (Dysseborrhea)

Oxidised squalene, Oleic acid, triglyceride, wax ester/cholesterol ester สูงขึ้น

Linoleic acid, FFA ลดลง 

สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น vitamin E ลดลง

จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมผิวที่เป็นสิวง่ายจึงอาจมีความมันมากขึ้น ในขณะที่ผิวขาดน้ำเพราะกำแพงผิวหนังไม่แข็งแรงนั่นเอง

PRACTICAL POINT

เคล็ดลับการเลือกสกินแคร์สำหรับคนที่เป็นสิว มีผิวมัน แต่ขาดน้ำ แนะนำมองหาคุณสมบัติที่แก้ไขข้อบกพร่องตามข้างต้น ดังนี้

สกินแคร์สำหรับสิว ผิวมัน ขาดน้ำ

✔️ Sebum controller มีตัวช่วยควบคุมปริมาณและคุณภาพของน้ำมันผิว

✔️ Anti oxidation มีสารต้านอนุมูลอิสระ

✔️ Anti inflammation มีตัวช่วยลดการอักเสบสิว

✔️ Barrier repairment มีตัวเสริมความแข็งแรงของกำแพงผิวส่วนที่ขาดไป

ยกตัวอย่าง สกินแคร์ที่มีคุณสมบัติข้างต้น เช่น Bioderma Sebium Sensitive

Clinical trial : มีข้อมูลการศึกษาในคนเป็นสิว ผิวมัน ขาดน้ำพบว่าสามารถลดปริมาณไขมันผิว คุมมัน เสริมกำแพงผิว และพบว่าผิวมี TEWL ลดลง กล่าวคือ การสูญเสียน้ำทางผิวลดลง [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ]

สกินแคร์สำหรับคนเป็นสิวควรเลือกให้เหมาะ และเป็นสิ่งที่ควรมีควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยาเพราะจะช่วยเสริมการรักษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นค่ะ 

ด้วยความปรารถนาดี

หมอลูกเจี๊ยบ แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ

——————————————

References

Arch Dermatol Res. 1995;287(2):214-8.

J Eur Acad Dermatol Venereol. 2013;27:301-306.

Int J Cosmet Sci. 2014 Jun;36(3):221-30. 

Clinical, Cosmetic and Investigational Dermatology 2015:8 187–191.

Arch Dermatol Res. 2017 Sep;309(7):529-540.

Br J Dermatol. 2019 Oct;181(4):677-690.

Sci Rep. 2021 Sep 3;11(1):17974. 

——————————————

[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย

Bioderma Sebium Sensitive

ครีมบำรุงสำหรับคนเป็นสิว ผิวแพ้ง่าย ขาดน้ำ ปรับสมดุลความมัน เติมน้ำให้ผิวชุ่มชื้นยาวนาน 12 ชม. สามารถใช้ร่วมกับยารักษาสิวได้

Bioderma sebium sensitive

ACTIONS:

SEBORESTORE technology ช่วยปรับสมดุลซีบัมและลดการเกิดสิวใหม่

• INFLASTOP™ Complex ช่วยลดการออกฤทธิ์ของสารอักเสบ ลดการระคายเคืองผิว

• FLUIDACTIV™ patent ลดความเหนียวข้นของซีบัม

Bakuchiol สารต้านอนุมูลอิสระ ออกฤทธิ์ 2 เท่าของวิตามินอี

Biomimetic Glycerin เสริมความชุ่มชื้นผิว

Zinc Gluconate ช่วยลดการผลิตน้ำมันผิว

Clinical Studies:

มีการศึกษาผิวคนไทย หลังการทาครึ่งหน้า เช้าเย็นติดต่อกัน 4 สัปดาห์ (เทียบกับหน้าอีกข้างที่ทายาสิว) พบว่า

✔️ ปริมาณไขมันลดลง

✔️ ความชุ่มชื้นผิวเพิ่มขึ้น

✔️ ค่าการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง (TEWL) หลังการทายาสิว เพิ่มขึ้นน้อยกว่าข้างที่ไม่ทา 

✔️ จำนวน comedone และ สิวอักเสบ น้อยกว่า

เมื่อเทียบกับอีกข้างที่ทาเฉพาะยาสิว

*การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

——————————————

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Step เลือกสกินแคร์เริ่มแบบนี้

Skincare Routine Step​ เริ่มต้นเลือกสกินแคร์
Skincare Routine Step

Step 1

เช็คสภาพผิวของตัวเองก่อน และต้องเช็คเรื่อยๆ เพราะสภาพผิวสามารถเปลี่ยนได้

https://www.facebook.com/476743752739537/posts/994477387632835/?d=n

https://youtu.be/tjEx82EuhLU

Step 2

เลือกสกินแคร์เบสิคที่ควรมีให้ครบก่อน
หลังจากนั้นใช้ไป 1-2 เดือน มาดูยังเหลือปัญหาอะไรที่อยากแก้ไขเพิ่มเติม

Step 3

เลือกสกินแคร์แก้ไขปัญหาของแต่ละบุคคล เช่น
ผิวขาดน้ำ -> เติมน้ำ เติม hya
ผิวแห้งระคายเคือง -> เลือกส่วนผสมลดการระคายเคือง ส่วนมากจะรวมในมอยเจอไรเซอร์ ลองเลือกดู
ผิวชรา -> เน้นเพิ่ม antioxidant, กลุ่มวิตามินเอหรืออนุพันธ์ (ถ้าใช้ยาอยู่แล้วก็อาจไม่จำเป็นต้องเพิ่มสกินแคร์วิตามินเอก็ได้)
ผิวหมองคล้ำ รอยดำ ฝ้ากระ -> เน้นกันแดด เพิ่มกลุ่ม Lightening

Step 4

มองหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับตัวเอง
ในลิ้งค์ HELLOSKINDERM หรือ QR code เป็นตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่งที่นำมาให้สำหรับคนไม่มีเวลาหาข้อมูลค่ะ เดี๋ยวมาอัพเดทข้อมูลเรื่อย ๆ นะ

#saveไว้ได้ใช้แน่


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ลองสำรวจดูว่ามีผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ มี BHA ซ้ำซ้อนกันในเวลาเดียวกันหรือไม่ ⁉️

BHA เช่น Salicylic acid, Lipohydroxy acid
ละลายได้ดีในไขมัน มีคุณสมบัติเด่นคือ

• ซึมผ่านบริเวณรูขุมขนลงไปผิวหนังชั้นที่ลึกกว่าได้ (Deep penetration through the lipid barrier of epidermis) ซึ่งเป็นสิ่งที่ AHA ทำไม่ได้
• ละลายสิวที่อุดตัน (Comedolytic effect)
ผลที่ตามมา คือ ทำให้สิวอุดตันลดลง
• ลดการสร้าง sebum (Minimized sebum production)
ผลที่ตามมา คือ ควบคุมความมันของผิว
• ออกฤทธิ์ลดการอักเสบได้ (Anti inflammatory effect)
ผลที่ตามมา คือ ช่วยลดการอักเสบของสิว ส่งผลให้เกิดรอยดำหลังการเกิดสิวลดลงตามมา

ดังนั้น BHA เหมาะสำหรับคนที่ปัญหาผิว ดังนี้
▫️สิวทุกชนิด ทั้งสิวอักเสบและสิวอุดตัน (Inflammatory and comedonal acne)
▫️หน้ามัน (Oily skin)

ส่วนคนที่ผิวแห้งหรือระคายเคืองง่าย ถ้าอยากใช้ BHA แนะนำว่าให้เลือกแบรนด์ที่มีส่วนผสมที่ช่วยลดการระคายเคืองและเพิ่มความความชุ่มชื้นร่วมด้วย หรือเลือก BHA รูปแบบที่ระคายเคืองน้อย โดยจะดูที่ปริมาณ % เท่านั้นไม่ได้ค่ะ เช่น Betaine Salicylate 4% เทียบผลแล้วอาจได้ประมาณ 1-2% Salicylic acid เป็นต้น ไว้จะมาเล่าให้ฟังทีหลัง

โพสนี้ไม่ได้เล่าละเอียดในส่วนผสมของแต่ละผลิตภัณฑ์ เพียงแต่มีหลายครั้งที่ชอบเจอคำถามว่าใช้ตัวหนึ่งทาทับกับอีกตัวได้ไหม อยากให้ลองสำรวจดูว่ามีผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ BHA ซ้ำซ้อนกันในเวลาเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีก็ควรจะแยกเวลาใช้ หรือ เลือกตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะช่วยลดผลข้างเคียงได้ค่ะ


ดูคลิป AHA & BHA เพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์นี้
https://youtu.be/svfWKAe8niQ


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Acne-prone Skincare, According to Dermatologist

คนเป็นสิวใช้อะไรดี..แนะนำแบบนี้ค่ะ ‼️

  1. ไอเทมที่ควรมีคู่กับการรักษาด้วยยาสิว คือ ผลิตภัณฑ์กันแดด, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเช้า-ก่อนนอน, ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า
  2. เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับ acne-prone skin ได้แก่ non-comedogenic, oil free
  3. เลือกให้เหมาะกับผิว เช่น
    ถ้าเป็นสิว+ผิวมันควรเน้นกลุ่มที่ควบคุมความมัน
    ถ้าเป็นสิว+ผิวแห้งหรือแพ้ง่าย ควรเน้นกลุ่มเสริมกำแพงผิว ลดการระคายเคือง เพิ่มความชุ่มชื้นเป็นพิเศษ
  4. คนผิวมัน เน้นผลิตภัณฑ์เนื้อบางเบา เช่น เจล โลชั่น หรือ ครีมที่ซึมเร็ว ส่วนคนผิวแห้ง เน้นผลิตภัณฑ์เนื้อครีมจะช่วยบำรุงได้ดีกว่า
  5. คนผิวแห้ง ระคายเคืองง่าย พยายามเลี่ยงน้ำหอม แอลกอฮอล์ สารกันเสีย เพราะอาจระคายเคืองได้
  6. ประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดขึ้นกับสภาพผิวแต่ละคน อย่าใช้ตามเพื่อนหรือคำโฆษณา ควรต้องเลือกที่เหมาะกับตัวเอง
  7. ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติทับซ้อนกัน เพราะไม่เพียงแต่สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นแล้วยังอาจมีผลข้างเคียงตามมาได้
  8. ในรูปเป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้นให้ทุกคนลองไปศึกษากันดูค่ะ
  9. สุดท้าย ย้ำเสมอหากเป็นสิวเรื้อรังรุนแรงไม่หายสักที แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังร่วมประเมินค่ะ

ถ้าชอบ Protocol สกินแคร์สิว Acne-prone Skncare อันนี้ สามารถกดไลค์กดแชร์ได้เลยค่า ♥️

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Acne-friendly Moisturizer สกินแคร์สำหรับคนเป็นสิว

สิว..นอกจากการรักษาโดยการใช้ยากินและยาทาที่สั่งโดยแพทย์แล้วนั้น เดอโมคอสเมติกสำหรับผิวที่เป็นสิวก็สำคัญไม่แพ้กัน

สกินแคร์สำหรับคนเป็นสิวควรเลือกให้เหมาะ และเป็นสิ่งที่ควรมีควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยาเพราะจะช่วยเสริมการรักษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

โดยปกติแล้วสกินแคร์สำหรับคนเป็นสิวแนะนำเลือกคุณสมบัติ 5 ข้อ ล้อไปตามกลไกของการเกิดสิว ดังนี้

1. ชนิดมอยซ์เจอไรเซอร์สำหรับผิวที่เป็นสิว แนะนำ water‐based, nongreasy เนื้อสัมผัสไม่เหนียว ควรใช้ทุกวันเป็นประจำและควรใช้คู่กับ ครีมกันแดดและคลีนเซอร์สำหรับสูตรสิว จะช่วยให้สิวหายเร็วขึ้น

ส่วนประกอบพื้นฐานที่แนะนำ ได้แก่


✔️ Dimethicone และ glycerin เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการสูญเสียน้ำจากผิว
✔️ Hyaluronic acid หรือ sodium pyrrolidone carboxylic acid เพื่อช่วยบำรุงให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น

2. ผลิตภัณฑ์ควบคุมความมัน (Sebum-controlling agents)
กลุ่มนี้ถ้าหากใครหน้าไม่มัน สามารถข้ามไปได้เลย

ส่วนประกอบที่ช่วยเรื่องความมัน ได้แก่

✔️ Niacinamide
✔️ Bakuchiol
✔️ Zinc
✔️ Fullerene
✔️ L-carnitine
โดยจะเริ่มเห็นผลประมาณ 4 สัปดาห์ อาจต้องใช้เวลาและต้องมีความสม่ำเสมอใจเย็น

3. ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิวลดการอุดตันของรูขุมขน (Keratolytic agents)
กลุ่มนี้จะช่วยให้ยารักษาสิวออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ผิวดูขาวใสขึ้น และ ยังช่วยลดรอยดำจากสิวได้อีก กลุ่มนี้อาจไม่ต้องทาทุกวันก็ได้ ขึ้นกับสภาพผิวและการระคายเคืองซึ่งไม่เหมือนกันในแต่ละคน และจะเริ่มเห็นผลประมาณ 4 สัปดาห์

ส่วนประกอบที่ช่วยลดการอุดตัน ได้แก่

✔️ Retinol derivatives
✔️ Alpha‐hydroxy acids เช่น glycolic acid
✔️ Beta‐hydroxy acids เช่น salicylic acid
✔️ Polyhydroxy acids เช่น lactobionic acid and gluconolactone
✔️ Linoleic acid

4. ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการอักเสบ (Anti-inflammatory agents)
กลุ่มนี้นอกจากจะช่วยเรื่องลดการอักเสบของสิวแล้ว ยังลดการเกิดรอยแดงและรอยดำที่มักเกิดตามหลังการอักเสบของสิวได้อีก

ส่วนประกอบที่ช่วยลดการอักเสบ ได้แก่

✔️ Azelaic acid
✔️ Licochalcone-A
✔️ Hazel และ Aloe vera
✔️ Zinc
✔️ Soy isoflavones
✔️ Salix alba (active extract of willow bark)
✔️ Gingo biloba extracts
✔️ Epiderma Growth Factors
✔️ Enoxolone (extract from licorice root)
✔️ Penthanol
✔️ Probiotic : Lactobacillus-fermented Chamaecyparis obtusa, Lactobacillus plantarum
อื่น ๆ ที่ช่วยได้ Bakuchiol, Nicotinamide, Decanediol

5. ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยยับยั้ง C.acne
(Anti-microbial agents)

กลุ่มนี้จะช่วยลดการเกิดเชื้อดื้อยาได้ดีกว่าการใช้ยาฆ่าเชื้อแต้มสิวเดี่ยว ๆ

ส่วนประกอบที่ช่วยฆ่าเชื้อ ได้แก่

✔️ Decanediol เริ่มเห็นผลประมาณ 8 สัปดาห์
✔️ Tea tree oil 5% เทียบเท่า BPO แต่เห็นผลช้ากว่า
อื่น ๆ ที่ช่วยได้ Bakuchiol, Lactobacillus plantarum

หากใครเป็นสิวอุดตัน สิวอักเสบ ผิวมัน ที่กำลังหาสกินแคร์สักชิ้น ลองมองหาส่วนผสมที่กล่าวไปข้างต้นเพื่อเสริมการรักษาไปกับการทายาได้ค่ะ
ทั้งนี้การรักษาและการตอบสนองต่อการรักษาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องค่อย ๆ ลองปรับที่เหมาะกับตัวเอง และหากเป็นสิวเรื้อรังรุนแรงแนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังร่วมดูแล


References:


JEADV 2015; 29(Suppl. 5): 1-7.
Nat Rev Dis Primers. 2015; 1: 15029.
J Clin Aesthet Dermatol. 2013; 6: 18-24.
J Cosmet Dermatol. 2012 Mar; 11(1): 30-6.
Clin Cosmet Investig Dermatol. 2010; 3: 135–142.
International journal of pharmaceutics 292.1-2 (2005): 187-194.


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

เช็คลิสต์สกินแคร์สำหรับคนผิวมันรูขุมขนกว้าง ‼️

จากบทความตอนที่แล้ว ทำให้ทราบว่ารูขุมขนกว้างนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่
• มีการผลิตน้ำมันผิวมากขึ้น
• ขนเส้นใหญ่และหนา
• โครงสร้างผิวเสื่อมและหย่อนคล้อย
• พันธุกรรมและฮอร์โมน
• แสงแดด
• การเป็นสิวอุดตันบ่อย ๆ

สามารถอ่านทบทวนได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ

คราวนี้มาคุยกันต่อเฉพาะในกรณีของคนที่รูขุมขนกว้างและหน้ามัน ว่าควรเลือกสกินแคร์และดูแลผิวอย่างไรบ้างเพื่อให้ผิวดูเนียนขึ้น ?

1. การเลือก Sunscreen
แสงแดดทำให้โครงสร้างของผิวเสื่อมลงและความยืดหยุ่นลดลง เป็นเหตุให้โครงสร้างผิวที่คอยพยุงรอบรูขุมขนเกิดการหย่อนคล้อย ทำให้รูขุมขนกว้างขึ้นตามมา ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนต้องเผชิญกับแสงแดดในทุกวัน
🌟 ดังนั้น ครีมกันแดดจึงเป็นไอเทมที่ควรมี และแนะนำให้ทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ โดย AAD แนะนำอย่างน้อย SPF 30, PA+++ ขึ้นไป

2. สกินแคร์กลุ่มผลัดเซลล์ผิว AHA
มีข้อมูลพบว่า ช่วยทำให้รูขุมขนดูเล็กลงได้ในคนที่ผิวมัน (Oily skin) โดยมีคุณสมบัติ คือ
✔️ เสริมการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ลดการอุดตันในของรูขุมขน ช่วยให้รูขุมขนแลดูกระชับขึ้น และลดการเกิดสิวอุดตันตามมา
✔️ ผิวเนียนเรียบ ดูโกลว์ขึ้น
✔️ เพิ่มการอุ้มน้ำที่ผิวหนังกำพร้า ช่วยเพิ่มความนุ่มชุ่มชื้น
✔️ ในระยะยาวช่วยเสริมการปรับโครงสร้างผิวในชั้นหนังแท้ ช่วยให้แข็งแรงและริ้วรอยเล็ก ๆ ลดลง อายุผิวดูลดลง
🌟 AHA ที่ได้จากกรดผลไม้ มีความอ่อนโยน เช่น
• Glycolic acid โมเลกุลเล็กสุด ได้ผลค่อนข้างดี จึงนิยมใช้ผสมในสกินแคร์มากที่สุด
• Lactic acid โครงสร้างและโมเลกุลใกล้เคียงกับ Glycolic acid จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ
• Mandelic, Tartaric, Malic ค่อนข้างอ่อน จึงนิยมใช้เพิ่มความชุ่มชื้นมากกว่าผลัดเซลล์ผิว
🌟 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมข้างต้นมากมายในท้องตลาด แนะนำให้เลือกดูผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานผ่านการรับรอง เพื่อความปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดี
🌟 ควรระวังการระคายเคืองในคนผิวแห้ง (Dry skin), ผิวที่ระคายเคืองง่าย (Sensitive skin) และคนใช้ยารักษาสิวอยู่ด้วย เช่น Retinoid cream, Benzyl peroxide โดยแนะนำให้เลือกสกินแคร์ที่อ่อนโยนกับผิว และไม่ทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขน เพื่อลดการเกิดปัญหาสิวตามมา
🌟 ยกตัวอย่างสกินแคร์กลุ่มนี้ เช่น Eucerin Poreless Solution Pore Minimizer Serum มีส่วนผสมของ Glycolic acid + Lactic acid ผ่านการทดสอบทางการแพทย์ และผสม Glycerin, Sodium hyaluronate ช่วยลดการระคายเคืองได้ จึงเหมาะกับผิวบอบบาง ผิวเป็นสิวง่าย ที่มีปัญหารูขุมขนกว้างร่วมด้วย

3. การเลือก Vitamin A derivatives
ในกรณีที่ผิวมันและมีสิวด้วย อาจเพิ่มสกินแคร์ในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอร่วมด้วยได้ เช่น retinol, retinyl palmitate โดยแนะนำทาช่วงก่อนนอน และระมัดระวังการใช้เพราะอาจระคายเคืองได้
🌟 ไม่แนะนำให้ใช้ในคนท้องหรือให้นมบุตร
🌟 หากเป็นกลุ่ม Prescribed medication แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางร่วมด้วย

4. การเลือก Moisturizer
ถ้าหากรูขุมขนมีสิ่งที่ก่อให้อุดตัน จะทำให้รูขุมขนยิ่งดูใหญ่และสังเกตเห็นได้ชัดขึ้น
🌟 ดังนั้น แนะนำเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเป็นกลุ่ม non-comedogenic, oil free skincare โดยอาจเลือกเป็นพวก Humectant ก็จะเหมาะกับคนผิวมันมากกว่าพวก Oil-based product

5. การเลือก Cleanser
ควรล้างหน้าให้สะอาด จะช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน และยังช่วยควบคุมความมันบนใบหน้าได้อีกด้วย
🌟 แนะนำ Gel-based cleanser จะเหมาะกว่า Oil-based หรือ Alcohol-based cleanser
🌟 ตอนเช้าอาจใช้เป็น Gentle, non-comedogenic cleanser
🌟 ตอนเย็นอาจใช้เป็น Salicylic cleanser
🌟 แนะนำใช้น้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติหรืออุ่นเล็กน้อย ไม่แนะนำให้ใช้น้ำร้อนล้างหน้า เพราะอาจจะระคายเคืองผิวและทำให้รูขุมขนใหญ่ขึ้นได้
🌟 แนะนำล้างหน้าเบา ๆ วนตามรูขุมขนด้วยความนุ่มนวลจะดีที่สุดค่ะ

❌❌ ไม่แนะนำให้สครับผิว
การสครับผิวหน้า การบีบหรือแกะสิว อาจก่อการระคายเคืองและเกิดการอักเสบตามมา หากผิวหนังเกิดการอักเสบก็จะยิ่งทำให้รูขุมขนยิ่งดูชัดขึ้น

หากใครที่มีผิวมัน มีสิว และรู้สึกว่าตัวเองรูขุมขนกว้าง อยากให้ลองปรับการดูแลผิว & ปรับสกินแคร์ดูแลผิวตามวิธีข้างต้น และถ้าคิดว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยังไม่ดีขึ้น ก็แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อพิจารณาการรักษาด้วยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมค่ะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

References
J Cosmet Dermatol. 2019;1–7.
Cutis. 2016 Jul;98(1):33-6.
J Clin Aesthet Dermatol. 2017;10(2):45-51.
Dermatol Surg 2016;42:277–285.
Skin Res Technol. 2013 Feb;19(1):e45-53.
American Academy of Dermatology

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

Product mentioned
🌟 Eucerin Poreless Solution Pore Minimizer Serum
✔️ นวัตกรรม 2X action มี Lactic acid + Glycolic acd ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วอย่างอ่อนโยน ช่วยลดการอุดตันในรูขุมขน รูขุมขนแลดูกระชับ พร้อมลดการเกิดสิวอุดตัน
✔️ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิว ปรับสมดุลให้ผิวเรียบเนียน
✔️ ผ่านการทดสอบในอาสาสมัครชาวไทย 93% ของผู้ใช้พบว่ารูขุมขนดูดีขึ้น ใน 4 สัปดาห์
✔️ เหมาะสำหรับคนผิวมัน เป็นสิวง่าย
✔️ Non-comedogenic tested ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน เนื้อบางเบา ซึมไว

Disclaimer: Sponsored content by Eucerin
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.