Tag Archives: featured

Step เลือกสกินแคร์เริ่มแบบนี้

Skincare Routine Step​ เริ่มต้นเลือกสกินแคร์
Skincare Routine Step

Step 1

เช็คสภาพผิวของตัวเองก่อน และต้องเช็คเรื่อยๆ เพราะสภาพผิวสามารถเปลี่ยนได้

https://www.facebook.com/476743752739537/posts/994477387632835/?d=n

https://youtu.be/tjEx82EuhLU

Step 2

เลือกสกินแคร์เบสิคที่ควรมีให้ครบก่อน
หลังจากนั้นใช้ไป 1-2 เดือน มาดูยังเหลือปัญหาอะไรที่อยากแก้ไขเพิ่มเติม

Step 3

เลือกสกินแคร์แก้ไขปัญหาของแต่ละบุคคล เช่น
ผิวขาดน้ำ -> เติมน้ำ เติม hya
ผิวแห้งระคายเคือง -> เลือกส่วนผสมลดการระคายเคือง ส่วนมากจะรวมในมอยเจอไรเซอร์ ลองเลือกดู
ผิวชรา -> เน้นเพิ่ม antioxidant, กลุ่มวิตามินเอหรืออนุพันธ์ (ถ้าใช้ยาอยู่แล้วก็อาจไม่จำเป็นต้องเพิ่มสกินแคร์วิตามินเอก็ได้)
ผิวหมองคล้ำ รอยดำ ฝ้ากระ -> เน้นกันแดด เพิ่มกลุ่ม Lightening

Step 4

มองหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับตัวเอง
ในลิ้งค์ HELLOSKINDERM หรือ QR code เป็นตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่งที่นำมาให้สำหรับคนไม่มีเวลาหาข้อมูลค่ะ เดี๋ยวมาอัพเดทข้อมูลเรื่อย ๆ นะ

#saveไว้ได้ใช้แน่


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ทาครีมเท่าไหร่..ให้เห็นผลและไม่สิ้นเปลือง

ปริมาณการทาครีมเท่าไหร่ที่เห็นผลและไม่สิ้นเปลือง ⁉️

ความจริงแล้วไม่มีปริมาณที่ระบุเป๊ะ ๆ ตายตัวที่แน่นอน เพียงแค่ว่า.. ปริมาณที่แนะนำนั้นควรตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ….

ไม่มากเกินไป -> จนก่อให้เกิดการระคายเคืองและภาวะแทรกซ้อน และหากเป็นการทาตอนเช้า ก็อาจทำให้แต่งหน้าต่อได้ยากขึ้นอีกด้วย

ไม่น้อยเกินไป -> จนทาไปแล้วก็ไม่ได้ผล ไม่ต่างกับไม่ทาอะไรเลย

Sunscreen

ใช้มากกว่าครีมทั่วไป เพื่อการปกป้องที่ได้ผล อันนี้ต้องยอมลงทุน เพราะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ถ้าให้เลือกทาอย่างเดียวก่อนออกจากบ้าน สำหรับหมอเองก็คงต้องเป็นครีมกันแดดแน่นอนค่ะ ทราบไหมว่า..การทากันแดดอย่างถูกวิธี ช่วยให้หน้าขาวใสขึ้นได้ และป้องกันฝ้า กระ มะเร็งผิวหนังได้ด้วย ลองดูนะคะ

Vitamin A derivatives cream

ใช้แต่น้อยก็เห็นผล พวกนี้ต้องอาศัยความต่อเนื่องและใช้เวลา อย่างน้อยก็ 3 เดือนขึ้นไป ต้องทาไปเรื่อย ๆ และใจเย็น อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ผลโดยการทาทีละมาก ๆ การทามาก ๆ จะทำให้มีผลข้างเคียงมากกว่าผลดี ส่วนใครที่ระคายเคืองมากก็อาจต้องลดปริมาณหรือทาเพียงบางบริเวณไปสักระยะ

Serum

กลุ่มนี้ทำมาเข้มข้นมากอยู่แล้ว ต่างจากพวกน้ำตบ โลชั่น หรือโทนเนอร์ ดังนั้น ใช้แต่พอเหมาะ ไม่ต้องเยอะมาก เยอะมากไปอาจระคายเคืองและสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ใช้เพียง 2-3 หยด แต้ม 5 จุดแล้วเกลี่ยบางๆ รีบทาเพราะซึมเร็ว พวก oil-based จะใช้น้อยกว่า water-based เนื่องจากเนื้อครีมที่หนากว่า คนหน้าใหญ่อนุโลม +1 หยดได้

Cleanser

ไม่ต้องใช้เยอะ เอาพอเหมาะ เยอะเกินไปจะชำระล้างไขมันหรือสารต่าง ๆ ที่เคลือบผิวออกไปหมด สุดท้ายผิวแห้ง เกิดการระคายเคืองได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันอย่าใช้น้อยไป เพราะอาจทำให้ชำระล้างสิ่งสกปรกออกไปหมด เกิดสิวอุดตันตามมา

Eye cream

ไม่ต้องเยอะมาก เมล็ดถั่วเขียวต่อตา 1 ข้างเพียงพอสำหรับผิวที่บอบบาง ตอนทาควรใช้นิ้วนาง เพื่อลดการลงน้ำหนักตอนทาที่มากเกินไป บริเวณนี้เน้นเบาๆ ทาแรงไปอาจเกิดริ้วรอยตามมา

Scrub

ใช้เฉพาะบางราย ไม่แนะนำให้ใช้ทุกคน และการสครับควรเว้นบริเวณรอบตา รอบปาก ข้างจมูก บริเวณที่บอบบาง เพราะอาจระคายเคืองได้

Facial Mask

ไม่ต้องใช้ทุกราย ถ้าครีมเพียงพอแล้ว อาจไม่ต้องมาสก์ก็ได้

อย่าลืมว่าผิวแต่ละคนไม่เหมือนกัน คำแนะนำข้างต้นนี้เพื่อเป็นไอเดียให้ลองนำไปปรับใช้ในการดูแลผิวกันนะคะ ได้ผลยังไงมาเล่าสู่กันฟังได้เลย

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

สอนวิธีบรรยายรอยโรคผื่นอย่างง่าย

พยายามจะแปลเป็นภาษาพูดให้นึกภาพออก ลองพยายามหัดบรรยายรอยโรคกันนะคะ

Primary lesion

คือ รอยโรคเริ่มต้นที่ยังไม่ผ่านการแกะเกาขยี้ถูใด ๆ

macule จุด
papule ตุ่ม
patch ผื่นราบ
plaque ปื้นหนา
vesicle ตุ่มน้ำใสเล็ก
pustule ตุ่มหนอง
bullae ตุ่มน้ำใสใหญ่
cyst ถุงน้ำ
nodule ก้อนนูน
wheal ปื้นนูนแดง

Secondary lesion

คือ รอยโรคที่ผ่านการแกะเกาขีดข่วนขยี้จิกกัดใดๆที่ทำให้เกิด trauma

scale สะเก็ด
crust คราบ
erosion ถลอก (ตื้น ๆ บางส่วนของ epidermis)
ulcer แผล (ลึก หมดทั้งชั้น epidermis)
excoriation เกาขีดข่วน
lichenifiction ผิวหนานูนเห็นเส้นผิวหนังชัดขึ้น
fissure ร่อง
scar แผลเป็น
atrophy บาง

Special characteristic

petechiae จุดเลือด
purpura ปื้นเลือด
ecchymosis รอยจ้ำช้ำ
telangiectasia ร่างแหหลอดเลือดฝอย

Color สี

erythematous แดง (blanching กดจาง / non-blanching กดไม่จาง)
blackish ดำ
bluish ฟ้า น้ำเงิน
brownish น้ำตาล
grayish เทา
purplish ม่วง
whitish ขาว
greenish เขียว
orange-reddish (salmon) สีแซลมอน
yellowish เหลือง

Configuration การจัดเรียงตัว

annular วงแหวน
round or nummular กลมเหมือนเหรียญ
linear เป็นเส้น
arcuate or gyrate เส้นโค้งไม่ครบวงเหมือนพระจันทร์เสี้ยว
polycyclic วงหลายวง อาจครบหรือไม่ครบวง
serpiginious รอยคดเคี้ยวเหมือนงูเลื้อย
clustered / grouped เป็นกลุ่ม
reticulated / retiform ร่างแหเป็นตาข่าย
targetoid เป็นเป้าธนู
whorled เหมือน marble cake

Distribution

คือ บริเวณที่มีผื่น
สามารถบอกเป็นอวัยวะบริเวณต่าง ๆ หรือรวมเป็นบริเวณที่มีชื่อเรียกจำเพาะได้ เช่น

scattered กระจาย (บางส่วน)
generalized กระจายทั่วทั้งตัว
photodistributed area บริเวณที่สัมพันธ์กับแดด
seborrheic area บริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะ
Langer’s cleavage line ตามรอยเส้นที่ผิวหนัง
acral area ปลายมือเท้า
intertrigenous ซอกพับ
dermatomal / zosteriform / herpetiform ตามแนวเส้นประสาท
sporotrichoid ตามแนวหลอดน้ำเหลือง

ยกตัวอย่างเช่น

ถ้าเจอผื่น ลองนึกว่าเห็นอะไรบ้าง

“ผื่นราบใหญ่ๆ สีแดงกดไม่จาง มีคราบสีเหลือง ที่ร่องแก้ม”

หลักการคือ

1. หา primary และ secondary lesion ให้ได้ก่อน
Primary lesion = ปื้นใหญ่ >> patch
Secondary lesion = คราบ >> crust

2. หาคำมาขยายข้อแรก ได้แก่ สี และ การเรียงตัว และลักษณะพิเศษอื่น
ปื้นใหญ่สีแดงกดไม่จาง >> non-blachable erythematous patch
คราบสีเหลือง >> yellowish crust

3. เติมตำแหน่ง
ที่ร่องแก้ม >> nasolabial fold หรือ seborrheic area

สรุป

ผื่นราบใหญ่ สีแดงกดไม่จาง มี คราบ สีเหลือง ที่ร่องแก้ม” จะได้เป็น
non-blachable erythematous patch with yellowish crust on seborrheic area

ยกตัวอย่างอีก 1 ข้อ

ตุ่มน้ำใสเล็กๆ หลายตุ่มรวมเป็นกลุ่ม มีคราบเลือด ตามแนวเส้นประสาท T12″ ก็จะได้เป็น
grouped of vesicles with hemorrhagic crust on T12 dermatomal area

ประโยคจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นกับความเยอะยุ่งยากของผื่น ที่เล่ามาเป็นตัวอย่างพื้นฐาน ลองเล่นบอกผื่นเป็นภาษาไทย แล้วให้เพื่อนแต่งเป็นภาษาอังกฤษดูสิคะ .. สนุกนะ

บทความลิขสิทธิ์ ©👩🏻‍⚕️HELLO SKIN by หมอผิวหนัง

4 Steps เช็คสภาพผิวก่อนเลือกซื้อสกินแคร์

เชื่อไหมว่า..เพียงแค่เลือกสกินแคร์ให้ตรงกับสภาพผิว ก็ทำให้ผิวดีขึ้นได้แล้ว‼️

ถ้าอยากให้ผิวสวยแบบไม่ต้องเสียเงินไปอย่างสูญเปล่า กับการซื้อสกินแคร์ที่ไม่ตรงกับผิวตัวเอง ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าคุณมีผิวประเภทไหน

มาเริ่มเลยค่ะ

4 ขั้นตอนเช็คง่าย ๆ ว่าคุณมีผิวประเภทไหน❓

1.🔴 เช็ดเครื่องสำอางและล้างหน้าให้สะอาด แล้วรอ 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้ทาครีมและไม่มีการสัมผัสใบหน้าใด ๆ แล้วดูว่าความรู้สึกที่ผิวหน้าเป็นอย่างไร ❓
• ถ้าสบายผิวดี —> อ่านต่อข้อ 2.🟡
• ถ้ารู้สึกแห้งตึง —> อ่านต่อข้อ 4.🟢

2.🟡 รออีก 1-2 ชั่วโมงถัดมา แล้วลองใช้ทิชชูซับที่ผิวหน้าบริเวณ T-zone ดูซิว่ามีความมันจากผิวหน้า ติดมากับทิชชูหรือไม่ ❓
• ถ้าไม่มีน้ำมันติด —> ผิวปกติ (Normal skin)
• ถ้ามีน้ำมันติด —> อ่านต่อข้อ 3.🟣

3.🟣 ต่อไปสังเกตที่แก้ม ดูว่าแห้งตึงหรือไม่ ❓
• ถ้าแก้มไม่แห้งตึง —> ผิวมัน (Oily skin)
• ถ้าแก้มแห้งตึง —> ผิวผสม (Combination skin)

4.🟢 ลองดูว่ามีอาการหน้าแดง แสบ คัน หรือไม่❓
• ถ้าไม่มี —> ผิวแห้ง (Dry skin)
• ถ้ามี —> ผิวแพ้ง่าย (Sensitive skin)

หลายคนอินบอกซ์มาบอกหมอว่า หลังจากปรับลำดับการทาครีมตามที่หมอแนะนำไป 2-3 สัปดาห์ โดยที่ยังไม่ได้เปลี่ยนครีมอะไร สภาพผิวก็ดีขึ้นมากเลย และนี่เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่จะทำให้ผิวของทุกคนดียิ่งขึ้นไปอีกค่ะ

“ลำดับการทาครีมที่ว่าสำคัญมาก ๆ แล้วนั้น การเลือกสกินแคร์ให้ตรงกับสภาพผิวก็สำคัญมาก ๆ ไม่แพ้กัน”

ไหนลองตอบสิคะ..ว่าคุณมีผิวประเภทไหน‼️

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.