
รีวิวกลูตาไธโอนแบบกินฉีดทา ‼️
ปัจจุบันมีการนำกลูตาไธโอนมาใช้เพื่อหวังผลเพิ่มความขาวใสทั้งในรูปแบบกิน แบบทา และแบบฉีด ข้อเท็จจริงคืออะไร ‼️
จากความเดิมตอนที่แล้วทุกคนทราบว่า
✅ สีผิวถูกกำหนดมาแล้วด้วยพันธุกรรม
✅ หากมียาหรือครีมที่ทำให้กระบวนการสร้างเม็ดสีผิวเปลี่ยนไป ก็เป็นไปได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
✅ คนเราจะขาวขึ้นได้แค่ไหน ให้เปิดดูผิวหน้าท้องที่ไม่ถูกแดด จะไม่สามารถมากไปกว่านั้น 1 ระดับ
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับกลูตาไธโอน
1🧿 กลูตาไธโอน ประกอบด้วย อะมิโนเอซิด 3 อย่าง คือ L‐cysteine, glycine, glutamate
มีทั้ง Reduced form (GSH), Oxidized form (GSSG)
2🧿 กลูตาไธโอนทำให้ขาวใสได้จากกลไก คือ
💎 รบกวน Copper ทำให้เอนไซม์ไทโรซิเนสทำงานได้ไม่ดี
💎 ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ
💎 เปลี่ยนแปลงกลไกการสร้างเมลานิน จากชนิด Eumelanin (สีผิวเข้ม) เป็น Pheomelanin (สีผิวอ่อน)
3🧿 แสงแดด ทำให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น จึงส่งผลให้ผิวหมองคล้ำขึ้น ประกอบกับ พบว่าคนผิวคล้ำง่าย มักมีระดับกลูตาไธโอนน้อยลง ดังนั้น กลูตาไธโอนจึงมีส่วนช่วยปกป้องผิวจากการหมองคล้ำได้
4🧿 ผลเรื่อง Whitening effects
💎 ชนิดกิน ทั้งชนิด GSH, GSSG ขนาด 250 มก.ต่อวัน ไม่มีความแตกต่างของสีผิวก่อน-หลังกิน ทั้งบริเวณที่ถูกแดดและไม่ถูกแดด หลังติดตามไป 12 สัปดาห์
💎 ชนิดกิน แบบ GSH ขนาด 500-1000 มก.ต่อวัน มีบางงานวิจัยที่เห็นผลแตกต่างของผิว เฉพาะบริเวณที่ถูกแดด (ประมาณ 4 สัปดาห์)
แต่อีกหลายงานวิจัยที่บอกว่าไม่เห็นความแตกต่าง และพบว่าหลังรับประทานเข้าไปแล้วระดับยาคงอยู่ได้ไม่นานนัก
💎 ชนิดทา แบบ 2% GSSG lotion ทาเช้าเย็น พบว่าเห็นผลหลังทาประมาณ 10 สัปดาห์ ในบริเวณผิวที่ถูกแดด
5🧿 การกินกลูตาไธโอน
❌ ไม่ช่วยเรื่องรูขุมขนกว้าง
❌ ไม่ช่วยแก้ไขสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ
❌ ไม่ช่วยให้ผิวนุ่มหรือชุ่มชื้นขึ้น
6🧿 การทากลูตาไธโอน มีงานวิจัยที่บอกว่าหลังทา 2% GSSG lotion
✅ ช่วยให้ ผิวนุ่มชุ่มชื้นขึ้น ได้อย่างชัดเจนในทางสถิติ หลังทาเช้าเย็น 8 สัปดาห์ เพราะช่วยลดการสูญเสียน้ำจากผิวได้
✅ ช่วย ลดริ้วรอยเล็ก ๆ ได้หลังทาเช้าเย็น 10 สัปดาห์
✅ ช่วย ผิวเรียบขึ้น หลังทาเช้าเย็น 6 สัปดาห์
❓ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นผิวได้ แต่ไม่ชัดเจนในทางสถิติ
7🧿 ผลข้างเคียงที่มีรายงานจากการกินและฉีดกลูตาไธโอน
🆘 คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด
🆘 ผื่นแพ้ลมพิษ แพ้รุนแรงจนเสียชีวิต
🆘 เกิดเป็นด่างขาว
🆘 ปัญหาทางการมองเห็น
🆘 ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
🆘 ไตวาย
🆘 ติดเชื้อจากเทคนิคการฉีด เช่น ตับอักเสบ HIV ติดเชื้อแบคทีเรียเข้ากระแสเลือด
8🧿 ผลข้างเคียงจากการทา อาจมีผื่นแพ้ มักพบไม่ค่อยรุนแรง
🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰
สรุป การศึกษาข้อมูลของกลูตาไธโอน มีทั้งเห็นการเปลี่ยนแปลงและไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ก็ขอให้ใช้วิจารณญาณส่วนตัวประกอบการพิจารณาให้ดี
⭐️ ถ้าอยากลองทา ก็อาจจะเลือกแบบ Topical oxidized form ช่วยลดการสร้างเม็ดสี ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น เรียบขึ้น และลดริ้วรอยเล็ก ๆ ได้
⭐️ กรณีแบบกิน 500-1000 มก ต่อวัน ใครอยากลองก็อาจจะลองดูได้ แต่ก็อาจจะเห็นผลหรือไม่เห็นผลก็ได้ งานวิจัยไปในทางไม่เห็นความแตกต่างมากกว่า
⭐️ กรณีแบบฉีด ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเรื่อง whitening effect ‼️ แต่ ข้อมูลที่ชัดเจนจากแบบฉีด คือ ผลข้างเคียงที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็น
💢 การแพ้ยารุนแรงจนเสียชีวิต
💢 การยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนัง เกิดเป็นด่างขาวถาวรที่แก้ไขไม่ได้
💢 ไตวาย
และอย่าลืมว่าเห็นการเปลี่ยนแปลงสีผิวนั้น มัก เกิดเฉพาะบริเวณที่ถูกแดดเท่านั้น อาจจะไม่สามารถทำให้ขาวได้ทั้งตัว อย่างที่บอกคือ ขาวได้แค่ไหน .. ได้เท่าที่สีผิวที่หน้าท้องของตัวเองหรือมากกว่านั้นได้อีกไม่เกิน 1 ระดับ ถ้ามากกว่านั้นก็อาจจะเป็นไปได้ยาก คงต้องดูข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคตต่อไปค่ะ
หมอเข้าใจดีว่าทุกคนอยากมีผิวสวยและขาวใส แต่ก่อนจะทาครีมหรือกินอะไรควรตั้งอยู่บน พื้นฐานของความเป็นไปได้จริง และ มีความปลอดภัย ด้วยจะดีที่สุดค่ะ
ด้วยความปรารถนาดีจาก คุณหมอเจี๊ยบ👩🏻⚕️
ชอบบทความนี้ไหมคะ—> พิมพ์💕💕💕และอยากฟังเรื่องอะไรต่อ คอมเม้นบอกได้เลยค่ะ
[ แชร์ได้เลยค่ะ แต่ไม่ copy หรือดัดแปลงบทความเป็นของตัวเองนะคะ หมอใช้เวลาอ่านรีวิวนานมากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ 🙏🏻]
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References
Glutathione: overview of its protective roles, measurement, and biosynthesis. Mol Aspects Med. 2009; 30: 1‐12.
Glutathione as a skin whitening agent: Facts, myths, evidence and controversies. Indian J Dermatol Venereol Leprol. 2016; 82: 262‐272.
Glutathione and its antiaging and antimelanogenic effects. Clin Cosmet Investig Dermatol. 2017; 10: 147‐153.
The clinical effect of glutathione on skin color and other related skin conditions: A systematic review. J Cosmet Dermatol. 2019; 00: 1–10.
Systemic skin whitening/lightening agents: What is the evidence?. Indian J Dermatol Venereol Leprol 2013; 79: 842-6.
Safety on the Off-label Use of Glutathione Solution for Injection (IV). Food and Drug Administration, Department of Health, Republic of the Philippines; 2011.
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.