เชื่อว่ายุคนี้หากใครได้อ่านเรื่อง สกินแคร์ที่ช่วยเรื่องฝ้าและรอยดำ ก็ต้องเคยได้ยินชื่อเสียงของไทอามิดอล ซึ่งเป็นตัวเต็งของ ingredient ที่ช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว และในขณะเดียวกันอาจจะได้ยินชื่อของสารอีกตัวที่มักใช้ร่วมกับ Thiamidol เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น นั่นก็คือ ลิโคชาลโคนเอ (Licochalcone A) ลองมาทำความรู้จักกันในบทความนี้

Licochalcone A เป็นสารสำคัญที่พบใน Glycyrrhiza inflata ซึ่งเป็น Chinese Licorice Root extract (รากชะเอมเทศ)
กลไกออกฤทธิ์ของ Licochalcone A ได้แก่
- ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory effects)
ยับยั้งการสร้างและหลั่งสารก่อการอักเสบหลายชนิด เช่น PGE2, LTB4, IL-6, TNFa
- ต้านเชื้อจุลชีพ (Anti-microbial effects)
โดยข้อมูลหลอดทดลองพบว่า สามารถยับยั้งกลุ่มแกรมบวกและแกรมลบได้ เช่น Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Bacillus subtilis รวมถึง C.acne, H.pylori
- ยับยั้งเชื้ออื่น ๆ
เช่น เชื้อมาลาเรีย P. falciparum, เชื้อราชนิด dermatophyte, C.albicans และเชื้อไวรัสบางชนิด
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ (Antitumorigenic effects)
- ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant effects)

ในสมัยก่อนคนจีนจึงนิยมใช้เป็น ยาแผนโบราณในการรักษาโรค (Traditional Medicine) เช่น แผลในกระเพาะหรือลำไส้, ผิวหนังอักเสบ หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในร่างกาย เพราะสืบเนื่องจากคุณสมบัติข้างต้น
ปัจจุบันมีการนำ Licochalcone A มาผสมสกินแคร์ในรูปแบบของการทา
หลากหลายมากขึ้น และมีข้อมูลพบว่าช่วยให้ภาวะเหล่านี้ดีขึ้นได้
• ผื่นที่เกี่ยวกับการอักเสบ ได้แก่ ผื่นสะเก็ดเงิน, ผื่นคัน, ผื่นเซบเดิร์ม
• ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง Atopic dermatitis เพราะลดการอักเสบและยัง repair skin barrier ได้
• ผื่นโรเซเชีย, ผิว sensitive skin เพราะมีฤทธิ์ anti irritation ร่วมด้วย
• สิว เพราะลดการอักเสบและยับยั้ง C.acne ร่วมด้วย
• ฝ้าและรอยดำจากการอักเสบ
ในแง่การเกิดฝ้า
นอกจากกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวที่ถูกกระตุ้นมากขึ้นแล้ว ยังพบว่า ผิวในชั้นลึกลงไปมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ได้แก่

• เส้นใยอิลาสตินยืดหยุ่นลดลง เกิด solar elastosis คล้ายกับที่พบในผิวที่เกิดความเสื่อมจากการถูกแสงแดด (photoaging disorder)
• Basement membrane zone (BMZ) ที่กั้นระหว่างชั้นหนังแท้กับหนังกำพร้ามีรอยรั่ว ไม่แข็งแรง จึงเกิดฝ้าลึกตามมา
• เส้นเลือดใต้ผิวหนังถูกกระตุ้นให้มีการเพิ่มจำนวน & ขนาด และหลั่งสาร Endothelin ซึ่งกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้นตามมา
• มีการเพิ่มปริมาณของ mast cells หลั่ง histamine เพิ่ม และกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีผิวเพิ่มขึ้นตามมา
• เซลล์ไขมัน Sebocyte มีการหลั่งสารที่ทำให้เซลล์เม็ดสีทำงานมากขึ้น
ดังนั้น หากมองหาสกินแคร์เพื่อดูแลผิวที่เป็นฝ้าหรือผิวหมองคล้ำก็ควรต้องมองหาสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการข้างต้น และถ้าหากยับยั้งได้หลายกลไกก็มีแนวโน้มที่จะเห็นผลการรักษาได้ดีกว่า
ยกตัวอย่างการจับคู่สกินแคร์
ชิ้นที่ 1: สกินแคร์ที่มีส่วนผสมหลักของ Licochalcone A + Thiamidol + Hyaluronic acid
ร่วมกับ
ชิ้นที่ 2: ครีมกันแดด
ก็ช่วยได้หลายกลไก ดังนี้
Sunscreen ช่วยลด photoaging และลดการสร้างเม็ดสี
Licochalcone A ช่วยทำให้ฝ้าและรอยดำจากการอักเสบดีขึ้น จากหลายกลไล
• ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดสี โดยมีข้อมูลสามารถทาในระยะยาวได้อย่างปลอดภัย
• ลดการหลั่ง Endothelin จึงทำให้การสร้างเม็ดสีในฝ้าน้อยลง
• ช่วยลดการอักเสบ จึงเกิดรอยดำตามมาน้อยลง
Thiamidol เป็น potent tyrosinase inhibitors อ่านเพิ่มเติมในบทความก่อนนี้
Hyaluronic acid ช่วยเสริม skin barrier แข็งแรง

มีข้อมูลพบว่า เมื่อใช้สกินแคร์ซึ่งมีส่วนผสมหลักของ Licochalcone A + Thiamidol + Hyaluronic acid พบว่าฝ้าจางชัดเจน และเมื่อใช้อย่างต่อเนื่อง 6 เดือน พบว่าฝ้าสามารถจางลงไปเรื่อย ๆ และสามารถป้องกันการกลับเป็นซ้ำของฝ้าหลังหยุดใช้ได้อย่างน้อย 3 เดือน
ดังนั้น จึงแนะนำให้ทาเป็นประจำสม่ำเสมอร่วมกับการทาครีมกันแดดอย่างถูกวิธี เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาฝ้าค่ะ
Bottom line
สกินแคร์ นอกจากจะเป็นเป็นตัวเสริมการรักษาฝ้าด้วยยาแล้ว ยังสามารถใช้เพื่อ maintenance หลังการรักษาจบแล้ว เพื่อลดโอกาสการกลับมาเข้มขึ้นของฝ้าอีก แต่ต้องบอกก่อนว่าไม่ได้ 100% เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดรักษาฝ้าให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาเพื่อให้ฝ้าจางลงได้ การรักษาฝ้าให้ได้ผลดีควรต้องควบคู่ไปกับการปกป้องผิวจากแสงแดดอย่างถูกวิธี และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ฮอร์โมน ยาบางชนิด เป็นต้น


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และทำให้ทุกท่านที่ได้จะรู้จัก ลิโคชาลโคนเอ (Licochalcone A) มากขึ้นในหลายแง่มุมนะคะ
References:
J Toxicol Environ Health A. 2020 Nov 16;83(21-22):673-686.
Curr Med Chem. 2020;27(12):1997-2011.
Clin Cosmet Investig Dermatol. 2019 Feb 19;12:151-161.
Pharm Biol. 2017 Dec;55(1):5-18.
J Eur Acad Dermatol Venereol. 2016 Feb;30 Suppl 1:21-7.
Acta Pharm Sin B. 2015 Jul;5(4):310-5.
Arch Dermatol Res. 2006 Jun;298(1):23-30.
Life Sci. 2002 Aug 9;71(12):1449-63.
[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Eucerin Spotless Booster Serum
ส่วนประกอบหลัก :
• Thiamidol เป็น The powerful Human Tyrosinase Inhibitor {อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.facebook.com/476743752739537/posts/1259180884495816/?d=n}
• Hyarulonic acid small molecule ช่วยนำพาสาร Thiamidol ซึมลงสู่ผิวชั้นลึกได้ดีขึ้น
• Licochalcone A ช่วยลดการอักเสบ ลดการหลั่ง endothelin จาก endothelial cell เสริมการทำงาน ช่วยลดเรื่องการเกิดฝ้าและรอยดำหลังการอักเสบได้ดียิ่งขึ้น
เทคโนโลยี Micro Targeted : เพื่อเพิ่มความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และจัดการฝ้า จุดด่างดำได้ดีกว่าเดิม ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น 2 สัปดาห์

อ่านบทความย้อนหลังที่
https://helloskinderm.com
รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.