หากพูดถึงเรื่องเดอโมคอสเมติกส์ที่ช่วยเรื่องฝ้าหรือรอยดำจากสิว หลายคนคงรู้จักไทอามิดอลกันมาพอสมควร วันนี้เลยรวบรวม Q&A มา 10 ข้อที่น่าสนใจ

Q1 : เป็นฝ้ามียาทาอะไรใช้รักษาได้บ้าง❓
A : 1st line ของยาทารักษาฝ้า คือ Hydroquinone ซึ่งถือเป็น gold standard แต่ถ้าหากใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างมากและเกิดฝ้าถาวร (Ochronosis) ได้ ปัจจุบันจึงถือว่า Hydroquinone เป็นยาที่ต้องควบคุมการสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น อาจมีบางประเทศที่กฏหมายอนุญาตให้ผสมในเครื่องสำอางได้ไม่เกิน 2%
ส่วนยาทาอื่น ๆ ที่ใช้ในการรักษาฝ้า เช่น topical retinoid, azelaic acid, topical methimazole เป็นต้น
Q2 : หากไม่อยากใช้กลุ่มยา มีกลุ่ม Dermocosmetics หรือสกินแคร์ตัวอื่นอีกไหมที่ช่วยเรื่องฝ้าได้ ❓
A : มีค่ะ อาจลองมองหาส่วนประกอบเหล่านี้
✔️ กลุ่มยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส เช่น arbutin 3%/deoxyarbutin, tranexamic acid 2-5%, licorice, kojic acid, ascorbic acid, resorcinol, thiamidol
✔️ กลุ่มยับยั้งการขนส่งเมลานินไปที่ผิวหนังชั้นบน (Melanin transfer inhibition) เช่น niacinamide 4%, soybean
✔️ กลุ่มเร่งการผลัดเซลล์เม็ดสีส่วนเกินที่ผิวชั้นบน (Increased epidermal turnover) เช่น glycolic acid, salicylic acid
นอกจากนั้นต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดร่วมด้วยเสมอเพื่อป้องกันการกลับมาเข้มขึ้นของฝ้า

Q3 : แล้ว Thiamidol ล่ะคืออะไร ❓
A : Thiamidol หรือ Isobutylamido thiazolyl resorcinol เป็นสารนวัตกรรมตัวใหม่ ที่ออกฤทธิ์ในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว โดยไปยับยั้งที่ Tyrosinase enzyme นับว่าเป็นสารทางเลือกอันดับต้น ๆ ของคนที่กำลังมองหาสกินแคร์ที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องฝ้า, รอยดำสิว หรือคนที่อยากบำรุงผิวให้ดูกระจ่างใสขึ้น สารนี้มีงานวิจัยรองรับตีพิมพ์ใน Journal of Investigative Dermatology 2018 ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการทำวิจัยใน Human tyrosinase ก็ถือว่าเทียบเท่าได้กับการทดลองทาผิวมนุษย์ในชีวิตจริง
Q4 : เมื่อเทียบประสิทธิภาพของไทอามิดอล กับสกินแคร์ที่ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ตัวอื่นแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ❓
A : ปัจจุบันมีสกินแคร์กลุ่ม Tyrosinase inhibitor ที่ไม่ใช่ยาอยู่หลายตัว เมื่อเทียบผลการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ tyrosinase ของ Thiamidol กับสารอื่น ๆ ก็พบว่าไทอามิดอล
💯 ดีกว่า Butylresorcinol 10 เท่า
💯 ดีกว่า Kojic 1,000 เท่า
💯 ดีกว่า Arbutin 10,000 เท่า
จะเห็นว่าไทอามิดอลค่อนข้างจะเป็น Potent Tyrosinase Inhibitor ที่ออกฤทธิ์ในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวได้ค่อนข้างดี

Q5 : Thiamidol ใช้กับผิวคนไทยได้ไหม ❓
A : ได้ค่ะ มีงานวิจัยในผิวคนไทยพบว่า Thiamidol สามารถใช้ได้ผลในการรักษา ดังนี้
💯 ฝ้าที่รุนแรงน้อยถึงปานกลาง (mild to moderate melasma)
💯 กระ (freckles)
💯 กระแดด (solar lentigines)
โดยพบว่า ได้ผลดีกว่า “4% Arbutin + 2% Hydroquinone” ในเวลา 8-12 สัปดาห์
Q6 : อยากผิวขาวขึ้น Thiamidol ช่วยได้ไหม ❓
A : Thiamidol มีงานวิจัยรับรองว่า lightening index ลดลง ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงผิวขาวใสขึ้นใน 2-4 สัปดาห์ แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าสีผิวของมนุษย์ถูกยีนกำหนดมาแล้ว ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่ม lightening และกันแดดอย่างดีก็อาจทำให้ผิวขาวขึ้นได้เพียง 1-2 ระดับเท่านั้นเมื่อเทียบกับพื้นสีผิวของแต่ละคน สามารถดูได้ที่หน้าท้อง หน้าอก ก้น หรือบริเวณที่ไม่ค่อยถูกแดดค่ะ

Q7 : ไม่อยากคล้ำหลังเที่ยวทะเล สามารถทา Thiamidol ป้องกันได้ไหม ❓
A : มีข้อมูลพบว่าสามารถช่วยป้องกัน UVB induced hyperpigmentation ได้ พูดง่าย ๆ คือ ถ้าหากทาผิวทุกวัน 1-2 สัปดาห์ก่อนไปออกแดดจัด เช่น ก่อนไปเที่ยวทะเล จะช่วยป้องกันการเกิดผิวคล้ำหลังโดนแดด ได้ดีกว่าการไม่ทา (Downregulation of tyrosinase activity in melanocyte)
Q8 : ใช้ Thiamidol นาน ๆ จะเกิดฝ้าถาวรไหม ❓
A : ที่ผ่านมายังไม่มีรายงานของผลข้างเคียงเรื่อง ฝ้าถาวร (Ochronosis) ซึ่งมักพบจากการใช้ hydroquinone แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากไทอามิดอลเป็นนวัตกรรมใหม่ คงต้องติดตามข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป มีข้อมูลอัพเดทเรื่องการใช้ Thiamidol ทาเพื่อลดฝ้าที่ความรุนแรงมาก นานต่อเนื่อง 6 เดือน ก็พบว่าไม่มีผลข้างเคียง อีกทั้งฝ้ารุนแรงสามารถจางลงชัดเจนและหลังหยุดใช้ 3 เดือนก็ยังไม่กลับมาเข้มขึ้นเท่าเดิม
Q9 : คนท้องมีฝ้า ใช้ Thiamidol ได้ไหม ❓
A : ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเรื่องผลข้างเคียงในคนท้อง และเนื่องจากไทอามิดอลจัดเป็นกลุ่มเดอโมคอสเมติก ซึ่งความปลอดภัยค่อนข้างสูงและผลข้างเคียงน้อย เพราะไม่มีการดูดซึมของสารเข้าสู่กระแสเลือด ก็อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้พิจารณา
Q10 : Thiamidol มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ใดบ้าง ❓
A : Thiamidol (PATENTED) คิดค้นโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ สถาบัน Beiersdorf Germany สารนี้เป็นส่วนผสมหลักอยู่ในผลิตภัณฑ์ของยูเซอรีนหลายรุ่น ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวล่าสุด คือ “Spotless Booster Serum” เป็นตัวที่อัพเกรดเทคโนโลยีต่อยอดจากรุ่นเดิม [ขวดหลอดคู่ Double Booster Serum] โดยใช้เทคนิค Micro targeted Technology เพื่อเพิ่มความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น มี Hyaluron โมเลกุลขนาดเล็กกว่า 40 เท่า เป็นตัวพาสาร Thiamidol ลงสู่ผิวชั้นลึกได้ดีขึ้น
Bottom Line
• การใช้ยาทาภายนอก ถือเป็นการรักษาหลักของการรักษาฝ้า
• เดอร์โมคอสเมติกส์เป็นอีกทางเลือก ในคนที่ไม่อยากใช้ยา ซึ่งค่อนข้างปลอดภัย ออกฤทธิ์ได้ถึงผิวชั้นลึกได้ดีกว่าคอสเมติกส์ ผลข้างเคียงน้อย แต่ผลการรักษาอาจไม่ดีเท่ายา
• ถ้าหากยังได้ผล แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังพิจารณาเพิ่มเติมการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ยารับประทาน หัตถการต่าง ๆ และเลเซอร์
• ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดรักษาฝ้าให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาเพื่อให้ฝ้าจางลงได้ การรักษาฝ้าให้ได้ผลดีควรต้องควบคู่ไปกับการปกป้องผิวจากแสงแดดอย่างถูกวิธี และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ฮอร์โมน ยาบางชนิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้ากลับมาเข้มขึ้นอีก
มีใครเคยลองใช้ไทอามิดอลแล้วบ้างไหมคะ เป็นอย่างไรบ้างชวนมาแชร์ประสบการณ์กันค่ะ ?
References
- Inhibition of Human Tyrosinase Requires Molecular Motifs Distinctively Different from Mushroom Tyrosinase Journal of Investigative Dermatology 2018; 138: 1601-1608.
- An updated review of tyrosinase inhibitors. Int J Mol Sci 2009; 26(10): 2440-75.
- Mechanism of depigmentation by hydroquinone. J Invest Dermatol 1974; 62: 436-49.
- Effective Tyrosinase Inhibition by Thiamidol Results in Significant Improvement of Mild to Moderate Melasma Journal of Investigative Dermatology 2019 doi:10.1016/j.jid.2019.02.013
- Thiamidol containing treatment regimens in facial hyperpigmentation: An international multi-centre approach consisting of a double-blind, controlled, split-face study and of an open-label, real-world study. International Journal of Cosmetic Science. 2020; 42: 377–387. doi: 10.1111/ics.12626
- Isobutylamido thiazolyl resorcinol for prevention of UVB-induced hyperpigmentation. J Cosmet Dermatol. 2020; 00: 1–6.
- 7. 24 weeks long-term efficacy and tolerability of a skin care regimen with Thiamidol in patients with moderate to severe facial hyperpigmentation Roongenkamo et al. EADV2020.
Product mentioned
Eucerin Spotless Brightening Booster Serum
(พัฒนาจาก Double Booster Serum รุ่นก่อน)
ส่วนประกอบหลัก :
✔️ Thiamidol เป็น The Powerful Human Tyrosinase Inhibitor
✔️ Hyarulonic acid small molecule ช่วยนำพาสาร Thiamidol ซึมลงสู่ผิวชั้นลึกได้ดีขึ้น
✔️ Licochalcone A ช่วยลดการอักเสบ ลดการหลั่ง endothelin จาก endothelial cell เสริมการทำงาน ช่วยลดเรื่องการเกิด hyperpigmentation
เทคโนโลยี Micro Targeted : เพื่อเพิ่มความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และจัดการฝ้า จุดด่างดำได้ดีกว่าเดิม ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น 2 สัปดาห์
เนื้อสัมผัส : บางเบา ซึมง่ายขึ้น
บรรจุภัณฑ์ : สะดวกต่อการใช้งาน หัวปั๊มกดง่ายขึ้น

Disclaimer : Sponsored Content by Eucerin
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.