Tag Archives: Eucerin

เรื่องเล่าของ pH of Skin

เรื่องของความเป็นกรดด่างของผิวหนัง มีการค้นพบและพูดถึงมาตั้งแต่สมัยคุณ Heuss ปี ค.ศ. 1892 ซึ่งนานมากเลยทีเดียว

มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อค่าความเป็นกรดด่างของผิวหนัง
✔️ อายุ : แรกเกิดและวัยเด็กจะมี skin pH เป็นด่าง > วัยชรา > ผู้ใหญ่
✔️ กรรมพันธุ์
✔️ ผิวหนังต่างบริเวณก็มีค่า pH แตกต่างกัน : บริเวณซอกพับซอกนิ้ว รักแร้ ขาหนีบ บริเวณที่มีต่อมเหงื่อมาก มักจะมี pH ค่อนไปทางเป็นกลาง

นอกจากนั้นยังมอีกหลายอย่าง ที่ยังส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของ pH ผิวได้ เช่น
✔️ ความชุ่มชื้นผิว
✔️ การหลั่งเหงื่อหรือน้ำมันผิว เช่น หลังออกกำลังกายเหงื่อออก
✔️ ผลิตภัณฑ์ สบู่ สกินแคร์ หรือยาทาปฏิชีวนะ
เหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลมากในการทำให้ผิวเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่าง และอาจทำให้ผิวเกิดการเสียสมดุลและเกิดปัญหาผิวหนังต่าง ๆ ตามมาในที่สุด

ปัจจัยที่มีผลต่อ skin pH

คำว่า “Acid mantle of stratum corneum”

อธิบายง่าย ๆ คือ โดยปกติค่า skin pH ของผิวหนังชั้นบนจะอยู่ในช่วงความเป็นกรดเล็กน้อย คือ เฉลี่ยประมาณ 4.0-6.0 ส่วนค่า facial pH ของผิวที่หน้า จะอยู่ประมาณ 4.5-5.5 โดยผิวหนังในร่างกายที่มีค่าเฉลี่ย pH สูงสุด คือ คางและแขน ส่วนบริเวณที่ ค่าเฉลี่ย pH ต่ำสุด คือ หน้าผาก

acid mantle of stratum corneum

Acid skin pH ดังกล่าว เป็นช่วงค่า pH ตามธรรมชาติของผิวที่เอื้อต่อสมดุลผิวหลายอย่าง ได้แก่

ข้อดีของ acid skin pH

1. Skin-natural ingredients ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของกำแพงผิวทำงานได้ดีที่สุด เช่น ceramides, cholesterol
2. ระบบอิมมูนผิว (skin antimicrobial defense) ทำงานได้ดี
3. การทำงานของ enzymes ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผิว (keratinization, barrier regeneration, desquamation) ทำงานได้ดี เช่น b-Glucocerebrosidase ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง ceramide ทำงานดีสุดที่ pH 5.6
4. เชื้อประจำถิ่นของผิวจะสมดุลที่ acidic pH แต่หาก pH สูงขึ้นจะทำให้เชื้อก่อโรคเจริญเติบโตมากขึ้น เช่น Staph aureus

ผิวที่สูญเสียความสมดุลของ pH อาจทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น

▫️ผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง (irritant contact dermatitis)
▫️ภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis)
▫️ผิวแห้ง (ichthyosis)
▫️สิว (acne vulgaris)
▫️ติดเชื้อรา เช่น Candida albicans
เป็นต้น

PRACTICAL POINT

pH-balanced skincare หรือสกินแคร์ที่ pH ประมาณ 5 เป็นทางเลือกที่ดีอย่างยิ่งในการบำรุงผิวโดยเฉพาะคนมีปัญหาผิว ดังนี้
✔️ Seborrheic-type เช่น สิว,โรเซเชีย
✔️ Atopic skin
✔️ Psoriasis
✔️ Irritant contact dermatitis
✔️ Ichthyosis

pH balanced body lotion

ยกตัวอย่าง สกินแคร์ที่มี pH balance เช่น Eucerin pH5 Hydro Serum ซึ่งช่วยปรับสมดุลผิวให้ pH=5 ซึ่งเอื้อต่อกลไกการทำงานอย่างสมบูรณ์ของผิวในการรักษาความชุ่มชื้น เสริมกลไกการผลัดเซลล์ผิวที่คล้ำเสีย และลดความไวผิวต่อการรกระตุ้นจากสารต่าง ๆ รอบกาย [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย]

BOTTOM LINE

เหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงควรเลือก เพราะการทาสกินแคร์ที่มี pH balance จะช่วย restore and maintain normal barrier function ของผิวหนังให้แข็งแรง และช่วยปรับ pH ผิวให้สมดุลได้อย่างดีที่สุดค่ะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์นะคะ ด้วยความปรารถนาดี
หมอลูกเจี๊ยบ วรายุวดี อมรภิญโญ


References

Skin Pharmacol Physiol 2006;19:296–302.
Int J Cosmet Sci. 2006 Oct;28(5):359-70.
Contact Dermatitis. 2007 Jul;57(1):28-34.
Acta Derm Venereol 2013; 93: 261–267.
Curr Probl Dermatol. 2018;54:19-25.
Allergy Asthma Proc. 2019 May 1;40(3):204-206.
J Dermatolog Treat. 2020 Nov;31(7):716-722.

Rev Paul Pediatr. 2020;38e2018319

[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Eucerin pH5 Hydro Serum

บอดี้เซรั่มสำหรับบำรุงผิวกาย ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
เหมาะสำหรับผิวธรรมดาถึงแห้ง ใช้ได้ในผิวที่ระคายเคืองง่าย

Eucerin pH5 hydro serum

ACTIONS:
▫️pH Balance System ช่วยปรับสมดุลสภาพแวดล้อมบนผิว เพื่อเสริมกระบวนการของผิวให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์
▫️Dexpanthenol เพิ่มความชุ่มชื้นผิว ลดการระคายเคือง
▫️เทคโนโลยี Hydrodispersion ที่ละลายแตกตัวเป็นน้ำทันทีที่สัมผัส ซึมไว ไม่เหนอะ สบายผิว ให้ความชุ่มชื้นยาวนาน 12 ชั่วโมง

*ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Aquaporins .. เปิดประตูเติมน้ำให้ผิว 💦

อควาพอริน คืออะไร ? เรามาทำความรู้จักกันในบทความนี้นะคะ

Aquaporins (AQPs) เป็นโมเลกุลหนึ่งใน channel protein ซึ่งเป็นโปรตีนระหว่างเซลล์ ทำหน้าที่เป็นช่องให้น้ำและอนุภาคประจุเป็นกลางผ่านเข้าออกได้ จึงเป็นตัวที่มีบทบาทเกี่ยวกับผิวหลักๆ คือ
✔️ การแบ่งเซลล์ผิว
✔️ ความสมดุลน้ำและความชุ่มชื้นผิว
✔️ การซ่อมแซมกำแพงผิว
✔️ อิมมูนผิว

Aquaporins (AQPs) มีหลายชนิด
ได้แก่ AQP0-12
ชนิดที่สามารถพบได้ที่ผิวหนัง มีดังนี้
AQP7 พบที่ hypodermis, dermis, epidermal dendritic cells
AQP5 พบที่ eccrine sweat glands
AQP9, 10 พบที่ epidermis
AQP1, 3 พบที่ epidermis และ dermis
นอกจากนั้นบางชนิดอาจพบที่อวัยวะอื่นด้วย (ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้)

Aquaporin คืออะไร

AQP3 เป็นตัวหลักที่พบที่ผิวหนัง ชั้น epidermis ที่ keratinocytes บริเวณ basal layer

เป็น transporting channel ทางผ่านของสารต่าง ๆ ไม่เพียงแค่ water เท่านั้น ยังเป็นทางขนผ่านของ glycerol, hydrogen peroxide ด้วย

ในแง่บทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ผิวหนัง มีดังนี้

ช่วยกระบวนการเพิ่มความชุ่มชื้น กักเก็บน้ำที่ผิว (Hydration, water retention)
พบว่า Skin hydration สัมพันธ์กับระดับของ AQP3 แบบ cyclic pattern กล่าวคือ ระดับจะขึ้นลงได้ในแต่ละวันแบบ Circadian pattern พบว่า หาก AQP3 มีความบกพร่องไป จะสัมพันธ์กับระดับของ Glycerol ที่ Epidermis & Stratum corneum ที่ลดลงด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ stratum corneum water-holding capacity ลดลง และเกิดผิวแห้งขาดน้ำตามมาในที่สุด และอาจทำให้ผิวมันเพราะร่างกายผลิตน้ำมันส่วนเกินมาทดแทน

• ช่วยกระบวนการสมานแผล (Wound healing) ในหนูทดลอง ส่วนในผิวมนุษย์ยังไม่แน่ชัด เชื่อว่า AQP3 อาจเกี่ยวข้องกับขั้นตอน proliferation and migration of human keratinocytes

• ช่วยกระบวนการซ่อมแซมเกราะปกป้องผิว (Barrier repair) สูญเสียไป และช่วยลดการสูญเสียน้ำผ่านทางผิว (TEWL)

AQP3 ผิวหนังไม่สมดุล

หากเกิดความไม่สมดุลของ AQP-3

นอกจากจะทำให้ผิวแห้งขาดน้ำ แผลหายช้าลงแล้ว ยังอาจทำให้ เกิดความผิดปกติของโรคผิวหนังบางอย่างตามมา ได้แก่

✔️Atopic dermatitis
เชื่อว่า มีการเพิ่มขึ้นของ AQP3 ที่ผิวหนังบริเวณรอยโรค ทำให้ skin barrier เสียสมดุลและเกิดการสูญเสียน้ำ TEWL สูงขึ้น ทำให้คนเป็นโรคนี้เกิดผิวอักเสบและแห้งระคายเคืองง่ายตามมา
✔️Psoriasis
เชื่อว่า มีการแสดงออกลดลงของ AQP3 ที่ผิวหนังบริเวณรอยโรค ส่งผลให้ลดการกระตุ้น NF-kB pathway การสร้างเคราตินผิดปกติ และมีการสูญเสียน้ำ TEWL มากขึ้น ส่งผลให้เกิดผิวแห้งและหนาตัวอักเสบตามมา
✔️Skin tumor
พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของระดับ AQP3 ในกลุ่ม Actinic keratoses, Bowen’s Disease, and squamous cell carcinoma และมีการลดลงของระดับ AQP3 ใน basal cell carcinoma

ปัจจุบันจึงมีการนำหลักการของ AQP3 มาพัฒนาสกินแคร์ที่ช่วยเรื่องการสร้างกำแพงผิวให้แข็งแรงและเพิ่มความชุ่มชื้นผิว

สกินแคร์เติมน้ำผิว Aquaporin

ยกตัวอย่าง การใช้ส่วนผสมที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของ AQP3 ที่ช่วยให้มีการขนส่งเติมน้ำและ glycerol ที่ผิว ส่งผลให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น ไม่แห้งลอก และมีความสมดุลมากขึ้น เช่น Glyceryl Glucoside ที่ผสมเป็นสารหลักใน Eucerin UltraSENSITIVE Aquaporin Cream เป็นต้น
[อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ]

ดังนั้น หากใครที่รู้สึกว่าผิวยังมีความชุ่มชื้นไม่เพียงพอ ผิวระคายเคืองง่าย ก็สามารถเพิ่มสกินแคร์เติมน้ำกลุ่มอควาพอรินในสกินแคร์รูทีนได้อีกทางหนึ่งค่ะ

หวังว่าจะชอบความรู้เรื่องของ Aquaporin ในโพสนี้กันนะคะ ☺️

หมอเจี๊ยบ พญ.วรายุวดี อมรภิญโญ

Reference:

Int. J. Mol. Sci. 2022;23:4020.
Am J Physiol Cell Physiol. 2020 Jun 1;318(6):C1144-C1153.
J Clin Aesthet Dermatol. 2012 Jul; 5(7): 53–56.
Handb Exp Pharmacol. 2009;(190):205-17.
An Introduction to Biological Membranes book 2013, Pages 305-337

http://dx.doi.org/10.1016/B978-0-444-52153-8.00014-3

Disclaimer: สนับสนุนความรู้โดย
Eucerin UltraSENSITIVE AQUAporin Cream

ครีมเติมน้ำให้ผิว สูตรอ่อนโยน เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวแห้ง ขาดน้ำ

Eucerin UltraSENSITIVE Aquaporin Cream

ACTIONS:
▫️GG Hydro Booster (Glyceryl Glucoside) สารที่ช่วยเพิ่มการส่งผ่านและกระจายน้ำให้เซลล์ โดยการเพิ่มจำนวนและกระตุ้นการทำงานของ Aquaporin 3 ช่วยกักเก็บน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นได้ยาวนาน
▫️NMFs (Natural Moisturizing Factors) สารเพิ่มความชุ่มชื้นผิวตามธรรมชาติ
▫️Glycerin เพิ่มความชุ่มชื้นกักเก็บน้ำให้ผิว

ปราศจากน้ำหอม สี พาราเบน อ่อนโยนต่อผิวที่บอบบาง ไม่ก่อให้เกิดสิวอุดตัน
*การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

พิเศษตอนนี้ลด 20% เหลือราคา 680 บาท หาซื้อได้ที่ Boots/Watsons/Eve&Boy หรือตามช่องทางออนไลน์ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
Watson Online : https://watsonsonline.store/32yi

#ครีมเติมน้ำยูเซอริน #EucerinThailand @EucerinThailand


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

9 ข้อน่ารู้ เรื่อง ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสำหรับคนเป็นสิว

9 Tips : Face Wash for Acne-prone Skin

การล้างหน้าที่ดี ถือเป็นพื้นฐานของการเริ่มต้นการดูแลผิวที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนแรก ผิวที่มักเป็นสิวก็ยิ่งต้องล้างหน้าให้สะอาดค่ะ
ไม่มากเกินไปจนก่อการระคายเคืองผิว
และไม่น้อยเกินไปจนไม่สามารถชะล้างสิ่งสกปรกหรือเครื่องสำอางที่ก่อการอุดตันออกได้หมด

ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าของคนเป็นสิว Syndet cleanser

1. ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าของคนเป็นสิว ควรเลือก pH ที่ใกล้เคียงผิวปกติ (เช่นเดียวกับผิวที่ไม่เป็นสิว)

Skin’s pH คือประมาณ 5.3-5.9 จะเป็นช่วงค่า pH ตามธรรมชาติของผิวที่ skin-natural ingredients ต่าง ๆ ทำงานได้ดีที่สุด เช่น ceramides, cholesterol, enzymes ต่าง ๆ ส่งผลให้สุขภาพผิวหน้าดีและแข็งแรงที่สุดค่ะ และหาก pH สูงเกินไปจะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เชื้อแบคทีเรีย C.acne เจริญเติบโตได้ดี ทำให้สิวบุกตามมา

2. แนะนำใช้เป็นกลุ่ม Syndets (synthetic detergent-based) cleanser

เพื่อลดการระคายเคือง ช่วยรักษาสมดุลให้ pH พอเหมาะ ลดสิวอักเสบได้ชัดเจน เห็นผลใน 3 เดือน และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพยารักษาสิวให้มากขึ้นได้อีกด้วย

3. คลีนเซอร์ที่เป็น Pure Soap ไม่แนะนำ

เพราะทำให้ค่า pH ของผิวเพิ่มขึ้นหลังใช้ได้นานถึง 4-8 ชั่วโมง ซึ่งพบว่าทำให้ C.acne เจริญเติบโตมากขึ้น และยังทำให้โครงสร้างผิวไม่แข็งแรง เพิ่มการสูญเสียน้ำมากขึ้น ผลคือ ทำให้ผิวแห้ง ลอก คัน แสบระคายเคืองตามมา ดังนั้น หากคลีนเซอร์ของใครที่ใช้แล้วหลังล้างหน้ารู้สึกตึง ๆ หรือแสบ แนะนำว่าควรเปลี่ยนค่ะ

ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าของคนเป็นสิว Botanical toner

4. คลีนเซอร์กลุ่ม Botanical

เช่น hops, willow bark extract, disodium cocoyl glutamate, chamomile, green tea ก็สามารถใช้ได้ดีกว่า Soap แต่ยังด้อยกว่า Syndet ในแง่ของการลดสิว

5. หากล้างหน้าสะอาดหมดจดดี ไม่จำเป็นต้องใช้โทนเนอร์เช็ด

หากไม่แน่ใจหรืออยากใช้ ก็แนะนำโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของ Witch hazel ช่วยลดการอักเสบและลดความมันบนผิวได้

ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าของคนเป็นสิว ผิวแพ้ง่าย เลี่ยง SLES

6. หากมีสิวและผิวแพ้ง่าย

ควรเลี่ยง sodium laureth sulfate (SLES) ควรเลือกที่ไม่มีน้ำหอม แอลกอฮอล์ สารผลัดเซลล์หรือเม็ดบีดต่าง ๆ ที่อาจระคายเคืองได้

7. กลุ่ม Antiseptic Cleanser

เช่น hexachlorophene, chlorhexidine, povidone-iodine ไม่แนะนำ เพราะระคายเคืองผิว และผลข้างเคียงมากกว่า

ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าของคนเป็นสิว

8. การเลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้าในคนเป็นสิวแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป

เพราะคนเป็นสิวอาจมีพื้นฐานสภาพผิวที่ต่างกัน ดังนั้นต้องเลือกให้เหมาะกับผิวตัวเอง ยกตัวอย่าง

• หากมีสิว + ผิวแห้ง

ควรเสริมสารที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการระคายเคือง เช่น glycerin, ceramide, hyaluronic acid, niacinamide เป็นต้น

• หากมีสิวอุดตันเด่น และผิวมัน

ควรเน้นกลุ่มสารผลัดเซลล์ผิวที่ช่วยลดการอุดตันของสิวให้หลุดออกมาง่ายขึ้น และสารที่ลดการหลั่งน้ำมันผิวได้ จะทำให้ความมันผิวลดลง
เช่น salicylic acid, glycolic acid, benzoyl peroxide, retinol เป็นต้น

• หากมีสิวอักเสบร่วมด้วยเยอะ

ควรเน้นกลุ่มที่ช่วยลดการอักเสบและช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
เช่น bisabolol, sulfur, centella asiatica, green tea, chamomile, niacinamide (Vitamin B3), panthenol (Vitamin B5)

• หากมีรอยดำรอยแดงจากสิวเยอะ

อาจเพิ่มสารกลุ่มที่ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิว
เช่น vitamin C, licorice, arbutin
และเน้นสารลดการอักเสบร่วมด้วยเพื่อลดการเกิดรอยสิวตามมาได้

ยกตัวอย่าง หากมีปัญหาสิวอุดตันหรืออักเสบ มีรอยแดงรอยดำจากสิว และผิวมัน ควรมองหาผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่มีคุณสมบัติลดการอักเสบ ไม่อุดตัน คุมมัน โดยไม่ทำให้ผิวแห้งตึงเอี๊ยด เช่น Eucerin Pro ACNE SOLUTION Soft Cleansing Foam เป็นต้น [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ]

ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าของคนเป็นสิว ล้างหน้าวันละ 1-2 ครั้ง

9. คนเป็นสิวควรล้างหน้า วันละ 1-2 ครั้งก็เพียงพอ

▫️ ตอนเย็น ควรล้างทุกวัน เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกและเมคอัพต่าง ๆ จะได้ไม่ก่อการอุดตันของรูขุมขนและเกิดสิวตามมา
▫️ ตอนเช้า อาจจำเป็นสำหรับบางคนที่มีการหลั่งน้ำมันผิวออกมามากในระหว่างคืน
▫️ และหากมีเหงื่อออก เช่น หลังออกกำลังกายหรืออากาศร้อนมาก ควรมีการล้างหน้าเสริมจากรูทีน โดยอาจชำระล้างเหงื่อด้วยน้ำเปล่าหรือ gentle cleanser ก็ได้ค่ะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ทุกคนที่มีปัญหาสิว สามารถนำไปใช้เลือกคลีนเซอร์ที่เหมาะสมกับผิวของตัวเองได้นะคะ

ถ้าชอบและเห็นว่ามีประโยชน์ —> ขอกำลังใจ ❤️❤️❤️ ตามระดับความชอบ เพื่อนำไปปรับปรุงบทความถัดไปค่ะ

หมอเจี๊ยบ


References
Cochrane Database Syst Rev. 2020 Mar 16;3(3):CD011154.
Exp Dermatol. 2019 Jul;28(7):786-794.
J Dermatolog Treat. 2018 Nov;29(7):688-693.
F1000Res. 2018 Dec 19;7:F1000 Faculty Rev-1953.
Int J Dermatol. 2013 Jul;52(7):784-90.

J Am Acad Dermatol 2009;60:5(sup. 1) S1-S50.


สนับสนุนความรู้โดย
Eucerin Pro ACNE SOLUTION Soft Cleansing Foam

ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสำหรับผู้มีปัญหาสิวอุดตัน ผิวมัน มีรอยสิว
▫️ส่วนประกอบหลัก
✔️ Bisabolol & Dio-Active ลดการอักเสบ ลดการระคายเคือง ลดการอุดตันและลดการเกิดรอยสิว
✔️ Fatty Acid & Glycerin เพิ่มความชุ่มชื้นผิว ไม่เกิดการแห้งตึงหลังล้างหน้า

Eucerin Pro ACNE SOLUTION Soft Cleansing Foam

▫️CLINICAL STUDIES [จากยูเซอริน]
ข้อมูลทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 22 คน อายุระหว่าง 18-40 ปี โดย Spincontrol Asia Co.,ltd ตั้งแต่ธันวาคม 2559 – มกราคม 2560 พบว่า
82% ของผู้ใช้จริงยืนยัน สิวอุดตันลดลง
ความมันบนใบหน้า รอยสิวแลดูน้อยลง ผิวดูใสขึ้น

▫️ฟองโฟมนุ่ม อ่อนโยน ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน ลดการเกิดสิวซ้ำ เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย
*ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

สถานที่ขาย : Watsons, Boots, Eve and Boy และร้านขายยาขนาดใหญ่ทั่วประเทศ

ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม : https://www.eucerin.co.th/products/proacne/proacne-gentle-cleansing-foam-150ml


รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Bathing’s Secret อาบน้ำอย่างไรให้ผิวสวยสุขภาพดี

บางคนอาบน้ำทุกวัน บางคนอาบน้ำเช้าเย็น บางคนอาบน้ำสองสามวันที บางคนอาบน้ำด้วยน้ำเปล่า บางคนใช้สบู่ก้อน สบู่เหลว ขัดถูด้วยแปรงเพราะกลัวไม่สะอาด สรุปแล้วยังไงคือเหมาะสมที่ควรทำ … ต้องลองอ่านบทความนี้ค่ะ

ควรอาบน้ำวันละกี่ครั้ง

การอาบน้ำช่วยให้เราผ่อนคลายและสดชื่นก็จริง แต่โดยปกติแนะนำอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งก็เพียงพอ ยกเว้นหากทำกิจกรรมที่ทำให้ผิวสกปรกหรือเหงื่อออกเยอะ เช่น เล่นกีฬา อากาศร้อนเหงื่อออกมาก ก็สามารถอาบบ่อยขึ้นได้ค่ะ

อาบน้ำร้อนได้ไหม

ดีต่อสุขภาพผิวที่สุดแนะนำให้อาบน้ำอุณหภูมิปกติหรืออุ่นเล็กน้อยค่ะ การอาบน้ำที่ร้อนเกินไปอาจทำลายไขมันตามธรรมชาติที่เคลือบผิว ส่งผลให้ผิวแห้งและอักเสบตามมาได้ง่ายขึ้น

อาบน้ำวันละกี่ครั้ง อาบน้ำร้อนดีไหม

อาบน้ำหรือแช่น้ำนาน ๆ มีผลเสียไหม

การอาบน้ำเพียง 5-10 นาที เพียงพอต่อการชำระล้างร่างกายค่ะ พบว่าการอาบน้ำนานกว่า 10 นาทีจะทำให้มีการสูญเสียน้ำ TEWL (ค่าการสูญเสียน้ำผ่านผิวชั้นหนังกำพร้า หรือ epidermis) มากขึ้น ส่งผลทำให้โครงสร้างผิวเสียความชุ่มชื้นไป

อาบน้ำด้วยน้ำเปล่าดีไหม

มีข้อมูลการศึกษาพบว่า การอาบน้ำด้วยครีมอาบน้ำหรือสบู่เหลวที่มีค่า pH balanced จะไม่ก่อการระคายเคืองและไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่า pH ผิวหนังชั้นบน จะส่งผลดีมากกว่าการล้างด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว

อาบน้ำเปล่าพอไหม

ครีมอาบน้ำที่ดี ควรเลือกอย่างไร

• ควรใช้ Cleanser ที่อ่อนโยน แนะนำ soap-free (synthetic detergent based)

หากใครที่ผิวแห้งมาก อาจเลือกครีมอาบน้ำที่ผสมสารบำรุงกำแพงผิวหรือสารเพิ่มความชุ่มชื้น เช่น Dexpanthenol หรือ โปรวิตามินบี 5

หากใครที่ผิวแพ้ระคายเคืองง่าย แนะนำเลือกที่ปราศจากน้ำหอม

หากใครมีปัญหาผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ควรเลี่ยงพวกที่ผสม organic substance ต่าง ๆ เช่น ข้าวโอ๊ต บาร์เร่ห์ เป็นต้น

ครีมอาบน้ำที่ดีต่อสุขภาพผิว

ทำไมสกินแคร์อาบน้ำควรมี pH 5

โดยปกติค่า pH ของผิวหนังชั้นบน ๆ จะอยู่ในช่วงความเป็นกรดเล็กน้อย คือ เฉลี่ยประมาณ 4.7-5.0 ซึ่งเป็นช่วงค่า pH ตามธรรมชาติของผิวที่ skin-natural ingredients ต่าง ๆ ทำงานได้ดีที่สุด เช่น ceramides, cholesterol, enzymes ต่าง ๆ ส่งผลให้สุขภาพผิวดีและแข็งแรงที่สุด

ดังนั้น จึงแนะนำครีมอาบน้ำที่มีค่า pH ช่วงประมาณ 4-7

pH ไม่ควรต่ำกว่า 2.5 และไม่ควรสูงกว่า 7 เพราจะเกิดความเป็นกรดหรือด่างมากไป ส่งผลทำให้กำแพงผิวถูกทำลายได้มากขึ้น

ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์อาบน้ำชำระร่างกายที่มี pH5 และมีสารเพิ่มความชุ่มชื้นผิวที่อ่อนโยน ไม่ระคายเคือง เช่น Eucerin pH5 Wash Lotion ซึ่งช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิว เหมาะสําหรับผิวธรรมดาถึงผิวแห้ง [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย]

รู้ได้อย่างไรว่าครีมอาบน้ำที่ใช้อยู่ ไม่เหมาะสมกับผิวกายของเรา

วิธีสังเกตง่ายที่สุด คือ หลังอาบน้ำเสร็จแล้วจะรู้สึกเหมือนมีฟิล์มเคลือบผิวบาง ๆ จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิว ซึ่งไม่ควรเช็ดหรือถูฟิล์มนี้ออกค่ะ แต่หากครีมอาบน้ำที่ทำให้ผิวตึงเอี๊ยด แสบ ระคายเคือง ก็แนะนำควรเปลี่ยนค่ะ

ครีมอาบน้ำ pH5

หวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ดูแลผิวหน้าแล้วอย่าลืมดูแลผิวกายกันนะ

ด้วยความปรารถนาดี

หมอเจี๊ยบ

——————————————

References:

Am J Clin Dermatol. 2002;3:261- 72.

Int J Cosmet Sci. 2011;33:17-24.

Pediatr Dermatol. 2012;29:1-14.

Allergy Asthma Proc. 2019 May 1;40(3):204-206.

J Dermatolog Treat. 2020 Nov;31(7):716-722.

Rev Paul Pediatr. 2020;38e2018319 

 

——————————————

[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย

Eucerin pH5 Wash Lotion

โลชั่นอาบน้ำสําหรับฟื้นบํารุงเกราะปกป้องผิวให้แข็งแรง ช่วยปรับสมดุลผิว ทำความสะอาดอ่อนโยน เพิ่มความชุ่มชื้นผิว

Eucerin pH5 Wash Lotion

เหมาะสําหรับผิวธรรมดาถึงผิวแห้ง

pH5 Balance System ช่วยปรับสมดุลผิวให้มีค่า pH=5 ซึ่งจะช่วยเสริมกระบวนการผลัดเซลล์ผิว และเสริมการสร้างเซลล์ผิวใหม่ที่แข็งแรง จึงช่วยให้ผิวนุ่ม แลดูสุขภาพดี ชุ่มชื้น สีผิวดูสม่ำเสมอขึ้น

มี Dexpanthenol (โปรวิตามินบี 5) เพิ่มความชุ่มชื้นขั้นสุด

ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกที่ผิว และเสริมการสร้างเซลล์ผิวที่ดี ให้ผิวแลดูสุขภาพดี เนียนนุ่ม

Soap-free ปราศจากความเป็นด่างของสบู่ จึง ช่วยคงสมดุลในการปกป้องชั้นผิวที่ค่า pH เท่ากับ 5 ซึ่งเป็นค่าตามธรรมชาติของผิวที่สุขภาพดีและแข็งแรงที่สุด ช่วยให้เซลล์ผิว สามารถกลับมาทํางาน และรักษาความชุ่มชื้นได้ตามปกติ ผิวจึงแข็งแรง สุขภาพดีขึ้น และสามารถเสริมเกราะปกป้องผิวไม่ให้กลับไป แห้งเสีย

Clinical Studies

เหมาะสําหรับ ผิวบอบบางแพ้ง่าย สามารถลดอาการแห้งและแพ้ง่ายของเด็กได้

สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ (ใช้ได้กับทารกอายุ 1 เดือนขึ้นไป)

**ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

——————————————

รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

รู้หรือไม่..ฤดูร้อนก็ผิวแห้งได้ (Dry skin in summer)

Dry skin in summer ​
Dry skin in summer

ทุกคนทราบดีว่าฤดูหนาวอากาศเย็นจะทำให้ผิวแห้งได้มากขึ้น แต่หลายคนอาจสงสัยว่าฤดูร้อน อากาศร้อน เหงื่อออกเยอะ ผิวคงจะไม่แห้ง ไม่ต้องทาครีมบำรุงผิวก็ได้..จริงหรือไม่ ❓

คำตอบ คือ ไม่จริง

บางคนอาจยังไม่ทราบว่า ฤดูร้อน..ก็ทำให้ผิวแห้งได้เช่นกัน

สาเหตุที่อาจทำให้ผิวแห้งในฤดูร้อน

สาเหตุของผิวแห้งในฤดูร้อน

• ความร้อนจากแสงอาทิตย์
จะทำลาย skin barrier ให้เสียสมดุล ส่งผลให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น (TEWL สูงขึ้น)
• การมีเหงื่อออกมากขึ้น ทำให้ร่างกายเสียน้ำมากขึ้น ส่งผลให้ผิวแห้ง ปากแห้งตามมาได้
• การคลายร้อนด้วยการลงว่ายน้ำในสระ โดยเฉพาะหากสระน้ำที่มีคลอรีนจะมีค่า pH ที่ทำให้ผิวไม่สมดุล ทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
• การชำระเหงื่อด้วยการอาบน้ำบ่อยขึ้น โดยไม่ทามอยเจอไรเซอร์ จะยิ่งทำให้ผิวแห้งมากขึ้นไปอีก
• การอยู่ในห้องแอร์ จะยิ่งทำให้ความชื้นสัมพัทธ์รอบตัวลดลง ส่งผลให้ผิวเสียน้ำมากขึ้น

วิธีสำรวจเบื้องต้นดูว่าตนเองมีภาวะผิวแห้ง (Xerosis) ระดับไหน

เช็คระดับผิวแห้ง

วิธีเช็คตัวเอง อาจดูจากลักษณะของผิวหนัง 3 อย่าง คือ มีขุย รอยแตก และ ความแดง ซึ่งอาจแบ่งระดับความรุนแรง (ดังรูป) และมีอาการคัน มากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรง
วิธีทางการแพทย์ ใช้เครื่องมือวัดเพิ่มเติม เรียกว่า Xerometer

วิธีการดูแลผิวแห้งในฤดูร้อนที่แนะนำ

เคล็ดลับการดูแลผิวในฤดูร้อน

1. ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดด ควรใช้สม่ำเสมออย่างถูกวิธี
2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-10 แก้วต่อวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเหงื่อออกเยอะยิ่งต้องชดเชยมากขึ้นอีก
3. หลังจากว่ายน้ำ ลงสระคลอรีน หรือ เล่นน้ำทะเล เสร็จแล้วควรรีบชำระล้างร่างกายทันทีเพื่อลดการตกค้างของสารเคมีต่าง ๆ ที่อาจทำให้ผิวแห้งตามมาได้
4. เลี่ยงการอาบน้ำร้อน เพราะจะทำให้ผิวยิ่งแห้งมากขึ้น แนะนำอาบน้ำอุณหภูมิปกติหรืออุ่นเล็กน้อย และอาบน้ำไม่นานเกิน 5 นาที เลี่ยง bubble bath
5. หากอยู่ในห้องแอร์ อาจใช้ Humidifier เพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ให้บรรยากาศในห้อง
6. ทาครีมบำรุงผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นเป็นประจำสม่ำเสมอในฤดูร้อนก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่มีโอกาสพบปัญหาผิวแห้งได้มาก ได้แก่
✔️ กำแพงผิวเสียจากอายุที่มากขึ้น
✔️ โรคผิวหนังบางอย่าง เช่น ผิวหนังอักเสบ, ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง, โรคสะเก็ดเงิน, โรค Ictyosis
✔️ โรคทางร่างกายอื่น เช่น โรคตับ โรคไต โรคไทรอยด์ มะเร็งบางชนิด ขาดวิตามินหรือสารอาหารบางอย่าง เป็นต้น
✔️ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เช่น วัยหมดประจำเดือน เป็นต้น

ยกตัวอย่างส่วนผสมพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาผิวแห้งลอกเป็นขุย คือ Urea

ยูเรียมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ช่วยแก้ปัญหาผิวแห้ง คัน ขุยลอก ได้แก่

  1. เพิ่มความชุ่มชื้นที่ Stratum corneum
  2. เสริมการทำงานของ Skin barrier ให้แข็งแรงและช่วยต่อต้านเชื้อโรคได้ดีขึ้น
  3. ช่วยควบคุมการแบ่งตัวของผิวหนัง บางทีจึงเห็นนำมาใช้รักษาโรคที่มีความหนาของผิวมากขึ้น เช่น สะเก็ดเงิน หรือ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
  4. ช่วยผลัดเซลล์ผิว (Keratolysis)

วิธีการเลือก Body lotion สำหรับบำรุงและแก้ปัญหาผิวแห้งในฤดูร้อน

นอกจากดูส่วนผสมให้เหมาะสมแล้ว อาจต้องดูเนื้อสัมผัสร่วมด้วย แนะนำเลือกเนื้อบางเบา เช่น เจล, โลชั่น หรือ ครีมที่ซึมง่าย เพื่อลดความเหนียวเหนอะหนะในระหว่างวัน
ยกตัวอย่างบอดี้โลชั่นที่มีส่วนผสมเพิ่มความชุ่มชื้นได้ดีอย่างยาวนาน 48 ชั่วโมง โดยไม่เหนียวเหนอะหลังการทา เช่น UreaRepair Plus [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย]

PRACTICAL POINT

เทคนิคการเลือกครีมยูเรียเพื่อผิวแห้งขุยแดงคัน

การเลือกโลชั่นยูเรีย

กรณีผื่นแห้งขุยไม่มาก :
• แนะนำ urea 5% ก็เพียงพอ
• อาจเพิ่มกลุ่ม NMF หรือ Humectant อื่น เช่น lactic acid derivatives, pyrrolidine carboxylic acid (PCA), amino acids จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่าการใช้ Urea เดี่ยว ๆ

กรณีผื่นแห้ง หนาขุย มีรอยแตก :
• แนะนำ urea 10% ขึ้นไป
• อาจเพิ่ม dexpenthanol, ceramide, shea butter, salicylic acid, lactic acid เสริมประสิทธิภาพได้
• เพิ่มกลุ่มที่ช่วยเคลือบผิวเพื่อลดการสูญเสียน้ำ เช่น vaseline, liquid paraffin, silicone oils

กรณีผิวแห้งและมีรอยแดงร่วมด้วย :
• แนะนำเพิ่มส่วนผสมกลุ่ม soothing เช่น bisabolol, lichochalcone A, glycyrrhizic acid, dexpanthenol, oat extract, niacinamide, witch hazel
• กลุ่มนี้แนะนำพบแพทย์หาสาเหตุว่ามีโรคผิวหนังอักเสบอะไรร่วมด้วยหรือไม่ แพทย์อาจพิจารณายาทาเพื่อรักษาเพิ่มเติมร่วมด้วย

BOTTOM LINE

สุดท้ายนี้อยากฝากไว้ ถึงแม้ฤดูร้อน เหงื่อออก ผิวก็ยังแห้งได้ และผิวหนังยังต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอไม่แพ้ฤดูอื่น ๆ
ในกรณีที่ใช้ยูเรียทาเพื่อเสริมสุขภาพผิวและแก้ปัญหาผิวแห้ง แนะนำ 2-20% ขึ้นกับความขาดน้ำของผิวแต่ละคน หากผิวไม่แห้งมาก อาจใช้ 2-5% ก็เพียงพอ นอกจากนั้นยังพบว่าการใช้ยูเรียบำรุงผิวเป็นประจำ สามารถช่วยลด skin aging ได้ด้วย

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านนะคะ
ด้วยความปรารถนาดี


References:

J Dermatolog Treat. 2020 Nov;31(7):716-722.
JDDG. 2018; 16 (Suppl. 4): 3-35.
Dermatology Therapy 2018;e12690.
Int J Clin Pract. 2020 Dec;74 Suppl 187:e13660.
Dermatol Ther (Heidelb) (2021). https://doi.org/10.1007/s13555-021-00611-y


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Eucerin UreaRepair Plus

Eucerin UreaRepair plus

โลชั่นบำรุงผิวกาย เหมาะสำหรับผิวแห้งถึงแห้งมาก แตกเป็นขุย
ประกอบด้วย
5% Urea lotion + NMF สารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติในผิว
มี Ceramides ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการสูญเสียน้ำจากผิว
มี Glyco-glycerol ที่ช่วยเพิ่มการส่งผ่านโมเลกุลน้ำไปยังผิวชั้น epidermis ได้ดี เติมน้ำสู่ผิว ผิวชุ่มชื้นยาวนาน 48 ชั่วโมง
เนื้อโลชั่น oil-in-water ซึมเร็ว ไม่เหนียวเหนอะ
ช่วยให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น เนียนเรียบขึ้น แลดูสุขภาพดี เมื่อใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

**ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

สามารถสั่งซื้อใน Online Shop ได้แล้วตั้งแต่ พฤษภาคม-กรกฎาคม 2022 ลด 15% จาก 690 บาทเหลือ 586.50 บาท ที่ Website ของ Eucerin https://bit.ly/3EUDe5U หรือสั่งซื้อใน Shopee และ Lazada ตามพิกัดด้านล่างได้เลย
Shopee : https://bit.ly/3xWvZZp
Lazada : https://bit.ly/3xSOP3F


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved

Licochalcone A คู่หูคู่ซี้ของ ไทอามิดอล ‼️

เชื่อว่ายุคนี้หากใครได้อ่านเรื่อง สกินแคร์ที่ช่วยเรื่องฝ้าและรอยดำ ก็ต้องเคยได้ยินชื่อเสียงของไทอามิดอล ซึ่งเป็นตัวเต็งของ ingredient ที่ช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว และในขณะเดียวกันอาจจะได้ยินชื่อของสารอีกตัวที่มักใช้ร่วมกับ Thiamidol เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น นั่นก็คือ ลิโคชาลโคนเอ (Licochalcone A) ลองมาทำความรู้จักกันในบทความนี้

Licochalcone A คู่หู Thiamidol คู่ซี้ของคนเป็นฝ้า

Licochalcone A เป็นสารสำคัญที่พบใน Glycyrrhiza inflata ซึ่งเป็น Chinese Licorice Root extract (รากชะเอมเทศ)

กลไกออกฤทธิ์ของ Licochalcone A ได้แก่

  • ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory effects)

ยับยั้งการสร้างและหลั่งสารก่อการอักเสบหลายชนิด เช่น PGE2, LTB4, IL-6, TNFa

  • ต้านเชื้อจุลชีพ (Anti-microbial effects)

โดยข้อมูลหลอดทดลองพบว่า สามารถยับยั้งกลุ่มแกรมบวกและแกรมลบได้ เช่น Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Bacillus subtilis รวมถึง C.acne, H.pylori

  • ยับยั้งเชื้ออื่น ๆ

เช่น เชื้อมาลาเรีย P. falciparum, เชื้อราชนิด dermatophyte, C.albicans และเชื้อไวรัสบางชนิด

  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ (Antitumorigenic effects)
  • ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant effects)
กลไกออกฤทธิ์ของ Licochalcone A​
กลไกออกฤทธิ์ของ Licochalcone A

ในสมัยก่อนคนจีนจึงนิยมใช้เป็น ยาแผนโบราณในการรักษาโรค (Traditional Medicine) เช่น แผลในกระเพาะหรือลำไส้, ผิวหนังอักเสบ หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในร่างกาย เพราะสืบเนื่องจากคุณสมบัติข้างต้น

ปัจจุบันมีการนำ Licochalcone A มาผสมสกินแคร์ในรูปแบบของการทา

หลากหลายมากขึ้น และมีข้อมูลพบว่าช่วยให้ภาวะเหล่านี้ดีขึ้นได้

• ผื่นที่เกี่ยวกับการอักเสบ ได้แก่ ผื่นสะเก็ดเงิน, ผื่นคัน, ผื่นเซบเดิร์ม
• ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง Atopic dermatitis เพราะลดการอักเสบและยัง repair skin barrier ได้
• ผื่นโรเซเชีย, ผิว sensitive skin เพราะมีฤทธิ์ anti irritation ร่วมด้วย
• สิว เพราะลดการอักเสบและยับยั้ง C.acne ร่วมด้วย
• ฝ้าและรอยดำจากการอักเสบ

ในแง่การเกิดฝ้า

นอกจากกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวที่ถูกกระตุ้นมากขึ้นแล้ว ยังพบว่า ผิวในชั้นลึกลงไปมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ได้แก่

กระบวนการเกิดฝ้า​ Melasma
กระบวนการเกิดฝ้า

• เส้นใยอิลาสตินยืดหยุ่นลดลง เกิด solar elastosis คล้ายกับที่พบในผิวที่เกิดความเสื่อมจากการถูกแสงแดด (photoaging disorder)
• Basement membrane zone (BMZ) ที่กั้นระหว่างชั้นหนังแท้กับหนังกำพร้ามีรอยรั่ว ไม่แข็งแรง จึงเกิดฝ้าลึกตามมา
• เส้นเลือดใต้ผิวหนังถูกกระตุ้นให้มีการเพิ่มจำนวน & ขนาด และหลั่งสาร Endothelin ซึ่งกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้นตามมา
• มีการเพิ่มปริมาณของ mast cells หลั่ง histamine เพิ่ม และกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีผิวเพิ่มขึ้นตามมา
• เซลล์ไขมัน Sebocyte มีการหลั่งสารที่ทำให้เซลล์เม็ดสีทำงานมากขึ้น

ดังนั้น หากมองหาสกินแคร์เพื่อดูแลผิวที่เป็นฝ้าหรือผิวหมองคล้ำก็ควรต้องมองหาสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการข้างต้น และถ้าหากยับยั้งได้หลายกลไกก็มีแนวโน้มที่จะเห็นผลการรักษาได้ดีกว่า

ยกตัวอย่างการจับคู่สกินแคร์

ชิ้นที่ 1: สกินแคร์ที่มีส่วนผสมหลักของ Licochalcone A + Thiamidol + Hyaluronic acid
ร่วมกับ
ชิ้นที่ 2: ครีมกันแดด
ก็ช่วยได้หลายกลไก ดังนี้

Sunscreen ช่วยลด photoaging และลดการสร้างเม็ดสี
Licochalcone A ช่วยทำให้ฝ้าและรอยดำจากการอักเสบดีขึ้น จากหลายกลไล
• ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดสี โดยมีข้อมูลสามารถทาในระยะยาวได้อย่างปลอดภัย
• ลดการหลั่ง Endothelin จึงทำให้การสร้างเม็ดสีในฝ้าน้อยลง
• ช่วยลดการอักเสบ จึงเกิดรอยดำตามมาน้อยลง
Thiamidol เป็น potent tyrosinase inhibitors อ่านเพิ่มเติมในบทความก่อนนี้
Hyaluronic acid ช่วยเสริม skin barrier แข็งแรง

กลไก Licochalcone A รักษาฝ้า​
กลไก Licochalcone A รักษาฝ้า

มีข้อมูลพบว่า เมื่อใช้สกินแคร์ซึ่งมีส่วนผสมหลักของ Licochalcone A + Thiamidol + Hyaluronic acid พบว่าฝ้าจางชัดเจน และเมื่อใช้อย่างต่อเนื่อง 6 เดือน พบว่าฝ้าสามารถจางลงไปเรื่อย ๆ และสามารถป้องกันการกลับเป็นซ้ำของฝ้าหลังหยุดใช้ได้อย่างน้อย 3 เดือน
ดังนั้น จึงแนะนำให้ทาเป็นประจำสม่ำเสมอร่วมกับการทาครีมกันแดดอย่างถูกวิธี เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาฝ้าค่ะ

Bottom line

สกินแคร์ นอกจากจะเป็นเป็นตัวเสริมการรักษาฝ้าด้วยยาแล้ว ยังสามารถใช้เพื่อ maintenance หลังการรักษาจบแล้ว เพื่อลดโอกาสการกลับมาเข้มขึ้นของฝ้าอีก แต่ต้องบอกก่อนว่าไม่ได้ 100% เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดรักษาฝ้าให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาเพื่อให้ฝ้าจางลงได้ การรักษาฝ้าให้ได้ผลดีควรต้องควบคู่ไปกับการปกป้องผิวจากแสงแดดอย่างถูกวิธี และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ฮอร์โมน ยาบางชนิด เป็นต้น

ปัจจัยกระตุ้นฝ้า​
ปัจจัยกระตุ้นฝ้า

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และทำให้ทุกท่านที่ได้จะรู้จัก ลิโคชาลโคนเอ (Licochalcone A) มากขึ้นในหลายแง่มุมนะคะ


References:

J Toxicol Environ Health A. 2020 Nov 16;83(21-22):673-686.
Curr Med Chem. 2020;27(12):1997-2011.
Clin Cosmet Investig Dermatol. 2019 Feb 19;12:151-161.
Pharm Biol. 2017 Dec;55(1):5-18.
J Eur Acad Dermatol Venereol. 2016 Feb;30 Suppl 1:21-7.
Acta Pharm Sin B. 2015 Jul;5(4):310-5.
Arch Dermatol Res. 2006 Jun;298(1):23-30.
Life Sci. 2002 Aug 9;71(12):1449-63.


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Eucerin Spotless Booster Serum

ส่วนประกอบหลัก :
Thiamidol เป็น The powerful Human Tyrosinase Inhibitor {อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.facebook.com/476743752739537/posts/1259180884495816/?d=n}
Hyarulonic acid small molecule ช่วยนำพาสาร Thiamidol ซึมลงสู่ผิวชั้นลึกได้ดีขึ้น
Licochalcone A ช่วยลดการอักเสบ ลดการหลั่ง endothelin จาก endothelial cell เสริมการทำงาน ช่วยลดเรื่องการเกิดฝ้าและรอยดำหลังการอักเสบได้ดียิ่งขึ้น

เทคโนโลยี Micro Targeted : เพื่อเพิ่มความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และจัดการฝ้า จุดด่างดำได้ดีกว่าเดิม ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น 2 สัปดาห์

Eucerin Spotless Booster Serum

อ่านบทความย้อนหลังที่
https://helloskinderm.com
รวมลิ้งค์ https://opl.to/drwarayuwadee
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

กลเม็ดพิชิต “รอยดำสิว”

แม้ว่ารอยดำจากสิว..ไม่ได้อันตราย แต่อาจส่งผลทางด้านจิตใจเป็นอย่างมากต่อใครหลายคน ถ้าหากเราสาเหตุการเกิดรอยดำจากสิวและรักษาตรงจุด ก็จะได้ผลการรักษาที่ดีค่ะ

กลเม็ดพิชิต รอยดำสิว

สาเหตุการเกิดรอยดำที่ผิวหนังนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุขึ้นกับเป็นโรคผิวหนังอะไร บางโรคอาจเกิดจากความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสี หรือ กระบวนการสร้างเม็ดสีที่ผิดปกติ แต่หากกรณีเป็นรอยดำที่เกิดตามหลังการเป็นสิวนั้นเกิดเนื่องจากมีการอักเสบของผิวหนังเป็นหลักค่ะ

เมื่อไหร่ที่เกิดสิวอักเสบขึ้นแล้ว ..

อาจเกิดเป็น รอยสีแดง ทางการแพทย์เรียกว่า Post acne erythema ซึ่งมักพบในคนผิวขาวได้บ่อยกว่า หลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นผ่านระบบอิมมูนที่ผิวหนัง กระตุ้นเอนไซม์ tyrosinase และกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวเพิ่มขึ้น และเกิดรอยดำหรือน้ำตาลตามมา ทางการแพทย์เรียกว่า Post acne hyperpigmentation ซึ่งมักพบในคนผิวสีคล้ำได้บ่อยกว่า

ดังนั้น เดอร์โมคอสเมติกส์หรือยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบและยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ได้ จึงมีส่วนช่วยลดการเกิดรอยดำและรอยแดงสิวได้

รอยแดงสิว รอยดำสิว แตกต่างกัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดรอยดำจากสิวที่สำคัญที่สุด คือ ..

การอักเสบของผิวหนัง สิวอักเสบเล็กน้อยก็เกิดรอยดำตามมาได้ และหากยิ่งสิวอักเสบรุนแรงและอักเสบนาน ก็จะยิ่งส่งผลให้เกิดรอยดำที่รุนแรงมากกว่าและนานกว่า

ดังนั้น หากไม่อยากมีรอยดำสิว สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องรีบรักษาสิวให้ดีแต่เนิ่น ๆ

รังสียูวี เป็นอีกตัวการที่สำคัญ ..

ที่กระตุ้นให้รอยดำสิว มีความรุนแรงและเข้มขึ้นกว่าเดิม

ดังนั้น การป้องกันผิวจากแสงแดดให้ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่น ทาผลิตภัณฑ์กันแดดสม่ำเสมอ, ใส่หมวก, กางร่ม, หลบแดด ตามความเหมาะสม

การทำให้ผิวเกิดความบาดเจ็บ ..

จะยิ่งกระตุ้นกระบวนการอักเสบผิว ทำให้รอยดำทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่รอยดำ แต่ยังอาจเกิดแผลเป็น รอยแดง หลุมสิวตามมาได้อีก ซึ่งส่งผลให้การรักษาสิวยุ่งยากและยาวนานกว่าเดิม

ดังนั้น หากเป็นสิวแล้วไม่อยากเกิดรอยดำสิว รอยแดง หลุมสิวตามมา ก็แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ค่ะ

ปัจจัยกระตุ้นรอยดำสิว

หลังจากสิวอักเสบหายแล้ว ..

แต่ละคนอาจเกิดรอยดำตามมามากน้อยไม่เท่ากัน เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อความรุนแรงของรอยดำ

ปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ได้แก่

✔️ ความรุนแรงของการอักเสบสิว

✔️ รังสียูวี

✔️ การบีบแกะสิว

และยังมีปัจจัยที่เราไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เช่น

✔️ ชนิดสีผิว คนผิวสีเข้มมีโอกาสเกิดรอยดำได้มากกว่าคนผิวขาว

✔️ กรรมพันธุ์หรือประวัติครอบครัว

เป็นต้น

เมื่อเกิดรอยดำจากสิวแล้ว รอยดำจะค่อยจางลงไปได้เอง ..

ตามกระบวนการผลัดเซลล์ผิว โดยใช้ประมาณเวลา 6 เดือน – 5 ปี แล้วแต่บุคคล

ดังนั้น วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การรักษาสิวแต่เนิ่น ๆ อย่างถูกวิธี ไม่ควรลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง แนะนำปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ร่วมกับการเลือกใช้เดอโมคอสเมติกส์ที่มีส่วนเสริมการรักษาสิวอย่างเหมาะสม

เดอโมคอสเมติกส์ที่เหมาะสมสำหรับคนเป็นสิว ..

แนะนำ Water‐based, nongreasy เนื้อสัมผัสไม่เหนียว, non comedogenic (เคยเขียนบทความไปแล้วลองไปทบทวนได้)

สรุปอีกครั้งสั้น ๆ คุณสมบัติของ Moisturizer สำหรับคนเป็นสิว ที่ควรมี 4 อย่าง ได้แก่

✔️ ช่วยลดการอักเสบ (Anti-inflammatory agents) เช่น Licochalcone-A, azelaic acid, hazel, aloe vera, zinc, soy isoflavones

✔️ ช่วยผลัดเซลล์ผิวลดการอุดตันของรูขุมขน (Keratolytic agents) เช่น hydroxy acid, linoleic acid

✔️ ช่วยควบคุมการสร้างน้ำมันผิว (Sebum controlling) เช่น L-carnitine, niacinamide, zinc, fullerene

✔️ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อสิวโดยไม่ทำให้ผิวเสียสมดุล (Anti microbial agents) เช่น Decanediol, tea tree oils

เมื่อเกิดรอยดำสิวขึ้นแล้ว แนะนำให้ปรับการรักษาด้วยกลุ่มยาทาก่อน ซึ่งที่มีข้อมูลช่วยเรื่องรอยดำสิวได้ คือ

✔️ กลุ่มยาทา (ควรปรึกษาแพทย์ก่อน) เช่น hydroquinone, retinoids, azelaic acid, dapsone gel เป็นต้น

✔️ กลุ่มสกินแคร์ เช่น thiamidol, kojic acid, ascorbic acid, arbutin, niacinamide, licorice extract, aloesin, ferulic acid เป็นต้น

สกินแคร์รักษารอยสิว

และหากไม่ดีขึ้น แนะนำปรึกษาแพทย์พิจารณาปรับการรักษาเสริม เช่น

✔️ Chemical peeling

✔️ Laser/light therapy เช่น blue light PDT, Nd:YAG laser

เป็นต้น

โดยสรุป ‼️

ถ้าไม่อยากมีรอยดำสิว ควรรีบรักษาสิวอย่างถูกวิธี

ถ้ามีรอยดำจากสิวแล้วอาจต้องใช้เวลา ซึ่งนานแค่ไหนแล้วแต่ผิวและปัจจัยของแต่ละคน

หากใครที่กังวลหรือเร่งด่วน เช่น ต้องออกงานที่มีความจำเป็นต้องใช้ผิวหน้า ก็แนะนำพบแพทย์ปรับยารักษาช่วยได้ ร่วมกับ การเลือกใช้เดอโมคอสเมติกส์ที่เหมาะสมสำหรับคนเป็นสิวและรอยดำ เช่น Pro Acne Solution Anti-Acne Mark Triple Effect Serum (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง) ก็เป็นทางเลือกที่เสริมให้การรักษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นได้ค่ะ

ด้วยความปรารถนาดี

——————————————

References:

Dermatol Reports. 2021 Oct 6;13(3):8223.

G Ital Dermatol Venereol. 2020 Jun;155(3):280-285.

J Dermatolog Treat. 2019 Sep;30(6):578-581.

J Dermatol. 2016 Jul;43(7):826-8.

JEADV 2015; 29(Suppl. 5): 1-7.

Nat Rev Dis Primers. 2015; 1: 15029.

J Clin Aesthet Dermatol. 2013; 6: 18-24.

J Cosmet Dermatol. 2012 Mar; 11(1): 30-6.

Clin Cosmet Investig Dermatol. 2010; 3: 135–142.

International journal of pharmaceutics 292.1-2 (2005): 187-194.

——————————————

[ Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย

Eucerin Pro Acne Solution Anti-Acne Mark Triple Effect Serum

นวัตกรรมเซรั่มลดรอยสิว เหมาะสำหรับผิวที่เป็นสิว ช่วยลดการเกิดรอยดำจากสิว สีผิวดูสม่ำเสมอ

ส่วนผสมออกฤทธิ์ยับยั้งครบทั้ง 4 กระบวนการก่อสิว ร่วมกับ ไทอามิดอลที่ช่วยลดการสร้างเม็ดสีผิว

ส่วนประกอบหลัก :

✔️ Thiamidol สิทธิบัตรเอกสิทธิ์เฉพาะยูเซอริน เป็น The powerful Human Tyrosinase Inhibitor ช่วยลดการเกิดรอยดำสิวได้ดี

✔️ Licochalcone A เป็นสารสกัดจากรากของพืชชะเอมจีน เป็น antioxidant ที่มีคุณสมบัติในการปลอบประโลมผิว ช่วยลดการอักเสบ ลดการหลั่ง endothelin จาก endothelial cell จึงช่วยลดเรื่องการเกิดรอยดำสิวที่ตามมาได้

✔️ Salicylic acid ลดการอุดตันของรูขุมขน และช่วยลดการกลับเป็นซ้ำของสิวในระยะยาว

✔️ Decanediol ลดการสะสมของแบคทีเรีย C.acne ที่ก่อให้เกิดสิว จึงช่วยลดปัจจัยของการเกิดสิวเรื้อรัง

✔️ Sebum Regulation เทคโนโลยีควบคุมความมัน ด้วย Active L-Carnitine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการควบคุมการสร้างน้ำมันผิว จึงช่วยคุมความมันส่วนเกินบนใบหน้าได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง และเร่งการผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน โดยสามารถรักษาความชุ่มชื้นผิวไว้ได้อย่างสมดุล

เนื้อเซรั่มเป็นแบบไฮโดรเจล ซึมไว ไม่เหนอะ

ผ่านการทดสอบ non-comedogenic & non-acnegenic tested

ข้อมูลการทดลองจากทางยูเซอรีน พบว่า รอยดำ รอยแดง และความมันผิว เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 สีผิวแลดูสม่ำเสมอขึ้น และดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

*การตอบสนองต่อการรักษาและผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

Eucerin Pro acne Anti-acne Mark เซรั่มลดรอยสิว

——————————————

อ่านบทความย้อนหลัง Website HELLOSKINDERM (คลิก)

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ครีมยูเรีย ที่เหมาะกับคนผิวแห้งมาก ช่วยแก้ปัญหาผิวแห้งได้อย่างไร ‼️

Urea-containing topical formulation

มีหลายคำถามที่มักมีการถามถึงเสมอ ว่ายูเรียที่ผสมในสกินแคร์ สามารถช่วยอะไรได้บ้าง และคนผิวแห้งทาไปนาน ๆ แล้วจะมีผลอะไรต่อผิวหรือไม่ เราลองมาทำความรู้จักกันค่ะ

1. ยูเรีย คืออะไร เกี่ยวกับผิวเราอย่างไร ทำไมเห็นใช้เป็นส่วนผสมในสกินแคร์ทาผิว ❓

ยูเรียเป็นส่วนประกอบหนึ่งในผิวหนัง
พบได้ประมาณ 7% ของ NMF (Natural Moisturizing Factor) ซึ่งอยู่ที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าของเราค่ะ ส่วนนี้จะทำหน้าที่ปกป้องผิว กักเก็บความชุ่มชื้น เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้แก่ผิว และเมื่อเราอายุมากขึ้น ปริมาณของ urea ใน NMF จะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา

ยูเรียทาผิว urea cream

2. หาก NMF ไม่สมบูรณ์ และปริมาณ urea ที่ผิวลดลง จะเกิดอะไรขึ้นกับผิวหนังบ้าง ❓

ผลที่จะเกิดตามมา คือ ผิวจะสูญเสียน้ำได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น สูญเสียความยืดหยุ่น จึงส่งผลทำให้ผิวแห้งกร้าน ลอก เป็นขุยในที่สุด เราจึงเห็นว่าคนสูงอายุส่วนหนึ่งที่ผิวแห้งนั้น อาจมาจากปัจจัยเรื่องนี้ร่วมด้วยได้ และเมื่อทาครีมที่ผสมยูเรียจึงมักช่วยให้อาการแห้งลอกคันผิวลดลงได้ดี

3. ผลิตภัณฑ์ยูเรียชนิดทาที่มีความเข้มข้นต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ❓

ยูเรียความเข้มข้นต่างกันจะออกฤทธิ์ไม่เหมือนกันค่ะ

✔️ ความเข้มข้นต่ำถึงปานกลาง <10 % จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิว (Moisturizing effect) จึงมักใช้แก้ปัญหาผิวแห้ง หรือ โรคผิวหนังในกลุ่มโรคเช่น Xerosis, Ictyosis, Atopic dermatitis, Psoriasis
✔️ ความเข้มข้นสูงเกิน 10% ขึ้นไป ความเข้มข้นเบอร์นี้จัดว่าเป็นยา จะออกฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิวร่วมด้วย (Keratolytic effect) จึงมักใช้ในรอยโรคผิวหนังที่หนา เช่น ขนคุด (Keratosis pilaris), Psoriasis ที่ผื่นหนา หรือใช้แก้ปัญหาที่เล็บ, รักษาหูด, ตาปลา,ใช้ทาส้นเท้าหนาแตกด้าน เป็นต้น

ดังนั้น ควรเลือกให้ถูกวัตถุประสงค์ เช่น หากนำ 40% มาใช้กรณีผิวแห้ง ก็อาจทำให้รอยโรคแย่ลงได้จากการผลัดลอกเซลล์ผิวมากขึ้นกว่าเดิม

ประโยชน์ของยูเรียครีม

4. หากใช้ครีมยูเรียควรใช้ทาเดี่ยว ๆ หรือทาร่วมกับยาเพื่อรักษาโรคทางผิวหนังได้หรือไม่ ❓

สามารถทายูเรียเดี่ยว ๆ หรือ ทาร่วมกับยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ค่ะ และมีข้อมูลว่ายังสามารถเพิ่มการดูดซึมของยาตัวอื่นได้ เช่น

✔️ 10% urea ร่วมกับ hydrocortisone หรือ betamethasone-17-valerate ในการรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)
✔️ 10% urea ร่วมกับ 1% hydrocortisone, 2% salicylic acid ในการรักษาโรคผิวแห้ง Ictyosis vulgaris
✔️ 10-40% urea ร่วมกับ dithranol หรือ bifonazole ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน
✔️ 40% urea ร่วมกับ 1% fluconazole ในการรักษาเชื้อราที่เล็บ

5. ครีม urea มีแบบไหนบ้าง เลือกอย่างไรดี ❓

ปัจจุบันครีมที่ผสมยูเรียมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ครีม, โลชั่น, โฟม, อิมัลชั่น, แลคเกอร์ โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 3-50% ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่มีรายงานผลข้างเคียงจากการใช้น้อยมาก เรียกได้ว่า สามารถใช้ได้ค่อนข้างปลอดภัย

แต่ละรูปแบบควารเลือกใช้ให้เหมาะสม ดังนี้

ชนิดโลชั่นทาผิว

มักผสม urea 3-12% ซึ่งไม่สูงมาก และเนื่องจากเป็น hydrophilic components มักจะมีน้ำหนักโมเลกุลเล็ก สามารถซึมผ่าน Stratum corneum ได้ดี ออกฤทธิ์เป็น humectant ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น, ลด TEWL อีกทั้งยังช่วยกักเก็บความชื้นในผิวได้ยาวนาน จึงมักใช้โลชั่นเพื่อแก้ปัญหาผิวแห้งคัน (xerosis) ได้ดี และยังมีข้อมูลพบว่าลดอาการขุย ผิวแตกเป็นร่อง แดงคัน ช่วยลดการกำเริบของการแห้งคันได้ แนะนำในกลุ่มคนผิวแห้ง xerosis, ผิวผู้สูงอายุ, ผิวแห้งคันในคนเป็นโรคตับ,ไต เป็นต้น

ชนิด cream

ควรเลือกความเข้มข้นให้เหมาะกับปัญหาตามที่กล่าวข้างต้น คร่าวๆ คือ
5-12% cream สำหรับผิวกายแห้งมาก แห้งลอกขุย, ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
20-25% cream สำหรับส้นเท้าแห้งแตก, เล็บเป็นขุยหนา
20-40% cream สำหรับเสริมการรักษาเชื้อราที่เล็บ
50% cream สำหรับ psoriatic plaque

ชนิด foam

เป็นทางเลือกสำหรับ hairy area แต่พบไม่ค่อย และกลุ่มนี้มักผสม alcohol vehicle อาจระคายเคืองหรือคันได้

ชนิด ointment

จะมีฤทธิ์ occlusive เพิ่มเติมเข้ามา จึงออกฤทธิ์ได้ดีกว่าชนิด cream สามารถใช้ 40% เป็น chemical nail avulsion ในการรักษา onychomycosis ได้ และแนะนำรูปแบบนี้อย่างยิ่งกรณีส้นเท้าแตกด้าน แต่ข้อเสียคือ เหนียว และใช้ค่อนข้างลำบากในบริเวณผิวที่มีเส้นผมหรือขน

ชนิด gel

พบไม่บ่อย

ชนิด lacquer

รูปแบบยาป้ายทา มักใช้กับรอยโรคที่เล็บ เสริมการรักษา onychomycosis, brittle nails

6. หากมีปัญหาผิวแห้งมาก ลอกขุย แตก คัน ผิวไม่เรียบ เป็นเกล็ดปลา ต้องดูแลผิวอย่างไร ทาครีมยูเรียอย่างเดียวเพียงพอหรือไม่❓

เนื่องจากปัญหาผิวแห้งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

💢 กำแพงผิวเสียจากอายุที่มากขึ้น
💢 โรคผิวหนังบางอย่าง เช่น ผิวหนังอักเสบ, ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง, โรคสะเก็ดเงิน, โรค Ictyosis
💢 โรคทางร่างกายอื่น เช่น โรคตับ โรคไต โรคไทรอยด์ มะเร็งบางชนิด ขาดวิตามินหรือสารอาหารบางอย่าง เป็นต้น
💢 การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เช่น วัยหมดประจำเดือน
💢 สภาพอากาศ มลภาวะ
💢 การใช้สกินแคร์ที่ไม่เหมาะสม

แนะนำวิธีการดูแลผิวแห้ง ดังนี้ค่ะ

ทาครีมบำรุงเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นผิวเป็นประจำสม่ำเสมอ แนะนำให้ทาหลังอาบน้ำทันทีจะสามารถซึมสู่ผิวและออกฤทธิ์ได้ดี ซึ่งสกินแคร์ที่มียูเรียก็สามารถใช้ได้ และหากผิวแห้งมากก็อาจหาส่วนผสมที่เพิ่มความชุ่มชื้นหลายชนิดร่วมด้วย เช่น Eucerin Urea Repair Plus ซึ่งนอกจาก 5% urea ก็ยังมี Ceramides & Gluco-Glycerol & NMFs ที่ช่วยเพิ่มการส่งผ่านโมเลกุลน้ำไปยังผิวชั้น epidermis และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิวได้ดี
ไม่อาบน้ำนานเกินไป เลี่ยงการอาบน้ำร้อน และ เลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่เป็นด่างสูง หลังอาบแล้วผิวตึงเอี๊ยด
• ในกรณีฤดูหนาว อากาศแห้ง อาจใช้ Humidifier เพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ให้บรรยากาศรอบตัวในบ้านหรือห้องนอน
• สำรวจตัวเองว่ามีความผิดปกติทางร่างกายใด ๆ หรือไม่

และหากปรับสกินแคร์และพฤติกรรมการดูแลผิวข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีความผิดปกติอะไรในร่างกาย แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อช่วยตรวจหาว่าคุณมีสาเหตุอื่นที่อะไรซุกซ่อนอยู่ ที่อาจทำให้ผิวแห้งคัน เรื้อรัง ไม่หายสักที ซึ่งเหล่านี้อาจต้องการการรักษาอื่นโดยแพทย์เพิ่มเติมค่ะ

ผิวแห้งลอก แก้อย่างไร

References:

Dry skin management: practical approach in light of latest research on skin structure and function. J Dermatolog Treat. 2020 Nov;31(7):716-722.
Topical urea in skincare: A review Dermatology Therapy 2018;e12690.
Urea-containing topical formulations. Int J Clin Pract. 2020 Dec;74 Suppl 187:e13660.


Product mentioned:

Eucerin UreaRepair Plus

โลชั่นบำรุงผิวกาย เหมาะสำหรับผิวแห้งถึงแห้งมาก แตกเป็นขุย

• ประกอบด้วย
5% urea lotion + NMF สารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติในผิว
มี Ceramides ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการสูญเสียน้ำจากผิว
มี Glyco-glycerol ที่ช่วยเพิ่มการส่งผ่านโมเลกุลน้ำไปยังผิวชั้น epidermis ได้ดี เติมน้ำสู่ผิว ผิวชุ่มชื้นยาวนาน 48 ชั่วโมง
• เนื้อโลชั่น oil-in-water ซึมเร็ว ไม่เหนียวเหนอะ
• ช่วยให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น เนียนเรียบขึ้น แลดูสุขภาพดี เมื่อใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (ผลลัพธ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล)

Eucerin urearepair plus

Disclaimer: Content sponsored by Eucerin

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

10 คำถามเรื่อง Thiamidol & ฝ้าและการสร้างเม็ดสีผิว ‼️

หากพูดถึงเรื่องเดอโมคอสเมติกส์ที่ช่วยเรื่องฝ้าหรือรอยดำจากสิว หลายคนคงรู้จักไทอามิดอลกันมาพอสมควร วันนี้เลยรวบรวม Q&A มา 10 ข้อที่น่าสนใจ

Q1 : เป็นฝ้ามียาทาอะไรใช้รักษาได้บ้าง❓

A : 1st line ของยาทารักษาฝ้า คือ Hydroquinone ซึ่งถือเป็น gold standard แต่ถ้าหากใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างมากและเกิดฝ้าถาวร (Ochronosis) ได้ ปัจจุบันจึงถือว่า Hydroquinone เป็นยาที่ต้องควบคุมการสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น อาจมีบางประเทศที่กฏหมายอนุญาตให้ผสมในเครื่องสำอางได้ไม่เกิน 2%
ส่วนยาทาอื่น ๆ ที่ใช้ในการรักษาฝ้า เช่น topical retinoid, azelaic acid, topical methimazole เป็นต้น

Q2 : หากไม่อยากใช้กลุ่มยา มีกลุ่ม Dermocosmetics หรือสกินแคร์ตัวอื่นอีกไหมที่ช่วยเรื่องฝ้าได้ ❓

A : มีค่ะ อาจลองมองหาส่วนประกอบเหล่านี้
✔️ กลุ่มยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส เช่น arbutin 3%/deoxyarbutin, tranexamic acid 2-5%, licorice, kojic acid, ascorbic acid, resorcinol, thiamidol
✔️ กลุ่มยับยั้งการขนส่งเมลานินไปที่ผิวหนังชั้นบน (Melanin transfer inhibition) เช่น niacinamide 4%, soybean
✔️ กลุ่มเร่งการผลัดเซลล์เม็ดสีส่วนเกินที่ผิวชั้นบน (Increased epidermal turnover) เช่น glycolic acid, salicylic acid
นอกจากนั้นต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดร่วมด้วยเสมอเพื่อป้องกันการกลับมาเข้มขึ้นของฝ้า

Q3 : แล้ว Thiamidol ล่ะคืออะไร ❓

A : Thiamidol หรือ Isobutylamido thiazolyl resorcinol เป็นสารนวัตกรรมตัวใหม่ ที่ออกฤทธิ์ในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว โดยไปยับยั้งที่ Tyrosinase enzyme นับว่าเป็นสารทางเลือกอันดับต้น ๆ ของคนที่กำลังมองหาสกินแคร์ที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องฝ้า, รอยดำสิว หรือคนที่อยากบำรุงผิวให้ดูกระจ่างใสขึ้น สารนี้มีงานวิจัยรองรับตีพิมพ์ใน Journal of Investigative Dermatology 2018 ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการทำวิจัยใน Human tyrosinase ก็ถือว่าเทียบเท่าได้กับการทดลองทาผิวมนุษย์ในชีวิตจริง

Q4 : เมื่อเทียบประสิทธิภาพของไทอามิดอล กับสกินแคร์ที่ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ตัวอื่นแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ❓

A : ปัจจุบันมีสกินแคร์กลุ่ม Tyrosinase inhibitor ที่ไม่ใช่ยาอยู่หลายตัว เมื่อเทียบผลการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ tyrosinase ของ Thiamidol กับสารอื่น ๆ ก็พบว่าไทอามิดอล
💯 ดีกว่า Butylresorcinol 10 เท่า
💯 ดีกว่า Kojic 1,000 เท่า
💯 ดีกว่า Arbutin 10,000 เท่า
จะเห็นว่าไทอามิดอลค่อนข้างจะเป็น Potent Tyrosinase Inhibitor ที่ออกฤทธิ์ในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวได้ค่อนข้างดี

Q5 : Thiamidol ใช้กับผิวคนไทยได้ไหม ❓

A : ได้ค่ะ มีงานวิจัยในผิวคนไทยพบว่า Thiamidol สามารถใช้ได้ผลในการรักษา ดังนี้
💯 ฝ้าที่รุนแรงน้อยถึงปานกลาง (mild to moderate melasma)
💯 กระ (freckles)
💯 กระแดด (solar lentigines)
โดยพบว่า ได้ผลดีกว่า “4% Arbutin + 2% Hydroquinone” ในเวลา 8-12 สัปดาห์

Q6 : อยากผิวขาวขึ้น Thiamidol ช่วยได้ไหม ❓

A : Thiamidol มีงานวิจัยรับรองว่า lightening index ลดลง ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงผิวขาวใสขึ้นใน 2-4 สัปดาห์ แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าสีผิวของมนุษย์ถูกยีนกำหนดมาแล้ว ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่ม lightening และกันแดดอย่างดีก็อาจทำให้ผิวขาวขึ้นได้เพียง 1-2 ระดับเท่านั้นเมื่อเทียบกับพื้นสีผิวของแต่ละคน สามารถดูได้ที่หน้าท้อง หน้าอก ก้น หรือบริเวณที่ไม่ค่อยถูกแดดค่ะ

Q7 : ไม่อยากคล้ำหลังเที่ยวทะเล สามารถทา Thiamidol ป้องกันได้ไหม ❓

A : มีข้อมูลพบว่าสามารถช่วยป้องกัน UVB induced hyperpigmentation ได้ พูดง่าย ๆ คือ ถ้าหากทาผิวทุกวัน 1-2 สัปดาห์ก่อนไปออกแดดจัด เช่น ก่อนไปเที่ยวทะเล จะช่วยป้องกันการเกิดผิวคล้ำหลังโดนแดด ได้ดีกว่าการไม่ทา (Downregulation of tyrosinase activity in melanocyte)

Q8 : ใช้ Thiamidol นาน ๆ จะเกิดฝ้าถาวรไหม ❓

A : ที่ผ่านมายังไม่มีรายงานของผลข้างเคียงเรื่อง ฝ้าถาวร (Ochronosis) ซึ่งมักพบจากการใช้ hydroquinone แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากไทอามิดอลเป็นนวัตกรรมใหม่ คงต้องติดตามข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป มีข้อมูลอัพเดทเรื่องการใช้ Thiamidol ทาเพื่อลดฝ้าที่ความรุนแรงมาก นานต่อเนื่อง 6 เดือน ก็พบว่าไม่มีผลข้างเคียง อีกทั้งฝ้ารุนแรงสามารถจางลงชัดเจนและหลังหยุดใช้ 3 เดือนก็ยังไม่กลับมาเข้มขึ้นเท่าเดิม

Q9 : คนท้องมีฝ้า ใช้ Thiamidol ได้ไหม ❓

A : ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเรื่องผลข้างเคียงในคนท้อง และเนื่องจากไทอามิดอลจัดเป็นกลุ่มเดอโมคอสเมติก ซึ่งความปลอดภัยค่อนข้างสูงและผลข้างเคียงน้อย เพราะไม่มีการดูดซึมของสารเข้าสู่กระแสเลือด ก็อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้พิจารณา

Q10 : Thiamidol มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ใดบ้าง ❓

A : Thiamidol (PATENTED) คิดค้นโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ สถาบัน Beiersdorf Germany สารนี้เป็นส่วนผสมหลักอยู่ในผลิตภัณฑ์ของยูเซอรีนหลายรุ่น ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวล่าสุด คือ “Spotless Booster Serum” เป็นตัวที่อัพเกรดเทคโนโลยีต่อยอดจากรุ่นเดิม [ขวดหลอดคู่ Double Booster Serum] โดยใช้เทคนิค Micro targeted Technology เพื่อเพิ่มความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น มี Hyaluron โมเลกุลขนาดเล็กกว่า 40 เท่า เป็นตัวพาสาร Thiamidol ลงสู่ผิวชั้นลึกได้ดีขึ้น

Bottom Line

การใช้ยาทาภายนอก ถือเป็นการรักษาหลักของการรักษาฝ้า
เดอร์โมคอสเมติกส์เป็นอีกทางเลือก ในคนที่ไม่อยากใช้ยา ซึ่งค่อนข้างปลอดภัย ออกฤทธิ์ได้ถึงผิวชั้นลึกได้ดีกว่าคอสเมติกส์ ผลข้างเคียงน้อย แต่ผลการรักษาอาจไม่ดีเท่ายา
• ถ้าหากยังได้ผล แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังพิจารณาเพิ่มเติมการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ยารับประทาน หัตถการต่าง ๆ และเลเซอร์
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดรักษาฝ้าให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาเพื่อให้ฝ้าจางลงได้ การรักษาฝ้าให้ได้ผลดีควรต้องควบคู่ไปกับการปกป้องผิวจากแสงแดดอย่างถูกวิธี และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ฮอร์โมน ยาบางชนิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้ากลับมาเข้มขึ้นอีก

มีใครเคยลองใช้ไทอามิดอลแล้วบ้างไหมคะ เป็นอย่างไรบ้างชวนมาแชร์ประสบการณ์กันค่ะ ?


References

  1. Inhibition of Human Tyrosinase Requires Molecular Motifs Distinctively Different from Mushroom Tyrosinase Journal of Investigative Dermatology 2018; 138: 1601-1608.
  2. An updated review of tyrosinase inhibitors. Int J Mol Sci 2009; 26(10): 2440-75.
  3. Mechanism of depigmentation by hydroquinone. J Invest Dermatol 1974; 62: 436-49.
  4. Effective Tyrosinase Inhibition by Thiamidol Results in Significant Improvement of Mild to Moderate Melasma Journal of Investigative Dermatology 2019 doi:10.1016/j.jid.2019.02.013
  5. Thiamidol containing treatment regimens in facial hyperpigmentation: An international multi-centre approach consisting of a double-blind, controlled, split-face study and of an open-label, real-world study. International Journal of Cosmetic Science. 2020; 42: 377–387. doi: 10.1111/ics.12626
  6. Isobutylamido thiazolyl resorcinol for prevention of UVB-induced hyperpigmentation. J Cosmet Dermatol. 2020; 00: 1–6.
  7. 7. 24 weeks long-term efficacy and tolerability of a skin care regimen with Thiamidol in patients with moderate to severe facial hyperpigmentation Roongenkamo et al. EADV2020.

Product mentioned
Eucerin Spotless Brightening Booster Serum

(พัฒนาจาก Double Booster Serum รุ่นก่อน)
ส่วนประกอบหลัก :
✔️ Thiamidol เป็น The Powerful Human Tyrosinase Inhibitor
✔️ Hyarulonic acid small molecule ช่วยนำพาสาร Thiamidol ซึมลงสู่ผิวชั้นลึกได้ดีขึ้น
✔️ Licochalcone A ช่วยลดการอักเสบ ลดการหลั่ง endothelin จาก endothelial cell เสริมการทำงาน ช่วยลดเรื่องการเกิด hyperpigmentation
เทคโนโลยี Micro Targeted : เพื่อเพิ่มความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และจัดการฝ้า จุดด่างดำได้ดีกว่าเดิม ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น 2 สัปดาห์
เนื้อสัมผัส : บางเบา ซึมง่ายขึ้น
บรรจุภัณฑ์ : สะดวกต่อการใช้งาน หัวปั๊มกดง่ายขึ้น

Disclaimer : Sponsored Content by Eucerin

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.