Tag Archives: Skincare

Tannic acid ซุปตาร์ชะลอริ้วรอยแห่งวัย

หนึ่งในซุปตาร์ส่วนผสมชะลอริ้วรอยแห่งวัยอีกตัว ที่วันนี้อยากให้รู้จักกัน คือ Tannic acid

Tannic acid เป็นสาร phenolic compound ที่ได้จากการไฮโดรไลซ์ Tannin มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น การใช้เป็นยารักษาโรคบางอย่าง ใช้ปรุงแต่งรสในอาหารและเครื่องดื่ม สามารถพบได้ในใบของพืชและเปลือกผลไม้หลายชนิด เช่น Japanese gall (Rhus javanica) หรือ gallnut (Quercus infectoria) หรือ เปลือกผลไม้พวกองุ่น ชาเขียว และสิ่งทีทำให้มหัศจรรย์กว่านั้น คือทำให้ ต้นสนยักษ์ ซีคัวญา มีอายุยืนยาวได้มากกว่า 3,000 ปี (ต้นสนยักษ์ในรูป)

Tannic acid ชะลอวัย
Tannic acid

ในแง่ผิวหนัง ปัจจุบันมีการกล่าวถึงประโยชน์ของการนำกรดแทนนิกมาผสมในสกินแคร์มากขึ้น
Tannic acid เป็นที่นิยมนำมาผสมในสกินแคร์กลุ่มต้านอนุมูลอิสระเพื่อหวังผลเรื่องการชะลอผิวเสื่อมจากวัย, แสงแดดและมลภาวะ เพราะมีคุณสมบัติ ดังนี้

✔️ Photoprotection
สามารถดูดซับแสงได้หลายความยาวคลื่น และ ช่วยปกป้องและลดความเสียหายของ DNA & fibroblast และลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวีและมลภาวะ
✔️ Anti oxidation
ยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ Hydroxy radical ได้ดี และมีฤทธิ์เสริมการทำงานกับ L-ascorbic acid ทำให้ต้านอนุมูลอิสระโดยยับยั้งปฏิกิริยา Fenton ได้ดีมากยิ่งขึ้น
✔️ Anti inflammation
ช่วยลดการอักเสบที่ผนังหลอดเลือด และลดการเกิดอนุมูลอิสระในผนังเส้นเลือดได้ ช่วยสร้างและกระตุ้น KLF2 (Kruppel-liked Factor 2) ซึ่งช่วยลดการอักเสบในผนังเส้นเลือด
✔️ Scavenger
กำจัดโลหะหนักและสารอนุมูลอิสระ เช่น DPPH, superoxide anion, peroxyl, nitric oxide and peroxynitrite
✔️ Anti collagenase, elastase & MMP-1
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่มาทำลายโครงสร้างผิว เช่น อิลาสติน คอลลาเจน ไฮยาลูรอน

ดังนั้น โดยรวมจึงส่งผลให้ผิวแลดูมีสุขภาพดี ริ้วรอยเล็ก ๆ ดูลดลง จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ tannic acid ถูกขนานนามว่าเป็น Anti photoaging agent ที่ดีมากตัวหนึ่ง

ในแง่ของการ เสริมกำแพงผิวและลดผื่นผิวหนังอักเสบ พบว่า Tannic acid ยังมีข้อมูลเรื่องการทาเพื่อลดการอักเสบผิวและสามารถเสริมกำแพงผิวให้แข็งแรงขึ้นได้ จากข้อมูลทดลองในหนู พบว่าสามารถยับยั้ง NFsignaling, เพิ่ม PPARγ protein expression
และลดการอักเสบของผื่นผิวหนังได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจและน่าติดตามว่าอนาคตจะมีการนำมาประยุกต์กับผิวมนุษย์ในแง่การทำสกินแคร์เสริมกำแพงผิวหรือไม่

นอกจากนั้น Tannic acid ยังมีข้อมูลช่วยลดการหายของแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย และลดการเกิดรอยแดงจากการอักเสบได้

PRACTICAL POINT

ปัจจุบันแนวโน้มของการใช้สกินแคร์กลุ่มฟื้นฟูผิว เพื่อการบำรุงผิวมีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Anti-aging เพราะมีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องของ Anti-oxidant และ Photoprotection ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยชะลอให้ความเสื่อมของผิวเราเกิดขึ้นได้ช้าลง เพราะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตปัจจุบันที่ต้องเผชิญแสงแดดและมลภาวะเป็นประจำ ทำให้ผิวถูกทำร้ายโดยไม่รู้ตัว

สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของ Tannic acid เป็นอีกตัวที่มีข้อมูลการทาเพื่อช่วย Anti-aging ได้ดี และหากใช้ร่วมกับ L-ascorbic acid จะช่วยเสริมฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระได้มากขึ้นอีก

ยกตัวอย่าง Tannic [CF] Serum ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของ Alphascience แบรนด์เวชสำอางผู้นำด้าน Cutting-edge antioxidant technology จากฝรั่งเศส ก็มีส่วนผสมหลักเป็น 2% Tannic acid และ 10% Stabilized L-Ascorbic acid ร่วมด้วย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย)

หวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผิวของทุกท่านนะคะ

ด้วยความปรารถนาดี


References
Int J Biol Macromol. 2021 Nov 30;191:918-924.
Adv Wound Care (New Rochelle). 2019 Jul 1;8(7):341-354.
Exp Dermatol. 2018 Aug;27(8):824-826.
Cytokine. 2015 Dec;76(2):206-213.
J Invest Dermatol. 2010 May;130(5):1459-63.


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Tannic [CF] Serum
จาก AlphascienceThailand แบรนด์เวชสำอางผู้นำด้าน Cutting-edge antioxidant technology จากฝรั่งเศส

Tannic [CF] Serum จาก Alphascience Thailand
Tannic [CF] Serum

เซรั่มช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอริ้วรอยแห่งวัย ผิวแลดูใสและจุดด่างดำจางลงเร็ว
เหมาะกับผิวธรรมดา ผิวแห้ง

ส่วนผสมหลัก
▫️2% Tannic acid ลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระ ยับยั้งในกระบวนการผลิตเม็ดสีผิวเมลานิน เสริมการสังเคราะห์คอลาเจนใต้ผิว
▫️10% Stabilized L-Ascorbic acid รูปแบบที่เสถียรสูงจากการทดสอบโดย SGS Multilab พบว่าการออกฤทธิ์คงตัวเกือบ 90% แม้อยู่ในอุณหภูมิสูงถึง 40°C เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลาเจนใต้ผิว ผิวแลดูกระจ่างใส
▫️0.5% Ferulic acid ลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระและซ่อมแซมผิวถึงระดับ DNA
▫️Ginkgo Biloba ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และ ช่วยผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น

*ข้อมูลจาก Alphascience ในหญิง 22 คน เฉลี่ยอายุ 59 ปี หลังการใช้ Tannic [CF] Serum ทุกเช้า นาน 1 เดือน พบความพึงพอใจ ผิวนุ่มยืดหยุ่นขึ้น 98%, ผิวหน้าเนียนขึ้น 75%, จุดด่างดำแลดูลดลง 58%, ผิวหน้าแลดูกระจ่างใสขึ้น 70%

ไม่แนะนำให้ใช้ในผิวที่เป็นแผล หรือ หลังทำหัตถการ 48 ชั่วโมง
ปราศจากพาราเบน น้ำหอม สารกันเสีย และไม่มีการทดลองในสัตว์
เหมาะสำหรับคน ผิวปกติ และผิวแห้ง

**ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

สกินแคร์กู้ผิวแห้งลอกจากยาสิว

สกินแคร์กู้ผิวแห้งลอกจากยาสิว

ปัญหาจากการทายารักษาสิวที่พบได้บ่อย คือ ผิวแห้ง แดง ลอก แสบ คัน ซึ่งบ่งบอกถึง การระคายเคืองทำให้หลายคนไม่สามารถทายาสิวต่อไปได้ การรักษาสิวจึงขาดช่วงและได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร …

วิธีการที่แนะนำหากเกิดปัญหาผิวแห้งลอกจากยาสิว คือ

ยารักษาสิว

ควรปรึกษาแพทย์ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือตัวยา เช่น

✔️ กลุ่มยาทาวิตามินเอ อาจปรับเป็นรูปแบบที่อ่อนโยนขึ้น เช่น adapalene gel, tazarotene cream

✔️ ลดความเข้มข้นของยา และเริ่มทาปริมาณน้อยก่อน เช่น

ลดจาก 0.1 -> 0.05 -> 0.025% tretinoin หรือ

ลดจาก 5 -> 2.5% benzoyl peroxide

✔️ กลุ่มวิตามินเออาจปรับลดความถี่ของการทายา เช่น ทาวันเว้นวัน เว้นสองวัน หรือสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง นาน 2-4 สัปดาห์แล้วจึงเพิ่มความถี่เท่าที่ผิวรับได้

✔️ กลุ่มวิตามินเอ หรือ BPO, azelaic acid อาจล้างออกเร็วในช่วงเดือนแรก (short contact) แล้วจึงเพิ่มเวลาให้นานขึ้น

✔️ เริ่มทายาเฉพาะจุดก่อน แล้วค่อยปรับเป็นการทาทั่วใบหน้า เว้นรอบตาซอกจมูก

✔️ ไม่ทายาขณะผิวเปียก แนะนำซับหน้าให้แห้งแล้วรอ 20-30 นาที รอผิวแห้งจะช่วยลดการระคายเคืองได้

และวิธีการอื่น ๆ ที่แพทย์จะปรับเปลี่ยนขึ้นกับปัญหาผิวของแต่ละบุคคล

ยาทาสเตอรอยด์

ไม่แนะนำให้ใช้ยาทากลุ่มสเตอรอยด์เพื่อแก้ปัญหาผิวแดงแสบลอกที่เกิดจากยาสิว

✔️ หากอาการระคายเคืองรุนแรง แนะนำหยุดทายา เน้นทามอยซ์เจอร์ไรเซอร์ที่อ่อนโยนอย่างเดียว และพบแพทย์

สกินแคร์ลดการระคายเคือง

ยาสิวส่วนใหญ่มักมีการระคายเคืองและผิวแห้งได้ ไม่ว่าจะเป็น tretinoin, benzoyl peroxide, adapalene, salicylic acid เป็นต้น

ดังนั้น สกินแคร์บำรุงผิวควรมีเพื่อเสริมการรักษากับยา เป็นสิ่งที่แนะนำควบคู่กัน เพราะเหตุผล คือ

✔️ ช่วยลดผลข้างเคียงจากยาสิว เช่น แสบ แดง แห้งลอก คันยุบยิบ

✔️ ช่วยให้ผิวแข็งแรงทนกับยาสิวได้ดีขึ้น

✔️ ช่วยปรับสมดุลของ moisture (oil) และ hydration (water) ในผิว

สุดท้ายแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาสิวโดยรวมดีขึ้น และสามารถไปต่อได้ค่ะ

Symsitive

ดังนั้น ถ้าหากใครมีอาการเช่นนี้ ก็อาจจะเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่ช่วยฟื้นบำรุงผิว ลดความไวของการกระตุ้นของเส้นประสาทที่ผิว (Calming or soothing ingredient) เช่น SYMSITIVE (PATENTED by Beiersdorf) ซึ่งมี clinical studies ที่เกี่ยวข้อง

**ช่วย desensitized skin receptor TRPV1

**ลด nerve fiber activation ได้ 65%

**บรรเทาอาการแสบ คัน ยุบยิบได้ใน 2 นาที

และหากใครผิวแพ้ง่ายก็ควรเลี่ยงสารที่อาจก่อการแพ้ได้บ่อย เช่น น้ำหอม สารกันเสีย แอลกอฮอล์

นอกจากยาสิวที่ส่งผลต่อกำแพงผิวโดยตรงแล้ว ยังมีข้อมูลการศึกษาพบว่า โครงสร้างผิวคนเอเชีย…

▫️ มีแนวโน้มระคายเคืองจากยาสิวเยอะกว่าชนชาติอื่น

▫️ เส้นประสาทรับความรู้สึก & ตัวรับความร้อน มีความไวมากขึ้น จึงถูกกระตุ้นได้ง่ายกว่ากว่า จะยิ่งทำให้มีอาการไม่สบายผิว และแสบร้อนผิวได้มากขึ้น

PRACTICAL POINT

ยกตัวอย่างส่วนผสมสกินแคร์บำรุงผิวที่ช่วยฟื้นฟูบำรุงผิวแข็งแรง ลดการระคายเคือง และเป็นตัวช่วยยาสิว เช่น

Adjunctive Soothing Care โดยยูเซอรีน ซึ่งมีส่วนผสม คือ

สาร Symsitive มีฤทธิ์ Calming effect โดยไปยับยั้งที่ nerve system มีงานวิจัยว่าช่วยลดอาการคัน ระคาย ยุบยิบ แสบร้อนได้ใน 2 นาที

สาร Licochalcone A ช่วย anti inflammation มีการทดลองพบว่า ช่วยลดรอยแดงจากการอักเสบผิว, หลังเลเซอร์ได้ดีประมาณ 3-7 วัน

สาร Dexpanthenol และ Ceramide ช่วยเสริมสร้างกำแพงผิวให้แข็งแรง ลด TEWL

โดยแนะนำว่า ควรทาสกินแคร์ควบคู่ไปกับการใช้ยารักษาสิว ตั้งแต่เริ่มแรกและทาสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิว ลดการระคายเคือง และป้องกันหน้าแห้งจากยารักษาสิวได้ดี

BOTTOM LINE

หากระคายเคืองจากยาสิวรุนแรงควรต้อง พักการทายาก่อนสักระยะ แต่สุดท้ายแล้วก็ยังคงต้องกลับมาใช้ต่อไปเพราะถือเป็นการรักษาหลักของภาวะสิว ตรงนี้แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อทำการปรับเปลี่ยนวิธีการหรือรูปแบบยาให้เหมาะสมกับแต่ละคน

เสริมการรักษาด้วยสกินแคร์บำรุงผิวที่ช่วยลดการระคายเคืองและลดความไวของเส้นประสาทที่ผิวหนัง โดยแนะนำให้ทาสกินแคร์ก่อน แล้วจึงตามด้วยการทายาสิว จะช่วยลดอาการแสบ แดง คัน ลอก ยุบยิบ จากยาสิวได้ดี ลองนำไปปรับใช้กันนะคะ

ด้วยความปรารถนาดี

หมอเจี๊ยบ

——————————————

References

J Dermatolog Treat. 2021 Feb; 32(1): 3-10.

Semin Cutan Med Surg. 2016; 35: 50–56.

J Cutan Aesthet Surg. 2016 Apr-Jun; 9(2): 85-92.

J Clin Aesthet Dermatol. 2014; 7: 36-44.

——————————————

[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย

EUCERIN ADJUNCTIVE SOOTHING CARE

สกินแคร์นวัตกรรม Barrier repair innovation เพื่อเสริมการรักษาสิว ลดการระคายเคืองจากยาสิว

ACTION:

▫️Symsitive ฤทธิ์ Calming effect โดยไปยับยั้งที่ nerve system มีงานวิจัยว่าช่วยลดอาการคัน ระคาย ยุบยิบ แสบร้อนได้ใน 2 นาที

▫️Licochalcone A ช่วย anti inflammation มีการทดลองพบว่า ช่วยลดรอยแดงจากการอักเสบผิว, หลังเลเซอร์ได้ดีประมาณ 3-7 วัน

▫️Dexpanthenol และ Ceramide ช่วยเสริมสร้างกำแพงผิวให้แข็งแรง ลด TEWL

▫️No steroid, alcohol, paraben, fragrance, silicone, colorants

**สูตรเฉพาะจากแพทย์ผิวหนัง ขายเฉพาะในโรงพยาบาล

**ข้อมูลหลังการใช้จากยูเซอรีน พบว่า

อาการแห้ง แดง ลอก ดีขึ้นหลังการใช้อย่างชัดเจนใน 2 สัปดาห์

อาการแสบคัน ดีขึ้น 87% อาการตึงผิว ดีขึ้น 84%

**ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

มีขายเฉพาะ Eucerin Official Website และโรงพยาบาลเท่านั้น

——————————————

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ทำความรู้จัก Benzalkonium chloride

Benzalkonium chloride​
Benzalkonium chloride

ในยุคปัจจุบันนี้ การล้างมือบ่อย ๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้ที่ทุกคนต้องทำ

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ หลากหลายประเภทที่ช่วยอำนวยความสะดวกแบบไม่ต้องล้างออก เช่น เจลแอลกอฮอล์ มีหลายคนประสบปัญหาจากการใช้ คือ มือแห้ง ลอก อักเสบ ซึ่งจะทำให้โครงสร้างในการปกป้องผิวสูญเสียหน้าที่ไป

ผลคือ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่มือมากขึ้น และอีกอย่างคือ แอลกอฮอล์สามารถติดไฟได้ ดังนั้น หลังจากใช้ (โดยเฉพาะชนิดที่ไม่ต้องล้างออก) ควรรอให้แห้งก่อนเข้าใกล้ไฟ เช่น ทำอาหาร สูบบุหรี่ เป็นต้น

1. Benzalkonium chloride ล่ะ..คืออะไร ❓

BKC (Benzalkonium chloride) เป็นสารลดแรงตึงผิวประจุบวก ในกลุ่ม Quaternary Ammonium Compound (QACs) ซึ่งนิยมทำมาฆ่าเชื้อทางการแพทย์เนื่องจากออกฤทธิ์กว้างต่อเชื้อจุลชีพ

2. BKC มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ❓

มีการนำไปใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น

  • ผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น แชมพู ครีมนวดผม โลชั่นทาผิว เพื่อช่วยรักษาคุณภาพและเพิ่มอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์
  • น้ำยาทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์
  • เป็นสารกันเสียในยาหยอดตา ยาพ่นจมูก
  • ผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาด (Disinfectant) ทั้งพื้นผิว เพดาน สระว่ายน้ำอาคารต่าง ๆ เฟอร์นิเจอร์
  • ผสมน้ำยาซักผ้าหรือปรับผ้านุ่มเพื่อช่วยฆ่าเชื้อ
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลและทำความสะอาดผิว เช่น โฟมล้างมือ, sanitizer

3. BKC สามารถใช้ทำความสะอาดผิวกายของมนุษย์ได้หรือไม่ ❓

สามารถใช้ได้ปลอดภัย โดยไม่ก่อการระคายเคืองหรือทำร้ายผิว BKC สามารถใช้กับผิวหนังที่บอบบางหรือบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนได้
จะเห็นได้จากมีการนำมาผสมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม antiseptic สำหรับผลิตภัณฑ์อาบน้ำทำความสะอาดผิวกาย หรือผลิตภัณฑ์ล้างมือ

4. BKC สามารถออกฤทธิ์ที่ผิวได้นานหรือไม่ ❓

เนื่องจาก BKC เป็นกลุ่มสารลดแรงตึงผิวที่มีสภาพประจุบวก ทําให้คงตัวสูง สามารถเกาะบนผิวหนังได้ดี และสามารถเกาะติดวัสดุเส้นใยได้ดี จึงมีประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อได้ยาวนานกว่าแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะหมดฤทธิ์เมื่อระเหยไปแล้ว นอกจากนั้น BKC ยังได้รับรองจาก FDA ว่าสามารถแอนตี้แบคทีเรียได้ยาวนาน 6 ชั่วโมง

PRACTICAL POINT

เคล็ดลับการใช้โฟมล้างมือแบบพกพา

คนที่ไม่สามารถใช้คลอรีนหรือแอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดผิวได้ เช่น แพ้แอลกอฮอล์หรือมือแห้งอักเสบจากการใช้แอลกอฮอล์ อาจลองมองหาโฟมล้างมือแบบพกพาที่มี BKC เป็นอีกทางเลือก
เพราะ BKC มีความอ่อนโยน ไม่ก่อการระคายเคืองผิว ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ทำให้ผิวแห้ง
แนะนำเลือกความเข้มข้นให้เหมาะสม ในการทําลายเชื้อโรคที่ผิวหนังซึ่งอยู่ระหว่าง 0.05-0.2%

ตัวอย่างโฟมล้างมือแบบพกพาที่มี BKC ที่อ่อนโยน ใช้ได้ทุกสภาพผิว เช่น Dr.KEEEN Hygienic Hand Foam [ดูรายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ]

BOTTOM LINE

การล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ถือเป็นการทำความสะอาดพื้นฐานหลัก ส่วนการใช้โฟมล้างมือแบบพกพา สามารถเลือกใช้เสริมได้ในกรณีที่ไม่สะดวกล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เพราะเป็นวิธีที่สะดวกสบาย รวดเร็ว และช่วยลดการติดเชื้อจากการสัมผัสได้
แต่อย่างไรก็ตาม หากมือสกปรกก็ควรล้างสิ่งสกปรกออกด้วยน้ำเปล่าและสบู่ให้สะอาดเสมอค่ะ


References

Appl Environ Microbiol. 2019 Jul 1; 85(13): e00377-19.
Benzalkonium chloride. Available at: http:// http://www.thwater.net/04-1227.htm. Accessed on Jan 9, 2013.
International Program on Chemical Safety, International Chemical Safety Card (ICSC) – Benzalkonium Chloride


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Dr.KEEEN Hygienic Hand Foam

ผลิตภัณฑ์โฟมล้างมือแบบพกพา
ส่วนผสมหลักจากธรรมชาติ ไม่มีแอลกอฮอล์
อ่อนโยน ไม่ก่อการระคายเคือง
บำรุงผิวให้นุ่มชุ่มชื้นและไม่แห้งหลังการใช้
เหมาะกับทุกสภาพผิว และ ผู้ที่แพ้แอลกอฮอล์
สามารถใช้ได้ในเด็ก

สารสําคัญ:
AQUA / DECYL GLUCOSIDE / FRAGRANCE / GLYCERIN / BENZALKONIUM CHLORIDE SOLUTION (มีคุณสมบัติ anti-bacteria) / CHAMOMILE EXTRACT

วิธีใช้: บีบโฟมลงบนฝ่ามือ ถูเบา ๆ ให้ทั่ว ใช้ได้บ่อยตามที่ต้องการ


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

รู้หรือไม่..ฤดูร้อนก็ผิวแห้งได้ (Dry skin in summer)

Dry skin in summer ​
Dry skin in summer

ทุกคนทราบดีว่าฤดูหนาวอากาศเย็นจะทำให้ผิวแห้งได้มากขึ้น แต่หลายคนอาจสงสัยว่าฤดูร้อน อากาศร้อน เหงื่อออกเยอะ ผิวคงจะไม่แห้ง ไม่ต้องทาครีมบำรุงผิวก็ได้..จริงหรือไม่ ❓

คำตอบ คือ ไม่จริง

บางคนอาจยังไม่ทราบว่า ฤดูร้อน..ก็ทำให้ผิวแห้งได้เช่นกัน

สาเหตุที่อาจทำให้ผิวแห้งในฤดูร้อน

สาเหตุของผิวแห้งในฤดูร้อน

• ความร้อนจากแสงอาทิตย์
จะทำลาย skin barrier ให้เสียสมดุล ส่งผลให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น (TEWL สูงขึ้น)
• การมีเหงื่อออกมากขึ้น ทำให้ร่างกายเสียน้ำมากขึ้น ส่งผลให้ผิวแห้ง ปากแห้งตามมาได้
• การคลายร้อนด้วยการลงว่ายน้ำในสระ โดยเฉพาะหากสระน้ำที่มีคลอรีนจะมีค่า pH ที่ทำให้ผิวไม่สมดุล ทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
• การชำระเหงื่อด้วยการอาบน้ำบ่อยขึ้น โดยไม่ทามอยเจอไรเซอร์ จะยิ่งทำให้ผิวแห้งมากขึ้นไปอีก
• การอยู่ในห้องแอร์ จะยิ่งทำให้ความชื้นสัมพัทธ์รอบตัวลดลง ส่งผลให้ผิวเสียน้ำมากขึ้น

วิธีสำรวจเบื้องต้นดูว่าตนเองมีภาวะผิวแห้ง (Xerosis) ระดับไหน

เช็คระดับผิวแห้ง

วิธีเช็คตัวเอง อาจดูจากลักษณะของผิวหนัง 3 อย่าง คือ มีขุย รอยแตก และ ความแดง ซึ่งอาจแบ่งระดับความรุนแรง (ดังรูป) และมีอาการคัน มากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรง
วิธีทางการแพทย์ ใช้เครื่องมือวัดเพิ่มเติม เรียกว่า Xerometer

วิธีการดูแลผิวแห้งในฤดูร้อนที่แนะนำ

เคล็ดลับการดูแลผิวในฤดูร้อน

1. ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดด ควรใช้สม่ำเสมออย่างถูกวิธี
2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-10 แก้วต่อวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเหงื่อออกเยอะยิ่งต้องชดเชยมากขึ้นอีก
3. หลังจากว่ายน้ำ ลงสระคลอรีน หรือ เล่นน้ำทะเล เสร็จแล้วควรรีบชำระล้างร่างกายทันทีเพื่อลดการตกค้างของสารเคมีต่าง ๆ ที่อาจทำให้ผิวแห้งตามมาได้
4. เลี่ยงการอาบน้ำร้อน เพราะจะทำให้ผิวยิ่งแห้งมากขึ้น แนะนำอาบน้ำอุณหภูมิปกติหรืออุ่นเล็กน้อย และอาบน้ำไม่นานเกิน 5 นาที เลี่ยง bubble bath
5. หากอยู่ในห้องแอร์ อาจใช้ Humidifier เพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ให้บรรยากาศในห้อง
6. ทาครีมบำรุงผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นเป็นประจำสม่ำเสมอในฤดูร้อนก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่มีโอกาสพบปัญหาผิวแห้งได้มาก ได้แก่
✔️ กำแพงผิวเสียจากอายุที่มากขึ้น
✔️ โรคผิวหนังบางอย่าง เช่น ผิวหนังอักเสบ, ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง, โรคสะเก็ดเงิน, โรค Ictyosis
✔️ โรคทางร่างกายอื่น เช่น โรคตับ โรคไต โรคไทรอยด์ มะเร็งบางชนิด ขาดวิตามินหรือสารอาหารบางอย่าง เป็นต้น
✔️ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เช่น วัยหมดประจำเดือน เป็นต้น

ยกตัวอย่างส่วนผสมพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาผิวแห้งลอกเป็นขุย คือ Urea

ยูเรียมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ช่วยแก้ปัญหาผิวแห้ง คัน ขุยลอก ได้แก่

  1. เพิ่มความชุ่มชื้นที่ Stratum corneum
  2. เสริมการทำงานของ Skin barrier ให้แข็งแรงและช่วยต่อต้านเชื้อโรคได้ดีขึ้น
  3. ช่วยควบคุมการแบ่งตัวของผิวหนัง บางทีจึงเห็นนำมาใช้รักษาโรคที่มีความหนาของผิวมากขึ้น เช่น สะเก็ดเงิน หรือ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
  4. ช่วยผลัดเซลล์ผิว (Keratolysis)

วิธีการเลือก Body lotion สำหรับบำรุงและแก้ปัญหาผิวแห้งในฤดูร้อน

นอกจากดูส่วนผสมให้เหมาะสมแล้ว อาจต้องดูเนื้อสัมผัสร่วมด้วย แนะนำเลือกเนื้อบางเบา เช่น เจล, โลชั่น หรือ ครีมที่ซึมง่าย เพื่อลดความเหนียวเหนอะหนะในระหว่างวัน
ยกตัวอย่างบอดี้โลชั่นที่มีส่วนผสมเพิ่มความชุ่มชื้นได้ดีอย่างยาวนาน 48 ชั่วโมง โดยไม่เหนียวเหนอะหลังการทา เช่น UreaRepair Plus [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย]

PRACTICAL POINT

เทคนิคการเลือกครีมยูเรียเพื่อผิวแห้งขุยแดงคัน

การเลือกโลชั่นยูเรีย

กรณีผื่นแห้งขุยไม่มาก :
• แนะนำ urea 5% ก็เพียงพอ
• อาจเพิ่มกลุ่ม NMF หรือ Humectant อื่น เช่น lactic acid derivatives, pyrrolidine carboxylic acid (PCA), amino acids จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่าการใช้ Urea เดี่ยว ๆ

กรณีผื่นแห้ง หนาขุย มีรอยแตก :
• แนะนำ urea 10% ขึ้นไป
• อาจเพิ่ม dexpenthanol, ceramide, shea butter, salicylic acid, lactic acid เสริมประสิทธิภาพได้
• เพิ่มกลุ่มที่ช่วยเคลือบผิวเพื่อลดการสูญเสียน้ำ เช่น vaseline, liquid paraffin, silicone oils

กรณีผิวแห้งและมีรอยแดงร่วมด้วย :
• แนะนำเพิ่มส่วนผสมกลุ่ม soothing เช่น bisabolol, lichochalcone A, glycyrrhizic acid, dexpanthenol, oat extract, niacinamide, witch hazel
• กลุ่มนี้แนะนำพบแพทย์หาสาเหตุว่ามีโรคผิวหนังอักเสบอะไรร่วมด้วยหรือไม่ แพทย์อาจพิจารณายาทาเพื่อรักษาเพิ่มเติมร่วมด้วย

BOTTOM LINE

สุดท้ายนี้อยากฝากไว้ ถึงแม้ฤดูร้อน เหงื่อออก ผิวก็ยังแห้งได้ และผิวหนังยังต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอไม่แพ้ฤดูอื่น ๆ
ในกรณีที่ใช้ยูเรียทาเพื่อเสริมสุขภาพผิวและแก้ปัญหาผิวแห้ง แนะนำ 2-20% ขึ้นกับความขาดน้ำของผิวแต่ละคน หากผิวไม่แห้งมาก อาจใช้ 2-5% ก็เพียงพอ นอกจากนั้นยังพบว่าการใช้ยูเรียบำรุงผิวเป็นประจำ สามารถช่วยลด skin aging ได้ด้วย

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านนะคะ
ด้วยความปรารถนาดี


References:

J Dermatolog Treat. 2020 Nov;31(7):716-722.
JDDG. 2018; 16 (Suppl. 4): 3-35.
Dermatology Therapy 2018;e12690.
Int J Clin Pract. 2020 Dec;74 Suppl 187:e13660.
Dermatol Ther (Heidelb) (2021). https://doi.org/10.1007/s13555-021-00611-y


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Eucerin UreaRepair Plus

Eucerin UreaRepair plus

โลชั่นบำรุงผิวกาย เหมาะสำหรับผิวแห้งถึงแห้งมาก แตกเป็นขุย
ประกอบด้วย
5% Urea lotion + NMF สารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติในผิว
มี Ceramides ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการสูญเสียน้ำจากผิว
มี Glyco-glycerol ที่ช่วยเพิ่มการส่งผ่านโมเลกุลน้ำไปยังผิวชั้น epidermis ได้ดี เติมน้ำสู่ผิว ผิวชุ่มชื้นยาวนาน 48 ชั่วโมง
เนื้อโลชั่น oil-in-water ซึมเร็ว ไม่เหนียวเหนอะ
ช่วยให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น เนียนเรียบขึ้น แลดูสุขภาพดี เมื่อใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

**ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

สามารถสั่งซื้อใน Online Shop ได้แล้วตั้งแต่ พฤษภาคม-กรกฎาคม 2022 ลด 15% จาก 690 บาทเหลือ 586.50 บาท ที่ Website ของ Eucerin https://bit.ly/3EUDe5U หรือสั่งซื้อใน Shopee และ Lazada ตามพิกัดด้านล่างได้เลย
Shopee : https://bit.ly/3xWvZZp
Lazada : https://bit.ly/3xSOP3F


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved

Cosmeceuticals for antiaging therapy ตอน สกินแคร์ชะลอริ้วรอยแห่งวัย

Cosmeceuticals for antiaging therapy
Cosmeceuticals for antiaging therapy

แน่นอนว่าทุกคนย่อมอยากมีผิวสุขภาพดี แลดูอ่อนกว่าวัย โดยปกติผิวคนที่มีอายุมากขึ้นจะมีการเสื่อมไปตามการเวลา ดังนี้
• การสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวลดลง
• การผลัดเซลล์ผิวช้าลง
• ผิวบางมากขึ้น ความยืดหยุ่นผิวลดลง
• ผิวแห้งมากขึ้น

ดังนั้น ผลที่ตามมาจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผิวข้างต้นคือ ริ้วรอย ความหมองคล้ำ ฝ้า กระ สีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ ผิวแห้ง มีความหย่อนคล้อย

คำถามคือ สกินแคร์ (ที่ไม่ใช่ยา) มีอะไรที่ช่วยเรื่อง antiaging และ ชะลอกลไกผิวเสื่อมชราข้างต้นได้บ้าง โดยจะเล่าเป็นกลุ่มเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดด

ซึ่งทุกคนทราบดีว่ารังสียูวีโดยเฉพาะ UVA เป็นตัวการสำคัญของ photoaging ดังนั้น การทาครีมกันแดดสม่ำเสมอจึงจำเป็นอย่างยิ่งถ้าอยากชะลอผิวชราจากต้นเหตุของรังสียูวี

2. กลุ่มผลัดเซลล์ผิว เช่น AHA

เมื่ออายุมากขึ้นการผลัดเซลล์ผิวหนังจะช้าลงเรื่อย ๆ การใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นบนที่ตายแล้วให้หลุดออกได้เร็วขึ้น และยังมีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้นผิวได้ จึงส่งผลให้ผิวเรียบ ดูโกลวใส นอกจากนั้นมีข้อมูลการใช้ glycolic หรือ lactic acid 5-25% ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องทาทุกวัน ก็จะสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในผิวชั้นหนังแท้ได้

Sunscreen and AHAs
Sunscreen and AHAs

3. กลุ่ม Retinoid derivatives

วิตามินเอชนิดทา ที่มีข้อมูลวิจัยทางการแพทย์สนับสนุนว่าช่วยเรื่อง anti aging ได้มากสุด คือ retinoic acid (ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นยา) และพบผลข้างเคียงก็พบได้บ่อย [ลองกลับไปอ่านทบทวนในบทความก่อนนี้ได้]

กรณีชนิดที่เป็นเวชสำอางค์ (ไม่ใช่ยา) ก็มีข้อมูลว่ากลุ่มอนุพันธ์ของวิตามินเอบางรูปแบบ สามารถช่วยเรื่อง anti aging ได้คล้ายคลึงกัน กลุ่มอนุพันธ์ต้องมีการเปลี่ยนเป็น retinoic acid ในร่างกายก่อนจะออกฤทธิ์ได้ แต่มีข้อได้เปรียบตรงที่ผลข้างเคียงเรื่องการระคายเคืองน้อยกว่า retinoic acid ทำให้สามารถใช้ได้ง่ายขึ้น ได้แก่
✔️ Retinaldehyde 0.05-0.5% ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ดี
✔️ Retinol ไม่ค่อยเสถียร สลายง่ายเมื่อถูกแสง และข้อมูลยังไม่มากเท่า Retinaldehyde
ส่วนในรูปแบบอื่น ยังไม่มีข้อมูลว่าช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนหรือลดริ้วรอยได้

Retinoids and derivatives ​
Retinoids and derivatives

4. กลุ่ม Peptides

เป็น amino acid สายสั้น โมเลกุลเล็ก สามารถซึมผ่านผิวชั้นบนได้ดี ไปกระตุ้นการผลิต collagen ในผิวชั้นหนังแท้ และยังเป็นส่วนประกอบของคอลลาเจนได้อีก ส่งผลให้ริ้วรอยเล็ก ๆ ลดลง ผิวเรียบขึ้น

ซึ่งปกติเปปไทด์จะมี 4 กลุ่ม ตัวที่ช่วยเรื่อง Antiaging ได้มีดังนี้
Signal peptides เช่น Palmitoyl-KTTKS, GEKG
กลุ่มนี้มักมีการใส่ palmitoyl เพื่อเพิ่มการดูดซึมและประสิทธิภาพการลดริ้วรอยเล็กได้ดีขึ้น
Carrier peptides เช่น Copper-GHK complex
กลุ่มนี้นอกจากช่วยเรื่อง antiaging แล้วยังช่วยเรื่อง wound healing ด้วย
Neurotransmitter inhibitor peptides เช่น Acetyl hexapeptide-3
เลียนแบบกรดอะมิโนใน SNAP-25 ช่วยลดการปลดปล่อย Ach (ฤทธิ์คล้าย botulinum toxin)
Enzyme inhibitor peptides เช่น Nonapeptide-7
กลุ่มนี้ช่วยเรื่องลดการสร้างเม็ดสีผิวได้ แต่อาจไม่มีผลในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนดีเท่าสามกลุ่มแรก

Peptides for antiaging​
Peptides for antiaging

5. กลุ่ม Antioxidants

กลุ่มนี้จะช่วยปกป้องผิวจากปฏิกิริยาสารอนุมูลอิสระรอบตัว ทำให้คอลลาเจนถูกทำลายน้อยลง และยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในผิวได้ เช่น

• Alpha-lipoic acid (ALA)
• L-ascorbic acid (vitamin C) 5-15%
• Niacinamide (vitamin B3) 5%
• N-acetyl-glucosamine (NAG)
• Alpha-tocopherol (vitamin E) 2-20%
• Ubiquinone (CoQ10) 1%
• Pygnogenol
• Phenols เช่น green tea extracts, resveratrol, ferulic acid
• Ectoine

Topical antioxidants​
Topical antioxidants

6. กลุ่ม Hyaluronic acid

ช่วยอุ้มน้ำ, เพิ่มความชุ่มชื้นผิว, ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และมีข้อมูลว่า HA ขนาดเล็ก (<50 kDa) ถึงกลาง (50-400 kDa) ยังสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในหลอดทดลองและในผิวมนุษย์ได้ นอกจากนั้น HA ขนาดเล็กยังมีข้อมูลว่าช่วยให้ริ้วรอยเล็ก ๆ ดีขึ้นได้

Hyaluronic acid​
Hyaluronic acid

PRACTICAL POINT

ดังนั้น หากใครที่กำลังจัดสกินแคร์ antiaging เพื่อช่วยในเรื่องการชะลอและฟื้นฟูการเสื่อมสภาพของผิวหนัง อาจลองพิจารณาดูตามข้างต้น

ยกตัวอย่าง

▫️ชิ้นที่ 1 ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดด ทุกเช้า
▫️ชิ้นที่ 2 ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิว AHA สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
▫️ชิ้นที่ 3 ผลิตภัณฑ์กลุ่ม retinoid derivatives หรือ antioxidant หรือ peptides หรือ hyaluronic acid ซึ่งหากมีครบทุกองค์ประกอบก็มีแนวโน้มจะออกฤทธิ์ antiaging ได้ดี

หากใครที่อยากลดขั้นตอนการทาสกินแคร์หลายชิ้น ก็อาจจะมองหา สกินแคร์ที่รวมส่วนผสมหลากหลายในหลอดเดียวกัน ก็ช่วยลดขั้นตอนการทาได้

ยกตัวอย่าง VITALIF Renew Youth RetinAL ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกที่มีครบทั้ง Retinaldehyde + Antioxidant + Peptides + Hyaluronic acid โดยมีการบรรจุใน Niosome ซึ่งเป็นถุงเก็บสารออกฤทธิ์เพื่อให้ retinal มีความคงตัวมากที่สุดซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้มีการซึมสู่ชั้นผิวออกฤทธิ์ได้เต็มที่มากขึ้น (รายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ)

BOTTOM LINE

อย่างไรก็ตาม การใช้สกินแคร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลผิว เพื่อให้ผิวของเรามีสุขภาพดีและน่ามอง ซึ่งคงต้องทำควบคู่ไปกับวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ งดสูบบุหรี่ การปกป้องผิวจากแสงแดดร่วมด้วยอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่าในการชะลอและซ่อมแซมผิวเสื่อมตามวัย หรือ ที่เรียกว่า Skin aging นั่นเองค่ะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ถ้าชอบกดไลค์ ถ้าใช่กดแชร์แบ่งปันเพื่อน ๆ ได้เลย

ด้วยความปรารถนาดี


References
Dermatology. 2021;237(2):217-229.
Int J Mol Sci. 2019;20:2126.
Facial Plast Surg Clin North Am. 2018 Nov;26(4):407-413.
ISRN Dermatol. 2013 Sep 12;2013:930164.
Skin Therapy Lett. 2008 Nov-Dec;13(8):5-9.
Dermatol Ther 2006;19:297-305.
J Invest Dermatol 2001;116:853-9.


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย Dr. Different VITALIF Renew Youth RetinAL

Dr.Different VITALIF Renew Youth RetinAL
Dr.Different VITALIF Renew Youth RetinAL

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลปัญหาผิวที่เริ่มมีริ้วรอย สีผิวไม่สม่ำเสมอ
เป็นสูตรพัฒนาจากรุ่น Vitalift-A Forte โดยมีส่วนผสมหลัก คือ Retinaldehyde 0.1% + Pro-Vitamin A + Adenosine
และที่เพิ่มเติมแบบ antiging ingredients จัดเต็ม ได้แก่

▫️กลุ่ม Antioxidant

ดังนี้ Sodium Ascorbyl Phosphate, Niacinamide 5%, Daucus Carota Sativa (carrot) root extract, Beta-Carotene

▫️ กลุ่ม Multipeptidesome ครบทั้ง 4 กลุ่มเปปไทด์

ดังนี้ Copper Tripeptide-1, Tripeptide-29, Tripeptide-1, Hexapeptide-12, Hexapeptide, Nicotinoyl Tripeptide-35, Palmitoyl Tripeptide-1, Palmitoyl Pentapeptide-4, Palmitoyl Tripeptide-29, Palmitoyl, Tetrapeptide-7, Acetyl Hexapeptide-8, Nonappetide-7

▫️ มี Hyaluronic acid small molecules

ช่วยเติมน้ำผิวชุ่มชื้นอิ่มฟู

▫️Glutamic acid derivatives

ที่เรียงตัวแบบ Liquid Crystal Emulsion (LCE) คล้ายกับ Ceramide ในกำแพงผิว ช่วยให้ความชุ่มชื้นผิวได้ยาวนาน

▫️5% Niacinamide

ยับยั้งขั้นตอนการสร้างเม็ดสี จึงช่วยให้จุดด่างดำแลดูดีขึ้น ลดการอักเสบและปรับสมดุลน้ำมันผิว

▫️สิทธิบัตร NIOSOMES

เป็นการพัฒนาระบบบรรจุเพื่อเพิ่มความเสถียรคงตัวของ retinaldehyde และช่วยนำพาซึมผ่านเข้าสู่ชั้นผิวที่ดีขึ้น พบว่าการทดสอบ หลังผลิต 3 และ 6 เดือน ยังคงมีปริมาณ retinal เหลือที่ 100% และ 97.7% ตามลำดับ

▫️ อ้างอิงประสิทธิภาพจากงานวิจัย Vitalift-A Forte เนื่องจากเป็นสูตรเดียวกัน เพียงแต่เพิ่มสาร Actives เพื่อประสิทธิภาพที่มากขึ้น หลังใช้ Vitalift-A Forte ต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ จากการวัดด้วเครื่องมือต่าง ๆ พบว่า: Wrinkles ลดลง 12.903%, Firmness เพิ่มขึ้น 8.632%, Moisturizer retention เพิ่มขึ้น 16.618%, Skin density เพิ่มขึ้น 11.952%
{Reference https://doi.org/10.1111/jocd.13993}

ข้อควรระวัง : ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรหรือ แพ้วิตามินเอ
ไม่แนะนำให้ใช้ร่วมกับยาทากรดวิตามินเอ เช่น tretinoin, adapalene
สามารถใช้ร่วมกับ AHA, BHA, PHA ได้ แต่ควรระวังการระคายเคืองในบางราย
*ประสิทธิภาพการตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวของแต่ละบุคคล


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Aquaporins กับ ปัญหาผิวหนัง

Aquaporins in dermatology

Aquaporins (AQPs) เป็นโมเลกุลหนึ่งใน channel protein ซึ่งเป็นโปรตีนระหว่างเซลล์ ทำหน้าที่เป็นช่องให้น้ำและอนุภาคประจุเป็นกลางผ่านเข้าออกได้ จึงเป็นตัวที่มีบทบาทเกี่ยวกับผิวหลัก ๆ คือ
• การแบ่งเซลล์ผิว
• ความสมดุลน้ำและความชุ่มชื้นผิว
• การซ่อมแซมกำแพงผิว
• อิมมูนผิว

Aquaporins (AQPs) มีหลายชนิด เช่น AQP0-12
ชนิดที่สามารถพบได้ที่ผิวหนัง
มีดังนี้
• AQP7 พบที่ hypodermis, dermis, epidermal dendritic cells
• AQP5 พบที่ eccrine sweat glands
• AQP9, 10 พบที่ epidermis
• AQP1, 3 พบที่ epidermis และ dermis
นอกจากนั้นบางชนิดอาจพบที่อวัยวะอื่นด้วย เช่น ไต (ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้)

หากเกิดความไม่สมดุลของ AQP แต่ละชนิดก็อาจทำให้เกิดปัญหาผิวตามมาได้ ยกตัวอย่างโรคผิวหนังที่มีการกล่างถึงบ่อย ๆ เช่น

  1. Hydradenitis suppurativa
    เชื่อว่า มีการแสดงออกลดลงของ AQP5 ที่รอยโรคบริเวณ eccrine glands ทำให้เกิดความผิดปกติของการแบ่งตัวของผิวหนังและต่อมเหงื่อตามมาในคนที่เป็นโรคนี้
  2. Atopic dermatitis
    เชื่อว่า มีการเพิ่มขึ้นของ AQP3 ที่ผิวหนังบริเวณรอยโรค ทำให้ skin barrier เสียสมดุลและเกิดการสูญเสียน้ำ TEWL สูงขึ้น ทำให้คนเป็นโรคนี้เกิดผิวอักเสบและแห้งระคายเคืองง่ายตามมา
  3. Psoriasis
    เชื่อว่า มีการแสดงออกลดลงของ AQP3 ที่ผิวหนังบริเวณรอยโรค ส่งผลให้ลดการกระตุ้น NF-kB pathway การสร้างเคราตินผิดปกติ และมีการสูญเสียน้ำ TEWL มากขึ้น ส่งผลให้เกิดผิวแห้งและหนาตัวอักเสบตามมา
Reference: Int. J. Mol. Sci. 2022;23:4020.

การศึกษาถึง AQPs กับปัญหาผิวหนัง ถือเป็นอีกเรื่องใหม่ที่น่าสนใจและน่าติดตาม เชื่อว่าในอนาคตน่าจะมีการนำหลักการของ AQPs มาร่วมพัฒนาเรื่องการสร้างกำแพงผิวให้แข็งแรงมาขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ
ถ้ามีอะไรอัพเดทจะมาเล่าให้ฟังอีกนะคะ


Reference: Aquaporins Are One of the Critical Factors in the Disruption of the Skin Barrier in Inflammatory Skin Diseases.
Int. J. Mol. Sci. 2022;23:4020.
https://doi.org/10.3390/ijms23074020


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Tranexamic acid กับการรักษาฝ้า‼️

กรดทรานเอกซามิก (Tranexamic acid) ชนิดรับประทาน ถูกขึ้นทะเบียนในประเทศไทยให้ใช้เป็นยารักษาภาวะเลือดไหลหยุดยากและเลือดออกรุนแรงมากผิดปกติ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการทำให้เลือดหยุด

ต่อมามีข้อมูลพบว่า สามารถช่วยลดการสร้างเม็ดสีผิวได้ จึงมีการนำมาให้เสริมการรักษาฝ้าแบบ Off-label เนื่องจากส่งผลให้ฝ้าและรอยดำจางลงได้ด้วย

What is tranexamic acid
What is tranexamic acid

1. Tranexamic acid ทำให้ฝ้าจางลงได้อย่างไร

Tranexamic acid (TXA) เป็น potent plasmin inhibitor กลไกที่เชื่อว่าช่วยให้ฝ้าและรอยดำดีขึ้นได้ คือ

  1. ยับยั้งการหลั่งสารอักเสบที่จะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสี (Inhibit PGE2-stimulated human epidermal melanocytes)
  2. แย่งจับเอนไซม์ไทโรซิเนส ทำให้การสร้างเม็ดสีลดลง
  3. ช่วยลดการสร้างและการขยายตัวของหลอดเลือดใต้ผิวซึ่งทำให้เกิดฝ้าตามมา (Antiangiogenic effect on vascular component of melasma) ซึ่งกลไลข้อนี้ช่วยให้ฝ้าเลือดดีขึ้นได้
Mechanism of tranexamic acid in melasma treatment​
Mechanism of tranexamic acid in melasma treatment

2. TXA ชนิดรับประทาน กับ การรักษาฝ้า

มีข้อมูลของการใช้ TXA ชนิดรับประทานในระยะเวลาสั้นไม่เกิน 3-4 เดือน เพื่อช่วยในการรักษาฝ้าและลดการเกิดรอยดำตามหลังการทำหัตถการ เช่น เลเซอร์ เป็นต้น
ซึ่งพบว่าสามารถช่วยให้ฝ้าจางลงชั่วคราวได้ดี แต่ยังถือว่าเป็น Off-label use เพราะยามีผลข้างเคียงที่สำคัญและรุนแรง คือ ทำให้เกิดลิ่มเลือดซึ่งสามารถอุดตันเส้นเลือดในอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น สมอง ปอด หัวใจ เส้นเลือดที่ขา ที่ตา หรือที่ไต หากมีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ดังนั้น จึงแนะนำให้อยู่ในการดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น

3. Tranexamic acid ชนิดทา กับ การรักษาฝ้า

มีการศึกษาการลดลงของเม็ดสีผิว (MASI score) เมื่อเปรียบเทียบการทา TXA ในรูปแบบต่าง ๆ ที่พบว่าผลใกล้เคียงกับ 3-4% hydroquinone (ขึ้นกับงานวิจัย) เมื่อทาระยะเวลานาน 12 สัปดาห์ ดังนี้
✔️ 2% TXA formulation
✔️ 3% TXA solution และ cream
✔️ 5% TXA liposome, gel, solution
ดังนั้น การใช้ tranexamic acid ชนิดทาจึงอาจใช้เป็นอีกทางเลือกเพื่อเสริมการรักษาฝ้า แทนการใช้ hydroquinone ชนิดทา และรูปแบบทาอาจใช้ได้อย่างปลอดภัยกว่าในกรณีที่มีข้อห้ามของการใช้ยา tranexamic acid ชนิดกิน

Topical tranexamic acid​
Topical tranexamic acid

4. ใช้ Tranexamic acid ทาร่วมกับสกินแคร์อื่นที่ช่วยเรื่องฝ้าได้หรือไม่

ใช้ได้ค่ะ แนะนำว่าอาจลองมองหาส่วนประกอบเสริมการยับยั้งกลไกการเกิดฝ้า เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้ดีขึ้น
เช่น
✔️ กลุ่มยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase inhibitors) เช่น kojic acid, arbutin, licorice, ascorbic acid, resorcinol, acetyl glycyl beta-alanine
✔️ กลุ่มยับยั้งการขนส่งเมลานินไปที่ผิวหนังชั้นบน (Melanin transfer inhibition) เช่น niacinamide 4%, soybean, acetyl glycyl beta-alanine
✔️ กลุ่มเร่งการผลัดเซลล์เม็ดสีส่วนเกินที่ผิวชั้นบน (Increased epidermal turnover) เช่น glycolic acid, salicylic acid

Anti melasma skincare​
Anti melasma skincare

มีข้อมูลการใช้ 3% TXA + 1% kojic acid + 5% niacinamide พบว่า ช่วยให้สิ่งเหล่านี้ดีขึ้นเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ใน 2 สัปดาห์
• รอยดำหลังการอักเสบ (PIH)
• ฝ้า (Melasma)
• สภาพผิวและความสม่ำเสมอของสีผิว (Skin texture & tone homogeneity)
และค่อย ๆ ดีขึ้นไปอีกจนถึง 12 สัปดาห์ ร่วมกับ ตรวจด้วย Mexameter® พบว่า melanin index ลดลงชัดเจน

PRACTICAL POINT

ปัจจุบันเริ่มมีสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของ Tranexamic acid มากขึ้นเรื่อย ๆ และหากเพิ่มเติมส่วนผสมอื่นที่ยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวได้หลายกลไกก็จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการรักษาฝ้าที่ดีขึ้น
เช็คลิสต์ที่เสริมกัน ได้แก่
สกินแคร์กลุ่มยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส
สกินแคร์กลุ่มยับยั้งการขนถ่ายเม็ดสีผิว
สกินแคร์กลุ่มผลัดเซลล์ผิว
มอยซ์เจอไรเซอร์บำรุงกำแพงผิว
ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดด

ตัวอย่างเช่น Melan Trans3X concentrate หรือ Melan Trans3X gel cream
ซึ่งมีส่วนผสมหลายอย่างที่ออกฤทธิ์ยับยั้งได้หลายกลไกการเกิดฝ้าข้างต้น [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ]

BOTTOM LINE

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาฝ้าให้หายขาดได้อย่างถาวร การใช้ยารับประทานหรือสกินแคร์ Tranexamic acid เพียงเพื่อช่วยให้ฝ้าจางลงชั่วคราวเท่านั้น ยังต้องอาศัยการรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น ฮอร์โมน ยาบางชนิด และจำเป็นต้องกันแดดอย่างเคร่งครัดไปตลอด เพื่อช่วยลดโอกาสการกลับมาเข้มขึ้นของฝ้าซ้ำได้อีก

ถ้าหากยังไม่ได้ผล แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังพิจารณาเพิ่มเติมการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ยารับประทาน หัตถการต่าง ๆ และเลเซอร์ เป็นต้น

ด้วยความปรารถนาดี


References

Clin Cosmet Investig Dermatol. 2021;14:1165-1171.
J Clin Aesthet Dermatol. 2019 Aug;12(8):E73-E74.
Exp Dermatol. 2019;28(6):704-708.
J Drugs Dermatol. 2019;18(5):454-459.
Cutis. 2018 February;101(2):E7-E8
Acta Derm Venereol. 2017 Jul 6;97(7):776-781.


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย Mesoesthetic

Melan Trans3X concentrate
สูตรเข้มข้นเหมาะสำหรับผิวที่มีปัญหาฝ้า รอยดำจากการอักเสบ รอยดำจากการเสียดสีซอกพับรักแร้ขาหนีบ
ส่วนประกอบหลัก
▫️1.8% Tranexamic acid ออกฤทธิ์ยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว
▫️5% Enzymacid complex ได้แก่ lactic, mandelic, salicylic acid, biotechnological enzyme ช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพ สีผิวแลดูสม่ำเสมอขึ้น
▫️2% Tyr control complex ได้แก่ kojic acid, biotechnologic plankton extract, tyr control peptide และ Acetyl glycyl beta-alanine* ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและยับยั้งกระบวนการขนถ่ายเม็ดสีผิว
▫️5% Niacinamide ช่วยยับยั้งการขนถ่ายเม็ดสีผิว

Melan Trans3X gel cream
สูตรนี้อ่อนโยนและระคายเคืองน้อยกว่า
เหมาะสำหรับผิวแพ้ระคายเคืองง่าย
ส่วนประกอบหลัก
▫️1.5% Tranexamic acid
▫️1.5% Hydroxyacid complex ได้แก่ lactic, salicylic acid
▫️2% Tyr control complex ได้แก่ kojic acid, biotechnologic plankton extract, tyr control peptide และ Acetyl glycyl beta-alanine*
▫️3% Niacinamide

หมายเหตุ

*Acetyl glycyl beta-alanine คือ สารตัวหนึ่งที่ออกฤทธิ์ช่วยลดการสร้างเม็ดสีผิวได้หลายกลไก เช่น ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส, ยับยั้งการขนถ่ายเม็ดสีผิว มีข้อมูลการใช้ความเข้มข้น 2% นาน 56 วัน ช่วยแก้ปัญหาจุดด่างดำจากการอักเสบผิวได้

**ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

***ข้อมูลเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mesoestetic-th.com/promotion2-melantran3x/?ref=4433

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Benzoyl peroxide ต้องทากี่นาทีจึงฆ่าเชื้อ C.acne ได้

ข้อมูลในงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ไม่นาน เป็นการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่า BPO จะออกฤทธิ์ bactericidal effect ต่อ C.acne ได้ ดังนี้

Reference: Clinical, Cosmetic and Investigational Dermatology 2022;15:403–409.

1.25% นานอย่างน้อย 60 นาที
2.5% นานอย่างน้อย 15 นาที
5% นานอย่างน้อย 30 วินาที
10% นานอย่างน้อย 30 วินาที

นั่นแปลว่า ถ้าหากความเข้มข้นต่ำอาจต้องทาทิ้งไว้นานกว่า จึงจะได้ประสิทธิภาพเทียบกับความเข้มข้นที่สูงขึ้นตามลำดับ

และบางคนที่ผิวระคายเคืองอาจไม่สามารถทาทิ้งไว้นาน อาจต้องปรับไปใช้ตัวอื่นในการควบคุมสิวแทน

แต่อย่างไรก็ตาม หากนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกับผิวมนุษย์ อาจมีข้อจำกัดหรือปัจจัยที่ต่างไปจากหลอดทดลอง
เช่น
❓เชื้อ C.acne อาจอยู่ลึกลงไปในรูขุมขนด้วย อาจต้องใช้เวลานานกว่าในหลอดทดลอง หรือไม่
❓BPO รูปแบบ cleanser อาจถูกเจือจางตอนผสมน้ำ (ต่างกับรูปแบบ Leave-on หรือ rinse-off) อาจต้องใช้เวลานานขึ้นหรือความเข้มข้นที่สูงกว่าเดิม หรือไม่

อาจต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป


Reference

Minimum Contact Time of 1.25%, 2.5%, 5%, and 10% Benzoyl Peroxide for a Bactericidal Effect Against Cutibacterium acnes

Clinical, Cosmetic and Investigational Dermatology 2022;15:403–409.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

พื้นฐานการล้างหน้าและการเลือกคลีนเซอร์

การล้างหน้า ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลผิวในทุกวัน การล้างหน้าให้สะอาดและถูกวิธีจะสามารถขจัดสิ่งสกปรก เซลล์ผิวที่ตายแล้ว น้ำมันส่วนเกินหรือแม้แต่เครื่องสำอางบางอย่างที่น้ำเปล่าไม่สามารถชำระล้างออกได้หมด
มีคำถามที่มักถูกถามมาบ่อย ๆ เกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ลองมาทำความเข้าใจกันค่ะ

เราควรเลือก Cleanser พื้นฐาน อย่างไรดี ❓

การเลือก Cleanser ที่ดี ควรเลือกตามสภาพผิวของแต่ละคน ไม่แนะนำเลือกตามเพื่อน โดยปกติจะแนะนำพื้นฐานผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ดังนี้

• เลือก Gentle cleanser ที่มีส่วนผสมพื้นฐานที่ช่วยบำรุงกำแพงผิว และไม่ทำลายชั้นไขมันที่ผิว เพิ่มความชุ่มชื้นผิว เช่น ceramide, hyaluronic acid, glycerin เป็นต้น

• pH balance 4.5-5.75 ซึ่งจะรู้สึกได้เลยว่าหลังล้างผิวไม่แห้งตึง และ pH ที่สมดุลจะส่งผลถึง skin barrier ที่แข็งแรง ลดการอักเสบผิว และไม่ทำให้เสียสมดุลของจุลินทรีย์

• แนะนำ Syndet (Synthetic detergents) liquid หรือ Non foaming cleanser โดยเฉพาะสำหรับคนผิวแห้ง กลุ่มนี้ pH เป็นอยู่ในช่วงกลางถึงกรดเล็กน้อย มักไม่ค่อยมีฟอง และหลังจากล้างออกด้วยน้ำ จะเหลือลักษณะคล้ายฟิล์มเคลือบผิวบาง ๆ เพื่อคอยช่วยเรื่องความชุ่มชื้นผิว ซึ่งไม่ควรถูหรือพยายามเช็ดออก

basic cleanser การเลือกคลีนเซอร์และการล้างหน้า
Basic cleanser

ควรล้างหน้าบ่อยแค่ไหน และ ควรล้างหน้านานกี่นาที ❓

แนะนำว่าควรให้เวลากับการล้างหน้าให้สะอาด เฉลี่ยประมาณ 20-30 วินาที ไม่นานเกินจน overwash หรือเร็วเกินไปจนล้างไม่สะอาด
และ การล้างหน้าวันละ 2 ครั้งถือว่าเพียงพอต่อการทำความสะอาดผิวหน้าค่ะ ยกเว้นมีสิ่งสกปรกหรือเลอะเหงื่อสามารถล้างเพิ่มได้

รู้ได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดล้างหน้านั้นไม่เหมาะกับผิวเรา และควรเลี่ยงประเภทไหน ❓

แนะนำวิธีสังเกต หากผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่มีอาการแห้งตึงหลังล้างหน้าเสร็จประมาณ 5-10 นาที หรือ มีอาการแสบ แดง คัน ลอก แสดงว่าไม่เหมาะกับผิวเรา แนะนำว่าควรเปลี่ยน

คนที่ผิวแห้ง ระคายเคืองง่าย ควรเลี่ยงส่วนผสมพวก acetone, alcohols, nonionic surfactants บางชนิด เพราะจะทำให้ยิ่งแห้งระคายเคืองมากขึ้น

คนที่แพ้น้ำหอม ผิวแพ้ง่าย ควรเลี่ยงส่วนผสม fragrance, สารกันบูด หรือ สีผสมต่าง ๆ ซึ่งมักพบในกลุ่ม Soap

BOTTOM LINE

การล้างหน้าให้สะอาดและถูกวิธี นอกจากเพื่อการทำความสะอาดผิวแล้ว ยังเสมือนเป็นการเตรียมผิวให้พร้อมรับสกินแคร์ ที่จะบำรุงในขั้นตอนต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เราจึงควรต้องให้ความสำคัญกับการเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวให้มากขึ้น มองหาสิ่งที่เหมาะกับสภาพผิวของแต่ละคน ผลิตภัณฑ์ควรทำความสะอาดผิวได้ดี โดยไม่ทำร้ายกำแพงผิวเรา
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่ได้อ่านนะคะ ถ้าชอบสามารถไลค์และแชร์ได้เลย


References

J Drugs Dermatol. 2019 Jan 1;18(1):80-85.
J Clin Aesthet Dermatol. 2019;12(7):18–21.
J Cosmet Dermatol. 2018 Feb;17(1):8-14.
Indian J Dermatol. 2011;56(1):2-6.


บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.