Tag Archives: Skincare

4 Steps เช็คสภาพผิวก่อนเลือกซื้อสกินแคร์

เชื่อไหมว่า..เพียงแค่เลือกสกินแคร์ให้ตรงกับสภาพผิว ก็ทำให้ผิวดีขึ้นได้แล้ว‼️

ถ้าอยากให้ผิวสวยแบบไม่ต้องเสียเงินไปอย่างสูญเปล่า กับการซื้อสกินแคร์ที่ไม่ตรงกับผิวตัวเอง ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าคุณมีผิวประเภทไหน

มาเริ่มเลยค่ะ

4 ขั้นตอนเช็คง่าย ๆ ว่าคุณมีผิวประเภทไหน❓

1.🔴 เช็ดเครื่องสำอางและล้างหน้าให้สะอาด แล้วรอ 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้ทาครีมและไม่มีการสัมผัสใบหน้าใด ๆ แล้วดูว่าความรู้สึกที่ผิวหน้าเป็นอย่างไร ❓
• ถ้าสบายผิวดี —> อ่านต่อข้อ 2.🟡
• ถ้ารู้สึกแห้งตึง —> อ่านต่อข้อ 4.🟢

2.🟡 รออีก 1-2 ชั่วโมงถัดมา แล้วลองใช้ทิชชูซับที่ผิวหน้าบริเวณ T-zone ดูซิว่ามีความมันจากผิวหน้า ติดมากับทิชชูหรือไม่ ❓
• ถ้าไม่มีน้ำมันติด —> ผิวปกติ (Normal skin)
• ถ้ามีน้ำมันติด —> อ่านต่อข้อ 3.🟣

3.🟣 ต่อไปสังเกตที่แก้ม ดูว่าแห้งตึงหรือไม่ ❓
• ถ้าแก้มไม่แห้งตึง —> ผิวมัน (Oily skin)
• ถ้าแก้มแห้งตึง —> ผิวผสม (Combination skin)

4.🟢 ลองดูว่ามีอาการหน้าแดง แสบ คัน หรือไม่❓
• ถ้าไม่มี —> ผิวแห้ง (Dry skin)
• ถ้ามี —> ผิวแพ้ง่าย (Sensitive skin)

หลายคนอินบอกซ์มาบอกหมอว่า หลังจากปรับลำดับการทาครีมตามที่หมอแนะนำไป 2-3 สัปดาห์ โดยที่ยังไม่ได้เปลี่ยนครีมอะไร สภาพผิวก็ดีขึ้นมากเลย และนี่เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่จะทำให้ผิวของทุกคนดียิ่งขึ้นไปอีกค่ะ

“ลำดับการทาครีมที่ว่าสำคัญมาก ๆ แล้วนั้น การเลือกสกินแคร์ให้ตรงกับสภาพผิวก็สำคัญมาก ๆ ไม่แพ้กัน”

ไหนลองตอบสิคะ..ว่าคุณมีผิวประเภทไหน‼️

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

เทคนิคการทาวิตามินเอไม่ให้หน้าลอก

(Updated May 23′ 2021)

ช่วงนี้มีเคสสิวมาปรึกษาค่อนข้างเยอะ และมีหลายคนที่ยังไม่เคยใช้ยาทากลุ่มวิตามินเอ ก็เลยทำรูปสรุปมาให้เก็บไว้ดูง่ายค่ะ เป็นเวอร์ชั่นอัพเดทจากอันเดิมสีเหลืองนะคะ มาเซฟไปใหม่นะ 🙂

🌟 วิธีการตามนี้

✔️ เริ่มทาที่ความเข้มข้นต่ำก่อน แล้วค่อยเพิ่มขึ้น
✔️ เริ่มทาชนิดที่ระคายเคืองน้อยก่อน เช่น adapalene gel, tazarotene cream แล้วจึงปรับชนิดที่ระคายเคืองมากขึ้น เช่น tretinoin gel/cream
✔️ ทาปริมาณน้อย เท่าเมล็ดถั่วลิสง
✔️ เริ่มทา วันเว้นวัน นาน 2-4 สัปดาห์แล้วค่อยเพิ่มความถี่ในการทา หรืออาจเว้นห่างกว่านี้หากมีอาการระคายเคืองมาก
✔️ เริ่มการทาด้วยวิธี short contact คือ ทาทั่วหน้า 30-60 นาที แล้วล้างออก ในช่วง 4 สัปดาห์แรกของการเริ่มใช้ หรืออาจล้างเร็วกว่านี้หากมีอาการระคายเคืองมาก
✔️ ทาครีมกันแดดร่วมด้วยเสมอ
✔️ ใช้ non-comedogenic moisturizer ร่วมด้วย
✔️ ล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน

หากมีปัญหาแนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง เพิ่มเติมค่ะ

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Plant-based Complex Anti-aging Skincare 🌳

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้าร่วมงานอีเว้นท์ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกลุ่มที่ช่วยชะลอวัยและฟื้นฟูผิวที่ได้จาก Botanical Bud Negtar ก็เลยได้มีโอกาสกลับไปทบทวนและอัพเดทเพิ่มเติม และมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ Plant-based Complex Anti-aging Skincare และ เรื่องของ Bud Nectar ในโพสนี้ 5 ข้อสรุปสั้น ๆ ลองอ่านดูกัน…

ก่อนอื่นต้องขอบคุณทางแบรนด์อีฟโรเช่ Yves Rocher ที่เชิญร่วมงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ Yves Rocher Anti-age Global Super Serum ในครั้งนี้ค่ะ

1.🌿 ปัจจุบันมีเทรนของคอสเมติกส์กลุ่มฟื้นฟูผิว ที่ทำมาจาก Plant-based complex มากขึ้น อันที่จริงแล้วข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับ Plant stem cells มีมานานพอสมควร ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ใช้สเต็มเซลล์ที่มีชีวิตใส่ลงในเครื่องสำอางโดยตรง เพราะจะไม่สามารถแบ่งตัวและมีชีวิตได้ ที่สำคัญอาจปนเปื้อนได้ แต่มักจะใช้การเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ที่ได้จากพืชในหลอดทดลอง แล้วนำสารสกัดที่ได้มาผสมในเครื่องสำอางอีกที ซึ่งก็พบว่าได้ผลเช่นกัน

🌟 กลุ่ม Plants ที่มีข้อมูลในเรื่องผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ยกตัวอย่างเช่น

🛑 Mirabilis jalapa
🛑 Indian gooseberry fruit (Phyllanthus emblica)
🛑 Grapes (Vitis vinifera)
🛑 Lilacs (Syringa vulgaris)
🛑 Swiss apples (Uttwiler spatlauber)

และอื่น ๆ อีกมากมาย

2.🌿 กลไลที่เคลมว่า Plant-based Complex ส่งผลด้าน Anti-aging effect ต่อผิวหนัง นั้นเป็นเพราะมีองค์ประกอบของ Anti-oxidants และ Anti-inflammatory compounds อยู่มาก จึงทำให้มีฤทธิ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ขึ้นกับชนิดของ Plants

ได้แก่

  • Photoprotective effects

ช่วยปกป้องและลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวี พูดง่าย ๆ ว่าเป็น Antioxidative properties อย่างหนึ่งที่ช่วยป้องกันการทำลายคอลลาเจนจากสารอนุมูลอิสระ

  • Anti-inflammatory effects

ช่วยลดการอักเสบของผิวหลังจากมีปัจจัยต่าง ๆ มากระตุ้นการอักเสบผิว

  • Anti-Elastase, MMP and Hyaluronidase Properties

ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่มาทำลายโครงสร้างผิว เช่น อิลาสติน คอลลาเจน ไฮยารูรอน

  • Anti-wrinkle effects

ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ต่าง ๆ (Improved cell renewal) เช่น ไฟโบรบลาสต์ จึงส่งเสริมการสร้าง collagen, elastin, hyaluronic acid มากขึ้น

🌟 ดังนั้น โดยรวมจึงส่งผลให้ผิวแลดูมีสุขภาพดี เรียบเนียน และริ้วรอยเล็ก ๆ ดูลดลง

3.🌿 Botanical Bud Nectar คือ ส่วนของน้ำหวานเข้มข้นที่ได้จากหน่อยอดอ่อนของดอก Syringa (ซิริงกา) หรือ Lilac (ไลแลค) [ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syringa vulgaris เป็นพืชดอกที่อยู่ในตระกูลมะกอก (Oleaceae) มีต้นไม้ร่วมตระกูลคือ มะลิ]

🌟 ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้มีการแตกหน่อใหม่ได้อย่างไม่สิ้นสุด ดังนั้น ดอกไวท์ไลแลค จึงสามารถเจริญเติบโตแม้ในสภาพอากาศที่เลวร้ายที่สุด เพราะสามารถกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ด้วยตัวเองได้เรื่อย ๆ ตลอดเวลา

🌟 จึงเป็นที่มาของการนำสารสกัด Bud Nectar มาเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่ใช้บำรุงผิว เพื่อหวังผลในแง่ Anti aging effect ‼️

4.🌿 วิธีการสกัดเอา Bud Nectar ออกมาเพื่อผสมในสกินแคร์ เรียกว่า Gemmotherapy (เจมโมเทอราปี) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง (นวัตกรรมเฉพาะของอีฟ โรเช่) โดยมีขั้นตอน ดังนี้

• สกัดเซลล์ตัวอย่างจากหน่อยอดอ่อนของดอกไวท์ไลแลคเพียงครั้งเดียว

• คัดเลือกเซลล์ที่สมบูรณ์

• กระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ (ในหลอดทดลอง) จากเซลล์ที่คัดเลือกมา

🌟 สุดท้ายแล้วจะได้เป็นสิ่งที่เรียกว่า Botanical Bud Nectar เพื่อนำไปผสมในสกินแคร์

🌟 ยกตัวอย่างสกินแคร์กลุ่มฟื้นฟูผิวที่มี Bud Nectar ที่ได้มาตรฐาน เช่น Yves Rocher Anti-age Global Super Serum ซึ่งตัวนี้จะมีส่วนผสมของ Oil Booster (Jojoba oil, Grapeseed oil และ Squalene) ซึ่งมีการทดลองพบว่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการซึมของ Bud Nectar และกระจายสู่ผิวชั้นลึกได้ดียิ่งขึ้น

5.🌿 เรื่องของ Natural Oils เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งมีหลายหลายชนิดและก็มีคุณสมบัติต่างกันออกไป ยกตัวอย่างที่นิยมผสมในสกินแคร์ เช่น

  • Grape Seed Oil เป็นตัวที่มีไขมันดี Linoleic acid มากที่สุดในบรรดา Natural Oils ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยซ่อมแซมกำแพงผิว ลดการอักเสบ และยังมี Vitamin E, Phenolic compound ซึ่งช่วยเรื่อง Antioxidation ได้อย่างดี และยังมีข้อมูลว่าช่วยลดการระคายเคืองจาก sodium lauryl sulfate ได้อีกด้วย
  • Jojoba Oil เป็นตัวที่คล้ายคลึงกับน้ำมันผิวตามธรรมชาติมากที่สุด นอกจากจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการอักเสบ ซ่อมแซมกำแพงผิวแล้ว ยังจัดเป็น Potent antioxidants ที่ช่วยเรื่องฟื้นฟูผิวได้ดีมาก อีกทั้งยังมีข้อมูลในการนำมาผสมในสกินแคร์เพื่อเพิ่มการดูดซึมให้ดียิ่งขึ้นได้

🌟 ดังนั้น จึงมักเห็นออยล์ที่ยกตัวอย่างข้างต้น ถูกนำมาผสมในสกินแคร์กลุ่มที่ช่วยบำรุงและฟื้นฟูผิว เพราะนอกจากคุณสมบัติข้างต้นแล้ว ยังมีขนาดโมเลกุลเล็ก ดูดซึมได้ดี ไม่ทิ้งความมันที่ผิว ไม่ค่อยเกิดการอุดตันรูขุมขน

🪴🪴🪴 ปัจจุบันแนวโน้มของการใช้สกินแคร์กลุ่มฟื้นฟูผิว เพื่อการบำรุงผิวมีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Plant Stem cell-based เพราะมีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องของ Anti-oxidant และ Photoprotection ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยชะลอให้ความเสื่อมของผิวเราเกิดขึ้นได้ช้าลง เพื่อผลลัพธ์ในเรื่องของความอ่อนเยาว์อย่างที่หลาย ๆ คนต้องการ

🪴🪴🪴 อย่างไรก็ตาม การใช้สกินแคร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลผิว เพื่อให้ผิวของเรามีสุขภาพดีและน่ามอง ซึ่งคงต้องทำควบคู่ไปกับวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ งดสูบบุหรี่ การปกป้องผิวจากแสงแดดร่วมด้วยอย่างถูกวิธี ทั้งนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า

🪴🪴🪴 แล้วคุณล่ะ .. เริ่มดูแลผิวอย่างถูกวิธีแล้วหรือยัง ไว้ตอนหน้าจะมาเล่าเรื่อง Natural Oils ในสกินแคร์เพิ่มเติมอีก ใครอยากรู้ต้องรอติดตาม ☺️

References:

3 Biotech. 2020 Jul; 10(7): 291.

Am J Clin Dermatol. 2018; 19: 103–117.

Int. J. Mol. Sci. 2018 ;19: 70.

Curr Pharm Biotechnol. 2017; 18(11): 864-876.

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

Product Mentioned

🌟Yves Rocher Anti-age Global Super Serum🌟

🌳 มีส่วนผสมหลัก คือ สารสกัด Botanical Bud Nectar ซึ่งผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง

มีการทดลองหลังการทา พบว่า

🌳 ค่าการอักเสบที่ผิวชั้นหนังกำพร้า (IL6,8) หลังได้รับรังสี UV ลดลงมากกว่าในผิวที่ทา เมื่อเทียบกับผิวที่ไม่ทา

▫️ พบมี Fibroblast renewal เพิ่มขึ้น 20% หลังการทา 72 ชั่วโมง

▫️ พบว่าการสร้างเมลานิน ลดลง 56%

🌳 เทคโนโลยีเฉพาะที่เรียกว่า N.A.T.( Natural Assimilation Technologies) มีการทดลองพบว่า ช่วยให้ Botanical Bud Nectar สามารถแทรกซึมลงสู่ผิวชั้น Epidermis และ Dermis ได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับ Placebo Formula อื่น

🌳 เนื้อเซรั่มเป็น Biphasic formula คือ

ส่วนน้ำ [Botanical Bud Nectar] +

ส่วนน้ำมัน [Oil Booster] ซึ่งมีการทดลองพบว่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการซึมและกระจายสู่ผิวได้ดียิ่งขึ้น

🌳 ส่วน Oil Booster ประกอบด้วย Jojoba oil, Grapeseed oil และ Squalene ซึ่งคล้ายคลึงกับน้ำมันธรรมชาติในผิว เป็นออยล์โมเลกุลเล็ก ซึมเร็ว ไม่ทิ้งความมัน และไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน

🌳 เป็นสกินแคร์กลุ่ม anti-aging ที่สามารถใช้ได้ทุกสภาพผิว

Sponsored Content by Yves Rocher

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

เช็คลิสต์สกินแคร์สำหรับคนผิวมันรูขุมขนกว้าง ‼️

จากบทความตอนที่แล้ว ทำให้ทราบว่ารูขุมขนกว้างนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่
• มีการผลิตน้ำมันผิวมากขึ้น
• ขนเส้นใหญ่และหนา
• โครงสร้างผิวเสื่อมและหย่อนคล้อย
• พันธุกรรมและฮอร์โมน
• แสงแดด
• การเป็นสิวอุดตันบ่อย ๆ

สามารถอ่านทบทวนได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ

คราวนี้มาคุยกันต่อเฉพาะในกรณีของคนที่รูขุมขนกว้างและหน้ามัน ว่าควรเลือกสกินแคร์และดูแลผิวอย่างไรบ้างเพื่อให้ผิวดูเนียนขึ้น ?

1. การเลือก Sunscreen
แสงแดดทำให้โครงสร้างของผิวเสื่อมลงและความยืดหยุ่นลดลง เป็นเหตุให้โครงสร้างผิวที่คอยพยุงรอบรูขุมขนเกิดการหย่อนคล้อย ทำให้รูขุมขนกว้างขึ้นตามมา ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนต้องเผชิญกับแสงแดดในทุกวัน
🌟 ดังนั้น ครีมกันแดดจึงเป็นไอเทมที่ควรมี และแนะนำให้ทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ โดย AAD แนะนำอย่างน้อย SPF 30, PA+++ ขึ้นไป

2. สกินแคร์กลุ่มผลัดเซลล์ผิว AHA
มีข้อมูลพบว่า ช่วยทำให้รูขุมขนดูเล็กลงได้ในคนที่ผิวมัน (Oily skin) โดยมีคุณสมบัติ คือ
✔️ เสริมการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ลดการอุดตันในของรูขุมขน ช่วยให้รูขุมขนแลดูกระชับขึ้น และลดการเกิดสิวอุดตันตามมา
✔️ ผิวเนียนเรียบ ดูโกลว์ขึ้น
✔️ เพิ่มการอุ้มน้ำที่ผิวหนังกำพร้า ช่วยเพิ่มความนุ่มชุ่มชื้น
✔️ ในระยะยาวช่วยเสริมการปรับโครงสร้างผิวในชั้นหนังแท้ ช่วยให้แข็งแรงและริ้วรอยเล็ก ๆ ลดลง อายุผิวดูลดลง
🌟 AHA ที่ได้จากกรดผลไม้ มีความอ่อนโยน เช่น
• Glycolic acid โมเลกุลเล็กสุด ได้ผลค่อนข้างดี จึงนิยมใช้ผสมในสกินแคร์มากที่สุด
• Lactic acid โครงสร้างและโมเลกุลใกล้เคียงกับ Glycolic acid จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ
• Mandelic, Tartaric, Malic ค่อนข้างอ่อน จึงนิยมใช้เพิ่มความชุ่มชื้นมากกว่าผลัดเซลล์ผิว
🌟 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมข้างต้นมากมายในท้องตลาด แนะนำให้เลือกดูผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานผ่านการรับรอง เพื่อความปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดี
🌟 ควรระวังการระคายเคืองในคนผิวแห้ง (Dry skin), ผิวที่ระคายเคืองง่าย (Sensitive skin) และคนใช้ยารักษาสิวอยู่ด้วย เช่น Retinoid cream, Benzyl peroxide โดยแนะนำให้เลือกสกินแคร์ที่อ่อนโยนกับผิว และไม่ทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขน เพื่อลดการเกิดปัญหาสิวตามมา
🌟 ยกตัวอย่างสกินแคร์กลุ่มนี้ เช่น Eucerin Poreless Solution Pore Minimizer Serum มีส่วนผสมของ Glycolic acid + Lactic acid ผ่านการทดสอบทางการแพทย์ และผสม Glycerin, Sodium hyaluronate ช่วยลดการระคายเคืองได้ จึงเหมาะกับผิวบอบบาง ผิวเป็นสิวง่าย ที่มีปัญหารูขุมขนกว้างร่วมด้วย

3. การเลือก Vitamin A derivatives
ในกรณีที่ผิวมันและมีสิวด้วย อาจเพิ่มสกินแคร์ในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอร่วมด้วยได้ เช่น retinol, retinyl palmitate โดยแนะนำทาช่วงก่อนนอน และระมัดระวังการใช้เพราะอาจระคายเคืองได้
🌟 ไม่แนะนำให้ใช้ในคนท้องหรือให้นมบุตร
🌟 หากเป็นกลุ่ม Prescribed medication แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางร่วมด้วย

4. การเลือก Moisturizer
ถ้าหากรูขุมขนมีสิ่งที่ก่อให้อุดตัน จะทำให้รูขุมขนยิ่งดูใหญ่และสังเกตเห็นได้ชัดขึ้น
🌟 ดังนั้น แนะนำเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเป็นกลุ่ม non-comedogenic, oil free skincare โดยอาจเลือกเป็นพวก Humectant ก็จะเหมาะกับคนผิวมันมากกว่าพวก Oil-based product

5. การเลือก Cleanser
ควรล้างหน้าให้สะอาด จะช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน และยังช่วยควบคุมความมันบนใบหน้าได้อีกด้วย
🌟 แนะนำ Gel-based cleanser จะเหมาะกว่า Oil-based หรือ Alcohol-based cleanser
🌟 ตอนเช้าอาจใช้เป็น Gentle, non-comedogenic cleanser
🌟 ตอนเย็นอาจใช้เป็น Salicylic cleanser
🌟 แนะนำใช้น้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติหรืออุ่นเล็กน้อย ไม่แนะนำให้ใช้น้ำร้อนล้างหน้า เพราะอาจจะระคายเคืองผิวและทำให้รูขุมขนใหญ่ขึ้นได้
🌟 แนะนำล้างหน้าเบา ๆ วนตามรูขุมขนด้วยความนุ่มนวลจะดีที่สุดค่ะ

❌❌ ไม่แนะนำให้สครับผิว
การสครับผิวหน้า การบีบหรือแกะสิว อาจก่อการระคายเคืองและเกิดการอักเสบตามมา หากผิวหนังเกิดการอักเสบก็จะยิ่งทำให้รูขุมขนยิ่งดูชัดขึ้น

หากใครที่มีผิวมัน มีสิว และรู้สึกว่าตัวเองรูขุมขนกว้าง อยากให้ลองปรับการดูแลผิว & ปรับสกินแคร์ดูแลผิวตามวิธีข้างต้น และถ้าคิดว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยังไม่ดีขึ้น ก็แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อพิจารณาการรักษาด้วยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมค่ะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

References
J Cosmet Dermatol. 2019;1–7.
Cutis. 2016 Jul;98(1):33-6.
J Clin Aesthet Dermatol. 2017;10(2):45-51.
Dermatol Surg 2016;42:277–285.
Skin Res Technol. 2013 Feb;19(1):e45-53.
American Academy of Dermatology

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

Product mentioned
🌟 Eucerin Poreless Solution Pore Minimizer Serum
✔️ นวัตกรรม 2X action มี Lactic acid + Glycolic acd ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วอย่างอ่อนโยน ช่วยลดการอุดตันในรูขุมขน รูขุมขนแลดูกระชับ พร้อมลดการเกิดสิวอุดตัน
✔️ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิว ปรับสมดุลให้ผิวเรียบเนียน
✔️ ผ่านการทดสอบในอาสาสมัครชาวไทย 93% ของผู้ใช้พบว่ารูขุมขนดูดีขึ้น ใน 4 สัปดาห์
✔️ เหมาะสำหรับคนผิวมัน เป็นสิวง่าย
✔️ Non-comedogenic tested ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน เนื้อบางเบา ซึมไว

Disclaimer: Sponsored content by Eucerin
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Extremolytes (Ectoin) ช่วยเสริมความสตรองของผิวได้อย่างไร วันนี้มาทำความรู้จักกัน

Role of Extremolytes (Ectoin) in Dermatology

1️⃣🟫 Extremolytes ถูกคิดค้นปี 1980 เป็น amino acid ที่สกัดจากชีวโมเลกุล Extremophilic organisms ที่อาศัยอยู่ใน Natrun Valley ประเทศอียิปต์ และต่อมาก็พบว่า สารนี้มักเจอในชีวโมเลกุลที่อาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่โหดจัด extreme มาก ๆ ไม่ว่าจะร้อนจัด เย็นจัด มลภาวะเยอะจัด แห้งจัด ยูวีเยอะจัด

🌟 ดังนั้น จึงมีการศึกษาวิจัยนำ Extremolytes มาผสมในสกินแคร์ ก็พบว่าช่วยให้ผิวสตรองมากขึ้น เสมือนกับชีวโมเลกุลข้างต้น ที่สามารถอาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมอันโหดร้ายที่แทบจะไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นมีชีวิตรอดอยู่ได้เลย เรียกได้ว่าเป็น Stress protection molecule ที่ดีตัวหนึ่ง

2️⃣🟫 Ectoin คือ สารที่ผลิตได้จากแบคทีเรียชื่อ Halomonas elongata ถือเป็น naturally Osmolytes อย่างหนึ่งที่มีการศึกษามากมายทั้งในแง่ของการผสมในครีมบำรุงผิวหรือครีมกันแดด, ยาพ่นในระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งยาหยอดตา

🌟ทั้งนี้ เนื่องจาก Ectoin มีคุณสมบัติในการช่วยลดการอักเสบได้ ทั้งที่ผิวหนัง เยื่อบุทางเดินหายใจ และตา

3️⃣🟫 มีการศึกษาพบว่าผิวหลังทาสกินแคร์ที่มี Ectoin เมื่อทดสอบด้วย UVB แล้ว มีอิมมูนเซลล์ที่ผิว (Langerhan cells) ลดลงเพียงเล็กน้อย และยังพบ Sunburn cells ลดลงอย่างชัดเจน

🌟 ดังนั้น Ectoin จึงมีคุณสมบัติ ช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายด้วย UVB

4️⃣🟫 มีการศึกษาพบว่าผิวหลังทาสกินแคร์ที่มี Ectoin เมื่อทดสอบด้วย UVA แล้ว เซราไมค์ที่ผิวจะถูกสลายน้อยลงไปเรื่อย ๆ (dose-dependent) และยังพบ ICAM-1 น้อยลง บ่งบอกว่าการอักเสบของผิวน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ

🌟 ดังนั้น Ectoin จึงมีคุณสมบัติ ช่วยยับยั้งกระบวนการอักเสบของผิวที่เกิดจาก UVA ได้อีกด้วย

5️⃣🟫 มีการศึกษาวิจัยในคน Sensitive & Atopic skin โดยให้ทา 1% และ 4% Ectoin เช้าเย็น นาน 7 วัน พบว่า TEWL ลดน้อยลง (แบบ dose-dependent)

🌟 ดังนั้น คนผิวแห้งหรือแพ้ง่ายที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงของกำแพงผิว แนะนำ ectoin ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 0.5-1% ขึ้นไป โดยทาเช้าเย็น จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงประมาณ 1 สัปดาห์

6️⃣🟫 มีการศึกษาพบว่าเมื่อทา 1% Ectoin เช้าเย็น นาน 12 วันขึ้นไป ผิวมีความชุ่มชื้นมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการตรวจวัดด้วยเครื่องมือ corneometry และหลังหยุดทาแล้วยังสามารถคงความชุ่มชื้นผิวอยู่ได้อย่างน้อย 7 วัน

🌟 ดังนั้น Ectoin จึงมีคุณสมบัติเป็น prolonged moisturizer ช่วยให้ความชุ่มชื้นผิวได้ยาวนาน ในงานวิจัยระบุอย่างน้อย 7 วัน แต่อย่างไรก็ตามคงต้องขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล และ ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่มี Ectoin ในแต่ละยี่ห้อ

7️⃣🟫 Ectoin มีคุณสมบัติ anti-inflammatory effect จึงมีการนำมาใช้เพื่อ ช่วยบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบจากสาเหตุหลายอย่าง

🌟 ดังนั้น จึงเป็นอีกทางเลือกในคนที่มีผิวหนังอักเสบ (Eczema) หรือในกลุ่มโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Mild to moderate Atopic dermatitis) ที่อยากเลี่ยงการทาสเตอรอยด์บ่อย ๆ

8️⃣🟫 พบว่า การทาสกินแคร์ที่มีEctoin สามารถช่วยลดการเกิด Air pollution-induced hyperpigmentation ได้ และลด gene expression ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเสื่อมของผิวได้

🌟 ดังนั้น Ectoin-containing Skincare จึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากช่วย anti pollution และ anti aging ได้ดี

9️⃣🟫 ถึงแม้มีข้อมูลว่า Ectoin ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA, UVB ช่วยป้องกันผิวไหม้และลด aging skin ได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาในแง่ SPF, PA ที่ชัดเจน

🌟 ดังนั้น แนะนำให้ทาครีมกันแดดร่วมด้วยเสมอค่ะ

🔟🟫 บางคนเรียก Ectoin ว่าเป็น All-in-One และ เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการบำรุงผิว เพราะมีความสามารถ คือ

✔️ ปกป้องผิวจากการทำร้ายโดย UVA ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งผิวชรา ริ้วรอย ฝ้า กระ จุดด่างดำ

✔️ ปกป้องผิวจากการทำร้ายโดย UVB ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งผิวไหม้และหมองคล้ำ

✔️ ลดการระคายเคืองผิวจาก PM2.5 ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความแก่, ผิวอักเสบ, การกำเริบของผื่นผิวหนังบางชนิด

✔️ ช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนัง

✔️ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิวได้ยาวนานหลายวัน

🌟 ดังนั้น คุณสมบัติของEctoin ก็คือ “Antiaging + Antiinflammatory + Moisturizing + Barrier repairing effects”

โดยสรุป หากใครที่กำลังมองหาสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของ Extremolytes (Ectoin) ขอแนะนำ ดังนี้ค่ะ

✅ 0.5% ขึ้นไป ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและบำรุงกำแพงผิวได้ดี

✅ 1% ขึ้นไป มีคุณสมบัติเหมือน 0.5% และเพิ่มเติมคือ สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นให้ผิวได้ยาวนานยิ่งขึ้นเป็นสัปดาห์

✅ 5-7% ขึ้นไป มีคุณสมบัติ anti-inflammatory effect (dose-dependent) แนะนำสำหรับคนที่มีปัญหาภูมิแพ้ผิวหนัง Atopic dermatitis, มีผื่นแพ้อักเสบผิวหนังต่าง ๆ หรือ คนที่ต้องการบำรุงผิวมากขึ้นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มลภาวะฝุ่น PM2.5 ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีในประเทศไทยที่มีงานวิจัยทางการแพทย์รับรองก็เช่น Resiskin เป็นต้น

References

Skin Pharmacol Physiol 2014; 27: 57–65.

Appl Microbiol Biotechnol 2006; 72: 623–634.

Clin Dermatol 2008; 26: 326–333.

Curr Pediatr Rev. 2019; 15(3): 191-195.

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

Product mentioned

🌟 Resiskin by Qualisk

✔️ Germany Innovative Ingredient (Extremolyte) ที่สกัดจากธรรมชาติ ไม่มีสารกันเสีย

✔️ Skin barrier repair ช่วยเสริมความแข็งแรงของกำแพงผิว ช่วยปกป้อง บำรุงและฟื้นฟูผิวในหลอดเดียว

✔️ มีงานวิจัยรับรองประสิทธิภาพในผิวหนังมนุษย์

✔️ No Steroid, no fragrance

✔️ Safe for infant, children, adult

✔️ แนะนำในคนผิวธรรมดา, ผิวแห้ง, ผิวแพ้ง่าย, ผู้มีปัญหาผิวหนังอักเสบหรือภูมิแพ้ผิวหนัง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Website: https://resiskin.com
FB: https://www.facebook.com/resiskin
Line: @ResiSKIN
#ผิวสตรองพร้อมทุกสถานการณ์

Sponsored by Resiskin

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

4 Steps เช็คสภาพผิวก่อนเลือกซื้อสกินแคร์

เชื่อไหมว่า.. เพียงแค่เลือกสกินแคร์ให้ตรงกับสภาพผิว ก็ทำให้ผิวดีขึ้นได้แล้ว‼️

ถ้าอยากให้ ผิวสวยแบบไม่ต้องเสียเงินไปอย่างสูญเปล่า กับการซื้อสกินแคร์ที่ไม่ตรงกับผิวตัวเอง ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าคุณมีผิวประเภทไหน❓

มาเริ่มเลยค่ะ
🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰

⭐️ 4 ขั้นตอนเช็คง่าย ๆ ว่าคุณมีผิวประเภทไหน❓

1.🔴 เช็ดเครื่องสำอางและล้างหน้าให้สะอาด แล้วรอ 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้ทาครีมและไม่มีการสัมผัสใบหน้าใด ๆ แล้วดูว่าความรู้สึกที่ผิวหน้าเป็นอย่างไร ❓
✔️ ถ้าสบายผิวดี —> อ่านต่อข้อ 2.🟡
✔️ ถ้ารู้สึกแห้งตึง —> อ่านต่อข้อ 4.🟢

2.🟡 รออีก 1-2 ชั่วโมงถัดมา แล้วลองใช้ทิชชูซับที่ผิวหน้าบริเวณ T-zone ดูซิว่ามีความมันจากผิวหน้า ติดมากับทิชชูหรือไม่ ❓
✔️ ถ้าไม่มีน้ำมันติด —> ผิวปกติ (Normal skin)
✔️ ถ้ามีน้ำมันติด —> อ่านต่อข้อ 3.🟣

3.🟣 ต่อไปสังเกตที่แก้ม ดูว่าแห้งตึงหรือไม่ ❓
✔️ ถ้าแก้มไม่แห้งตึง —> ผิวมัน (Oily skin)
✔️ ถ้าแก้มแห้งตึง —> ผิวผสม (Combination skin)

4.🟢 ลองดูว่ามีอาการหน้าแดง แสบ คัน หรือไม่❓
✔️ ถ้าไม่มี —> ผิวแห้ง (Dry skin)
✔️ ถ้ามี —> ผิวแพ้ง่าย (Sensitive skin)

หลายคนอินบอกซ์มาบอกหมอว่า หลังจากปรับลำดับการทาครีมตามที่หมอแนะนำไป 2-3 สัปดาห์ โดยที่ยังไม่ได้เปลี่ยนครีมอะไร สภาพผิวก็ดีขึ้นมากเลย และนี่เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่จะทำให้ผิวของทุกคนดียิ่งขึ้นไปอีกค่ะ

“ลำดับการทาครีมที่ว่าสำคัญมาก ๆ แล้วนั้น การเลือกสกินแคร์ให้ตรงกับสภาพผิวก็สำคัญมาก ๆ ไม่แพ้กัน”

ไหนลองตอบหมอหน่อยสิคะ..ว่าคุณมีผิวประเภทไหน‼️

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ครีมยูเรีย..ทาหน้าได้ไหม ?

ครีมยูเรีย พูดชื่อแล้วบางคนอาจจะงง แต่ถ้าบอกว่า ครีมไดอะบีเดิร์ม, ศิริราชซอฟแคร์, ยูเซอรีนยูเรียรีแพร์ บลาๆๆ.. หลายคนคงร้องอ๋อออ

อีกคำถามที่ถูกถามมาเยอะว่า “ครีมยูเรีย..ใช้ทาที่หน้าได้มั้ย” สรุปง่าย ๆ ตามนี้เลย

ครีมยูเรีย urea cream moisturizer

ยูเรียเป็นส่วนประกอบหนึ่งในผิวหนัง

พบได้ประมาณ 7% ของ NMF (Natural Moisturizing Factor) ซึ่งอยู่ที่ผิวหนังชั้นกำพร้าของเรา ส่วนนี้จะทำหน้าที่ปกป้องผิว กักเก็บความชุ่มชื้น เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้แก่ผิว

ปริมาณของ urea ใน NMF จะลดลงไปตามอายุ ที่มากขึ้นเรื่อย ๆ

• หาก NMF ไม่สมบูรณ์ ผลคือ สูญเสียน้ำ เสียความยืดหยุ่น ทำให้ผิวแห้งกร้าน ลอก ในที่สุด

• ปัจจุบันที่การนำ urea มาผสมหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ครีม, โลชั่น, โฟม, อิมัลชั่น ประมาณ 5-20%

รายงานผลข้างเคียงจากการใช้น้อยมาก เรียกได้ว่าค่อนข้างปลอดภัย

ความเข้มข้นที่ต่างกันออกฤทธิ์ไม่เหมือนกัน

• หากต่ำกว่า 10% จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizing effect) จึงมักใช้ในพวกผิวแห้ง เช่น Xerosis, Ictyosis, Atopic dermatitis, Psoriasis
• หากเกิน 10% ขึ้นไป จะออกฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิว (Keratolytic effect) มักใช้ในรอยโรคผิวหนังที่หนา เช่น Psoriasis ที่เป็นเยอะ หรือ ใช้กับที่เล็บ, รักษาหูด, ตาปลา ส้นเท้าหนาแตกด้าน

ดังนั้น การที่ครีมบางชนิดมี ความเข้มข้นมากขึ้นไม่ได้แปลว่าจะต้องดีกว่าเสมอไป ควรเลือกให้ถูกวัตถุประสงค์ เช่น หากนำ 20% มาใช้กรณีผิวแห้ง ก็อาจทำให้รอยโรคแย่ลงได้จากการผลัดลอกเซลล์ผิวมากขึ้นกว่าเดิม

ครีมยูเรียสามารถใช้ทาเดี่ยว ๆ เพื่อรักษาโรคทางผิวหนัง หรือทาเพื่อเพิ่มการดูดซึมของยาตัวอื่นได้

เช่น
• 10% urea ร่วมกับ hydrocortisone หรือ betamethasone-17-valerate ในการรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)
• 10% urea ร่วมกับ 1% hydrocotisone, 2% salicylic acid ในการรักษาโรคผิวแห้ง Ictyosis vulgaris
• 10-40% urea ร่วมกับ dithranol หรือ bifonazole ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน
• 40% urea ร่วมกับ 1% fluconazole ในการรักษาเชื้อราที่เล็บ

สรุปยูเรียถึงแม้จะค่อนข้างปลอดภัยไม่ค่อยมีรายงานผลข้างเคียง แต่มีข้อควรระวัง

• ใช้กับโรคผิวหนังเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวและช่วยให้เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดลอกออก ไม่ควรซื้อมาทาเล่นโดยไม่มีข้อบ่งชี้
• ระคายเคืองได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงการทาในที่ผิวบอบบาง เช่น เปลือกตา ริมฝีปาก อวัยวะเพศ รวมทั้งใบหน้า ยกเว้นหากรอยโรคหนาที่หน้าอาจใช้ได้ชั่วคราว และควรใช้ความเข้มข้นต่ำ ไม่แนะนำให้ใช้ต่อเนื่องนาน และหยุดทาเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว
• หญิงตั้งครรภ์ เลี่ยงการทาบริเวณหน้าอก ป้องกันเวลาลูกกินนม เพราะยังไม่มีรายงานชัดเจนถึงความปลอดภัยในระหว่างให้นมบุตร
• หลีกเลี่ยงการทาในแผลเปิด
• บางรายสามารถแพ้ยูเรียได้ หากใช้แล้วมีผื่นคัน หรืออาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์

ครีมยูเรีย ประโยชน์มากมายและใช้ได้ผลค่อนข้างดี แต่หากใช้ไม่ถูกวิธีก็เกิดผลเสียตามมา โรคผิวหนังนั้นอาจแย่ลง ก่อนซื้อมาใช้เองควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอว่ารอยโรคนั้น ๆ มีข้อบ่งชี้สำหรับครีมยูเรียหรือไม่ อย่าลืมว่า..เหรียญมีสองด้านนะคะ

ด้วยความปรารถนาดี

——————————————

Reference
Topical urea in skincare: A review
Dermatilogy Therapy 2018; e12690.

——————————————

อ่านบทความที่ www.helloskinderm.com

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

เคล็ดลับการดูแลริมฝีปากให้นวลนุ่มน่าสัมผัส

💋💋💋💋💋💋💋💋💋💋💋💋

เราทุกคนล้วนอยากมีริมฝีปากที่นุ่มชุ่มชื้น ไม่มีขุย ไม่แห้งแตก ลองมาดูวิธีกัน

💯 ทาลิปบาล์มหรือลิปมอยส์เจอไรเซอร์ ก่อนนอน และ ทาบำรุงบ่อย ๆ ในระหว่างวัน โดยเฉพาะช่วงอากาศหนาวหรือคนที่ทำงานในห้องแอร์

✔️ เลือกเป็นส่วนผสมที่ระคายเคืองน้อย ทำจากธรรมชาติ [รูป 2] และหากเป็นไปได้ควรเลี่ยงสารสังเคราะห์ หรือส่วนผสมที่อาจก่อความระคายเคืองได้บ่อย [รูป 3]
✔️ หยุดใช้ผลิตภัณฑ์นั้น หากพบมีอาการที่บ่งบอกถึงการระคายเคือง เช่น คัน แสบ แดง ออกร้อนบริเวณที่ทา
✔️ แนะนำชนิดที่ไม่มีน้ำหอม (fragrance free) เพื่อลดการระคายเคืองหรือผื่นแพ้สัมผัส

รูป 2
รูป 3

💯 หากริมฝีปากแห้งแตกและเป็นขุยมาก แนะนำลิปบาล์มที่เป็นเนื้อขี้ผึ้ง เช่น Petroleum jelly เพราะจะสามารถกักเก็บความชุ่มชื้นและลดการระเหยน้ำออกจากผิวได้ดีกว่า

💯ปกป้องริมฝีปากจากแสงแดดด้วยลิปบาล์มที่ผสมสารป้องกันแสงแดดก่อนออกจากบ้าน

✔️ อย่างน้อย SPF 30 ขึ้นไป
✔️ มีส่วนผสมของ Titanium oxide และ/หรือ Zinc oxide
✔️ ทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง

💯 ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของริมฝีปาก

💯 ไม่กัด แทะ ฉีก เล็ม เลียริมฝีปาก บางท่านอาจเข้าใจว่าการเลียที่ริมฝีปากจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้ แต่ความจริงแล้วหลังจากที่น้ำลายระเหยไป จะทำให้ผิวบริเวณนั้นยิ่งแห้งแตกกว่าเดิม
ท่องไว้ว่า..หากรู้สึกริมฝีปากแห้ง ควรหยิบลิปบาล์มขึ้นมาทาทันที อย่าเลีย อย่าแกะ

💯 หลีกเลี่ยงการเจาะหรือติดริมฝีปากด้วยเครื่องประดับที่ทำจากโลหะ เพราะอาจเกิดการแพ้สัมผัส ระคายเคืองได้

💯 ใช้เครื่องทำความชื้น (Humidifiers) โดยเฉพาะช่วงเวลาอากาศแห้งในฤดูหนาว เพราะจะส่งผลให้ผิวแห้งได้

💯 หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์

💯 สามารถสครับหรือขัดริมฝีปากอย่างอ่อนโยน (เน้นว่าเบาและอ่อนโยน) อาจใช้ผลิตภัณฑ์สครับหรือแปรงสีฟันขนอ่อน ช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วได้

💯 ช่วงที่ปากแห้งมาก ๆ ควรเลี่ยงอาหารพวกรสจัด ตระกูลส้ม เครื่องเทศ เพราะอาจทำให้ระคายเคืองเพิ่มขึ้นได้

สุดท้ายที่อยากฝากไว้ ภาวะปากแห้งแตกอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุได้จากหลายอย่าง เช่น ผิวแห้ง ติดเชื้อ ภูมิแพ้ แพ้ยาสีฟัน ขาดวิตามินบางชนิดหรือผื่นแพ้แดดต่าง ๆ หากไม่แน่ใจแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังร่วมดูแลจะดีที่สุดค่ะ

หากมีคำถามที่อยากให้หาคำตอบมาให้ หรือใครมีประสบการณ์อยากร่วมแชร์ สามารถคอมเมนท์ในโพสนี้ได้เลยค่ะ หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ

Reference : เนื้อหาบางส่วนจาก American Academy of Dermatology, Dermatologist recommendation

When in doubt,
Ask your Board-certified Dermatologist

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Novel therapy in acne

เดี๋ยวจะไปประชุมและดูงานที่เกาหลีเกี่ยวกับการรักษาสิวใหม่

ใครอยากรู้อะไรมาทิ้งคำถามไว้นะ เกี่ยวกับการรักษาสิวด้วยสิ่งเหล่านี้ที่กำลังมาแรง
ดูข้อมูลคร่าว ๆ มาให้อ่านเป็นน้ำจิ้มกันก่อน

💭 Daylight photodynamic with ALA gel
อันนี้เด็กก็ใช้ได้ สำหรับคนไม่อยากกินยาฆ่าเชื้อและกรดวิตามินเอชนิดรับประทาน

💭 Gold microparticle therapy
สำหรับสิวชนิดรุนแรง

💭 Oral supplement with myo-inositol
สำหรับคนไม่อยากกินยาคุมและยาฆ่าเชื้อ กลไก คือ ตัวนี้ช่วยลดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และลด insulin-resistance

💭 Probiotics
เสริมการรักษาอื่นเพื่อช่วยลดการอักเสบของสิว

💭 Clascosterone
เป็นยาทาในกลุ่ม Topical antiandrogen therapy กำลังอยู่ใน phase III trial

ใครอยากรู้ต้องรอติดตาม


When in doubt,
Ask your Board-certified Dermatologist

Copyright ©👩🏻‍⚕️HELLO SKIN by หมอผิวหนัง