ครีมยูเรีย ที่เหมาะกับคนผิวแห้งมาก ช่วยแก้ปัญหาผิวแห้งได้อย่างไร ‼️

Urea-containing topical formulation

มีหลายคำถามที่มักมีการถามถึงเสมอ ว่ายูเรียที่ผสมในสกินแคร์ สามารถช่วยอะไรได้บ้าง และคนผิวแห้งทาไปนาน ๆ แล้วจะมีผลอะไรต่อผิวหรือไม่ เราลองมาทำความรู้จักกันค่ะ

1. ยูเรีย คืออะไร เกี่ยวกับผิวเราอย่างไร ทำไมเห็นใช้เป็นส่วนผสมในสกินแคร์ทาผิว ❓

ยูเรียเป็นส่วนประกอบหนึ่งในผิวหนัง
พบได้ประมาณ 7% ของ NMF (Natural Moisturizing Factor) ซึ่งอยู่ที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าของเราค่ะ ส่วนนี้จะทำหน้าที่ปกป้องผิว กักเก็บความชุ่มชื้น เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้แก่ผิว และเมื่อเราอายุมากขึ้น ปริมาณของ urea ใน NMF จะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา

ยูเรียทาผิว urea cream

2. หาก NMF ไม่สมบูรณ์ และปริมาณ urea ที่ผิวลดลง จะเกิดอะไรขึ้นกับผิวหนังบ้าง ❓

ผลที่จะเกิดตามมา คือ ผิวจะสูญเสียน้ำได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น สูญเสียความยืดหยุ่น จึงส่งผลทำให้ผิวแห้งกร้าน ลอก เป็นขุยในที่สุด เราจึงเห็นว่าคนสูงอายุส่วนหนึ่งที่ผิวแห้งนั้น อาจมาจากปัจจัยเรื่องนี้ร่วมด้วยได้ และเมื่อทาครีมที่ผสมยูเรียจึงมักช่วยให้อาการแห้งลอกคันผิวลดลงได้ดี

3. ผลิตภัณฑ์ยูเรียชนิดทาที่มีความเข้มข้นต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ❓

ยูเรียความเข้มข้นต่างกันจะออกฤทธิ์ไม่เหมือนกันค่ะ

✔️ ความเข้มข้นต่ำถึงปานกลาง <10 % จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิว (Moisturizing effect) จึงมักใช้แก้ปัญหาผิวแห้ง หรือ โรคผิวหนังในกลุ่มโรคเช่น Xerosis, Ictyosis, Atopic dermatitis, Psoriasis
✔️ ความเข้มข้นสูงเกิน 10% ขึ้นไป ความเข้มข้นเบอร์นี้จัดว่าเป็นยา จะออกฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิวร่วมด้วย (Keratolytic effect) จึงมักใช้ในรอยโรคผิวหนังที่หนา เช่น ขนคุด (Keratosis pilaris), Psoriasis ที่ผื่นหนา หรือใช้แก้ปัญหาที่เล็บ, รักษาหูด, ตาปลา,ใช้ทาส้นเท้าหนาแตกด้าน เป็นต้น

ดังนั้น ควรเลือกให้ถูกวัตถุประสงค์ เช่น หากนำ 40% มาใช้กรณีผิวแห้ง ก็อาจทำให้รอยโรคแย่ลงได้จากการผลัดลอกเซลล์ผิวมากขึ้นกว่าเดิม

ประโยชน์ของยูเรียครีม

4. หากใช้ครีมยูเรียควรใช้ทาเดี่ยว ๆ หรือทาร่วมกับยาเพื่อรักษาโรคทางผิวหนังได้หรือไม่ ❓

สามารถทายูเรียเดี่ยว ๆ หรือ ทาร่วมกับยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ค่ะ และมีข้อมูลว่ายังสามารถเพิ่มการดูดซึมของยาตัวอื่นได้ เช่น

✔️ 10% urea ร่วมกับ hydrocortisone หรือ betamethasone-17-valerate ในการรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)
✔️ 10% urea ร่วมกับ 1% hydrocortisone, 2% salicylic acid ในการรักษาโรคผิวแห้ง Ictyosis vulgaris
✔️ 10-40% urea ร่วมกับ dithranol หรือ bifonazole ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน
✔️ 40% urea ร่วมกับ 1% fluconazole ในการรักษาเชื้อราที่เล็บ

5. ครีม urea มีแบบไหนบ้าง เลือกอย่างไรดี ❓

ปัจจุบันครีมที่ผสมยูเรียมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ครีม, โลชั่น, โฟม, อิมัลชั่น, แลคเกอร์ โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 3-50% ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่มีรายงานผลข้างเคียงจากการใช้น้อยมาก เรียกได้ว่า สามารถใช้ได้ค่อนข้างปลอดภัย

แต่ละรูปแบบควารเลือกใช้ให้เหมาะสม ดังนี้

ชนิดโลชั่นทาผิว

มักผสม urea 3-12% ซึ่งไม่สูงมาก และเนื่องจากเป็น hydrophilic components มักจะมีน้ำหนักโมเลกุลเล็ก สามารถซึมผ่าน Stratum corneum ได้ดี ออกฤทธิ์เป็น humectant ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น, ลด TEWL อีกทั้งยังช่วยกักเก็บความชื้นในผิวได้ยาวนาน จึงมักใช้โลชั่นเพื่อแก้ปัญหาผิวแห้งคัน (xerosis) ได้ดี และยังมีข้อมูลพบว่าลดอาการขุย ผิวแตกเป็นร่อง แดงคัน ช่วยลดการกำเริบของการแห้งคันได้ แนะนำในกลุ่มคนผิวแห้ง xerosis, ผิวผู้สูงอายุ, ผิวแห้งคันในคนเป็นโรคตับ,ไต เป็นต้น

ชนิด cream

ควรเลือกความเข้มข้นให้เหมาะกับปัญหาตามที่กล่าวข้างต้น คร่าวๆ คือ
5-12% cream สำหรับผิวกายแห้งมาก แห้งลอกขุย, ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
20-25% cream สำหรับส้นเท้าแห้งแตก, เล็บเป็นขุยหนา
20-40% cream สำหรับเสริมการรักษาเชื้อราที่เล็บ
50% cream สำหรับ psoriatic plaque

ชนิด foam

เป็นทางเลือกสำหรับ hairy area แต่พบไม่ค่อย และกลุ่มนี้มักผสม alcohol vehicle อาจระคายเคืองหรือคันได้

ชนิด ointment

จะมีฤทธิ์ occlusive เพิ่มเติมเข้ามา จึงออกฤทธิ์ได้ดีกว่าชนิด cream สามารถใช้ 40% เป็น chemical nail avulsion ในการรักษา onychomycosis ได้ และแนะนำรูปแบบนี้อย่างยิ่งกรณีส้นเท้าแตกด้าน แต่ข้อเสียคือ เหนียว และใช้ค่อนข้างลำบากในบริเวณผิวที่มีเส้นผมหรือขน

ชนิด gel

พบไม่บ่อย

ชนิด lacquer

รูปแบบยาป้ายทา มักใช้กับรอยโรคที่เล็บ เสริมการรักษา onychomycosis, brittle nails

6. หากมีปัญหาผิวแห้งมาก ลอกขุย แตก คัน ผิวไม่เรียบ เป็นเกล็ดปลา ต้องดูแลผิวอย่างไร ทาครีมยูเรียอย่างเดียวเพียงพอหรือไม่❓

เนื่องจากปัญหาผิวแห้งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

💢 กำแพงผิวเสียจากอายุที่มากขึ้น
💢 โรคผิวหนังบางอย่าง เช่น ผิวหนังอักเสบ, ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง, โรคสะเก็ดเงิน, โรค Ictyosis
💢 โรคทางร่างกายอื่น เช่น โรคตับ โรคไต โรคไทรอยด์ มะเร็งบางชนิด ขาดวิตามินหรือสารอาหารบางอย่าง เป็นต้น
💢 การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เช่น วัยหมดประจำเดือน
💢 สภาพอากาศ มลภาวะ
💢 การใช้สกินแคร์ที่ไม่เหมาะสม

แนะนำวิธีการดูแลผิวแห้ง ดังนี้ค่ะ

ทาครีมบำรุงเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นผิวเป็นประจำสม่ำเสมอ แนะนำให้ทาหลังอาบน้ำทันทีจะสามารถซึมสู่ผิวและออกฤทธิ์ได้ดี ซึ่งสกินแคร์ที่มียูเรียก็สามารถใช้ได้ และหากผิวแห้งมากก็อาจหาส่วนผสมที่เพิ่มความชุ่มชื้นหลายชนิดร่วมด้วย เช่น Eucerin Urea Repair Plus ซึ่งนอกจาก 5% urea ก็ยังมี Ceramides & Gluco-Glycerol & NMFs ที่ช่วยเพิ่มการส่งผ่านโมเลกุลน้ำไปยังผิวชั้น epidermis และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิวได้ดี
ไม่อาบน้ำนานเกินไป เลี่ยงการอาบน้ำร้อน และ เลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่เป็นด่างสูง หลังอาบแล้วผิวตึงเอี๊ยด
• ในกรณีฤดูหนาว อากาศแห้ง อาจใช้ Humidifier เพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ให้บรรยากาศรอบตัวในบ้านหรือห้องนอน
• สำรวจตัวเองว่ามีความผิดปกติทางร่างกายใด ๆ หรือไม่

และหากปรับสกินแคร์และพฤติกรรมการดูแลผิวข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีความผิดปกติอะไรในร่างกาย แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อช่วยตรวจหาว่าคุณมีสาเหตุอื่นที่อะไรซุกซ่อนอยู่ ที่อาจทำให้ผิวแห้งคัน เรื้อรัง ไม่หายสักที ซึ่งเหล่านี้อาจต้องการการรักษาอื่นโดยแพทย์เพิ่มเติมค่ะ

ผิวแห้งลอก แก้อย่างไร

References:

Dry skin management: practical approach in light of latest research on skin structure and function. J Dermatolog Treat. 2020 Nov;31(7):716-722.
Topical urea in skincare: A review Dermatology Therapy 2018;e12690.
Urea-containing topical formulations. Int J Clin Pract. 2020 Dec;74 Suppl 187:e13660.


Product mentioned:

Eucerin UreaRepair Plus

โลชั่นบำรุงผิวกาย เหมาะสำหรับผิวแห้งถึงแห้งมาก แตกเป็นขุย

• ประกอบด้วย
5% urea lotion + NMF สารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติในผิว
มี Ceramides ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการสูญเสียน้ำจากผิว
มี Glyco-glycerol ที่ช่วยเพิ่มการส่งผ่านโมเลกุลน้ำไปยังผิวชั้น epidermis ได้ดี เติมน้ำสู่ผิว ผิวชุ่มชื้นยาวนาน 48 ชั่วโมง
• เนื้อโลชั่น oil-in-water ซึมเร็ว ไม่เหนียวเหนอะ
• ช่วยให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น เนียนเรียบขึ้น แลดูสุขภาพดี เมื่อใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (ผลลัพธ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล)

Eucerin urearepair plus

Disclaimer: Content sponsored by Eucerin

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s