อันดับแรก อยากให้ทุกคนกลับไปทบทวนความสำคัญของการทาครีมกันแดดในโพสนี้ค่ะ
ทำไมแพทย์ผิวหนังจึงเน้นแนะนำให้ทาครีมกันแดด..ทุกวัน..ในทุกที่..ที่คุณย่างก้าวไป

เราทราบดีว่า..ไปทะเลจะต้องเผชิญกับแสงแดดอันร้อนแรง, อาจมีกิจกรรมต้องลงเล่นน้ำ หรืออาจต้องใส่บิกินีอวดหุ่นสวย ดังนั้น ครีมกันแดดที่แนะนำสำหรับพกไปเที่ยวซัมเมอร์นี้จึงต้องเน้นพิเศษใน 3 เรื่องนี้
✅ ปกป้องผิวจากรังสี UVA & UVB ได้ดีเยี่ยม
✅ กันน้ำได้ อาจเลือกเป็น water resistant หรือ very water resistant ก็ได้
✅ แนะนำให้มีผสม antioxidant เพื่อช่วยลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากแสงแดด
โพสนี้จะมาสอน วิธีการเลือกครีมกันแดดโดยดูจากค่าการปกป้องผิวจากแสงแดด โดยการดูสัญลักษณ์หรือตัวเลขต่าง ๆ ที่ระบุไว้ข้างขวด ดังนี้ค่ะ
1. รังสี UVA สามารถลงลึกถึงชั้นหนังแท้ หรืออาจลึกกว่านั้นในกรณีของ UVA1
ส่งผลให้เกิด aging ผิวชรา หลอดเลือดขยายตัว กระตุ้นการสร้างเม็ดสีผิว ทำให้เกิดความหมองคล้ำ ฝ้ากระเข้มขึ้น ทำลาย DNA ทำให้เกิดรอยโรคที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

☀️☀️☀️หากเราต้องการดูว่า ครีมกันแดดมีระดับการปกป้องผิวจากรังสี UVA มากน้อยแค่ไหน อาจดูได้จาก UVAPF (UVA Protection Factor) ดังนี้
📍📍 ดูค่า PA (Protection Grade of UVA)
แบ่งเป็น PA +,++,+++,++++ หมายถึง ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA ที่มากขึ้นตามลำดับ ค่า PA ที่แนะนำ คือ +++ (สามบวก) ขึ้นไป
📍📍 ดูค่า PPD (Persistent Pigment Darkening)
เมื่อเทียบกับ PA แล้วจะได้ดังนี้
PPD 2-4 เท่ากับ PA+ แนะนำสำหรับกิจกรรมในบ้านที่ไม่ถูกแดด
PPD 4-8 เท่ากับ PA++ แนะนำสำหรับสาวออฟฟิศ ทำงานในร่ม
PPD 8-16 เท่ากับ PA+++ แนะนำสำหรับกิจกรรมที่ต้องออกแดด ไปซื้อของ หรือไปเที่ยว
PPD >16 เท่ากับ PA++++ แนะนำกิจกรรมกลางแจ้ง เล่นกีฬา ลงน้ำ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าครีมกันแดดที่มี PA++++ เมื่อเราอยากรู้ว่าตัวไหนปกป้องได้ดีกว่ากัน อาจลองมาดูที่ PPD ว่าเป็นเท่าไหร่ ก็จะพอบอกได้ค่ะ
ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มี PPD สูง ๆ ในท้องตลาด ก็อย่างเช่น LPS Anthelios Invisible Fluid ซึ่งมี PPD 46 เลยทีเดียว
📍📍 ดูสัญลักษณ์ UVA ที่มีวงกลมล้อมรอบ
แสดงว่า มีค่าป้องกัน UVA ห่างจาก SPF ไม่เกิน 3 เท่า กล่าวคือ UVAPF/SPF > 1/3
📍📍 ดูค่า Critical Wavelength
ถ้าหากครีมกันแดดระบุไว้ตั้งแต่ 370 nm ขึ้นไป ร่วมกับมีสัญลักษณ์ UVA ที่มีวงกลมล้อมรอบ แสดงว่า เป็น Broad Spectrum Protection
📍📍 ดูรูปดาว Boot Star Rating
ยิ่งหลายดาวก็ยิ่งปกป้องได้ดีกว่า
📍📍 ดูชื่อของ UV filters
จะพอบอกได้คร่าว ๆ ว่ามีตัวที่ปกป้องรังสีอะไรได้บ้าง (ตามตาราง)



2. รังสี UVB สามารถลงลึกถึงชั้นหนังกำพร้า
ส่งผลให้เกิดการไหม้ของผิว และในระยะยาวอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
☀️☀️☀️หากเราต้องการดูว่า ครีมกันแดดมีระดับการปกป้องผิวจากรังสี UVB มากน้อยแค่ไหน ดูได้ดังนี้
✔️ ดูค่า SPF (Sun Protection Factor)
ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กัน ค่านี้บอกถึงความยาวนานของการป้องกันผิวไหม้แดง ถ้าหากยิ่งค่าสูง จะยิ่งป้องกันผิวได้นานขึ้นก่อนจะเกิดผิวไหม้ ซึ่งมาตรฐานของครีมกันแดดที่ใช้
SPF 10-15 เหมาะกับกิจกรรมในร่ม ไม่ถูกแดดเลย
SPF >15 เหมาะกับกิจกรรมที่อาจต้องมีถูกแดดบ้าง
SPF >30 เหมาะกับกิจวัตรประจำวันตามปกติ
SPF >50 เหมาะกับคนไปทะเลหรือที่ต้องออกแดดจัด
ส่วน SPF ที่มากกว่า 50 ขึ้นไปเรื่อย ๆ อาจเพิ่มประสิทธิภาพได้ไม่มากนัก (ดูกราฟ) ก็ลองพิจารณาตามความเหมาะสมและกำลังทรัพย์แต่ละคน

3. การดูความสามารถในการกันน้ำ (Water Resistant Testing)
ให้เลือกที่ระบุว่า
✔️ Water Resistant หรือ
✔️ Very Water Resistant ก็ได้
4. มองหาส่วนผสมที่เป็น antioxidant เพิ่มเติม เช่น Vitamin E, Vitamin C, Phenolic compounds, Flavonoid compounds, Caroteinoids เป็นต้น
นอกจาก 4 ข้อหลัก ๆ ข้างต้นแล้ว ต้องอย่าลืมว่ายังมีปัจจัยที่สำคัญอื่น ๆ อีกก็คือ
• การทาครีมกันแดดใน ปริมาณที่เหมาะสม คือ 2 mg/cm2 เพื่อให้ได้ค่าการปกป้องแสงแดดตามที่ระบุไว้
✔️ ชนิดครีม : 2 ข้อนิ้วมือ หรือ 1 เหรียญสิบ (ทั่วหน้า)
✔️ ชนิดฟลูอิด : 2 เหรียญสิบ (ทั่วหน้า)
✔️ หากทาทั้งตัวใช้ประมาณ 30-45 g หรือ ml
• การทาซ้ำระหว่างวัน
✔️ Indoor activities : อาจไม่จำเป็นต้องทาซ้ำ
✔️ Outdoor activities : ทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง หรือ หากมีเหงื่อเยอะ มีการถูเสียดสี อาจทาซ้ำบ่อยขึ้น
✔️ เล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่ต้องลงน้ำ : ทาซ้ำทุก 30 นาที
• การทาในบริเวณที่มักลืม ได้แก่
✔️ ใบหู, หลัง, เท้า
• กรณีสวมหน้ากาก ในยุคโควิด
✔️ พบว่าหน้ากากช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น ผิวในบริเวณที่อยู่ใต้หน้ากาก ถ้าหากต้องการการปกป้องเต็มที่ก็อาจต้องทาครีมกันแดดร่วมด้วย แต่หากมีปัญหาผื่นผิวหนังอักเสบร่วมด้วยอาจจะไม่ทาครีมกันแดดก็ได้ แต่ควรปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วยค่ะ
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าในสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์กันแดด และสามารถเลือกครีมกันแดดได้เก่งขึ้นด้วยตัวเองนะคะ
References
J Cutan Med Surg. 2019 JulAug; 23(4): 357-369.
Cosmetics 2019, 6(4); 64.
J Am Acad Dermatol. 2017 Mar; 76(3S1): S100-S109.
J Am Acad Dermatol. 2013 Dec; 69(6): 867.e1-14
Photodermatol Photoimmunol Photomed. 2015 Mar; 31(2): 65-74.
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
Product mentioned
🌟 LPS Anthelios Invisible Fluid 🌟
PA++++, PPD46, SPF50+
มี antioxidant คือ Tocopherol (Vitamin E)
NETLOCK Technology ผ่านการทดสอบหลายด้าน ได้แก่ ไม่มีคราบขาว ติดทนแม้เข้าห้องซาวน่านาน 2 ชั่วโมง
เนื้อสัมผัสบางเบา ไม่เหนียว ซึมไว
Water resistant ทนน้ำ ทนเหงื่อ ทนทราย

Disclaimer: Sponsored by Laroche Posay
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.