สาวกสิวทั้งหลายน่าจะมีน้อยคนที่ไม่รู้จักยารักษาสิวตัวนี้ ปัจจุบันการหาซื้อตามร้านขายยานั้นทำได้ง่ายมาก
โพสนี้ หมออยากจะขอแชร์ความรู้เกี่ยวกับยาตัวนี้ให้ทุกคนได้รู้ ก่อนจะตัดสินใจซื้อมาใช้ด้วยตัวเอง
1 🛑 BPO ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อสิว และลดการอุดตันรูขุมขน ดังนั้นจึงสามารถ ใช้รักษาได้ทั้งสิวอักเสบและสิวอุดตัน
2 🛑 BPO สามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกับยาทารักษาสิวอื่นได้ เช่น ยาทาเรตินอยด์ หรือ ยาทาฆ่าเชื้อสิว
3 🛑 BPO ยัง สามารถใช้ต่อในระยะยาวหลังจากที่สิวหายแล้ว
เพื่อช่วยลดการเกิดสิวกลับมาใหม่ โดยมีงานวิจัยว่าใช้ได้ผลทั้ง 2.5 และ 5% ดังนั้น ให้เลือกตามสภาพผิวแต่ละบุคคล
4 🛑 ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเชื้อดื้อยา
ต่างกับกลุ่มยาทาฆ่าเชื้อซึ่งไม่แนะนำให้ทาตัวเดียวเพราะเกิดเชื้อดื้อยาได้บ่อยมาก
5 🛑 หลังเริ่มรักษา พบว่า สิวจะเริ่มดีขึ้นช่วง 10-12 สัปดาห์
ดังนั้น ควรใจเย็นเพราะการรักษาสิวต้องใช้เวลา
6 🛑 การใช้ 2.5-5% BPO ช่วยลดการสร้างน้ำมันที่ผิวได้
ส่วนความเข้มข้นที่มากกว่านี้ มีบางรายงานพบว่าผิวมันมากขึ้นประมาณ 20% จากผลการลดการอุดตันของต่อมไขมัน ทำให้บางคน อาจมีหน้ามันจากการหลั่งน้ำมันออกมาที่ผิวได้มากขึ้นหลังจากใช้ไป 1-2 เดือน ดังนั้นอาจปรับลดความเข้มข้นลง
7 🛑 BPO สามารถทำให้เกิดการแพ้ได้
ดังนั้นหากใครใช้แล้วมีอาการผื่นคัน ลมพิษ บวมแดง หายใจไม่สะดวก หน้ามืดวิงเวียน ควรหยุดใช้และไปพบแพทย์ และแจ้งแพทย์ก่อนรักษาสิวทุกครั้งเนื่องจากเป็นยาที่ใช้บ่อยมากในรักษาสิว
8 🛑 อย่าสับสนกับอาการ ระคายเคืองจากการใช้ยาในขนาดสูง หรือความเข้มข้นมากเกินไป ซึ่งจะมีอาการแสบแดง คัน ผื่นลอก มีขุย ซึ่งหากมีอาการรุนแรงก็อาจพบมีอาการหน้าบวมได้
9 🛑 ดังนั้นหากใช้แล้วเริ่มมีอาการแสบแดง
หรือมีผื่นซึ่งไม่แน่ใจว่าเกิดจากการแพ้ หรือการระคายเคืองเนื่องจากการใช้ที่ไม่เหมาะสม ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางผิวหนังช่วยประเมิน
10 🛑 BPO สามารถ กัดสีเกิดการด่างได้
ควรระวังการใช้ทาบางบริเวณ เช่น ทาสิวที่หลัง อาจทำให้สีเสื้อผ้า หรือผ้าปูที่นอนมีรอยด่างได้
11 🛑 ในแง่การทาร่วมกับยาทาวิตามินเอ
▫️ควรหลีกเลี่ยงการทา BPO ร่วมกับ Tretinoin ในเวลาเดียวกัน อาจทำได้โดยทาสลับวัน หรือ แบ่งทาเช้าเย็น
▫️BPO สามารถทาพร้อม Adapalene ได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องการลดประสิทธิภาพอะไรค่ะ
12 🛑 BPOในท้องตลาดมีหลายรูปแบบ
เพื่อช่วยให้สะดวกต่อการใช้มากขึ้น
ตัวอย่างยาที่พบบ่อย
✔️ Benzac : Benzoyl peroxide เดี่ยว ๆ
✔️ AkneDerm : Benzoyl peroxide เดี่ยว ๆ
✔️ Epiduo : Benzoyl peroxide + Adapalene
✔️ Duac : Benzoyl peroxide + Clindamycin
ดังนั้น ควรระวังการทายาซ้ำซ้อน เช่น
หากใช้ Benzac หรือ Differin อยู่แล้ว ไม่ควรทา Epiduo ซ้ำอีกในเวลาเดียวกัน
หรือหากใช้ Duac แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ ClindaM ซ้ำอีกค่ะ
13 🛑 คำแนะนำในการทาสำหรับผู้เริ่มต้น
เพื่อลดการระคายเคือง แสบแดง แห้งลอก
✔️ เริ่มทาความเข้มข้นต่ำก่อน (2.5%) แล้วค่อยเพิ่มขึ้น (5%, 10%)
✔️ เริ่มทาบางบริเวณที่เป็นสิวก่อน แล้วค่อยปรับเพิ่มเป็นทั่วหน้า
✔️ เริ่มการทาด้วยวิธี short contact คือ ทาก่อนล้างหน้า 3-5 นาทีในช่วงสัปดาห์แรก หากทนได้ไม่มีปัญหาอะไร สามารถปรับเพิ่มเวลาได้มากขึ้นทุก ๆ สัปดาห์ แต่แนะนำไม่ควรทาทิ้งไว้เกิน 30-60 นาที เพื่อลดผลข้างเคียง (ข้อยกเว้นในบางสูตร มีการผลิตมาให้สามารถทาข้ามคืนได้)
✔️ สามารถล้างออกได้เร็วกว่านี้หากมีอาการระคายเคืองหรือแสบแดงมาก
✔️ ล้างหน้าให้สะอาด ด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนสำหรับผิวที่เป็นสิว
✔️ ทาครีมกันแดดและมอยซ์เจอไรเซอร์ร่วมด้วยเสมอ
14 🛑 หากมีอาการผิดปกติอะไรหลังการทา BPO แนะนำให้หยุดยาและพบแพทย์
15 🛑 สุดท้ายที่อยากแนะนำทุกคน คือ หากเป็นสิวที่เรื้อรัง รุนแรง รักษาไม่หายสักที ผ่านการซื้อยาทาเอง หรือเปลี่ยนที่รักษาไปมานับไม่ถ้วน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง เพื่อตรวจเพิ่มเติมว่ามีสาเหตุหรือภาวะผิดปกติอื่น ๆ ในร่างกายที่อาจก่อให้เกิดสิวเรื้อรัง และยังไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีหรือไม่

การรักษาสิวอย่างถูกวิธี ต้องใจเย็นและอดทน ทุกคนต้องผ่านช่วง 1-4 เดือนแรกที่อาจมีสิวเห่อขึ้นได้ แล้วทุกอย่างจะค่อยดีขึ้น การรักษาสิวนั้นไม่ง่ายซะทีเดียว แต่หมอเจี๊ยบเชื่อว่า หากทุกคนปฏิบัติตัวตามคำแนะนำและตั้งใจรักษาอย่างถูกวิธี การรักษาสิวสำหรับหมอแล้ว..ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปค่ะ
หากชอบบทความนี้ และเห็นว่ามีประโยชน์ —> พิมพ์หัวใจ 💕💕💕 เพื่อนำไปปรับปรุงบทความถัดไปด้วยค่ะ
รออ่านภาคต่อไป —> รีวิวผลิตภัณฑ์ BPO
ปล. ขออนุญาตไม่ copy หรือดัดแปลงบทความเป็นของตัวเองโดยไม่ให้เครดิตทางเพจนะคะ 😊
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References
Guidelines for the treat- ment of acne vulgaris 2016. Jpn J Dermatol 2016; 26: 1045–1086. (in Japanese)
Clinical efficacy and safety of benzoyl peroxide for acne vulgaris: Comparison between Japanese and Western patients.
Journal of Dermatology 2017; 44: 1212–1218
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.