Keloid prevention & treatment
♻️♻️♻️♻️♻️♻️♻️♻️♻️♻️♻️♻️
แผลเป็นนูนชนิดคีลอยด์ สร้างความกังวลใจให้ผู้ป่วยไม่น้อย โพสนี้จะมาสรุปให้ฟังสั้น ๆ ว่าปัจจุบันมีวิธีการรักษาอะไร ที่ช่วยป้องกันและรักษาได้บ้าง
📣📣📣📣📣📣📣📣📣📣📣📣
- 📌 Silicone gel sheeting หรือ แผ่นแปะซิลิโคน หรือ มีในรูปแบบครีมเจลซิลิโคน เป็นวิธีที่ถือว่าง่ายและสะดวกสบายที่สุด
กลไก: เพิ่มความชื้นและลดการระเหยน้ำจากแผลเป็นคีลอยด์ ช่วยลดการทำงานของไฟโบรบลาส ลดการสร้างคอลลาเจนที่ผิดปกติ
⭐️How to: ควรแปะแผ่นซิลิโคนเจลต่อเนื่อง อย่างน้อยวันละ 12 ชั่วโมง นานอย่างน้อย 6-12 เดือน ขึ้นกับงานวิจัย
ถ้าเป็นในรูปแบบเจลทา ให้เริ่มทาตั้งแต่ตอนที่แผลแห้งและปิดสนิทมีสีชมพู ทาเช้าเย็น ปาดครั้งเดียว ไม่ต้องถูไปมา
มีหลายยี่ห้อเท่าที่พอจะรู้จัก เช่น
🏳️🌈 Strataderm & Stratamed
[มี Polydimethylsikoxanes, Slioxanas, Alkylmethyl Silicones]
🏳️🌈 Hiruscar Silicone Pro
[มี MPS, VitC]
🏳️🌈 Smooth E Scar Silicone Gel
[มี Cyclopentaxyloxane, dimethicone]
🏳️🌈 Dermatix Ultra
[มี Cyclopentaxyloxane, VitC]
🏳️🌈 Kelosil Silicone Scar gel
[มี Cyclopentaxyloxane, VitC]
🏳️🌈 Clenascar gel
[มี Cyclopentaxyloxane, vitC]
🏳️🌈 Scar gel Cybele
[มี nanohydroxyprolisilane CN]
ยาทากลุ่มนี้หลังทาแล้วจะแห้งเหมือนฟิล์มบาง ๆ เคลือบผิวไว้ ควรปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 3-5 นาที ก่อนจะแต่งหน้าหรือใส่เสื้อผ้าทับ เพื่อป้องกันการลอกหลุดของเจล
————————————————
- 📌 Compressive therapy หรือ การใช้อุปกรณ์เพิ่มแรงบีบอัดแผล เพื่อลดโอกาสการเกิดคีลอยด์ตามมา
กลไก: ทำให้ fibroblast hypoxia ลดการสร้างคอลลาเจน
⭐️How to: ใช้ pressure garments ทันทีหลังจากแผลหายสนิท หรือหลังทำการผ่าตัดคีลอยด์ สามารถป้องกันการเกิดคีลอยด์ซ้ำได้ 70-95% โดยใช้ต่อเนื่อง อย่างน้อยวันละ 12 ชั่วโมง นาน 6 เดือน และใช้ pressure ขั้นต่ำ 24 mmHg แต่ไม่ควรเกิน 30 mmHg เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดได้
————————————————
- 📌 Intralesional corticosteroids หรือ การฉีดสารสเตอรอยด์เข้าที่คีลอยด์
กลไก: fibroblast apoptosis
⭐️How to: ใช้ความเข้มข้น 2.5-20 mg (กรณีที่หน้า) หรือ 20-40 mg (กรณีไม่ใช่ที่หน้า)
การตอบสนองดีหรือไม่ขึ้นกับแต่ละคน ส่วนในกรณีที่ยังเป็นคีลอยด์มาไม่นาน อาจใช้รูปแบบทาด้วย High potency corticosteroids with occlusion ก็ได้ผล
ผลข้างเคียง ผิวบาง เส้นเลือดขยายตัว สีผิวด่าง
————————————————
- 📌 ยาทา imiquimod
กลไก: ลด local IFN-α ผลให้ fibroblast activity ลดลง (dose-dependent manner), ลด GAG production, เพิ่ม collagenase enzyme ทำลายคอลลาเจน
⭐️How to: ใช้ 5% imiquimod cream ทาวันละครั้ง ตามหลังจากการผ่าตัดคีลอยด์
พบว่าการกลับเป็นซ้ำใน 5-6 เดือน จะมากน้อย ขึ้นกับ wound tension (ที่หูเป็นซ้ำน้อยกว่าที่ไหล่ หลัง)
ผลข้างเคียง แดง คัน ระคายเคือง ติดเชื้อ
————————————————
- 📌 Topical mitomycin
มักใช้ตามหลังการผ่าตัดแผลที่แถวตา หรือ ผ่าตัดกล่องเสียง
กลไก: decrease fibroblast proliferation
⭐️How to: ประคบแผลด้วยก๊อซชุบ 1mg/mL of mitomycin C นาน 3-5 นาทีที่แผล ทำซ้ำอีกครั้งห่างกัน 3 สัปดาห์
ผลข้างเคียง รอยด่าง ปวดแผล
————————————————
- 📌 Intralesional 5-FU
มักใช้ฉีดผสมกับ corticosteroid วิธีนี้อาจได้ผลลดลงกรณีที่เป็นคีลอยด์มานานเกิน 2 ปี
กลไก: fibroblast apoptosis, ลด TGF-β-driven collagen synthesis
⭐️How to: low dose therapy(1.4-3.5 mg/ml) หรือ ผสม 5FU กับ KA 10 mg/ml
ผลข้างเคียง ปวด บวม แดง ผิวบาง
————————————————
- 📌 Intralesional Interferon alpha-2b
กลไก: antifibrotic, anti proliferation
⭐️How to: ฉีดที่ผิวหนังหลังผ่าตัดคีลอยด์ มีหลายขนาดขึ้นกับงานวิจัย 500,000-6,000,000 unit ทุก 1-2 สัปดาห์ นาน 3-10 สัปดาห์
ผลข้างเคียง flu-liked symptom
วิธีนี้บางงานวิจัยบอกไม่ได้ผล และ เป็นซ้ำบ่อย ผลข้างเคียงรุนแรงได้ จึงยังไม่นิยม
————————————————
- 📌 Bleomycin
กลไก: suppress collagen synthesis by dermal fibroblasts, increase collagen turnover, and decrease the levels of lysyl-oxidase required for collagen maturation
⭐️How to: หลายวิธี tattooing, dermojet intralesional injection และ intralesional injection หรืออาจใช้ร่วมกับ electroporation therapy
————————————————
- 📌 Cryotherapy หรือ จี้เย็นด้วยอุณหภูมิต่ำกว่า -22°C
กลไล: cell anoxia, cryonecrosis,
and coagulative necrosis
⭐️How to: มีหลายแบบ spray, contact หรือ intralesional (การตอบสนองแตกต่างกัน) นิยมทำครั้งละ 2 รอบ ๆ ละ 15-20 วินาที ห่างกันทุก 3-4 สัปดาห์ อาจใช้วิธีนี้ร่วมกับวิธีอื่น เช่น ฉีด ILKA
ผลข้างเคียง ปวด บวม ผิวด่าง ไม่แนะนำในคนผิวเข้ม
————————————————
- 📌 Radiation หรือการฉายแสง
นิยมใช้ตามหลังการผ่าตัดคีลอยด์ ไม่แนะนำในเด็ก
High dose rate Brachytherapy ได้ผลดีกว่า Low dose หรืออาจใช้ X-ray and electron-beam radiation therapy (EBRT)
⭐️How to: 15-20 Gy ประมาณ 5-6 ครั้ง
————————————————
- 📌 Laser therapy
How to: มีเลเซอร์หลายชนิดที่ช่วยได้
🔰Pulsed dye laser 585-595 nm ต้องทำหลายครั้งจึงจะเห็นผล ห่างกันทุก 4-8 สัปดาห์
ผลข้างเคียง temporary purpura, blistering, crusting, and postinflammatory pigmentary
🔰CO2 and Er:YAG lasers ก็ได้ผล ไม่นิยมมากนัก และมีรายงานการเป็นซ้ำได้บ่อยกว่า
🔰นอกจากนั้นอาจะใช้เลเซอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาวิธีอื่น เรียกว่า Laser-assisted drug delivery (LADD)
————————————————
- 📌 การผ่าตัด
วิธีนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้มีประสบการณ์ เนื่องจากต้องใช้เทคนิกและความชำนาญ และการผ่าตัดอย่างเดียวมีโอกาสเกิดคีลอยด์กลับเป็นซ้ำได้บ่อย
⭐️How to: มักต้องรักษาร่วมกับวิธีอื่น เช่น ฉีดยาสเตอรอยด์ จี้เย็น จึงจะได้ผลการรักษาดี
————————————————
👑👑👑 สรุป 👑👑👑
🚩 วิธีที่สามารถรักษาเองที่บ้านได้สะดวกและปลอดภัยที่สุด คือ การทาหรือแปะแผ่นซิลิโคนเจล หากลองแล้วประมาณ 2-3 เดือน ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง แนะนำให้ พบแพทย์เพื่อพิจารณาปรับการรักษาวิธีอื่นตามความเหมาะสม
🚩 ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาแผลเป็นนูนคีลอยด์ที่ได้ผลดีที่สุด การใช้หลายวิธีร่วมกันก็ยังคงเป็นสิ่งที่แนะนำเสมอ ร่วมกับ การรักษาแผลอย่างถูกวิธี และที่สำคัญคือ ระวังการเกิดบาดแผลโดยเฉพาะบริเวณที่มักเกิดแผลเป็นนูนได้บ่อย เช่น หน้าอก ไหล่ หลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นสิวและชอบแกะเกา เป็นต้น
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
Reference
Keloids: A Review of Etiology, Prevention, and Treatment
J Clin Aesthet Dermatol. 2020;13(2):33–43
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.