ว่าด้วยเรื่องของ Tzanck smear

หัตถการพื้นฐานที่สามารถทำได้ไม่ยาก และช่วยแนะโรคทางผิวหนังได้หลายอย่างเลยค่ะ

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  1. ใบมีดเบอร์ 11 หรือ 15
  2. สไลด์แก้ว
  3. สำลีและก๊อซ
  4. 70% แอลกอฮอล์
  5. สีย้อม methylene blue หรือ wright
  6. กล้องจุลทรรศน์

เลือกตำแหน่ง

แนะนำตุ่มน้ำที่ยังไม่แตก

How to

✔️ เช็ดทำความสะอาดรอบ ๆ ด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
✔️ ใช้ใบมีดเปิดตุ่มน้ำออก แล้วซับด้วยก๊อซแห้ง
✔️ ใช้สันมีดขูดเซลล์ในชั้น dermis ที่ base of lesion แล้วป้ายเนื้อเยื่อที่สไลด์
✔️ ลนไฟเบา ๆ หรืออาจปล่อยให้แห้งเอง
✔️ ย้อมด้วยสี Methylene blue, wright หรือ Giemsa
✔️ นำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์

ดูคลิปการขูดเพิ่มเติม https://www.facebook.com/JAADjournals/videos/1635102429912651/?vh=e&extid=0&d=n

การแปลผล (ลองดูตามรูปประกอบ)

สิ่งที่ต้องมองหาอันดับแรกคือ Acantholytic cell

1. กรณีพบ Acantholytic cell
▫️หากมี Multinucleated gaint cell ร่วมด้วย จะนึกถึง Herpes infection
▫️หากไม่มี Multinucleated gaint cell ร่วมด้วย ให้ลองมองหาเซลล์อื่น ๆ เพราะอาจเป็นได้หลายอย่าง เช่น
Pemphigus
Heiley-Heiley disease
Darier’s disease อาจพบ Corps rond grain
SSSS
Bullous Impetigo อาจพบ cocci ร่วมด้วย

2. กรณีไม่พบ Acantholytic cell
ลองมองหาเซลล์อื่น ๆ เช่น
Tadpole cell ในกลุ่ม Spongiotic dermatitis
Syncytialcell ในกลุ่ม HFMD
Pseudohyphae ใน Candidiasis
Guarnieri body ใน Orf

Take home message

💯 ถ้าเห็นตุ่มน้ำหรือรอยโรคที่คล้ายแผลถลอก ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร ให้ลองทำ Tzanck smear เบื้องต้นลองดู
💯 Tzanck smear ควรดูเสมอว่าเห็นอะไรบ้าง ไม่ใช่เพียงแค่ดูว่า positive/negative เพราะอาจถูกถามต่อว่า positive/negative เซลล์อะไร
💯 Tzanck smear เป็นหัตถการพื้นฐานที่ได้ผลรวดเร็ว ไม่ต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมมากมาย ราคาไม่แพง ทุกคนสามารถฝึกได้
💯 การแปลผลขึ้นกับการเก็บตัวอย่างอย่างถูกวิธี ความชำนาญในการดูกล้อง และ Sensitivity & Specificity ของแต่ละโรคในแต่ละช่วงเวลา
💯 หากยังไม่ได้คำตอบจาก Tzanck smear ควรส่งผู้ป่วยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการพิจารณาตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ๆ ขึ้นกับว่าสงสัยความผิดปกติอะไร ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคอาจต้องอาศัยอาการแสดงทางคลินิกและลักษณะของผื่นร่วมด้วยเสมอ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยในเบื้องต้นได้นะคะ

Reference
J Am Acad Dermatol 2008;59:958-64.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s