หน้าท้องแตกลายระหว่างตั้งครรภ์ (Striae Gravidarum)

1. สาเหตุของหน้าท้องแตกลายตอนตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นอิทธิพลของฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเส้นในคอลลาเจนในผิวหนัง
🤰🏻ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมบางคนเป็นทั้งที่ดูแลผิวดีมากแล้ว แต่บางคนไม่เป็นทั้งที่ไม่ต้องทำอะไรมาก เพราะส่วนหนึ่งมีเรื่องฮอร์โมนซึ่งแตกต่างกันในแต่ละคน

2. นอกจากปัจจัยฮอร์โมนแล้ว ยังมีเรื่องของการยืดตัวของผิวหนังในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดรอยแตกลายที่อาจเกิดจากฉีกขาดของโครงสร้างต่าง ๆ ในผิวหนังได้
🤰🏻ดังนั้น หากเราดูแลผิวอย่างถูกวิธี ก็อาจช่วยลดการเกิดรอยแตกลายจากสาเหตุนี้ได้

3. กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดหน้าท้องแตกลายตอนตั้งครรภ์ ได้แก่
✔️ ตั้งครรภ์ตอนอายุน้อย
✔️ น้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเร็ว
✔️ ตั้งครรภ์เด็กตัวโต หรือ ครรภ์แฝด
✔️ มีพันธุกรรมหน้าท้องแตกลายตอนตั้งครรภ์
🤰🏻ดังนั้น ปัจจัยที่ควบคุมได้คือ ควรดูแลการเพิ่มน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ และระมัดระวังการเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

4. ส่วนมากเริ่มพบเมื่ออายุครรภ์ที่มากขึ้น ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ขึ้นไป และส่วนใหญ่มักจะหายไปหลังคลอดหากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
🤰🏻ดังนั้น ควรเริ่มดูแลผิวไปตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และหากเลยตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ขึ้นไปอาจต้องดูแลใส่ใจให้มากขึ้นเพื่อเตรียมผิวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงขยายตัวของผิว

5. รอยแตกลายนี้ ไม่มีผลต่อสุขภาพร่างกายของมารดาและทารกในครรภ์ แต่อาจมีผลต่อสุขภาพทางจิตใจได้ในบางคน โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีความจำเป็นต้องใช้เรือนร่างในการปฏิบัติงาน
🤰🏻 ดังนั้น คุณแม่สบายใจเรื่องความปลอดภัยได้ค่ะ แต่กรณีหลังอาจต้องดูแลผิวพิเศษหน่อย

6. ในเรื่องครีมที่ใช้ได้ แนะนำเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นผิว จะทำให้ผิวมีความ ยืดหยุ่นรอบรับการขยายตัวมากขึ้นได้ดี และต้องเป็นตัวที่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์
🤰🏻 ดังนั้น อาจเลือกใช้ครีมที่มีส่วนผสมที่ได้มาตรฐาน เช่น Coco butter, Shea butter, Centella asiatica extract, α-tocopherol, collagen–elastin hydrolysates และที่สำคัญต้องไม่มีส่วนผสมของวิตามินเอหรืออนุพันธ์ของวิตามินเอ

7. ในแง่บอดี้ออยล์ สามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้ดีเช่นกัน เช่นกันคือ แนะนำผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติจะค่อนข้างปลอดภัยกว่า
🤰🏻ดังนั้น อาจเลือกเป็น Almond oil, Centella extract, Rosehip oil, Sesame oil

8. มีงานวิจัยชัดเจน พบว่าการนวดเบา ๆ บำรุงผิวบ่อย ๆ ด้วย Almond oil หรือสารสกัดจาก Centella tree สามารถช่วยลดการเกิดรอยแตกลายจากการยืดของผิวหนังได้
🤰🏻ดังนั้น Almond oil และ Centella จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดี แต่ต้องนวดร่วมด้วยค่ะ

9. ส่วน Olive oil, Coco butter lotion ทาเช้าเย็น ก็สามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้ แต่พบว่าผลการลดการเกิดรอยแตกลายไม่ชัดเจนนัก มีบางงานวิจัยพบว่าใช้ Olive oil massage อาจช่วยลดการเกิดรอยแตกได้บ้าง
🤰🏻ดังนั้น ก็อาจลองพิจารณา Olive oil massge แต่ข้อมูลน้อยมาก อาจต้องรอข้อมูลในอนาคตต่อไป

10. ในเรื่องการนวดผิว พบว่าการใช้ออยล์นวดเบา ๆ 15 นาที สามารถลดโอกาสการเกิดรอยแตกลายได้มากกว่าการทาเฉยๆ โดยไม่นวดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
🤰🏻 ดังนั้น หากใช้ออยล์ควรนวดด้วยอย่างน้อย 15 นาที เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

11. ปัจจุบันยังเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ก็คือว่า จริง ๆ แล้วผิวแตกลายในระหว่างการตั้งครรภ์นี้เป็นผลจากสกินแคร์ หรือ ผลจากการนวด หรือ เป็นผลร่วมกัน เพราะมีรายงานบางตัวที่ควบคู่กับการนวดแล้วเห็นผล แต่บางตัวก็ไม่เห็นผลต่าง
🤰🏻 ดังนั้น เรื่องนี้ก็อาจต้องติดตามข้อมูลต่อไปในอนาคตค่ะ

⭐️⭐️⭐️ HELLO SKIN Tips ⭐️⭐️⭐️

สุดท้าย อยากแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวลดการแตกลายในระหว่างตั้งครรภ์

✔️ คนท้องอาจไม่จำเป็นต้องเกิดท้องลายทุกคน เสมอไปเพราะมีหลายปัจจัย
✔️ การทาครีม,โลชั่นหรือออยล์ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ร่วมกับการนวดเบาๆร่วมด้วย 15-30 นาที สามารถช่วยลดโอกาสเกิดหน้าท้องลายจากการตั้งครรภ์ได้
✔️ รูปแบบออยล์เป็นรูปแบบที่กักเก็บและเพิ่มความชุ่มชื้นได้ดีที่สุด แต่อาจมีความเหนอะผิวหว่าแบบครีมหรือโลชั่น สามารถเลือกได้ตามความชอบ
✔️ แนะนำให้ทาผิว หลังอาบน้ำทันทีหลังจากเช็ดตัวให้หมาด และสามารถทาซ้ำได้บ่อย ๆ ระหว่างวันขึ้นกับผิวแต่ละบุคคล
✔️ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นผิว
✔️ เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน เลี่ยงการเกา เพราะจะทำให้ผิวแห้งแตกลายได้ง่ายขึ้น
✔️ หลังคลอดไปแล้วและหากยังมีปัญหาด้านรอยแตกลายที่ไม่จางลง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางให้การดูแลรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ยาทาในกลุ่มวิตามินเอ, การใช้เลเซอร์ต่าง ๆ เป็นต้น แต่ผลการรักษาอาจไม่ดีมากนัก ดังนั้นแนะนำให้ป้องกันไว้จะดีที่สุดค่ะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References
Harefuah. 2018 Dec; 157(12): 787-790.
J Clin Nurs. 2012 Jun; 21(11-12): 1570-6.
International Journal of Women’s Dermatology 2017; 3: 77–85.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s