
รอยที่หูแบบในรูป 👂เรียกว่า Frank’s sign หรือ Diagonal earlobe crease (DELC) ‼️
💔 คือ การมีรอยเส้นที่ลากจากบริเวณ Tragus เฉียงออกไปทางขอบติ่งหู (Earlobe) ยาวอย่างน้อย 2 ใน 3 ของความยาวติ่งหู ส่วนมากจะทำมุมประมาณ 45° โดยอาจพบมี 1 เส้นหรือมากกว่า และอาจพบที่หูข้างเดียวหรือสองข้าง โดยไม่ใช่รอยที่เกิดจาก การเจาะหู, การนอนทับเป็นประจำ หรือเกิดตามหลังบาดแผลอื่นใด
💔 เชื่อว่าอาจเกิดจากกลไกของ arterosclerotic process โดยอาจมีผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น Genetic, Microvascular structure หรือ vessel hemodynamics
💔 พบว่า ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial infarction) มีรอยนี้มากกว่าคนที่ไม่เป็นโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีรายงานเรื่องเหล่านี้
▫️Poorer survival rate
▫️Higher risk of cardiac death
▫️Increased risk of developing intra and postoperative cardiovascular complications
💔 ใน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีรอยนี้ พบว่าสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้มากกว่ากลุ่มที้ไม่มีรอย
▫️ อายุเยอะ
▫️ Coronary artery disease
▫️ Diabetes mellitus
▫️ Hypertension
▫️ Non-lacunar ischemic stroke
อาจบ่งบอกได้ว่า รอยนี้สัมพันธ์กับ long-standing arterosclersis
💔 Pathophysiology ของ Frank’s sign มีอธิบายไว้หลายอย่างในหลายงานวิจัย แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องกับ CAD, CVD เช่น
▫️ Poor blood supply to earlobe เนื่องจากไม่มี end arteries of earlobe
▫️ Elastin degeneration จากการทำ earlobe biopsy
▫️ Thickening of adventitia reticularis in the small vessels of earlobes
▫️ Endothelial dysfunction จากการตรวจมี lower flow-mediated vasodilation and nitroglycerine-induced vasodilation
▫️ Carotid intima media thickness
▫️ High calcium score from MRI Brain
ซึ่งจากการตรวจพบลักษณะข้างต้นนี้ จึงเป็นไปได้ว่า อาจสัมพันธ์กับเรื่อง aging และ arterosclerotic process
💔 ดังนั้นในทางกลับกัน คนที่ยังไม่เป็นโรคแต่มีรอยนี้ ควรให้ความสำคัญเพิ่มเติมกับการมองหา arterosclerotic risk ว่ามีร่วมด้วยหรือไม่ และแนะนำให้ปรับพฤติกรรมในการดูแลตัวเอง การทานอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ หากมีโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงหรือไขมันสูงอยู่ด้วยแล้ว ก็ควรต้องรักษาตัวให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในอนาคต

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
Reference
Neurol Sci.2020 Feb;41(2):257-262.
Med J Malaysia. 2017 Jun;72(3):195-196.
Am J Med. 2017 Nov;130(11):1324.e1-1324.e5.
ขออนุญาตใช้ภาพประกอบบทความจากกูเกิ้ลเพื่อการเรียนรู้
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.