
Update in Oral Isotretinoin for acne treatment
💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊
💯 เป็นยาอันตรายที่มีการควบคุมการใช้โดยแพทย์เท่านั้น ห้ามซื้อกินเองโดยไม่มีข้อบ่งชี้ และระวังยาปลอมลอกเลียนแบบ

💯 แคปซูลของยา มีส่วนผสมที่ทำจากพาราเบน -> ห้ามใช้ในคนที่แพ้พาราเบน
กลุ่มคนเหล่านี้ ควรหลีกเลี่ยงสารพาราเบนที่มักผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว
💯 ข้อบ่งชี้ -> ไม่แนะนำให้ซื้อกินเองหากไม่มีข้อบ่งชี้
▫️สิวหนองรุนแรง (Severe nodulocystic / papulopustular acne)
▫️ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น (Minimal response to previous treatment)
▫️กรณีอื่น ๆ อาจพิจารณาโดยแพทย์เป็นรายไป ได้แก่ Significant psychological concern, prone to scarring, limited use of antibiotics

💯 ขนาดที่ใช้ -> #doseอื่นยังไม่มีรายงานว่าได้ผล_หยุดยาเร็วเกินไปจะทำให้สิวกลับเป็นซ้ำ #แนะนำให้ทานหลังอาหารทันทีเพื่อเพิ่มการดูดซึมยา
▫️Standard dose : International guideline แนะนำเริ่มที่ 0.1-0.2 mg/kg/day เพิ่มจนถึง standard dose 0.5 mg/kg/day หากไม่มีข้อห้าม
▫️Low dose : 0.2-0.3 mg/kg/day กินอย่างน้อย 6-12 months
💯 ภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตายจากยา -> ซักประวัติซึมเศร้าของผู้ป่วยและครอบครัว พิจารณาเป็นรายๆไปและติดตามใกล้ชิด
▫️มีรายงานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า เป็น idiosyncratic effect ในคนมีประวัติครอบครัวมีภาวะ depression, MDD
▫️แต่ในบางรายงานพบว่า ทำให้ภาวะซึมเศร้าลดลงหลังจากใช้ยารักษาให้สิวดีขึ้น
💯 ผลข้างเคียงแบ่ง 3 อย่างหลัก ๆ ได้แก่
- Teratogenic ไม่ขึ้นกับ dose -> ตรวจการตั้งครรภ์ยืนยัน 2 ครั้งและคุมกำเนิด 2 วิธี
▫️เด็กพิการ คลอดก่อนกำหนด แท้ง
▫️ตรวจการตั้งครรภ์ : ก่อนรักษา 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน, หลังสิ้นสุดการรักษาแล้ว 1 เดือน
▫️อย่าลืม consent form, Pregnancy Prevention Program หรือ iPLEDGE
▫️คุมกำเนิด 2 วิธี : เริ่มตั้งแต่ก่อนรักษา 1 เดือน จนถึงหลังสิ้นสุดการรักษา 1 เดือน - Clinical
2.1 Cutaneous
▫️ปากแห้ง ตาแห้ง ผิวลอกแตกเป็นแผล เลือดกำเดาไหล เป็น dose-dependent จากการที่ยาทำให้เกิด sebum suppressive effect, epidermal dyscohesion
▫️ ผื่นรุนแรง Steven-Johnson syndrome, Toxic Epidermal Necrolysis เสียชีวิตได้
▫️บางรายเกิดสิวเห่อรุนแรง acne fulminans หลังการเริ่มทานยา มักเกิดในเดือนแรก
2.2 Extra-cutaneous
▫️เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ ทุกระบบตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ดังรูป -> คิดก่อนซื้อมากินเองเสมอว่าคุ้มแลกกับผลข้างเคียงหรือไม่
▫️อาการปวดหัวจากความดันในสมองสูงขึ้น หากทานคู่กับยาฆ่าเชื้อกลุ่ม tetracycline -> ห้ามให้ร่วมกัน - Laboratory
▫️ไขมันสูง -> ตรวจ cholesterol, triglyceride ก่อนเริ่มยา, หลังเริ่มยา 6 สัปดาห์ และต่อไปทุก 6 เดือน
▫️ตับอักเสบ -> ตรวจ SGOT, SGPT ก่อนเริ่มยา, หลังเริ่มยา 6 สัปดาห์ และต่อไปทุก 6 เดือน
▫️เอนไซม์กล้ามเนื้อสูง -> ตรวจ CPK ก่อนเริ่มยาในกรณีเคส moderate physical excercise
▫️Bone change

💯 ยาสิวมีผลต่อโครงสร้างของ skin barrier function -> #ใช้ครีมกันแดดและครีมบำรุงผิวร่วมด้วยเสมอ
▫️เพิ่มการสูญเสียน้ำ
▫️เพิ่มการสะสมเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ที่ผิวหนัง
▫️ผิวไวต่อแสงแดด
💯 วิธีการดูแลและป้องกันอันตรายต่อดวงตา
▫️หากตาแห้งควรหยอดตา
▫️เลี่ยงการใช้ contact lens
▫️สวมแว่นกันแดด
💯 วิธีการดูแลริมฝีปาก
▫️อาการปากแห้งนิด ๆ เป็นสัญญาณดีที่อยากให้มี บอกถึงการตอบสนองของยา
▫️ควรทาลิปมันหรือวาสลีนบ่อย ๆ และควรผสม SPF อย่างน้อย 15-30
💯 งดบริจาคเลือดในระหว่างรับประทานยา จนกระทั่งหลังหยุดยา 1 เดือน

โพสนี้อยากแชร์ให้เห็นถึงข้อมูลของยารับประทานรักษาสิว ซึ่งเป็นยาอันตรายที่ต้องควบคุมการจ่ายในสถานพยาบาลโดยแพทย์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันพบมีการนำมาขายตามร้านยา การฝากเพื่อนซื้อ หรือวิธีการใดก็ตาม และด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจเพราะกินตามเพื่อน หรือ ได้ข้อมูลมาเพียงบางมุมของยา เช่น กินแล้วหน้าใส ลดความมัน สิวหายเร็วกว่าการทายา แต่อยากถามว่า รู้ความจริงในอีกด้านดีแล้วหรือไม่ และ พร้อมรับความเสี่ยงต่อการกินยานี้โดยไม่มีข้อบ่งชี้แล้วหรือยัง
👩🏻⚕️ การรักษาสิวให้หาย อาจต้องใจเย็นและให้เวลากับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
👩🏻⚕️ในมุมมองของหมอในฐานะอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง ผ่านการรักษาเคสสิวรุนแรงมาไม่น้อย และพบเจอเคสสิวที่มีผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ยากินตัวนี้มาก็ไม่น้อยเช่นกัน การมีโอกาสได้เห็นทั้งมุมมืดและมุมสว่าง ทำให้หมอตระหนักถึงความปลอดภัยก่อนจ่ายยาตัวนี้ให้คนไข้เสมอ และอยากให้ทุกคนที่ได้อ่านโพสนี้ตระหนักในความปลอดภัยของตัวเองเช่นกัน
👩🏻⚕️ อย่ามัวกังวลว่าจะสวยช้า เอาเป็นว่า สวยช้าแต่สวยนานและปลอดภัยดีกว่าสิ่งอื่นใด คนไข้สิวของหมอไม่ต้องกินยาทุกคนก็หน้าใสกันได้หมดนะ ☺️
👩🏻⚕️ ใครกินอยู่ควรอ่าน เพื่อนใครกินควรแทคหรือแชร์ให้เพื่อนมาอ่านเช่นกัน
Reference:
Clinical, Cosmetic and Investigational Dermatology. 2019; 12: 943-951.
Journal of American Academy of Dermatology 2016; 74: 945-73.
When in doubt, ask your Board-certified Dermatologist
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.