ลิ้นแผนที่ ลิ้นแตกเป็นร่อง รักษาหายหรือไม่

💭: คุณหมอคะ..ลูกสาวดิชั้นมีแผนที่โลกอยู่ที่ลิ้น ทานส้มตำไม่ได้เลย แสบมาก ทำอย่างไรดีคะ จะรักษาหายมั้ยคะ ???

ลิ้นแผนที่

ลิ้นที่มีรูปร่างเหมือนแผนที่

👩🏻‍⚕️: ลิ้นที่มีรูปร่างเหมือนแผนที่ เรียกว่า Geographic Tongue หรือชื่ออื่น ได้แก่ Glossitis areata migrans, Lingua geographica, Benign migratory glossitis, Transitory benign plaques of the tongue ลักษณะเป็นปื้นที่ลิ้น บริเวณดังกล่าวเกิดจาก Papillae atrophy ทำให้เห็นเป็นปื้นเรียบๆ มีขอบนูนยก ซึ่งสามารถหายได้เอง และเกิดขึ้นใหม่ได้เองที่บริเวณอื่นในลิ้นและช่องปาก ทำให้เห็นเป็นแผนที่เคลื่อนย้ายไปมาได้บนลิ้น ดังรูปบริเวณปลายลิ้น

ลิ้นที่แตกเป็นร่อง

👩🏻‍⚕️: ลิ้นที่แตกเป็นร่อง เรียกว่า Fissured tongue หรือชื่ออื่น Scrotal tongue ลักษณะเป็นรอยแยกแฉกๆที่ลิ้น ดังรูปบริเวณกลางลิ้น ซึ่งมักพบร่วมกับ Geographic tongue ได้ถึง 1 ใน 3 ของคนไข้

ลิ้นลักษณะดังกล่าวเกิดจากอะไร ?

ภาวะนี้พบได้ 1-3% ของคนปกติ มักไม่ทราบสาเหตุการเกิด ไม่ถือว่าเป็นโรค จัดเป็นภาวะหนึ่งซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการแสดงของตุ่มรับรสผิดปกติ มีสีผิดปกติ โดยทั่วไปไม่มีอาการอะไร และอาจเกิดอาการเจ็บแสบเมื่อทานอาหารรสจัด เผ็ด ร้อน ทำให้รบกวนชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

ต้องตรวจหาโรคร่วมอื่นๆด้วยหรือไม่ ?

Geographic tongue อาจพบได้ในโรคบางอย่างหรือการได้รับยาบางชนิด ได้แก่
• Psoriasis
• Reiter syndrome
• Atopic dermatitis
• Down Syndrome
• Anemia
• Drugs: Lithium

Fissured tongue อาจพบได้ในโรคบางอย่าง ได้แก่
• Melkerson-Rosenthal syndrome
• Down syndrome
• Sjogren syndrome
• Achromegaly
• Psoriasis
• Pemphigus vegetans
• Pachionychia congenita
• Cowden syndrome

รักษาอย่างไร ?

โดยทั่วไปหากไม่มีอาการไม่ต้องรักษา ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่าเป็นภาวะที่เกิดได้เอง หายได้เอง โดยบางครั้งไม่มีสาเหตุ ไม่ใช่ภาวะร้ายแรง พบได้ในคนทั่วไป

หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด ซึ่งอาจกระตุ้นให้มีอาการแสบได้

ยาที่ช่วยลดอาการแสบและทุเลาอาการ ได้แก่
• Diphenhydramine elixir 12.5 mg/5 ml ผสมน้ำ 1:4 ช่วยลดความไวของการรับรสของลิ้น
• 2% viscous lidocaine ช่วยลดอาการแสบได้
• Topical corticosteroids เช่น TA oral paste หรือ dexamethasone กรณีที่มีอาการอักเสบรุนแรงของลิ้น

แนะนำรักษาความสะอาดในช่องปากให้ดี เพื่อลดการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา โดยเฉพาะเชื้อราแคนดิดา มีรายงานการใช้ยารักษาเชื้อราระยะสั้นช่วยทุเลาอาการได้

รักษาหายขาดได้หรือไม่ ?

• ยังไม่มีการรักษาจำเพาะที่ทำให้หายขาดได้
• เป็นภาวะที่หายได้เอง และเกิดขึ้นเองได้ใหม่ โดยไม่รู้สาเหตุ
• มีบางรายงานว่าสามารถหายขาดได้ ไม่เกิดซ้ำอีก
• คุณหมอควรแจ้งผู้ป่วยในเบื้องต้นเพื่อคลายความกังวลว่า เป็นภาวะที่พบได้ในคนปกติ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่อาจสร้างความรบกวนใจได้ในเวลาที่มีอาการแสบร้อนทานอาหารลำบาก
• ผู้ป่วยสามารถปฎิบัติตัวตามที่แนะนำเบื้องต้นเพื่อลดการเกิดอาการอักเสบและติดเชื้อแทรกซ้อนตามมาได้ค่ะ

References
• Reamy BV, et al. Common tongue conditions in primary care. Am Fam Physician. 2010 Mar 1;81(5):627-34.
• Masferrer E, Jucgla A. Geographic Tongue. NEJM 2009;361(20):e44.
• Bolognia 3rd Edition
• Fitzpatrick 8th Edition

เรียบเรียงบทความโดย แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ

👩🏻‍⚕️ HELLO SKIN by หมอผิวหนัง

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s