โรคเซบเดิร์มหรือโรครังแคบนหนังศีรษะ รักษาอย่างไรให้ถูกวิธี ‼️

Seborrheic dermatitis or Dandruff

ไม่มีวันไหนที่เดินออกจากบ้านแล้วไม่เจอคนเป็นโรคนี้แน่นอนค่ะ มาทำความรู้จักกัน

โรคเซบเดิร์มเกิดจากอะไร

👩🏻‍⚕️: ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่ามีหลายปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะผิวหนังอักเสบชนิดนี้ ได้แก่
📌 ผิวมัน จึงเห็นได้ว่า มักเกิดผื่นบริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะ เช่น ร่องแก้ม หัวคิ้ว หนังศีรษะ อก หลัง เป็นต้น
📌 เชื้อรา Malassezia ซึ่งชอบไขมัน
📌 สภาพอากาศ โดยเฉพาะอากาศเย็น ความชื้นต่ำ ผิวแห้ง จะทำให้ผื่นเห่อมากขึ้น
📌 ความเครียด นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้มีอาการกำเริบของผื่นได้
📌 การดื่มสุรา
📌 การเสียดสี แกะเกาผิวหนัง เป็นการกระตุ้นอีกทางที่ทำให้ผื่นเห่อมากขึ้น
📌 ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ ที่มี Mutation of ZNF750

ใครมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้บ้าง

👩🏻‍⚕️: ผู้ที่ผิวมัน, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เอชไอวี (CD4 200-500 cell/mm3), ผู้ป่วยระบบประสาท เช่น อัมพฤกษ์อัมพาต พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ลมชัก
***ดังนั้นควรนึกถึงและตรวจหาภาวะเอชไอวีร่วมด้วยเสมอถ้าหากมีลักษณะของเซบเดิร์มที่น่าสงสัย คือ
🔥 อาการรุนแรง ผื่นลามบริเวณกว้าง (Severe, extensive disease)
🔥 ไม่ตอบสนองการรักษา (Refractory disease)


มีภาวะขาดวิตามินอะไรบ้างที่แสดงอาการเช่นนี้ได้

👩🏻‍⚕️: B2, B6, Zinc deficiency


โรคนี้หายขาดหรือไม่และรักษาอย่างไร

👩🏻‍⚕️: โรคเซบเดิร์มเป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาให้ภาวะกำเริบหายเร็วขึ้น ส่วนมากใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ต่อการรักษาในแต่ละครั้งของการกำเริบ

🌈 ยาในกลุ่มยาทา
☘️ ยาทากลุ่มสเตอรอยด์
☘️ ยาทาฆ่าเชื้อรา 2% Ketoconazole cream
☘️ ยาทากลุ่ม Calcineurin inhibitor เช่น Tacrolimus, Pimecrolimus
☘️ แชมพูสระผมที่มีส่วนผสมของ Selenium sulfide, Ketoconazole, Zinc, Tar เพื่อลดอาการรังแคที่หนังศีรษะ
☘️ กรณีผื่นที่ลำตัว อาจใช้แชมพูดังกล่าว ผสมน้ำฟอกทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วล้างออกตามด้วยการอาบน้ำปกติ

🌈 ยาในกลุ่มรับประทาน (กรณีโรครุนแรง ดื้อต่อการรักษา ควรได้รับการรักษาควบคุมโดยแพทย์)
☘️ ยากินฆ่าเชื้อรา Itraconazole 200 mg/day นาน 1 สัปดาห์
☘️ ยากินกลุ่มอนุพันธ์ของวิตามินเอ Isotretinoin 10 mg AD นาน 3-4 เดือน ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย

🌈 การฉายแสง Narrow Band UVB สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จนหาย

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคเซบเดิร์ม

👩🏻‍⚕️: ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าเป็นโรคที่ไม่หายขาด การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นเป็นการป้องกันการกำเริบของโรคที่ดีที่สุดค่ะ และหากมีการกำเริบ ควรมาพบแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี

สุดท้ายนี้เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมักถามเสมอถึงการใช้ครีมต่างๆในช่วงที่มีอาการกำเริบ ดังนี้นะคะ

🎭 ล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด และทาครีมบำรุงเพิ่มความชุ่มชื้นเพื่อป้องกันผิวแห้ง
🎭 เลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮอล์ หรือผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้ผื่นกำเริบ เช่น After shave, Toner, Hair spray
🎭 หลีกเลี่ยงการแกะเกาบริเวณผื่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนค่ะ


References

• Fitzpatrick 8th edition
• Bolognia 4th edition
• ภาพถ่ายได้รับการขออนุญาตจากผู้ป่วยเพื่อการเรียนรู้ ห้ามมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเพจค่ะ

บทความลิขสิทธิ์ © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s