💭 คุณหมอคะ เพื่อนแนะนำให้ไปซื้อซีม่าโลชั่นมาทาให้ศอกเข่าขาวใส หนูเห็นคนบอกว่าเป็นยาฆ่าเชื้อรา.. หนูควรซื้อมาทาให้ขาวดีมั้ยคะ ?

👩🏻⚕️: ก่อนอื่นหมอต้องแก้ไขความเข้าใจด้วยการอธิบายก่อนว่า ซีม่าครีม และซีม่าโลชั่น มีส่วนประกอบต่างกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดในการเลือกใช้ได้
🔹 ซีม่าครีม คือ 1% Clotrimazole
🔹 ซีม่าโลชั่น คือ 11.8% Salicylic acid + 3.8% Resorcinol + 0.825% Phenol
👩🏻⚕️: ทาซีม่าโลชั่นแล้วแสบ แต่ครีมไม่แสบ ?
🔹 เพราะซีม่าโลชั่นมีส่วนประกอบของกรดอ่อนๆ อาจทำให้มีการระคายเคืองผิว แสบร้อน มีการหลุดลอกของผิว ทำให้ขาวขึ้นได้ หากเป็นรุนแรงอาจมีอาการไหม้ของผิวและเกิดแผล รอยดำ ตามมาได้
ส่วนแบบครีมนั้น ไม่มีส่วนผสมดังกล่าว จึงทาแล้วไม่แสบ ความคิดที่ว่าซีม่าครีมดีกว่า อ่อนกว่า ทาแล้วไม่แสบไม่ไหม้ เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง
👩🏻⚕️: สามารถใช้ทากรณีใดบ้าง
🔹 ซีม่าครีม ใช้รักษาภาวะติดเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุต
🔹 ซีม่าโลชั่น ใช้รักษาภาวะผิวอักเสบหรือเชื้อรา ในบริเวณที่มีผิวหนาด้าน เช่น ศอก เข่า เท้า
👩🏻⚕️: ที่มาของซีม่าโลชั่นห้ามทาไข่
🔹 เพราะมีส่วนประกอบของสารที่เป็นกรดอ่อนๆ อย่างที่กล่าวไป การทาในบริเวณที่บอบบาง เช่น ไข่ จะทำให้มีอาการแสบร้อน ไหม้ ทุรนทุรายได้ จึงเป็นที่มาของคำว่า #ซีม่าโลชั่นห้ามทาไข่
🔘🔘🔘🔘🔘🔘🔘🔘🔘🔘
🏳️🌈 ซีม่าครีมทาสังคังได้ เพราะมียาฆ่าเชื้อรา
🏳️🌈 ซีม่าโลชั่นห้ามทาไข่ เพราะมีความเป็นกรด
🏳️🌈 ภาพถ่ายนำมาจาก google ขออนุญาตผู้ประกอบการใช้เพื่อการเรียนรู้
🏳️🌈 หากเจอผู้ป่วย อย่าลืมถามว่าทาชนิดครีมหรือโลชั่น และเลือกใช้ให้ถูกวิธีนะคะ
เรียบเรียงบทความโดย แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ อายุรแพทย์โรคผิวหนัง ⚕️ HELLO SKIN