
หลายคนที่หวังผล Anti-aging จากการทา Tretinoin แต่ประสบปัญหาหน้าแดง แสบ ลอก ไม่ว่าจะลองปรับลดความถี่ ลดความเข้มข้น เสริมสกินแคร์เพิ่มความชุ่มชื้นมากมาย แต่ก็ไปไม่รอด อยากให้ลองอ่านบทความนี้ เกี่ยวกับสกินแคร์ในรูปแบบทา ที่ออกฤทธิ์ anti-aging ได้คล้ายคลึงกับ tretinoin นั่นก็คือ อนุพันธ์วิตามินเอ (Vitamin A derivatives) และ Bakuchiol
เรามาทำความเข้าใจพื้นฐานเล็กน้อยกันก่อนค่ะ
ก่อนจะมาเป็น Retinoic acid จะต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารตั้งตั้น คือ Retinyl ester Retinol Retinaldehyde -> Retinoic acid ซึ่งเป็นสารตัวที่สามารถซึมลงสู่ผิวชั้นหนังแท้และออกฤทธิ์ได้ที่ผิวหนังในที่สุด

โดยปกติมีการแบ่งวิตามินเอชนิดทา เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มยา ได้แก่ Tretinoin ( retinoic acid) ต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์เพราะมีผลข้างเคียงระคายเคืองมากกว่า โดยปกติจึงไม่แนะนำให้ซื้อใช้เอง สามารถอ่านทบทวนบทความที่เคยเขียนไว้ก่อนนี้ได้ค่ะ
- กลุ่มสกินแคร์ ได้แก่ Natural vitamin A derivatives และ Bakuchiol ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ยา และมักถูกนำมาผสมในสกินแคร์เพื่อหวังผลด้าน antiaging ได้แก่

2.1 Retinaldehyde
เป็น retinoic acid precursor ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็น retinoid acid ได้ที่ keratinocyte ที่ผิวมนุษย์เพียง 1 ขั้นตอน พบว่าใช้ได้ผลในแง่ antiaging อยู่ที่ความเข้มข้น 0.05 – 0.5% โดยหลังการทาผิว 1-3 เดือน มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่
• ความหนาของผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermal thickness) เพิ่มขึ้น
• ความยืดหยุ่นผิว (cutaneous elasticity) เพิ่มขึ้น
• สภาพผิวเรียบขึ้น ริ้วรอยเล็ก ๆ ดีขึ้น (Texture improvement)
• ค่าการสูญเสียน้ำจากผิว (TEWL) ลดลง ผิวชุ่มชื้นขึ้น
• ค่าการสร้างเม็ดสีผิว (Melanin index) ลดลง ในกรณี Retinaldehyde 0.1% ขึ้นไป
มีข้อมูลเปรียบเทียบการทา retinaldehyde 0.05% กับ การทายา retinoic acid 0.05% พบว่าหลังการทานาน 18 – 44 สัปดาห์ ริ้วรอยเล็ก ๆ (Fine wrinkle) และผิวที่ไม่สม่ำเสมอ (Roughness) ดีขึ้นทั้งสองชนิด
ดังนั้น การทา retinaldehyde จึงเป็นอีกทางเลือกที่มีข้อมูลรองรับและน่าสนใจสำหรับคนที่ไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาทากรดวิตามินเอ (retinoic acid) ได้ และสามารถใช้ได้ในระยะยาวแม้บริเวณผิวที่มีการระคายเคืองง่าย

2.2 Retinol
เป็นตัวตั้งต้นของ retinaldehyde และต้องผ่าน 2 ขั้นตอนในการเปลี่ยนเป็น retinoic acid นิยมใช้สำหรับผสมในสกินแคร์ ที่ผ่านมามีการศึกษาพบว่าหลังการทา retinol มีการเพิ่มขึ้นของ epidermal retinyl ester แต่ไม่มีการเพิ่มของ retinoic acid level
มีการศึกษาที่ใช้ 0.4-1% retinol ชนิดทาผิว พบว่าปริมาณ collagen ที่ผิว เพิ่มขึ้นหลังการทา 4 สัปดาห์ แต่ประสิทธิภาพต้องขึ้นกับ vehicle ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์นั้นร่วมด้วย คงต้องรอข้อมูลในอนาคตเพิ่มเติม และ retinol จะสลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงและอากาศ ต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะ
ข้อดีของกลุ่มนี้คือ อ่อนโยน ระคายเคืองน้อย

2.3 Retinyl-palmitate, retinyl propionate และ retinyl-acetate
จัดเป็น vitamin A ester derivatives กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้ผลน้อยที่สุดในบรรดา topical retinoids ทั้งหมด เพราะต้องผ่านขั้นตอนการตัดพันธะ ester ให้กลายเป็น retinol และเกิดการ oxidation เพื่อให้เป็น tretinoin อีกที เรียกได้ว่ากว่าจะออกฤทธิ์ได้ต้องผ่านถึง 3 ขั้นตอน และการดูดซึมก็ไม่ดีเท่าที่ควร
ข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มนี้อาจช่วยเรื่อง UV protection ได้เล็กน้อย แต่ยังไม่มีข้อมูลช่วยเรื่อง antiaging

2.4 Bakuchiol
เป็น purified meroterpene phenol สารสกัดจากพืช Psoralea corylifolia (babchi) พบว่ามีคุณสมบัติกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ผลัดเซลล์ผิว ลดการอักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องสิวได้
โดยพบว่าการทา 0.5% Bakuchiol นาน 12 สัปดาห์ ช่วยให้ริ้วรอยเล็ก ๆ ดีขึ้นได้เทียบเคียงกับการทา 0.5% Retinol
นอกจากนั้นยังช่วยให้รอยดำดีขึ้นเพราะช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวร่วมด้วย และยังพบผลข้างเคียงเรื่องระคายเคืองน้อยที่สุดและน้อยกว่า Retinol
ดังนั้น Bakuchiol จึงเป็นน้องใหม่ที่น่าสนใจอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่ทนผลข้างเคียงเรื่องการระคายเคืองของ tretinoin ไม่ได้

เหนือสิ่งอื่นใดหากต้องการให้ผิวแลดูอ่อนเยาว์ไปนาน ๆ นอกจากการใช้สกินแคร์กลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอแล้ว ต้องไม่ลืมที่จะ ดูแลกำแพงผิวพื้นฐานให้แข็งแรงและเพิ่มความชุ่มชื้นควบคู่ไปด้วยเสมอ โดยมองหาสกินแคร์เหล่านี้ร่วมด้วย
สกินแคร์ที่มีส่วนผสมพื้นฐานของผิว ได้แก่ ceramide, hyaluronic acid หลายโมเลกุล และสกินแคร์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น niacinamide, vitamin C, E, ferulic, ectoin เป็นต้น

การใช้สกินแคร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลผิว เพื่อให้ผิวของเรามีสุขภาพดี ซึ่งคงต้องทำควบคู่ไปกับวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ งดสูบบุหรี่ การปกป้องผิวจากแสงแดดร่วมด้วยอย่างถูกวิธี ทั้งนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า
ยกตัวอย่างการจัดสกินแคร์พื้นฐานเพื่อชะลอผิวเสื่อมตามวัย
▫️ชิ้นที่ 1 ผลิตภัณฑ์กันแดด
▫️ชิ้นที่ 2 The Concentrate 25.8 Serum Booster ซึ่งมีอนุพันธ์วิตามินเอ (0.1% Retinaldehyde, 1% Bakuchiol) + สารต้านอนุมูลอิสระและส่วนผสมลดการสร้างเม็ดสี (10% Niacinamide, 4% Ascorbyl glucoside, Purified bromelain)
▫️ชิ้นที่ 3 Be-Barrier 24.7 Restoring Serum ซึ่งมีส่วนผสมบำรุงกำแพงผิวพื้นฐาน (10% Ceramide complex, 8 Hyaluronic acid, 2% Ectoin) + ส่วนผสมลดการสร้างเม็ดสี (3% Tranexamic acid)
[อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ]
BOTTOM LINE
โดยสรุป วิตามินเอรูปแบบทาเพื่อหวังผลเรื่อง Antiaging
ตัวที่มีข้อมูลรับรองมากที่สุดคือ กลุ่มยาทา Tretinoin เป็นยาที่ต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์ การระคายเคืองมาก
ถ้าในแง่สกินแคร์ของอนุพันธ์วิตามินเอที่ได้ผลด้าน Anti-aging อาจพิจารณา Retinaldehyde ซึ่งมีข้อมูลประสิทธิภาพมากที่สุด หรือทางเลือกอื่นที่ระคายเคืองน้อยกว่าและข้อมูลรองลงมา เช่น Bakuchiol (ระคายเคืองน้อยที่สุด) หรือ Retinol
ส่วนกลุ่มที่ปัจจุบันพบว่าไม่ค่อยช่วยเรื่อง anti-aging ได้แก่ กลุ่ม Vitamin A ester คงต้องรอข้อมูลในอนาคตต่อไป
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการดูแลผิวสำหรับทุกท่านที่กำลังหาข้อมูลเรื่องวิตามินเอทาผิวอยู่นะคะ ถ้าชอบสามารถแชร์ให้เพื่อน ๆ อ่านได้เลย

References
J Cutan Med Surg. 2022 Jan-Feb;26(1):71-78.
Br J Dermatol. 2019 Feb;180(2):289-296.
J Cosmet Dermatol. 2018 Jun;17(3):471-476.
J Dermatolog Treat. 2017 Dec;28(8):684-696.
Aesthet Surg J. 2010 Jan;30(1):74-7.
Br J Dermatol 2008;158: 472-477.
Clin Dermatol 2008;26:633-635.
Arch Dermatol 2007;143:606-612.
Clin Interv Aging. 2006;1(4):327-48.
Dermatol Therapy 2006;19:289-296
[Disclaimer] สนับสนุนบทความโดย HERBITAGE
ทำการพัฒนาสูตรร่วมกับสถาบัน KAPI ม.เกษตร โดยเป็นการต่อยอดเชิงพาณิชย์ให้แก่งานวิจัยด้าน Purified Extract จากพืชผลการเกษตรของไทย
สูตรแรก HERBITAGE The Concentrate 25.8 Serum Booster (สีเขียว)💚
ช่วยเสริมการรักษาสิว ริ้วรอยเล็ก ๆ ดูดีขึ้น รูขุมขนแลดูเล็กลง
ส่วนประกอบหลัก
0.1% Retinaldehyde เป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอที่มีข้อมูลประสิทธิภาพด้าน anti-aging มากสุดในกลุ่มเครื่องสำอาง
1% Bakuchiol สารสกัดวิตามินเอจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์คล้ายเรตินอล อ่อนโยน
10% Niacinamide, 4% Ascorbyl glucoside ลดการสร้างเม็ดสีผิว
Purified bromelain เอนไซม์เหง้าสับปะรดบริสุทธิ์ จาก ม.เกษตรศาสตร์ สารต้านอนุมูลอิสระ
เนื้อสัมผัสบางเบา ซึมง่าย ไม่ระคายเคือง
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร, คนแพ้วิตามินเอและอนุพันธ์, ผู้ที่มีผิวหนังอักเสบ เช่น เซบเดิร์ม
สูตรสอง HERBITAGE Be-Barrier 24.7 Restoring Serum (สีน้ำเงิน)💙
ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น เสริมกำแพงผิว ผิวแลดูกระจ่างใส ต่อต้านมลภาวะ
ส่วนประกอบหลัก
2% Ectoin ช่วยเสริมความแข็งแรงของผิว
10% Ceramide complex ช่วยฟื้นฟูกำแพงผิว
3% Tranexamic acid ช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว
8 Hyaluronic acids ช่วยเติมน้ำ เพิ่มความชุ่มชื้นผิว
Liquid Crystal Emulsion ช่วยนำพาสารออกฤทธิ์เข้าสู่ผิวได้ดีขึ้น

ข้อมูลการทดลองจากทาง HERBITAGE โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าหลังการใช้ผลิตภัณฑ์คู่กัน 28 วัน ในอาสาสมัคร 30 คน ริ้วรอยตื้นขึ้น 21.2%, ผิวชุ่มชื้นขึ้น 64.5% และ ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น 6.45%
*ผลลัพธ์ต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละบุคคล

ข้อมูลเพิ่มเติม Link ร้านค้าอย่างเป็นทางการ (ป้องกันของปลอม)
Shopee : https://bit.ly/2PmOxy7
Lazada : https://bit.ly/3fzwrUy
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.