Tag Archives: ผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน

เป็นสิว ผิวมัน แต่ขาดน้ำ..แก้อย่างไร

โพสต์นี้อยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับ ซีบุ่ม (Sebum) กับ การเกิดสิว เพราะหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสิวนั้นเกี่ยวกับ Sebum ที่เปลี่ยนไป

ซีบุ่ม หลั่งออกมาจากต่อมไขมันซึ่งพบได้หลายส่วนของร่างกายรวมทั้งที่ผิวหนัง มีหน้าที่ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น ไม่ให้ผิวแห้ง สร้างสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ เช่น วิตามินอี ซึ่งช่วยคงสมดุลของไขมันผิว และนอกจากนั้น ซีบุ่มยังมีสารป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังได้อีก

หน้าที่ของ sebum

ผิวคนเป็นสิวง่าย พบว่าส่วนประกอบไขมันที่กำแพงผิว เช่น sphingolipids (ceramides, free sphingosine) ลดลง จึงทำให้ผิวสูญเสียน้ำได้ง่ายขึ้น และมีการก่อตัวของ comedone ขึ้นมา

Sebum กับ ผิวที่เป็นสิว ผิวมัน ขาดน้ำ

นอกจากนั้น ผิวคนเป็นสิวง่ายอาจมีโครงสร้างและการทำงานต่อมไขมันผิวที่ผิดปกติ ร่วมกับเกิดการเปลี่ยนแปลงไขมันผิวร่วมด้วย ได้แก่

1. การผลิตไขมันผิวมากขึ้น (Hyperseborrhea)

โดยเฉพาะบริเวณ T-zone (ในคนอายุน้อยกว่า 25 ปี) และ U-zone (ในคนอายุมากกว่า 25 ปี)

ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น testosterone, progesterone, sex hormone binding globulin

2. การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบไขมันผิว (Dysseborrhea)

Oxidised squalene, Oleic acid, triglyceride, wax ester/cholesterol ester สูงขึ้น

Linoleic acid, FFA ลดลง 

สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น vitamin E ลดลง

จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมผิวที่เป็นสิวง่ายจึงอาจมีความมันมากขึ้น ในขณะที่ผิวขาดน้ำเพราะกำแพงผิวหนังไม่แข็งแรงนั่นเอง

PRACTICAL POINT

เคล็ดลับการเลือกสกินแคร์สำหรับคนที่เป็นสิว มีผิวมัน แต่ขาดน้ำ แนะนำมองหาคุณสมบัติที่แก้ไขข้อบกพร่องตามข้างต้น ดังนี้

สกินแคร์สำหรับสิว ผิวมัน ขาดน้ำ

✔️ Sebum controller มีตัวช่วยควบคุมปริมาณและคุณภาพของน้ำมันผิว

✔️ Anti oxidation มีสารต้านอนุมูลอิสระ

✔️ Anti inflammation มีตัวช่วยลดการอักเสบสิว

✔️ Barrier repairment มีตัวเสริมความแข็งแรงของกำแพงผิวส่วนที่ขาดไป

ยกตัวอย่าง สกินแคร์ที่มีคุณสมบัติข้างต้น เช่น Bioderma Sebium Sensitive

Clinical trial : มีข้อมูลการศึกษาในคนเป็นสิว ผิวมัน ขาดน้ำพบว่าสามารถลดปริมาณไขมันผิว คุมมัน เสริมกำแพงผิว และพบว่าผิวมี TEWL ลดลง กล่าวคือ การสูญเสียน้ำทางผิวลดลง [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ]

สกินแคร์สำหรับคนเป็นสิวควรเลือกให้เหมาะ และเป็นสิ่งที่ควรมีควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยาเพราะจะช่วยเสริมการรักษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นค่ะ 

ด้วยความปรารถนาดี

หมอลูกเจี๊ยบ แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ

——————————————

References

Arch Dermatol Res. 1995;287(2):214-8.

J Eur Acad Dermatol Venereol. 2013;27:301-306.

Int J Cosmet Sci. 2014 Jun;36(3):221-30. 

Clinical, Cosmetic and Investigational Dermatology 2015:8 187–191.

Arch Dermatol Res. 2017 Sep;309(7):529-540.

Br J Dermatol. 2019 Oct;181(4):677-690.

Sci Rep. 2021 Sep 3;11(1):17974. 

——————————————

[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย

Bioderma Sebium Sensitive

ครีมบำรุงสำหรับคนเป็นสิว ผิวแพ้ง่าย ขาดน้ำ ปรับสมดุลความมัน เติมน้ำให้ผิวชุ่มชื้นยาวนาน 12 ชม. สามารถใช้ร่วมกับยารักษาสิวได้

Bioderma sebium sensitive

ACTIONS:

SEBORESTORE technology ช่วยปรับสมดุลซีบัมและลดการเกิดสิวใหม่

• INFLASTOP™ Complex ช่วยลดการออกฤทธิ์ของสารอักเสบ ลดการระคายเคืองผิว

• FLUIDACTIV™ patent ลดความเหนียวข้นของซีบัม

Bakuchiol สารต้านอนุมูลอิสระ ออกฤทธิ์ 2 เท่าของวิตามินอี

Biomimetic Glycerin เสริมความชุ่มชื้นผิว

Zinc Gluconate ช่วยลดการผลิตน้ำมันผิว

Clinical Studies:

มีการศึกษาผิวคนไทย หลังการทาครึ่งหน้า เช้าเย็นติดต่อกัน 4 สัปดาห์ (เทียบกับหน้าอีกข้างที่ทายาสิว) พบว่า

✔️ ปริมาณไขมันลดลง

✔️ ความชุ่มชื้นผิวเพิ่มขึ้น

✔️ ค่าการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง (TEWL) หลังการทายาสิว เพิ่มขึ้นน้อยกว่าข้างที่ไม่ทา 

✔️ จำนวน comedone และ สิวอักเสบ น้อยกว่า

เมื่อเทียบกับอีกข้างที่ทาเฉพาะยาสิว

*การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

——————————————

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Oral minoxidil ช่วยเรื่องผมบาง แต่บางคนอาจเกิดขนดกที่อื่นตามมา

รูปนี้น่าสนใจ นำมาจาก Journal of American Academy of Dermatology เลยอยากมาเล่าให้ฟังสั้น ๆ ค่ะ

Oral minoxidil เป็นยาที่ FDA-approved ในรักษา ภาวะความดันโลหิตสูง โดยขนาดยาที่ใช้คือ 10-40 มก/วัน และค่อย ๆ ปรับขึ้นได้ถึง 100 มก/วัน นอกจากนั้น ยังมีการนำมาใช้แบบ off-label ในการรักษาภาวะผมบางและปัญหาทางเส้นผมอื่น แต่กรณีนี้จะใช้ขนาดยาที่ต่ำลงมา คือ 0.25-5 มก/วัน เรียกว่า Low-dose oral minoxidil (LDOM)

มีการศึกษาที่เพิ่งตีพิมพ์ใน JAAD โดยทำการศึกษาในผู้ป่วย 105 คน ที่ใช้ LDOM ตั้งแต่ Jan 2019-June 2020 เพื่อรักษาภาวะผมบาง พบว่ามีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้

• พบว่า ส่วนใหญ่ 90% เริ่มมีขนขึ้นมากกว่าปกติ หลังทาน LDOM ไปแล้วประมาณ 2-3 เดือน แต่บางคนอาจยาวนานได้ถึง 6 เดือนค่อยมีขนดกก็เป็นได้เช่นกัน

• พบว่า ยิ่งทาน dose สูงขึ้น ขนดกยิ่งเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

บริเวณที่มักมีขนขึ้นเยอะ ได้แก่
มากที่สุด ได้แก่ ขมับ และ ข้างแก้ม (70-80%)
รองลงมา คือ ต้นแขน, หนวด และเครา (30-50%)
พบไม่มาก คือ หน้าผาก, หว่างคิ้ว และแก้ม (5-20%)
ดังรูป

ส่วนใหญ่ขนขึ้นเยอะจากการทานยา minoxidil มักไม่ค่อยรุนแรง บางครั้งผู้ป่วยบางคนแทบไม่ได้กังวลใจด้วยซ้ำ

ในขณะบางคนก็อาจกังวล และได้รับการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น เลเซอร์กำจัดขน แว๊กซ์ โกน ครีมกำจัดขน ถอนขน ฯลฯ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามอะไร แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าเป็นการกำจัดขนเพียงชั่วคราว เพราะหากยังทานยาต่อก็อาจมีขนขึ้นมาใหม่ได้อีก

บางเคสลดขนาดยา minoxidil ก็ช่วยให้ภาวะขนดกนี้ดีขึ้นได้เช่นกัน แต่ก็มีส่วนน้อยที่ต้องหยุดทานยา (4%)

ดังนั้น ถ้าหากใครที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังและเส้นผม เพื่อให้คำแนะนำการรักษาขนที่ขึ้นเยอะจนอาจทำให้รำคาญใจ โดยที่อาจจะยังไม่จำเป็นต้องหยุดทานยาก็ได้ค่ะ

Reference:
Characterization and management of hypertrichosis induced by low-dose oral minoxidil in the treatment of hair loss.
https://www.jaad.org/article/S0190-9622(20)32594-9/fulltext

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

10 ข้อสรุป ผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน ‼️

10 ข้อควรรู้ เรื่องผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน ‼️

👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻

1️⃣⭐️ ในเพศชาย เรียก Male Androgenetic Alopecia หรือ Male Patterned Hair Loss (MPHL) ในเพศหญิง เรียก Female Androgenetic Alopecia หรือ Female Patterned Hair Loss (FPHL)

ที่เรียกชื่อแบบนี้เพราะลักษณะของผมที่บาง จะมีแพทเทิร์นที่มีลักษณะเฉพาะ โดยมีปัจจัยหลัก 2 อย่าง คือ พันธุกรรม และ/หรือ ฮอร์โมน
👴🏻ดังนั้น บางคนอาจไม่มีพันธุกรรมร่วมด้วยก็ได้

2️⃣⭐️ ปัจจัยเรื่องฮอร์โมนแอนโดรเจนจะทำให้เส้นผมบางบริเวณมีขนาดเล็กลง โดย เพศหญิงมักเริ่มบางจากกลางศีรษะก่อน และ เพศชายมักเริ่มเถิกจากหน้าผากบริเวณขมับสองข้าง ขึ้นไปเป็นรูปตัว M ต่อมาจะเริ่มบางบริเวณกลางศีรษะ และหากเป็นเยอะก็จะลามออกมารวมกับด้านหน้า ดังรูป แต่ในเพศหญิงบางคนอาจบางรูปแบบของเพศชายได้
👴🏻ดังนั้น บริเวณที่ตอบสนองต่อการทายา คือบริเวณดังกล่าวนั่นเอง ส่วนบริเวณอื่นที่ไม่ได้มีอิทธิพลจากฮอร์โมนอาจต้องรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น ปลูกผม

3️⃣⭐️ กรณีฝาแฝด หากคนหนึ่งผมบาง พบว่าส่วนมากอีกคนมักเกิดขึ้นเช่นกัน เพราะส่วนหนึ่งเกิดจาก ปัจจัยเรื่องพันธุกรรมร่วมด้วย
👴🏻ดังนั้น คู่แฝดส่วนใหญ่มัก หัวล้าน/ไม่ล้าน เหมือนกันทั้งคู่ แต่ก็ไม่เสมอไป 100%

4️⃣⭐️ คนหัวล้านหรือผมบาง ควรต้องระวังเรื่องการป้องกันแสงแดดให้ดี เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งผิวหนังที่บริเวณหนังศีรษะเพิ่มขึ้นได้
👴🏻ดังนั้น แนะนำให้ใส่หมวก กางร่ม เวลาออกกลางแดด และหากมีตุ่มหรือแผลผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อประเมิน

5️⃣⭐️ ในเพศหญิงอายุน้อยที่ผมบางเร็ว อาจมี ปัจจัยอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้เกิด FPHL ได้ เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก ขาดวิตามินบางชนิด เป็นต้น
👴🏻ดังนั้น กลุ่มนี้แนะนำให้พบแพทย์เพื่อ ตรวจเลือดหาสาเหตุร่วมด้วยเสมอ ก่อนด่วนสรุปว่าเป็นจากฮอร์โมนหรือพันธุกรรมเพียงเท่านั้น เพราะคนไข้อาจเสียโอกาสในการรักษาด้วยวิธีอื่นที่ตรงสาเหตุร่วมด้วย

6️⃣⭐️ มีงานวิจัยพบว่าคนผมบางหัวล้านมีความกังวลและเครียดมากขึ้น บางรายมากจนถึงขึ้นเป็นโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะเพศหญิงจะมากกว่าเพศชาย ซึ่งพบว่า คนไม่ประสบปัญหานี้อาจไม่เข้าใจ
👴🏻ดังนั้น แนะนำว่าหากเป็นไปได้ไม่ควรล้อเลียนผู้อื่นเรื่องนี้ เพราะอาจเป็นปัจจัยทำให้สภาวะทางจิตใจแย่ไปกว่าเดิม

7️⃣⭐️ เพศชายที่ผมบางตั้งแต่ Grade 3 ขึ้นไป ก่อนอายุ 30 ปี (โดยเฉพาะคนที่ผมบางกลางศีรษะ > เถิกที่หน้าผาก) พบมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดมากขึ้น
👴🏻ดังนั้น ควรหมั่นดูแลสุขภาพให้ดี ดูแลเรื่องอาหารการกิน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ

8️⃣⭐️ ภาวะนี้ไม่เร่งด่วน การรักษาขึ้นกับความต้องการและความพึงพอใจของแต่ละคน และการรักษาในแต่ละวิธีต้องอาศัยความต่อเนื่องไปตลอด ไม่ว่าจะกินหรือทายา หรือแม้กระทั่งปลูกผมแล้วก็ยังต้องกินยาและทายาต่อไป เพราะหากหยุดการรักษาก็อาจทำให้ ผมกลับมาบางได้อีก
👴🏻ดังนั้น ควรตัดสินใจก่อนเริ่มการรักษาให้ดีก่อนเริ่มต้นการรักษาไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม และการตอบสนองต่อการรักษาของแต่ละคนต่อการรักษาแต่ละวิธีก็ไม่เหมือนกัน เนื่องจากขึ้นกับหลายปัจจัย และหากไม่แน่ใจก็ แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อประเมินก่อนว่าเป็นภาวะนี้จริงหรือไม่ ก่อนเริ่มทำการรักษา

9️⃣⭐️ การรักษามีหลายวิธี

✔️ ใส่วิก

✔️ ยาทา ได้แก่
▫️ Topical minoxidil (FDA approved)
3-5% minoxidil ในเพศชาย
2% minoxidil ในเพศหญิง
**ระยะเวลาเริ่มเห็นผลชัดเจน คือ 6-12 เดือน
**หลังเริ่มใช้อาจมีผมร่วงมากขึ้นใน 2-8 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นต่อไปผมจึงจะเริ่มขึ้น
**หากหยุดทายา ผมจะเริ่มกลับมาร่วงใน 4-6 เดือน
**ผลข้างเคียง แพ้ระคายเคือง
▫️Topical finasteride 0.1%
▫️Topical anti-androgen เช่น fluridil, alfatradiol 0.025%
▫️Latanoprost, ketaconazole shampoo

✔️ ยารับประทาน ได้แก่
▫️Finasteride 1-5 มก ต่อวัน (เพศชาย), 2.5-5 มก ต่อวัน (หญิงวัยหมดประจำเดือน) (FDA-approved)
**อาจทำให้ระดับ serum PSA ลดลงได้ประมาณ 50% แนะนำให้ตรวจระดับ serum PSA ก่อนให้ยา เพื่อป้องกัน false negative กรณีมะเร็งต่อลูกหมาก
▫️Dutasteride 0.5-2.5 มก ต่อวัน
**ประสิทธิภาพดีกว่า แต่ half life นานกว่า finasteride จึงควรหยุดยาอย่างน้อย 6 เดือนก่อนบริจาคเลือด
**ผลข้างเคียง พบใน dutasteride มากกว่า finasteride ได้แก่ ความต้องการทางเพศลดลง (1.9%), อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (1.4%) ซึ่งพบไม่บ่อย และดีขึ้นกลับเป็นปกติเมื่อหยุดยา
▫️ Minoxidil 5 มก ต่อวัน
▫️กรณีเพศหญิง ยาที่อาจใช้ได้ คือ Oral anti-androgens ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช้ในเพศชาย ได้แก่ Spironolactone, Cyproterone acetate

✔️ Platelet rich plasma (PRP)

✔️ Low Level Laser Therapy (LLLT)

✔️ การปลูกผม (Hair transplantation)
แนะนำเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นมาแล้ว 1-2 ปี และยังไม่ได้ผลที่พึงพอใจ

✔️ การสักอณูสี (Scalp micropigmentation)
มักทำในคนที่ผมบางระยะท้าย ๆ ที่กว้างเกินไปสำหรับการปลูกผม

🔟 แชมพูหรือสเปรย์ที่มี Evidence-based —> ถ้ามีคนอยากรู้จะมาต่อรีวิวตอนที่ 2

References
Cranwell W, Sinclair R. Male Androgenetic Alopecia. [Updated 2016 Feb 29]. Endotext
J Eur Acad Dermtol Venereol. 2018; 32(12): 2112-2125.
J Dtsch Dermatol Ges. 2007; 5: 391-5.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.