Tag Archives: ชะลอวัย

Tannic acid ซุปตาร์ชะลอริ้วรอยแห่งวัย

หนึ่งในซุปตาร์ส่วนผสมชะลอริ้วรอยแห่งวัยอีกตัว ที่วันนี้อยากให้รู้จักกัน คือ Tannic acid

Tannic acid เป็นสาร phenolic compound ที่ได้จากการไฮโดรไลซ์ Tannin มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น การใช้เป็นยารักษาโรคบางอย่าง ใช้ปรุงแต่งรสในอาหารและเครื่องดื่ม สามารถพบได้ในใบของพืชและเปลือกผลไม้หลายชนิด เช่น Japanese gall (Rhus javanica) หรือ gallnut (Quercus infectoria) หรือ เปลือกผลไม้พวกองุ่น ชาเขียว และสิ่งทีทำให้มหัศจรรย์กว่านั้น คือทำให้ ต้นสนยักษ์ ซีคัวญา มีอายุยืนยาวได้มากกว่า 3,000 ปี (ต้นสนยักษ์ในรูป)

Tannic acid ชะลอวัย
Tannic acid

ในแง่ผิวหนัง ปัจจุบันมีการกล่าวถึงประโยชน์ของการนำกรดแทนนิกมาผสมในสกินแคร์มากขึ้น
Tannic acid เป็นที่นิยมนำมาผสมในสกินแคร์กลุ่มต้านอนุมูลอิสระเพื่อหวังผลเรื่องการชะลอผิวเสื่อมจากวัย, แสงแดดและมลภาวะ เพราะมีคุณสมบัติ ดังนี้

✔️ Photoprotection
สามารถดูดซับแสงได้หลายความยาวคลื่น และ ช่วยปกป้องและลดความเสียหายของ DNA & fibroblast และลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวีและมลภาวะ
✔️ Anti oxidation
ยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ Hydroxy radical ได้ดี และมีฤทธิ์เสริมการทำงานกับ L-ascorbic acid ทำให้ต้านอนุมูลอิสระโดยยับยั้งปฏิกิริยา Fenton ได้ดีมากยิ่งขึ้น
✔️ Anti inflammation
ช่วยลดการอักเสบที่ผนังหลอดเลือด และลดการเกิดอนุมูลอิสระในผนังเส้นเลือดได้ ช่วยสร้างและกระตุ้น KLF2 (Kruppel-liked Factor 2) ซึ่งช่วยลดการอักเสบในผนังเส้นเลือด
✔️ Scavenger
กำจัดโลหะหนักและสารอนุมูลอิสระ เช่น DPPH, superoxide anion, peroxyl, nitric oxide and peroxynitrite
✔️ Anti collagenase, elastase & MMP-1
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่มาทำลายโครงสร้างผิว เช่น อิลาสติน คอลลาเจน ไฮยาลูรอน

ดังนั้น โดยรวมจึงส่งผลให้ผิวแลดูมีสุขภาพดี ริ้วรอยเล็ก ๆ ดูลดลง จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ tannic acid ถูกขนานนามว่าเป็น Anti photoaging agent ที่ดีมากตัวหนึ่ง

ในแง่ของการ เสริมกำแพงผิวและลดผื่นผิวหนังอักเสบ พบว่า Tannic acid ยังมีข้อมูลเรื่องการทาเพื่อลดการอักเสบผิวและสามารถเสริมกำแพงผิวให้แข็งแรงขึ้นได้ จากข้อมูลทดลองในหนู พบว่าสามารถยับยั้ง NFsignaling, เพิ่ม PPARγ protein expression
และลดการอักเสบของผื่นผิวหนังได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจและน่าติดตามว่าอนาคตจะมีการนำมาประยุกต์กับผิวมนุษย์ในแง่การทำสกินแคร์เสริมกำแพงผิวหรือไม่

นอกจากนั้น Tannic acid ยังมีข้อมูลช่วยลดการหายของแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย และลดการเกิดรอยแดงจากการอักเสบได้

PRACTICAL POINT

ปัจจุบันแนวโน้มของการใช้สกินแคร์กลุ่มฟื้นฟูผิว เพื่อการบำรุงผิวมีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Anti-aging เพราะมีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องของ Anti-oxidant และ Photoprotection ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยชะลอให้ความเสื่อมของผิวเราเกิดขึ้นได้ช้าลง เพราะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตปัจจุบันที่ต้องเผชิญแสงแดดและมลภาวะเป็นประจำ ทำให้ผิวถูกทำร้ายโดยไม่รู้ตัว

สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของ Tannic acid เป็นอีกตัวที่มีข้อมูลการทาเพื่อช่วย Anti-aging ได้ดี และหากใช้ร่วมกับ L-ascorbic acid จะช่วยเสริมฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระได้มากขึ้นอีก

ยกตัวอย่าง Tannic [CF] Serum ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของ Alphascience แบรนด์เวชสำอางผู้นำด้าน Cutting-edge antioxidant technology จากฝรั่งเศส ก็มีส่วนผสมหลักเป็น 2% Tannic acid และ 10% Stabilized L-Ascorbic acid ร่วมด้วย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย)

หวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผิวของทุกท่านนะคะ

ด้วยความปรารถนาดี


References
Int J Biol Macromol. 2021 Nov 30;191:918-924.
Adv Wound Care (New Rochelle). 2019 Jul 1;8(7):341-354.
Exp Dermatol. 2018 Aug;27(8):824-826.
Cytokine. 2015 Dec;76(2):206-213.
J Invest Dermatol. 2010 May;130(5):1459-63.


[Disclaimer] สนับสนุนความรู้โดย
Tannic [CF] Serum
จาก AlphascienceThailand แบรนด์เวชสำอางผู้นำด้าน Cutting-edge antioxidant technology จากฝรั่งเศส

Tannic [CF] Serum จาก Alphascience Thailand
Tannic [CF] Serum

เซรั่มช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอริ้วรอยแห่งวัย ผิวแลดูใสและจุดด่างดำจางลงเร็ว
เหมาะกับผิวธรรมดา ผิวแห้ง

ส่วนผสมหลัก
▫️2% Tannic acid ลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระ ยับยั้งในกระบวนการผลิตเม็ดสีผิวเมลานิน เสริมการสังเคราะห์คอลาเจนใต้ผิว
▫️10% Stabilized L-Ascorbic acid รูปแบบที่เสถียรสูงจากการทดสอบโดย SGS Multilab พบว่าการออกฤทธิ์คงตัวเกือบ 90% แม้อยู่ในอุณหภูมิสูงถึง 40°C เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลาเจนใต้ผิว ผิวแลดูกระจ่างใส
▫️0.5% Ferulic acid ลดการทำร้ายผิวจากอนุมูลอิสระและซ่อมแซมผิวถึงระดับ DNA
▫️Ginkgo Biloba ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และ ช่วยผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น

*ข้อมูลจาก Alphascience ในหญิง 22 คน เฉลี่ยอายุ 59 ปี หลังการใช้ Tannic [CF] Serum ทุกเช้า นาน 1 เดือน พบความพึงพอใจ ผิวนุ่มยืดหยุ่นขึ้น 98%, ผิวหน้าเนียนขึ้น 75%, จุดด่างดำแลดูลดลง 58%, ผิวหน้าแลดูกระจ่างใสขึ้น 70%

ไม่แนะนำให้ใช้ในผิวที่เป็นแผล หรือ หลังทำหัตถการ 48 ชั่วโมง
ปราศจากพาราเบน น้ำหอม สารกันเสีย และไม่มีการทดลองในสัตว์
เหมาะสำหรับคน ผิวปกติ และผิวแห้ง

**ผลลัพธ์การตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับสภาพผิวแต่ละบุคคล

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

สกินแคร์ชะลอวัย 101 ด้วย Retinaldehyde & Bakuchiol

หลายคนที่หวังผล Anti-aging จากการทา Tretinoin แต่ประสบปัญหาหน้าแดง แสบ ลอก ไม่ว่าจะลองปรับลดความถี่ ลดความเข้มข้น เสริมสกินแคร์เพิ่มความชุ่มชื้นมากมาย แต่ก็ไปไม่รอด อยากให้ลองอ่านบทความนี้ เกี่ยวกับสกินแคร์ในรูปแบบทา ที่ออกฤทธิ์ anti-aging ได้คล้ายคลึงกับ tretinoin นั่นก็คือ อนุพันธ์วิตามินเอ (Vitamin A derivatives) และ Bakuchiol

เรามาทำความเข้าใจพื้นฐานเล็กน้อยกันก่อนค่ะ

ก่อนจะมาเป็น Retinoic acid จะต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารตั้งตั้น คือ Retinyl ester Retinol Retinaldehyde -> Retinoic acid ซึ่งเป็นสารตัวที่สามารถซึมลงสู่ผิวชั้นหนังแท้และออกฤทธิ์ได้ที่ผิวหนังในที่สุด

วิตามินเอ Tretinoin and Vitamin A Derivatives
กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิตามินเอที่ผิวหนัง

โดยปกติมีการแบ่งวิตามินเอชนิดทา เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มยา ได้แก่ Tretinoin ( retinoic acid) ต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์เพราะมีผลข้างเคียงระคายเคืองมากกว่า โดยปกติจึงไม่แนะนำให้ซื้อใช้เอง สามารถอ่านทบทวนบทความที่เคยเขียนไว้ก่อนนี้ได้ค่ะ
  2. กลุ่มสกินแคร์ ได้แก่ Natural vitamin A derivatives และ Bakuchiol ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ยา และมักถูกนำมาผสมในสกินแคร์เพื่อหวังผลด้าน antiaging ได้แก่
Tretinoin or Retinoic acid ​
Tretinoin or Retinoic acid

2.1 Retinaldehyde

เป็น retinoic acid precursor ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็น retinoid acid ได้ที่ keratinocyte ที่ผิวมนุษย์เพียง 1 ขั้นตอน พบว่าใช้ได้ผลในแง่ antiaging อยู่ที่ความเข้มข้น 0.05 – 0.5% โดยหลังการทาผิว 1-3 เดือน มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่

• ความหนาของผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermal thickness) เพิ่มขึ้น
• ความยืดหยุ่นผิว (cutaneous elasticity) เพิ่มขึ้น
• สภาพผิวเรียบขึ้น ริ้วรอยเล็ก ๆ ดีขึ้น (Texture improvement)
• ค่าการสูญเสียน้ำจากผิว (TEWL) ลดลง ผิวชุ่มชื้นขึ้น
• ค่าการสร้างเม็ดสีผิว (Melanin index) ลดลง ในกรณี Retinaldehyde 0.1% ขึ้นไป

มีข้อมูลเปรียบเทียบการทา retinaldehyde 0.05% กับ การทายา retinoic acid 0.05% พบว่าหลังการทานาน 18 – 44 สัปดาห์ ริ้วรอยเล็ก ๆ (Fine wrinkle) และผิวที่ไม่สม่ำเสมอ (Roughness) ดีขึ้นทั้งสองชนิด

ดังนั้น การทา retinaldehyde จึงเป็นอีกทางเลือกที่มีข้อมูลรองรับและน่าสนใจสำหรับคนที่ไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาทากรดวิตามินเอ (retinoic acid) ได้ และสามารถใช้ได้ในระยะยาวแม้บริเวณผิวที่มีการระคายเคืองง่าย

Retinaldehyde
Retinaldehyde

2.2 Retinol

เป็นตัวตั้งต้นของ retinaldehyde และต้องผ่าน 2 ขั้นตอนในการเปลี่ยนเป็น retinoic acid นิยมใช้สำหรับผสมในสกินแคร์ ที่ผ่านมามีการศึกษาพบว่าหลังการทา retinol มีการเพิ่มขึ้นของ epidermal retinyl ester แต่ไม่มีการเพิ่มของ retinoic acid level

มีการศึกษาที่ใช้ 0.4-1% retinol ชนิดทาผิว พบว่าปริมาณ collagen ที่ผิว เพิ่มขึ้นหลังการทา 4 สัปดาห์ แต่ประสิทธิภาพต้องขึ้นกับ vehicle ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์นั้นร่วมด้วย คงต้องรอข้อมูลในอนาคตเพิ่มเติม และ retinol จะสลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงและอากาศ ต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะ

ข้อดีของกลุ่มนี้คือ อ่อนโยน ระคายเคืองน้อย

Retinol
Retinol

2.3 Retinyl-palmitate, retinyl propionate และ retinyl-acetate

จัดเป็น vitamin A ester derivatives กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้ผลน้อยที่สุดในบรรดา topical retinoids ทั้งหมด เพราะต้องผ่านขั้นตอนการตัดพันธะ ester ให้กลายเป็น retinol และเกิดการ oxidation เพื่อให้เป็น tretinoin อีกที เรียกได้ว่ากว่าจะออกฤทธิ์ได้ต้องผ่านถึง 3 ขั้นตอน และการดูดซึมก็ไม่ดีเท่าที่ควร

ข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มนี้อาจช่วยเรื่อง UV protection ได้เล็กน้อย แต่ยังไม่มีข้อมูลช่วยเรื่อง antiaging

Vitamin A Ester Derivatives
Vitamin A Ester Derivatives

2.4 Bakuchiol

เป็น purified meroterpene phenol สารสกัดจากพืช Psoralea corylifolia (babchi) พบว่ามีคุณสมบัติกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ผลัดเซลล์ผิว ลดการอักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องสิวได้

โดยพบว่าการทา 0.5% Bakuchiol นาน 12 สัปดาห์ ช่วยให้ริ้วรอยเล็ก ๆ ดีขึ้นได้เทียบเคียงกับการทา 0.5% Retinol

นอกจากนั้นยังช่วยให้รอยดำดีขึ้นเพราะช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวร่วมด้วย และยังพบผลข้างเคียงเรื่องระคายเคืองน้อยที่สุดและน้อยกว่า Retinol

ดังนั้น Bakuchiol จึงเป็นน้องใหม่ที่น่าสนใจอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่ทนผลข้างเคียงเรื่องการระคายเคืองของ tretinoin ไม่ได้

Bakuchiol
Bakuchiol

เหนือสิ่งอื่นใดหากต้องการให้ผิวแลดูอ่อนเยาว์ไปนาน ๆ นอกจากการใช้สกินแคร์กลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอแล้ว ต้องไม่ลืมที่จะ ดูแลกำแพงผิวพื้นฐานให้แข็งแรงและเพิ่มความชุ่มชื้นควบคู่ไปด้วยเสมอ โดยมองหาสกินแคร์เหล่านี้ร่วมด้วย

สกินแคร์ที่มีส่วนผสมพื้นฐานของผิว ได้แก่ ceramide, hyaluronic acid หลายโมเลกุล และสกินแคร์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น niacinamide, vitamin C, E, ferulic, ectoin เป็นต้น

การใช้สกินแคร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลผิว เพื่อให้ผิวของเรามีสุขภาพดี ซึ่งคงต้องทำควบคู่ไปกับวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ งดสูบบุหรี่ การปกป้องผิวจากแสงแดดร่วมด้วยอย่างถูกวิธี ทั้งนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า

ยกตัวอย่างการจัดสกินแคร์พื้นฐานเพื่อชะลอผิวเสื่อมตามวัย
▫️ชิ้นที่ 1 ผลิตภัณฑ์กันแดด

▫️ชิ้นที่ 2 The Concentrate 25.8 Serum Booster ซึ่งมีอนุพันธ์วิตามินเอ (0.1% Retinaldehyde, 1% Bakuchiol) + สารต้านอนุมูลอิสระและส่วนผสมลดการสร้างเม็ดสี (10% Niacinamide, 4% Ascorbyl glucoside, Purified bromelain)

▫️ชิ้นที่ 3 Be-Barrier 24.7 Restoring Serum ซึ่งมีส่วนผสมบำรุงกำแพงผิวพื้นฐาน (10% Ceramide complex, 8 Hyaluronic acid, 2% Ectoin) + ส่วนผสมลดการสร้างเม็ดสี (3% Tranexamic acid)
[อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ]

BOTTOM LINE

โดยสรุป วิตามินเอรูปแบบทาเพื่อหวังผลเรื่อง Antiaging

ตัวที่มีข้อมูลรับรองมากที่สุดคือ กลุ่มยาทา Tretinoin เป็นยาที่ต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์ การระคายเคืองมาก

ถ้าในแง่สกินแคร์ของอนุพันธ์วิตามินเอที่ได้ผลด้าน Anti-aging อาจพิจารณา Retinaldehyde ซึ่งมีข้อมูลประสิทธิภาพมากที่สุด หรือทางเลือกอื่นที่ระคายเคืองน้อยกว่าและข้อมูลรองลงมา เช่น Bakuchiol (ระคายเคืองน้อยที่สุด) หรือ Retinol

ส่วนกลุ่มที่ปัจจุบันพบว่าไม่ค่อยช่วยเรื่อง anti-aging ได้แก่ กลุ่ม Vitamin A ester คงต้องรอข้อมูลในอนาคตต่อไป

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการดูแลผิวสำหรับทุกท่านที่กำลังหาข้อมูลเรื่องวิตามินเอทาผิวอยู่นะคะ ถ้าชอบสามารถแชร์ให้เพื่อน ๆ อ่านได้เลย


References
J Cutan Med Surg. 2022 Jan-Feb;26(1):71-78.
Br J Dermatol. 2019 Feb;180(2):289-296.
J Cosmet Dermatol. 2018 Jun;17(3):471-476.
J Dermatolog Treat. 2017 Dec;28(8):684-696.
Aesthet Surg J. 2010 Jan;30(1):74-7.
Br J Dermatol 2008;158: 472-477.
Clin Dermatol 2008;26:633-635.
Arch Dermatol 2007;143:606-612.
Clin Interv Aging. 2006;1(4):327-48.
Dermatol Therapy 2006;19:289-296


[Disclaimer] สนับสนุนบทความโดย HERBITAGE

ทำการพัฒนาสูตรร่วมกับสถาบัน KAPI ม.เกษตร โดยเป็นการต่อยอดเชิงพาณิชย์ให้แก่งานวิจัยด้าน Purified Extract จากพืชผลการเกษตรของไทย

สูตรแรก HERBITAGE The Concentrate 25.8 Serum Booster (สีเขียว)💚

ช่วยเสริมการรักษาสิว ริ้วรอยเล็ก ๆ ดูดีขึ้น รูขุมขนแลดูเล็กลง
ส่วนประกอบหลัก
0.1% Retinaldehyde เป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอที่มีข้อมูลประสิทธิภาพด้าน anti-aging มากสุดในกลุ่มเครื่องสำอาง
1% Bakuchiol สารสกัดวิตามินเอจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์คล้ายเรตินอล อ่อนโยน
10% Niacinamide, 4% Ascorbyl glucoside ลดการสร้างเม็ดสีผิว
Purified bromelain เอนไซม์เหง้าสับปะรดบริสุทธิ์ จาก ม.เกษตรศาสตร์ สารต้านอนุมูลอิสระ

เนื้อสัมผัสบางเบา ซึมง่าย ไม่ระคายเคือง
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร, คนแพ้วิตามินเอและอนุพันธ์, ผู้ที่มีผิวหนังอักเสบ เช่น เซบเดิร์ม

สูตรสอง HERBITAGE Be-Barrier 24.7 Restoring Serum (สีน้ำเงิน)💙

ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น เสริมกำแพงผิว ผิวแลดูกระจ่างใส ต่อต้านมลภาวะ
ส่วนประกอบหลัก
2% Ectoin ช่วยเสริมความแข็งแรงของผิว
10% Ceramide complex ช่วยฟื้นฟูกำแพงผิว
3% Tranexamic acid ช่วยยับยั้งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว
8 Hyaluronic acids ช่วยเติมน้ำ เพิ่มความชุ่มชื้นผิว
Liquid Crystal Emulsion ช่วยนำพาสารออกฤทธิ์เข้าสู่ผิวได้ดีขึ้น

Herbitage Concentrate and Be barrier

ข้อมูลการทดลองจากทาง HERBITAGE โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าหลังการใช้ผลิตภัณฑ์คู่กัน 28 วัน ในอาสาสมัคร 30 คน ริ้วรอยตื้นขึ้น 21.2%, ผิวชุ่มชื้นขึ้น 64.5% และ ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น 6.45%

*ผลลัพธ์ต่อผลิตภัณฑ์ขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละบุคคล

ข้อมูลเพิ่มเติม Link ร้านค้าอย่างเป็นทางการ (ป้องกันของปลอม)
Shopee : https://bit.ly/2PmOxy7

Lazada : https://bit.ly/3fzwrUy

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.