คุณหมอ..ทาวิตามินซีตัวไหนดี

ในฐานะที่เป็นอายุรแพทย์โรคผิวหนังก็มักจะมีคนถามเสมอว่า


“คุณหมอ_ทาวิตามินซีตัวไหนยี่ห้อไหนดี”


ซึ่งถ้าหากถามจากหมอผิวหนังหลาย ๆ ท่าน ก็อาจจะได้รับคำตอบที่แตกต่างกันออกไป

“หมอคิดว่าการจะตอบคำถามนี้ให้ดีที่สุดนั้น ควรให้ความรู้ที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือโดยมีการอ้างอิงตามหลักวิชาการ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ และทุกท่านสามารถนำไปใช้พิจารณาในการเลือกผลิตภัณฑ์ได้เหมาะสมกับสภาพผิวและความต้องการของแต่ละบุคคลได้อย่างดีที่สุดค่ะ”

หมอจะขอแบ่งเป็น 3 ตอนนะคะ

ตอนที่ 1 หลักการง่าย ๆ ในการเลือก Topical Vitamin C เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด

ตอนที่ 2 รวบรวมและแบ่งกลุ่ม Topical Vitamin C ในท้องตลาดตามหลักการตอนที่ 1


ตอนที่ 3 พูดถึงตัวอย่างผลิตภัณฑ์ Topical Vitamin C ในท้องตลาดตามคำขอ


ตอนที่ 4 เจาะลึกวิธีการทำอย่างไรให้ได้คุณสมบัติที่ดีในแต่ละอย่างข้างต้น

เรามาเริ่มตอนแรกกันเลย


วิตามินซีชนิดทามีกี่รูปแบบ ?
👩🏻‍⚕️ มี 2 แบบ คือ Pure Vitamin C (L-ascorbic acid) และ อนุพันธ์ของวิตามินซี (Vitamin C derivatives)

วิตามินซีที่ออกฤทธิ์ได้ดีและเห็นผลจริงควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?
👩🏻‍⚕️ สามารถซึมผ่านชั้นผิวหนังกำพร้าลงไปออกฤทธิ์ที่ชั้นหนังแท้ส่วนบนได้ดี
👩🏻‍⚕️ มีความเสถียรและคงตัว
👩🏻‍⚕️ ระคายเคืองต่อผิวน้อยที่สุด
👩🏻‍⚕️ ช่วยลดการสร้างเม็ดสีและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้จริงจากการศึกษาวิจัย

จะเห็นได้ว่า ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น Pure Vitamin C ซึ่งในที่นี้คือ L-Ascorbic acid (LAA) และปัจจุบันมีสารตัวใหม่ คือ 3-O-Ethyl L-Ascorbic acid (EA) ที่เชื่อว่าจะเห็นผลใกล้เคียง LAA มากที่สุด และควรเป็น solvent system ที่เหมาะสมจึงจะสามารถซึมผ่านผิวหนังเพื่อคุณสมบัติข้างต้นได้ ได้แก่ GLY, PG, HEX, PGML, PGMC เท่านั้น

กินวิตามินซีอยู่แล้วต้องทาด้วยหรือไม่ ?
👩🏻‍⚕️ เนื่องจากวิตามินซีในรูปแบบรับประทานสามารถออกฤทธิ์ได้ถึงแค่ผิวหนังแท้ส่วนลึกบริเวณที่มีหลอดเลือดมาเลี้ยงเท่านั้น จึงแนะนำให้ใช้รูปแบบทาร่วมด้วย ควรเป็นแบบที่สามารถทาแล้วซึมผ่านชั้นผิวหนังลงไปได้และยังคงตัวอยู่ในสภาพที่ออกฤทธิ์ในชั้นผิวหนังส่วนตื้นได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะบางชนิด อาจซึมได้ดีและเร็ว ทาแล้วให้ความรู้สึกที่ดีตามคำโฆษณา แต่อาจสูญเสียคุณสมบัติส่วนนี้ไป

เป็นสิวทาวิตามินซีได้หรือไม่
👩🏻‍⚕️ รูปแบบที่มีการศึกษาว่าช่วยลดการอักเสบของสิวได้ดี มีแบบเดียว คือ Sodium Ascorbyl Phosphate (SAP) ส่วนแบบอื่น ๆ สามารถทาเพื่อการบำรุงได้แต่ควรเลี่ยงผลิตภัณฑ์วิตามินซีที่มีส่วนผสมของ comedogenic substances or oils เพื่อลดการเกิดสิวมากขึ้นค่ะ

วิตามินซีที่เสถียรควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?
👩🏻‍⚕️ pH < 3.5
👩🏻‍⚕️ ผสม Ferulic acid และ Vitamin E จะเป็นการเพิ่มคุณสมบัตินี้ให้ดียิ่งขึ้น
👩🏻‍⚕️ เก็บในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม แนะนำชนิดสุญญากาศหัวปั๊ม ทึบแสง จะดีที่สุด

รูปแบบ Serum, Cream, Oil, Powder-based แตกต่างกันหรือไม่ ?
👩🏻‍⚕️ แตกต่างในแง่ของความสามารถในการคงตัวในเรื่องของ pH ทั้งนี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ตามมา พบว่าแบบ Serum-based คงตัวดีกว่า Cream-based
👩🏻‍⚕️ Powder-based มักสูญเสียคุณสมบัตินี้ไปในตอนที่มีการผสมน้ำก่อนการใช้ จะทำให้ค่า pH สูงขึ้นเป็น 6-7 ซึ่งออกฤทธิ์ได้ไม่ดี
👩🏻‍⚕️ Oil-based สามารถใช้ได้ดี แต่ควรต้องระวังกลุ่ม Comedogenic-oil

ความเข้มข้นที่สามารถออกฤทธิ์ ลดการสร้างเม็ดสีและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ผลจริงคือเท่าไหร่ ?
👩🏻‍⚕️ งานวิจัยจากการดูชิ้นเนื้อและกล้องที่ผิวหนัง พบว่า 8-20% คือเหมาะสมที่สุด
👩🏻‍⚕️ ความเข้มข้นน้อยกว่านี้ ยังไม่มีข้อมูลสรุปว่ามีคุณสมบัตินี้ได้จริงหรือไม่ มีเพียงการศึกษาที่พบว่าไม่ได้ผล แต่บางครั้งเราอาจเห็นความเปลี่ยนแปลงจากผิวหลังการทาวิตามินซีความเข้มข้นต่ำจากรีวิวสินค้าหรือโฆษณาต่าง ๆ เช่น ขาวขึ้น รอยลดลง ทั้งนี้อาจเป็นเรื่องของปัจจัยอื่น เช่น การบำรุงจากส่วนผสมอื่น ๆ เทคนิกการกระเจิงแสง การอุ้มน้ำในผิว เป็นต้น
👩🏻‍⚕️ ความเข้มข้นมากกว่านี้ มีการศึกษาชัดเจนว่า ไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นมากนัก แต่สิ่งที่มากขึ้นคือ ผลข้างเคียงจากการระคายเคืองผิว และราคาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน

โดยหมอได้ค้นคว้าหาข้อมูลมาหลายเดือน พบว่ามีการศึกษามากมายทั้งทำการทดลองในผิวหนังของมนุษย์ (Human-based), ผิวหนังสัตว์ที่ใกล้เคียงมนุษย์ (Animal-based) และการศึกษาในหลอดทดลอง (In vitro) ได้สรุปง่าย ๆ ไว้ให้ในตาราง สิ่งที่ดีที่สุดก็คงเป็นการศึกษาที่เป็น Human-based ค่ะ ส่วนที่ยังไม่มีข้อมูลก็คงต้องรอเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป

โดยพบว่า แบรนด์ที่ได้มาตรฐาน มักระบุคุณสมบัติข้างต้นไว้ชัดเจน เพื่อการันตีถึงความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค และผู้บริโภคควรสอบถามข้อมูลเบื้องต้นต่าง ๆ เพื่อเลือกสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดกับตัวเอง ส่วนคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น ความเหนียวของครีม การซึมช้าเร็ว ความมันวาว ความขาวใสหลังการทา ริ้วรอยลดลงหลังการทา อาจเพราะผลของ ingredient-based อื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถนำมาประกอบการตัดสินประสิทธิภาพของ Topical Vitamin C ได้ เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านอื่น ๆ และช่วยในแง่ความรู้สึกต่อผลิตภัณฑ์ในการทาเท่านั้นค่ะ

หลังการทาวิตามินซี เราจะสามารถประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของสภาพผิวในแง่ของ

  • ความกระจ่างใสจากผลของลดการสร้างเม็ดสี
  • ความอ่อนเยาว์ริ้วรอยดูน้อยลงจากผลของการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน

จากงานวิจัยระบุว่า จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างผิว อย่างน้อย 3-4 เดือน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงหลังการทาเพียงไม่กี่ครั้งในระยะเวลาสั้น ๆ อาจยังไม่สามารถนำมาประกอบการวัดประสิทธิภาพได้ในทางวิชาการค่ะ

เบื้องต้นเท่านี้ก่อน แชร์ได้ไม่ว่ากัน
รอติดตามตอนต่อไป

แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ อายุรแพทย์โรคผิวหนัง

Disclaimer and Contact me

Welcome to “HELLO SKIN by หมอผิวหนัง”

Hi, I am Doctor Warayuwadee

My purpose to write this website is to share my medical & non-medical fans the information about medical dermatology, updated guideline, spot diagnosis, aesthetic medicine and tips for smart choosing cosmetic product and skincare upon my opinion with evidenced-base approach.

The information found on this website (helloskinderm.com) or youtube (Warayuwadee A.) is intended to be used as educational or resource information only; it is not intended to be a substitute for medical advice from your healthcare provider. This content should not be used during a medical emergency or for the diagnosis or treatment of any medical condition. If you have questions or concerns regarding your health, please see your doctor or healthcare provider. Call 1669 or your doctor for all medical emergencies.

While helloskinderm.com has made every effort to ensure accuracy of information on this website, we are not responsible for any errors or omissions in material provided or any results obtained from the use of this material. Neither helloskinderm.com nor its suppliers or vendors are responsible or liable for any claim, loss or damage directly nor indirectly resulting from the use of this site or from the information or resources obtained through this site.

The contents of all material available on this website are copyrighted unless otherwise indicated. All rights are reserved and content may not be reproduced, downloaded, disseminated, published, or transferred in any form or by any means, except with the prior written permission of Warayuwadee Amornpinyo. Requests for permission to reuse copyrighted content should be submitted to warayuwadee.a@gmail.com.”

For inquiries, please email me at: warayuwadee.a@gmail.com

เวบไซต์นี้เพื่อแชร์ความรู้ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และไม่สามารถใช้อ้างอิงหรือทดแทนการวินิจฉัยโรค หรือการตรวจรักษาโดยตรงจากแพทย์ได้ หากผู้อ่านเกิดเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ควรเรียกรถพยาบาล 1669 หรือแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ทันที หรือหากพบความผิดปกติอะไรที่ไม่แน่ใจ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา ผู้เขียนจะไม่รับผิดต่อความเสียหายใด ๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ที่เป็นผลหรือสืบเนื่องจากการที่ผู้ใช้เข้าใช้เว็บไซต์นี้หรือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์นี้

ขออนุญาตงดรับปรึกษาเคสทางสื่อโซเชียลทุกช่องทาง เนื่องด้วยข้อจำกัด พรบ. สื่อออนไลน์และเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยโรค

ในบางบทความอาจมีการอ้างอิงถึงผลิตภัณฑ์บางอย่างเพื่อประกอบความเข้าใจในเนื้อหา ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหาบทนั้น

เนื้อหาทุกบทความบนเวบไซต์นี้มีลิขสิทธิ์ ขอความกรุณาไม่คัดลอกบทความไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และหากท่านนำบทความส่วนใดไปใช้จะต้องไม่มีการดัดแปลงเพื่อการพาณิชย์ และให้เครดิตทางเวบไซต์เสมอ

ความตั้งใจจริง คือ อยากสร้างสรรค์บทความที่มีประโยชน์ อ่านง่าย มีมาตรฐานที่ดี มี Evidence-based ทางการแพทย์ และ ยินดีน้อมรับคำติชมทุกประการเพื่อการพัฒนาค่ะ

ขอบคุณที่ติดตาม helloskinderm.com

🙇🏻‍♀️🙇🏻‍♀️🙇🏻‍♀️

แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ (หมอลูกเจี๊ยบ)
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง

Warayuwadee Amornpinyo, M.D.

Head of Dermatology Division, Khonkaen Hospital, Ministry of Public Health
Board-certified Internal Medicine

Board-certified Dermatologist
Certificated in American Aesthetic Medicine

ติดต่องาน warayuwadee.a@gmail.com หรือ Line ID: warayuwadee

โรคหูด..รักษาได้ อย่ามัวอายที่จะมาพบแพทย์

” บทความนี้หมอจะขอมาอัพเดทแนวทางการรักษาหูดด้วยวิธีต่าง ๆ จาก Guideline ล่าสุดที่เพิ่งตีพิมพ์ใน J Dtsch Dermatol Ges. 2019 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานี้ และตอบคำถามที่คนไข้มักถามบ่อย ๆ ”

https://doi.org/10.1111/ddg.13878

โรคหูดเกิดจากอะไรและมีอาการอย่างไรบ้าง

เกิดจากการติดเชื้อ HPV หรือ Human Papilloma Virus ที่บริเวณผิวหนังหรือเยื่อบุนั้น ทำให้มีการแบ่งตัวเกิดรอยโรคที่ลักษณะเป็นตุ่มนูนขรุขระ หรือ อาจเป็นผื่นแบนราบก็ได้ (ชนิดนี้มักพบบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าและใบหน้า โดยเฉพาะหน้าผาก) โดยมากมักไม่มีอาการ อาจคันเล็กน้อย แต่รอยโรคที่บริเวณกดทับเช่นฝ่าเท้า อาจพบมีอาการเจ็บหรือเลือดออกได้ [Slide 1]

โรคหูดติดต่อได้ทางไหนบ้าง

ติดต่อทางการสัมผัสโดยตรงบริเวณรอยโรค, ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโอกาสติดเชื้อจะสูงขึ้นหากบริเวณผิวหรือเยื่อบุนั้นมีแผลหรือรอยถลอก

โรคหูดที่ผิวหนังสามารถรักษาด้วยวิธีใดบ้าง

หากภูมิคุ้มกันปกติ สามารถหายเองได้แต่ใช้ระยะเวลาหลายเดือน อาจนานเป็นปี เพียงแค่รักษาความสะอาดและดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อไม่ให้มีการลุกลามมากขึ้น และหากหายแล้วก็จะช่วยลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำได้ หากพบว่ามีรอยโรคหูดที่เป็นค่อนข้างมากและรุนแรง เป็นๆไม่หายๆ หรือรักษาแล้วไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจเช็คภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม

ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาหลายวิธีที่มีงานวิจัยรับรองว่าได้ผล ได้แก่

  1. ยาทา Topical treatment เช่น Salicylic, retinoids, 5FU, bleomycin, imiquimod, chemical peeling ด้วยกรดต่างๆ มักใช้ในรอยโรคขนาดเล็กและไม่ลึกมาก ยาบางชนิดมีขายตามท้องตลาด ใช้ทาวันละ 2-3 ครั้ง ควรระวังผลข้างเคียงของการระคายเคืองจากยาในบริเวณผิวหนังรอบหูด อาจใช้วาสลีนทารอบๆหูดเพื่อป้องกันภาวะนี้ได้
  2. การใช้เลเซอร์ และการจี้ด้วยไฟฟ้า มักมีแผลตกสะเก็ดตามมาประมาณ 1 สัปดาห์หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน วิธีนี้จะต้องมีเครื่องดูดควันเพื่อป้องกันไอระเหยของหูดจากการเผาไหม้ ซื้ออาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่สูดดมเข้าไปได้ แต่สามารถหายได้ในครั้งเดียว
  3. การจี้ด้วยความเย็นจากไนโตรเจนเหลว จี้ทุก 2-4 สัปดาห์ ได้ผลการรักษาค่อนข้างดี ระยะเวลาการรักษาขึ้นกับรอยโรค โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน ปัจจุบันมีชนิดปากกาสามารถทำเองที่บ้านได้
  4. การผ่าตัดหรือฝานออก วิธีนี้ค่อนข้างเจ็บ
  5. ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เช่น การทา DCP (Diphencyprone), Tuberculin, PPD etc วิธีนี้ต้องมาทายาที่ รพ. สัปดาห์ละครั้งจนหายขาด
  6. ยากินที่เชื่อว่าออกฤทธิ์ immune enhancer เช่น Cimetidine, Zinc sulfate, Levomizole เป็นต้น
Slide 2
Slide 3

นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาถึงผลการรักษาในแต่ละวิธี ว่าแตกต่างกันหรือไม่ โดยดูจาก clearance rate 

การรักษาด้วยการจี้เย็น Cryotherapy สามารถทำได้ทุกรายหรือไม่

ไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามเรื่องการตอบสนองต่อความเย็นที่มากเกินไป หรือ ในผู้ป่วยที่ยังไม่แน่ใจในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหูดหรือโรคผิวหนังชนิดอื่นที่ต้องการการรักษาเฉพาะ เช่น มะเร็งหรือเนื้องอกผิวหนังอื่นๆ และนอกจากนั้นการใช้ไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้

Slide 5
Slide 6

มีวิธีป้องกันโรคหูดหรือไม่

รักษาร่างกายให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการสัมผัสและมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหูด ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

ผมสวยสุขภาพดี..ใคร ๆ ก็มีได้

“คุณหมอมีเคล็ดลับแนะนำในการดูแลเส้นผมอย่างไรบ้างคะ.. หนูอยากผมสวยสุขภาพดีบ้าง”

เทคนิคสั้น ๆ ง่าย ๆ ใครก็ทำได้ตามนี้เลยค่ะ

👩🏻‍⚕️ การหวีผม
🔹อย่าหวีผมบ่อยเกินไป เพราะจะทำลายน้ำมันเคลือบผมตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการแตกปลายและผมชี้ฟู
🔹หลังอาบน้ำ ใช้หวีซี่ห่าง หรืออาจใช้นิ้วในการสางผม แทนการหวี

👩🏻‍⚕️ การตัดผม
🔹เล็มปลายผมทุก 4-6 สัปดาห์ โดยตำแหน่งที่เล็มคือ เหนือจากจุดที่ผมแยกจากกันมาประมาณ 1/4 นิ้ว

👩🏻‍⚕️ การสระผมและการหมักผม
🔹สระผมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว การสระผมทุกวันนั้นไม่จำเป็น อีกทั้งยังเป็นการทำลายไขมันธรรมชาติที่เคลือบเส้นผม ทำให้ผมแห้งเสียได้ง่าย
🔹ไม่ควรสระผมด้วยน้ำร้อน แนะนำให้ใช้น้ำเย็นจะช่วยให้ cuticle ชั้นนอกของเส้นผมเรียงตัวดี ผลคือ ผมเงางามยิ่งขึ้น หรืออาจใช้น้ำเย็นเป็นน้ำสุดท้ายเพื่อ cool down ให้ cuticle เรียงตัวเพื่อความเงางามของเส้นผม
🔹ไม่เกาหนังศีรษะ แนะนำให้นวดเบาๆแทน
🔹ไม่ใช้ยาสระผมในปริมาณมากเกินไปเพราะจะทำลายเส้นผมได้
🔹การหมักบำรุงผมนั้นดีต่อเส้นผมมากๆ เพราะจะทำให้ผมนุ่มสลวย แข็งแรงและยังชุ่มชื้นขึ้น แนะนำสัปดาห์ละครั้ง
🔹แนะนำให้ใช้ครีมนวดผม ช่วยให้ผมเงางาม ไม่พันกัน ลดการชี้ฟู มีสุขภาพดี และครีมนวดที่เป็น protein-rich conditioner ช่วยลดผมแตกปลายได้ และทำให้ผมหนานุ่มขึ้น

👩🏻‍⚕️ การดัดย้อมทำสียืดผม
🔹หลีกเลี่ยงการยืดผมถาวร
🔹หลีกเลี่ยงการดัดหรือย้อมสี บ่อยเกินเดือนละ 1 ครั้ง ควรมีช่วงเว้นจากการทำสีให้ผมได้พักบ้าง

👩🏻‍⚕️ การมัดรวบผม
🔹หลีกเลี่ยงการรัดผมรวบตึงเกินไปเพราะจะทำลายรากผมและก่อให้เกิดผมบางจากการดึงรั้งได้
🔹ใช้วิธีการรวบผมเบาๆ หรือเปลี่ยนทรงผมไปมา หรือใช้ที่คาดผมแทนเก๋ๆ

👩🏻‍⚕️ อาหารเสริม
🔹ไบโอติน สังกะสีและวิตามินซีช่วยส่งเสริมให้ผมและเล็บแข็งแรงขึ้น

👩🏻‍⚕️ หมอนหนุนนอน
🔹การใช้หมอนหนุนนอนที่ทำจากผ้าไหม ช่วยลดการเสียดสีกับเส้นผม ทำให้ลดการแตกหักของเส้นผม เป็นผลให้เส้นผมมีสุขภาพดี ยาวและเงางามยิ่งขึ้นนะคะ

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.