8 ข้อสรุปการดูแลปัญหาผิวจากอิทธิพลของฮอร์โมนและถุงน้ำรังไข่หลายใบ ‼️

ขอถือโอกาสพูดถึงความผิดปกติของผิวหนังที่พบได้ในโรคนี้สั้น ๆ เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงลักษณะที่อาจจะมีความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย ที่ควรต้องไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจเพิ่มเติมนะคะ

1. ความผิดปกติของผิวหนังและเส้นผม

ในภาวะนี้เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายเป็นหลัก ทำให้เกิดสิว, ขนดก, ผมบาง และรอยคล้ำที่คอหรือซอกพับต่าง ๆ ตามมา นอกจากนั้นบางคนอาจมีความผิดปกติของประจำเดือนที่มาไม่สม่ำเสมอร่วมด้วย
• ดังนั้น หากมีอาการเหล่านี้ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม เพราะหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ภาวะนี้อาจส่งผลในเรื่องเมตาโบลิสม เช่น เบาหวาน อ้วน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ไขมันเกาะตับ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ในอนาคต
(ซึ่งในโพสนี้จะกล่าวถึงเฉพาะปัญหาทางผิวหนังเท่านั้น)

2. เรื่องสิว

มักรุนแรงและเรื้อรัง พบได้ทั้งที่เป็นสิวอุดตันและสิวอักเสบ มักพบบริเวณใบหน้าครึ่งล่าง ตามแนวขากรรไกร คอ หน้าอก ท้อง หลังส่วนบน และพบว่าส่วนใหญ่มีหน้ามันร่วมด้วย หรือพบเป็นสิวในวัยผู้ใหญ่ และไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน
• ดังนั้น ใครมีสิวลักษณะดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อตรวจเรื่องฮอร์โมนหรือถุงน้ำรังไข่เพิ่มเติม และการรักษานอกจากยามาตรฐานแล้ว อาจต้องได้รับยาในกลุ่มฮอร์โมนเพิ่มเติม เช่น ยาคุมกำเนิด OCPs, ยาปรับฮอร์โมน เช่น Spironolactone, flutamide

3. ยาปรับฮอร์โมน

ทั้ง OCPs และกลุ่มที่ไม่ใช่ยาคุม เป็นยาที่ต้องควบคุมการใช้โดยแพทย์เฉพาะทาง บางคนอาจมีข้อห้ามของการใช้ยา และอาจได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เช่น หลอดเลือดดำอุดตันในอวัยวะต่าง ๆ, สมองขาดเลือด, โรคหัวใจ, มะเร็งเต้านม, เกลือแร่ผิดปกติจนเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากรุนแรงอาจเสียชีวิตได้
• ดังนั้น ไม่แนะนำให้ซื้อรับประทานเอง และก่อนสั่งจ่ายยาเหล่านี้ควรพิจารณาให้ดีว่าจำเป็นหรือไม่ #เมื่อเทียบกับความเสี่ยงของยาที่ผู้ป่วยได้รับ โดยให้พิจารณาการรักษาเป็นราย ๆ

4. เรื่องขนดก (Hirsutism)

พบได้ 60% แต่บางคนอาจไม่มีขนดกก็ได้ การรักษามีหลายวิธีที่มีงานวิจัยว่าช่วยได้ ได้แก่
• ยาปรับฮอร์โมน ทั้ง OCPs และกลุ่มที่ไม่ใช่ยาคุม (คล้าย ๆ รักษาสิว) แต่ขนาดการรักษาอาจแตกต่างกัน ซึ่งแพทย์เป็นผู้พิจารณา
• ยา Metformin
• ยาทา Topical eflornithine hydrochloride ซึ่ง FDA-approved สำหรับการใช้รักษาภาวะขนดกที่หน้า

5. เลเซอร์กำจัดขน หรือ IPL

ยังมีข้อมูลวิจัยในกลุ่มคนที่เป็น PCOS ไม่มากนัก
• ดังนั้น หากใช้การรักษาด้วยวิธีนี้เพียงอย่างเดียว อาจทำให้ปัญหากลับมาได้เหมือนเดิม ในปัจจุบันยังแนะนำให้รักษาด้วยยาปรับฮอร์โมน #ควบคู่ไปด้วยกันเสมอ

6. เรื่องอาหารและการควบคุมน้ำหนัก


• ในแง่รอยดำคล้ำ พบว่าช่วยได้ดี
• ในแง่ขนดก มีบางรายงานพบว่าการจำกัดแคลอรี่และการลดน้ำหนักลง 5% ใน 4 สัปดาห์ ช่วยให้ดีขึ้นได้ 30% แต่บางงานวิจัยพบว่าไม่ได้ผล อาจลองนำไปปฏิบัติและดูผลการตอบสนองเป็นรายไป
• ในแง่สิว พบว่าสิวดีขึ้นได้ถ้าหากควบคุมอาหารจำพวกที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้น เพราะการเกิดสิวส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยระยะเวลาเห็นผลสิวยุบลงคือ ประมาณ 4-6 สัปดาห์

7. เรื่องคอดำรักแร้และข้อพับดำคล้ำ

หรือ เรียกว่า acanthosis nigricans พบว่าส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลินและน้ำหนักเกิน
• การรักษาหลัก คือ ลดน้ำหนัก ควบคุมระดับอินซูลินด้วยยาบางชนิด เช่น metformin, thiazolidinedione, octreotide
• กลุ่มยาทาอื่นเพื่อเสริมการรักษา เช่น
Oral isotretinoin 3 mkd
Fish oil 10-20 กรัมต่อวัน
Topical calcipotriene, retinoids, hydroquinone
Chemical peeling
Alpha lipoic acid
อย่างไรก็ตามพบว่า หากหยุดการรักษา ภาวะนี้มักกลับมาเป็นใหม่ได้อีก

8. เรื่องผมบาง

อิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายจะทำให้ผมมีเส้นเล็กลง และปริมาณลดลงได้ ซึ่งปัญหานี้พบไม่บ่อยเท่าปัญหาอื่น แต่มีผลต่อสภาพจิตใจไม่น้อย การรักษาใช้ยาปรับฮอร์โมนเป็นหลัก เช่น ยาคุม OCPs, Spironolactone, Finasteride หรืออาจใช้ยาทาในกลุ่ม Minoxidil โดยแนะนำผู้ชาย 5% ผู้หญิง 2% ก็ได้ผลดี #แต่การตอบสนองต้องอาศัยระยะเวลาหลายเดือน
• ดังนั้น ต้องใจเย็นและหากหยุดยา ก็อาจกลับไปผมบางได้อีก

ภาวะ PCOS นอกจากจะมีปัญหาผิวหนังและเส้นผมตามข้างต้นแล้ว ยังอาจมีอาการอื่นได้อีก เช่น


• ประจำเดือนผิดปกติ
• ตรวจอัลตราซาวด์พบว่ามีถุงน้ำหลายใบในรังไข่
• เบาหวาน, ภาวะอ้วน
ซึ่งต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติมและร่วมดูแลของแพทย์สหสาขาวิชาชีพ เช่น หมอผิวหนัง หมอต่อมไร้ท่อ หมอสูตินรีเวช หมอมะเร็ง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต เช่น
• มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
• ความเครียดและซึมเศร้า
• ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ, โรคอัมพฤกษ์

หมอผิวหนังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลโรคนี้ และจะถือเป็นด่านแรก ๆ ก็ว่าได้ที่มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรค ทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากพบความผิดปกติที่ไม่แน่ใจ ก็แนะนำให้ไปตรวจเพิ่มเติมนะคะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References
Clin Cosmet Investig Dermatol 2018; 11: 407-413.
J Am Acad Dermatol 2014; 71: 859.e1-15.
Am J Clin Dermatol 2007; 8 (4): 201-219.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright ©👩🏻‍⚕️HELLO SKIN by หมอผิวหนัง

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s