“เหงื่อออกมากไป” ทำอย่างไรดี ?

ใครบ้างที่มีปัญหาเหงื่อออกเยอะจนรบกวนชีวิตประจำวัน ‼️

หมอกำลังจะเล่าถึง การรักษาภาวะเหงื่อออกมากเกินไป หรือที่เรียกว่า Hyperhidrosis (HH) ไม่เหมือนกับภาวะที่ทำให้มีกลิ่นตัวเหม็นนะคะ —> คนละอย่างกัน ❌

สำหรับประชาชนทั่วไป —> อ่าน 🧿
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ —> อ่าน 🧿💠

เรื่องที่น่ารู้มีดังนี้

1🧿 หากสงสัยว่ามีภาวะเหงื่อออกมากไป ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เช่น
• ภาวะอ้วน
• วัยทอง
• ต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ
• เบาหวาน
• โรคติดเชื้อบางชนิด
• โรคหัวใจ
• โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เพราะการรักษาส่วนหนึ่งต้องแก้ไขที่สาเหตุร่วมด้วย มิฉะนั้นแล้วการรักษาที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็อาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

2🧿 บางคนอาจไม่มีสาเหตุอะไรเลยก็ได้ กลุ่มนี้มักเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุน้อยกว่า 25 ปี อาจมีคนในครอบครัวเป็นเหมือนกัน ถึงแม้เป็นภาวะที่ไม่ได้อันตรายร้ายแรง แต่หมอเข้าใจดี ว่าเป็นเรื่องที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากพอสมควร และควรได้รับการรักษา

3🧿 ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นเหงื่อให้ออกมากกว่าเดิม เช่น
❌ อยู่ในที่แออัด
❌ เครียด หงุดหงิด อารมณ์เสีย
❌ ทานอาหารรสเผ็ด กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศ
❌ ดื่มแอลกอฮอล์

4🧿 แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ระบายอากาศ ไม่คับเกินไป รักษาเท้าให้แห้ง เปลี่ยนถุงเท้า ไม่ใช้ซ้ำ เปลี่ยนรองเท้าสลับคู่ อาจโรยผงแป้งลดเหงื่อที่เท้าจะช่วยได้

5🧿 การรักษาบางอย่าง อาจเหมาะกับการรักษาภาวะเหงื่อออกมากในบางบริเวณ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา

Reference : J Am Acad Dermatol 2019;81:669-80.

6🧿 ผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อ (Topical antiperpirants) ใช้ง่ายที่สุด ใช้ได้ที่ฝ่ามือฝ่าเท้า รักแร้ ศีรษะ ที่นำมาใช้บ่อยสุด คือ Aluminium chloride hexahydrate ลองอ่านเพิ่มได้ในรีวิวที่หมอเคยเขียนไปค่ะ

7🧿 ผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อที่มีส่วนผสมของ aluminium พบว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดอัลไซเมอร์และมะเร็งเต้านม

8🧿 ยารับประทานที่ทำให้เหงื่อลดลง ใช้ได้กับเหงื่อออกมากทุกบริเวณในร่างกาย แต่แนะนำให้ใช้กรณีเป็นรุนแรงและยาทาไม่ได้ผล แต่กลุ่มนี้อาจพบมีผลข้างเคียง เรื่อง ตาแห้ง ปากแห้ง วิงเวียน ตามัว ปัสสาวะไม่ออก

💠 Non FDA-approved for generalized & multifocal HH
💠 ยาที่ใช้ คือ Anticholinergic agents, Antiparkinson drugs, Phenothiazine, TCA
💠 Glycopyrrolate ใช้บ่อยสุดในการรักษาภาวะนี้ ไม่ผ่าน BBB ผลข้างเคียงน้อย เริ่มต้น 1-2 มก 2 ครั้ง/วัน
💠 Oxybutinin เริ่ม 2.5 มก ต่อวัน เพิ่มจนถึง 10-15 มก ต่อวัน
💠 Maximum efficacy ในการปรับยา คือ 1 สัปดาห์
💠 ยาอื่นที่มีรายงานได้ผล คือ Indomethacin, Clonidine, Ca-chanel blocker

9🧿 กรณีเป็นเหงื่อออกมากเวลามีความเครียด ตื่นเต้น วิตกกังวล สามารถใช้ยากลุ่ม beta blocker, benzodiazepine

10🧿 การรักษาด้วยไอออนโตฟอรีซิส ใช้ได้สำหรับเหงื่อออกมากที่ฝ่ามือฝ่าเท้า มีแบบพกพาไว้ทำที่บ้านได้ ไม่อันตราย ยี่ห้อที่รองรับ ได้แก่
✔️ RA Fischer
✔️ Hidrex USA
✔️ Drionic
ทำ 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาที
ใช้กระแส 15-20 mA
เห็นผลหลังทำ 6-15 ครั้ง และผลคงอยู่นาน 2-14 สัปดาห์ หลังจากนั้นทำต่อไปทุก 1-4 สัปดาห์แล้วแต่คน
หลังทำช่วงแรก อาจมีเหงื่อออกมากขึ้นไปเป็นเรื่องปกติ ก่อนที่เหงื่อจะเริ่มลดลง
ห้ามทำในคนท้อง, โรคหัวใจ, ลมชัก, ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
ผลข้างเคียง : มือแห้ง ชา ตุ่มน้ำ รักษาได้ด้วยยาทาสเตอรอยด์และครีมบำรุงผิว และลดความแรงกระแส

💠 FDA-approved for palmar and plantar HH

11🧿 การฉีดโบท็อกซ์ลดเหงื่อ
ฉีดในบริเวณที่เหงื่อออกมาก เป็นวิธีที่นิยมและได้ผลดี
เหงื่อเริ่มลดใน 2-4 วัน เห็นผลชัด 2 สัปดาห์หลังฉีด
ผลคงอยู่ได้นาน 4-6 เดือน

💠 FDA-approved onabotulinum toxin-A for severe axillary HH
💠 Dermal-subcutaneous injection (2.5 mm below the skin) 1-2 cm apart

12🧿 อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้รักษาเหงื่อออกรักแร้ ควรต้องไปปรึกษาแพทย์พิจารณา ได้แก่
✔️ ไมโครเวฟ : ยี่ห้อ Miradry (FDA-approved)
เห็นผล 90% ผลคงอยู่นาน >12 เดือน
✔️ อัลตร้าซาวน์
✔️ Fractional microneedle radiofrequency
✔️ เลเซอร์

13🧿 การผ่าตัดหรือจี้ปมเส้นประสาทอัติโนมัติ ใช้กรณีที่การรักษาข้างต้นไม่ได้ผล แนะนำให้ปรึกษาศัลยแพทย์ร่วมดูแลรักษาค่ะ
วิธีนี้ได้ผลค่อนข้างดี 70-90% พบว่าที่มือเห็นผลชัดเจนสุด
หลังรักษาอาจพบว่า
✔️ บางรายกลับมาเป็นซ้ำได้ 0-65%
✔️ บางรายอาจมี compensatory sweating กลไกร่างกายตอบสนองให้หลังเหงื่อออกมากขึ้นที่บริเวณอื่น เช่น ก้น หลัง หน้าท้อง ขา แต่พบไม่บ่อย และสามารถแก้ได้ด้วยยาทา หรือ โบท็อกซ์เฉพาะจุด

💠 Endoscopic thoracic sympathectomy
T2 and T3 ganglia –> Palmar
Above 3rd rib –> Craniofacal
T3 and T4 ganglia –> Axillary
💠 Endoscopic lumbar sympathectomy
L3/4 ganglia –> Plantar

สุดท้ายที่อยากฝากไว้

หากสงสัยว่าตัวเองมีเหงื่อออกมากผิดปกติ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มือเปียก รองเท้าเปียก รักแร้เปียกจนเสื้อชุ่ม เหงื่อที่ศีรษะออกมากจนไหลท่วมหน้า แต่งหน้าไม่ได้เลย หมอแนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อตรวจหาสาเหตุ แก้ไขให้ตรงจุด จะได้ไม่ทรมานอีกต่อไปค่ะ

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
Reference

The etiology, diagnosis, and management of hyperhidrosis: A comprehensive review
Therapeutic options
J Am Acad Dermatol 2019;81:669-80.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s