10 ไอเทมผลิตภัณฑ์สำหรับคนผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน

[ Topical treatment for Patterned Hair loss ]

เช็คลิสต์10อย่าง‼️

มาต่อเรื่องผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน ตอนที่ 2 กันค่ะ
ใครเพิ่งเจอบทความนี้ อยากให้กลับไปอ่านตอนที่ 1 ก่อนหน้านี้

คราวนี้มาพูดถึงยาทาในการรักษาภาวะผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนกันบ้าง ขอพูดถึงตัว minoxidil เยอะหน่อยเพราะเป็นยาทาตัวเดียวที่ FDA-approved ในตอนนี้ค่ะ ส่วนข้อ 2-10 ก็มีรายงานมากขึ้นว่าใช้ได้ผล

มาเริ่มเลยค่ะ
🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰🔰

1️⃣⭐️ Topical minoxidil

✔️เป็นยาทาตัวเดียวที่ FDA-approved
▫️สำหรับผู้ชาย คือ 2% และ 5% (5% ผลดีกว่า 2%)
▫️ส่วนผู้หญิง คือ 2% (ความเข้มข้นมากกว่านี้ได้ผลไม่แตกต่าง และอาจมีผลข้างเคียงมากขึ้น)
▫️แบบ 5% foam งานวิจัยรับรองได้ผลทั้งหญิง (ทาวันละครั้ง) และชาย (ทาเช้าเย็น)
🔴 ดังนั้น ควรเลือกความเข้มข้นให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และผลข้างเคียงน้อยที่สุด และไม่เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายหรือราคาที่สูงขึ้นโดยไม่จำเป็น
✔️ปริมาณที่ใช้ต่อครั้ง : 1 ml (solution), ครึ่งฝา (foam)
🔴 ดังนั้น การใช้มากเกินไป อาจไม่ช่วยให้ผลการตอบสนองดีขึ้นไปมากเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับผลข้างเคียงที่ตามมา
✔️ เริ่มเห็นผล 4-6 เดือน หากหยุดทาจะทำให้ผมเริ่มกลับมาบางลงใหม่ใน 4-6 เดือน
🔴 ดังนั้น ควรทาอย่างต่อเนื่องไปตลอดถ้าหากไม่มีข้อห้ามหรือผลข้างเคียงอะไร
✔️ ช่วงเริ่มใช้ 4-6 สัปดาห์แรก อาจมีการผลัดผมให้ร่วงมากขึ้นได้ และต่อไปจะค่อย ๆ มีผมขึ้นมาใหม่
🔴 ดังนั้น จึงไม่ต้องตกใจและไม่จำเป็นต้องหยุดทายา
✔️ ผลข้างเคียง :
❌ อาการแพ้จาก minoxidil
❌ การระคายเคืองจากสาร propylene glycol
❌ ขนขึ้นเยอะตามใบหน้า หรือบริเวณที่สัมผัส
🔴 ดังนั้น หากมีผื่นคัน หน้าบวมหรืออาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาว่าเป็นการระคายเคืองจากสาร PG หรือเป็นการแพ้ minoxidil
🔴 กรณีระคายเคือง PG อาจเปลี่ยนสูตรที่ไม่มี PG หรืออาจใช้เป็นรูปแบบ foam alcohol-based
🔴 กรณีเปลี่ยนสูตรแล้วไม่ดีขึ้น อาจเป็นจากการแพ้ minoxidil แนะนำหยุดใช้
✔️ ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์
✔️ อาจมีบางผลิตภัณฑ์ที่ผสมกับ tretinoin solution, finasteride, amenexil ก็ใช้ได้

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

💰 Minodil
💰 Nuhair
💰 Regaine
💰 Reten Five

2️⃣⭐️ Topical finasteride
เป็น 5-alpha reductase inhibitors
✔️ แนะนำ 0.05% gel หรือ 0.1% lotion
✔️ ใช้คู่กับ topical minoxidil ได้ผลดีขึ้น

3️⃣⭐️ Topical antiandrogen
ที่มีบางรายงานว่าได้ผลในผู้ชาย แต่ไม่ค่อยได้ผลในผู้หญิง เช่น
✔️ Fluridil 2% solution ทาเช้าเย็น
✔️ Alfatraiol 0.025% lotion ทาเช้าเย็น

4️⃣⭐️ Topical prostglandin analogs
มีรายงานได้ผลในผู้ชายที่ผมบางไม่รุนแรงนัก
✔️ Latanoprost 0.1% วันละครั้ง

5️⃣⭐️ Topical ketoconazole shampoo
ใช้ร่วมกับ oral finasteride ก็ช่วยได้ดี
ใช้ 2-4 ครั้ง/สัปดาห์

6️⃣⭐️ Topical melatonin 0.1% ทาวันละครั้ง

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

💰NutraM

7️⃣⭐️ Topical adenosine 0.75% ทาเช้าเย็น

8️⃣⭐️ Topical Saw palmetto (Serenoa repens) lotion ทาเช้าเย็น

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

💰Biothymus-M

9️⃣⭐️ Topical Cellium
ประกอบด้วยสารสกัดจาก Allium species, Citrus species

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

💰CG210
💰CG428

🔟⭐️ Topical Capixyl
ประกอบด้วย Acetyl tetrapeptide-3, Biochanin A

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

💰 Hirsuit

อ่านจบกันมั้ย และอย่าลืมว่า..การตอบสนองต่อการใช้ยาแต่ละชนิดในแต่ละบุคคลก็ไม่เหมือนกัน ทั้งหมดนี้อาจ เป็นทางเลือกเสริมให้ลองพิจารณาเลือกให้เหมาะกับตัวเองค่ะ
และหากไม่แน่ใจว่าคุณผมร่วงหรือผมบางจากภาวะนี้หรือไม่ แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ก่อนเริ่มทำการรักษาอย่างถูกวิธี ไม่แนะนำให้ลองผิดลองถูกเพราะอาจเกิดผลข้างเคียงตามมา

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
No Sponsored Content
Product Mentioned: #minoxidil #finasteride #CG210 #CG428 #Hirsuit #BiothymusM #Nuhair #Regaine #RetenFive

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
References
Int J of Women’s Dermato. 2018; 4(4): 203-211.
Am J Clin Dermatol. 2014; 15: 217-230.
Int J Trichology. 2012; 4(4): 236-247.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s