10 ข้อสรุป ผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน ‼️

10 ข้อควรรู้ เรื่องผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน ‼️

👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻👴🏻

1️⃣⭐️ ในเพศชาย เรียก Male Androgenetic Alopecia หรือ Male Patterned Hair Loss (MPHL) ในเพศหญิง เรียก Female Androgenetic Alopecia หรือ Female Patterned Hair Loss (FPHL)

ที่เรียกชื่อแบบนี้เพราะลักษณะของผมที่บาง จะมีแพทเทิร์นที่มีลักษณะเฉพาะ โดยมีปัจจัยหลัก 2 อย่าง คือ พันธุกรรม และ/หรือ ฮอร์โมน
👴🏻ดังนั้น บางคนอาจไม่มีพันธุกรรมร่วมด้วยก็ได้

2️⃣⭐️ ปัจจัยเรื่องฮอร์โมนแอนโดรเจนจะทำให้เส้นผมบางบริเวณมีขนาดเล็กลง โดย เพศหญิงมักเริ่มบางจากกลางศีรษะก่อน และ เพศชายมักเริ่มเถิกจากหน้าผากบริเวณขมับสองข้าง ขึ้นไปเป็นรูปตัว M ต่อมาจะเริ่มบางบริเวณกลางศีรษะ และหากเป็นเยอะก็จะลามออกมารวมกับด้านหน้า ดังรูป แต่ในเพศหญิงบางคนอาจบางรูปแบบของเพศชายได้
👴🏻ดังนั้น บริเวณที่ตอบสนองต่อการทายา คือบริเวณดังกล่าวนั่นเอง ส่วนบริเวณอื่นที่ไม่ได้มีอิทธิพลจากฮอร์โมนอาจต้องรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น ปลูกผม

3️⃣⭐️ กรณีฝาแฝด หากคนหนึ่งผมบาง พบว่าส่วนมากอีกคนมักเกิดขึ้นเช่นกัน เพราะส่วนหนึ่งเกิดจาก ปัจจัยเรื่องพันธุกรรมร่วมด้วย
👴🏻ดังนั้น คู่แฝดส่วนใหญ่มัก หัวล้าน/ไม่ล้าน เหมือนกันทั้งคู่ แต่ก็ไม่เสมอไป 100%

4️⃣⭐️ คนหัวล้านหรือผมบาง ควรต้องระวังเรื่องการป้องกันแสงแดดให้ดี เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งผิวหนังที่บริเวณหนังศีรษะเพิ่มขึ้นได้
👴🏻ดังนั้น แนะนำให้ใส่หมวก กางร่ม เวลาออกกลางแดด และหากมีตุ่มหรือแผลผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อประเมิน

5️⃣⭐️ ในเพศหญิงอายุน้อยที่ผมบางเร็ว อาจมี ปัจจัยอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้เกิด FPHL ได้ เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก ขาดวิตามินบางชนิด เป็นต้น
👴🏻ดังนั้น กลุ่มนี้แนะนำให้พบแพทย์เพื่อ ตรวจเลือดหาสาเหตุร่วมด้วยเสมอ ก่อนด่วนสรุปว่าเป็นจากฮอร์โมนหรือพันธุกรรมเพียงเท่านั้น เพราะคนไข้อาจเสียโอกาสในการรักษาด้วยวิธีอื่นที่ตรงสาเหตุร่วมด้วย

6️⃣⭐️ มีงานวิจัยพบว่าคนผมบางหัวล้านมีความกังวลและเครียดมากขึ้น บางรายมากจนถึงขึ้นเป็นโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะเพศหญิงจะมากกว่าเพศชาย ซึ่งพบว่า คนไม่ประสบปัญหานี้อาจไม่เข้าใจ
👴🏻ดังนั้น แนะนำว่าหากเป็นไปได้ไม่ควรล้อเลียนผู้อื่นเรื่องนี้ เพราะอาจเป็นปัจจัยทำให้สภาวะทางจิตใจแย่ไปกว่าเดิม

7️⃣⭐️ เพศชายที่ผมบางตั้งแต่ Grade 3 ขึ้นไป ก่อนอายุ 30 ปี (โดยเฉพาะคนที่ผมบางกลางศีรษะ > เถิกที่หน้าผาก) พบมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดมากขึ้น
👴🏻ดังนั้น ควรหมั่นดูแลสุขภาพให้ดี ดูแลเรื่องอาหารการกิน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ

8️⃣⭐️ ภาวะนี้ไม่เร่งด่วน การรักษาขึ้นกับความต้องการและความพึงพอใจของแต่ละคน และการรักษาในแต่ละวิธีต้องอาศัยความต่อเนื่องไปตลอด ไม่ว่าจะกินหรือทายา หรือแม้กระทั่งปลูกผมแล้วก็ยังต้องกินยาและทายาต่อไป เพราะหากหยุดการรักษาก็อาจทำให้ ผมกลับมาบางได้อีก
👴🏻ดังนั้น ควรตัดสินใจก่อนเริ่มการรักษาให้ดีก่อนเริ่มต้นการรักษาไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม และการตอบสนองต่อการรักษาของแต่ละคนต่อการรักษาแต่ละวิธีก็ไม่เหมือนกัน เนื่องจากขึ้นกับหลายปัจจัย และหากไม่แน่ใจก็ แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อประเมินก่อนว่าเป็นภาวะนี้จริงหรือไม่ ก่อนเริ่มทำการรักษา

9️⃣⭐️ การรักษามีหลายวิธี

✔️ ใส่วิก

✔️ ยาทา ได้แก่
▫️ Topical minoxidil (FDA approved)
3-5% minoxidil ในเพศชาย
2% minoxidil ในเพศหญิง
**ระยะเวลาเริ่มเห็นผลชัดเจน คือ 6-12 เดือน
**หลังเริ่มใช้อาจมีผมร่วงมากขึ้นใน 2-8 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นต่อไปผมจึงจะเริ่มขึ้น
**หากหยุดทายา ผมจะเริ่มกลับมาร่วงใน 4-6 เดือน
**ผลข้างเคียง แพ้ระคายเคือง
▫️Topical finasteride 0.1%
▫️Topical anti-androgen เช่น fluridil, alfatradiol 0.025%
▫️Latanoprost, ketaconazole shampoo

✔️ ยารับประทาน ได้แก่
▫️Finasteride 1-5 มก ต่อวัน (เพศชาย), 2.5-5 มก ต่อวัน (หญิงวัยหมดประจำเดือน) (FDA-approved)
**อาจทำให้ระดับ serum PSA ลดลงได้ประมาณ 50% แนะนำให้ตรวจระดับ serum PSA ก่อนให้ยา เพื่อป้องกัน false negative กรณีมะเร็งต่อลูกหมาก
▫️Dutasteride 0.5-2.5 มก ต่อวัน
**ประสิทธิภาพดีกว่า แต่ half life นานกว่า finasteride จึงควรหยุดยาอย่างน้อย 6 เดือนก่อนบริจาคเลือด
**ผลข้างเคียง พบใน dutasteride มากกว่า finasteride ได้แก่ ความต้องการทางเพศลดลง (1.9%), อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (1.4%) ซึ่งพบไม่บ่อย และดีขึ้นกลับเป็นปกติเมื่อหยุดยา
▫️ Minoxidil 5 มก ต่อวัน
▫️กรณีเพศหญิง ยาที่อาจใช้ได้ คือ Oral anti-androgens ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช้ในเพศชาย ได้แก่ Spironolactone, Cyproterone acetate

✔️ Platelet rich plasma (PRP)

✔️ Low Level Laser Therapy (LLLT)

✔️ การปลูกผม (Hair transplantation)
แนะนำเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นมาแล้ว 1-2 ปี และยังไม่ได้ผลที่พึงพอใจ

✔️ การสักอณูสี (Scalp micropigmentation)
มักทำในคนที่ผมบางระยะท้าย ๆ ที่กว้างเกินไปสำหรับการปลูกผม

🔟 แชมพูหรือสเปรย์ที่มี Evidence-based —> ถ้ามีคนอยากรู้จะมาต่อรีวิวตอนที่ 2

References
Cranwell W, Sinclair R. Male Androgenetic Alopecia. [Updated 2016 Feb 29]. Endotext
J Eur Acad Dermtol Venereol. 2018; 32(12): 2112-2125.
J Dtsch Dermatol Ges. 2007; 5: 391-5.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s