16 ข้อควรรู้ วิธีซื้อครีมกันแดดที่เหมาะสมกับตัวเอง‼️

คุณหมอคะ ซื้อครีมกันแดดยี่ห้อไหนดี ‼️
คุณหมอใช้ครีมกันแดดยี่ห้อไหนคะ ?

เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากค่ะ

ซึ่งหมอมักจะตอบกลับไปว่า ถ้าคุณมีสภาพผิวเหมือนหมอและลักษณะกิจกรรมที่ทำก็คล้าย ๆ กันกับหมอ ก็ใช้เหมือนหมอได้เลยค่ะ

แต่ แต่ แต่ .. สิ่งที่ดีที่สุดที่หมออยากบอกก็คือ…!!!
อยากให้ทุกคนลองอ่านโพสนี้ดูก่อนค่ะ แล้วลอกเลือกดูว่า อะไรคือที่เหมาะสมกับตัวเองมากกว่า เชื่อว่าทุกคนจะได้สิ่งที่ดีที่สุด

มาดูกันนะคะ

☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️☀️

1🧡 ดูก่อนว่าวันนั้นเราจะไปทำอะไร และ เลือกชนิดสารกันแดดตามลักษณะกิจกรรม
✔️ Physical sunscreen ในวันที่ทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ไปทำงาน
✔️ Chemical sunscreen + water-resistant sunscreen ในวันที่ต้องทำกิจกรรมที่ต้องลงน้ำ สัมผัสทราย เล่นกีฬาที่ต้องมีการเสียดสีหรือมีเหงื่อเยอะ ต้องการประสิทธิภาพกันน้ำกันเหงื่อ

{ชนิดสารกันแดด —> https://www.facebook.com/476743752739537/posts/954800584933849/?d=n }

2🧡 จะเอา SPF, PA, PPD เท่าไหร่ดี การเลือกระดับการปกป้อง ส่วนตัวหมอแนะนำให้เป็น Board spectrum โดยที่
✔️ สำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง ควรกันรังสี UVA (PA+++ ขึ้นไป, PPD16), UVB (SPF 30 ขึ้นไป)
✔️ ถ้าหากแดดจัด ก็อาจต้องเพิ่มค่าขึ้นไปอีก ซึ่งส่วนใหญ่ อย จะให้ระบุไม่เกิน 50+

3🧡 UVB protection ดูจากค่า SPF ช่วยป้องกันการผิวไหม้

4🧡 UVA protection ดูจากค่า PPD (Persistent Pigmented Darkening) คือ ดูการทำให้เกิดรอยดำคล้ำหลังตากแดด 40 min ว่าเป็นกี่เท่าของผิวปกติ
หรืออาจดูจากค่า #PA (Protection Grade of UVA) ซึ่งเทียบกับค่า PPD (ตามรูปในคอมเม้นต์)

5🧡 มาตรฐานของครีมกันแดดที่ใช้ในชีวิตประจำวันควรมี SPF อย่างน้อย 30 และ PA+++ หรือ PPD 8-16
ในบางยี่ห้อที่ระบุเพียง PA++++ เราจะทราบว่ายี่ห้อไหนปกป้อง UVA ได้ดีกว่า ต้องดูจากค่า PPD เท่านั้น
และหากในวันที่ออกแดดจัดก็อาจต้องเพิ่มการปกป้องที่มากขึ้น เช่น PA++++, PPD >16, SPF 50

6🧡 อย่าลืมว่า SPF ที่สูงกว่า 50 ขึ้นไปอาจเพิ่มประสิทธิภาพได้ ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับราคาที่สูงขึ้น (ตามรูปในคอมเม้นต์)

7🧡 ผิวแพ้ง่าย ควรเลือกเป็นกลุ่ม Physical sunscreen จะก่อให้เกิดการแพ้และระคายเคืองน้อยกว่า และควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอม แอลกอฮอล์ หรือพาราเบน

8🧡 ผิวมัน ควรเลือกเป็นสูตร oil-free, non comedogenic และในครีมกันแดดบางตัวอาจผสม alcohol เพื่อช่วยให้ควบคุมความมันได้ดีขึ้น ซึ่งก็อาจมองว่าเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง ดังนั้น จะเห็นว่าครีมกันแดดที่ผสมแอลกอฮอล์จะไม่เหมาะสำหรับคนผิวแห้ง

9🧡 ผิวเป็นสิวง่าย ควรเลือกเป็นสูตร oil-free, non comedogenic และไม่มี silicone เพราะอาจก่อให้เกิดการอุดตันได้ง่าย

10🧡 การเลือกนวัตกรรมใหม่เพิ่มเติม (Novel properties) สามารถช่วยเสริมฤทธิ์ของครีมกันแดดให้ดีขึ้น เช่น ผสม antioxidants, กัน VL, HEV แต่บางกรณีอาจไม่จำเป็นก็ได้

11🧡 การผสม Antioxidants หรือ DNA repair enzymes จะช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของสารกันแดดที่ผิว หรือ สารอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวีที่ทะลุผ่านการป้องกันของสารกันแดดโดยตรง ซึ่งจะช่วยปกป้องผิวจากการถูกทำร้ายของ UV-induced ROS ดังนั้น ก็อยากแนะนำให้เลือกครีมกันแดดที่ #ผสมantioxidantsด้วยจะดีกว่า ที่ไม่ผสม

12🧡 ครีมกันแดดที่ผสมสารกันแดดที่ป้องกัน Visible light & HEV แนะนำในคนที่ทำงานในออฟฟิสที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์มือถือบ่อย ๆ ถ้ากิจกรรมไม่ได้มีในส่วนนี้ก็อาจไม่ต้องมีข้อนี้ก็ได้

13🧡 การเลือกรูปแบบ formulations ก็สำคัญ ชนิดครีมหรือโลชั่น เป็นชนิดที่แนะนำที่สุด เพราะสามารถคำนวณปริมาณในการทาได้ค่อนข้างดี ทาแล้วได้ค่า SPF ใกล้เคียงตัวเลขที่ระบุไว้มากที่สุด

14🧡 ชนิดสเปรย์ คาดเดาปริมาณได้ยาก และอาจมีบริเวณผิวหนังบางส่วนที่อาจสเปรย์ไม่ทั่วถึง และอาจมีอันตรายจากการสูดดมละอองของ Particulate Zinc oxide & Titanium dioxide ถ้าเป็นความเห็นส่วนตัวหมอแนะนำให้ใช้เสริมมากกว่า เช่น คนที่แต่งหน้าและไม่สะดวกล้างหนาเพื่อทาครีมกันแดดระหว่างวัน ก็อาจสเปรย์ทับเครื่องสำอางไปเลย ดีกว่าไม่ทาอะไรซ้ำ

15🧡 ชนิด Stick ใช้ยากหากต้องทาในบริเวณกว้าง แนะนำให้ใช้ในบริเวณเล็ก ๆ ที่มักมองข้าม เช่น เปลือกตา ริมฝีปาก หู

16🧡 ชนิด Makeup Powder ไม่แนะนำเพราะวัตถุประสงค์หลักคือ แป้งที่ใช้เพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อป้องกันแดดเป็นหลัก สารกันแดดที่ผสมมักจะมีปริมาณน้อยมาก และอาจมีอันตรายจากการสูดดมละอองสารกันแดดที่ผสมในแป้งได้ค่ะ แต่ถ้าคิดว่าใช้เพื่อเสริมการปกป้องนิด ๆ หน่อย ๆ ไม่คิดอะไรมากก็ไม่มีปัญหาค่ะ แต่ไม่แนะนำให้ใช้เป็นตัวหลัก

เป็นยังไงบ้างคะ อ่านจบแล้ว พอจะเข้าใจและเลือกครีมกันแดดด้วยตัวเองได้เก่งขึ้นมั้ยคะ
เหมือนเดิม ถ้าชอบบทความนี้และเห็นว่าเป็นประโยชน์ -> #พิมพ์ 💕💕💕 ตามระดับความชอบ เพื่อการปรับปรุงบทความถัดไปค่าาา

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

References:

• Sunscreen: FDA regulation, and environmental and health impact. Photochemical & Photobiological Sciences. doi: 10.1039/c9pp00366e
• Beyond UV radiation: a skin under challenge, Int. J. Cosmet. Sci. 2013; 35(3): 224–232.
• Am J Clin Dermatol. 2017 Oct;18(5):643-650. doi: 10.1007/s40257-017-0290-0.
• J Cutan Med Surg. 2019 Jul/Aug;23(4):357-369. doi: 10.1177/1203475419856611.
• J Am Acad Dermatol. 2017 Aug;77(2):377-379. doi: 10.1016/j.jaad.2017.04.011.

ถ้าชอบสามารถแชร์ได้เลย แต่ขออนุญาตไม่ copy หรือดัดแปลงบทความนะคะ

บทความลิขสิทธิ์ ©👩🏻‍⚕️HELLO SKIN by หมอผิวหนัง

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s