[ การบาดเจ็บของผิวหนังของบุคลากรทางการแพทย์จากการดูแลผู้ป่วยCOVID19 ]
ล่าสุดเมื่อมีนาคม 2020 ที่ผ่านมา Journal of American Academy of Dermatology ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการรวบรวมปัญหาทางผิวหนังที่พบในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งบางท่านอาจมองข้ามไป แต่อย่าลืมว่า เมื่อไหร่ที่ผิวหนังเกิดการอักเสบ บาดเจ็บ มีแผล ไม่ว่าจะเกิดที่บริเวณใดของร่างกาย ล้วนเป็นช่องทางการนำพาเชื้อทุกชนิดเข้าสู่ร่างกายได้ในที่สุด
งานวิจัยนี้พบว่า ภาวะทางผิวหนังที่เจอได้บ่อยมีดังนี้ [ตาราง 1]
🚫 อาการที่พบ : ผิวแห้งตึง เจ็บ คัน ปวด แสบร้อน
🚫 ผื่นที่พบ : ผิวลอก แดง แตกเป็นแผล มีน้ำเหลือง เป็นตุ่มน้ำ มีอาการบวมนูน เป็นตุ่ม
🚫 บริเวณที่พบได้บ่อย คือ
✔️ สันจมูก จากการเสียดสีกดทับของหน้ากาก N95
✔️ แก้ม จากการเสียดสีกดทับของหน้ากาก N95
✔️ มือ จากภาวะมือแห้งจากการล้างมือบ่อย
✔️ หน้าผาก จากการเสียดสีกดทับของ Face shield

ซึ่งพบว่า ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนังจากเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ
📍ใส่หน้ากาก N95 และ แว่น goggles นานเกิน 6 ชั่วโมง (ส่วนระยะเวลาการใส่ face shield นานนั้นไม่ค่อยมีผล)
📍ล้างมือบ่อยเกิน 10 ครั้งต่อวัน
งานวิจัยนี้บอกอะไรกับเรา
นอกจากการที่บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านจะตั้งใจดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดีแล้ว อาจต้องเรียนรู้วิธีการป้องกันตัวเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาได้ จากข้อมูลนี้สิ่งที่จะสามารถไปปรับใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น
🔔 ดูแลผิวที่มือให้ถูกวิธี
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในโพสก่อนนี้ { https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=923957344684840&id=476743752739537 }
🔔 หากอยู่คนเดียวคิดว่าที่ไม่สัมผัสความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาจถอดหน้ากากหรือแว่น ให้ลดการกดทับผิวบริเวณเดิมซ้ำ ๆ หรือหากไม่สามารถถอดได้ อาจใช้วิธีแปะแผ่นทำแผลป้องการการเกิดแผลกดทับ
จากการรวบรวมข้อมูล มีงานวิจัยศึกษาในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิด noninvasive เช่น CPAP พบว่า กลุ่ม Hydrocolloid dressing ได้ผลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับบริเวณสันจมูก แก้ม ได้ดีที่สุด ซึ่งมีหลายยี่ห้อ ในรูปลองหามาแปะให้บางส่วนที่พอจะหาได้ [ตาราง2,3 ]


นอกจากนั้นยังมีการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า การใช้ HOFA (Hyperoxygenated Fatty acid) ทาบริเวณที่จะกดทับก่อนการใส่อุปกรณ์ CPAP จากงานวิจัยนี้ใช้ Linovera พบว่าช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับและลดความรุนแรงของการเกิดได้ดีกว่าวิธีอื่นในงานวิจัยนี้ คือ การใส่อุปกรณ์อย่างเดียว, การใช้ Allervyn thin และ Askina foam อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [ตาราง 4]
โดยกลไลของ HOFA คือ เพิ่ม oxygen ให้แก่เนื้อเยื่อ และกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวให้แข็งแรงมีความทนต่อการเสียดสีได้มากขึ้น

หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านนะคะ
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
Reference
Preventing facial pressure ulcers in patients under non-invasive mechanical ventilation: a randomised control trial.
J Wound Care. 2017 Mar 2;26(3):128-136.
Skin Damage Among Healthcare Workers Managing Coronavirus Disease-2019
J Am Acad Dermatol 2020 Mar 18;[EPub Ahead of Print]
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
When in doubt,
Ask your Board-certified Dermatologist
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.