Heel Skin Dryness
ผิวหนังบริเวณส้นเท้า เป็นอีกบริเวณที่คนมักจะมองข้ามในการดูแลเอาใจใส่ หากลองนึกถึงหญิงสาวหน้าสวย แต่มีส้นเท้าที่หยาบกระด้างไม่น่าสัมผัส คงจะดูแปลก ๆ ผิวส้นเท้าที่หยาบกร้านและแตกระแหง ไม่เพียงแต่มีผลด้านความสวยงาม ยังมีผลต่อความทรมานจากการเจ็บปวดในเวลาที่ย่างก้าวไปมาอีกด้วย

💯 ผิวหนังบริเวณส้นเท้า เป็นส่วนที่ มีแนวโน้มจะแห้งกร้านได้ง่ายกว่าผิวหนังบริเวณอื่นของร่างกาย เนื่องด้วยโครงสร้างของ stratum corneum ที่หนาแตกต่างจากผิวที่อื่น และการมีต่อมไขมันที่น้อยกว่าบริเวณอื่น รวมทั้งการใช้งานที่ต้องเดินไปมาเสียดสีในทุกวัน
💯 ผิวส้นเท้าแห้งแบ่งได้ 4 ระดับความรุนแรงดังภาพ ลองสำรวจว่าตัวเองเป็นขนาดไหนแล้ว

💯 สิ่งที่มักกระตุ้นให้มีความรุนแรงมากขึ้น คือ
🔸อากาศแห้ง ฤดูหนาว
🔸การอยู่ในห้องแอร์เป็นประจำ
🔸การเดินด้วยเท้าเปล่า
🔸การใส่รองเท้าส้นสูง
🔸การขาดการบำรุงผิวด้วยมอยเจอไรเซอร์
💯 การบำรุงผิวบริเวณส้นเท้าอาจทำได้โดย
💦 ทาครีมบำรุงเป็นประจำ เน้นกลุ่ม humentant, barrier cream ลองมองหาครีมที่มีส่วนผสมของ Glycerin อย่างน้อย 7%, Urea 5-10%, Petrolatum, vitamin E, B5
💦 ส้นเท้าที่แห้งแตกเป็นขุย อาจใช้ยาที่มีส่วนผสมของ keratolytic agents เช่น Salicylic acid, urea 20%
💦 หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าหากไม่จำเป็น โดยเฉพาะพื้นที่หยาบแข็ง อาจใช้วิธีสวมใส่รองเท้านุ่มที่ใช้สำหรับเดินในบ้าน หรือใส่ถุงเท้าบาง ๆ ที่ทำจากผ้าคอตตอน จะมีผิวสัมผัสที่ดีและไม่อับชื้น ระบายความร้อนและเหงื่อได้ดี
💦 ใส่ส้นสูงที่พอดีกับขนาดเท้า
💦 ลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อลดแรงกดทับที่ส้นเท้า
💦 การทำสปาเท้า แช่เท้าในน้ำอุ่นสะอาด นาน10-15 นาที อาจผสมครีมอาบน้ำและขัดเบา ๆ ด้วยแปรงขัดส้นเท้า ช่วยขจัดขุยได้
💦 หากมีอาการรุนแรง มีแผลแตก เจ็บและปวดทุกครั้งเวลาเดิน แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาด้วยวิธีอื่นร่วมด้วยค่ะ
▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
ภาพจาก Skin Res Technol. 2018;1–5.
When in doubt,
Ask your Board-certified Dermatologist
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ อายุรแพทย์โรคผิวหนัง
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © HELLO SKIN by หมอผิวหนัง All rights reserved.