ภาวะขาดสังกะสี (Zinc deficiency)

ภาวะนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ทารกหรือวัยผู้ใหญ่ก็ได้

สาเหตุ

  1. Inherited อาจเรียกว่า Acrodermatitis enteropathica มักมีสาเหตุจาก deficiency of the enterocyte zinc transporter ต้องสงสัยในทารกที่มีอาการในช่วงหย่านมแม่ เปลี่ยนมาทานนม formula-fed แทน เนื่องจากการดูดซึมสังกะสีจากนมผงนั้นไม่ดีเท่าการดูดซึมสังกะสีจากนมแม่ ทำให้เกิดภาวะขาดสังกะสีตามมา ภาวะนี้มักเกิดใน 2-3 สัปดาห์แรก
  2. Acquired เกิดจากการได้รับสังกะสีจากอาหารไม่เพียงพอ พบบ่อยในกลุ่มเสี่ยง คือ คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดน้อย ได้สารอาหารทางเส้นเลือด มีภาวะเจ็บป่วยหรือมีโรคที่ทำให้การดูดซึมสังกะสีผิดปกติ

อาการแสดง

✅ ผื่นลักษณะดังภาพ บริเวณรอบปากรอบทวาร และแขนขา (periorificial and acral dermatitis)
✅ ท้องเสียถ่ายเหลว (diarrhea)
✅ ผมร่วง (alopecia)
พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการแสดงครบทั้งสามอย่างเพียง 20% เท่านั้น จึงควรต้องสงสัยหากบริบทเข้าได้และเริ่มแสดงอาการข้างต้น แม้อาจยังไม่ครบ triad ก็ตาม

ภาวะที่ต้องวินิจฉัยแยกโรค

🔹 Psoriasis
🔹 Atopic dermatitis
🔹 Seborrheic dermatitis
🔹 Langerhan cell histiocytosis
🔹 Nutritional dermatoses เช่น biotin and essential fatty acid deficiency, pellagra, cystic fibrosis, and organic acidurias

การรักษา

ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วใน 1-2 สัปดาห์หลังจากให้ Zinc supplementation

🏳️‍🌈 กรณี Hereditary ผู้ป่วยมักต้องการการรักษาไปตลอดเนื่องจากเป็นความบกพร่องของระบบร่างกาย โดยให้เริ่มต้นที่ 3 mg/kg/d ของ elemental zinc ตรวจติดตาม serum zinc levels และ zinc-dependent enzymes (alkaline phosphatase) ทุก 3-6 เดือน
🏳️‍🌈 กรณี acquired casesให้การชดเชยสังกะสีในช่วงที่มีอาการและสามารถหยุดการรักษาเมื่อสามารถรักษาแก้ไขปัจจัยสาเหตุได้แล้ว โดยให้ 0.5-1 mg/kg/d of elemental zinc

ที่มา KKUJM 2015;1:12-19.

สรุปประเด็นสำคัญ

💯 Zinc is more bioavailable in breast milk than in other sources
💯 In infancy, this is self-limited and related to insufficient maternal zinc levels
💯 Acquired cases result from dietary deficiency

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
ที่มาของเนื้อหาและรูปผู้ป่วยจาก
JAMA Dermatol. 2019;155(11):1305.
Zinc in Clinical Uses, KKUJM 2015;1:12-19
Pediatr Dermatol. 2002;19(5):426-431.
J Am Acad Dermatol. 2007;56(1):116-124.
Rev Med Chil. 2013;141(11):1480-1483.
Medicine (Baltimore). 2016;95(20):e3553.

เรียบเรียงบทความโดย แพทย์หญิงวรายุวดี อมรภิญโญ อายุรแพทย์โรคผิวหนัง⚕️

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s